enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับไฟเบอร์ออฟติกvsสายทองแดง « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on August 31, 2017, 07:59:00 AM 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับไฟเบอร์ออฟติกvsสายทองแดงมีคำถามมากมายที่หลายคนยังสงสัยเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในแบบของไฟเบอร์ออฟติกว่าดีกว่าแบบสายทองแดงที่ใช้กันทั่วไปอย่างไร เราเลยรวบรวม 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ vsสายทองแดง โดย นายสมมาศเสถียร เลิศวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัทไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน)1. ไฟเบอร์ออฟติกใช้เคเบิ้ลที่ติดตั้งใหม่ ส่วนสายทองแดง ส่วนใหญ่เป็นของเก่าแม้ว่าวันนี้เทคโนโลยีการให้บริการบนสายทองแดงนั้นจะพัฒนามาถึง VDSL ที่มีความเร็วระดับ 50 Mbps. (เมกะบิตต่อวินาที) แต่ใช่ว่าความเร็วระดับนี้จะสามารถให้บริการในทุกพื้นที่ จะมีพื้นที่ส่วนที่เพิ่งทำการอัพเกรดหรือว่าติดตั้งใหม่เท่านั้นที่ใช้งานความเร็วในระดับนี้ได้ แถมยังมีปัญหาการรบกวนทางไฟฟ้าเพราะสายทองแดงนั้นถูกออกแบบมาให้มีฉนวนที่เป็นพลาสติกบางๆ หุ้มอยู่ ทำให้เกิดการรบกวนได้ง่ายซึ่งส่งผลต่อการใช้งานด้านอินเทอร์เน็ตที่ต้องอาศัยการรับ-ส่ง ข้อมูลความเร็วสูง เทียบได้กับเมื่อหลายสิบปีก่อน (เด็กรุ่นใหม่อาจไม่เห็นภาพ) กับปัญหาเกิดเสียงก๊อบแก๊บรบกวนการใช้โทรศัพท์ตามบ้านเครือข่ายไฟเบอร์ออฟติกแบบใหม่ที่กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบันนี้ อยู่บนเทคโนโลยี FTTxที่มีค่าใช้จ่ายในการขยายเครือข่ายถูกกว่าและรองรับจำนวนผู้ใช้งานรวมถึงรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายกว่า การขยายโครงข่ายด้วยสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นรองรับการใช้งานได้สูงถึงระดับ Gigabit (กิกะบิตต่อวินาที) แปลว่ารองรับสูงกว่าเทคโนโลยีปัจจุบันอย่าง VDSL ถึง 200 เท่า แถมยังสามารถอัพเกรดเพิ่มระดับความเร็วและการใช้งานในอนาคตได้ เทียบง่ายๆ นี่คือทางด่วนที่รองรับรถจำนวนมากหลายแบบและต่อเติมเพิ่มในอนาคตได้นั่นเอง2. ไฟเบอร์ออฟติกสปีดเร็วกว่าถึงแม้ว่าปัจจุบันเครือข่ายสายทองแดงนั้นจะมีเทคโนโลยีอย่าง VDSL ที่ทำให้มีความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 50 Mbps. แต่ก็อย่าลืมว่าครั้งแรกที่ อเล็กซานเดอร์ แกรมแฮม เบลล์ ออกแบบระบบโทรศัพท์มาก็เพื่อให้ใช้สำหรับการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น แม้ว่ายุคสมัยได้เปลี่ยนให้โครงข่ายสายทองแดงจากอนาล็อคสู่ดิจิตอลแล้วก็ตาม ทองแดงก็ยังคงมีข้อจำกัดในฐานะตัวนำที่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้ามีข้อจำกัดแต่ไฟเบอร์ออฟติก นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานการเคลื่อนย้ายข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง มัลติมีเดียและอื่นๆ เรียกว่าอะไรก็ได้ที่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลไฟเบอร์ออฟติก นั้นขนได้ดีและเร็วกว่าเครือข่ายสายทองแดง ทำให้ทุกวันนี้เราได้เห็นโปรโมชั่นบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับบ้านพักอาศัยตั้งแต่ 50-1000 Mbps. หรือเรียกง่ายๆ ว่าถ้ามีเงินจ่ายในระดับหมื่นบาทต่อเดือน คุณก็สามารถมีอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1 Gbps. มาใช้ในบ้านได้ 3. ไฟเบอร์ออฟติกลื่นปรื๊ดดดดความเร็วกับความลื่น หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ทางเทคนิคแล้วความลื่นก็คือ Latency หรือความหน่วงในการตอบสนองการทำงานของเครือข่ายในแต่ละแบบ ซึ่งยิ่งตัวเลขน้อยก็ยิ่งหมายความว่าทำงานได้ ลื่น มากกว่า ส่วนใหญ่แล้วเราจะวัดความลื่น หรือ Latency กันด้วยวิธีการที่เรียกว่า Ping คือการยิงแพคเกจไปและส่งกลับมาจากเซิร์ฟเวอร์มีหน่วยเป็น มิลลิวินาที (Millisecond) ซึ่งบนเครือข่ายทองแดงแม้จะอยู่บนเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง VDSL ค่า Ping นั้นก็ยังอยู่ในหลัก 10 ขึ้นไป แต่กับบนโครงข่ายแบบไฟเบอร์ออฟติคนั้นเราพูดกันที่ตัวเลขต่ำกว่า 10 มิลลิวินาทีลงมาอย่างที่หลายคนมักให้นิยามของการเล่นเน็ตไฟเบอร์ออฟติก ไว้ว่า ลื่นปรื๊ดดด นั่นเอง ถามว่าลื่นแล้วมีประโยชน์อย่างไร สำหรับผู้ใช้ตามบ้านหลายคนอาจจะสังเกตเห็นได้ชัดเวลาใช้อินเทอร์เน็ต หลังจากที่เราพิมพ์ URL หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ต่างๆ แล้วกด Enter แล้ว จะมีการส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทางโดยที่ผ่านทางเครือข่ายแต่ในความเป็นจริงกว่าที่เราจะส่งไปถึงเซิร์ฟเวอร์ปลายทางต้องมีการผ่านอุปกรณ์เครือข่ายหลายชั้น การได้โครงข่ายที่ ลื่น หรือมีค่า Latency ต่ำๆ นั่นก็หมายถึงว่าคำสั่งและข้อมูลที่เราต้องการจะเข้าไปที่เซิร์ฟเวอร์และกลับมาหาได้เร็วกว่านั่นเองปล. เอาตัวเลขกลมๆ กระแสไฟฟ้าเดินทางบนสายทองแดงที่ความเร็วเกือบ 300 กม./วินาที เทียบกับแสงที่วิ่งบนไฟเบอร์ออฟติกใกล้เคียง 3 แสน กม./วินาที เอาแค่นี้ก็รู้แล้วว่าอะไรมันลื่นกว่ากัน4. ไฟเบอร์ออฟติก สัญญาณไฟฟ้ารบกวนไม่มีผลเหมือนสายทองแดงการส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านทางสายนำสัญญาณ ปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพและความเร็วในการส่งนั้นคือเรื่องของการรบกวนทางแม่เล็กไฟฟ้า หรือ Electromagnetic Interference : EMI ที่จะเกิดแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการสร้างแรงดันไฟฟ้าในตัวนำชนิดต่างๆ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวนำ ซึ่งในโลกนี้ก็จะมีตัวนำที่ดีกว่าทองแดงไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทองคำแต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วทองแดงน่าจะเป็นการลงทุนที่ยอมรับได้มากที่สุด (ขนาดถูกที่สุดยังถูกขโมยตัดสายอยู่เรื่อยๆ ไม่เว้นแต่ละวัน) เมื่อเกิด EMI ขึ้นจะส่งผลให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นไม่มีความเสถียรแบบที่เจอกันบ่อยๆ ก็คือ เน็ตช้าหรือหลุดบ่อยแต่บนโครงข่ายระบบไฟเบอร์ออฟติกไม่ได้ใช้กระแสไฟฟ้าสร้างแรงดันในการส่งข้อมูล แต่ว่าใช้วิธีเปลี่ยนข้อมูลให้ถูกส่งออกไปในรูปแบบของแสงผ่านทางเส้นใยแก้วนำแสง ทำให้ไม่ว่าบริเวณพื้นที่ที่ลาดสายไฟเบอร์ออฟติกผ่านจะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากวนมากขนาดไหน ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหากับการส่งและรับข้อมูลในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้5. เครือข่าย ไฟเบอร์ออฟติก รองรับลูกค่ายได้เยอะ ขยายโครงข่ายได้ไกลปัญหาคลาสสิคของคนต้องการติดตั้งอินเทอร์เน็ตที่ผู้ให้บริการตอบว่า คู่สายเต็ม หรือระยะติดตั้งไกลเกินระยะสาย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ยังคงให้บริการอยู่บนโครงข่ายสายทองแดงมักจะยกธงยอมแพ้ หากบ้านของจุดติดตั้งของลูกค้านั้นอยู่ไกลจากอุปกรณ์กระจายสัญญาณหรือ DSLAM (Digital Subscriber Line Access Multiplexer) ในระยะ 1-2 กม. (เอาเข้าจริงระยะ 1 กม. นิดๆ ช่างติดตั้งก็เริ่มจะมีข้ออ้างว่าจะเกิดปัญหาเน็ตช้าใช้งานไม่เสถียร) ส่วนไฟเบอร์ออฟติกวันนี้เราพูดกันถึงปลายทางในระยะเกินกว่า 2 กิโลเมตรจากจุดเชื่อมต่อ (ในกรณีช่างติดตั้งหรือบริษัทผู้ให้บริการยอมหรือให้ลูกค้าจ่ายค่าสายไฟเบอร์ออฟติกเพิ่มเติม)แถมข้อจำกัดของอุปกรณ์ DSLAM ในเรื่องของจำนวนจุดกระจายสัญญาณ ในอุปกรณ์ 1 ตัวนั้นการเพิ่มจำนวนของจุดเชื่อมต่อหรือ พอร์ต นั้นทำได้อย่างเดียวคือการเปลี่ยนตัวใหม่ที่ใหญ่กว่ามีพอร์ตเยอะกว่าซึ่งราคาถึงวันนี้แม้ว่าจะถูกลงแต่ก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน การให้บริการผ่านทางเครือข่ายไฟเบอร์ออฟติกนั้นขอให้สายนั้นได้ลากผ่านไปในพื้นที่เท่านั้นการสร้างจุดเชื่อมต่อไม่ใช่เรื่องยาก แม้แต่ในรูปแบบของอาคารพักอาศัยอย่างคอนโดก็แค่เพิ่มอุปกรณ์กระจายจุดเชื่อมต่อก็สามารถให้บริการได้เป็นจำนวนมากเกือบไม่มีข้อจำกัด6. ไฟเบอร์ออฟติก ทำไมอัพโหลดได้มากกว่าจากปัญหาการรบกวนทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMI จากข้อ 4 ความพยายามในการส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ผ่านทางสายทองแดงด้วยอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแรงดันอันน้อยนิดอย่าง Router ตามบ้านที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแจกมาให้ตอนสมัครนั้นไม่สามารถทนต่อการรบกวนดังกล่าวได้ ผลก็คือไม่สามารถส่งข้อมูลนั้นออกไปได้หรือส่งออกไปข้อมูลก็ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ต้องเกิดการเรียกข้อมูลซ้ำจากปลายทางอยู่เรื่อยๆ แต่เมื่อปัญหายังอยู่ที่เดิมสุดท้ายก็เจอปัญหาส่งข้อมูลไม่ได้หรือว่าช้าแบบเต่าคลานอย่างที่เจอกัน เลยทำให้ผู้ให้บริการบนสายทองแดงนั้นไม่สามารถให้บริการที่มีอัตราการส่งข้อมูลหรืออัพโหลดสูงๆ ได้มากนัก (นอกจากนั้นยังเป็นประเด็นเรื่องของความคุ้มค่าในการลงทุนสร้างโครงข่าย ถ้าปล่อยให้อัพโหลดมากก็ต้องมีท่อที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ทำราคาในระดับ Mass ไม่ได้)โจทย์ EMI เหมือนกันแต่บนโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกซึ่งมีแต่น้อยมากจนไม่ได้สร้างผลกระทบให้ระคายอันใดเลย เพราะข้อมูลถูกส่งออกไปในรูปแบบแสงการรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงไม่มีผล ทำให้เดี๋ยวนี้อัพโหลดของโครงข่ายไฟเบอร์เริ่มต้นกันที่ 10 Mbps. ไปจนถึงระดับ 1-200 Mbps. กันเลยทีเดียว ทำให้อีกไม่นานไม่ว่าใครก็สามารถจะไลฟ์สดจากที่บ้านของตัวเองผ่านทางอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ในรูปแบบความคมชัดสูง เหมือนเปิดทีวีดิจิทัลได้เลยทันที7. ไฟเบอร์ออฟติก ข้อมูลปลอดภัยมากกว่าข้อนี้แม้โอกาสจะน้อย แต่บางบริษัทที่ข้อมูลสำคัญมากๆ หากมีความต้องการจากผู้ไม่หวังดี อาจเสี่ยงโดนแฮคได้ด้วยการแตะสายอินเทอร์เน็ต (แบบไม่ต้องเชื่อมต่อ) เพราะสายอินเทอร์เน็ตแบบที่ส่ง สัญญาณด้วยไฟฟ้าจะมี “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” มากและน้อยขึ้นอยู่กับฉนวนหุ้มสายที่สามารถป้องกันการกระจายตัวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แม้จะน้อยแต่ในบางเคสก็มากพอที่จะใช้ในการแฮคข้อมูล การเปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคเบิลช่วยแก้เรื่องนี้ได้ดีขึ้นด้วยฉนวนที่หนาขึ้นของสายทองแดง แต่ถ้าเป็นใยแก้วนำแสง ก็จะตัดเรื่องรังสีแม่เหล็กที่แผ่ออกมานอกสายสัญญาณได้เลย ปลอดภัยสุด จะทำได้ก็แค่เอาอุปกรณ์อย่าง SFU เข้าไปเสียบกับชุมสายไฟเบอร์ซึ่งก็ไม่ง่าย เพราะถัดจากนั้นยังมีระบบเข้ารหัสทั้งของบนโครงข่ายกับอุปกรณ์ชุมสายหรือผู้ให้บริการอีก เพราะอย่างนั้นเลิกคิดดีกว่า8. ไฟเบอร์ออฟติก รับแบนด์วิธได้เยอะกว่า เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้เยอะกว่าข้อนี้แน่นอนไม่ต้องบอกก็รู้ เมื่อไฟเบอร์ออฟติกมีความสามารถให้บริการใช้งานที่เร็วกว่า ลื่นกว่า ง่ายกว่า ก็ต้องสามารถรองรับการใช้งานอุปกรณ์ในการใช้งานที่มากกว่าไปด้วย ในโลกยุคที่ IoTกำลังครองโลกมีผลสำรวจว่าอีกไม่เกิน 10 ปีจากนี้จะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตหลายพันล้านตัว ปัจจุบันสิ่งที่เราต้องการมากขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็คือแบนด์วิธหรือเรียกง่ายๆ ก็คือความเร็วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น การที่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเร็วมากขึ้นก็หมายถึงเราสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้จำนวนมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเองเปรียบเสมือนท่อน้ำ ถึงแม้ว่าน้ำแรงเท่ากัน แต่ท่อใหญ่กว่า ความเสถียรของสัญญาณเมื่อเรียกใช้พร้อมๆ กันของ ไฟเบอร์ออฟติก ย่อมมีมากกว่า9. ไฟเบอร์ออฟติก เยอะยังไงก็รับได้เหลือๆเมื่อวันนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกำลังพยายามเปลี่ยนไปสู่โครงข่าย ไฟเบอร์ออฟติก คำถามคือแล้วจะเจอปัญหาเมื่อมีจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมากเหมือนโครงข่ายสายทองแดงหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ไฟเบอร์ออฟติก นั้นมาช่วยแก้ปัญหาความคับคั่งของการใช้งานพร้อมๆ กันไปได้มาก ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการรายต่างๆ ออกแบบให้ระบบนั้นสามารถรองรับการใช้งานไว้มากน้อยเพียงใดเอาเป็นว่า บนโครงข่าย ไฟเบอร์ออฟติก นั้น ยังไงก็รับจำนวนผู้ใช้ที่มากกว่าถึง 2-3 เท่าตัว10. ไฟเบอร์ออฟติก ในรูปแบบของ Digital Service Platform ทำให้เลือกผู้ให้บริการที่หลากหลายเทคโนโลยีโครงข่ายสายทองแดงนั้นไม่ค่อยเอื้อที่จะทำให้ผู้ใช้งานตามหมู่บ้านหรือคอนโดนั้นสามารถเลือกหรือมีตัวเลือกในการใช้บริการได้มากกว่า 1 ราย การเปลี่ยนมาใช้โครงข่าย ไฟเบอร์ออฟติก นั้นหมู่บ้านหรือคอนโดสามารถเลือกการติดตั้งโครงข่ายสำหรับให้บริการในแบบ Digital Service Platform หรือเปรียบเสมือนประตูเชื่อมทางด่วน ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือบริการดิจิทัลอื่นๆ ที่เหมือนทางด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทลเวย์, ทางด่วนขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 หรือมอเตอร์เวย์ ที่ผู้อาศัยสามารถเลือกที่จะเลือกผู้ให้บริการได้เองอย่างบริการที่ไฟเบอร์วันให้บริการติดตั้งให้บริการกับนิติบุคคลหมู่บ้านหรือคอนโดต่างๆ ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้พักอาศัยในหมู่บ้านและคอนโดนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากผู้บริการได้มากกว่าหนึ่งราย ในทางกลับกันเป็นช่องทางที่ช่วยให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถเข้าใช้บริการในหมู่บ้านหรือคอนโดนั้นทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินระบบสายไฟเบอร์ออฟติกเองทั้งหมดคือ 10 ข้อเกี่ยวกับ ไฟเบอร์ออฟติก ที่ควรรู้ เพราะระบบสายทองแดง จะถูกแทนที่ด้วยไฟเบอร์ออฟติกทั้งหมดในไม่ช้านี้เกี่ยวกับไฟเบอร์วัน บริษัท ไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน) ให้บริการวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกถึงที่พักอาศัยและชุมชนของผู้อยู่อาศัย โดยร่วมมือกับนิติบุคคลอาคารชุด และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในการติดตั้งโครงข่ายดิจิทัลแบบรวมศูนย์ (Digital Service Platform) เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการดิจิทัลอื่นๆในอนาคต โดยโครงข่ายที่ไฟเบอร์วันเดินสายเปป็นโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกเข้าถึงบ้านแต่ละหลัง หรือห้องพักในคอนโดมีเนียมแต่ละห้อง แทนสายทองแดงในปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า โดยการติดตั้งโครงข่ายนี้ ไฟเบอร์วันมิได้คิดค่าบริการใดๆจากเจ้าของโครงการที่พักอาศัย หรือจากนิติบุคคลที่บริหารจัดการโครงการ หรือจากผู้อยู่อาศัยแต่ละรายแต่อย่างไร นอกจากนี้ ไฟเบอร์วันยังให้บริการดูแลและซ่อมบำรุงรักษาโครงข่ายดิจิทัลแบบรวมศูนย์นี้เป็นเวลา 15 ปีด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทเอง « Last Edit: August 31, 2017, 10:02:57 PM by news » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับไฟเบอร์ออฟติกvsสายทองแดง