enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » โครงการ Young Technopreneur 2019 มอบรางวัลชนะเลิศให้กับผลงาน “Hydrogel” « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on November 27, 2019, 07:26:11 AM โครงการ Young Technopreneur 2019 มอบรางวัลชนะเลิศให้กับผลงาน “Hydrogel” นวัตกรรมเพื่อสัตว์เลี้ยง26 พ.ย.62 : สามารถ และ สวทช. หนุนสร้างโอกาสให้เกิดนักธุรกิจตัวจริงด้านเทคโนโลยี มอบรางวัลชนะเลิศในโครงการ Young Technopreneur 2019 ให้กับผลงานสุดยอดความคิดสร้างสรรค์ ไฮโดรเจล (Hydrogel) - ติดทน - เส้นขนสัตว์ นวัตกรรมซีรัมอาบแห้ง สูตรเจลน้ำ รุกกลุ่มคนรักสัตว์ ตอบโจทย์ด้านนวัตกรรมใหม่ ที่มีแผนธุรกิจชัดเจนนายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า “ผลงานของน้อง ๆ ในปีนี้ มีการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ทั้งในส่วนของนวัตกรรม และแผนธุรกิจที่ชัดเจนมีความไปได้ทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการที่มาจากภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันพิจารณาตัดสินอย่างเข้มข้น สุดท้ายได้มอบรางวัลชนะเลิศโครงการ Young Technopreneur 2019 พร้อมรางวัลสุดยอดความคิดสร้างสรรค์ Samart Innovation Award (SIA) รับเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ให้กับผลงานไฮโดรเจล-ติดทน-เส้นขนสัตว์ เป็นนวัตกรรมซีรั่มที่มีคุณสมบัติพิเศษ ใช้แทนการอาบน้ำสัตว์หลังผ่าตัด หรือฉีดวัคซีน หรือสัตว์ที่ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นให้กลายเป็นกลิ่นหอมที่ติดทนนาน อีกทั้งยังช่วยไล่ยุง เห็บ หมัดได้อีกด้วย ซึ่งผลงานได้ทำการผลิตและนำออกจำหน่ายแล้ว และกำลังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆออกตามมาเร็ว ๆ นี้ ส่วนรางวัลที่ 2 ได้แก่ ผลงาน I-Lock ระบบควบคุมรถด้วย IOT เป็นเสมือนกล่องสมองกลที่มีความสามารถในการควบคุมระบบไฟฟ้าของรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันระบบ I-Lock ให้บริการแล้ว โดยมีรถยนต์รอการติดตั้งอยู่ราว 100 คัน และรางวัลที่ 3 คือ ผลงาน Alto Tech Smart Hotel เป็นระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะภายในโรงแรมด้วยระบบ AI ทำให้การใช้งานไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับในหลายอุตสาหกรรมได้ ล่าสุดได้มีการใช้งานจริงแล้วที่โรงแรมในเกาะสมุย จ.สุราษฏ์ธานี และสำหรับน้อง ๆ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายอีก 9 ทีม ยังได้รับทุนพัฒนาผลงานทีมละ 30,000 บาทด้วยด้าน นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สวทช. กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริม Startup ของภาครัฐที่ร่วมกับภาคเอกชน ในการสร้าง Startup รุ่นเยาว์ให้เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยีให้กับสตาร์ทอัพที่เป็นเยาวชนในรั้วมหาวิทยาลัย โดยมีนักเรียนนักศึกษาให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 860 ผลงาน มีทีมที่ผ่านเข้าร่วมทั้งหมดกว่า 520 ผลงาน โดยจากผลสำเร็จของกลุ่ม Startup รุ่นใหม่ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการนี้ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา มีการดำเนินการจัดตั้งบริษัทแล้วกว่า 60 บริษัท และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ประมาณ 32 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจเป็นอย่างมากของการดำเนินโครงการฯ ที่สามารถตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อีกด้วย และท้ายสุดจากการพิจารณาทั้ง 12 ผลงาน กรรมการได้มีความเห็นว่า ปีนี้น้อง ๆ มีมุมมองในการพัฒนาผลงานที่ดีขึ้น มิได้มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างเป็นหลัก แต่ยังมีการศึกษาค้นคว้าทั้งพฤติกรรมและความต้องการของตลาด แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปค้นหางานวิจัยที่มีอยู่ในภาคการศึกษาและภาครัฐ มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้เป็นสำคัญอีกด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและภูมิใจในเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก” นายวัฒน์ชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “ตลอดระยะเวลา 17 ปี กลุ่มบริษัทสามารถ มุ่งสนับสนุนให้เกิดการสร้าง “คนคุณภาพ” ด้วยการสนับสนุนและสร้างโอกาสด้านความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีและการสร้างอาชีพ ผ่านโครงการ SAMART Innovation Award ซึ่งเราได้เห็นพัฒนาการและไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากคนรุ่นใหม่กว่า 7,000 คน และเป็นเวลาถึง 8 ปี ที่ได้จับมือกับ สวทช. ในการจัดโครงการ Young Technopreneur เพื่อมุ่งสนับสนุนให้เกิดเจ้าของธุรกิจด้านเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่ได้โล่และเงินรางวัลเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์มากมาย ทั้งสร้างโอกาสในการเก็บเกี่ยวความรู้จากคอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ โอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และโอกาสให้เกิดนักธุรกิจตัวจริงได้ จากการเข้าร่วมกิจกรรม Pitching ซึ่งในปีนี้มีเหล่านักลงทุนจากหลายธุรกิจเข้าร่วม อาทิ กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มภาคการเกษตรและอาหาร กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มพลังงาน และที่สำคัญโอกาสในการสร้างและสานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมโครงการ และคนในแวดวงเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จได้ในอนาคต”สำหรับผู้สนใจโครงการ SAMART Innovation Award ปี 2020 ติดตามได้ที่ www.samartsia.com หรือที่https://www.facebook.com/SamartInnovationAwards/ « Last Edit: November 27, 2019, 07:29:09 AM by news » Logged news on November 27, 2019, 07:32:24 AM ผลงานชนะเลิศอันดับ 1โครงการ Young Technopreneur 2019 และ รางวัล Samart Innovation Award (SIA)ชื่อผลงาน ไฮโดรเจล-ติดทน-เส้นขนสัตว์ นวัตกรรมซีรั่มอาบแห้ง สูตรเจลน้ำบริษัท จามจุรี อินโนเวท จำกัดชื่อสมาชิกในทีม 1. สพ.ญ.ดร. ฉัตรวลี บุญธรรม2. นายทินกร รักศิลป์ประเภทการแข่งขัน อุตสาหกรรมการแพทย์ และบริการเพื่อผู้สูงอายุ (Medical & Aging Society)รายละเอียดผลิตภัณฑ์ Hydrogel คือ วัสดุที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำ เตรียมจากโพลีเมอร์ที่มีโครงร่างตาข่าย นวัตกรรมซีรั่มอาบแห้ง สูตรเจลน้ำ (hydrogel) ที่สัตวแพทย์แนะนำ สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ต้องงดอาบน้ำ (หลังการผ่าตัด ให้วัคซีน หรือป่วย) รวมไปถึงสัตว์สุขภาพดี ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงทั่วไปใช้รักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยง เพิ่มเติมคุณสมบัติพิเศษ ช่วยขจัดกลิ่นเหม็น เปลี่ยนเป็นกลิ่นหอมติดทนยาวนาน อีกทั้งช่วยไล่ยุง เห็บ หมัด (พาหะนำโรคพยาธิเม็ดเลือด พยาธิหนอนหัวใจ) และบำรุงขนสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ กลิ่นหอมติดเส้นขนยาวนาน ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำบ่อย ใช้แทนการอาบน้ำได้เลย เนื้อซีรั่มสูตรอ่อน ไม่ระคายเคือง ตรึงโมเลกุลสารบนเส้นขนสัตว์ ปลดปล่อยสารอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ บำรุงขนให้มีสุขภาพดี อ่อนนุ่ม เงางาม ช่วยป้องกัน/ขับไล่แมลงที่อาจเป็นภาหะนำโรค ใช้แทนการอาบน้ำหลังผ่าตัด หรือ หลังฉีดวัคซีนผลงานรางวัลที่ 2 โครงการ Young Technopreneur 2019ชื่อผลงาน ไอ-ล๊อค (I-Lock)Phuket IT Care Co., Ltd.ชื่อสมาชิกในทีม 1. นายเฉลิมพล มีดวง 2. นายทองปาน ทองพิมพ์3. น.ส.วรฉัตร มีดวง 4. น.ส.เจนจิรา อินกองงามประเภทการแข่งขัน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการ (Tourism & Services)รายละเอียดผลิตภัณฑ์ I-Lock เป็นกล่องสมองกลที่มีความสามารถในการควบคุมระบบไฟฟ้าของรถ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟส่องสว่าง กระจกไฟฟ้า ระบบล๊อครถ สามารถควบคุมรถได้จากระยะไกล ด้วยระบบ Internet of Things (IoTs) นอกจากนี้ยังมีระบบรายงานสถานะต่างๆของรถ เช่น ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะทางที่รถวิ่ง อุณหภูมิเครื่องยนต์ อุณหภูมิห้องโดยสาร ตำแหน่งของรถ ความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับรถ ซึ่งทำให้รถของเรากลายเป็น Smart car ที่สามารถควบคุมผ่าน Application ได้จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ระบบสามารถควบคุมระบบไฟฟ้าได้ทั้งหมด ระบบสามารถรายงานข้อมูลสถานะต่างๆของรถได้ เช่น ระดับน้ำมัน อุณหภูมิ ระบบรายงานความผิดปกติของรถที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบรถ สามารถระบุตำแหน่ง และ อันตรายที่เกิดกับรถ เช่นโดนชน หรือ โดนงัดแงะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับรถประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ สามารถควบคุมรถได้จากระยะไกล เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบข้อมูลรถ และ ความผิดปกติเบื้องต้น ช่วยแจ้งเตือนเหตุร้ายที่จะเกิดกับรถผลงานรางวัลที่ 3 โครงการ Young Technopreneur 2019 ชื่อผลงาน อัลโต้เทค สมาร์ทโฮเทล (Alto Tech Smart Hotel) บริษัท อัลโต้ เทค จำกัดชื่อสมาชิกในทีม 1. ดร.วโรดม คำแผ่นชัย 2. นายธนาวัฒน์ ฮ้อศิริมานนท์3. นายพันธพร ตรังคสมบัติ 4. นาย สุเมธ คำแผ่นชัยประเภทการแข่งขัน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการ (Tourism & Services)รายละเอียดผลิตภัณฑ์ Altotech Smart Hotel เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยโรงแรมบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย AI และ IoT ร่วมกับข้อมูลจาก Property Management System (PMS) และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยการสั่งการอุปกรณ์ IoT ภายในโรงแรมอย่างอัตโนมัติ เพื่อลดการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในโรงแรม ด้วยการใช้ Chat Bot ที่มีเมนูลัดใช้งานง่ายและลดการกรอกข้อมูล เข้ามาเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างฝ่ายต่างๆ ช่วยให้ลดเวลาในการประสานงานและเก็บข้อมูลในกิจกรรมต่างๆ และนำมาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ Alto Bot * ระบบอัตโนมัติใช้งานง่ายสะดวกรวดเร็วกว่าการพิมพ์คุยแบบปกติ * เก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด ไม่มีวันหมดอายุ ทั้งแบบ ข้อความ รูปภาพ วีดิโอ * รีพอร์ตสรุปการทำงานในแต่ละวัน เดือน หรือช่วงเวลาที่ลูกค้ากำหนด * หน้าเว็บรายงานสถานะการทำงานของพนักงานแบบ Real time Alto Energy * ระบบควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ด้วย AI และ IoT ที่ช่วยประหยัด * ระบบทำนายการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้ไฟฟ้า * โรงแรมไม่เสียค่าติดตั้งอุปกรณ์ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ Alto Bot 1. เรียกดูประวัติการทำงานอย่างรวดเร็ว เพื่อการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ลดขั้นตอนการบริหารจัดการของผู้บริหาร ด้วยระบบสรุปผลอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ 3. เชื่อมต่อการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม และมีหลักฐานAlto Energy 1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 30 % และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น2. ลูกค้าสามารถเข้าร่วมเป็น Eco Traveller โดยทาง Alto จะปรับเครื่องปรับอากาศให้โดยอัตโนมัติช่วยเพิ่มความสบายแก่ลูกค้าด้วยอุณหภูมิห้องที่เหมาะสม แต่ให้การประหยัดพลังงาน ที่ลูกค้าสามารถเก็บสะสม แต้ม Eco Traveller เพื่อนำมาแลกของรางวัลกับทางโรงแรมที่ใช้งาน Alto platform ได้ Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » โครงการ Young Technopreneur 2019 มอบรางวัลชนะเลิศให้กับผลงาน “Hydrogel”