news on November 09, 2017, 08:24:36 AM
ตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ในไทยปี 59 ฟันมูลค่ารวมกว่าสองหมื่นล้านบาท คาดการณ์ยังคงเติบโตต่อเนื่องขานรับกระแสนิยมพุ่งทะยาน





          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (DEPA) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยผลสำรวจมูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์ของปี 2559 ในประเทศไทย โดยครอบคลุมสามสาขาหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมแอนิเมชัน อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ และอุตสาหกรรมเกม โดยผลสำรวจระบุ ทั้งสามอุตสาหกรรมมีมูลค่ารวมกันประมาณ 21,981 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่ารวมของอุตสาหกรรม แอนิเมชันจำนวน 3,965 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตลดลง 1.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2558 ขณะที่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์มีมูลค่า 1,687 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.3 เปอร์เซ็นต์ และอุตสาหกรรมเกมมีมูลค่ารวม 16,328 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตสูงถึง 14.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2558

          ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า การสำรวจมูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์ของปี 2559 นับเป็นครั้งแรกที่ได้แยกกลุ่มอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ออกจากกลุ่มแอนิเมชัน พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนและเน้นการสำรวจผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นระดับผู้นำ หรือ key player ในแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เป็นไปตามนโยบายของดีป้า เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โครงการสำรวจนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (DCAT) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย (TACGA) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) และสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ (BKK SIGGRAPH)

          ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า อุตสาหกรรมแอนิเมชันและเกมเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระแสนิยมเป็นอย่างมาก โดยในปี 2559 ผู้ประกอบการได้นำเข้าหรือสร้างแอนิเมชันและเกมที่ได้รับความนิยมมาก ทำให้มูลค่าของรายได้จากดิจิทัลคอนเทนต์เติบโตมากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกระแสความนิยมเช่นเดียวกัน ทว่ามีคาแรคเตอร์ที่ได้รับความนิยมมานานและผู้ประกอบการสามารถผลิตออกมาขายเป็นสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง

          สำหรับแนวโน้มการเติบโตในปี 2560 มูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์ในไทยคาดว่าจะแตะระดับกว่า 24,000 ล้านบาท และมีมูลค่ากว่า 26,000 ล้านบาทในปี 2561 โดยสาขาอุตสาหกรรมแอนิเมชันถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตประมาณ 1.8 เปอร์เซ็นต์ และขยายการเติบโตเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 ขณะที่สาขาอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์คาดว่าจะเติบโต 9.6 เปอร์เซ็นต์ ในปี2560 และเติบโตร้อยละ 8.1 ในปี 2561 สำหรับสาขาเกมคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 12.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560 และร้อยละ 12 ในปี 2561 ทั้งนี้ ตัวเลขการคาดการณ์ดังกล่าวนี้เป็นไปตามการประเมินจากปริมาณงานที่ผู้ประกอบการกำลังผลิต รวมทั้งแนวโน้มและปัจจัยบวกต่างๆ ของตลาดที่คาดว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม

          ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในไทยยังถูกขับเคลื่อนด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งในปี 2559ตัวเลขผู้จัดจำหน่ายและนำเข้าแอนิเมชันมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 50 % ของมูลค่าแอนิเมชันทั้งหมด ขณะที่ผู้จัดจำหน่าย ผู้นำเข้าและดูแลสิทธิคาแรคเตอร์มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 93% ส่วนผู้จัดจำหน่ายและนำเข้าเกมมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 96% ของมูลค่าตลาดเกมทั้งหมด

          ผลการสำรวจดิจิทัลคอนเทนต์ของปี 2559 ยังรายงานมูลค่าการผลิตและส่งออกงานแอนิเมชัน คาแรคเตอร์และเกม โดยมีมูลค่ารวมกันอยู่ที่ 1,235.3 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 6.2 โดยอุตสาหกรรมสาขาแอนิเมชันมีมูลค่าการส่งออก 787.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 7.6 ซึ่งประเทศที่เป็นผู้ว่าจ้างผลิตหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ขณะที่สาขาคาแรคเตอร์มีมูลค่าการส่งออกรวมเพียง 13.7 ล้านบาท บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีมูลค่าการส่งออก 12.1 ล้านบาท สำหรับสาขาเกมมีมูลค่าการส่งออกแตะที่ยอด 434.4 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนหน้าที่มีมูลค่าการส่งออก 419.7 ล้านบาท

          "ประเทศไทยยังคงพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าลิขสิทธิ์หรือรับจ้างผลิต ทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการไทยมีฝีมือและมีศักยภาพที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก การที่ผู้ผลิตไทยจะมีผลงานที่มีทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของตัวเองมากขึ้น จะช่วยลดปัญหาการถูกกดราคาจากต่างประเทศ ลดอัตราการนำเงินออกไปนอกประเทศ และสามารถเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ดีป้าพร้อมจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย และยกระดับคุณภาพผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันและเติบโตในธุรกิจได้อย่างยั่งยืนอย่างครบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมให้เกิดความสนใจในอุตสาหกรรมแอนิเมชัน เกม และคาแรคเตอร์ การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ โดยเฉพาะการพัฒนาตลาดเพื่อการส่งออก ผ่านกองทุน Internationalization Fund เพื่อให้ผู้ประกอบการมีแหล่งเงินทุน และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในระดับสากลได้ ส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์หน้าใหม่ ผ่าน Digital Startup Program ส่งเสริมและสนับสนุน Co-Creation Space เพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้ประกอบการมาพบปะแลกเปลี่ยน และต่อยอดไอเดีย ให้เกิดร่วมมือขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ และสร้างพลังในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยต่อไป"ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

news on November 09, 2017, 08:26:03 AM
Thailand Digital Content Projected to Flourish: Rising Beyond 20 Billion Mark





          The Thailand digital content industry was valued at 21.9 billion Baht in 2016 and is expected to grow by 9% to reach 24 billion Baht this year, according to the recent study conducted by the Digital Economy Promotion Agency (DEPA) – a key arm of the Ministry of Digital Economy and Society (DE) to leverage digital technologies to transform the economy and society.

          The digital content industry consists of 3 sub-industries which are gaming, animation, and character. In 2016, the gaming sub-industry rapidly expanded 14.8% over 2015 and contributed 16.3 billion Baht to the total digital content industry value while the animation sub-industry, despite the slight decline of 1.6%, contributed another 3.9 billion and the character sub-industry made up the remaining 1.7 billion Baht.

          "This year's study is the first time DEPA separates the character sub-industry from the animation sub-industry. We have also significantly increased the study's sample size, with stronger emphasis on 'key players' in the industry to ensure accurate results, which in turns will eventually assist DEPA in achieving the objective of supporting and promoting the digital content industry in Thailand," says DEPA's president Dr. Nuttapon Nimmanphatcharin. "We would like to express gratitude to Digital Content Association of Thai (DCAT), Thai Animation & Computer Graphics Association (TACGA), Thai Game Software Industry Association (TGA), and Bangkok ACM SIGGRAPH for the immense support we received throughout the project."

          The study's key findings reveal that both animation and gaming markets are on the course of gaining popularity in Thailand, as a result of blockbuster animations and games imported and created by Thai developers throughout 2016. The traction of character-related sales is also on the rise despite the lack of new megahit characters as most of the widely popular characters are ones created years ago.
 
          With positive factors surrounding the industry, including the continuous increase of both demand and supply, the strong momentum is expected to continue, with the value forecasted to be 24 billion Baht and 26 billion Baht in 2017 and 2018 respectively. The animation sub-industry has a tendency to recover in 2017 (1.8% growth) before achieving a double-digit expansion of 10% once again in 2018. The expansion of the character sub-industry is anticipated to be at 9.6% in 2017 and 8.1% in 2018. The highest growth is likely to be witnessed in the gaming sub-industry, posting 12% growth both in 2017 and 2018.

          "The digital content industry in Thailand is still primarily driven by imported content rather than locally developed one. Imported animations contributed half to the total animation market in 2016 while imported characters accounted for 93% of the character market, which is similar to the situation in the gaming market where imports made up 96%," Dr. Nuttapon adds.

          The exports of locally created digital content totaled 1.2 billion Baht in 2016, representing the increment of 6.2%. China, Japan, EU, and the United States have increasingly outsourced animation productions to Thai animators which propelled the animation export value to 787.1 million Baht, the growth of 7.6% over 2015. Character exports grew marginally from 12.1 million Baht in 2015 to 13.7 million Baht in 2016 while the exports of games expanded from just 419.7 million Baht in 2015 to reach 434.4 million Baht in 2016.

          "While Thai animators, character creators, and game developers are now globally recognized for their skills and competency, we still rely on foreign markets both in terms of imports and revenue from outsourcing. Moving up the value chain by creating our own intellectual properties will mitigate the issues caused by low outsourcing fees and ensure that money spent on digital content is circulated in the country. This will eventually pave ways for further growth of the industry in years to come. DEPA is fully committed to support the sustainable development of the digital content industry so that Thai animators, creators, and game developers can compete on a global scale. DEPA's roadmap includes establishing an Internalization Fund to provide financial support to market players looking to expand into the overseas market, launching Digital Startup Program to foster new market players, and creating Co-Creation Space to facilitate cooperation and exchange of ideas among market players. By working together, we can realize our mutual goal of making Thailand a force to be reckoned with in the global digital content industry," concludes Dr. Nuttapon.