sianbun on May 08, 2010, 02:15:36 PM
อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในไทยลดลง
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์และไอดีซีเผยผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

   กรุงเทพฯ (วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) – วันนี้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ องค์กรตัวแทนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โลกร่วมกับไอดีซี บริษัทวิจัยตลาดชั้นนำ ประกาศผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกประจำปีครั้งที่ 7 ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ผลการศึกษาระบุว่า จากปีพ.ศ. 2551 ถึง 2552 อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครื่องพีซีในประเทศไทยลดลง 1 จุด มาอยู่ที่ร้อยละ 75 การลดลงดังกล่าวดูเหมือนจะส่งสัญญาณยืนยันแนวโน้มที่ดีว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์กำลังลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549

   ถึงแม้จะมีการถดถอยตัวลงของเศษฐกิจโลก แต่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีกลับเดินสวนทางกับเศรษฐกิจโลก กล่าวคือมีอัตราที่ลดลงในหลายประเทศ ผลการศึกษาดังกล่าวของบีเอสเอ/ไอดีซี พบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลงใน 54 ประเทศ และเพิ่มขึ้นใน 19 ประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม                ผลการศึกษายังพบด้วยว่า เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วและการเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดซอฟต์แวร์โดยรวมของจีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูง ทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์    ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 41 ไปอยู่ที่ร้อยละ 43

   “ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยนั้นประสบความสำเร็จ แต่ยังคงสูงกว่าอัตราในระดับภูมิภาคและระดับโลก อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ร้อยละ 75 นั้นยังสูงกว่าอัตราที่จำเป็นสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย” นางสาววารุณี  รัชตพัฒนากุล ที่ปรึกษาและตัวแทนของบีเอสเอประจำประเทศไทยกล่าว “ในช่วงเวลานี้ที่เรากำลังฟื้นตัวจากภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบยี่สิบปี พร้อมๆ ไปกับการที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังได้รับความเสียหายโดยปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เราจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อทำงานร่วมกับภาครัฐ องค์กรธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภค เพื่อลดความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ และสื่อสารให้เข้าใจถึงผลกระทบที่แท้จริงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย” 

   ไอดีซีพบว่า สำหรับทุกๆ 100 ดอลลาร์ ที่ได้จาการขายซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องในปีพ.ศ. 2552 ที่ผ่านมานั้น อีก 75 ดอลลาร์จะหายไปกับการการซื้อซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบมากกว่าเรื่องของรายได้ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีที่ลดลงสามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญหลายประการ การศึกษาของบีเอสเอ/ไอดีซีในปีพ.ศ. 2551 ที่มุ่งไปที่ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีต่อเศรษฐกิจพบว่า หากประเทศไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด ภายใน 4 ปี จะทำให้เกิดการจ้างงานใหม่มากกว่า 2,000 ตำแหน่ง และสร้างรายได้มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ ไอดีซียังประมาณการณ์ว่าทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ได้จากการขายซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ทำให้เกิดรายได้อีก 3-4 ดอลลาร์ แก่บริษัทผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการต่างๆ ภายในประเทศด้วย  นอกจากนี้ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ยังทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ เนื่องจากบ่อยครั้งที่พบว่าซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มีภัยคุกคามที่เรียกว่ามัลแวร์ฝังตัวอยู่ด้วย

   
   การต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน กรมทรัพย์สินทางปัญญาและ       กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์     ได้ดำเนินการเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ในขณะที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องกับบริษัทต่างๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในทุกภาคส่วนของประเทศ ในไตรมาศแรกของปีพ.ศ. 2553 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้เข้าปราบปรามการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กรธุรกิจ คิดเป็นมูลค่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 56 ล้านบาท

   นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยได้ลดลงมาแล้วห้าจุด มาอยู่ที่ร้อยละ 75 ในปัจจุบัน

   “ปัจจุบันเศรษฐกิจของโลกพึ่งพิงอยู่กับภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้มแข็งมากกว่าในยุคใดที่ผ่านมา นโยบายที่ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ ในวันนี้ รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเช่นลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและนำความรุ่งเรืองมาสู่ประเทศในอนาคต” มร.เจฟฟรีย์  ฮาร์ดีย์ รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “แม้ว่าเราจะยินดีที่ความพยายามในการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของบีเอสเอนั้นประสบผลสำเร็จและคืบหน้าไปอย่างต่อเนื่องด้วยดี แต่           ผลการศึกษาทำให้เราจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นมากขึ้นในอนาคต”

   “นอกจากนี้ บทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งที่เราได้รับจากวิกฤตการเงินโลกในครั้งนี้คือ ความสำคัญของการสร้างภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศให้เกิดขึ้น และต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบต้านทานของอุตสาหกรรมและลดการพึ่งพิงต่างประเทศ ในขณะที่รัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ได้ใช้นโยบายด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างเช่นภาคการผลิต ให้กลับมายืนอยู่ได้อีกครั้ง แต่ปัญหาใหญ่ที่กำลังค่อยๆ ทำลายภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยนีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศยังคงไม่ได้รับการแก้ไข” มร. ฮาร์ดีย์ เสริม “ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ตัวแทนจำหน่าย และร้านค้าในท้องถิ่นเหล่านี้ ต่างช่วยให้เกิดการจ้างงานใหม่ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ สร้างรายได้ในรูปของภาษีจ่ายให้แก่รัฐ ทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ แต่บริษัทซอฟต์แวร์ท้องถิ่นเหล่านี้กำลังประสบปัญหาหนัก เพราะถูกซอฟต์แวร์เถื่อนราคาถูกแย่งตลาดไปหมด ยังไม่นับรวมที่ผลิตภัณฑ์ของตนเองถูกละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย”

ผลการศึกษายังพบว่า

•   อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีลดลงในประเทศต่างๆ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 49 ของประเทศที่ทำการศึกษาทั้งหมด อย่างไรก็ดี อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เฉลี่ยทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41 ในปีพ.ศ. 2551 เป็นร้อยละ 43 ในปีพ.ศ. 2552 ทั้งนี้เนื่องมาจากจำนวนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องพีซีในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
•   มูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 51,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 จากปีพ.ศ. 2551
•   สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และลักเซมเบิร์ก ยังคงรั้งอันดับประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่ำที่สุด        (คิดเป็นร้อยละ 20  ร้อยละ 21 และร้อยละ 21 ตามลำดับ)
•   ประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงที่สุด คือ จอร์เจีย  ซิมบับเว และโมลโดวา (ทั้งหมดมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงกว่าร้อยละ 90 )
•   ปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง คือ การที่ร้านค้าจำหน่ายเฉพาะซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง โครงการรณรงค์ให้ความรู้ของภาครัฐและภาคเอกชน การปราบปรามและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนของเทคโนโลยี เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการสิทธิดิจิดอล (Digital Rights Management - DRM) และการบริหารจัดการสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ (Software Asset Management – SAM) มากขึ้น
•   ปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นคือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดเครื่องพีซีสำหรับผู้บริโภค การขยายขอบเขตการใช้งานคอมพิวเตอร์เก่าซึ่งมักพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ติดตั้งอยู่มากกว่า ตลอดจนความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในรูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
   การศึกษาของบีเอสเอ/ไอดีซีประจำปีพ.ศ. 2552 ครั้งนี้ ครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งหมดที่ใช้งานบนเครื่องพีซี รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสท็อป (Desktops)  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็บท็อป (Laptops)  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ตลอดจนเน็ตบุ๊ค การศึกษายังครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการ   ซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบการทำงาน เช่น ที่ใช้เป็นฐานข้อมูล ที่ใช้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งที่เป็นซอฟต์แวร์ฟรีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ไม่ครอบคลุมซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ หรือเมนเฟรม ไอดีซีใช้สถิติจากการคำนวณการหมุนเวียนของจำนวนซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ และให้นักวิเคราะห์ของไอดีซีในกว่า 60 ประเทศตรวจสอบสภาวะตลาดในแต่ละประเทศ และคิดคำนวณอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

   สามารถอ่านผลการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ http://www.bsa.org/globalstudy

เกี่ยวกับบีเอสเอ

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) มีสมาชิกที่ประกอบด้วยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการอีคอมเมิร์ส  สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, อัลเตียม, แอปเปิ้ล, อควาโฟล, เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิค เทคโนโลยี,      ออโต้เดสค์, ออโต้ฟอร์ม, อวีวา,  เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล,  แดสเซิลท์   ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์      คอร์ปอเรชั่น,  เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ,            เน็ดกราฟฟิกส์, พาราเมตตริกซ์ เทคโนโลยี  คอร์ปอเรชั่น, โปรเกรส, เควสท์ ซอฟต์แวร์, สเกลเอเบิล ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, ไซเบส,    ไซแมนเทค, เทคล่า, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส  และ เดอะ แมธเวิร์กส์

เกี่ยวกับไอดีซี

อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (ไอดีซี) เป็นผู้ให้บริการข้อมูลตลาดระดับคุณภาพชั้นนำของโลก รวมทั้งบริการที่ปรึกษา และการจัดงานต่างๆสำหรับภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และตลาดเทคโนโลยีผู้บริโภค ไอดีซีช่วยให้มืออาชีพด้านไอที ผู้บริหารธุรกิจ และแวดวงการลงทุนมีข้อเท็จจริงประกอบการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยี และกลยุทธ์ทางธุรกิจ นักวิเคราะห์ของไอดีซีกว่า 1,000 คน ใน 110 ประเทศ ให้บริการความเชี่ยวชาญในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ทางด้านเทคโนโลยี โอกาส และแนวโน้มทางธุรกิจ ไอดีซีมีประสบการณ์กว่า 46 ปีในการให้ข้อมูลเชิงกลยุทธ์แบบเจาะลึก เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายหลักทางธุรกิจ    ไอดีซีเป็นบริษัทในเครือไอดีจี ผู้นำระดับโลกในทางด้านสื่อเทคโนโลยี การวิจัย และการจัดงานต่างๆ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.com

« Last Edit: May 12, 2010, 02:22:05 PM by sianbun »

sianbun on May 12, 2010, 02:22:49 PM
PC Software Piracy Decreases in Thailand
The Business Software Alliance and IDC Release Seminal Software Piracy Study

BANGKOK, 11 May, 2010 – Today, the Business Software Alliance (BSA), an international association representing the global software industry, in partnership with market research firm IDC, announced its seventh annual global software piracy study, tracking PC software piracy rates in more than 100 economies. From 2008 to 2009, installations of unlicensed software on personal computers (PC) in Thailand fell by one percentage point to 75%.  This seems to confirm an encouraging trend of decreasing piracy rates every year since 2006.

Despite the global economic recession, piracy of software on PCs declined in many markets, dropping in 54 economies and increasing in only 19, according to the 2009 BSA/IDC Global PC Software Piracy Study. However, the study found that due to fast growing, higher piracy markets such as China, India, and Brazil increasing their share of the overall software market, the global software piracy rate increased from 41 to   43 percent.

“This study makes clear that efforts to reduce software theft in Thailand are making a difference, but still have a long way to go in comparison to regional and global rates of software piracy. A rate of 75percent is still far from where Thailand’s software and IT community needs the rate to be for long-term sustainability,” said Ms. Varunee Ratchatapattanakul, BSA consultant. “As we emerge from the most severe global economic recession in twenty years, and now find the economy damaged by political unrest, we must continue to engage with government, businesses, and consumers about the risks of violating copyright laws for software – and the true impact that software piracy has on Thailand’s economy.”

IDC finds that for every $100 worth of legitimate software sold in 2009, an additional $75 was pirated. But this is an issue that affects more than industry revenues. Lowering PC software piracy can have significant economic benefits. A 2008 BSA/IDC study looking at the economic impacts of piracy  found that lowering software piracy by ten percentage points over four years in Thailand could create over 2,000 new high-quality jobs and over US$1 billion in software industry revenues.  In fact, IDC estimates that for every dollar of legitimate software sold in a country, there are another $3-$4 of revenue for local service and distribution firms. Piracy also puts consumers at risk by compromising their computer security, since pirated software often contains malware. 

The fight against software piracy remains an urgent one.  Thailand’s Department of Intellectual Property (DIP) and the Economic and Crime Division (ECD), tasked with enforcing software copyright laws, have consistently worked to reduce software piracy.  DIP has conducted outreach to the business community to help executives better understand their obligations for adhering to Thailand’s Copyright Act.  Meanwhile,  ECD has conducted raids of companies using unlicensed software in all regions of the country on a consistent basis.  In the first quarter of 2010, ECD conducted raids netting 56 million baht worth of unlicensed software.

Since 2006, Thailand’s software piracy rate has fallen five percentage points to the current rate of 75%. 
“Now, more than ever, our global economy depends on a robust IT sector. Policies that promote innovation today – including robust protection for intellectual property such as software – will drive economic growth and prosperity in the future,” said Jeffrey Hardee, Vice President and Regional Director, Asia Pacific, BSA.  “While we are glad BSA’s efforts to combat software theft have continued to make some progress, the study results reinforce the need for stronger and continued action moving forward.”

“Additionally, one other key lesson derived from the global financial crisis is the importance of building up an economy’s local IT sector and strengthening its immunity and foreign dependency. While most governments in the region have introduced fiscal policies to help key sectors like manufacturing get back on track, one major problem crippling a country’s software sector may have largely remained unaddressed,” added Hardee.  “Local software entrepreneurs, distributors and resellers help create new jobs, contribute to economic growth, generate tax revenue for governments, and are a source of pride for their own nations. In particular, local software companies can be crippled by competition from unlicensed and stolen software in the market, not to mention piracy of their own products.”

Additional key findings from the study include:
•   PC software piracy dropped in 49 percent of the countries studied; however the worldwide piracy rate rose from 41% in 2008 to 43% in 2009, due to exponential growth in PC software deployments in emerging economies.
•   The value of pirated software reached $51.4 billion, a three percent decrease over 2008.
•   The United States, Japan, and Luxembourg continue to hold the lowest piracy rates of countries surveyed (20, 21, and 21 percent, respectively).
•   Countries with the highest piracy rates include Georgia, Zimbabwe, and Moldova (all higher than 90 percent)
•   Forces driving piracy down included vendor legalization programs, government and industry education campaigns, enforcement actions, and technology shifts, such as the increased deployment of digital rights management (DRM) and greater use of software asset management (SAM).


•   Factors driving piracy rates up included rapid growth of the consumer PC market, and greater activity in the installed base of older computers where unlicensed software is more prevalent, and the increasing sophistication of software pirates and cyber criminals.

The 2009 BSA/IDC Global PC Software Piracy Study covers piracy of all packaged software that runs on PCs, including desktops, laptops, and ultra-portables, including netbooks. This includes operating systems, systems software, such as databases and security packages, and applications software, with legitimate free software and open source software covered by the scope of the study. It does not include software that runs on servers or mainframes. IDC used proprietary statistics for software and hardware shipments and enlisted IDC analysts in more than 60 countries to review local market conditions and estimate the rate of PC software piracy around the world.

For more details or a copy of the complete study, visit www.bsa.org/globalstudy.

###

About BSA

The Business Software Alliance (www.bsa.org) is the foremost organization dedicated to promoting a safe and legal digital world. BSA is the voice of the world's commercial software industry and its hardware partners before governments and in the international marketplace. Its members represent one of the fastest growing industries in the world. BSA programs foster technology innovation through education and policy initiatives that promote copyright protection, cyber security, trade and e-commerce. BSA members include Adobe, Agilent Technologies, Altium, Apple, Aquafold, ARM, Arphic Technology, Autodesk, Autoform, AVEVA, Bentley Systems, CNC/Mastercam, Corel, Dassault Systèmes SolidWorks Corporation, Embarcadero, Frontline PCB Solutions - An Orbotech Valor Company, Microsoft, Minitab, NedGraphics, Parametric Technology Corporation, Progress, Quest Software, Scalable Software, Siemens, Sybase, Symantec, Tekla, Thai Software Enterprise and The MathWorks.

About IDC
International Data Corporation (IDC) is the premier global provider of market intelligence, advisory services, and events for the information technology, telecommunications, and consumer technology markets. IDC helps IT professionals, business executives, and the investment community make fact-based decisions on technology purchases and business strategy. More than 1000 IDC analysts provide global, regional, and local expertise on technology and industry opportunities and trends in over 110 countries worldwide. For more than 46 years, IDC has provided strategic insights to help our clients achieve their key business objectives. IDC is a subsidiary of IDG, the world's leading technology media, research, and events company. You can learn more about IDC by visiting www.idc.com.