happy on October 10, 2019, 06:37:55 PM
NIA ประกาศสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2562
แสดงศักยภาพนวัตกรรมที่สร้างโดยคนไทย เพื่อคนไทยและคนทั่วโลก สู่ประเทศแห่งนวัตกรรม


แชมป์นวัตกรรมสาขาต่างๆ

“วันนวัตกรรมแห่งชาติ” (5 ตุลาคม 2562) ปีนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบ “รางวัลนวัตกรรม ประจำปี 2562” (Innovation Awards 2019) ให้แก่สุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2562 ภายในงาน Innovation Thailand Expo 2019 เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทยที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นในหลากหลายด้าน สร้างให้เกิดคุณค่าที่ชัดเจนทั้งระดับองค์กร ระดับประเทศและระดับโลก และสื่อสารศักยภาพนวัตกรรมของคนไทยให้รับรู้ในวงกว้าง มุ่งสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดิน ซึ่ง NIA ได้ริเริ่มและจัดประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ” มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนการจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมในหลากหลายด้านร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคสังคม ได้แก่ มูลนิธิข้าวไทย  ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสร้างให้เกิดความตื่นตัวและเกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายด้านขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพนวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยคนไทย เพื่อคนไทยและคนทั่วโลก รวมถึงนำสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไปสื่อสารสร้างภาพลักษณ์และสร้างให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างทั้งในประเทศและในเวทีสากล เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ไปสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม”หรือ Innovation Nation

ทั้งนี้ สุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2562 ที่ NIA จัดประกวดขึ้นเอง รวมถึงจัดประกวดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มีทั้งหมด 10 รางวัล ดังนี้



ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2562

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามขนาดองค์กร ได้แก่ องค์กรขนาดใหญ่ วิสาหกิจขนาดกลาง และวิสาหกิจขนาดย่อม


รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1 ประเภทวิสาหกิจขนาดย่อม ได้แก่ เว็บไซต์ชิปป๊อปดอทคอม พัฒนาโดย บริษัท ชิปป๊อป จำกัด เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาค่าขนส่งและจองการส่งสินค้าออนไลน์ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2559 ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยวาง platform Online ระบบจะเชื่อมต่อกับบริษัทขนส่งชั้นนำมากกว่า 15 บริษัท เช่น ไปรษณีย์ไทยFlash Express, Kerry Express, SCG Express และ lalamove เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาค่าจัดส่ง และประหยัดเวลาในการติดต่อ และติดตาม เป็นการสร้างระบบจองขนส่งออนไลน์ e-Logistic รายแรกในตลาด และเปิด API ในการเชื่อมต่อกับระบบ Logistic แบบ Full Service โดยผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องมีรถขนส่งแม้แต่คันเดียว โดยทุกประเภท ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ


สมศักดิ์ บุญคำ ผู้พัฒนา Local Alike


ศุภชัย จันทร์ใส ผู้พัฒนา My Platform  แชมป์นวัตกรรมด้านการออกแบบ


คนรุ่นใหม่ร่วมรับรางวัล


คนรุ่นใหม่ร่วมรับรางวัล

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคม ประจำปี 2562

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมของประเทศ

แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามประเภทองค์กร ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไร


ผู้ชนะเลิศ ประเภทหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ LocalAlike.com : แพลตฟอร์มท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน พัฒนาโดย บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด เป็นนวัตกรรมระดับประเทศที่ใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อนักท่องเที่ยวกับชุมชน และแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนภาคท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์และได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น โดยกระบวนการสำคัญคือ การพัฒนาชุมชน มีขั้นตอนการทำงานที่เปิดโอกาสให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางการท่องเที่ยว การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสนอประสบการณ์ท้องถิ่น และเพิ่มศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวด้วยชุมชน รวมถึงคัดกรองนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพให้ชุมชน ส่งผลให้มีการสร้างอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนหรือผู้ประกอบการท้องถิ่น ก่อให้เกิดการถ่ายทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพิ่มทางเลือกการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนประเภทองค์กรไม่แสวงหากำไร และหน่วยงานภาครัฐ ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านการออกแบบ ประจำปี 2562

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมที่นำการออกแบบมาสร้างให้เกิดคุณค่าเพิ่มและประโยชน์ในด้านต่างๆ
แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.การออกแบบผลิตภัณฑ์ 2.การออกแบบบริการ


ผู้ชนะเลิศ ประเภทออกแบบบริการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ My Platform ผลิตโดย MY PLATFORM CO.,LTD เป็น Platform สำหรับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ประกอบไปด้วย My Living แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัย ให้นิติบุคคล และผู้พักอาศัยได้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้การบริหารจัดการโครงการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัยได้ครบถ้วน และสะดวกรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนพัสดุ การแจ้งซ่อม/ติดตามงาน การร้องเรียนปัญหา ระบบแชท/จัดกลุ่ม/การจัดประชุม การแจ้งบิลค่าน้ำ ค่าส่วนกลาง ฯลฯ ผ่านแอปพลิเคชัน My Living รวมถึงยังเป็น Everyday App สำหรับผู้พักอาศัยในการเชื่อมโยงกับบริการมากมายผ่าน My Service และเข้าถึงบริการต่างๆ ง่ายขึ้น อาทิ บริการแม่บ้านทำความสะอาด บริการล้างแอร์ ซักอบรีด ล้างรถเคลื่อนที่ บริการสั่งอาหาร บริการสั่งสินค้าอุปโภคบริโภค บริการจองสถานที่ บริการรับส่งพัสดุ ฯลฯ โดยนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับชุมชนเข้าด้วยกัน สร้างความสะดวกสบาย ให้กับผู้ใช้ทั้งฝั่งโครงการและฝั่งผู้อยู่อาศัย และสร้างโอกาส ชุมชน และสังคมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ส่วนประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ


My Platform  แชมป์นวัตกรรมด้านการออกแบบ


Local Alike แชมป์นวัตกรรมด้านสังคม

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสื่อ ประจำปี 2562

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมขึ้นในอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งด้านเทคโนโลยีและเนื้อหาสื่อสารในแง่มุมใหม่ที่ก่อให้เกิดคุณค่าเชิงสร้างสรรค์ในการเผยแพร่สู่สังคม แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. สารคดีสั้น 2. สปอตโฆษณา 3. เนื้อหา 4. สื่อมวลชน

รางวัลชนะเลิศ ประเภทสารคดีสั้น ได้แก่ เปลี่ยนเป็น “เข้าใจ” โดย บริษัท คิดส์-คิสส์ สตูดิโอ จำกัด ซึ่งนำเสนอมุมมองปัญหาของระบบการเรียนการสอนที่ไม่สามารถทําให้นักเรียนเข้าใจหรือไม่ทําให้เกิดความสนใจในเนื้อหาหนังสือ รวมถึงวิธีสอนของอาจารย์ที่ไม่เหมาะกับนักเรียน และอีกหลายปัญหาที่เป็นปัจจัยให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย โดยแนวคิดใหม่นี้จะนำเสนอแนวทางที่ใช้หลักการ “เปลื่ยนจากท่องจําเป็นเข้าใจ” โดยใช้นวัตกรรมจากคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม นําเอาหลักการออกแบบ และเทคโยโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสื่อกลางของการเรียนการสอนระหว่าง นักเรียนและอาจารย์ทดลองใช้จริง จนทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย และสนุก โดยมีเป้าหมายการนำเสนอที่ทำให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญของระบบการศึกษาในสังคม และชี้ให้เห็นถึงข้อเสียที่ควรปรับปรุงในระบบการเรียนการสอนแบบเก่า พร้อมนําเสนอการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สู่สังคม และใช้ได้จริง ส่วนประเภทเนื้อหา สื่อมวลชน และสปอตโฆษณา ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประจำปี 2562

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร ที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นในองค์กรอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามขนาดขององค์กร ได้แก่ 1.ธุรกิจขนาดเล็ก 2. ธุรกิจขนาดกลาง 3. ธุรกิจขนาดใหญ่

ผู้ได้รางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดเล็ก ได้แก่ บริษัท เอ็กซ์ซี จำกัด องค์กรที่มีการกำหนดโครงสร้างองค์กรชัดเจนในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีการดำเนินงานควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจ ใช้ BI เชื่อมโยงกับกลุ่มงานที่ทำงานกับลูกค้าและคู่ค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการพัฒนาโปรเจคต่างๆ ซึ่งองค์กรมีการทำงานแบบ Design Thinking process และมีการใช้กระบวนการ Agile โดยเฉพาะในทีมงานที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี ก่อให้เกิดผลผลิตด้านนวัตกรรมที่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด

ผู้ได้รางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดกลาง ได้แก่ บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด องค์กรที่มีการระดมทุนในระดับ Series A และมีแผนเพิ่มการระดมทุน ดังนั้น องค์กรจึงมีการปรับโครงสร้างเพื่อเตรียมความพร้อม โดยมีโครงการพัฒนาต่อยอดแพลทฟอร์มและบริการ MiClaim สำหรับปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการขยายขนาดของกลุ่มงาน Operation โดยปัจจุบัน มีรูปแบบธุรกิจเป็นการทำงานร่วมกับคู่ค้าที่หลากหลายใน Ecosystem ซึ่งปีที่ผ่านมารายได้และยอดผู้ใช้งานแพลทฟอร์มเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีแพลทฟอร์มใหม่เกิดขึ้นตามกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้น องค์กรยังเน้นการใช้ Tacit Knowledge ระหว่างบุคคลมากกว่า Explicit Knowledge โดยผ่านกระบวนการ Agile อีกด้วย

ผู้ได้รางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) องค์กรที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ Property โดยคำนึงถึงผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก พร้อมๆ กับการสื่อสารไปถึงพนักงานและเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนผ่านกิจกรรม วัฒนธรรมองค์กร และบรรยากาศ ทั้งนี้ องค์กรได้มุ่งสู่การทำธุรกิจแบบ Smart Property โดยมีการกำหนดเป้าหมายแยกตามกลุ่มงานอย่างเป็นแบบแผน มีการปรับปรุงกระบวนการในรูปแบบของ Tech Company และนำ AGILE มาใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำร่องก่อนขยายผลทั่วทั้งองค์กร โดยนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรมากกว่าการสร้างรายได้โดยตรง






รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย

จัดประกวดโดย มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติผู้พัฒนานวัตกรรมจากข้าวไทย พัฒนาผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ข้าวของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรม 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน




ผู้ชนะนวัตกรรมข้าวไทย

ผู้ชนะเลิศ ประเภทนวัตกรรมข้าวไทยในระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอก ข้าวเปลือกสำหรับ การผลิตข้าวฮางงอก พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยเป็นเครื่องเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเร่งกระบวนการแช่และการงอกของข้าวเปลือกในการผลิตข้างฮางงอก โดยการพ่นละอองน้ำใส่ข้าวในภาชนะปิดเป็นระยะเวลา 15 – 18 ชั่วโมง ส่งผลให้เมล็ดเริ่มงอกเร็วขึ้น โดยการข้าวจะเริ่มงอกภายใน 2 – 3 ชั่วโมงหลังจากที่หยุดพ่นน้ำ นวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยลดระเวลาการงอกของข้าวจะ 2 – 3 วัน เหลือเพียงภภายใน 24 ชั่วโมง และสามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 5 เท่า นอกจากนั้น กลิ่นและเนื้อของข้าวจะมีคุณภาพที่ดีและหอมกว่าข้าวเปลือกที่งอกตามธรรมชาติ ทั้งนี้ กลุ่มชุมชนหรือชาวนา สามารถซื้อนวัตกรรมนี้ได้ในราคาเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาท สำหรับกำลังการผลิต 100 กิโลกรัมต่อวัน โดยมีจุดคุ้มทุนของการซื้อเครื่องอยู่ที่ 1.39 ปี ส่วนประเภทนวัตกรรมข้าวไทยในระดับในระดับวิสาหกิจชุมชน ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ

รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย

จัดประกวดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ เพื่อเชิดชูเกียรติเยาวชนไทยในระดับนักเรียน นักศึกษา ปวช. ปวส. ที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาให้เกิดผลงานประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ที่มีศักยภาพในการนำไปต่อยอดสร้างให้เกิดคุณค่าในด้านต่างๆ

แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรี หรือ ปวส ได้แก่อุปกรณ์แจ้งเตือนการลืมกุญแจและป้องกันการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ DTEC โดยวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. ได้แก่ Fitness In the air โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี


รางวัล Prime Minister Award: National Startup และ Startup Thailand League

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเชิดชูเกียรติแก่สตาร์ทอัพ บริษัท และบุคคลในธุรกิจสาขาต่างๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง มีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ ร่วมถึงสนับสนุนให้นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และอาชีวะทั่วประเทศ ได้ร่วมประกวดไอเดียทางธุรกิจ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนในสังคม ในด้านต่างๆ บนเวทีระดับประเทศ เพื่อมุ่งสร้างภาวะความเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาศักยภาพของอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลากรในสถาบันการศึกษาของไทย

แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่


1. รางวัล Startup of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติแก่ Startup ในสาขาธุรกิจเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง สร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม ตลอดจนมีส่วนส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบนิเวศน์ของ Startup มีการดำเนินธุรกิจประเทศที่ดี ผู้รับรางวัล ได้แก่ Local Alike

2. รางวัล Global Tech Startup of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติแก่ Startup ในสาขาธุรกิจเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง สร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมวงกว้าง ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างน้อย และมีการเริ่มต้นธุรกิจในไทยจนเติบโตและขยายธุรกิจในต่างประเทศได้ รวมทั้งมีส่วนส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบนิเวศน์ของ Startup มีการดำเนินธุรกิจประเทศไทย และมีหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจที่ดี ผู้รับรางวัล ได้แก่ aCommerce

3. รางวัล Evangelist of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติแก่บุคคลต้นแบบ ที่มีศักยภาพ มีส่วนส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบนิเวศน์ของ Startup จนยกระดับการเติบโตของระบบนิเวศน์ Startup ของประเทศไทยสู่ระดับนานาชาติ ผู้รับรางวัล ได้แก่ คุณณิชาภัทร อาร์ค และ คุณมนธิดา แมคคูล

4. รางวัล Investor of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติแก่บริษัทร่วมลงทุนที่มีศักยภาพ สร้างการเติบโตให้กับบริษัท Startup และมีส่วนส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบนิเวศน์ของ Startup จนยกระดับการลงทุนของบริษัทร่วมทุนในตลาดของประเทศไทย สู่ระดับนานาชาติ ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ Add Ventures

5. รางวัล Best Brotherhood of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติองค์กรขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสร้างการเติบสร้างการเติบโตให้กับบริษัท Startup มีส่วนส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบนิเวศน์ของ Startup การส่งเสริมสามารถสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ Startup ในระดับประเทศ จนยกระดับการเติบโตของระบบนิเวศน์ Startup ของประเทศไทยสู่ระดับนานาชาติ ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ธนาคารออมสิน

รางวัลแผนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเชิญชูเกียรตินักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป ที่สามารถนำนวัตกรรมเข้าไปใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคม โดยมีแผนธุรกิจที่จะต้องคำนึงถึงการประสบความสำเร็จทั้งในรูปแบบแนวทางการหารายได้ และการสร้างให้เกิดคุณค่าต่อสังคมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. นักเรียน (อายุไม่เกิน 18 ปี) 2. อุดมศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี) 3. บุคคลทั่วไป

ประเภทนักเรียน (อายุไม่เกิน 18 ปี) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการ Smart Sprinkler หรือโครงการที่ต้องการพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรอัจฉริยะที่ช่วยทุ่นแรงให้กับเกษตรกร โดยอุปกรณ์จะมีระบบควบคุมการทำงานผ่าน Application Smart AGRO ซึ่งสามารถทำงานได้ตั้งแต่การตั้งเวลาและรูปแบบการรดน้ำในฟาร์มไปจนถึง การฉีดสารชีวภัณฑ์ นอกจากนี้ใน Application ยังมีระบบตลาดออนไลน์ที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจทางการเกษตรให้มีช่องทางสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ประเภทอุดมศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการ มักม่วน.คอม เป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหามรดกทางวัฒนาธรรมของภาคอีสาน อย่าง หมอลำที่กำลังสูญหายไป เนื่องจากไร้ผู้สืบทอด เพราะขาดรายได้ และขาดการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า มักม่วน.คอม จึงเป็น Platform กลางที่เชื่อมโยงกลุ่มลูกค้าหมอลำเข้ากับวงดนตรีหมอลำ โดยมีการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งฝั่งลูกค้าและฝั่งผู้ประกอบการเพื่อให้ธุรกิจหมอลำมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมๆ กับสืบสานวัฒนธรรมได้ต่อไป และประเภทบุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการ SAXTEX เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา โดยการนำไปเคลือบกับผ้ากระสอบด้วยเทคนิคพิเศษ ที่มีความสวยงามและคงทน โดยผ้ากระสอบที่ผ่านกระบวนการนี้จะถูกนำมาออกแบบ และดีไซน์ด้วยแนวคิดสมัยใหม่ให้มีความโดดเด่นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีแผนธุรกิจที่จะช่วยกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการสวนยางพาราที่กำลังประสบปัญหาราคายางตกต่ำ
« Last Edit: October 10, 2019, 06:53:37 PM by happy »

happy on October 10, 2019, 06:38:35 PM
รางวัล UAV Startup

จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อเชิดชูเกียรติผู้สร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานและภาคอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอากาศยานไร้คนขับ หรือ Unmanned Aerial Vehicle: UAV ขึ้นในประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ด้านความมั่นคงและกิจการพลเรือน 2.ด้านบรรเทาภัยพิบัติ




แชมป์ UAV Startup ด้านความมั่นคงและกิจการพลเรือน


แชมป์ UAV Startup ด้านบรรเทาภัยพิบัติ

ผู้ชนะเลิศ ประเภทด้านความมั่นคงและกิจการ พลเรือน ได้แก่ ผลงาน ซอฟท์แวร์สำหรับโดรนในการสร้างแผนที่ 3 มิติและระบุตำแหน่งตนเองด้วยคอมพิวเตอร์บนตัวโดรน เป็นซอฟท์แวร์สำหรับโดรนในการสร้างแผนที่ 3 มิติและระบุตำแหน่งตนเองด้วยคอมพิวเตอร์บนตัวโดรน เป็นการระบุตําแหน่งตนเองและนําทางอัตโนมัติสําหรับโดรนในสถานที่ไร้สัญญาณ GPS เปรียบเสมือนการมอบสายตาภายในโดรน โดยไม่ต้องพึ่งคําสั่งจากข้างนอก โดยซอฟท์แวร์จะเริ่มสร้างแผนที่และระบุตําแหน่งของโดรนในสถานที่นั้นๆ โดยไม่จําเป็นต้องมีข้อมูลของสถานที่นั้นมาก่อน เพื่อให้โดรนและผู้ออกคําสั่งที่ฐานทราบว่า เวลานี้โดรนอยู่ตรงไหน เพื่อทําการออกคําสั่งให้โดรนไปที่จุดหมาย ที่อาจมีการเปลี่ยนคำสั่งระหว่างภารกิจที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่ม โดยการรับรู้และการคํานวณทุกอย่างของโดรนจะเกิดขึ้นภายในตัวโดรน โดยไม่ต้องอาศัยสัญญาณหรือข้อมูลจากการสื่อสารภายนอก จึงทําให้โดรนสามารถปฏิบัติภารกิจในอาคาร หรือสถานที่ ซึ่งสัญญาณสื่อสารและ GPS ไม่แน่นอนได้ โดยหากมีระบบการสร้างแผนที่ ระบบระบุตําแหน่งตัวเอง และการนําทางของโดรนโดยอัตโนมัติแล้ว จะส่งเสริมให้มีการใช้โดรนในภารกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งการทหาร และพลเรือนได้ เช่น การใช้โดรนเพื่อสํารวจ และเช็คสต็อกในโกดังขนาดใหญ่ การใช้โดรนดับเพลิงในโรงงาน/อาคาร หรือการใช้โดรนในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือในสถานที่เสี่ยงภัย เช่น การลาดตระเวณหาคนในป่า ภูเขา หรือถํ้า รวมถึงการใช้โดรนในภารกิจสอดแนม ส่งผลให้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับสามารถนำไปใช้ได้แพร่หลาย และช่วยงานคนได้มากขึ้น

ผู้ชนะเลิศด้านบรรเท่าสาธารณะภัยได้แก่ Multi-rotor UAV for Monitoring Violent Behavior in Crowds โดยบริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อลดควสามเสี่ยงของการเกิดอุบัติและอาชญากรรม ในงานหรือเหตุการณ์ที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก โดยปัจจุบันมาตรการการป้องกันขึ้นอยู่กับกล้อง CCTV หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น ซึ่งประสิทธิภาพในการเข้าถึงอยู่ในระดับจำกัด ซึ่งนวัตกรรม Multi-rotor UAV จะสามารถลดข้อจำกัดในการเข้าถึงได้จากการใช้เทคโนโลยีประมวลภาพ โดยเครื่องจะสามารถเรียนรู้จาก Algorithm และโครงข่ายประสามแบบคอนโวลูชัน (CNN) เพื่อการสร้าง Ai มุ่งป้องกันการเกิดเหตุร้ายจากระดับสูง ระบบจะประเมินการเกิดเหตุจากลักษณะท่าทางและการเคลื่อนไหวของมือและแขน รวมทั้งการปรากฏของอาวุธ และจะส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจจับความผิดปกติ นอกจากนั้น UAV ยังสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเป้าหมาย พร้อมบันทึกและส่งภาพแบบ Real-time ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเทคโนโลยีจะสามารถเพิ่มความแม่นยำ และตรวจจับคนร้ายได้อย่างทันท่วงที สามารถนำมาใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ