MSN on February 28, 2018, 05:37:23 AM
ฟิลลิป มอร์ริสเผย สาธารณสุขผู้ดียืนยันยาสูบแบบไม่เผาไหม้ ความเสี่ยงน้อยกว่าบุหรี่มวน

จากกรณี สาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England) ออกรายงาน หัวข้อ “การศึกษาหลักฐานและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน Evidence review of e-cigarettes and heated tobacco products 2018” ระบุว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน (Heated Tobacco Product) อาจพิจารณาได้ว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าบุหรี่


นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยเเลนด์) ลิมิเต็ด บริษัทในเครือฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล (พีเอ็มไอ) ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน 1 ใน 3 แบรนด์ที่ได้รับการตรวจสอบผลการวิจัยให้ความเห็นว่า “เรายินดีที่สาธารณสุขอังกฤษ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่มีความน่าเชื่อถือระดับนานาชาติและเป็นหน่วยบริหารของกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษตระหนักว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน (Smoke Free Products) อาจจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการสูบบุหรี่ สะท้อนให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าและยาสูบแบบให้ความร้อนมีศักยภาพที่จะเป็นทางเลือกที่ช่วยลดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ในประเทศกว่า10  ล้านคนได้ เราเชื่อว่าผู้บริโภคควรมีสิทธิในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่า พีเอ็มไอจึงมุ่งสร้างสังคมไร้ควัน (Smoke-Future Future) โดยนำเอายาสูบไร้ควันเข้ามาแทนที่บุหรี่แบบมวนที่มีการเผาไหม้ให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยลดอันตรายจากการบริโภคยาสูบ เราพร้อมที่จะนำเสนอผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณานโยบายที่เหมาะสมเพื่อควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกในประเทศไทย”

เกี่ยวกับบริษัท:
ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด เป็นบริษัทในเครือของฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล อิงก์ (พีเอ็มไอ) ซึ่งเป็นบริษัทยาสูบชั้นนำระดับโลก นอกเหนือจากการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์บุหรี่ พีเอ็มไอได้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง (Reduced-Risk Products หรือ “RRPs”) ซึ่งอาจมีศักยภาพในการช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูบและคนรอบข้างเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ทั่วไป ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.pmi.com และ  www.pmiscience.com
สำหรับฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทย เรามีความภาคภูมิใจในการได้สร้างพันธมิตรทางธุรกิจอันแน่นแฟ้นมานานกว่า 25 ปี ร่วมกับพนักงานของเรา พันธมิตรทางธุรกิจ กลุ่มผู้ค้าปลีก และชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสังคมและการเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ท้าทาย ปัจจุบันบริษัทฯ มีการว่าจ้างพนักงานชาวไทยที่มีความสามารถราว 380 คน

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ:
สุวิมล มงคลชาติ Suwimon.mongkolchat@pmi.com โทร 089-813-3929
« Last Edit: February 28, 2018, 08:33:23 AM by MSN »

MSN on February 28, 2018, 08:33:52 AM
ข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานหัวข้อ “การศึกษาหลักฐานและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน Evidence review of e-cigarettes and heated tobacco products 2018” เป็นฉบับที่สี่ของสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England: PHE) ที่ศึกษาเรื่องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มผู้ใหญ่ ทัศนะคติของคนทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ความเสี่ยงต่อสุขภาพและบทบาทของนิโคติน โดยรายงานสรุปว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่าการสูบบุหรี่มวน ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนหันมาลองบุหรี่มากขึ้น และการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ยังขยายขอบเขตการศึกษาให้ครอบคลุมผลการวิจัยผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนที่มีอยู่ 3 แบรนด์ในตลาด ระบุว่าจากการตรวจสอบผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เชื่อได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ พร้อมสรุปว่า:

•   เมื่อเปรียบเทียบกับควันบุหรี่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนมีแนวโน้มที่จะก่อสารอันตรายให้กับผู้สูบและผู้คนที่อยู่รอบข้าง (bystanders) น้อยกว่า

•   ผู้กำหนดนโยบายควรออกกฎระเบียบที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ เพื่อจูงใจให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่า
 
ศาสตราจารย์แอน แมคนีล หัวหน้าผู้ทำการศึกษาและศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดยาสูบ มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า น่ากังวลมากที่ผู้สูบส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวการที่ทำให้การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การสูดควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของบุหรี่ซึ่งมีสารอันตรายกว่า 7 พันชนิด ก่อให้เกิดโรคร้ายกับผู้สูบบุหรี่ได้และไม่ใช่สิ่งที่ผู้สูบบุหรี่ต้องการ ผู้สูบบุหรี่ต้องการเพียงนิโคติน ขณะนี้มีทางเลือกในการรับนิโคตินเข้าสู่ร่างกายในวิธีที่ปลอดภัยกว่าการสูบบุหรี่ เช่น หมากฝรั่งนิโคติน สเปรย์นิโคติน และบุหรี่ไฟฟ้า

ที่มา: https://www.gov.uk/government/news/phe-publishes-independent-expert-e-cigarettes-evidence-review