Painting by Numbers ผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนบทบาทสถานะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และระบบตัวเลขที่อยู่รอบตัว
Painting by Numbers
โดย ท๊อป จ่างตระกูล, สุจินต์ วัฒนวงศ์ชัย, เฉกสันติ์ คังคะเกตุ และ สืบแสง แสงวชิระภิบาล
กล่าวอย่างหยาบๆ มนุษย์หาวิธีในการนับด้วย Tally Marks ตั้งแต่ 30 000 B.C. ก่อนคริสต์ศักราช
มนุษย์เรียนรู้การสร้างสัญลักษณ์เพื่อการจดจำ,บันทึกจำนวนสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างเป็นระบบซึ่งนับเป็นก้าวแรก ของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่นำมนุษย์วิวัฒนาการสิ่งต่างๆหลังจากนั้นเป็นต้นมา
ระบบตัวเลขของโลก(NumeralSystems)หรือเราสามารถเรียกระบบตัวเลขเฉพาะถิ่นที่ส่งอิทธิพลต้นแบบกัน ไปมานั้นไม่ต่างอะไรกับการส่งผ่านวัฒนธรรมทางภาษาและวิทยาการกาลเวลาของกระบวนคิดระบบต่างๆ มีส่วนเข้ามาผัวพันกับตัวเลขแทบทั้งสิ้นมนุษย์นับตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายระบบตัวเลขสอดแทรกร่วมกับการดำรงอยู่ของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสมัย Middle Age ยุคกลาง การวิวัฒนาการของ กระบวนการ ทางความคิดในทาง การประดิษฐ์ การแพทย์ ศิลปะ ดนตรี วรรณกรรมล้วนได้พึ่งพา ทักษะของระบบ ตัวเลข หากมองอย่างผิวเผินระบบตัวเลขเปรียบสเหมือนได้กับ โครงสร้างที่มั่นคง แน่นนอน อย่างไรก็ ตามเมื่อ นำตัวเลขมาปะติดปะต่อกันในรูปแบบ ไม่รู้จบ Chaos Theoryก็สร้างการรับรู้ ที่น่าทึ่งอย่างมากทั้งรูป แบบ และวิธีการคำณวนตลอดจนการล้มล้างทางทฤษฏีในประวัติศาสตร์ ในงานนิทรรศการศิลปะ Painting by Numbers หยิบยืมระบบ ตัวเลขในการตี ความและถ่ายทอด เรื่องราวที่มีตัวเลขข้องเกี่ยว อยู่ด้วยหรือ สร้าง การรับรู้ใหม่ต่อระบบตัวเลข อย่างที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ระบบตัวเลขมีผลต่อ มนุษย์และในทีท่าปัจจุบัน เรื่องราวของระบบตัวเลขเร่ง ให้มนุษย์ อยู่ภายใต้ เขื่อนไขที่มนุษย์สร้างขึ้นเองไม่ว่าจะเป็น การเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และศาสนา จึงทำให้ตัวเลขมีเสน่ห์และมิติอย่างมากมาย
ศิลปินทั้งสี่ในนิทรรศการนี้, ท๊อป จ่างตระกูล, สุจินต์ วัฒนวงศ์ชัย, เฉกสันติ์ คังคะเกตุ และ สืบแสง แสงวชิระภิบาล ได้เคยนำเสนอผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับระบบตัวเลขมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ท๊อป จ่างตระกูล Theory series- การเปลี่ยนระบบคิด คณิตศาสตร์ที่น่าเบื่อหน่ายซับซ้อนที่เกิดจากความทรงจำไม่ดีในวัยเยาว์ให้เป็นสีสันและความน่าตื่นเต้นดังกับ การผจญภัยบนการเดินทางของตัวเลข และเส้นสายที่ทับซ้อน สร้างความรู้สึกให้ผู้ชมจะผละสายตาไม่ยังจุดต่างๆ รอบๆผลงาน สุจินต์ วัฒนวงศ์ชัย , Middle Game series-นำเสนอมิติทางตัวเลขที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริบททางพื้นที่ ทางสังคม อัตตาลักษณ์ทางถิ่น ฐาน ช่วงเวลา และเหตุการณ์ ที่เรียงร้อยผ่านตัวเลขจากแหล่งที่มาต่างกรรมต่าง วาระ เช่น ถนนหนทาง สื่อโฆษณา โทรศัพท์ หมายกำหนดการ ปฏิทิน ฯลฯ แนวทางดังกล่าวสะท้อนแนวคิดของวิถี ก ปรับเปลี่ยน การใช้ชีวิต ประจำวันของผู้คนในศตวรรษที่ 21ในทางเดียวก็ฟ้องความสิ้นเปลืองของมนุษย์ เฉกสันติ์ คังคะเกตุ, Unseen Thailand-. “ทุนอันเป็นที่นิยมบนยุคสมัยแห่งโลกาภิวัตน์” คลักษณะเช่นนี้น่าจะสะท้อนกระบวนคิดได้ดีที่สุดสำหรับผลงานจิตรกรรมของเฉกสันติ์
ข้อมูล และสถิติที่เป็นฐานทางความคิดของการสร้างสรรค์ ระบบ “ทุนอันที่ นิยม” ถูกหยิบยกมาเป็นเหตุในการวิภาควิจารณ์ในลักษณะ การขีดฆ่า การลบทิ้ง อย่างไรก็ตามผลงานชุดนี้จะเปิด เผยการดำรงอยู่ของปรากฏการณ์ระหว่างวัฒนธรรมทางสังคมวิทยาและทุนนิยม และ สืบแสง แสงวชิระภิบาล I.E.M., series- สะท้อนความสมดุลและความไม่สมดุลใน ปรากฏการณ์เดียวกัน และการกล่าวถึงระบบตัวเลขในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและผู้ตาม ความแปลก ประหลาดของการนับ จำนวนมีผลสัมพันธ์กันกับอำนาจ วีรบุรุษ ชัยชนะ และฐานทางเศรษฐกิจทั้งผลงานทางด้านจิตรกรรหรือ สื่อผสม โดยนำตัวเลขมาใช้ในการสร้างสรรค์และสะท้อน ปัจเจกของ ศิลปินทั้งทางด้านกระบวนทางความคิดและ
รูปแบบเฉพาะตัว สำหรับนิทรรศการ นี้เป็นการต่อ ยอดทางความคิดที่มีตัวระบบตัวเลขในการนำเสนอ อีกครั้งหนึ่ง และ ได้เพิ่ม เติมบริบทต่างๆ ที่ศิลปิน ได้รับต่อสถานะการณ์ และช่วงเวลาในปัจจุบัน เช่น การกล่าวถึงสังคม-วัฒนธรรม วิทยาที่รุกเร้าเร่งร้อน ในการมองผลลัพธ์ทางตัวเลข การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม การสร้างค ำถาม ฐานทาง คณิตศาสตร์ที่ไม่มี คำตอบ การนำเสนอวิถีชีวิตข้างถนนกับตัวเลข ผู้นำกับความ สัมพันธ์ทางตัวเลขความ สมดุลที่ ไม่ สมดุล บนตัวเลข ประวัติศาสตร์เป็นต้น ซึ่งที่กล่าว มาแล้วนั้นผลงานจิตรกรรมของศิลปินทั้งสี่จะ สะท้อน บทบาทสถานะ ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ และระบบตัวเลขที่อยู่รอบตัว