happy on July 29, 2020, 10:58:49 PM
ผลสำรวจของ HP เผยแนวโน้มที่ดีในมุมมองของเจ้าของธุรกิจ SMB
SMBs ที่มุ่งเน้นดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นมีความมั่นใจมากที่สุด โดยเอชพีนำเสนอบริการและโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเร่งขีดความสามารถในการเติบโต

-  ผลกระทบที่เกิดขึ้นเรียกร้องธุรกิจ SMBs ต้องคิดนวัตกรรมในกระบวนการทำงานให้มีความยืดหยุ่น        และพัฒนาสินค้าและบริการตรงตามความต้องการของลูกค้า

-  SMBs ขาดความชัดเจนในการนำแนวคิดทางนวัตกรรมมาใช้ เมื่อยังมีความกังวลด้านกระแสเงินสด

-  SMBs ในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ออสเตรเลีย และไทย มีความมั่นใจสูงสุดในศักยภาพของตนที่จะรองรับการเปลี่ยนผ่าน

-  SMBs ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์มีความระมัดระวังมากกว่าในการคาดการณ์อนาคตบนสภาพเศรษฐกิจของโลก

-  เอชพีเปิดตัวโซลูชั่นการทำงานระยะไกลเพื่อให้ SMBs สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด



ผลสำรวจล่าสุดของ HP Inc ในหัวข้อ “การอยู่รอดเพื่อการฟื้นฟู” กับ SMBs จำนวน 1,600 รายใน 8 ประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่า เจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่าร้อยละ 50 คาดหวังว่าธุรกิจไม่เพียงแค่สามารถอยู่รอดได้แต่ต้องสามารถเติบโตหลังการแพร่ระบาด และเห็นด้วยว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูธุรกิจ  เพื่อตอบสนองถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เอชพีได้เปิดตัว HP Roam for Business โซลูชั่นใหม่ที่ผสมผสานการให้บริการการพิมพ์ที่ง่ายและสะดวก สามารถพิมพ์งานเอกสาร ได้ทุกที่ เสริมประสิทธิภาพการทำงานด้วย HP SecurePrint โซลูชั่นคลาวด์ที่ยืดหยุ่นและสั่งงานจากผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 60 เห็นว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมแนวคิดนวัตกรรมต่อกระบวนการทำงาน สร้างรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น อีกทั้งปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ถึงแม้ว่า SMBs มีความต้องการโซลูชั่นที่ให้ความคุ้มค่าเหล่านี้ แต่ยังมีความกังวลเรื่องการบริหารกระแสเงินสด และความไม่ชัดเจนว่าโซลูชั่นแบบใดที่เหมาะสมและจะหาได้จากที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเพียง 4 ใน 10 ของ SMBs ที่สำรวจมีแผนกหรือบุคคลที่รับผิดชอบในด้านนวัตกรรม

“ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคเอเชีย แต่การระบาดใหญ่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMBs อย่างหนัก นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้อยู่รอดเพื่อฟื้นธุรกิจของพวกเขา” มร. ลิม ชุน เต็ก กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย​ กล่าว “ผลการสำรวจนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยเหลือธุรกิจ SMB ในภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ต้องการ ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ เอชพีต้องการช่วยเหลือ SMBs ปลดล็อคนวัตกรรมที่สามารถมอบประสบการณ์ที่ยึดลูกค้าและพนักงานเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพ ทักษะและความสามารถในการฟื้นตัวจากการระบาดครั้งใหญ่นี้เพื่อความพร้อมสำหรับอนาคต”


การสำรวจนี้เสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายน 2563 ครอบคลุม SMBs ในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ชี้ว่า:

     -   บริษัทที่มีความมั่นใจสูงสุดว่าจะกลับมายืนหยัด ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้ดิจิทัล​ เกือบร้อยละ 60 เห็นว่าการใช้ดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นโดยร้อยละ74 ของ SMBs จากอินโดนีเซีย ตอบสนองเรื่องนี้อย่างเห็นได้ชัด โดยร้อยละ 74 ระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นหรือสำคัญมาก เช่นเดียวกับ เจ้าของธุรกิจในประเทศไทยที่ร้อยละ 65

     -  มีการปรับแผนการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญหลังการระบาดใหญ่ก่อนการระบาดใหญ่ร้อยละ 46 ของ SMBs มีการคาดการณ์ว่าธุรกิจจะเติบโตแต่ภายหลังกลับลดลงเหลือร้อยละ 16 โดย SMBs ในประเทศอินเดียและเวียดนาม ยังมีความเชื่อมั่นมากที่สุดว่าจะยังเติบโตหลังการระบาดใหญ่ ส่วน SMBs ในประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีความเชื่อมั่นในเชิงบวกน้อย

     -   ผลผลิตถูกกระทบ เป็นประสบการณ์ที่พบเกือบทั่วกันช่วงโควิด​ มี SMBs เพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของ โควิด โดยมีร้อยละ 43 ที่ทำงานได้ผลผลิตลดลง

     -   ทักษะถูกระบุว่าเป็นปัญหา​ การระบาดใหญ่ชี้ให้เห็นช่องว่างด้านความคิดเกี่ยวกับการใช้และทักษะดิจิทัลภายในองค์กร ซึ่งสร้างอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจโดยมี SMBs กว่าร้อยละ 44 ได้รับผลกระทบนี้

     -   SMBs ขาดความชัดเจนว่าจะมองหาความช่วยเหลือได้จากที่ใด​ สถาบันการเงินอยู่ในอันดับสูงถึงร้อยละ 31 ในขณะที่ร้อยละ60 ของ SMBs ระบุว่าการสนับสนุนของรัฐบาลไม่เพียงพอและไม่ชัดเจนว่าให้ความช่วยเหลืออะไรได้บ้าง และมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้นที่หันไปขอความช่วยเหลือจากบริษัทไอที


สำหรับตลาดในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 65 ของ SMBs เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะอยู่รอดได้ โดยร้อยละ 65 มีความมั่นใจว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้หลัง COVID ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยยังแสดงถึงการคาดการณ์การเติบโตในปีหน้าซึ่งเป็นไปในทางบวกโดยคาดว่าจะเติบโต 11% ในขณะที่ร้อยละ 40 เชื่อว่าการนำดิจิทัลมาใช้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ

เมื่อพูดถึงกลยุทธ์การฟื้นตัวในสามอันดับแรก SMBs ในประเทศไทยเชื่อว่ากลยุทธ์หลักที่สามารถช่วยธุรกิจของพวกเขาได้แก่ 1— รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น 2— การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและ 3— คำแนะนำกลยุทธ์ธุรกิจ สำหรับปัจจัยที่พวกเขาคิดว่าเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ พวกเขาพิจารณาในเรื่องของการตลาดที่ตอบโจทย์กระแสเงินสดและการสรรหาบุคลากร

“ประเทศไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์ COVID-19 ได้เป็นอย่างดีและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีความมั่นใจว่าจะสามารถฟื้นตัวและอยู่รอดหลังจากสถานการณ์นี้ โดยรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูแผนธุรกิจ” มร. ลิม ชุน เต็ก กล่าว “การสำรวจนี้ยังให้ข้อมูลเชิงลึกถึงแนวทางที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหลังจากผลกระทบที่เกิดขึ้นและยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการคิดแผนโซลูชั่นการตลาดเพื่อฟื้นฟูธุรกิจหลังจาก COVID”


ความต้องการความสามารถพิเศษ
เพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้ ความสามารถด้านดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วย SMBs ปรับตัว ธุรกิจ SMBs ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหัวใจหลักที่จะลงทุนทรัพยากรในด้านนี้ โดยทั่วไปจะเพียงแต่สนองความต้องการของลูกค้า หรือทำตามสิ่งที่คู่แข่งทำไว้ มีธุรกิจ SMBs เพียงหนึ่งในห้าเท่านั้นที่มอบข้อเสนอที่ปรับแต่งได้ เพิ่มช่องทางการขายและซัพพลายเชนใหม่ๆ หรือต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ อย่างเช่น  SMBs ในประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 59) และประเทศไทย (ร้อยละ 51) ที่มีความโดดเด่นในการจัดสรรทรัพยากรด้านแนวคิดนวัตกรรมสูงสุด จึงไม่น่าแปลกใจที่ SMBs ของทั้งสองประเทศมีความมั่นใจสูงสุดในประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจหลังโควิด

การบริการและโซลูชั่นสำหรับ SMBs​
เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานที่คล่องตัว เอชพีได้เปิดตัวโซลูชั่นการพิมพ์ที่ให้บริการแบบครบวงจรเพื่อให้ธุรกิจ SMBs สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอชพีมอบข้อเสนอการใช้งานหนึ่งปีสำหรับ HP Roam for Business บน HP LaserJet Pro 400 ซีรีส์ที่มีการซื้อในระหว่างนี้จนถึง 31 ตุลาคม 2563 ที่ให้อิสระในการใช้งานง่ายขึ้น โดยสามารถสั่งพิมพ์จากอุปกรณ์พกพาระหว่างการเดินทาง ผ่านการเชื่อมต่อ HP Roam กับเครื่องพิมพ์ภายในเครือข่ายของบริษัท

นอกจากนี้ เอชพีได้พัฒนา HP SecurePrint ซึ่งสามารถใช้งานได้กับเครือข่ายทุกประเภทรวมถึงเครือข่ายเดิมที่ติดตั้งในไฟร์วอลล์ รวมทั้งการพิมพ์ในสภาพไร้เซิร์ฟเวอร์ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานด้าน  ไอทีได้ อีกทั้งยังเสริมความแกร่งให้กับพนักงานด้วย HP Workpath โดยช่วยให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อแพลตฟอร์มคลาวด์ได้โดยตรงจากเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น (MFP) ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่การเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยมีมากกว่า 100 แอปพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มและใช้งานบนอีกหลายพันแอปพลิเคชั่น​ เพื่อตอบสนองลักษณะการทำงานของพนักงาน SMB ในหลากหลายรูปแบบ เครื่องพีซีของเอชพีได้รับการออกแบบให้สามารถทำงานได้ทุกที่ตามต้องการ ให้อิสระในการสร้างประสิทธิภาพของการทำงานที่ตรงกับแรงจูงใจ และช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย ดึงความคิดจิตนาการมาสู่ชีวิตอย่างแท้จริง

ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในสภาพแวดล้อมการทำงานที่คล่องตัว เพื่อให้มั่นใจว่า SMBs รู้สึกสบายใจขณะที่ทำงานในทุกๆ ที่ เอชพีได้เสนอ Sure Click Pro ฟรีสำหรับลูกค้าเอชพี และผู้ที่ไม่ใช้ HP Windows จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2020 เทคโนโลยี และ HP Sure Click ปกป้องมัลแวร์ แรนซั่มแวร์ และไวรัสที่แฝงอยู่ในไฟล์แนบอีเมล หรือเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย

HP ช่วยให้ธุรกิจ SMBs เข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดได้ง่ายด้วยแพลตฟอร์ม HP For Business ในประเทศไทยซึ่งเป็นโปรแกรมเช่าซื้อ-เช่าใช้รายเดือนที่ให้ลูกค้าเข้าถึงโซลูชั่นอย่างง่ายดายด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้งานที่มาพร้อมประสิทธิภาพความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป และเครื่องพิมพ์ของเอชพี พร้อมกับบริการและดูแลทางเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง โปรแกรมนี้ช่วยลดแรงกดดันทางการเงินให้กับผู้ประกอบการในระยะสั้นและลดภาระในการบริหารจัดการทรัพยากรด้านไอที

การเสริมทักษะอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะฟื้นฟูธุรกิจและเติบโตขึ้น โปรแกรม HP LIFE เสนอหลักสูตรฝึกอบรมด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ฟรี ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับทักษะใหม่ๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจของพวกเขา เช่น การสื่อสารทางธุรกิจ ความคิดธุรกิจเพื่อความสำเร็จ การตลาดสื่อสังคมออนไลน์ และการออกแบบความคิด


วิธีการศึกษา
การสำรวจเจ้าของธุรกิจ SMBs ทั้งสิ้น 1,600 ราย ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ถึง 7 มิถุนายน 2563 ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ 200 ตัวอย่างในแต่ละประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น,   เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าของกิจการ, หุ้นส่วนกิจการ, กรรมการผู้จัดการ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน หรือผู้อำนวยการ  ของธุรกิจที่มีพนักงานน้อยกว่า 200 คน โดยแบ่งสัดส่วนของการสัมภาษณ์อย่างเท่าเทียมกันระหว่างธุรกิจขนาดไมโคร (<10 คน), ธุรกิจขนาดเล็ก (10-49 คน) และธุรกิจขนาดกลาง (50-199 คน) ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลากหลายตั้งแต่ การค้าปลีก/ค้าส่ง, การผลิต, ธุรกิจบริการแบบมืออาชีพ, ธุรกิจด้านสุขภาพ, การศึกษาและบริการทางการเงิน

#####

ข้อมูลเกี่ยวกับ HP Inc.
HP Inc. มุ่งมั่นสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสังคมอย่างแท้จริงด้วยพอร์ทโฟลิโอด้านเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โซลูชั่นการพิมพ์ 3 มิติ เอชพีส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอชพี สามารถเข้าชมได้ที่ hp.com
« Last Edit: July 29, 2020, 11:04:47 PM by happy »