happy on December 17, 2017, 09:54:28 PM
เสียงเรียกร้องจากเกษตรกรไทย
หยุดนโยบายจำกัดการใช้ไกลโฟเซต




เกษตรกรไทยและผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร เรียกร้องภาครัฐยกเลิกนโยบายจำกัดการใช้ไกลโฟเซต

เกษตรกรและกลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมการเกษตร เรียกร้องไปยังกรมวิชาการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในประเด็นการจำกัดเกษตรกร จากการใช้สารกำจัดวัชพืชที่ปลอดภัย และเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมกำจัดวัชพืช โดยนายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธุ์เกษตรปลอดภัย (FSA) กล่าวว่า “การเสนอให้จำกัดการใช้ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ หรือแม้กระทั่งยกเลิกการใช้ เป็นไปไม่ได้สำหรับเกษตรกร เพราะไม่มีพื้นที่เพาะปลูกไหนที่ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ และเกษตรกรจำเป็นต้องใช้ไกลโฟเซต การพึ่งพาการถอนหญ้า หรือใช้เครื่องมือตัดหญ้า เป็นต้นทุนสูงสำหรับเกษตรกร จึงเป็นไปไม่ได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์”

ทางด้านนายอเนก ลิ้มศรีวิไล เจ้าของธุรกิจไร่ปาล์มในจังหวัดกระบี่ กล่าวว่าการใช้ยากำจัดวัชพืชเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับไร่ปาล์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาฆ่าหญ้า “วันนี้ถ้ามีการจำกัดการใช้งาน หรือจำกัดพื้นที่การใช้ ก็จะกระทบต่อรายได้และการแข่งขันพอสมควร เพราะต้องหันไปใช้วิธีอื่นและจ้างแรงงานมากขึ้นเพื่อกำจัดวัชพืช แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการใช้อย่างมีความรับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญ คือไม่ใช่ใช้งานแบบพร่ำเพรื่อ และต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าสารไกลโฟเซสนั้นใช้เวลากี่วันจึงจะสลายไปตามธรรมชาติ และตรวจสอบให้ชัดเจนว่าจะมีวิธีการจัดการกับแหล่งน้ำในชุมชนอย่างไร และสารฆ่าหญ้านี้ส่งผลกระทบต่อชุมชนจริงหรือไม่ เราต้องทำการทดสอบอย่างชัดเจน และมีขั้นตอนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน”

ประชากรไทยกว่าร้อยละ 60 เป็นเกษตรกร และพื้นที่กว่าครึ่งของประเทศไทยเป็นพื้นที่เพาะปลูก เกษตรกรกำลังเรียกร้องไปยังรัฐบาล ให้ยกเลิกการจำกัดไกลโฟเซตที่มีประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกร ในการกำจัดวัชพืช และลดการจ้างแรงงานที่เป็นต้นทุนราคาแพงของเกษตรกร

รายงานจาก PG Economics ระบุว่า หากมีการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและข้าวโพด ที่ใช้ไกลโฟเซตกำจัดวัชพืชในแปลงก่อนปลูกและบริเวณพื้นที่ว่างคันนา จะต้องเผชิญกับต้นทุนสูงขึ้น แต่ประสิทธภาพการควบคุมวัชพืชและผลผลิตลดลง
 
ในขณะเดียวกัน องค์การสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์แห่งออสเตรเลีย (APVMA) รายงานว่า ไกลโฟเซตไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ หากมีการใช้งานตามคำแนะนำบนฉลาก

คณะกรรมาธิการด้านความปลอดภัยอาหารแห่งญี่ปุ่น (FSC) พบว่า ไกลโฟเซตไม่ไม่เป็นสารที่ก่อความเป็นพิษต่อระบบประสาท ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง ไม่เป็นสารก่อการกลายพันธุ์ และไม่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ที่ประชุมร่วมระหว่างองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ว่าด้วยเรื่องสารตกค้างจากสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สรุปว่า การได้รับไกลโฟเซตพร้อมกับอาหาร ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

ติดตาม
https://www.youtube.com/watch?v=rUx7KuuCiiY และ https://www.facebook.com/besmarterfarmer/