news on September 26, 2018, 08:07:14 AM
“รมช.สมชายฯ”ลงพื้นที่แดนสะตอ ถกภาครัฐ-เอกชน 14 จังหวัดใต้ จี้ผลักดันศักยภาพอุตฯภาคใต้ติดลมบน เล็งตั้งศูนย์ฮาลาลฯหนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นโต



จังหวัดสงขลา 26 กันยายน 2561 -กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือเครือข่ายภาครัฐ เอกชน 14 จังหวัดภาคใต้กางแผนขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในพื้นที่ บูมศักยภาพอุตสาหกรรมภาคใต้ให้ติดลมบนพร้อมชักชวนBig Brother ร่วมพัฒนา Factory4.0 รุกตั้งศูนย์ฮาลาลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หวังสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นโตต่อเนื่องจัดติวเข้มมาตรการทางการเงินแก่SMEs ให้ใช้บัญชีเดียวเปิดทางสู่โลกการค้ายุคใหม่ สอดคล้องนโยบายThailand 4.0 ได้อย่างตรงจุด!


นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม SME สัญจร : พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนภาคเอกชนในพื้นที่เข้าร่วมหารือ โดยเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ได้นำเสนอ flagship ที่ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นจำนวน 5โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และยางพาราครบวงจรมุ่งหวังให้ “ไม้ยางพาราไทยสู่ไม้ยางพาราโลก”โดยการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs และอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบสู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมไม้ยางพารา และการสร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือใช้ และสนับสนุนการดำเนินการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และการจัดการอย่างยั่งยืน2.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยางพาราพันธ์ใหม่ การต่อยอดขยายผลและขอบเขตการใช้งานของวัตถุอิบยางพาราเพื่อใช้ในวงการอื่นๆ การรวบรวมผลิตภัณฑ์ยางพาราที่มีทั่วโลก 3. โครงการจัดตั้งศูนย์รับรองมาตรฐานฮาลาล เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาล ซึ่งจากที่ปัจจุบันต้องส่งเอกสารไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก็สามารถขอได้ในพื้นที่ภาคใต้ โดยคาดว่าหากมีการจัดตั้งศูนย์ฯแล้วจะส่งผลให้มีสินค้าและบริการที่ได้รับเครื่องหมายฮาลาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 304.โครงการCIV4.0 เพื่อพัฒนาต่อยอด CIV ทั้ง 5 จังหวัดและ5.โครงการ Hand in Hand&Marketing Hubมุ่งส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปจากยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพด้วยการส่งเสริมให้ภาคใต้ของไทย เป็นฐานของการประกอบธุรกิจการบริการ และการลงทุน สร้างความเป็นหุ้นส่วนกับการพัฒนาประเทศเชื่อมโยงกับภูมิภาค

“ทั้ง 5 flagship จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (New-GrowthEngine)ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ควบคู่ไปกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ชายแดนและจังหวัดในภาคใต้รวมทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนในทุกมิติสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น”นายสมชาย กล่าว

นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ได้เป็นประธานเปิดงาน “SMEs สัญจร : เสริมแกร่ง SMEs รอบรู้เรื่องบัญชีและการเงิน: พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0” โดยมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในด้านบัญชีและการเงิน ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Strong/Regular Level) ตามมาตรการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน (Financial Literacy) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความรู้ด้านบัญชีการเงิน และเห็นความสำคัญของการเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการให้สูงขึ้นและเตรียมความพร้อมให้เข้าถึงแหล่งทุนต่อไป

และในช่วงบ่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (IndustryTransformation Center:ITC4.0) ในพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จังหวัดสงขลาเพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ SME และ OTOP ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นSMEs 4.0โดยการดำเนินงานของศูนย์ ITCนี้ เป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ เครื่องมือ เครื่องจักร สำหรับให้บริการผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาจังหวัดภาคใต้ชายแดนที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลและเป็นการยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)และวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ดังกล่าวให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในโลกปัจจุบัน โดยศูนย์ ITCมีรูปแบบแนวคิดการดำเนินงาน คือ1) InnovationZoneนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและโครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมายอาหารแปรรูป เครือข่าย มาตรฐานฮาลาล จำนวน ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากศูนย์การออกแบบและตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกกรรม(สาขาอาหาร)ต้นแบบ สถาบันอาหาร2) Product DevelopmentZoneนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ และพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ และโครงการเพิ่มผลิตภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากหน่วยร่วมบริการต่างๆ3) Big Brother and Networking Zone

สำหรับศูนย์ ITCแห่งนี้ ยังมีหน่วยงานและสถาบันเครือข่ายที่ร่วมให้บริการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ได้แก่1.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)2. สถาบันอาหาร3.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา4.คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์5.อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์6.ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์7.ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาและ 8.ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมเป็น BIG BROTHERs กับทาง กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท สมูทแพค จำกัดบริษัท ฟู้ด แมชชินเนอรี่ จำกัดและบริษัท อินดิโก้ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด

จากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางไปยังชุมชนท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชนบ้านท่าข้ามพบปะผู้นำชุมชนสมาชิกและผู้ประกอบการ Local Economy เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้าน CIV ในปี 2562 มุ่งเป้าพัฒนาให้เป็นจุด Check in ศูนย์เรียนรู้ร้านค้าชุมชนให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้ ทั้งนี้ ตำบลท่าข้าม มีเนื้อที่ 34 ตารางกิโลเมตรประชากรในพื้นที่จำนวน 7,600 คนมี 8 หมู่บ้าน โดยชาวบ้านในพื้นที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและปลูกพืชเกษตร
« Last Edit: September 26, 2018, 09:02:01 PM by news »