FB on November 12, 2011, 12:13:09 PM
MOVIE GUIDE: Star Wars Episode I
 
          ปล่อยกันมาแล้วกับคลิปตัวอย่าง Star Wars Episode I ฉบับ 3D แห่ง Lucasfilm ของผู้กำกับ George Lucas ได้เผยโฉมแรกของภาพยนตร์ระดับตำนานอย่าง Star Wars ในรูปแบบสามมิติออกมาให้ได้ชมกันแล้ว ซึ่งจะเข้าฉายตามกำหนดวันฉายในประเทศไทย จะเข้าฉายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2012

          ซึ่ง Star Wars นั้นถือเป็นตัวเลือกที่สุดเฟอร์เฟ็คในการจะนำกลับมาทำใหม่ในระบบ 3D ทั้งเรื่องราวมหากาพย์การต่อสู้ที่ยาวนานและเป็นที่จดจำ อีกทั้งยังมีฉากหลังเป็นกาแล็กซี่ที่เข้าได้กับทุกยุคอีกด้วย โดยใน Star Wars: Episode I จะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง Darth Maul และ Jedi

          โดยในการดูแลเรื่องการทำระบบ 3D ของเรื่องนั้น จะได้มืออาชีพอย่าง Industrial Light & Magic เข้ามาควบคุมดูแล ซึ่งให้ความเคารพในต้นฉบับภาพยนตร์ดั้งเดิมเป็นอย่างมาก ในขั้นตอนการแปลงตัวหนังที่มีความประณีต และผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆควบคู่ไปกับความงามทางด้านศิลปะด้วย

          Star Wars: Episode I - The Phantom Menace นั้นเคยเข้าฉายมาแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 1999 ซึ่งนำแสดงโดย Liam Neeson, Ewan McGregor, Natalie Portman, Jake Lloyd, Ian McDiarmid, Pernilla August, Oliver Ford Davies, Hugh Quarshie และกำกับโดย George Lucas.

          ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.youtube.com/starwars

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=5J-KrKZHGEg" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=5J-KrKZHGEg</a>
« Last Edit: November 12, 2011, 12:14:44 PM by FB »

FB on January 28, 2012, 02:00:34 PM
MOVIE GUIDE: Star Wars : Episode I The Phantom Menace (3D)
 
          ปล่อยกันมาอีกแล้วกับโปสเตอร์ไทยและตัวอย่างซับไทย Star Wars Episode I ฉบับ 3D แห่ง Lucasfilm ของผู้กำกับ George Lucas ได้เผยโฉมแรกของภาพยนตร์ระดับตำนานอย่าง Star Wars ในรูปแบบสามมิติออกมาให้ได้ชมกันแล้ว ซึ่งจะเข้าฉายตามกำหนดวันฉายในประเทศไทย จะเข้าฉายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2012

          ซึ่ง Star Wars นั้นถือเป็นตัวเลือกที่สุดเฟอร์เฟ็คในการจะนำกลับมาทำใหม่ในระบบ 3D ทั้งเรื่องราวมหากาพย์การต่อสู้ที่ยาวนานและเป็นที่จดจำ อีกทั้งยังมีฉากหลังเป็นกาแล็กซี่ที่เข้าได้กับทุกยุคอีกด้วย โดยใน Star Wars: Episode I จะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง Darth Maul และ Jedi

          โดยในการดูแลเรื่องการทำระบบ 3D ของเรื่องนั้น จะได้มืออาชีพอย่าง Industrial Light & Magic เข้ามาควบคุมดูแล ซึ่งให้ความเคารพในต้นฉบับภาพยนตร์ดั้งเดิมเป็นอย่างมาก ในขั้นตอนการแปลงตัวหนังที่มีความประณีต และผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆควบคู่ไปกับความงามทางด้านศิลปะด้วย

          Star Wars: Episode I - The Phantom Menace นั้นเคยเข้าฉายมาแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 1999 และในระบบสามมิตินี้จะเข้าฉายในประเทศไทยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2012 ซึ่งนำแสดงโดย Liam Neeson, Ewan McGregor, Natalie Portman, Jake Lloyd, Ian McDiarmid, Pernilla August, Oliver Ford Davies, Hugh Quarshie และกำกับโดย George Lucas.

          ดูหนังตัวอย่าง
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=PW4cXYNi0E0" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=PW4cXYNi0E0</a>

FB on January 28, 2012, 02:02:53 PM
จอห์น กูดสัน ศิลปินฝ่ายดิจิตอล อีกหนึ่งมือฉมังที่ช่วยสร้างความอลังการให้ Star Wars: Episode I The Phantom Menace (3D)



          จอห์น กูดสัน มีความสนใจเรื่องสิ่งที่มีขนาดเล็กและสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์มาโดยตลอด เขาเติบโตมากับพ่อที่ Air Force ทำให้เขาได้เห็นเครื่องบินและอุปกรณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย การได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ทำให้เขาเกิดความสนใจ กูดสันอยากศึกษาด้านประวัติของศิลปินจากหนังสือต้นฉบับ Art of Star Wars โดยหวังที่จะเดินตามรอยพวกเขาเรื่องการศึกษา ซึ่งสักวันหนึ่งเขาอาจมาร่วมงานในภาพยนตร์ ถึงแม้เขาจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาตั้งใจแล้ว แต่เขาก็ยังรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเหลือเชื่อ

          ในที่ North Carolina State School of Design กูดสันได้ศึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และได้ทำงานหลากรูปแบบ ซึ่งพุ่งเป้าไปสูจุดมุ่งหมายของเขาในการร่วมงานวงการสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ ซึ่งรวมถึงโมเดลในเชิงสถาปัตยกรรมและต้นแบบของผลิตภัณฑ์ การออกแบบนิทรรศการ การออกแบบการตกแต่งรถ การจัดเตรียมและสร้างฉาก และการวางแผนและควบคุมต้นแบบ

          กูดสันร่วมงานที่ ILM ในปี 1988 และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้สร้างโมเดล ผู้ควบคุมโมเดลของโปรเจ็กต์ ผู้ควบคุมศิลป์/ผู้ออกแบบ และผู้สร้างโมเดลของคอนเซ็ปต์ ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ ภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Academy Award เรื่อง Pirates of the Caribbean: Dead Man’s Chest, Transformers, Star Trek VI – VIII, Back to the Future II, The Abyss, Ghostbusters II และต้นกำเนิด Star Wars

          ILM CREDITS
          รายชื่อภาพยนตร์
2012 THE AVENGERS (อยู่ในระหว่างการผลิต) — ศิลปิน Viewpaint
2012 BATTLESHIP (อยู่ในระหว่างการผลิต) — ศิลปิน Viewpaint
2010 RED TAILS (อยู่ในระหว่างการผลิต) — ศิลปิน Viewpaint
2011 TRANSFORMERS: DARK OF THE MOON – ศิลปิน Viewpaint
2009 TRANSFORMERS: REVENGE OF THE FALLEN – ศิลปิน Viewpaint
2009 TERMINATOR: SALVATION – ศิลปิน Viewpaint/ผู้สร้างโมเดล
2009 STAR TREK – ศิลปิน Viewpaint
2006 TRANSFORMERS – ศิลปิน Viewpaint
2006 PIRATES OF THE CARIBBEAN: DEAD MAN’S CHEST – ศิลปิน Viewpaint
2005 WAR OF THE WORLDS – ศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์
2005 THE ISLAND – ศิลปิน Viewpaint
2005 STAR WARS: EPISODE III “Revenge of the Sith” – ศิลปิน Viewpaint
2004 THE DAY AFTER TOMORROW – ศิลปิน Viewpaint
2002 HARRY POTTER AND THE CHAMBER OF SECRETS – ผู้ดูแลโครงการการจัดสร้างโมเดล
2002 STAR WARS: EPISODE II “Attack of the Clones” – ผู้ออกแบบความคิดสร้างสรรค์ด้านโมเดล
2001 PLANET OF THE APES – ผู้ควบคุมโมเดลของโปรเจ็กต์
2000 MISSION TO MARS – หัวหน้าฝ่ายผลิตโมเดล

1999 GALAXY QUEST – ผู้ออกแบบคอนเซ็ปต์
1999 STAR WARS: EPISODE I “The Phantom Menace” – ผู้วางคอนเซ็ปต์ของโมเดล
1998 DEEP IMPACT – ผู้สร้างโมเดล
1997 STARSHIP TROOPERS – ผู้สร้างโมเดล
1996 STAR TREK: FIRST CONTACT – ผู้ควบคุมโมเดลของโปรเจ็กต์
1996 MISSION IMPOSSIBLE – ผู้สร้างโมเดล
1995 CONGO – ผู้สร้างโมเดล
1994 STAR TREK: GENERATIONS – ผู้ควบคุมโมเดลของโปรเจ็กต์
1994 BABY’S DAY OUT – ผู้ควบคุมโมเดลของโปรเจ็กต์
1994 THE FLINTSTIONS – ผู้สร้างโมเดล
1993 FIRE IN THE SKY – ผู้สร้างโมเดล
1992 ALIVE - ผู้สร้างโมเดล
1992 ALIEN ENCOUNTER – ผู้สร้างโมเดล
1991 STAR TREK VI – ผู้สร้างโมเดล
1991 SPACE RACE – ผู้สร้างโมเดล
1991 THE ROCKETEER – ผู้สร้างโมเดล
1990 DIE HARD 2 – ผู้สร้างโมเดล
1990 JOE VERSUS THE VOLCANO – ผู้สร้างโมเดล
1989 BACK TO THE FUTURE, PART II – ผู้สร้างโมเดล
1989 GHOSTBUSTERS II – ผู้สร้างโมเดล
1989 BODY WARS – ผู้สร้างโมเดล
4/09

Star Wars: Episode I The Phantom Menace (3D)9 กุมภาพันธ์ นี้ ในโรงภาพยนตร์ระบบ 3 มิติ

FB on January 28, 2012, 02:04:04 PM









FB on February 05, 2012, 04:50:04 PM
จอร์จ ลูคัส เผยเทคโนโลยีอลังการในการถ่ายทำ Star Wars

          เป็นเวลานานกว่า 20 ปีที่จอร์จ ลูคัสเป็นที่รู้จักในนามของนักบุกเบิกด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับเรื่อง Star Wars มีอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ในด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่สร้างขึ้นมา รวมถึงขั้นตอนช่วงโพสต์-โพรดักชั่นและในการนำเสนอภาพยนตร์ด้วย

          สำหรับการทำความเข้าใจในไอเดียเรื่องวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์สำหรับ Star Wars ลูคัสได้สร้างบริษัทผลิตเอ็ฟเฟ็กต์ขึ้นมาชื่อ Industrial Light & Magic ซึ่งมีนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาให้วงการภาพยนตร์ได้รู้จักและเป็นการปฏิวัติสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ ILM มีการเริ่มดำเนินงานเมื่อลูคัสใช้ “หน่วยคอมมานโด” จำนวน 45 คนและพนักงานมากกว่า 1,000 คนตามมาด้วยทีมงานอันทรงเกียรติอีก 14 คนผู้เป็นเจ้าของรางวัล Academy Awards® สาขาวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม และเจ้าของรางวัล Scientific and Technical Achievement Award อีก 14 คนที่มาสร้างผลงานวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่มีควมโดดเด่นในภาพยนตร์มาแล้วมากกว่า 120 เรื่อง

          ประเพณีสืบทอดที่ต่อกันมาด้านเอ็ฟเฟ็กต์ที่โดดเด่นสืบต่อมาถึงในเอพพิโซด 1 ที่สร้างขึ้นต่อจากภาพยนตร์ดิจิตอลที่มีชื่อเสียงของ ILM อาทิเช่น Terminator 2: Judgment Day, Jurassic Park, Forrest Gump และ Twister ซึ่งในเอพพิโซด 1 เทคโนโลยีดิจิตอลทำหน้าที่ได้อย่างโดดเด่นกว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องในประวัติศาสตร์.

          สำหรับ “การถ่ายทำระบบดิจิตอล” ในครั้งนี้ ILM พบความท้าทายด้านการเข้าถึงโลกของแฟนตาซีที่ไม่ธรรมดา ขณะเดียวกันก็ต้องคงภาพที่สมจริงเอาไว้ และช่วยเหลือในเรื่องฟุตเทจแบบไลฟ์แอ็คชั่นของเหล่านักแสดง มันไม่ใช่แค่ฉากหลังแนวแฟนตาซีเท่านั้น แต่ทั้งฉาก ยานพาหนะ และแม้แต่ตัวละครก็ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้ว 95% ของเฟรมต่างๆ ในภาพยนตร์มีจำนวนรวมแล้วเกือบ 2,000 ฉากใช้การถ่ายทำระบบดิจิตอล มากกว่า 3 เท่าตัวของปริมาณที่มากที่สุดของฉากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่เคยสร้างขึ้นในภาพยนตร์

          แต่ถึงอย่างไรสำหรับภารกิจอันน่ากลัวที่ลูคัสเคยรับมือมาก่อน ILM เขาไม่เคยตั้งข้อสงสัยเลยว่าผู้ร่วมงานจะยอมแพ้ความท้าทาย “หลังจากที่ได้ร่วมงานกับพวกเขามานานกว่า 2 ทศวรรษ” เขากล่าวว่า “ผมรู้ว่าพวกเขาทำได้”

          ผลงานของทีมงาน ILM ในเอพพิโซด 1 ที่รวบรวมผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ 250 คนมาสร้างผลงานในจักรวาลโลกดิจิตอลนี้นานถึง 2 ปี ผลงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์มีความอลังการมาก ซึ่งไม่ได้ใช้ผู้ควบคุมเก่งๆ ของ ILM เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่มากถึง 3 คนที่ถูกเรียกตัวมาร่วมแบ่งเบาหน้าที่ โดยแต่ละคนต้องรับหน้าที่ที่สำคัญสุด 1 อย่างหรือมากกว่านั้นในฉากแอ็คชั่นหลักๆ รวมถึงประเภทของสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ที่เกิดขึ้นตลอดในภาพยนตร์ เช่น ดาบพลังแสงที่ส่องแสงตลอดเวลา เด็นนิส มูเร็น เจ้าของรางวัล Oscar เป็นผู้ชำนาญด้านการบุกเบิกเอ็ฟเฟ็กต์ของ Star Wars ภาคต้นฉบับได้มาควบคุมเอ็ฟเฟ็กต์การต่อสู้ภาคพื้นดินที่ยิ่งใหญ่รวมถึงฉากใต้น้ำของภาพยนตร์ จอห์น นอล ผู้ให้กำเนิดโปรแกรม Photoshop ดั้งเดิม ควบคุมเรื่องยานอวกาศและฉากต่างๆ ของพอดเรซ ส่วนสก็อตต์ สเควียร์ส Squiers ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฉาก Theed City อันน่าตื่นเต้นรวมถึงเอ็ฟเฟ็กต์ของดาบพลังแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์เหล่านี้ได้สร้างโลกทั้งหมดขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์ของ ILM ซึ่งความสำเร็จนั้นได้มอบความน่าอัศจรรย์มาสู่จอภาพยนตร์ แต่ทำให้เหล่านักแสดงต้องยืนอยู่ในฉาก “บลูสกรีน” ที่ว่างเปล่าอยู่บ่อยๆ ซึ่งภายหลังมีการใช้ฉากหลังแบบดิจิตอลมาแทนที่

          การแสดงท่ามกลางโลกที่ประกอบไปด้วยบลูสกรีนและคอมพิวเตอร์กราฟฟิค เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของเหล่านักแสดงที่ต้องพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางจินตนาการของตัวเองทั้งหมด มีเพียงเครื่องแต่งกายหรือแสตนอินในบางครั้งเท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขาจินตนาการถึงจักรวาลที่สุดท้ายจะอยู่รายล้อมพวกเขาในภาพยนตร์ได้ น่าแปลกที่ไม่มีนักแสดงคนใดเคยมีประสบการณ์ในการทำงานกับบลูสกรีนมาก่อน แต่ไม่ใช่แค่รับมือกับขั้นตอนได้เท่านั้น พวกเขายังทำงานร่วมกับมันได้อีกด้วย เลียม นีสัน ผู้เปรียบเทียบประสบการณ์กับการอยู่ในฉากว่า “เราต้องใช้จินตนาการ เราแสดงไปตามสัญชาตญาณล้วนๆ สำหรับบทของผมแล้ว ผมอยากแน่ใจว่าผมแสดงออกมาเหมือนเชื่อว่าทุกอย่างมีอยู่จริง”

          ขอบเขตของดิจิตอลได้แผนขยายไปถึงการสร้างตัวละครของเอพพิโซด 1 บางตัว รวมถึงตัวละครที่คุ้นเคยอย่าง จับบ้า เดอะ ฮัตต์ ตัวละครคุ้นตาจาก Return of the Jedi และ Star Wars Special Edition ท่ามกลางผลงานจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคชุดใหม่ที่มากกว่า 60 ตัวได้รับการควบคุมจากผู้ควบคุมแอนิเมชั่น ร็อบ โคลแมน, จาร์ จาร์ บิงค์ส; ซีบัลบ้า แชมป์การแข่งขันพอดเรซที่ท้าทายจากอนาคิน และวาทูตัวละครที่พูดเสียงกระด้างผู้ที่อนาคินเป็นทาสรับใช้อย่างตรากตรำ ตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิคแต่ละตัวมีการแสดงที่โดดเด่นในแบบของตัวเองผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางอันมีเอกลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาจากผู้ชำนาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์ แม้แต่การพริ้วและการเคลื่อนไหวของเสื้อผ้าตัวละครก็เหมือนกับตัวละครที่ร่วมฉากซึ่งมีทั้งเนื้อและหนังของพวกเขา

          นั่นอาจจเป็นโลกดิจิตอลแต่ก็มีความสำคัญที่ต้องมีหลักการทำงานที่เข้ากันได้แบบสมัยก่อนเอ็ฟเฟ็กต์สร้างชื่อ สำหรับการสร้างโมเดลได้รับการควบคุมโดยสตีฟ กอว์ลีย์ จากหน่วยสร้างโมเดลของ ILM ที่มารับหน้าที่สำคัญต่อในจักรวาลของ Star Wars ซึ่งเขาต้องทำงานร่วมกับองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์กราฟฟิค

          ผลงานดิจิตอลทำหน้าสำคัญของการสร้างโลกต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาและมีความแตกต่างกันในเอพพิโซด 1 ซึ่งทั้ง 3 โลกทำหน้าที่เป็นสถานที่หลักของเรื่องราวดวงดาวแห่งทะเลทรายแทตทูอินที่คุ้นตาแฟนๆ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับอยู่แล้วเป็นที่อยู่ของเอเลี่ยนหลากสายพันธุ์ที่มีการเดินทางผ่านสถานีอวกาศอันไกลโพ้น อาณาบริเวณของโลกนี้อยู่เหนืออารยธรรมที่มีส่วนสำคัญต่อสาธารณรัฐแห่งดวงดาว ทำให้แทตทูอินเป็นดาวที่มีความรุนแรงซึ่งปกครองโดยพวกเหล่าร้าย มีการค้าตลาดมืดและการพนันเป็นสิ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นข้าทาสบริวารทั้งหลายมีเศรษฐีเป็นเจ้าของ
 
          นาบูเป็นดินแดนที่มีความงดงามและสงบสุขที่มีทิวทัศน์สีเขียวขจีและมีเมืองเพียง 2-3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ทั้งเบื้องบนและใต้แม่น้ำ โลกขนาดกระทัดรัดใบนี้เป็นฉากการต่อสู้ที่จุดชนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตำนานการผจญภัย Star Wars ในภาพยนตร์

          โคโรซังต์เป็นเมืองหลวงแห่งโลกที่ปกคลุมดาวทั้งหมดในตึกสูงขนาดยักษ์ ตั้งอยู่ใจกลางจักรวาล Star Wars โดยที่นี่มีเจไดตั้งกองบัญชาการที่วิหารเจไดอันทรงพลัง และจากจุดนี้มีสภาแห่งจักรวาลปกครองโดยสาธารณรัฐ

          Star Wars: Episode I The Phantom Menace (3D)
          สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด I : ภัยซ่อนเร้น
          9 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์ระบบ 3 มิติ
          ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่
          http://www.facebook.com/Fox.Thailand
          http://www.youtube.com/starwars

FB on February 08, 2012, 02:49:41 PM
จอร์จ ลูคัส ใส่ใจทุกรายละเอียดในความอลังการของเครื่องแต่งกายใน สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น



          เรื่องราวในเอพพิโซด 1 ของจอร์จ ลูคัส ได้พาเราไปยังใจกลางของจักรวาลและดวงดาวต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ซึ่งผู้อาศัยเป็นผู้มีอำนาจสูงส่ง มั่งคั่ง มีอำนาจ มีอิทธิพลด้านการเมืองและมีรสนิยม จึงเลี่ยงเรื่องของแฟชั่นหรูหราที่มีความซับซ้อนและการออกแบบเครื่องแต่งกายไปไม่ได้ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายอย่างทรีช่า บิกการ์ และศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์เอียน แม็คเคก ได้ทำให้จินตนาการแห่งโลกของแฟชั่นและเครื่องแต่งกายในเอพพิโซด 1 ของลูคัสมีชีวิตชีวาขึ้นมา

          ความท้าทายที่สำคัญคือระดับความสมจริงของเครื่องแต่งกายที่จำเป็นต้องใช้ในเรื่องและฉากช่วงสั้นๆ ที่ไอเดียทั้งหมดของลูคัสต้องมีความสมจริงขึ้นมา ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึงปีที่บิกการ์และทีมงานหลักของเธอ 40 คนได้พยายามออกแบบและนำเครื่องแต่งกายกว่าพันชุดมารวมกัน โดยต้องปรับเปลี่ยนจากเครื่องแต่งกายที่มีความละเอียดซับซ้นอ หรูหราและมีลายนูนประดับให้เป็นชุดเรียบง่ายที่ยังคงรายละเอียดเครื่องแต่งกายของทาสเอาไว้อย่างระมัดระวัง “แผนกเครื่องแต่งกาย/ฉากของเราต้องผลิตเครื่องประดับทั้งหมด รวมถึงหมวกหุ้มเกราะ ผ้าโพกศีรษะและหัวเข็มขัด” บิกการ์ ผู้ทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนกล่าวว่า “พวกเขาสร้างผลงานที่น่าทึ่งมาก”

          ไอเดียเรื่องเครื่องแต่งกายหลายอย่างของลูคัสอิงมาจากแฟชั่นและลักษณะของประเทศต่างๆ หรือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์และโทนสีที่เขาใส่ใจเป็นพิเศษ ชาวญี่ปุ่น ชาวมองโกเลีย ชาวจีน ชาวอเมริกันทางตอนเหนือ และชาวยุโรปผู้มีอิทธิพลทั้งหมดจะเห็นได้จากแฟชั่นในเอพพิโซด 1 ที่มากมายมหาศาล เครื่องแต่งกายทุกชิ้นมีหน้าตาและลักษณะที่มีเอกลักาณ์ บิกการ์อธิบายว่า “เครื่องแต่งกายทุกชิ้นที่ออกแบบไว้ในเอพพิโซด 1 อิงมาจากประวัติศาสตร์ แต่เราได้ปรับเปลี่ยนและเล่นกับเครื่องแต่งกายต่างๆ เพื่อคงลักษณะของเครื่องแต่งกายให้ดูเข้ากับกาลเทศะเอาไว้”

          แม็คเคกเริ่มสร้างคอนเซ็ปต์ของเครื่องแต่งกายตั้งแต่ช่วงเนิ่นๆ ของการพรี-โพรดักชั่น “ตอนนั้นยังไม่มีบทภาพยนตร์ด้วยซ้ำ” เขานึกย้อนหลัง “จอร์จจะเข้ามาเยี่ยมเพื่ออธิบายฉากและตัวละครต่างๆ ทำให้เราได้เริ่มงานออกแบบบางอย่างได้”

          บิกการ์กล่าวว่า “จอร์จมีส่วนร่วมตลอดทุกขั้นตอน เขาจะเข้ามาในการประชุมกันเพื่อพูดคุยถึงเรื่องมุมมองเครื่องแต่งกาย สีสัน และรูปร่างต่างๆ” หลังจากที่แม็คเคกออกแบบและวาดโครงร่างคร่าวๆ เสร็จแล้ว บิกการ์ได้นำผลงานของเขามาเนรมิตให้เป็นจริงขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ใส่ไอเดียและการออกแบบของเธอลงไปเสริมด้วย
 
          ความอลังการ ความหลากหลาย และความซับซ้อนของเครื่องแต่งกายในเพพิโซด 1 เห็นได้จากตัวละครหลายตัวในเรื่องราว แต่ไม่มีตัวละครไหนเหนือไปกว่าราชินีอมิดาลาที่รับบทโดยนาตาลี พอร์ทแมน แม้จะมีความลังเลในการยอมรับเรื่องเครื่องแต่งกายหรือตัวละครโปรด บิกการ์ก็ยอมรับถึงการหาโอกาสหลายครั้งในการออกแบบและสร้างเครื่องแต่งกายของราชินีและเครื่องแต่งกายของสาวรับใช้ “เครื่องแต่งกายสำหรับดวงดาวของราชินีมีความน่าสนใจในการสร้างขึ้นมาก เพราะเราพิมพ์การออกแบบที่มีความพิเศษลงบนผ้าไหม” เธออธิบาย “และเรายังใช้เทคนิคการย้อมสีแบบต่างๆ ที่ทำให้เราได้ผสมผสานผ้าไหมที่มีความล้ำสมัยกับผ้าสมัยโบราณ”

          ราชินีต้องสวมเครื่องแต่งกาย 8 ชุด มีเพียงไม่กี่ชุดที่ออกแบบมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ลูคัสอยากขยายแฟชั่นในจักรวาลของตำนานการผจญภัยที่นำไปสู่การเพิ่มปริมาณถึง 3 เท่าตัว “จอร์จอยากให้ราชินีมีเครื่องแต่งกายที่แปลกตาไปทุกครั้งที่เราพบเธอ” บิกการ์กล่าว

          เครื่องแต่งกายแต่ละชุดของราชินีมีหน้าตาและการออกแบบเฉพาะตัวเป็นพิเศษ ชุดที่มีความซับซ้อนที่สุดน่าจะเป็นชุดท้องพระโรงของราชินีที่มีการตกแต่งด้วยดวงไฟหลายชุดตรงขอบ การสร้างชุดต้องใช้เวลาเกือบ 8 สัปดาห์ในการสร้าง โดยเริ่มจากการสร้างชุดที่อยู่ด้านใน ต้องออกแบบจากบนลงล่างเหมือนโคนของไอศครีม ชุดนี้อำนวยความสะดวกได้อย่างเหมาะสมกับนาตาลี พอร์ทแมน ชุดด้านในถูกสร้างขึ้นมาจากผ้าใบแผ่นเล็กๆ จำนวนมากที่เพิ่มความทนทานรอบขอบล่างเพื่อคงรูปทรงกระดิ่งเอาไว้

          เครื่องแต่งกายมีความซับซ้อนหลายอย่างเพื่อให้น้ำหนักของดวงไฟ และสายไฟไปยังแบตเตอรี่เพื่อจุดไฟขึ้นมา ในขณะที่มีการพิจารณาถึงตัวผ้าไหมเป็นพิเศษว่าแสงไฟจากกล้องจะทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนไป เพื่อการคงส่วนประกอบทางศิลปะ/ประวัติศาสตร์ของเครื่องแต่งกายหลายชุดเอาไว้จึงต้องมีสิ่งที่บิกการ์เรียกว่า “อารมณ์แห่งชาวจีนผู้สูงส่ง” ผ่านทางรายละเอียดและเค้าโครง

          เครื่องแต่งกายของราชินีเป็นแรงผลักดันให้บิกการ์และทีมงานของเธอค้นหาผ้าจากทั่วทั้งโลก พวกเขาถึงขนาดสร้างผ้าของตัวเองขึ้นมาได้ด้วย “พวกเรามีผ้าทอ ผ้าเพนท์ ผ้าย้อมสี เราทำทุกอย่างที่เราจะทำกับเศษผ้าได้” บิกการ์นึกย้อนไป

          การสร้างชุดแรกของราชินีถูกสร้างขึ้นมาด้วยมืออย่างเรียบร้อยและใช้ผ้าลักษณะเหมือนใยแมงมุมที่ผู้สร้าง 1 คนต้องใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวันนานนับเดือนเพื่อสร้างขึ้นมา ชุดเริ่มมีการปักขึ้นมาเป็นพิเศษ มีผ้าบางๆ อยู่ข้างหลัง ผ้าชนิดนี้ถูกจุ่มลงไปในน้ำทำให้ด้านหลังถูกหลอมไปหมดเหลือแต่รอยปักที่อยู่ด้านบน แต่ละด้านของชุดถูกเย็บไว้กับอีกด้านหนึ่งโดยไม่มีตะเข็บเลย ผลที่ได้คือความซับซ้อนและความประณีตที่เสริมเข้ามาในแฟชั่นของจักรวาลในเอพพิโซด 1

          ชุดในการต่อสู้ของราชินีก็ต้องใช้เวลาและสร้างขึ้นมาด้วยความประณีต ต้องใช้เวลาสร้างต่อคนนานกว่า 1 เดือน เครื่องแต่งกายถูกสร้างจากรังไหมของอินเดียที่มีการทอเป็นผ้าไหม รังไหมถูกแยกไว้อยู่บนสุดของเครื่องแต่งกาย จากนั้นแต่ละชุดจะถูกเย็บไว้ด้านหลังเพื่อสร้างทรงของไหลที่มีความเหมาะสม

          เครื่องแต่งกายของราชินีที่ปรากฏกายต่อหน้าสภาที่มี 3 ชั้นยิ่งมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ชุดด้านในเป็นผ้าไหมขนาดสั้นสีส้มพร้อมมีการถักทอด้วยสีเขียว โดยเนื้อผ้าที่มีอายุถึง 70 ปีถูกจับเป็นจีบ ซึ่งจีบเหล่านี้จะสะท้อนไฟเป็นสีของชุดเวลาที่ตัวละครมีการเคลื่อนไหว

          ลูกปัดที่ถูกถักทอเป็นลูกไม้แบบสมัยโบราณที่ตกแต่งด้านล่างชุด สายรัดที่อยู่กลางชุดถูกสร้างขึ้นจากผ้าฝ้ายขนาดสั้นสีแดงและเขียว มีการตกแต่งด้วยสีบรอนซ์ เทคนิคพิเศษได้เพิ่มองค์ประกอบและความลึกซึ้งเข้าไปในเนื้อผ้า ปกของเสื้อคลุมและข้อมือถูกตกแต่งด้วยสายถักสีทองเมทัลลิค โดยใช้หลักการเย็บที่เรียกว่า trapunto ที่มีกระบอกเล็กๆ ถูกเย็บติดกับการออกแบบ โดยเส้นได้จะถูกเย็บเพื่อให้เกิดปม ซึ่งนี่ก็เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามากเหมือนกัน ต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์ต่อคนสำหรับการเย็บปักถักร้อยและ trapunto และสิ่งที่ครอบเสื้อคลุมจะมีหมวกคลุม โดยมีไหล่ซึ่งเป็นยอดแหลมทรงพีระมิดหนักๆ บุเอาไว้ โดยผ้าคลุมไหล่มีการเดินเส้นด้วยผ้าไหมสีแดง

          ชุดนี้เหมือนกับชุดอื่นๆ ที่มีเครื่องสวมศีรษะที่มีความซับซ้อน ลักษณะเครื่องประดับศีรษะของราชินีในสภาให้ความรู้สึกเหมือนชาวมองโกเลียหนักมาก ชิ้นส่วนถูกชุบด้วยทองเพื่อให้มีสีสันที่เหมาะสม จากนั้นตกแต่งด้วยพลอยเม็ดเล็กๆ “เรารู้สึกว่าเครื่องประดับศีรษะชิ้นนี้คุ้มกับความพยายามมาก มีน้ำหนักและมีการใช้ทองจริงๆ” บิกการ์กล่าว

          เครื่องประดับศีรษะชิ้นอื่นถูกสร้างขึ้นจากลูกปัดที่เป็นของโบราณจากกระโปรงของนักเต้นต่างประเทศราวๆ ปี 1920 เครื่องประดับศีรษะยาวลงมาถึงหน้าผากของพอร์ทแมนเป็นลูกปัดที่ประดับอยู่บนเครื่องประดับศีรษะทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนเป็นผมม้าของเธอ ชุดที่เสริมเข้ามาอิงมาจากลักษณะชุดกิโมโนของชาวญี่ปุ่น บิกการ์ได้เสริมการการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ของเธอเข้าไป เธอค่อนข้างให้ความสำคัญตรงแขนเสื้อที่เรียกว่า “แขนเพนกวิน” เพราะมันมีลักษณะกลมจนค่อนข้างเหมือนเพนกวิน การเย็บปักถักร้อยด้วยเครื่องจักรและมือถูกใช้เพื่อการผลิตที่มีความซับซ้อนนี้

          เครื่องแต่งกายมีความท้าทายเป็นพิเศษหลายอย่าง ไม่ใช่สำหรับบิกการ์และทีมงานของเธอเท่านั้น แต่สำหรับนาตาลี พอร์ทแมนด้วยเช่นกัน สำหรับเครื่องประดับศีรษะแต่ละชิ้นที่มีการหล่อศีรษะจำลองของพอร์ทแมนขึ้นมา จากที่เครื่องประดับชิ้นนี้และทั้งหมดของราชินีถูกสร้างขึ้นมา

          นอกจากนั้นการสวมเครื่องแต่งกายที่มีความละเอียดและมีความสำคัญของราชินีต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์และความสมจริง ผู้สร้างภาพยนตร์จึงเกิดความคิดที่ชาญฉลาดให้นักแสดงหญิงมีความพร้อมโดยใช้เวลาและความพยายามเพียงเล็กน้อย พวกเขาแต่งตัวเธอ “ทีละส่วน” มีการสวมชุดด้านในที่ห้องแต่งตัว จากนั้นพอร์ทแมนเดินทางไปที่โรงถ่ายเพื่อสวมเครื่องแต่งกายที่เหลือ นอกจากนั้นยังง่ายสำหรับพอร์ทแมนในการถ่ายทำระหว่างฉากต่าๆง ด้วย การทำแบบนี้เป็นการป้องกันชุดชำรุดและฉีกขาด

          กลุ่มผู้รับใช้ที่คอยติดตามราชินีในการเดินทางของเธอก็มีเครื่องแต่งกายที่ต่างกันที่สอดคล้องกับผู้นำของพวกเขา เครื่องแต่งกายของพวกเขาถูกออกแบบบมาพร้อมความคิดเรื่องเครื่องแต่งกายของราชินี มีความเอาใจใส่ในรายละเอียดและรูปแบบชุดในแบบเดียวกัน “เราพยายาม” บิกการ์กล่าวว่า “ต้องพยายามออกแบบเครื่องแต่งกายของผู้ติดตามให้เป็นทรงตรงราชินีสวมชุดที่เป็นลายขวางขนาดใหญ่และเป็นผ้าทอ ทำให้เธอดูมีความยิ่งใหญ่และผู้ติดตามของเธอก็มีขนาดเล็กและบอบบาง”

          เครื่องแต่งกายในสภาของผู้ติดตามมีการประดับหลายอย่าง หากชุดใส่อยู่ด้านใน ปริมาณแถบจะต้องมีความแตกต่างกัน ชุดด้านในของเครื่องแต่งกายถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่เหมือนผ้าหนาและเหล็ก ทำให้มีความทนทานและลำบากต่อการเดิน มีการขึ้นรูปร่างไว้แล้วจึงไม่มีการเคลื่อนย้ายผ้าด้านนอก และเสื้อผ้ายังมีการตกแต่งด้วยหมวกที่ถูกตัดออกมาให้มีความเหมาะสมต่อนักแสดงหญิงแต่ละคนที่เป็นผู้สวมใส่           

          อีกหนึ่งโอกาสพิเศษด้านแฟชั่นเป็นของเครื่องแต่งกายที่สร้างขึ้นเพื่อตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งบิกการ์และทีมงานของเธอก็ใช้เวลาในการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกายมากเช่นกัน สำหรับเครื่องแต่งกายพิเศษบิกการ์และทีมงานใช้หินของจริงมาประดับอย่างพิถีพิถัน โดยรวบรวมมาจากชายหาดติดเข้าไปในชุดที่มียางเป็นส่วนประกอบ แต่ความร้อนระอุในทะเลทราทูนิเซีย ทำให้ยางมีการขยายตัวและหินก็เริ่มหลุดออกมา ต้องใช้เวลาเพื่อติดกลับเข้าไปเพิ่มในส่วนสำคัญใหม่

          การออกแบบเครื่องแต่งกายของอัศวินเจไดได้มอบความท้าทายที่ต่างออกไปให้แม็คเคกและบิกการ์ “ลักษณะ” ของเจไดคุ้นตาแฟนๆ จำนวนมากของ Star Wars อยู่แล้ว นอกจากนั้นสถานที่สำคัญในภาพยนตร์ภาคใหม่นี้คือดาวแทตทูอินที่เป็นทะเลทรายอย่างที่เห็นล่าสุดใน Star Wars ตัวละครและสถานที่คุ้นตาเหล่านี้ทำให้แม็คเคกและบิกการ์มีโอกาสคงแฟชั่นที่ต่อเนื่องจากภาพยนตร์ 3 ภาคแรกเอาไว้ระหว่างที่มีการเสริมรายละเอียดพิเศษเล็กๆ น้อยๆ ของพวกเขาเข้าไป

          เพื่อเป็นการเชื่อมโยงภาพลักษณ์จากหนังภาคก่อนมาสู่เอพพิโซด 1 บิกการ์ได้ไปเยี่ยมที่ห้องเก็บเอกสาร Lucasfilm เธอได้ศึกษารายละเอียดเครื่องแต่งกายที่ผ่านมา แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวของเอพพิโซด 1 ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อผ้าและการออกแบบใหม่ ในความแตกต่างจากหนังภาคแรกๆ เครื่องแต่งกายของเจไดทั้งหมดผลิตจากผ้าไหม ผ้าลินิน หรือผ้าขนแกะอย่างดี การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นกับชุดด้านในของเครื่องแต่งกายต้นฉบับ ตอนนี้มีความเหมาะสมและสามารถแต่งได้อย่างสบายสำหรับการต่อสู้ที่ผาดโผนในภาพยนตร์ภาคใหม่ รวมถึงฉากผาดโผนและฉากการต่อสู้ด้วยดาบพลังแสง

          ขณะที่เครื่องแต่งกายของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์เป็นตัวละครที่มีความซับซ้อน เครื่องแต่งกายของเขาเป็นชุดที่เรียบง่ายที่สุด แม็คเคกและบิกการ์ผลิตชุดของทาสที่เหมือนกับชุดที่สวมโดย ลุค สกายวอล์คเกอร์ ลูกชายในอนาคตของอนาคิน ในฉากแทตทูอินของภาคแรก สำหรับฉากแข่งขันพอดเรซที่มีความเร็วดั่งสายฟ้า อนาคินต้องสวมหมวกหุ้มเกราะแบบพิเศษและแว่นตาที่มีลักษณะของสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ่งที่ประดับพอดเรซอิงมาจากสิ่งของในชีวิตประจำวันบนโลกอย่างหมวกขี่จักรยานของเด็ก ซึ่งแน่นอนว่ามีการตกแต่งใหม่แทนที่ด้านบนหมวกเพื่อให้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์
         
          Star Wars: Episode I The Phantom Menace (3D)
          สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด I : ภัยซ่อนเร้น
          9 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์ระบบ 3 มิติ
          ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่
          http://www.facebook.com/Fox.Thailand
          http://www.youtube.com/starwars

FB on February 08, 2012, 02:51:27 PM
MOVIE: STAR WARS: EPISODE I THE PHANTOM MENACE (1)


 
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ หมู่ดาวอันไกลโพ้น....

          เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ประโยคนี้ได้ปรากฏขึ้นบนจอภาพยนตร์ทั่วโลกเป็นครั้งแรกและตำนานแห่งความทันสมัยก็ได้เกิดขึ้น ผู้คนนับร้อยล้านคนได้รู้จักกับตำนานการผจญภัยที่สร้างความประทับใจให้พวกเขาในแบบที่คาดไม่ถึง ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ตอน The Empire Strikes Back และ Return of the Jedi และ Special Editions ทั้งสามตอนนี้ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สื่อถึงคน 2 ยุค 2 สมัย ภาพยนตร์แอ็คชั่นผจญภัยที่ดำเนินเรื่องราวไปอย่างรวดเร็วได้เกิดขึ้นบนจักรวาลในรูปแบบใหม่ที่น่าตื่นเต้น มีการออกแบบมาอย่างยิ่งใหญ่อลังการและมีความสนุกสนานอย่างไม่รู้จบ ภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อผู้ชมจำนวนนับไม่ถ้วนเพราะเนื้อเรื่องที่มีความเป็นสากลและเป็นอมตะ ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว รวมถึงระหว่างเทคโลยีกับมนุษย์ การเฉลิมฉลองความกล้าหาญ และศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดของแต่ละคน

          ตำนานการผจญภัย Star Wars เป็นเรื่องราวที่มีความทันสมัยที่แต่งขึ้นมาตามจินตนาการของจอร์จ ลูคัส โดยลูอัสได้สร้างตำนานใหม่เรื่องนี้ให้อัดแน่นไปด้วยองค์ประกอบที่เป็นที่นิยมของชาวอเมริกัน รวมถึงภาพยนตร์ของชาวตะวันตก พวกอันพาล และเติมสีสันเรื่องราวซามูไรของชาวญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ยังสะท้อนไปถึงคดีวอเตอร์เกต เวียตนามและในความสับสนอลหม่านภายในประเทศช่วงอื่นๆ ที่เหมือนจะเป็นการบั่นทอนภาพของฮีโร่สำหรับชาวอเมริกันที่เสียจริตให้ลดลง


          สำหรับตำนานการผจญภัยของ Star Wars ลูคัสเลือกที่จะนำสิ่งเตือนใจทั้งหลายนี้มารวมกัน เสื้อผ้าล้ำสมัยที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของโครงสร้างนิยาย การเดินทางของฮีโร่ที่ยาวนานนับร้อยปี ซึ่งเป็นความศิวิไลซนับร้อยปี มีการผสมผสานกันระหว่างสมัยก่อนและสมัยใหม่ โดยตำนานของ Star Wars ครั้งใหม่นี้จะสร้างความตื่นเต้นให้ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ

          สำหรับ STAR WARS: EPISODE I THE PHANTOM MENACE ในครั้งนี้ ลูคัสได้พาเราย้อนกลับไปที่ต้นกำเนิด เมื่อดาร์ธเวเดอร์คือเด็กชายวัย 9 ขวบผู้มีความหวังนามว่า อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ และ โอบีวัน เคโนบี อัศวินเจไดหนุ่มผู้มุ่งมั่น ในปฐมบทนี้มีความอลังการด้านงานศิลป์ การออกแบบ เครื่องแต่งกาย สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี มีการติดตามการผจญภัยของอนาคินเมื่อเขาต้องไล่ตามความฝันและเผชิญหน้ากับความกลัวท่ามกลางความวุ่นวายสับสนในจักรวาล

FB on February 08, 2012, 02:51:58 PM
ที่มาและการออกแบบ

          การนำเอพพิโซด 1 มาสู่จอภาพยนตร์เป็นช่วงการเดินทางนับหลายปีของการวางแผนและการสร้าง มีการเริ่มงานขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1994 จอร์จ ลูคัสได้นั่งเขียนบทภาพยนตร์ด้วยลายมือลงในแฟ้มที่เขาใช้เขียนภาพยนตร์ทุกเรื่อง หลังจากนั้น 5 ปี ใช้เวลาอยู่ 3 ประเทศ ผู้ออกแบบ ผู้ประพันธ์ดนตรี นักแสดงและทีมงานนับพันคน ผู้สร้างสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ชื่อดังรุ่นใหม่ รวมถึง “การถ่ายทำหลังกองถ่ายดิจิตอล” คนแรกของภาพยนตร์ สุดท้ายแล้วภาพยนตร์ตอนแรกของ Star Wars ในช่วงเวลา 16 ปีในรูปแบบใหม่ก็ได้มาสู่จอภาพยนตร์ทั่วโลก
          ตอนที่ลูคัสกำลังเขียนเรื่องราวต้นฉบับของ Star Wars ผมสร้างจุดกำเนิดของเอพพิโซด 1 ขึ้นมานานกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในระหว่างขั้นตอนที่เขาได้สร้างเรื่องราวภูมิหลัง “มันเป็นแค่โครงร่างสั้นๆ ที่มีองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ” ลูคัสจำได้ว่า “แต่มันมีโครงเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปไม่มากนักในช่วงหลายปีนี้”
          แน่นอนว่าในช่วงนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะหยิบเรื่องราวความหลังนั้นมาสร้างเป็นภาพยนตร์ จนกระทั่ง Star Wars ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก “จากนั้นทุกคนก็ถามว่า ‘คุณจะสร้างกี่ตอน?’” ลูคัสเล่าว่า “ผมเลยคิดว่าผมย้อนกลับไปสร้างเรื่องราวความเป็นมาของเรื่องราวต้นฉบับไตรภาคได้ …”
          ตัวละครต่างๆ และโลกที่ลูคัสจินตนาการขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์เรื่องใหม่ไม่ใช่การสร้างขึ้นมาด้วยเอ็ฟเฟ็กต์แบบสมัยก่อน แต่เมื่อเขาได้เห็นการพัฒนาระบบดิจิตอของภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ในปี 1993 ที่สร้างขึ้นโดย Industrial Light & Magic บริษัทที่ลูคัสก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1970 เพื่อดูแลเรื่องเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ลูคัสรู้ว่า ILM เกิดขึ้นมาเพื่อพิชิตความท้าทายเรื่องการผสมผสานดิจิตอลแอนิเมชั่นให้แนบเนียนกับไลฟ์แอ็คชั่นในภาพยนตร์ Star Wars เรื่องใหม่ “ภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park คือประวัติศาสตร์สำคัญตัวจริง” ลูคัสจำได้ว่า “หนังเรื่องนั้นมาพร้อมกับตอนปิดกล้องเรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles (ซีรี่ส์ทางทีวีของลูคัสที่ได้รับรางวัล) ทำให้ผมถามตัวเองว่าจะสร้างอะไรต่อดี” และตอนใหม่ของตำนาน Star Wars คือคำตอบ
          ช่วงเวลา 1 ปีครึ่งหลังมีการพัฒนาเอ็ฟเฟ็กต์นี้ขึ้นมา ลูคัสได้เริ่มเขียนเอพพิโซด 1 ของตำนานการผจญภัยที่เป็นเรื่องสำคัญของเขา แต่เขาก็ต้องพบกับความท้าทายที่ยากจะจัดการหลายอย่าง ผู้ชมทั่วโลกรู้จุดจดของตำนานการผจญภัยไปแล้ว แต่ตอนนี้ลูคัสต้องย้อนกลับไปสร้างต้นกำเนิดของเรื่องราว ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีความสอดคล้องกับภาพยนตร์ทั้ง 3 ตอน (เอพพิโซด 4-6) ที่มีมาแล้วก่อนหน้านี้ บวกกับอีก 2 ตอนที่จะตามมา (เอพพิโซด 2 และ 3)
          ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ก็ทำให้เห็นถึงโอกาสสุดวิเศษอย่างชัดเจน นั่นคือการสร้างตำนานการผจญภัยที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยความคิดของการสานต่อมหากาพย์เรื่องราวเป็นที่วิจารณ์ครั้งหนึ่งตั้งแต่ที่มีการเริ่มสร้าง Star Wars “ท้ายที่สุดจะเป็นภาพยนตร์ 6 ตอนที่มีความยาวเรื่องละ 12 ชั่วโมงโดยประมาณ” ลูคัสกล่าวชัดเจนว่า “ตลอดช่วงที่เขียนและสร้างเอพพิโซด 1 ผมมุ่งความสนใจไปที่ 10 ปีหลังจากที่ภาพยนตร์ไตรภาคตอนใหม่เสร็จสิ้นแล้ว แล้วทุกคนจะได้ดูภาพยนตร์ทั้ง 6 ตอนพร้อมกันอย่างที่ตั้งใจเอาไว้”
          ลูคัสเปรียบเทียบโครงเรื่องของตำนานและเนื้อหาของตำนานการผจญภัยกับองค์ประกอบของดนตรีไว้ว่า “ในส่วนหนึ่งของตำนานการผจญภัย Star Wars ก็เหมือนกับธรรมชาติของวงซิมโฟนี” เขาอธิบายว่า “ผมมีดนตรีบางทำนองที่ผมตั้งใจเล่นซ้ำ แม้มีคอร์ดที่ต่างกันแต่ก็ยังเล่นวนซ้ำอยู่”
          สิ่งสำคัญเหล่านี้สะท้อนถึงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบระหว่างเรื่องราวของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ในเอพพิโซด 1 กับ ลุค ซึ่งเป็นลูกชายในอนาคตของอนาคินในต้นฉบับไตรภาค “ในภาพยนตร์ 3 ภาคแรกผมถ่ายทอดเรื่องราวที่มีความพิเศษ” ลูคัสเล่าต่อว่า “สำหรับไตรภาคใหม่นี้ผมจะถ่ายทอดเรื่องราวที่คล้ายกับเรื่องราวเดิม โดยมีหลายอารมณ์ ความรู้สึก ช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจที่คล้ายกัน” ประเด็นสำคัญหนึ่งที่ปรากฏขึ้นอีกครั้งคือเรื่องความกล้าหาญ เช่น การออกจากบ้าน การทิ้งความสบายเพื่อตามหาความฝันและเผชิญกับความเสี่ยง ในตำนานการผจญภัย Star Wars ทั้งอนาคินและลุคต่างแสดงให้เห็นถึงความกล้านี้ แต่มันพาพวกเขาไปในทิศทางที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
องค์ประกอบของท่วงทำนองในเอพพิโซด 1 มีการสะท้อนและผสมผสานถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ ในเรื่อง รวมถึงความสมดุลระหว่างความดี ความชั่วร้าย การค้นพบและสิ่งที่ลูคัสเรียกว่า “ความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย” นี่คือสิ่งที่ตัวละครมีความเกี่ยวข้องกันและพึ่งพากันเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายและเพื่อความอยู่รอด เพราะฉะนั้นจึงมีตัวละครหลักหลายตัวและมีเรื่องราวที่มีความสำคัญใกล้เคียงกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นถูกถักทออย่างละเอียดและมีการทำงานร่วมกันเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว
          ลูคัสมีความหลงใหลในความสลับซับซ้อนและโครงเรื่องที่มีการผสมผสานกัน โดยเป็นการย้อนกลับไปหาการปรับโฉมผลงานของเขาโครงเรื่องที่มีความซับซ้อนและมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นพร้อมกันในเรื่อง American Graffiti ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ทั่วโลกใช้หลักการนี้อยู่บ่อยๆ ในเอพพิโซด 1 ลูคัสยังคงทดลองกับโครงเรื่อง มีการปรับปรุงประเด็นเรื่องในจุดที่เรื่องราวทั้ง 5 เกิดขึ้นพร้อมกันในตลอดภาพยนตร์
          การสร้างโครงเรื่องของเอพพิโซด 1 เกี่ยวข้องกับวุฒิสมาชิกพัลพาทีน นักการเมืองทรงอิทธิพลที่เคลื่อนไหวอย่างลับๆ เพื่อรวมอำนาจของเขาในช่วงความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทั่วสาธารณัฐ ในขณะที่รัฐบาลเกิดความอ่อนแอจนระบบราชการตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก
เหตุการณ์ที่เจาะจงขึ้นมาภายใต้โครงสร้างที่วางพัลพาทีนไว้ในจุดสำคัญแห่งความขัดแย้งระหว่างสมาพันธ์การค้าอันยิ่งใหญ่ และดาวเคราะห์นาบูขนาดเล็กที่มีความสงบสุข นาบูถูกคุกคามจากอำนาจแห่งการผนึกกำลังขององค์กรการค้าอันร่ำรวยที่เริ่มมองข้ามข้อจำกัดของรัฐบาลแห่งจักรวาลที่อ่อนกำลังลง
          ราชินีสาวแห่งนาบูพบว่าตนได้เผชิญหน้ากับการตัดสินใจที่ยากลำบาก เพื่อความสงบสุขแล้วเธอจึงต้องเลือกว่าจะสละอุดมการณ์ต่างๆ ของเธอทิ้งไป เมื่อสงครามคืบคลานมาสู่ประชากรของเธอหรือไม่
          ผู้ที่ถูกส่งตัวเข้าไปในวิกฤติกาลนี้เพื่อเจรจาต่อรองการแก้ปัญหาคืออัศวินเจไดทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์ความสงบสุขและความยุติธรรมแห่งจักรวาล ผู้เตรียมการของความขัดแย้งทางการเมืองคือท่านอาจารย์เจได ไควกอน จินน์ และโอบีวัน เคโนบี ลูกศิษย์ของเขาที่พบว่าสมาพันธ์การค้าจะปลดปล่อยอิทธิพลอันทรงพลังออกมาเพื่อเปิดศึกต่อสู้กับนาบู หากเจไดทั้งสองไม่สามารถพิชิตได้ ชะตากรรมของโลกจะต้องตกอยู่ในความน่าสะพรึงกลัว
          ในระหว่างการเดินทางของพวกเขา ไควกอนได้พบกับ อนาคิน เด็กหนุ่มผู้เป็นทาสรับใช้บนดวงดาวทะเลทรายทาทูอิน ไควกอนสัมผัสได้ว่าอนาคินคือผู้ที่ถูกกำหนดเอาไว้ว่าจะนำสมดุลมาสู่พลัง เขาจะต้องตัดสินใจอย่างซื่อสัตย์ในการฝึกฝนอนาคินให้เป็นอัศวินเจได ซึ่งในเวลาเดียวกันอนาคินก็เริ่มเป็นมิตรกับราชินีแห่งนาบู
          เพื่อการสร้างสีสันให้เรื่องราวและตัวละครเหล่านี้ ลูคัสเลือกที่จะกลับมานั่งแท่นผู้กำกับจากที่เว้นช่วงไปนานกว่า 20 ปีที่เขาสิ้นสุดการทำหน้าที่ควบคุม Star Wars ภาคต้นฉบับ “ผมคิดว่าผมคงต้องมากำกับเอพพิโซด 1 ตั้งแต่เริ่ม” เขาเล่าว่า “เพราะภาพยนตร์เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดจากประสบการณ์ที่หลากหลาย” และลูคัสคิดว่ามันจะประหยัดเวลาและทุ่นแรงไปได้มากหากเขากำกับด้วยตัวเอง “ผมจะได้ไม่ต้องคอยเถียงหรืออธิบายเรื่องต่างๆ ให้ผู้กำกับฟัง” เขากล่าวเสริมพร้อมหัวเราะ
          บุคคลสำคัญที่ช่วยลูคัสนำจินตนาการของเขามาสู่จอภาพยนตร์ได้ คือ ผู้อำนวยการสร้างริค แม็คคอลลัม ผู้ทำหน้าที่อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles รวมถึง Star Wars Trilogy Special Edition ความพยายามและความสามารถของแม็คคอลลัมมีส่วนสำคัญในการผลิตภาพยนตร์ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และนำพาสู่กาลเวลาที่ผู้อำนวยการสร้างทำงานด้วยความสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ “ริคให้ความช่วยเหลือในภาพยนตร์อย่างมากจนนับไม่ถ้วน” ลูคัสกล่าวถึงเพื่อนร่วมงานผู้ไม่เคยเหน็ดเหนื่อยของเขา “ความสร้างสรรค์และความช่วยเหลือในองค์กรของเขาไม่ธรรมดาเลย”
          แม็คคอลลัมมองหน้าที่ที่แสนยุ่งยากของเขาว่าเป็นเรื่องธรรมดา “มันเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องช่วยทำให้จินตนาการของจอร์จกลายเป็นจริง” เขาอธิบายว่า “ผมต้องเป็นเลิศในทุกอย่างและทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้เพื่อเขา”

FB on February 08, 2012, 02:52:25 PM
          การสร้างผลงานของแม็คคอลลัมเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเนิ่นๆ ตั้งแต่ลูคัสจับปากกาเขียน โดยเริ่มแรกผู้อำนวยการสร้างได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อสำรวจสถานที่ต่างๆ และหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาคือการค้นหาและว่าจ้างศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์ให้กับฝ่ายศิลป์ขนาดย่อม ซึ่งท้ายที่สุดต้องเป็นรับผิดชอบการออกแบบนับพันชิ้นให้เครื่องแต่งกาย สิ่งมีชีวิต ยานพาหนะ และฉากต่างๆ ของเอพพิโซด 1
          ฝ่ายศิลป์นี้จะมีบทบาทสำคัญในภาพยนตร์ เนื้อเรื่องของลูคัสมีการรวบรวมวัฒนธรรม ดวงดาว และรูปแบบต่างๆ ที่ต้องออกแบบมาอย่างอลังการและมีความหลากหลาย “ผมพยายามนึกภาพออกมาว่าแต่ละวัฒนธรรมจะมีลักษณะแบบไหน” ลูคัสเล่าว่า “และสิ่งที่ออกแบบมาต้องเหมาะสมกับแต่ละวัฒนธรรม” ความท้าทายต่างๆ เกี่ยวกับความลังเลเรื่องการออกแบบทั้งหลายสำหรับทุกๆ อย่าง ตั้งแต่เมืองใต้น้ำที่มีศิลปะอันเลิศล้ำในการสร้างพื้นที่สำหรับราชินี ยานอวกาศนับหลายลำ เครื่องแต่งกกกายนนนับบบรรร้อย และฉากของโลกอื่นๆ อีกนับพัน แค่สถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียวก็เกี่ยวข้องกับทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่อิฐ Ibadite Tunisian และลักษณะโคลน Malian เพื่อสร้างอาคารระฟ้าแห่งโลกอนาคต ปราสาททรงเรเนซองซ์ อิตาเลียน และการตกแต่งภายในที่เป็นอิสระในสไตล์โลกต่างดาว
          ดั๊ก เชียง ผู้กำกับศิลป์แห่ง ILM มาร่วมงานในเอพพิโซด 1 เมื่อปี 1994 เพื่อควบคุมการออกแบบของเรื่อง โดยมีกลุ่มศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์ที่มีความสามารถมาร่วมงานกับเชียง ได้แก่ เทอร์ริล วิตแลช ที่มีความรู้ด้านสัตววิทยา ทำให้เธอมีจินตนาการเรื่องการออกแบบสิ่งมีชีวิตนับพันในเรื่อง และมีเอียน แม็คเคก ผู้เคยสร้างผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกายที่มีความซับซ้อนมาแล้ว
          จากการตีความจินตนาการของลูคัส เชียงจึงนำภาพลักษณ์ใหม่มาใส่ในมหากาพย์แห่งตำนานการผจญภัย โดยในเบื้องต้นเชียงได้ศึกษารูปแบบของ Star Wars อย่างพิถีพิถัน แต่ลูคัสมีบางอย่างอยู่ในใจที่ไม่ธรรมดา แทนที่จะลอกภาพเดิมมาจากต้นฉบับไตรภาค แต่เขากลับอยากสร้างฉากต่างๆ และโลกขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งสำคัญที่ลูคัสหยิบมาใส่ไว้ในการออกแบบภาพยนตร์เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาได้ไปพบกับเชียงและฝ่ายศิลป์ตั้งแต่ช่วงก่อนการสร้างเนิ่นๆ “ตอนที่พบกันรั้งแรกจอร์จบอกฉันว่าเขาอยากได้สิ่งที่มีความแปลกใหม่และแตกต่าง” เชียงจำได้ “ฉันดีใจมากตอนที่จอร์จพูดว่า ‘ปิดผนึกไปเลย เผยสิ่งใหม่ๆ ออกมา’”
          การปิดผนึกนี้ช่วยเรื่องการให้คำนิยามภาพลักษณ์ของเอพพิโซด 1 ที่เกี่ยวกับแฟชั่นที่หรูหราและการออกแบบเครื่องแต่งกาย ระหว่างที่ศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์เอียน แม็คเคก และผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายทรีช่า บิกการ์ ได้รับอิสระอย่างเต็มที่ ลูคัสก็มีส่วนร่วมในการออกแบบโลกแห่งแฟชั่นในภาพยนตร์เป็นอย่างมากด้วย
          ในช่วงเวลาไม่ถึง 1 ปีบิกการ์และทีมงานของเธอได้ทำการออกแบบกันอย่างขยันขันแข็ง และนำเครื่องแต่งกายนับพันชิ้นมารวมกัน ตั้งแต่ชุดที่มีความละเอียดซับซ้อน มีลายนูนประดับตกแต่งดูเป็นทางการ ไปจนถึงชุดที่ดูเรียบง่ายแต่มีรายละเอียดที่พิถีพิถัน โดยแผนกเครื่องแต่งกาย/ฉากยังได้ผลิตเครื่องประดับทั้งหมดอีกด้วย ตั้งแต่หมวกหุ้มเกราะ ที่สวมวิกผม และหัวเข็มขัดทั้งหลาย
          สำหรับยานพาหนะในเอพพิโซด 1 ที่รวมถึงสตาร์ไฟเตอร์, ยานอวกาศของราชินี, พอดเรเซอร์, ยานขนส่งทหาร, รถถังโจมตี และยานรบขนาดใหญ่ – วัตถุประสงค์ในการใช้สอยจะเป็นเรื่องรองลงมา ซึ่งตามที่เชียงเล่าแล้ว ยานพาหนะบางลำต้องคำนึงถึงลักษณะทางศิลปะ โดยถ่ายทอดถึงสิ่งที่เชียงเรียกว่า “งานหัตถกรรมและสุนทรียศาสตร์ที่แท้จริง” เพื่อคงความโดดเด่นของการออกแบบเอาไว้ เชียงจึงเลี่ยงความงามแบบร่วมสมัยแล้วเลือกยึดการออกแบบในโลกสมัยก่อนแทน
          หลังจากที่เชียงและทีมงานฝ่ายศิลป์ของเขาสร้างผลงานการออกแบบในเชิงสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อนเอาไว้แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบฉาก เกวิน บูเค่ ที่ต้องทำให้พวกมันมีชีวิตขึ้นมา บูเค่ได้เริ่มทำงานมาตั้งแต่ปี 1996 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 2 ปีหลังจากที่เชียงได้เริ่มทำงานด้านการออกแบบคอนเซ็ปต์ จึงเป็นที่เชื่อถือได้ในด้านการควบคุมการผลิตฉากของภาพยนตร์มากกว่า 60 ฉากที่อังกฤษ อิตาลี่ และตูนิเซีย ทำให้มีส่วนช่วยเหลือที่สำคัญในด้านภาพที่งดงามของเอพพิโซด 1

FB on February 08, 2012, 02:54:12 PM
          นักแสดงและตัวละครต่างๆ

          ในภาพยนตร์ของลูคัสทุกเรื่อง เขาจะมุ่งความสนใจไปที่การคัดเลือกนักแสดงที่เขามองว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละครต่างๆ ได้มากที่สุด “ส่วนสำคัญที่สุดในการกำกับภาพยนตร์คือการคัดเลือกตัวนักแสดง” เขาเล่าว่า “ในช่วงหลายปีนี้ผมโชคดีมากที่ได้พบกับคนที่เหมือนเกิดมาเพื่อแสดงบทบาทของพวกเขา พวกเขาเป็นอย่างที่ผมจินตนาการตัวละครเอาไว้ตอนที่เขียนบทของพวกเขาขึ้นมาเลย”
          “ผมให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนักแสดง” ลูคัสกล่าวเสริม “และวิธีที่ตัวละครต่างๆ จะแสดงตอบโต้กัน”
          สำหรับเอพพิโซด 1 ลูคัส แม็คคอลลัม และผู้กำกับสำหรับการคัดเลือกนักแสดงอย่างโรบิน เกอร์แลนด์ ได้รวบรวมเหล่านักแสดงผู้น่าประทับใจที่จะมาทำให้การคัดเลือกนักแสดงที่สำคัญต่อลูคัสเป็นที่น่าพอใจ แต่ในช่วงแรกทั้งสามก็ได้พบกับความท้าทายบางอย่างที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่แค่พวกเขาต้องนำเหล่านักแสดงที่มีความเหมาะสมมารวมตัวกันเท่านั้น แต่ตัวละครหลายตัวต้องมีบุคลิกท่าทางที่สัมพันธ์กับการแปลงสภาพของตัวตน หรือในบางกรณีต้องเหมาะกับลูกๆ พวกเขาด้วย “สำหรับบทอนาคินและราชินี พวกเราต้องมองย้อนหลังกลับไป” เกอร์แลนด์อธิบายว่า “เรารู้ว่าลูกๆ ของพวกเขาอย่างลุคและลีอา หน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นเราต้องอิงจุดนั้นในการคัดเลือกตัวสำหรับบทพ่อแม่ด้วย และแน่นอนว่านักแสดงที่มารับบทโอบีวันต้องดูคล้ายกับตัวละครในเวอร์ชั่นเดิม”
          เลียม นีสัน มารับบทแสดงเป็นไควกอน ตัวละครใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในครอบครัวของ Star Wars การแสดงของนีสันที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar ในภาพยนตร์เรื่อง Schindler’s List น่าจะเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นในอาชีพการแสดงของเขา ซึ่งรวมถึงการแสดงในเรื่อง Michael Collins, Rob Roy และ Les Misérables รวมถึงการแสดงบนโรงละครบรอดเวย์ที่ได้รับคำชมในเรื่อง Anna Christie ด้วย
          ในตอนแรกลูคัสจินตนาการให้ชาวอเมริกันมารับบทบาทนี้ แต่นีสันซึ่งเป็นชาวไอริชสร้างความประทับใจให้ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ด้วยความสามารถและบุคลิกท่าทางของเขา “มันเป็นเรื่องวิเศษที่ได้คัดเลือกตัวนักแสดงผู้ได้รับการนับถือให้เป็นสุดยอดนักแสดง ผู้ที่นักแสดงคนอื่นจะดูเป็นแบบอย่าง ผู้ที่มีคุณสมบัติสำคัญต่างๆ ที่ตัวละครต้องการ”
          นีสันมองว่าไควกอนเป็นตัวละครอมตะ มีสติปัญญาอันชาญฉลาดที่มาพร้อมกับหลักปรัชญาเหมือนชาวตะวันออก เช่นเดียวกับเจไดซึ่งเป็นตัวละครที่มีความสามารถด้านศิลปะการต่อสู้ “ผมว่าเขาใกล้เคียงกับปรมาจารย์นักรบสมัยโบราณผู้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากที่สุด” นีสันเล่าว่า “ไควกอนเหมือนนักรบซามูไรที่มีพลังอันยิ่งใหญ่และมีความนอบน้อมในตัว”
          และนีสันก็ชื่นชมเนื้อหาที่มีความครอบคลุมและกว้างขวางมากขึ้นของตำนานการผจญภัย “ภาพยนตร์เหล่านี้เข้ามาอยู่ในช่องว่าง” เขาเล่าว่า “เราขาดการถ่ายทอดเรื่องราวออกจากปากที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม นิยายและตำนานต่างๆ แต่ Star Wars ได้มาเติมเต็มส่วนนั้นที่หายไป”
          นักแสดงชาวสก็อต ยอน แม็คกรีเกอร์ มารับบทของโอบีวัน เคโนบี ที่เคยรับบทแสดงโดยอเล็ก กวินเนสในต้นฉบับไตรภาค สำหรับเอพพิโซด 1 โอบีวันเป็นเจไดหนุ่มที่ไร้ประสบการณ์ บางครั้งก็ปะทะคารมณ์กับไควกอน จินน์ อาจารย์ผู้กบฏของเขา โอบีวันเลือกที่จะไม่ต่อต้านสภาเจไดและหวังว่าไควกอนจะยอมทำตามกฏ
          แม็คกรีเกอร์เป็นนักแสดงหนุ่มคนหนึ่งที่มีความสามารถรอบด้านและได้รับการต้อนรับจากเหล่านักวิจารณ์ เขาแสดงบทบาทอันน่าจดจำเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่อง Trainspotting, Emma และภาพยนตร์เรื่องล่าสุดอย่าง Velvet Goldmine และ Little Voice ลูคัสเรียกแม็คกรีเกอร์ว่า “หนุ่มน้อยชาวเติร์กแห่งวงการภาพยนตร์ของชาวยุโรป” เขาชื่นชมนักแสดงในหลายด้าน “ยอนมีพลัง มีความนุ่มนวล มีความกระตือรือร้นสำหรับการเป็นโอบีวันหนุ่ม”
          เกอร์แลนด์เกิดความประทับใจจากท่าทางของแม็คกรีเกอร์ที่คล้ายกับกวินเนส ซึ่งมีลักษณะท่าทางทั่วไปที่คล้ายคลึงมาก “อเล็คเติมความสดใสเข้าไปในบทบาททั้งหลายของเขา” เธออธิบาย “ถึงแม้ตัวละครโอบีวันจะมีความเคร่งเครียดและดุเดือด เขาก็มีความสดใสและโดดเด่นอยู่ในแววตา ซึ่งยอนก็มีสิ่งนั้นเช่นกัน”
          ในการเตรียมการสำหรับเอพพิโซด 1 แม็คกรีเกอร์ได้ศึกษาการแสดงของกวินเนสหลายอย่างจากผลงานก่อนๆ ของเขาและในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars “มันมีความสำคัญที่การแสดงของผมต้องสอดคล้องกับจุดที่สำคัญของกวินเนส” แม็คกรีเกอร์กล่าวชัดว่า “ผมทุ่มเทอย่างหนักโดยเฉพาะเรื่องการใช้น้ำเสียงที่เหมาะสม ต้องนึกภาพว่าโอบีวันจะมีน้ำเสียงแบบไหนตอนเป็นหนุ่ม”
          การตัดสินใจมารับบทบาทอันเป็นที่ต้องการนี้ถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับแม็คกรีเกอร์ “แน่นอนว่าผมปฏิเสธไม่ลงเลยตอนที่ได้รับการทาบทามบทบาท” เขาเล่าว่า “เป็นเกียรติมากที่ได้มีส่วนร่วมในตำนานนี้และเรื่องเล่าที่ทันสมัย” แม็คกรีเกอร์เองก็มีสมาชิกในครอบครัวที่ผูกพันกับจักรวาลของ Star Wars นั่นคือ เดนิส ลอว์สัน ลุงของเขาผู้รับบทเป็นนักบินต่อสู้กบฏ เวดจ์ ในภาพยนตร์ต้นฉบับ ซึ่งสุดท้ายโอกาสในการใช้อาวุธของเจไดย่อมเป็นการตัดสินใจที่ปฏิเสธไม่ได้ “ได้ควงดาบพลังแสงและจุดพลังมันขึ้นมา ... ไม่มีใครจินตนาการความรู้สึกนั้นได้เลย!”
          โอบีวันเป็นเหมือนผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือศิษย์ผู้เรียนรู้ เพื่อแสดงความเคารพอัศวินเจได ไควกอน จินน์ ถึงแม้พวกเขาจะใกล้ชิดกันแต่โอบีวันและไควกอนมีความคิดเห็นที่ต่างกันในเรื่องสถานการณ์สำคัญต่างๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดชะตาของพวกเขา เช่น พวกเขามีความเห็นที่ต่างกันในเรื่องของอนาคิน ไควกอนได้พาเด็กน้อยผู้เป็นทาสที่เขาคิดว่าจะนำสมดุลมาสู่พลังภายใต้การดูแลของเขา ถึงแม้จะมีความสงสัยของโอบีวันและสมาชิกคนอื่นๆ ของสภาเจได
          โอบีวันและไควกอนมีส่วนช่วยเหลือโลกของราชินีสาวสวยที่ถูกสมาพันธ์การค้าโจมตี บทบาทนี้ต้องเป็นหญิงสาวที่ดูแล้วเชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ปกครองดวงดาว แต่เวลาเดียวกันก็มีความอ่อนแอและเป็นคนเปิดเผย นาตาลี พอร์ทแมน เจ้าของผลงานภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง The Professional และ Beautiful Girls และปรากฏตัวบนเวทีบรอดเวย์ในเรื่อง The Diary of Anne Frank มารับบทของราชินี “ผมมองหาคนที่มีความสาว แข็งแกร่ง ดูแล้วเหมือนกับลีอา” ลูคัสอธิบายว่า “นาตาลีมีคุณสมบัติทั้งหมดนั้นและมีอะไรอีกมาก”
          พอร์ทแมนเข้ามารับบทบาท เธอแสดงความชื่นชมทันทีและเข้าใจดีว่าตัวละครนั้นเป็นบทบาทที่เป็นต้นแบบ “มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ได้แสดงเป็นราชินีสาวผู้ทรงอำนาจ” เธอกล่าวอย่างกระตือรือร้น “ฉันคิดว่าเป็นเรื่องดีสำหรับสาวๆ ที่จะได้เห็นผู้หญิงที่มีท่าทางเข้มแข็ง ซึ่งมีความฉลาดและความเป็นผู้นำด้วย”
          พอร์ทแมนต่างจากเพื่อนนักแสดงของเธอส่วนใหญ่ เธอไม่คุ้นเคยกับปรากฏการณ์ Star Wars ตอนที่มาแสดงในเอพพิโซด 1 แต่ญาติบางคนของเธอได้บอกใบ้ถึงความน่าตื่นเต้นให้ฟัง “ลูกพี่ลูกน้องของฉันหลงใหลภาพยนตร์มาโดยตลอด” เธอจำได้ “แต่ฉันก็ยังไม่เคยดูหนังก่อนที่จะมารับบทบาทเลย พอทุกอย่างเข้ามาหาฉันลูกพี่ลูกน้องของฉันถึงกับตื่นเต้น ‘โอ้ พระเจ้า เธอจะได้เล่นเรื่อง Star Wars!’”
ในการค้นหาผู้มารับบทอนาคินทาสทาทูอินวัย 9 ขวบเป็นความท้าทายในการคัดเลือกตัวนักแสดงที่น่ากลัวที่สุด ความสามารถพิเศษของเด็กชายบางอย่างแสดงออกมาให้เห็นท่ามกลางพอดเรดที่น่าตื่นเต้น ผู้เป็นที่สนใจของไควกอนและโอบีวันผู้พบว่าตัวเองติดอยู่บนดาวซึ่งเป็นบ้านเกิดของเด็กชาย

FB on February 08, 2012, 02:54:42 PM
          เป็นเวลานานกว่า 2 ปีที่เกอร์แลนด์มองหาเด็กนับร้อยคนเพื่อมารับบทของเด็กเจ้าความคิดผู้เปี่ยมไปด้วยความหวัง เขาไม่รู้ถึงชะตากรรมและความท้าทายอันน่าหวาดกลัวที่เฝ้ารอเขาอยู่ ลูคัสอยากให้อนาคินเป็นคนเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีไหวพริบ และเชื่อมั่นในตัวเอง เขาต้องสร้างความสนใจให้เด็กวัยรุ่นและพ่อแม่ของพวกเขาได้
          หลังจากที่ทำการค้นหาจนทั่วแล้ว ผู้สร้างภาพยนตร์จึงลงเอยกับเจค ลอยด์ “ผมมองหานักแสดงที่เก่ง มีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัว แล้วเจคก็มีความเป็นธรรมชาติด้วย” ลูคัสเล่าว่าเขาสะท้อนให้เห็นถึงริค แม็คคอลลัม “เจคมีคุณสมบัติทุกอย่างที่เหมาะสมกับที่จอร์จมองหาเพื่อบทของอนาคิน เขาเป็นคนฉลาด มีความซน และรักทุกอย่างที่เกี่ยวกับเครื่องกลเช่นเดียวกับอนาคิน”
          เจคบรรยายถึงอนาคินว่า “มักพบปัญหาและเรื่องวุ่นวายตลอด” เขาเล่าเสริมว่า “แต่อนาคินเป็นคนฉลาดและเป็นคนดีมาก เขาเป็นคนนึกถึงคนอื่นมากกว่าตัวเอง” การแปลงสภาพในอนาคตของอนาคินจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะดึงดูดใจเจคได้มาก “การรับบทอนาคินมีความหมายต่อผมมาก เพราะดาร์ธเวเดอร์เป็นตัวละครโปรดของผมในเรื่อง Star Wars”
          เจคมีการผสมผสานความตลก ความสนุกสนาน และความสามารถต่างๆ อยู่ในตัวมากกว่าเพื่อนร่วมแสดงของเขา ยอน แม็คกรีเกอร์ เล่าว่า “ผมไม่เคยร่วมงานกับนักแสดงเด็กคนไหนที่เก่งเหมือนเจคเลย ดูเหมือนเขาอยากจะเป็นนักแสดงตลอดเวลา และเขาก็อยากเป็นมืออาชีพซะด้วย แม้ว่าเขาจะรักการสร้างมุกตลกเป็นบางเวลา”
          ตามที่แฟนๆ จำนวนมากรู้มาจากภาพยนตร์ไตรภาคแรก ชะตากรรมของอนาคินในเวลาต่อมาต้องตกอยู่ในกำมือของ จักรพรรดิ์พัลพาทีนในไตรภาคแรก วุฒิสมาชิกพัลพาทีนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ทรงพลังที่เริ่มรวบรวมอำนาจของเขา เอียน แม็คเดียร์มิดกลับมารับบทบาทพัลพาทีนของเขาโดยที่ไม่ต้องแต่งหน้านักแสดงแบบสมัยก่อนเหมือนในเรื่อง Return of the Jedi
          ประสบการณ์หนึ่งที่แม็คเดียร์มิดไม่มีวันลืมคือ “การก้าวเข้าไปในฉากของเอพพิโซด 1 เป็นครั้งแรกเหมือนกับได้ยินเวลากลับไปหา ประสบการณ์ในเรื่อง Jedi” เขาจำได้ “พัลพาทีนเป็นตัวละครที่น่าสนใจ ภายนอกเขาดูธรรมดา แต่ในใจแล้วเขาเป็นคนแข็งแกร่ง พยายามก้าวข้ามสิ่งที่เป็นไปได้”
          ตัวละครอื่นที่มีความล้ำคือซิธ ลอร์ด ดาร์ธ มอล ร่วมทางไปกับที่ปรึกษาในการก่อสงครามที่ดุเดือดกับอัศวินเจได เรย์ พาร์ค นักต่อสู้ศิลปะการป้องกันตัวและเป็นนักฟันดาบรวมถึงเป็นนักยิมนาสติกที่ประสบความสำเร็จมารับบทบาทนี้ โดยเริ่มแรกพาร์คได้ร่วมงานกับผู้ควบคุมสตั๊นท์ นิค กิลลาร์ด แต่เขาสร้างความประทับใจให้ลูคัส แม็คคอลลัมและเกอร์แลนด์เป็นอย่างมาก เพราะเขาได้รับบทอันทรงเกียรติซึ่งเป็นการแสดงภาพยนตร์ของเขาครั้งแรก
          เขาได้แสดงร่วมกับคู่ต่อสู้ในฉากอย่างเลียม นีสัน และ ยอน แม็คกรีเกอร์ พาร์คได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับกิลลาร์ดในฉากการต่อสู้ที่นำสไตล์ของนักกีฬา และการต่อสู้แบบใหม่มาใส่ในตำนานการผจญภัย Star Wars ซึ่งอันที่จริงกิลลาร์ดได้สร้างศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ขึ้นมาโยดการผสมผสานเทคนิคการใช้ดาบต่อสู้ที่ยอดเยี่ยมหลายอย่างลงไป อาทิเช่น การเลียนแบบวิธีการฟันต้นไม้ และการเคลื่อนไหวของการตีเทนนิสที่ใส่ไปในปริมาณที่เหมาะสม การดวลดาบพลังแสงที่เร้าใจของเจไดที่ประชันกับลักษณะการต่อสู้ของดาร์ธ มอลที่มีความซับซ้อนถูกออกแบบฉากผาดโผนมาอย่างพิถีพิถัน ซึ่งและภาพยนตร์ต้องใช้เวลาถึงหลายสัปดาห์
          ผู้ที่หวนกลับมาสู่จักรวาลของ Star Wars คือดรอยด์ผู้เป็นที่รักอย่าง R2-D2 และ C-3PO แม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างไปก็ตาม เคนนี่ เบเกอร์ กลับมาสวมชุดโลหะของอาร์ทูอีกครั้ง ส่วนแอนโธนี่ แดเนียลส์ก็กลับมาร่วมตำนานโดยรับบทเป็นหุ่นยนต์ทางการฑูตในตำนานการผจญภัยทรีพีโอที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างโครงขึ้นมา ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยอนาคินในเอพพิโซด 1 ตั้งแต่ที่ทรีพีโอไม่มี “เนื้อหนัง” แดเนียลก็ไม่ต้องสวมชุดอย่างที่เคยในไตรภาคต้นฉบับเลย เขาแค่ให้เสียงพากย์อยู่หลังกล้องในระหว่างที่คนเชิดหุ่นทำหน้าที่จัดการกับดรอยด์
          และผู้ที่ได้รับการต้อนรับในการกลับมาครั้งนี้ แน่นอนว่าเป็น โยดา ปรมาจารย์เจไดในรูปร่างหน้าตาที่ค่อนข้างเป็นหนุ่มขึ้น แฟรงค์ ออซ กลับมารับบทของโยดาอีกครั้ง ซึ่งเป็นหุ่นที่สร้างขึ้นมาจากทีมงานผู้ควบคุมสิ่งมีชีวิตของนิค ดัดแมน ซึ่งมีตัวละครของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดถึง 140 ตัว

FB on February 08, 2012, 02:55:10 PM
          ในเอพพิโซด 1 โยดาคือหนึ่งในสมาชิกของสภาเจได เช่นเดียวกับตัวละครใหม่ของตำนานการผจญภัย Star Wars อย่าง เมซ วินดู ที่รับบทแสดงโดย ซามูเอล แอล. แจ็คสัน โดยก่อนที่จะมีการแสดงแจ็คสันเป็นแฟนของ Star Wars มาอย่างยาวนาน เขาถูกถามระหว่างากรสัมภาษณ์ว่าเขาอยากร่วมงานกับผู้กำกับคนไหเขาตอบอย่างทันทีว่า จอร์จ ลูคัส และตอบเสริมว่าเขาจะดีใจมากที่ได้ร่วมงานในหนังเรื่อง Star Wars ตอนใหม่ เกอร์แลนด์ได้รู้ถคงความสนใจของแจ็คสันและให้เขามารับบทแสดงเป็น เมซ วินดู ซึ่งนั่นเป็นประสบการณ์หนึ่งที่น่าจดจำสำหรับนักแสดงผู้มากประสบการณ์ “ผมได้แสดงร่วมกับโยดาในเอพพิโซด 1” เขานึกย้อนกลับไปพร้อมรอยยิ้ม“มันเป็นความฝันของผมอย่างหนึ่งที่กลายเป็นจริง”
          การมอบหมายจาก จอร์จ ลูคัส ที่ให้ค้นหานักแสดงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบทบาทก็เป็นข้อชี้ชัดในการคัดเลือกตัวนักแสดงหญิงชาวสวีเดน เพอร์นิลล่า ออกัสต์ ผู้มารับบท ชมี สกายวอล์คเกอร์ แม่ของอนาคิน โดยฉากต่างๆ ของแม่ลูกนั้นทำให้มีช่วงเวลาที่สะเทือนอารมณ์ในเรื่องราวอยู่หลายช่วง นักแสดงอาวุโสจากภาพยนตร์หลายเรื่องโดย อิงมาร์ เบิร์กแมน และ ออกัสต์ ริคแมน แม็คคอลลัม เล่าว่า “เธอมีทั้งความสง่าและพลังทุกอย่างตามที่เราต้องการเพื่อบทแม่ของอนาคิน”
          และตัวละครใหม่ในครอบครัว Star Wars คือ จาร์ จาร์ บลิงค์ส ซึ่งเป็นสัตว์ประหลาดที่ซุ่มซ่ามเหมือนเด็กและมีการพูดในแบบของตัวเอง จาร์ จาร์ เข้ามาร่วมกับไควกอน โอบีวัน ราชินีและอนาคินในการผจญภัยของพวกเขา จาร์ จาร์บนจอภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีการแสดงจริงกับตัวละครไลฟ์แอ็คชั่น ได้มีขั้นตอนอย่างละเอียดในการคัดเลือกตัวนักแสดงที่ผสมผสานลักษณะท่าทางตัวละครและน้ำเสียงให้เข้ากับตัวละครที่เทคนิค CGI ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา โดยมีนักแสดงละครเวที อาห์เม็ด เบสต์ สะดุดตาของเกอร์แลนด์ในระหว่างการแสดงเรื่อง Stomp ที่ซาน ฟรานซิสโกมารับบทแสดงเป็นจาร์ จาร์
          “อาห์เม็ดนี่แหละคือจาร์ จาร์” โรบิน เกอร์แลนด์ อ้างว่า “การแสดงของเขาทำให้ตัวละครดูสมจริง” เลียม นีสัน กล่าวเสริมว่า “อาห์เม็ดเป็นคนตลกและเป็นนักแสดงที่มีพรสวรรค์มาก ซึ่งเขาทำให้จาร์ จาร์ มีชีวิตขึ้นมาได้” ในบางครั้งการแสดงของนักแสดงที่มีเอกลักษณ์อย่างเบสต์ก็เป็นตัวประคองเพื่อนร่วมแสดงของเขาเอาไว้ “มีหลายเทคที่จะแสดงหน้านิ่งๆ ได้ยาก” นีสันจำได้ว่า “เพราะเขาชอบทำท่าตลกและทำเสียงประหลาดใหม่ๆ”
          การแสดงจาร์จาร์ให้มีความตลกและสนุกสนานเท่าที่จะทำได้ เบสต์แสดงให้เป็นตัวละครที่มีท่าทางการเคลื่อนไหวแบบแปลกๆ ที่ทำให้ตัวละครต้องไปพบกับปัญหา “จาร์ จาร์ อยากเอาใจทุกคนและทำทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทาง” เบสต์กล่าว “แต่ไม่ว่าเขาจะพยายามแค่ไหน เขาก็คอยทำลายและขัดใจใครตลอด”
          และผู้แสดงที่สำคัญอีกคนในเอพพิโซด 1 คือนักแสดงชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง เทอเรนซ์ สแตมป์ ผู้รับบทเป็นเสนาบดีวาลอรัม ที่มองว่าพลังของเขาเป็นหัวหน้าของสภาที่ถูกคุกคามจากวุฒิสมาชิกพัลพาทีน ราล์ฟ บราวน์ รับบทเป็นนักบินชาวนาบูที่ชื่อ ริค โอลี่ และฮิวจ์ ฟวาร์ชี รับบทเป็น และกัปตันพานาก้า องครักษ์ผู้เก่งกล้าของราชินี

          การถ่ายทำระบบดิจิตอล
          เป็นเวลานานกว่า 20 ปีที่จอร์จ ลูคัสเป็นที่รู้จักในนามของนักบุกเบิกด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับเรื่อง Star Wars มีอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ในด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่สร้างขึ้นมา รวมถึงขั้นตอนช่วงโพสต์-โพรดักชั่นและในการนำเสนอภาพยนตร์ด้วย
สำหรับการทำความเข้าใจในไอเดียเรื่องวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์สำหรับ Star Wars ลูคัสได้สร้างบริษัทผลิตเอ็ฟเฟ็กต์ขึ้นมาชื่อ Industrial Light & Magic ซึ่งมีนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาให้วงการภาพยนตร์ได้รู้จักและเป็นการปฏิวัติสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ ILM มีการเริ่มดำเนินงานเมื่อลูคัสใช้ “หน่วยคอมมานโด” จำนวน 45 คนและพนักงานมากกว่า 1,000 คนตามมาด้วยทีมงานอันทรงเกียรติอีก 14 คนผู้เป็นเจ้าของรางวัล Academy Awards สาขาวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม และเจ้าของรางวัล Scientific and Technical Achievement Award อีก 14 คนที่มาสร้างผลงานวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่มีควมโดดเด่นในภาพยนตร์มาแล้วมากกว่า 120 เรื่อง
          ประเพณีสืบทอดที่ต่อกันมาด้านเอ็ฟเฟ็กต์ที่โดดเด่นสืบต่อมาถึงในเอพพิโซด 1 ที่สร้างขึ้นต่อจากภาพยนตร์ดิจิตอลที่มีชื่อเสียงของ ILM อาทิเช่น Terminator 2: Judgment Day, Jurassic Park, Forrest Gump และ Twister ซึ่งในเอพพิโซด 1 เทคโนโลยีดิจิตอลทำหน้าที่ได้อย่างโดดเด่นกว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องในประวัติศาสตร์.
          สำหรับ “การถ่ายทำระบบดิจิตอล” ในครั้งนี้ ILM พบความท้าทายด้านการเข้าถึงโลกของแฟนตาซีที่ไม่ธรรมดา ขณะเดียวกันก็ต้องคงภาพที่สมจริงเอาไว้ และช่วยเหลือในเรื่องฟุตเทจแบบไลฟ์แอ็คชั่นของเหล่านักแสดง มันไม่ใช่แค่ฉากหลังแนวแฟนตาซีเท่านั้น แต่ทั้งฉาก ยานพาหนะ และแม้แต่ตัวละครก็ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้ว 95% ของเฟรมต่างๆ ในภาพยนตร์มีจำนวนรวมแล้วเกือบ 2,000 ฉากใช้การถ่ายทำระบบดิจิตอล มากกว่า 3 เท่าตัวของปริมาณที่มากที่สุดของฉากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่เคยสร้างขึ้นในภาพยนตร์
แต่ถึงอย่างไรสำหรับภารกิจอันน่ากลัวที่ลูคัสเคยรับมือมาก่อน ILM เขาไม่เคยตั้งข้อสงสัยเลยว่าผู้ร่วมงานจะยอมแพ้ความท้าทาย “หลังจากที่ได้ร่วมงานกับพวกเขามานานกว่า 2 ทศวรรษ” เขากล่าวว่า “ผมรู้ว่าพวกเขาทำได้”
          ผลงานของทีมงาน ILM ในเอพพิโซด 1 ที่รวบรวมผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ 250 คนมาสร้างผลงานในจักรวาลโลกดิจิตอลนี้นานถึง 2 ปี ผลงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์มีความอลังการมาก ซึ่งไม่ได้ใช้ผู้ควบคุมเก่งๆ ของ ILM เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่มากถึง 3 คนที่ถูกเรียกตัวมาร่วมแบ่งเบาหน้าที่ โดยแต่ละคนต้องรับหน้าที่ที่สำคัญสุด 1 อย่างหรือมากกว่านั้นในฉากแอ็คชั่นหลักๆ รวมถึงประเภทของสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ที่เกิดขึ้นตลอดในภาพยนตร์ เช่น ดาบพลังแสงที่ส่องแสงตลอดเวลา เด็นนิส มูเร็น เจ้าของรางวัล Oscar เป็นผู้ชำนาญด้านการบุกเบิกเอ็ฟเฟ็กต์ของ Star Wars ภาคต้นฉบับได้มาควบคุมเอ็ฟเฟ็กต์การต่อสู้ภาคพื้นดินที่ยิ่งใหญ่รวมถึงฉากใต้น้ำของภาพยนตร์ จอห์น นอล ผู้ให้กำเนิดโปรแกรม Photoshop ดั้งเดิม ควบคุมเรื่องยานอวกาศและฉากต่างๆ ของพอดเรซ ส่วนสก็อตต์ สเควียร์ส Squiers ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฉาก Theed City อันน่าตื่นเต้นรวมถึงเอ็ฟเฟ็กต์ของดาบพลังแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์เหล่านี้ได้สร้างโลกทั้งหมดขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์ของ ILM ซึ่งความสำเร็จนั้นได้มอบความน่าอัศจรรย์มาสู่จอภาพยนตร์ แต่ทำให้เหล่านักแสดงต้องยืนอยู่ในฉาก “บลูสกรีน” ที่ว่างเปล่าอยู่บ่อยๆ ซึ่งภายหลังมีการใช้ฉากหลังแบบดิจิตอลมาแทนที่
          การแสดงท่ามกลางโลกที่ประกอบไปด้วยบลูสกรีนและคอมพิวเตอร์กราฟฟิค เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของเหล่านักแสดงที่ต้องพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางจินตนาการของตัวเองทั้งหมด มีเพียงเครื่องแต่งกายหรือแสตนอินในบางครั้งเท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขาจินตนาการถึงจักรวาลที่สุดท้ายจะอยู่รายล้อมพวกเขาในภาพยนตร์ได้ น่าแปลกที่ไม่มีนักแสดงคนใดเคยมีประสบการณ์ในการทำงานกับบลูสกรีนมาก่อน แต่ไม่ใช่แค่รับมือกับขั้นตอนได้เท่านั้น พวกเขายังทำงานร่วมกับมันได้อีกด้วย เลียม นีสัน ผู้เปรียบเทียบประสบการณ์กับการอยู่ในฉากว่า “เราต้องใช้จินตนาการ เราแสดงไปตามสัญชาตญาณล้วนๆ สำหรับบทของผมแล้ว ผมอยากแน่ใจว่าผมแสดงออกมาเหมือนเชื่อว่าทุกอย่างมีอยู่จริง”
          ขอบเขตของดิจิตอลได้แผนขยายไปถึงการสร้างตัวละครของเอพพิโซด 1 บางตัว รวมถึงตัวละครที่คุ้นเคยอย่าง จับบ้า เดอะ ฮัตต์ ตัวละครคุ้นตาจาก Return of the Jedi และ Star Wars Special Edition ท่ามกลางผลงานจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคชุดใหม่ที่มากกว่า 60 ตัวได้รับการควบคุมจากผู้ควบคุมแอนิเมชั่น ร็อบ โคลแมน, จาร์ จาร์ บิงค์ส; ซีบัลบ้า แชมป์การแข่งขันพอดเรซที่ท้าทายจากอนาคิน และวาทูตัวละครที่พูดเสียงกระด้างผู้ที่อนาคินเป็นทาสรับใช้อย่างตรากตรำ ตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิคแต่ละตัวมีการแสดงที่โดดเด่นในแบบของตัวเองผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางอันมีเอกลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาจากผู้ชำนาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์ แม้แต่การพริ้วและการเคลื่อนไหวของเสื้อผ้าตัวละครก็เหมือนกับตัวละครที่ร่วมฉากซึ่งมีทั้งเนื้อและหนังของพวกเขา
          นั่นอาจจเป็นโลกดิจิตอลแต่ก็มีความสำคัญที่ต้องมีหลักการทำงานที่เข้ากันได้แบบสมัยก่อนเอ็ฟเฟ็กต์สร้างชื่อ สำหรับการสร้างโมเดลได้รับการควบคุมโดยสตีฟ กอว์ลีย์ จากหน่วยสร้างโมเดลของ ILM ที่มารับหน้าที่สำคัญต่อในจักรวาลของ Star Wars ซึ่งเขาต้องทำงานร่วมกับองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์กราฟฟิค

FB on February 08, 2012, 02:55:37 PM
          ผลงานดิจิตอลทำหน้าสำคัญของการสร้างโลกต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาและมีความแตกต่างกันในเอพพิโซด 1 ซึ่งทั้ง 3 โลกทำหน้าที่เป็นสถานที่หลักของเรื่องราวดวงดาวแห่งทะเลทรายแทตทูอินที่คุ้นตาแฟนๆ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับอยู่แล้วเป็นที่อยู่ของเอเลี่ยนหลากสายพันธุ์ที่มีการเดินทางผ่านสถานีอวกาศอันไกลโพ้น อาณาบริเวณของโลกนี้อยู่เหนืออารยธรรมที่มีส่วนสำคัญต่อสาธารณรัฐแห่งดวงดาว ทำให้แทตทูอินเป็นดาวที่มีความรุนแรงซึ่งปกครองโดยพวกเหล่าร้าย มีการค้าตลาดมืดและการพนันเป็นสิ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นข้าทาสบริวารทั้งหลายมีเศรษฐีเป็นเจ้าของ
          นาบูเป็นดินแดนที่มีความงดงามและสงบสุขที่มีทิวทัศน์สีเขียวขจีและมีเมืองเพียง 2-3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ทั้งเบื้องบนและใต้แม่น้ำ โลกขนาดกระทัดรัดใบนี้เป็นฉากการต่อสู้ที่จุดชนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตำนานการผจญภัย Star Wars ในภาพยนตร์
โคโรซังต์เป็นเมืองหลวงแห่งโลกที่ปกคลุมดาวทั้งหมดในตึกสูงขนาดยักษ์ ตั้งอยู่ใจกลางจักรวาล Star Wars โดยที่นี่มีเจไดตั้งกองบัญชาการที่วิหารเจไดอันทรงพลัง และจากจุดนี้มีสภาแห่งจักรวาลปกครองโดยสาธารณรัฐ

          สถานที่ต่างๆ
          นอกเหนือจากผลงานดิจิตอลที่สร้างขึ้นที่ ILM แล้ว บทสรุปของสถานที่อันกว้างขวางในเอพพิโซด 1 ที่ต้องใช้ฉากพิเศษและฐานที่ตั้งหลักสำหรับการผลิต คือผู้สร้างภาพยนตร์ใช้สถานที่ของ Leavesden Studios ที่ประเทศอังกฤษเพื่อสร้างโรงผลิตภาพยนตร์ของจริงภายใต้หลังคาที่ขยายแผ่กว้าง ความสะดวกของพื้นที่ 850,000 ตารางฟีตถูกปรับเปลี่ยนเป็น 10 เวที และ 60 ฉาก บวกกับพื้นที่ขนาดกว้างเพื่อเป็นเอ็ฟเฟ็กต์ภาคพื้นดิน สเปเชีลเอ็ฟเฟ็กต์และการผลิตเครื่องแต่งกาย และมีแผนกจัดทำรอกและหน่วยดับเพลิงเป็นของตัวเองด้วย
ครั้งหนึ่ง Leavesden เคยเป็นโรงงานเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน Rolls Royce และมีโรงถ่ายขนาดยักษ์ให้สตูดิโอทุกแห่งในโลก จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในด้านขนาดและความยิ่งใหญ่ของการถ่ายทำเอพพิโซด 1 อย่างแท้จริง “มันน่าจะเป็นสถานที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยสร้างภาพยนตร์มา” ริค แม็คคอลลัม กล่าว “เราสามารถถ่ายทำและสร้างขึ้นมาได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งประหยัดแรงและมีความพิถีพิถัน”
          การถ่ายทำเอพพิโซด 1 เริ่มขึ้นที่ Leavesden ในช่วงซัมเมอร์ปี 1997 ซึ่งหลังจากนั้น 3 ปีลูคัสได้เริ่มเขียนบทและทีมงานผู้ออกแบบของเขาได้นำคอนเซ็ปต์ในช่วงแรกที่ร่างไว้มารวมเข้ากัน และหลังจากนั้น 1 ปีก็เริ่มมีการก่อสร้างขึ้นในฉาก จากนั้นการผลิตภาพยนตร์ได้ย้ายไปที่ Caserta Royal Palace ที่ใกล้กับ Naples ประเทศอิตาลีเพื่อฉากในตำหนักของราชินีนาบูมีการสำรวจสถานที่อีกหลายแห่งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์เห็นว่า Caserta Royal Palace ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่สวยที่สุดของยุโรปและมีสถาปัตยกรรมที่ดูงดงามจะสร้างความสมจริงและความน่าเชื่อถือที่สำคัญให้ฉากต่างๆ ได้
          ในช่วงซัมเมอร์ที่ร้อนระอุ ทีมงานผู้สร้างเอพพิโซด 1 ได้สร้างสิ่งที่แม็คคอลลัมเรียกว่า “การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก” ขึ้นมาจึงต้องย้ายไปที่เขต North African Sahara – ทูนิเซียซึ่งเป็นที่ตั้งของฉากแทตทูอิน โดยสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่มีความโดดเด่นของทูนิเซียได้เพิ่มความสมบูรณ์แบบที่ไม่ธรรมดาให้กับการตกแต่งศิลปะของาภพยนตร์อีกครั้ง เหมือนอย่างที่เคยมีใน Star Wars เมื่อ 20 ที่แล้ว ทีมงานได้ปรับเปลี่ยนสถานที่บางแห่งเล็กน้อยด้วยการตกแต่งฉากเล็กๆ น้อยๆ ที่มีความสำคัญต่อการสร้างภาพของแทตทูอินให้มีความสมบูรณ์แบบในส่วนประกอบของเบอร์เบอร์ในโลกอื่น
          สำหรับเหตุผลในแง่การคำนวณแล้ว การเคลื่อนย้ายและการถ่ายทำภาพยนตร์ในเวลาต่อมาต้องเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายนและสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดแห่งปีในทะเลทรายอันร้อนระอุภายใต้อุณหภูมิเฉลี่ย 130 องศาฟาห์เรนไฮต์ ทีมงานไม่ได้สร้างฉากที่เป็นเมืองขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังต้องสร้างหมู่บ้านที่รองรับสมาชิกนักแสดงและทีมงานเกือบ 200 คนด้วย
          ทีมงานในการผลิตคนหนึ่งต้องทนมากกว่าสภาพความร้อน ซึ่งเขารับมือกับมันได้จริงๆ “ผมชอบมันมากเลย” ยอน แม็คกรีเกอร์ เล่าว่า “เราต้องสวมเสื้อผ้าประมาณ 8 ชั้นและเดินเตะไปรอบทะเลทราย มันโหดมากแต่ผมสนุกกับมันนะ”
          ความร้อนรุนแรงกลายเป็นความท้าทายด้านสภาพอากาศขั้นแรกที่ทีมงานของเอพพิโซด 1 พบที่ทูนิเซีย เมื่อช่วงเย็นของปลายเดือนมิถุนายนเหล่านักแสดงและทีมงานได้พบกับเสน่ห์ที่กลายเป็นความน่ากลัว เมื่อมีสายฟ้าปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าเหนือทะเลทราย ตามมาด้วยกำแพงแห่งทรายที่ไล่กวดพวกเขา เมื่อพวกเขาไปถึงโรงแรมสายฝนก็เริ่มกระหน่ำใส่ฉากต่างๆ ลงมาอย่างหนัก
          หลังจากที่พายุในคืนนั้นทำให้ฉากของแทตทูอินมีอารมณ์ของที่จอดรถเทรลเลอร์ หลังพายุทอร์นาโดพัดเครื่องแต่งกายนับร้อยชิ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วทะเลทราย และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปลิวและแยกชิ้นเป็นส่วนๆ แม้แต่ดรอยด์บางตัวก็ฉีกขาดกระจัดกระจายเหมือนทหารที่พ่ายแพ้จากสมรภูมิรบ
          ช่วงเช้าตรู่หลังพายุฝน ผู้อำนวยการสร้างริค แม็คคอลลัมเดินทางมาที่ใจกลางซากความเสียหาย และเริ่มหาทางทำให้การผลิตกลับมาได้ทันเวลาโดยทันที แทนที่จะเศร้าสลดกับความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ เหล่านักแสดงและทีมงานกลับทำงานอย่างกระฉับกระเฉงภายใต้การควบคุมของแม็คคอลลัม และการฟื้นฟูสภาพก็เริ่มดูท่าจะเป็นไปได้ขึ้นมาทันที จอร์จ ลูคัส ก็ได้ควบคุมกองถ่ายหลัก เพื่อเปรียบเทียบดูพื้นที่ที่ไม่ได้รับความเสียหายที่สามารถใช้ถ่ายทำได้ เครื่องแต่งกายต่างๆ ถูกขุดขึ้นมาจากทะเลทรายและถูกทำความสะอาดระหว่างการสร้างและซ่อมแซมยานพาหนะต่างๆ ทุกคนให้ความช่วยเหลือกันทุกๆ ด้าน และน่าอัศจรรย์ที่การถ่ายทำภาพยนตร์กลับมาทันเวลาที่กำหนดได้ ลูคัสเองได้เสนอการประเมิณที่มีความหวังมากที่สุดจากความคิด ในสถานการณ์ที่ร้ายแรงมาก เมื่อเขาบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์เดียวกันเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีมาแล้วในฉากของ Star Wars ภาคต้นฉบับ เขาให้เหตุผลว่าบางทีสิ่งที่เกิดขึ้นอีกครั้งอาจเป็นลางบอกเหตุที่ดีก็ได้
          การผลิตได้ย้ายกลับมาที่ Leavesden ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นไปแล้วในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง หลายเดือนหลังจากนั้นเป็นช่วงขั้นตอนการลำดับภาพ สตูดิโอขนาดยักษ์ทำหน้าที่เป็นถิ่นฐานหลักอีกครั้งเมื่อผู้สร้างภาพยนตร์มารวมตัวกันเพื่อพากย์เสียงและเลือกฉากต่างๆ ซึ่งความต้องการถูกกำหนดโดยภาพที่ลูคัสตัดต่อคร่าวๆ
          อันที่จริงแล้วการลำดับภาพเป็นช่วงที่ลูคัสชอบมากในการสร้างภาพยนตร์ เพราะมันสร้างมิติอันน่าตื่นเต้น ซึ่งเป็นความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีดิจิตอลของ ILM ลูคัสและผู้ลำดับภาพของเขามาร์ติน สมิธ และ เบ็น เบิร์ต สนุกกับการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ พวกเขาสามารถสร้างฉากต่างๆ ในห้องลำดับภาพได้โดยตัดต่อภาพคนแบบดิจิตอล และแม้แต่ตัดต่อสถานที่ต่างๆ จากฉากหนึ่งย้ายไปที่ฉากหนึ่งได้ด้วย “ผมสามารถสร้างและเขียนเรื่องราวขึ้นมาใหม่ได้ในช่วงลำดับภาพเลย” ลูคัสกล่าว

FB on February 08, 2012, 02:56:15 PM
          ดนตรีและเสียงประกอบ
          สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Star Wars จอร์จ ลูคัสตั้งใจใช้เสียงประกอบที่มีการพัฒนาขั้นสูง “ผมหลงใหลในเสียงและเพลงประกอบภาพยนตร์มาก” เขาแสดงความเห็นและกล่าวว่าทั้งสองสิ่งนั้นต้องไปด้วยกันในการถ่ายทอดเรื่องราวของเขา
Star Wars ภาคแรกเป็นดนตรีบรรเลงในระบบดอลบี้สเตอริโอที่มีการลดนอยซ์แบบที่ได้รับความนิยม เช่นเดียวกับ 2 เอพพิโซดในไตรภาคต้นฉบับ
          ตั้งแต่ที่เทคโนโลยีด้านเสียงของภาพยนตร์มีการปรับปรุงครั้งสำคัญด้วยการนำเสนอเสียงระบบดิจิตอล และโปรแกรม THX ของ Lucasfilm เพราะฉะนั้นสำหรับ The Star Wars Trilogy Special Edition ลูคัสจึงสร้างเพลงประกอบภาพยนตร์ที่รีมิกซ์แบบดิจิตอลขึ้นมา ซึ่งล้ำหน้ากว่าโดยการนำเสนอในรูปแบบฟิล์ม 70mm ของต้นฉบับที่ใช้บนแถบแม่เหล็ก
          ทัศนคติของลูคัสในเรื่องของเสียงจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลังจากนั้นเอพพิโซด 1 ได้สร้างปรากฏการณ์ของดนตรีประกอบภาพยนตร์ขึ้นมาใหม่เหมือนกับที่ใช้เอ็ฟเฟ็กต์และการลำดับภาพแบบดิจิตอล ซึ่งเป็นครั้งแรกของภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นขึ้นมาด้วยเสียงระบบ Dolby Digital-Surround EX ที่ใช้ระบบเสียง 6.1 แชนแนล โดยเพิ่มขึ้นจากแชลแนลที่มีการใช้รูปแบบดิจิตอลในโรงภาพยนตร์ตอนนี้ Lucasfilm THX และ Dolby Laboratories ร่วมกันพัฒนาระบบเสียงรอบโรงภาพยนตร์ที่มีการควบคุมโดยผู้ออกแบบเสียงเจ้าของรางวัล Oscar แกรี่ ริดสตรอม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติงานสร้างสรรค์ที่ Skywalker Sound
          ระบบเสียงแบบใหม่แสดงจุดเด่นด้านความสามารถของศิลปินทั้ง 2 เจ้าของผลงานที่ได้รับคำชมมาแล้วจากทั่วโลกออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด และผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในจักรวาล Star Wars เป็นพิเศษอีกครั้งคือผู้ประพันธ์ดนตรีเจ้าของรางวัล Academy Award ถึง 5 ครั้งอย่างจอห์น วิลเลียมส์และผู้ออกแบบเสียงเบ็น เบิร์ต
          ความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือในตำนานการผจญภัย Star Wars ของจอห์น วิลเลียมส์ไม่ได้เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง เพราะดนตรีของเขาเป็นการให้ความเน้นย้ำถึงตัวละคร อารมณ์ความรู้สึกและฉากแอ็คชั่นของภาพยนตร์ “ผมพูดมาตลอดว่าหนังพวกนี้เหมือนหนังเงียบ” ลูคัสกล่าว “และผมโชคดีมากที่จอห์นเข้าใจถึงเรื่องนี้”
          สำหรับเอพพิโซด 1 วิลเลียมส์ประพันธ์ดนตรีที่ยาวเกือบ 2 ชั่วโมง เขาสร้างองค์ประกอบที่มีความแปลกใหม่แต่ยังมีเนื้อความและจุดสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับดนตรีของต้นฉบับไตรภาคอยู่ เพราะฉะนั้นในขณะที่ดนตรีทั้งหมดในเอพพิโซด 1 เป็นดนตรีใหม่ ก็มีธีมหลักบางส่วนที่คุ้นหูและมีดนตรีที่อิงมาจากภาพยนตร์ 3 ภาคแรก ตัวอย่างเช่นธีมของอนาคินที่ผู้ชมจะได้ยินเป็นการบอกใบ้ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับเขาในการแปลงกายต่อมา
          “ถึงอย่างไรโอกาสและความท้าทายที่สำคัญสุดของผม” วิลเลียมส์กล่าวว่า “คือการสร้างองค์ประกอบใหม่ที่มอบความไพเราะอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวละครใหม่ เหมือนกับที่เราเคยำทไว้ในภาพยนตร์เรื่องก่อน” เพราะฉะนั้นจึงมีองค์ประกอบใหม่ทั้งหมดสำหรับจาร์ จาร์, ดาร์ธ มอล และราชินีรวมถึงคนอื่นๆ “หนังสือรวมธีมดนตรีของ Star Wars นี้เหมือนมีการพัฒนาขึ้นมาเมื่อจอร์จได้นำสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ มาสู่สวนสัตว์ป่า” วิลเลียมส์กล่าวเสริม
          เบิร์ต เจ้าของผลงานการออกแบบดนตรีอย่างสร้างสรรค์มารับบทบาทหลักในภาพยนตร์ Star Wars และ Special Editions พวกเขาได้สร้างดนตรีใหม่ๆ ไว้มากกว่า 1,000 ชุดสำหรับเอพพิโซด 1 เขารวบรวมเสียงเหล่านี้มาจากดินแดนอันไกลโพ้นและแม้แต่เสียงหลังบ้านของเขาเอง การปฏิวัติระบบดิจิตอลได้มีส่วนสำคัญต่อผลงานของเบิร์ตเช่นกันในการปรับการมิกซ์เสียงให้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
          ในระหว่างที่สร้างการปรับเปลี่ยนอารมณ์แห่งโสตประสาทแบบใหม่ขึ้นมา เบิร์ตก็ยังใส่ใจที่จะคงอารมณ์แห่งโสตประสาทของต้นฉบับ Star Wars เอาไว้ “เรามีเอ็ฟเฟ็กต์ที่เป็นสัญลักษณ์หลายอย่างที่กลับมาอีกครั้งในเอพพิโซด 1 ซึ่งผมคิดว่ามันเหมาะสมที่จะอ้างอิงถึงมัน เพราะแฟนๆ คุ้นเคยกับมัน” เบิร์ตอธิบาย สำหรับเสียงของดาบพลังแสงบางเสียงก็ใช้เสียงเก่ามาผสมกับเสียงใหม่ โดยได้เบิร์ตมาสร้างเสียงใหม่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะกับฉากการต่อสู้ที่รวดเร็วขึ้นในภาพยนตร์ภาคใหม่
          ความเข้มข้นของภาพยนตร์ เพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีความแตกต่างและเอ็ฟเฟ็กต์อันเลื่องชื่อได้มอบบบทสรุปอันน่าประทับใจของสิ่งที่เริ่มจากการเป็นเพียงความฝันของจอร์จ ลูคัส ตอนนี้ต้องขอบคุณการปรับโฉมและการทำงานอย่างหนักของทีมงานนับพันคนที่มาร่วมงานกันทำให้ความฝันมีความสมจริง โลกใบใหม่อันน่าอัศจรรย์ที่ยังคงตำนานเดิมอันเป็นที่รักเอาไว้พร้อมสำหรับแฟนๆ นับล้านที่เฝ้ารอการมาถึงของภาพยนตร์เป็นเวลาหลายปีแล้ว

          นี่คือจุดเริ่มต้น

          สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น

FB on February 08, 2012, 02:56:44 PM
          การออกแบบเครื่องแต่งกาย

          เรื่องราวในเอพพิโซด 1 ของจอร์จ ลูคัส ได้พาเราไปยังใจกลางของจักรวาลและดวงดาวต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ซึ่งผู้อาศัยเป็นผู้มีอำนาจสูงส่ง มั่งคั่ง มีอำนาจ มีอิทธิพลด้านการเมืองและมีรสนิยม จึงเลี่ยงเรื่องของแฟชั่นหรูหราที่มีความซับซ้อนและการออกแบบเครื่องแต่งกายไปไม่ได้ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายอย่างทรีช่า บิกการ์ และศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์เอียน แม็คเคก ได้ทำให้จินตนาการแห่งโลกของแฟชั่นและเครื่องแต่งกายในเอพพิโซด 1 ของลูคัสมีชีวิตชีวาขึ้นมา
          ความท้าทายที่สำคัญคือระดับความสมจริงของเครื่องแต่งกายที่จำเป็นต้องใช้ในเรื่องและฉากช่วงสั้นๆ ที่ไอเดียทั้งหมดของลูคัสต้องมีความสมจริงขึ้นมา ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึงปีที่บิกการ์และทีมงานหลักของเธอ 40 คนได้พยายามออกแบบและนำเครื่องแต่งกายกว่าพันชุดมารวมกัน โดยต้องปรับเปลี่ยนจากเครื่องแต่งกายที่มีความละเอียดซับซ้นอ หรูหราและมีลายนูนประดับให้เป็นชุดเรียบง่ายที่ยังคงรายละเอียดเครื่องแต่งกายของทาสเอาไว้อย่างระมัดระวัง “แผนกเครื่องแต่งกาย/ฉากของเราต้องผลิตเครื่องประดับทั้งหมด รวมถึงหมวกหุ้มเกราะ ผ้าโพกศีรษะและหัวเข็มขัด” บิกการ์ ผู้ทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนกล่าวว่า “พวกเขาสร้างผลงานที่น่าทึ่งมาก”
          ไอเดียเรื่องเครื่องแต่งกายหลายอย่างของลูคัสอิงมาจากแฟชั่นและลักษณะของประเทศต่างๆ หรือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์และโทนสีที่เขาใส่ใจเป็นพิเศษ ชาวญี่ปุ่น ชาวมองโกเลีย ชาวจีน ชาวอเมริกันทางตอนเหนือ และชาวยุโรปผู้มีอิทธิพลทั้งหมดจะเห็นได้จากแฟชั่นในเอพพิโซด 1 ที่มากมายมหาศาล เครื่องแต่งกายทุกชิ้นมีหน้าตาและลักษณะที่มีเอกลักาณ์ บิกการ์อธิบายว่า “เครื่องแต่งกายทุกชิ้นที่ออกแบบไว้ในเอพพิโซด 1 อิงมาจากประวัติศาสตร์ แต่เราได้ปรับเปลี่ยนและเล่นกับเครื่องแต่งกายต่างๆ เพื่อคงลักษณะของเครื่องแต่งกายให้ดูเข้ากับกาลเทศะเอาไว้”
          แม็คเคกเริ่มสร้างคอนเซ็ปต์ของเครื่องแต่งกายตั้งแต่ช่วงเนิ่นๆ ของการพรี-โพรดักชั่น “ตอนนั้นยังไม่มีบทภาพยนตร์ด้วยซ้ำ” เขานึกย้อนหลัง “จอร์จจะเข้ามาเยี่ยมเพื่ออธิบายฉากและตัวละครต่างๆ ทำให้เราได้เริ่มงานออกแบบบางอย่างได้”
          ขณะที่ให้อิสระแก่แม็คเคกและบิกการ์อย่างมากในการทำหน้าที่ออกแบบและจัดการเรื่องเครื่องแต่งกายของพวกเขา ลูคัสก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบแฟชั่นของโลกเหล่านี้ด้วย “จริงๆ แล้วในท้ายที่สุดจอร์จคือผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย” แม็คเคกกล่าว “เขาเลือกสิ่งที่เขาต้องการและชี้นำเราว่าเขาอยากได้แบบไหน”
          บิกการ์กล่าวว่า “จอร์จมีส่วนร่วมตลอดทุกขั้นตอน เขาจะเข้ามาในการประชุมกันเพื่อพูดคุยถึงเรื่องมุมมองเครื่องแต่งกาย สีสัน และรูปร่างต่างๆ”
          หลังจากที่แม็คเคกออกแบบและวาดโครงร่างคร่าวๆ เสร็จแล้ว บิกการ์ได้นำผลงานของเขามาเนรมิตให้เป็นจริงขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ใส่ไอเดียและการออกแบบของเธอลงไปเสริมด้วย
          ความอลังการ ความหลากหลาย และความซับซ้อนของเครื่องแต่งกายในเพพิโซด 1 เห็นได้จากตัวละครหลายตัวในเรื่องราว แต่ไม่มีตัวละครไหนเหนือไปกว่าราชินีอมิดาลาที่รับบทโดยนาตาลี พอร์ทแมน
          แม้จะมีความลังเลในการยอมรับเรื่องเครื่องแต่งกายหรือตัวละครโปรด บิกการ์ก็ยอมรับถึงการหาโอกาสหลายครั้งในการออกแบบและสร้างเครื่องแต่งกายของราชินีและเครื่องแต่งกายของสาวรับใช้ “เครื่องแต่งกายสำหรับดวงดาวของราชินีมีความน่าสนใจในการสร้างขึ้นมาก เพราะเราพิมพ์การออกแบบที่มีความพิเศษลงบนผ้าไหม” เธออธิบาย “และเรายังใช้เทคนิคการย้อมสีแบบต่างๆ ที่ทำให้เราได้ผสมผสานผ้าไหมที่มีความล้ำสมัยกับผ้าสมัยโบราณ”
          ราชินีต้องสวมเครื่องแต่งกาย 8 ชุด มีเพียงไม่กี่ชุดที่ออกแบบมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ลูคัสอยากขยายแฟชั่นในจักรวาลของตำนานการผจญภัยที่นำไปสู่การเพิ่มปริมาณถึง 3 เท่าตัว “จอร์จอยากให้ราชินีมีเครื่องแต่งกายที่แปลกตาไปทุกครั้งที่เราพบเธอ” บิกการ์กล่าว
เครื่องแต่งกายแต่ละชุดของราชินีมีหน้าตาและการออกแบบเฉพาะตัวเป็นพิเศษ ชุดที่มีความซับซ้อนที่สุดน่าจะเป็นชุดท้องพระโรงของราชินีที่มีการตกแต่งด้วยดวงไฟหลายชุดตรงขอบ การสร้างชุดต้องใช้เวลาเกือบ 8 สัปดาห์ในการสร้าง โดยเริ่มจากการสร้างชุดที่อยู่ด้านใน ต้องออกแบบจากบนลงล่างเหมือนโคนของไอศครีม ชุดนี้อำนวยความสะดวกได้อย่างเหมาะสมกับนาตาลี พอร์ทแมน ชุดด้านในถูกสร้างขึ้นมาจากผ้าใบแผ่นเล็กๆ จำนวนมากที่เพิ่มความทนทานรอบขอบล่างเพื่อคงรูปทรงกระดิ่งเอาไว้
          เครื่องแต่งกายมีความซับซ้อนหลายอย่างเพื่อให้น้ำหนักของดวงไฟ และสายไฟไปยังแบตเตอรี่เพื่อจุดไฟขึ้นมา ในขณะที่มีการพิจารณาถึงตัวผ้าไหมเป็นพิเศษว่าแสงไฟจากกล้องจะทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนไป เพื่อการคงส่วนประกอบทางศิลปะ/ประวัติศาสตร์ของเครื่องแต่งกายหลายชุดเอาไว้จึงต้องมีสิ่งที่บิกการ์เรียกว่า “อารมณ์แห่งชาวจีนผู้สูงส่ง” ผ่านทางรายละเอียดและเค้าโครง
          เครื่องแต่งกายของราชินีเป็นแรงผลักดันให้บิกการ์และทีมงานของเธอค้นหาผ้าจากทั่วทั้งโลก พวกเขาถึงขนาดสร้างผ้าของตัวเองขึ้นมาได้ด้วย “พวกเรามีผ้าทอ ผ้าเพนท์ ผ้าย้อมสี เราทำทุกอย่างที่เราจะทำกับเศษผ้าได้” บิกการ์นึกย้อนไป
          การสร้างชุดแรกของราชินีถูกสร้างขึ้นมาด้วยมืออย่างเรียบร้อยและใช้ผ้าลักษณะเหมือนใยแมงมุมที่ผู้สร้าง 1 คนต้องใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวันนานนับเดือนเพื่อสร้างขึ้นมา ชุดเริ่มมีการปักขึ้นมาเป็นพิเศษ มีผ้าบางๆ อยู่ข้างหลัง ผ้าชนิดนี้ถูกจุ่มลงไปในน้ำทำให้ด้านหลังถูกหลอมไปหมดเหลือแต่รอยปักที่อยู่ด้านบน แต่ละด้านของชุดถูกเย็บไว้กับอีกด้านหนึ่งโดยไม่มีตะเข็บเลย ผลที่ได้คือความซับซ้อนและความประณีตที่เสริมเข้ามาในแฟชั่นของจักรวาลในเอพพิโซด 1
          บิกการ์และทีมงานของเธอยังชิ้นส่วนเก่าๆ หลายชิ้นอีกด้วย สำหรับเสื้อคลุมเพื่อใช้ในที่พักอาศัยแห่งที่ 2 ของราชินี บิกการ์พบส่วนประกอบจากประมาณปี 1910 แต่เธอไม่แน่ใจว่ามาจากที่ไหน “เราคิดว่ามันเป็นชุดหนึ่ง” เธอกล่าว “แต่มันมีหลายชิ้นที่เราไม่แน่ใจว่าเราคืออะไร” บิกการ์แปลงลักษณะเด่นของชิ้นผ้าให้มีการตกแต่งที่มีความซับซ้อน
          ชุดในการต่อสู้ของราชินีก็ต้องใช้เวลาและสร้างขึ้นมาด้วยความประณีต ต้องใช้เวลาสร้างต่อคนนานกว่า 1 เดือน เครื่องแต่งกายถูกสร้างจากรังไหมของอินเดียที่มีการทอเป็นผ้าไหม รังไหมถูกแยกไว้อยู่บนสุดของเครื่องแต่งกาย จากนั้นแต่ละชุดจะถูกเย็บไว้ด้านหลังเพื่อสร้างทรงของไหลที่มีความเหมาะสม
          เครื่องแต่งกายของราชินีที่ปรากฏกายต่อหน้าสภาที่มี 3 ชั้นยิ่งมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ชุดด้านในเป็นผ้าไหมขนาดสั้นสีส้มพร้อมมีการถักทอด้วยสีเขียว โดยเนื้อผ้าที่มีอายุถึง 70 ปีถูกจับเป็นจีบ ซึ่งจีบเหล่านี้จะสะท้อนไฟเป็นสีของชุดเวลาที่ตัวละครมีการเคลื่อนไหว