news on August 31, 2017, 07:58:03 AM
เดิมพันจุดเปลี่ยนผ่านสมดุลอำนาจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยAllaGoldner Director, Technology, Strategy & Standardization at Amdocsอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเรียกได้ว่ากำลังดำเนินอยู่ในใจกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริการที่ต้องใช้ทักษะสูง ให้ประสบความสำเร็จ
ผู้ดำเนินกิจการภาคโทรคมนาคมจะมีส่วนสำคัญในความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจาก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนา และเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจด้วยการปรับเปลี่ยนเชิงดิจิตอล (digital transformation) ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (next-generation automotive), อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (smart electronics), อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (high-income tourism and medical tourism), การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (agriculture and biotechnology), นวัตกรรมการแปรรูปอาหาร (food innovation), อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (automation and robotics), อุตสาหกรรมการบิน (aerospace), อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (bio-energy and bio-chemicals), อุตสาหกรรมดิจิตอล (digital), และอุตสาหกรรมการแพทย์ (medical and healthcare) ซึ่งการพัฒนา และต่อยอดของอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้จะต้องเริ่มต้น และมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินกิจการโทรคมนาคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในระยะเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล(digital transformation) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนระบบการรวมช่องทางการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา ไปเป็นระบบอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล จากการใช้โทรศัพท์บ้านไปยังการใช้โทรศัพท์มือถือ จนถึงจากการใช้งาน voice เป็นการใช้งาน data ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านที่เห็นได้ชัด การดำเนินงานของธุรกิจที่ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมเองยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเครือข่าย การคัดเลือก ทดสอบ และติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงรูปแบบการให้บริการ และความพลวัตสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายกับผู้ขายโซลูชั่น ซึ่งก็ยังเป็นในลักษณะเดิมที่เคยเป็นมา
การปรับเปลี่ยนจากโครงสร้างเครือข่ายแบบกายภาพไปเป็นโครงสร้าง NFV/SDNในขณะนี้ กำลังสร้างความตื่นตัวให้กับภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ระบบ Virtualization จะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถพลิกโครงสร้างทางธุรกิจแล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึงพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายกับผู้ขายโซลูชั่นอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ผู้ให้บริการเครือข่าย ไม่ได้จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์โครงข่าย ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายโซลูชั่นเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องอาศัยการให้บริการในการปรับแต่ง และบูรณาการโครงข่ายเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่านอกเหนือจากโซลูชั่นมาตรฐานบางอย่างแล้ว อุปกรณ์โครงข่ายต่างๆ แทบจะเรียกได้ว่าเป็น ‘กล่องดำ’ ซึ่งผู้ขายโซลูชั่นเท่านั้นที่สามารถเข้าไปปรับค่าได้เลยทีเดียว
ดังนั้นการเริ่มใช้งานองค์ประกอบใหม่ของเครือข่ายมักจะต้องมีการดำเนินงานกลับไปกลับมา เสมือนกับการเต้นรำ ระหว่างผู้ขายโซลูชั่นกับผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อที่จะบูรณาการ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะเปิดให้บริการฟังก์ชั่นนั้นๆ จริง
ซึ่งในทางธุรกิจแล้ว การดำเนินการทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ต้องพึ่งพิงการทำงานของผู้ขายโซลูชั่นเป็นอย่างมาก เป็นอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ และบริการต่างๆ และยังมีผลให้ ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายลังเลที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดจากผู้ขายโซลูชั่นหลายๆ แห่ง
การปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยี NFV/SDN มาใช้นั้น มีผลกระทบโดยตรงต่อพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายกับผู้ขายโซลูชั่น เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนา และนำเสนอบริการใหม่ๆ
นวัตกรรมจะสามารถพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทคโนโลยีได้ถูกทำให้เป็นมาตรฐาน และเข้าถึงได้ง่าย ดูจากกรณีของกริดไฟฟ้า โทรทัศน์ และระบบ ‘cloud’ เป็นต้น แทนที่จะต้องสร้างและพัฒนาเครือข่ายจากโซลูชั่นที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขาย และผ่านขั้นตอนการดำเนินการกลับไปกลับมาอย่างที่ผ่านมา ผู้ให้บริการเครือข่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างระบบมาตรฐานในการทำงาน
อิงตัวอย่างจากการทำงานของระบบ cloud ผู้ให้บริการเครือข่ายได้เริ่มมองหาชุมชน Open Source ต่างๆ และทำการสร้างมาตรฐานขึ้นในวงการไอทีเนื่องจากชุมชนแบบOpen Source นั้นอำนวยต่อการดำเนินงาน และการประสานงานที่รวดเร็ว ต่างจากองค์กรโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ทั้งยังดำเนินงานได้อย่างโปร่งใส เป็นการสร้างมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวม ไม่เพียงแต่เป็นการลดการทำงานแบบกลับไปกลับมาระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายกับผู้ขายโซลูชั่นแล้ว การเข้าไปมีส่วนรวมในโปรเจคลักษณะOpen Source ยังเพิ่มโอหาสให้ผู้ให้บริการเครือข่าย ได้มองเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจได้นำมาใช้ในเครือข่าย แทนที่จะต้องพึ่งพิงแต่โซลูชั่นที่ถูกเตรียมมาใช้จากผู้ขายเพียงทางเดียว
จะเห็นได้ชัดว่านี่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่สำหรับผู้ให้บริการเทคโนโลยีและโซลูชั่นทางโทรคมนาคม การจัดการมาตรฐาน และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ง่ายขึ้นทำให้ ความต้องการในระบบแบบบูรณาการมีลดลง นอกจากนี้บริการการซ่อมบำรุงต่อเนื่อง ที่เป็นหนึ่งในรายได้หลักของผู้ขายโซลูชั่น ก็จะถูดทดแทนด้วยบริการจากชุมชน Open Source บวกกับการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งเป็นเปิดโอกาสให้การเปลี่ยนอุปกรณ์ และบริการของผู้ให้บริการเครือข่ายเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้ ผู้ขายโซลูชั่นไม่สามารถ ผูกขาดการขายบริการต่างๆ กับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกต่อไป
เมื่อพิจารณาร่วมกับยอดการขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ลดลง เนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยี virtualization ที่เพิ่มขึ้น จะเห็นว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ มีผลกระทบที่ค่อนข้างที่จะรุนแรงกับฐานรายได้ของผู้ขายเทคโนโลยีและโซลูชั่นรายใหญ่ๆ
อย่างไรก็ดี เมื่อประตูหนึ่งปิดลง อีกประตูก็จะเปิดขึ้น ที่ผ่านมายังไม่มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำระบบบูรณาการ และบริการดูแลรักษาระบบ ผู้ขายโซลูชั่นจะต้องยอมรับ และใช้ระบบ Open Source ให้เป็นประโยชน์ เพื่อนำเวลา และทรัพยากรไปพัฒนาการให้บริการ และหาช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ๆ
และที่มากไปกว่านั้น การสร้างและใช้งานแพลตฟอร์มที่เป็นมาตรฐานไม่ได้หมายความว่าความต้องการในการปรับแต่งโซลูชั่นจะหายไป การบริหารการพัฒนาซอร์ฟแวร์ในระบบ Open Source นั้นต้องผ่านคณะกรรมการเทคโนโลยี ซึ่งอาจไม่สามารถพัฒนาได้ตามทุกๆ คำขอหรือความต้องการของผู้ใช้งาน ดังนั้นยังพอมีช่องว่างในตลาดอยู่พอสมควร สำหรับการพัฒนาและปรับแต่งโซลูชั่น ให้ตรงกับความต้องการของให้บริการเครือข่าย ซึ่งระบบ Open Source ไม่สามารถทำได้
ผู้ขายโซลูชั่นบางรายเห็นคุณค่า และโอกาสในการเปลี่ยนแปลง กระโดดเข้าร่วมโครงการในระบบ Open Source อาทิเช่น ONAP ในขณะที่รายอื่นๆ ยังคงคร่ำครวญ และไม่ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น
การที่จะได้ส่วนแบ่งการให้บริการ NFV/SDN และสร้างการบริการที่แต่งต่าง หมายความว่าคุณต้องรู้จักแพลตฟอร์มที่เป็นพื้นฐานของระบบใหม่นี้อย่างถ่องแท้
ท้ายที่สุดนี้ก็ยังลืมไม่ได้ว่า NFV/SDN ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังพัฒนา การนำมาใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากยังขาดการพัฒนาระบบที่เป็นมาตรฐาน ประกอบกับความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน หากยังไม่สามารถแก้ไขอุปสรรคข้อนี้ไปได้ ระบบโทรคมนาคมแบบ virtualization ก็จะยังคงเป็นความฝันและการคาดการณ์ตลาดว่าจะเติบโตไปถึงมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็จะสลายไปโดยปริยายฉะนั้น นี่ก็ยังเป็นเดิมพันที่น่าจับตามองกันต่อไป
เกี่ยวกับ แอมดอกซ์
แอมดอกซ์ ผู้นำทางด้านโซลูชั่นซอฟต์แวร์และบริการสำหรับผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารและมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลกแอมดอกซ์และพนักงานกว่า 25,000คนให้บริการลูกค้าในกว่า85ประเทศและอยู่ในรายชื่อNASDAQ Global Select Market ในปีการเงิน2016แอมดอกซ์มีรายได้3,700ล้านเหรียญสหรัฐ Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.amdocs.com
« Last Edit: August 31, 2017, 09:53:00 PM by news »
Logged