news on April 22, 2019, 01:46:01 PM


ข่าวประชาสัมพันธ์ อบก. ร่วมกับ มช. และ 30 โรงงานลงนามพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เร่งลดภาวะโลกร้อน







ในวันที่ 22 เมษายน 2562 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ 30 โรงงานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้เป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั่วประเทศ โดยงานนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมจากจังหวัดระยอง 17 โรงงานได้แก่

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
บริษัท แคททาเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เจเทคโตะ ออโตโมทีฟ (ไทยแลนด์) จํากัด
บริษัท ชิน-เอทซุ ซิลิโคนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไทยปาร์คเกอร์ไรซิ่ง จํากัด
บริษัท ไทยโพลีอะซีทัล จำกัด
บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด
บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จํากัด
บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด
บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด
บริษัท ระยอง เทอร์มินัล จำกัด
บริษัท อาร์ซี-ฟิล์ม จำกัด
บริษัท อาโอยาม่าไทย จำกัด
บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด
บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท แอร์ ลิควิด (ประเทศไทย) จำกัด

จากจังหวัดชลบุรี 9 โรงงานได้แก่
บริษัท ทีบีเคเค (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไทยนิปปอน เซอิกิ จำกัด
บริษัท ไทยอีสเทิร์น ไบโอ พาวเวอร์ จำกัด
บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด
บริษัท ไทยอีสเทิร์น อินโนเวชั่น จำกัด
บริษัท ไทรอัมพ์ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด
บริษัท อี.คิว.รับเบอร์ จำกัด
บริษัท อีสเทิร์น ปาล์ม ออยล์ จำกัด
บริษัท ไอเอชไอ เทอร์โบ (ประเทศไทย) จำกัด

จากจังหวัดฉะเชิงเทรา 4 โรงงานได้แก่
บริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด (โรงงานอาหารสำเร็จรูป แปดริ้ว)
บริษัท ทีพีเอ็น แพคเกจจิ้ง จำกัด
บริษัท นูทริกซ์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไอชิน เอไอ (ประเทศไทย) จำกัด

ภายในงาน นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้อํานวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้กล่าวว่า จากการร่วมมือกันระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ “โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และเครือข่ายประชารัฐ เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” (Eco-Industrial Estate & Public Networks) ซึ่งเป็นโครงการที่มีระยะการดำเนินงาน 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2565 โดยในปีนี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการภายใต้ “แผนงานการบูรณการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม” จากกรมควบคุมมลพิษ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมแผนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งมีที่มาของโครงการสืบเนื่องมาจาก

การที่  ASEAN Economic Community มีเป้าหมายให้ ASEAN เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ทำให้บริษัทต่างชาติมีตัวเลือก ในการตั้งฐานการผลิตและกระจายสินค้ามากขึ้น

รัฐบาลมีเป้าหมายยกระดับ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ให้กลายเป็น “World-Class Economic Zone”

การพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ต้องการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การลดก๊าซเรือนกระจก ของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เช่น การจัดการ ของเสีย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการสร้างสมดุลของการพัฒนา เป็นต้น

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนานโยบายแผนงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC : Eastern Economic Corridor) รวมทั้งส่งเสริมให้โรงงานในพื้นที่เขต EEC ดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก โดยใช้เครื่องมือที่ อบก. พัฒนาขึ้น นำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

สำหรับการดำเนินงานโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 2562 นี้ นับเป็นการดำเนินงานในช่วงที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งอบก. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนทั้งสิ้น 30 แห่ง ให้ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเป็นโรงงานนำร่องอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ มุ่งไปสู่การบริหารจัดการตามหลักการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต่อไป