MSN on October 18, 2017, 02:45:35 PM


สรุปประเด็นแถลงข่าวสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด Global Research Briefing 2017


คุณเอ็ดเวิร์ด ลี หัวหน้าทีมวิจัย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด


คุณดิฟยา ดาเวช นักกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน ประจำทวีปเอเชีย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด


ดร. ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด


ประเด็นเศรษฐกิจโลก
·         ความเสี่ยงต่างๆ ที่หวาดระแวงกันในอดีตไม่ได้เกิดขึ้น
·         ปีนี้เป็นปีที่เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตสูงที่สุดที่ร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่ปีวิกฤติเศรษฐกิจโลก ปี 200-2009
·         ความเสี่ยงที่คาดว่าจะมีได้แก่ นโยบายการกีดกันทางการค้า สถานการณ์หนี้ในอียูที่ยังสูงอยู่ถึงแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และสถานการณ์ความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลี
 
ประเด็นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
·         สถานการณ์เงินเฟ้ออาจกลับมาถ้า tax reform ของประธานาธิบดีทรัมป์ผ่านรัฐสภา
·         ผู้ว่า Fed คนใหม่นั้นน่าจะมีแนวโน้ม hawkish กว่าคนปัจจุบัน
·         ตัวเลขทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ดีขึ้น แต่ยังคงต้องรอการประเมินผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
·         ตัวเลขหลักที่ต้องจับตามองคือเรื่องค่าจ้าง
·         ดอกเบี้ยน่าจะขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือนธันวาคมปีนี้ และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกสองครั้ง สวนทางกับกระแสอื่นที่เชื่อว่าจะขึ้นเพียงหนึ่งครั้ง
 
ประเด็นเศรษฐกิจอียู
·         เศรษฐกิจเติบโตขึ้นทั้งในประเทศหลัก และเศรษฐกิจริมขอบ (อิตาลี) จีดีพีคาดว่าน่าจะเติบโตถึงร้อยละ 2.2
·         การลงทุนดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2008-2009 หรือปี 2012 ที่มีวิกฤติหนี้และเชื่อว่ายังจะเติบโตได้อีก แต่กระนั้นยังต้องจับตามองภาคการส่งออก
·         ในปีหน้าคาดว่าการส่งออกจะชะลอตัว
·         นโยบายยังคงสนับสนุนการเติบโตผ่านการมีดอกเบี้ยต่ำ และการสิ้นสุดของนโยบายคิวอีในเดือนกันยายน 2018
 
ประเด็นเศรษฐกิจจีน
·         ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ตั้งแต่ปี 2010
·         มีการเติบโตขึ้นในภาคการคลัง ภาคบริการ และการลงทุนพื้นฐาน โดยปีนี้น่าจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.8 และในปีหน้าคาดว่าจะโตได้ร้อยละ 6.5 (จีนน่าจะพอใจถ้ามีตัวเลขการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.3) นอกจากนั้นยังพยายามที่ละลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์
·         ประเด็นที่น่าจับตามองคือการประชุมสภาพรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มในวันนี้ และจะครอบคลุมนโยบายหลัก อาทิ การลดปัญหาคอรับชั่น การทำให้เงินหยงนเป็นสากล โครงการหนึ่งเข็มขัดหนึ่งเส้นทาง และความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลี
 
ประเด็นด้านอัตราแลกเปลี่ยน
·         เศรษฐกิจโลกดีขึ้น ทั้งในสหรัฐ อียู จีน ส่งแรงหนุนให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่เติบโตขึ้นเช่นกัน
·         เงินดอลล่าร์ในอีกหกเดือนข้างหน้าอาจเผชิญความเสี่ยงจากค่าจ้าง และเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากนโยบาย tax reform
·         ตลาดเกิดใหม่ยังคงเติบโตต่อไปในหกเดือนหน้า
·         Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป
·         ค่าเงินบาทยังแข็งตัวอย่างต่อเนื่องเป็นผลจากดุลบัญชีเงินสะพัดที่ยังเกินดุลอยู่ และรายได้ที่มาจากการท่องเที่ยว
·         บาทในปลายปีนี้ 32.5 บาท และ 31 บาทภายในสิ้นปี 2018
 
ประเด็นเศรษฐกิจไทย
·         กลางปี 2017 มีเงินเข้ามาในประเทศเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหุ้นเพราะมีการเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นรูปธรรม
·         สิ่งหนึ่งที่น่าประหลาดใจคือภาคการส่งออกดีขึ้น ที่ร้อยละ 9 และทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรต่างโตขึ้น ด้วยตัวเลขสองหลัก
·         จีดีพีปีนี้ร้อยละ 3.6 และปี 2018 ร้อยละ 4.3
·         ปฏิทินการเมืองชัดเจนด้วยการกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2018 และได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ
·         ข้อสังเกตุคือปีไหนที่มีการเลือกตั้ง จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คึกคัก
·         จีดีพีไทยน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตถึงร้อยละ 5
·         แรงหนุนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว สี่ ประการ ได้แก่ 1) คสช. สามารถให้ความต่อเนื่องทางการเมืองได้ และทำให้การลงทุนปัจจัยพื้นฐานเกิดขึ้น 2) อีอีซี ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 3) การที่ประเ?สไทยเป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกห้าปีข้างหน้า4) นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ถึงแม้จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ในบางภาคอุตสาหกรรม เช่นการเงิน ก็มีความคืบหน้าที่เห็นได้ชัด
·         การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน 1.79 ล้านล้านบาทนั้นปัจจุบันเบิกจ่ายไปเพียง 5 หมื่นล้าน ที่นักลงทุนกังวลว่ายังช้า
·         ในปีหน้ามีกำหนดเบิกจ่ายกว่าสองแสนล้าน และมีหลายโครงการที่ครม. ได้อนุมัติและเซ็นแล้ว
·         สรุปคือโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กเดินหน้าจริง และโครงการใหญ่อาจต้องใช้เวลา
·         การกู้ยืมจะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันไม่ให้หนี้ภาครัฐเกินร้อยละ 50 ปีหน้ายังคงกู้ไม่เยอะและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใกล้เสร็จโครงการ
·         สุดท้าย ไซเคิลถัดไปของเศรษฐกิจไทยคือดอกเบี้ยขาขึ้น และธปท. น่าจะปรับดอกเบี้ย 2-3 ครั้ง โดยอิงจากเสถียรภาพทางการเงิน และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
« Last Edit: October 18, 2017, 02:52:40 PM by MSN »