MSN on March 23, 2016, 10:41:00 PM
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน สร้างเครือข่ายITAP รองรับ SMEs พื้นที่ภาคอีสาน มุ่งขับเคลื่อนสังคมให้อยู่ดีกินดี



ดร.ณรงค์ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (ที่ 2 จากซ้าย) ลงนามความร่วมมือดำเนินการโปรแกรมITAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ร่วมกับ ผศ.ดร.วิโรจน์ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ที่ 2 จากขวา) เพื่อมุ่งสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน SMEs ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สำเร็จเติบโตยั่งยืนด้วยการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายสนับสนุน SMEsไม่น้อยกว่าปีละ 30 ราย ระเวลาดำเนินการ3 ปีเมื่อเร็วๆ นี้ (23 มีนาคม 2559) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา

MSN on March 23, 2016, 10:41:29 PM
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน สร้างเครือข่าย ITAP รองรับ SMEs พื้นที่ภาคอีสาน มุ่งขับเคลื่อนสังคมให้อยู่ดีกินดี



ITAP-RMUTI


Dr.Narong Sirilertworakul - NSTDA


Asst.Prof.Dr.Viroj Limkaisang-RMUTI


Asst.Prof.Dr. Jakrit Yaeram-RMUTI



(23 มีนาคม 2559) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. ลงนามความร่วมมือดำเนินการ ITAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) โดยมี ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดี มทร.อีสาน ร่วมลงนาม เพื่อมุ่งสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน SMEs ให้สำเร็จเติบโตยั่งยืนด้วยการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ด้วยการนำกลไกการบริหารงานแบบ ITAP ไปใช้ในการสนับสนุน SMEs ตั้งเป้าช่วยเหลือไม่น้อยกว่าปีละ 30 รายครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง มทร.อีสาน มีความพร้อมสูงด้วยวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยครอบคลุมทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า “ความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ มทร.อีสาน ในการดำเนินงานเครือข่ายโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทยหรือเครือข่าย ITAP ครั้งนี้ จะช่วยให้ SMEs ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจำนวนมากขึ้น เนื่องจาก มทร.อีสาน มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายสาขา และมีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การร่วมมือกันจะช่วยสร้างกลไกการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการจากภาคเอกชนได้อย่างชัดเจนและครบวงจรมากขึ้น โดย สวทช. จะให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีการสนับสนุน SME โดยใช้โปรแกรม ITAP แก่เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะช่วยกันส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยทำโครงการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ภาคเอกชนมากขึ้น เพราะเป็นการรับโจทย์จากปัญหาหรือความต้องการของภาคอุตสาหกรรมหรือ SMEs โดยตรง ทำให้ผลงานของมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่งผลต่อเครษฐกิจภาพรวมของประเทศได้ต่อไป”

ด้าน ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า “มทร.อีสาน ตระหนักถึงความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดย มทร.อีสาน มีความร่วมมือกับทาง ITAP สวทช. มาระยะหนึ่งแล้ว ในฐานะผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP ด้วยเล็งเห็นประโยชน์ของโปรแกรม ITAP จึงตกลงความร่วมมือกับ สวทช. เพื่อดำเนินงาน ‘เครือข่ายโปรแกรม ITAP มทร.อีสาน’ มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือ SMEs ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเป้าหมายหลัก ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี การพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการเชื่อมโยงสู่การให้บริการสนับสนุนแก่ภาคเอกชนของ สวทช. เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของ SMEs ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น เกิดการสร้างนวัตกรรมและพึ่งพาตนเองได้ด้วยเทคโนโลยี ผมเชื่อว่าภายหลังการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ จะนำมาสู่ความเป็นรูปธรรมของการสนับสนุนการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยและการส่งเสริม SMEs ได้อย่างชัดเจน โดยตั้งเป้าสนับสนุนไม่น้อยกว่า 30 รายต่อปี ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี”

ด้าน ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ เยรัมย์    รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของการดำเนินโปรแกรม ITAP เครือข่าย มทร.อีสาน ว่า “ด้วย มทร.อีสาน มีวิทยาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 วิทยาเขต คือ นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ และสกลนคร ทำให้สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ได้ทั้วทั่งภาค โดยแต่ละวิทยาเขตจะมีความโดดเด่นในการสนับสนุน SMEs ตามความเชี่ยวชาญเป็นหลัก อย่าง มทร.อีสาน วิทยาเขตนครราชสีมาและขอนแก่น ที่มีประสบการณ์ดำเนินงานในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ITAP มาก่อนหน้านี้แล้ว จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องช่างอุตสาหกรรม และโลหะหล่อต่างๆ ขณะที่วิทยาเขตสุรินทร์จะเน้นหลักในด้านการเกษตร และวิทยาเขตสกลนครจะเน้นในด้านอาหารและสุขภาพ เนื่องจากมีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยที่นั่นและมีหลักสูตรเฉพาะด้านแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ในการดำเนินงานโปรแกรม ITAP เครือข่าย มทร.อีสาน เบื้องต้น ทาง สวทช. จะช่วยในการอบรมพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัยในการเป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยี (Industrial Technology Advisor: ITA) จากนั้นเมื่อเกิดความเชี่ยวชาญแล้ว จะเริ่มดำเนินการเชิงรุกในการเข้าให้การสนับสนุน SMEs ตามแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ยั่งยืนให้แก่ SMEs ต่อไป”