happy on May 23, 2021, 06:01:14 PM
งานวิจัยเผยด้านบวกของสถานการณ์โควิดต่อผู้บริโภค ธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
โดย พอล ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท aCommerce



ธุรกิจช็อปปิ้งออนไลน์ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะอุบัติขึ้น ในปี 2020 พบว่าผู้สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทุกประเภทเพิ่มสูงขึ้นมากนับตั้งแต่กลุ่มสินค้าในครัวเรือนไปจนถึงเสื้อผ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แม้พฤติกรรมผู้บริโภคจะเป็นเรื่องซับซ้อนและอุปสงค์ต่อสินค้าบางประเภทจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะการแพร่ระบาดก็ตาม แต่ทว่าความวิตกกังวลในการออกไปจับจ่ายสินค้าด้วยตนเองและอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของผู้คนที่เพิ่มขึ้นกลับสร้างโอกาสการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญกับธุรกิจค้าปลีกออนไลน์


ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คืออุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในปี 2020 มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด บริษัท aCommerce พบว่ามีลูกค้าใหม่ที่เริ่มต้นจับจ่าย “ครั้งแรก” เพิ่มขึ้นราว 120% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรายงาน eConomy SEA 2020 ของ Google, Temasek และ Bain & Company ซึ่งเป็นบริษัทช็อปปิ้งออนไลน์ในประเทศไทยมียอดการลงทะเบียนใช้งานเพิ่มขึ้น 40% หลังเกิดการล็อกดาวน์ในปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ใช้งานก่อนสถานการณ์โควิด รายงานฉบับนี้ยังเปลี่ยนแปลงการประเมินยอดขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยปี 2025 จาก 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มประเทศอาเซียน

ผลดีต่อแบรนด์สินค้า
ก่อนหน้านี้ แบรนด์สินค้าต่าง ๆ ที่เคยวิตกกังวลเรื่องการลดการจำหน่ายสินค้าหน้าร้านและแทนที่ด้วยการจำหน่ายทางออนไลน์ทั้งหมดอาจต้องคิดใหม่หลังเกิดการสั่งปิดสถานบริการ เมื่ออุปสงค์ของผู้บริโภคผ่านช่องทางออน ไลน์พุ่งสูงขึ้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ หันมาตอบรับการสั่งซื้อในระบบอีคอมเมิร์ซผ่าน “ช่องทางการจำหน่ายตรงกับผู้บริโภค” และทุ่มเงินลงทุนอย่างมากไปกับการทำเว็บไซต์ของแบรนด์ การจำหน่ายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียและช่องทางอื่น ๆ ซึ่งสำหรับ aCommerce ยอดจำหน่ายของเราในช่องทางการจำหน่ายตรงกับผู้บริโภคมีอัตราการเติบโตมากกว่า 110% ในปี 2020 ซึ่งเติบโตเร็วกว่าในเว็บซื้อขายเช่น Shopee และ Lazada อย่างชัดเจน


อาจฟังดูย้อนแย้งเมื่อมาตรการกักตัวทำให้ปริมาณการจองสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคมักทำก่อนหน้านี้ลดลง นอกจากนี้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้คนส่วนมากรู้สึกต่อต้านการกลับไปใช้นิสัยการจับจ่ายใช้สอยแบบเดิมเพราะพวกเขายังรู้สึกไม่สบายใจในการเดินช็อปปิ้งที่ศูนย์การค้าในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้บริษัทต่าง ๆ เกิดความเชื่อมั่นอย่างมากว่าการลงทุนกับช่องทางออนไลน์ยังคงมีศักยภาพสูงในการสร้างผลตอบแทนระยะยาว

ผลดีต่อผู้บริโภค
ผู้คนที่ถูกกระตุ้นให้ใช้เวลาอยู่กับบ้านมากกว่าครั้งไหนๆ และต้องซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ทำให้เกิดเงื่อนไขของตลาดในเชิงอุดมคติ เช่น การติดตามสถานะสินค้าที่รวดเร็วรวมไปถึงการนำเสนอประสบการณ์อีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่ ๆ ด้วยการเปลี่ยนไปสู่ช่องทางออนไลน์อย่างฉับพลัน ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยในวันนี้สามารถเลือกซื้อสินค้าทุกประเภทได้มากขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ชาวไทยทั้งในเขตชนบทและพื้นที่ห่างไกลสามารถซื้อหาสินค้าได้สะดวกสบายกว่าที่เคยซึ่งช่องทางจำหน่ายออฟไลน์แบบเดิมไม่สามารทำได้

ผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงสินค้าที่ต้องการรวมถึงกลุ่มบริษัทเป้าหมาย รวมไปถึงโปรแกรมคืนกำไรแก่ลูกค้าและส่วนลดที่มาพร้อมกันได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ข้อมูลความชื่นชอบสินค้าของผู้บริโภคยังช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งโซลูชั่นระบบดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความท้าทายทางการตลาดนี้ยังมีราคาถูกกว่าการจัดกิจกรรมแบบออฟไลน์ นอกจากนี้เศรษฐกิจแบบอีคอมเมิร์ซยังสามารถประหยัดต้นทุนของการขยายขอบเขตการดำเนินงานซึ่งย่อมส่งผลดีต่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด


ผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจ
สิ่งใดที่ส่งผลดีต่อผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ ย่อมนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอีคอมเมิร์ซก็เช่นกัน เพราะสิ่งนี้ช่วยดึงดูดการลงทุนซึ่งส่งเสริมการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัลของไทย อีกทั้งยังช่วยถ่ายโอนแหล่งเงินทุนไปสู่ภาคธุรกิจที่ใหม่กว่า ช่วยสร้างงานที่จ่ายค่าตอบแทนสูงในภาคโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัล ซึ่งก่อให้เกิดวงจรการพัฒนาเศรษฐกิจที่สามารถทำซ้ำได้ด้วยตนเอง เพราะยิ่งผู้คนมีองค์ความรู้และทักษะมากขึ้นเท่าใด พวกเขาก็ยิ่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้นเท่านั้น โดยแรงงานรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์และเชี่ยวชาญด้านระบบดิจิทัลจะช่วยผลักดัน “เศรษฐกิจแนวใหม่” ที่ลดอัตราการว่างงานและเพิ่มอัตราค่าตอบแทนให้สูงขึ้น ซึ่งไม่จำกัดแค่การจ้างงานตำแหน่งนักสร้างคอนเทนต์ กราฟิกดีไซเนอร์ หรือช่างภาพเท่านั้น หากยังรวมไปถึงตำแหน่งงานใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ การส่งสินค้า และงานบริการลูกค้าด้วยเช่นกัน

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีศักยภาพในการก้าวข้ามข้อจำกัดของตลาดและเชื่อมโยงผู้บริโภคไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ ได้ ข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถสร้างงานได้โดยตรงและผ่านบริการโลจิสติกส์และส่วนอื่น ๆ ในระบบนิเวศงานอันกว้างใหญ่ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการบริโภคในครัวเรือนและลดความไม่เท่าเทียมของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลผ่านการนำเสนอความสะดวกสบาย ความหลากหลาย และราคาสินค้าที่ถูกกว่าซึ่งแต่เดิมจะมีเฉพาะคนเมืองเท่านั้นที่ได้รับสิ่งเหล่านี้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซยังช่วยส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจโดยช่วยลดการเสพข้อมูลที่ไม่ตรงกันและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านห่างไกลในประเทศจีนที่มีการใช้อีคอมเมิร์ซเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของแนวทางการพัฒนาประเทศจากการผสานเทคโนโลยีระบบดิจิทัลเพื่อสร้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน จีนจึงถือเป็นแนวหน้าของโลกในด้านความแพร่หลายของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัล สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ยังช่วยยืนยันถึงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอัตราการเติบโตของผลผลิตมวลรวมในประเทศกับการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ


การขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น
aCommerce
เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนองค์กรธุรกิจของไทย อาทิ​ AIS, DoHome, TheMallGroup, Osotpa, Naraya, DSG, GQ และรวมถึงธุรกิจครอบครัว โดยช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เข้าถึงผู้บริโภคและการเติบโตที่สูงขึ้น ในขณะที่เราสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ เรายังได้ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม บริษัทของเราจ้างพนักงานในประเทศมากกว่า 500 คน โดย 30% เป็นพนักงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมขั้นสูง พนักงานของเรายังได้รับการส่งเสริมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะเราเชื่อในการลงทุนกับพนักงานและมอบโอกาสการฝึกอบรมเพื่อให้พวกเขาเติบโตไปพร้อมกับเรา

แม้การคาดการณ์อนาคตที่แม่นยำของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ แต่เรายังคงมองอนาคตธุรกิจอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในแง่บวก เพราะอุตสาหกรรมนี้มีความสามารถในการปรับตัวมากกว่าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ทั้งยังมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในช่วงวิกฤติเช่นทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจค้าปลีก