MSN on March 07, 2016, 10:47:08 PM
สวทช. ก.วิทย์ รุกคืบสนองนโยบายรัฐบาลต่อเนื่องล่าสุดจับมือ มทร.ธัญบุรี ดำเนินเครือข่าย ITAP แห่งใหม่เน้นช่วยเหลือ SME พื้นที่ภาคกลาง เติบโตยั่งยืนด้วยนวัตกรรม



Dr.Narong Sirilertworakul


Assoc.Prof.Prasert Pinprathomrat


Ms.Thitapha Smitinont


MOU-NSTDA-RMUTT



(7 มีนาคม 2559) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. ลงนามความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) โดย รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี ในการดำเนินงานเครือข่ายโปรแกรม ITAP ในพื้นที่ภาคกลาง กล่าวคือ มหาวิทยาลัยฯ จะนำกลไก ITAP ไปใช้ในการสนับสนุน SME  ซึ่งประโยชน์ที่ภาคอุตสาหกรรมและประเทศจะได้รับ คือ จะเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้การสนับสนุนแก้ไขปัญหา และทำวิจัยพัฒนา ที่ครอบคลุมหลากหลายสาขามากขึ้น เข้าถึงเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยได้มากขึ้น และจะมีจำนวน SME ที่ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น 

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “สวทช. ได้ดำเนินโปรแกรม ITAP มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ให้การสนับสนุน SME ไปแล้วไม่น้อยกว่า 7,000 ราย ปัจจุบัน ITAP มีเครือข่ายทั่วประเทศจำนวน 10 แห่ง มีผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมดำเนินงานอยู่ไม่น้อยกว่า 1,300 ราย แต่ยังไม่เพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือ SME ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งยังขาดทรัพยากรด้านต่างๆ สำหรับการวิจัยและพัฒนาทั้งด้านการเงินและบุคลากร ด้วยเหตุนี้ เป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการดำเนินงานเครือข่าย ITAP ครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยให้ SME ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายสาขาและยังมีโปรแกรมสหกิจศึกษาที่มีการเชื่อมโยงกับภาคเอกชนเป็นจำนวนมากอีกด้วย การร่วมมือกันระหว่าง สวทช. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นอกจากจะช่วยให้ SME ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจำนวนมากขึ้นแล้ว ยังจะช่วยสร้างกลไกการทำงานของมหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ความต้องการจากภาคเอกชนได้อย่างชัดเจนและครบวงจรมากขึ้น พร้อมทั้งตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน”


รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ สวทช. ตระหนักถึงความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและเล็งเห็นประโยชน์ของโปรแกรม ITAP ทางมหาวิทยาลัยจึงตกลงความร่วมมือกับ สวทช. ในการดำเนินงานเครือข่าย ITAP ภาคกลาง เพื่อมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือแก่ SME ในพื้นที่ภาคกลางเป็นเป้าหมายหลัก ในการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรม มีการส่งออกเพิ่มขึ้น และมีความเจริญเติบโตทางธุรกิจ อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี สามารถแข่งขันสูงขึ้นได้ภายใต้เศรษฐกิจฐานความรู้ ตลอดจนเกิดการสร้างกลไกการเชื่อมโยงความต้องการภาคอุตสาหกรรม โจทย์หรือปัญหามาสู่งานวิจัย”

ด้าน ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ ผู้อำนวยการโปรแกรม ITAP สวทช. กล่าวว่า “รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุน SME นับตั้งแต่สมัย คสช. ซึ่งได้มีการประกาศให้ SME เป็นวาระแห่งชาติ และได้มีโครงการให้การสนับสนุน SME มาอย่างต่อเนื่อง โปรแกรม ITAP เป็นโครงการหนึ่งซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบที่จะขยายผล เพื่อให้สนับสนุน SME ได้จำนวนมากขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2559 ITAP ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวน SME ที่ให้การสนับสนุน จากประมาณ 400 รายต่อปี เป็น 1,000 ราย และมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี โดยในปีงบประมาณ 2563 จะสามารถสนับสนุน SME ได้ 3,000 รายต่อปี จากมติดังกล่าว ITAP ได้ปรับกลยุทธ์ในการทำงาน โดยมุ่งเน้นการบูรณาการทำงานร่วมกับพันธมิตร ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ จะร่วมดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย ITAP กล่าวคือ มหาวิทยาลัยฯ จะนำกลไก ITAP ไปใช้ในการสนับสนุน SME  ซึ่งประโยชน์ที่ภาคอุตสาหกรรมและประเทศจะได้รับ คือ จะเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้การสนับสนุนแก้ไขปัญหา และทำวิจัยและพัฒนา ที่ครอบคลุมหลากหลายสาขามากขึ้น เข้าถึงเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยได้มากขึ้น และจะมีจำนวน SME ที่ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เริ่มมีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมดำเนินการสนับสนุน SME ได้ไม่น้อยกว่า 50 รายต่อปี”

ทั้งนี้ โปรแกรม ITAP หรือโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program) เป็นโปรแกรมที่ดำเนินงาน โดย ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ช่วยเหลือ SME ไทยอย่างรอบด้าน เพื่อเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย ITAP เป็นโปรแกรมเพื่อให้บริการภาคอุตสาหกรรมในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งยกระดับเทคโนโลยีการผลิต ITAP มีภารกิจหลัก คือ การสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยีกับผู้ใช้เทคโนโลยี ในรูปแบบของการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนา เข้าไปให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาถึงในโรงงาน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ITAP คลิกดูได้ที่ http://itap.nstda.or.th/

MSN on March 07, 2016, 10:47:57 PM
สวทช. ก.วิทย์รุกคืบสนองนโยบายรัฐบาลต่อเนื่องล่าสุดจับมือ มทร.ธัญบุรีดำเนินเครือข่ายITAP แห่งใหม่เน้นช่วยเหลือSME พื้นที่ภาคกลาง เติบโตยั่งยืนด้วยนวัตกรรม



MOU-NSTDA-RMUTT



สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร.ณรงค์ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช.(ที่ 2 จากขวา) ลงนามความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) โดย รศ.ดร.ประเสริฐปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี (ที่ 2 จากซ้าย) ในการดำเนินงานเครือข่ายโปรแกรม ITAP ในพื้นที่ภาคกลาง โดยจะนำกลไกITAP ไปใช้ในการสนับสนุนSME เพื่อให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในการสนับสนุนแก้ไขปัญหาทำวิจัยพัฒนาที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาและเข้าถึงเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยได้มากขึ้นตลอดจนจะมีจำนวนSME ที่ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ (7 มีนาคม 2559) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี