ผู้บริโภคกว่าพันรายชื่อร่วมรณรงค์ให้ 4 ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ร่วมติด QR Code เผยแหล่งที่มาของส้ม มุ่งลดปัญหาความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างคุณอรกร ธนชลกรณ์ (หัวหน้างานรณรงค์และนโยบาย องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย)
คุณชนิดา พื้นแสน (ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์และรัฐสัมพันธ์ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด)
คุณอารยา เผ่าเหลืองทอง (AVP - Quality Assurance บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด)
คุณแก้วตา ธัมอิน (มูลนิธิชีววิถี)
คุณกนกมาศ สนาน้อย (ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่งานรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย)
คุณฐานิตา วงศ์ประเสริฐ (เจ้าหน้าที่งานรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย)
คุณฐานิตา วงศ์ประเสริฐ (เจ้าหน้าที่งานรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย)
คุณพรเพ็ญ นาถพิริยรัตน์ (รองประธานกรรมการแผนกกำกับดูแลคุณภาพสินค้า โลตัส)
คุณขวัญฤทัย ศิริพัฒนโกศล (Senior Responsible Sourcing โลตัส)
คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา (มูลนิธิชีววิถี)
คุณอรกร ธนชลกรณ์ (หัวหน้างานรณรงค์และนโยบาย องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย)
คุณกนกมาศ สนาน้อย (ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่งานรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย)
ตัวแทนผู้บริโภค นำโดยองค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย และมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) รวมพลังผู้บริโภคกว่า 1,265 รายชื่อในแคมเปญ “ผู้บริโภคที่รัก” (Dear Consumers) ขอความร่วมมือให้ซูเปอร์มาร์เก็ต 4 รายใหญ่ ร่วมตรวจสอบและติด QR Code เปิดเผยข้อมูลแหล่งที่มาของส้มที่นำมาจำหน่าย หลังจากสุ่มตัวอย่างพบสารเคมีอันตรายในส้มที่วางขายตกค้างเกินมาตรฐาน โดยได้รับการรับฟังและตอบรับจากห้างค้าปลีกส่วนใหญ่ในทิศทางที่ดี
จากการที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ไทยแพน (Thai-PAN) ได้ดำเนินการสุ่มตรวจตัวอย่างส้มจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในปี 2563 พบว่า ทุกตัวอย่างของส้ม 1 ผล มีสารเคมีตกค้างมากถึง 55 ชนิด ในปริมาณเฉลี่ย *0.364 มิลลิกรัม ซึ่งเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย (MRL) จากที่กฎหมายกำหนด โดยในจำนวนนี้ มีสารดูดซึมชนิดที่ไม่สามารถล้างออกได้ถึง 30 ชนิด อาทิ คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) คาร์โบฟูราน (Carbofuran) อะเซตามิพริด (Acetamiprid) ฯลฯ ส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท เซลล์สมองและฮอร์โมนเพศ
นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ตัวแทนจากมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) กล่าวว่ามูลนิธิได้ตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีตกค้างที่มีต่อผู้บริโภคที่เลือกซื้อส้มจากซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีการคัดเกรดส้มผลใหญ่ ผิวสวย เรียบเนียน สีทองแวววาว ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคโดยทั่วไปเข้ามาจำหน่าย แต่สิ่งที่ผู้บริโภคบางส่วนอาจยังไม่ทราบก็คือเมื่อมองไปที่ต้นทางการผลิต เกษตรกรอาจมีการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช ถึง 52 ครั้งต่อปี หรือทุกสัปดาห์ จนทำให้ส้มกลายเป็นผลไม้ที่แลกมาด้วยสุขภาพของคนกิน คนปลูก และสิ่งแวดล้อม”
โดยการรณรงค์เรียกร้อง ภายใต้แคมเปญ “ผู้บริโภคที่รัก” (Dear Consumers) ในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง กินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และองค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้ซูเปอร์ฯ เจ้าใหญ่ อย่าง บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส และ
ท็อปส์ มีป้ายแสดงรายละเอียดสินค้า ณ จุดขาย และติด QR Code ที่ผู้ซื้อสามารถสแกนตรวจสอบแหล่งที่มา และความปลอดภัยของส้มที่นำมาขาย ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องนี้ในโลกออนไลน์ผ่านเว็ปไซต์ Dearconsumers.com และ Change.org/ToxicOranges แล้ว 1,265 รายชื่อ
“โดยเราคาดหวังว่าว่าซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่จะสามารถตอบรับในการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องนี้ได้ โดยปัจจุบันมีซูเปอร์มาร์เก็ตบางรายที่ได้เริ่มดำเนินการติด QR code แล้วบางส่วน แต่อาจยังใช้สามารถใช้งานได้จริงโดยหวังว่าในอนาคตจะมีการพัฒนาให้สามารถใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกษตรกรผู้ปลูกส้มและผลิตอาหารอื่นๆ ตระหนักถึงวิธีการในการทำเกษตรกรรมด้วยวิธีที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” นางสาวกิ่งกรกล่าวเสริม
นางสาวฐานิตา วงศ์ประเสริฐ เจ้าหน้าที่งานรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย และเจ้าของแคมเปญรณรงค์ฯ บน Change.org กล่าวว่า “ผู้บริโภคควรได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของส้มที่ตนเองต้องการซื้อว่าเพาะปลูกจากสวนไหน จังหวัดอะไร ล็อตไหน ปลูกช่วงเดือนใด มีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชหรือสารเคมีอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และก่อนที่จะนำมาจัดจำหน่ายมีกระบวนการคัดเลือกสินค้าอย่างไร”
โดยที่ผ่านมา ทีมงานรณรงค์ ‘ผู้บริโภคที่รัก’ พยายามทำงานร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ อาทิ บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส และ ท็อปส์อย่างต่อเนื่อง และล่าสุดเมื่อเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมาทางองค์กรได้ดำเนินการเข้าพบผู้แทนของซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ละราย เพื่อมอบตระกร้าส้มและอั่งเปามงคลที่รวบรวม 1,265 รายชื่อ พร้อมความคิดเห็นของผู้บริโภค เพื่อเป็นกระบอกเสียงแก่ ผู้บริโภคในการเรียกร้องให้มีการแสดงข้อมูล QR Code ที่มีรายละเอียดแหล่งผลิตและที่มาของส้มโดยละเอียดทและต้องสามารถใช้งานได้จริงเพื่อสร้างความมั่นใจว่าส้มที่นำมาจัดจำหน่ายปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งผลจากการจากการนำเสนอข้อเรียกร้องต่อซูเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 4 ราย พบว่า ส่วนใหญ่รับฟังและตอบรับข้อเรียกร้องจากผู้บริโภค โดยให้คำมั่นที่จะพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าส้มให้ดีขึ้น
“ผู้บริโภคส่งเสียง ภาคธุรกิจขยับ”
คุณอารยา เผ่าเหลืองทอง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของท็อปส์ กล่าวว่า “ที่ผ่านมาท็อปส์ทำงานกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าส้มหรือผลผลิตนั้นๆ ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบบังคับให้เกษตรกรป้อนข้อมูลแหล่งที่มาของผลผลิตทางการเกษตรเข้าสู่ระบบ จึงทำให้กระบวนการในการการแสดงข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ในส่วนของการติด QR Code บนสินค้านั้นทางท็อปส์ขอเวลารวบรวมข้อมูลรวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ ในการเพิ่มข้อมูลที่มาของผลผลิตตามที่ผู้บริโภคได้มีการเรียกร้องมา”
ขณะที่ คุณพรเพ็ญ นาถพิริยรัตน์ รองประธานกรรมการ ฝ่ายกำกับดูแลคุณภาพสินค้าโลตัส กล่าวว่า “บริษัทได้จัดทำ QR code สำหรับสินค้าเกษตรทุกชนิดอยู่แล้ว และยืนยันว่าส้มแต่ละล็อตที่นำมาวางขายถูกสุ่มตรวจสารเคมี หากพบว่าเกินค่ามาตรฐานก็จะถูกคัดออกทันที โดยโลตัสตอบรับที่จะเพิ่มข้อมูลที่มาของสินค้า แต่ก็ยอมรับว่ามีข้อมูลบางส่วนที่เป็นความลับทางการค้าของบริษัทที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนเลิกจำหน่ายส้มนอกฤดู เพื่อตัดปัญหาส้มปนเปื้อนสารเคมี”
ด้านแม็คโครซึ่งร่วมมือกับกิจกรรมรณรงค์ ‘ผู้บริโภคที่รัก’ อย่างต่อเนื่อง ได้มีการรับข้อเรียกร้องผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคมและงดรับของขวัญ เช่นเดียวกับบิ๊กซี ทีมีการตอบรับในการพิจารณาข้อเรียกร้องที่ถูกส่งไปทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน หลังจากที่ผ่านมายังไม่ได้มีการตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมกับทางองค์กร
โดยขั้นตอนต่อไปทีมงานรณรงค์จะติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้ง 4 ราย และจะรายงานความคืบหน้าผ่านเพจเฟสบุ๊ค ‘ผู้บริโภคที่รัก’ ให้สาธารณะชนได้รับทราบต่อไป
“โดยทางองค์กรขอรณรงค์ให้ให้ผู้บริโภคร่วมกันตรวจสอบความคืบหน้าในการดำเนินงานของซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ละราย ว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องหรือไม่ เพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือมาสแกน QR code ที่แสดงอยู่บนฉลากอาหารที่จัดจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยอาจจะเริ่มจากส้มตามที่องค์กรได้มีการรณรงค์ โดยอยากให้ทุกคนร่วมตระหนักว่าพลังของผู้บริโภค นั้นมีมากกว่าที่หลายคนคิด ซึ่งวันนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า เมื่อผู้บริโภคร่วมกันส่งเสียง ภาคธุรกิจจึ่งได้เริ่มรับฟัง และตอบรับไปในทิศทางที่ดี ” นางสาวฐานิตา วงศ์ประเสริฐ กล่าว