MSN on July 08, 2016, 08:59:00 AM
เรียนรู้จากวิกฤต (Crisis) บทความโดย คุณศิรดา เทียมประเสริฐ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เดนาลี เพรสทีจ จำกัดการได้ทำงานในวงการ Wealth Management ในสายงาน Private banking ที่ธนาคารสัญชาติสวิส ณ สำนักงานภูมิภาค (regional office) ประเทศสิงคโปร์ทำให้มีโอกาสดูแลให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการลงทุน จัด asset allocation แนะนำการลงทุน trade ตราสารต่างๆสำหรับ portfolios การลงทุนของกลุ่มลูกค้าผู้มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง
ระบบการทำงานของธนาคารใหญ่ระดับโลกนั้น Product Universe ครอบคลุมถึงตราสารที่กว้างไกลไร้พรหมแดน ตราสารหนี้ ตราสารทุน Currencies, Private Equity, Hedge Fund, Mutual Funds, REITS ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
จำได้ขึ้นใจว่าตลาดเคลื่อนไปในจุดที่สูงมาก ในปี พ.ศ. 2550 เพียงดอกเบี้ยเงินฝากประจำในสกุลเงิน US dollar ระยะเวลา 1 สัปดาห์จ่ายดอกเบี้ย 5% ต่อปี กองทุนรวมลงทุนในหุ้นประเทศจีน (Mutual fund China A-share) เป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนเอเชียมาก มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ปรับขึ้นเกิน100% ภายในเวลาชั่วพริบตา
และแล้วก็เริ่มมีการขาดการชำระเงิน (default) ของ mortgaged back security (MBS) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ผันแปรเรื่อยมาจนถึงวันที่สถาบันการเงิน Lehman Brothers มีอันต้องปิดกิจการลง วิกฤตนั้นในเดือนกันยายนปี 2551 ผู้ที่เสียหายที่สุดคือนักลงทุนที่ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่มีสัดส่วนการ Leverage สูง เชื่อมโยง (Link) กับอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange) ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือผู้ที่ในระยะเวลานั้นถือเงินสดพร้อมลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพในราคาที่ปรับตัวถูกลง และผู้ที่ไม่เสียหายคือผู้ที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและหรือผู้ที่มีการจัดสัดส่วนสินทรัพย์ (asset allocation) ที่เหมาะสม คำถามว่าเราเคยให้คำปรึกษาผู้ลงทุนผิดพลาดบ้างไหม คำตอบคือเคยและความผิดพลาดนี้ที่ทำให้เราเรียนรู้ เมื่อเรามีประสบการณ์รู้ว่าอะไรผิดเราจะไม่ทำอีก
วิกฤต (Crisis) สอนให้เรามีความหนักแน่นและมั่นคง ไม่เชื่อข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ภายนอกดูสวยงาม แต่ความเสี่ยงนั้นสูงเกินกว่าคุณภาพหรือโอกาสที่จะเกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า ธุรกิจ Wealth Management ในที่สุดแล้วนั้นวัดกันที่กาลเวลา ความจริงใจจากผู้ให้คำปรึกษาการลงทุนต่อลูกค้าคือสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่เราจะแนะนำมอบให้ลูกค้าจะต้องเป็นสิ่งเดียวกันกับที่เรามีความกล้าและอุ่นใจที่จะแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องของเราเอง สินทรัพย์ทางการลงทุนเหล่านั้นจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่ถึงแม้จะต้องผ่าน crisis มานักต่อนักแต่ก็จะผ่านไปได้ พร้อมเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนเหนือกาลเวลา
สำหรับ Brexit ประเด็นซึ่งเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย ผลการลงประชามติ (referendum) เรื่องการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ของประเทศอังกฤษ ในเดือน มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมานั้น ซึ่งมีเสียงส่วนใหญ่ 51.9 ต่อ 48.1 สนับสนุนการออกจาก EU มองว่าในระยะสั้นก่อก็ให้เกิดความผันผวนต่อตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก ทั้งค่าเงินที่ปรับตัวอ่อนลงมากของสกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), ยูโร (EUR), และการปรับตัวที่แข็งค่าขึ้นอย่างฉับพลันของสกุลเยน (JPY) แน่นอนความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนมีเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยหลักที่เป็นกุญแจของโจทย์นี้ควรจะเป็นการเจรจาทางการค้าครั้งใหม่ระหว่าง UK กับ EU ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร สำหรับในส่วนตลาดทุนไทยมองว่าจะได้รับผลกระทบที่ไม่มากนัก ค่าเงินที่อ่อนลงของ GBP, EUR อาจส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศไทยจากนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษและชาวประชากร EU มีอัตราส่วนที่ลดลง ซึ่งอัตราการเติบโตของนักท่องเทียวจีนน่าจะเป็นปัจจัยที่สูงกว่ามาก สำหรับการส่งออกของประเทศไทยสัดส่วนการส่งออกไป EU คิดเป็น 10% โดยเป็นสัดส่วนการส่งออกไปประเทศอังกฤษ 1.8% สำหรับตลาดหุ้นไทยดัชนี SET Index มีการปรับตัวสูงขึ้น 2% นับจากวันประกาศผลประชามติ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนการตัดสินใจลงทุน
« Last Edit: July 09, 2016, 06:06:24 PM by MSN »
Logged