enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » สวทช. ผนึก สวทน. ติวอาจารย์ 10 มหาลัยพี่เลี้ยง หวังปั้น “นักนวัตกร” « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on August 03, 2018, 10:45:45 PM สวทช. ผนึก สวทน. ติวอาจารย์ 10 มหาลัยพี่เลี้ยง หวังปั้น “นักนวัตกร” หนุนอุตสาหกรรม 4.0ผู้บริหาร สวทช. และผู้บริการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุุรี พร้อมวิทยากรร่วมถ่ายภาพนายวิทยา อรุณแสงฉาน ผอ.โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุรีนายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม ผู้ออกแบบห้องปฏิบัติการ STEM LAB อธิบายให้ครูพี่เลี้ยงอาจารย์วิศิน แซ่เจ็ง ครูประจำห้องปฏิบัติการ STEM LAB อธิบายอุปกรณ์และการใช้งานเครื่องมือ[/b]กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช. จับมือ สวทน. ติวเข้มอาจารย์มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง 10 แห่งทั่วประเทศ ป้อนความรู้เชิงวิศวกรรมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ 3 วันเต็ม หวังครูพี่เลี้ยงดึง “วิศวกร” ประจำสถานศึกษา 150 แห่งทั่วประเทศ นำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม ผสมผสานความรู้วิทยาศาสตร์ในสถานศึกษา ในรูปแบบ “โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม” หรือ ห้องเรียนเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม บ่มเพาะทักษะวิศวกรรมให้เยาวชนไทยเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองเชิงวิศวกรรม สร้างแรงบันดาลใจ สู่สายอาชีพ “นักนวัตกร” กำลังสำคัญ ผลิตนวัตกรรมใช้ได้จริงขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ยุค 4.0 (3 สิงหาคม 2561) ที่ห้องแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (STEM LAB) อาคารวิทยาศาสตร์ 1 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุรี: ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยายาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เป็นประธานเปิดจัดกิจกรรม “การอบรม Fabrication Lab ทางเทคนิคสำหรับมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง” พร้อมด้วย นางสาวพิรดา เตชะวิจิตร์ นักวิเคราะห์นโยบาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และอาจารย์ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง 10 แห่งทั่วประเทศกว่า 30 คน เข้าร่วมการอบรม โดยมี นายวิทยา อรุณแสงฉาน ผู้อำนวยการจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุรี ให้การต้อนรับดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. (สายงานพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) กล่าวเปิด “การอบรม Fabrication Lab ทางเทคนิค สำหรับมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง” ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรให้แก่เด็กและเยาวชนไทย หรือโครงการแฟ้บแล็บ (Fab Lab) ว่า เป็นโครงการตามนโยบายวิทย์สร้างคน ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับงบประมาณ Big Rock จากรัฐบาล มีเป้าหมายการพัฒนากำลังคนด้าน STEM โดยสร้างพื้นฐานให้เยาวชนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะด้านวิศวกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้มาทดลอง สร้างนวัตกรรมได้ และสร้างเส้นทางอาชีพสู่วิศวกรวิจัย วิศวกรออกแบบ และนวัตกรต่อไปในอนาคต โดยได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง 10 แห่ง ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 7. มหาวิทยาลัยบูรพา 8. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 10.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มเป้าหมายเชิงปริมาณในโครงการแฟ้บแล็บ (Fab Lab) ตั้งเป้าให้เด็กและเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีทักษะวิศวกรรมไม่ต่ำกว่า 15,000 คน ครูไม่ต่ำกว่า 800-1,000 คนเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ เข้าร่วมในโครงการไม่ต่ำกว่า 150 แห่งในทุกภูมิภาค นอกจากนั้นแล้วในเชิงคุณภาพได้กำหนดให้มีการพัฒนาชิ้นงานหรือโครงงานไม่ต่ำกว่า 150 ชิ้นงานที่ใช้ได้จริง และ 300 ชิ้นงานสามารถส่งเข้าประกวดในระดับภูมิภาค ประเทศและนานาชาติ สามารถสร้างผลลัพธ์ ให้เยาวชนเรียนต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมนโยบายการสร้างนักนวัตกรของรัฐบาล เพื่อสร้างกำลังคนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน นางสาวพิรดา เตชะวิจิตร์ นักวิเคราะห์นโยบาย สวทน. เปิดเผยว่า เดิมที สวทน. ร่วมกับ Space box ในการถอดแบบห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้จาก Space box เพื่อสร้างห้องเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม หรือ STEM LAB ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมาเริ่มต้นสร้าง STEM LAB ต้นแบบ จำนวน 2 แห่ง ภายในโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุรี และ จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ปทุมธานี จากนั้นในปี 2561 สวทช. ได้มีโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ที่จะขยายผลไปยังสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ 150 แห่ง ภายใต้โครงการ Big Rock เพื่อทำให้การเรียนรู้ในรูปแบบ STEM LAB กระจายไปสู่สถานศึกษาทั่วประเทศ เนื่องจากตลอด 1 ปีที่ผ่านมาการเรียนรู้แบบ STEM LAB ที่จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุรี เกิดผลสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าเยาวชนได้พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ของตัวเอง โดยต่อยอดเป็นนวัตกรรมต่างๆ ทั้งผลงนต้นแบบและผลงานใช้ได้จริง อาทิ หุ่นยนต์ทำความสะอาด เครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำ เป็นต้น ถือเป็นความสำเร็จด้านการศึกษาที่ควรขยายโอกาสไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศด้าน นายศุภวัฒน์ ชูวารี อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ตัวแทนอาจารย์มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง กล่าวว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนแต่ละสาขาเปิดกว้างมากขึ้น แต่หากเทียบสัดส่วนบัณฑิตที่จบ 1,000 คนนั้นจะมีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่เรียนสายวิศวกรรมกรรมเพื่อผลิตนวัตกรรม หรือไม่เกิน 100 คนเท่านั้น ซึ่งอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสำคัญ ดังนั้นโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) น่าจะเป็นรากฐานที่ดีในการพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อยกระดับความรู้วิทยาศาสตร์สู่การลงมือทำในเชิงวิสวกรรมให้อยู่ในทักษะของเยาวชนไทย ทั้งนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงในโครงการแฟ้บแล็บ (Fab Lab) เปรียบเสมือนรุ่นพี่ ซี่งเยาวชนโดยเฉพาะมัธยมปลายและสถานศึกษาต่างๆ ถือเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่พวกเขาจะค้นหาตัวเองว่าชอบอะไร ไม่ว่าจะไปสายวิทยาศาสตร์ สายวิศวกร หรือสายช่าง ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นการผนวกองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม ซึ่งอาจจะเป็นอีกช่องทองให้เยาวชนไทยมีมุมมอง แนวความคิด ตลอดจนช่วยเพิ่มทักษะการวิเคราะห์การทำงานด้านวิศวกรรม เพื่อผลิตชิ้นงานหรือนวัตกรรมได้ด้วยตัวเองนายศุภวัฒน์ กล่าวด้วยว่า โครงการดังกล่าวปัจจัยสำคัญ อยู่ที่การส่งเสริมทักษะทางด้านวิศวกรรม ให้กับเยาวชนไทย โดยเฉพาะการยกระดับทักษะและองค์ความรู้ของวิศวกรในสถานศึกษา ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ห้องเรียนในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานอยู่แล้ว ได้ผนวกเอาองค์ความรู้เรื่องโครงสร้างและการออกแบบเชิงวิศวกรรมเข้าไปช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เยาวชนได้เรียนรู้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่าโครงการนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้เยาวชนเป็นวิศวกรทั้งหมด แต่เป็นการบ่มเพาะและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อเติมเต็มให้กับเยาวชนไทย นำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยและไปสู่เส้นทางอาชีพนักนวัตกร รวมทั้งอาจจะช่วยเพิ่มสัดส่วนกำลังคนด้านวิศวกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่องใน อีก 3-5 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งถือเป็นกำลังหลักสำคัญของประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรยุค 4.0 ให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป ผลงานหุ่นยนต์ทำความสะอาด ของเยาวชนตัวอย่างเครื่องเลเซอร์ คัต ในห้อง STEM LABบรรยากาศเรียนรู้ ในการอบรม Fabrication Lab ทางเทคนิคสำหรับมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงบรรยากาศการเรียนรู้ในห้อง STEM LAB ของครูพี่เลี้ยงการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมของเยาวชนไทย ในโครงการ FAB LAB « Last Edit: August 03, 2018, 10:55:38 PM by news » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » สวทช. ผนึก สวทน. ติวอาจารย์ 10 มหาลัยพี่เลี้ยง หวังปั้น “นักนวัตกร”