happy on February 17, 2016, 03:24:19 PM
วีซ่า เผยชาว “เจ็นเอ็กซ์” คือแชมเปี้ยนขาช้อปแบบดิจิตอลตัวจริง

ผลสำรวจวีซ่าฉบับล่าสุดเผยให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและประชากรจะมีอายุมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้กลับสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในภาคผู้บริโภค




กรุงเทพมหานคร, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 : อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข ผลการสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558[1] โดยวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2015) เปิดเผยว่า “เจเนอเรชั่น เอ็กซ์ (Generation X)” หรือ เจ็นเอ็กซ์ คือคลื่นลูกใหม่ในตลาดที่พร้อมจะลองใช้วีธีการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงและใช้จ่ายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคผู้บริโภค ในขณะที่กลุ่มลูกค้า เจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือ เจ็นวาย ก็เข้าสู่วัยที่มีฐานะการเงินที่ดีขึ้น
 
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคชาวไทยยุค เจเนอเรชั่น เอ็กซ์ (เจ็นเอ็กซ์) [2]  ยังคงไปได้ดี โดยหกในสิบ (59 เปอร์เซ็นต์) ของนักช้อปเจ็นเอ็กซ์ชาวไทยนิยมใช้จ่ายผ่านบัตรมากกว่าเงินสดเพราะปลอดภัยมากกว่า เมื่อเทียบกับสี่ในสิบ (42 เปอร์เซ็นต์) ของนักช้อปเจ็นวาย
 
การศึกษาทัศนคติผู้บริโภคในการชำระเงินของวีซ่านั้นได้จำแนกและเก็บข้อมูลแนวคิดที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึงประเทศไทย[3] โดยการศึกษาฉบับนี้ให้คำนิยาม “เจเนอเรชั่น เอ็กซ์” ว่ากลุ่มคนอายุระหว่าง 35 – 60 ปี และ “เจเนอเรชั่น วาย” คือกลุ่มคนอายุ 18 – 34 ปี
 
“เราเล็งเห็นถึงเทรนด์ ‘เหล้าใหม่ในขวดเก่า’ ซึ่งเห็นได้ชัดจากที่กลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงอย่างเจ็นเอ็กซ์ ที่มีการเปิดรับและทดลองใช้ช่องทางดิจิตอลใหม่ๆ ในการชำระเงินอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์มือถืออย่างสมาร์ทโฟนและ แท็บเล็ต ในบางกรณีมากกว่าเจ็นวายด้วยซ้ำ นอกจากนี้เราเล็งเห็นศักยภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจ็นวายที่มีกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางประชากรแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ดีทั้งสำหรับภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน” นายสุริพงษ์    ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าว
 
ถึงแม้ว่าเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินหลัก แต่การชำระเงินรูปแบบอื่นๆ นั้นเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผลการสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า 66 เปอร์เซ็นต์ของคน เจ็นวาย และ 44 เปอร์เซ็นต์ของคนเจ็นเอ็กซ์ นิยมใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือในการช้อปปิ้งออนไลน์ ชี้ให้เห็นว่าการชำระเงินในรูปแบบใหม่ๆได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 
กลุ่มผู้บริโภคทั้งเจ็นเอ็กซ์และเจ็นวาย นิยมชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในจำนวนเท่าๆกันอยู่ที่ 81 เปอร์เซ็นต์และ 82 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยให้เหตุผลว่าประหยัดเวลาและรวดเร็วกว่า (77 เปอร์เซ็นต์) เป็นที่น่าสนใจว่ากลุ่มเจ็นเอ็กซ์ ให้ความสำคัญกับความง่ายในการจ่ายเงินออนไลน์มากกว่าเจ็นวาย (60 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับ 56 เปอร์เซ็นต์) และ คิดว่าสะดวกมากกว่าใช้เงินสด (60 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับ 55 เปอร์เซ็นต์)
 
สำหรับเทรนด์การชำระเงินรูปแบบใหม่ในอนาคต การชำระเงินผ่านมือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกำลังเป็นที่น่าจับตามองในขณะนี้ การซื้อบัตรชมภาพยนต์ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้รับการนิยมมากที่สุดทั้งสำหรับผู้บริโภค เจ็นเอ็กซ์ (50 เปอร์เซ็นต์) และ เจ็นวาย (55 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยการสั่งซื้ออาหารแบบจัดส่งถึงที่อีก 51 เปอร์เซ็นต์ แต่กลุ่มที่ตัดสินใจซื้ออาหารออนไลน์มากกว่าคือกลุ่มผู้บริโภคเจ็นวาย (64 เปอร์เซ็นต์ เปรียนเทียบกับ 41 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตามมากกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ของคนยุค เจ็นเอ็กซ์ ซื้อบัตรเข้าชมคอนเสริต์และเทศกาลงานต่างๆผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากกว่าคนยุคเจ็นวาย (43 เปอร์เซ็นต์)
 
การกลับมาซื้อซ้ำยังเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคกลุ่ม เจ็นเอ็กซ์ ชื่นชอบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตัวอย่างเช่น 63 เปอร์เซ็นต์ของผู้ทำแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาเคยซื้อสินค้าผลิตภัณท์จำพวกความงามและเครื่องสำอางผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเท่านั้นหลังจากเริ่มชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพาแค่หนึ่งปี นอกจากนี้ทั้งผู้บริโภค เจ็นเอ็กซ์และเจ็นวาย สนใจที่จะซื้อสินค้าในร้านค้าแต่ชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพาจำพวกสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (67 เปอร์เซ็นต์ และ 59 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ)
 
เมื่อกล่าวถึงเทรนด์ที่กำลังมาแรง ณ ตอนนี้ ทั้งสองเจเนอเรชั่นให้ความสนใจในการชำระเงินผ่านอุปกรณ์ไฮเทคที่สวมใส่ (wearables) เท่าๆกัน เจ็นเอ็กซ์ ที่ 80 เปอร์เซ็นต์  และ เจ็นวาย ที่ 87 เปอร์เซ็นต์ สามประเภทสินค้าหลักที่พวกเขาสนใจในการซื้อผ่านเทคโนโลยี wearable คือ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม และบัตรชมภาพยนต์
 
เจ็นเอ็กซ์ อาจจะเป็นกลุ่มที่ “มีอายุ” แต่อย่าลืมว่านี่คือเจเนอเรชั่นที่ไม่รอช้าที่จะลองเทคโนโลยีใหม่ เพราะพวกเขาคือกลุ่มคนรุ่นแรกที่ซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นกลุ่มคนที่ยอมจ่ายเงินเป็นแสน เพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่เท่า กระติกน้ำไปใช้ในบ้าน
 
“ถ้าเรามองความเปิดกว้างที่จะลองเทคโนโลยีใหม่ๆและกำลังซื้อของผู้บริโภคกลุ่มเจ็นเอ็กซ์แล้ว การที่เราจะจำกัดการบริการให้เหมาะแก่เด็กวัยรุ่นยุคมิลเลเนียลอย่างเดียวก็จะเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากไป วีซ่าได้ทำงานร่วมกับลูกค้ากลุ่มธนาคารและร้านค้าในการเพิ่มนวัตกรรมการชำระเงินอย่างต่อเนื่องและพร้อมนำความรู้ผนวกกับเครือข่ายวีซ่าที่มีอยู่ทั่วโลกมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ทุกคนสามารถจ่ายเงินและรับเงินได้อย่างดีที่สุดไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม” นายสุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย


1. การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของวีซ่า จัดทำโดยบริษัท Acorn ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฏาคม 2558  โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 3,000 คน จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม โดยผู้ที่ร่วมทำแบบสอบถามเป็นชายและหญิงอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปที่มีบัตรชำระเงินอย่างน้อยหนึ่งใบและมีการใช้จ่ายผ่านบัตรอย่างสม่ำเสมอ
2. การศึกษาฉบับนี้ให้คำนิยาม “เจเนอเรชั่น เอ็กซ์” หมายถึงกลุ่มคนอายุระหว่าง 35-60 ปี และ “เจเนอเรชั่น วาย” คือกลุ่มคนอายุ 18-34 ปี
3.อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม


##

เกี่ยวกับวีซ่า
วีซ่าคือบริษัทผู้ให้บริการด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก แก่ลูกค้าบุคคล ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ตลอดจนองค์กรรัฐ ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีด้านเงินตราดิจิตอลที่รวดเร็ว ปลอดภัย และวางใจได้  โดยมี VisaNet หนึ่งในระบบเครือข่ายการทำงานด้านเงินตราดิจิตอลที่ทันสมัยมากที่สุดระบบหนึ่งของโลกเป็นรากฐาน ซึ่งสามารถประมวลและควบคุมการทำธุรกรรมได้กว่า 56,000 รายการในหนึ่งวินาที พร้อมด้วยระบบป้องกันการปลอมแปลงสำหรับลูกค้าบุคคล และการรับประกันการชำระเงินสำหรับร้านค้า วีซ่าไม่ใช่ธนาคารและมิได้มีบริการการออกบัตร เพิ่มวงเงินเครดิต หรือกำหนดอัตราค่าบริการแก่ผู้ถือบัตร หากแต่ให้บริการนวัตกรรมซึ่งส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถมอบทางเลือกที่มีความหลากหลายให้แก่ลูกค้าได้ เช่น บริการชำระเงินจากยอดเงินในบัตรเดบิตหรือการใช้จ่ายด้วยวงเงินล่วงหน้าผ่านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตต่าง ๆ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่า อ่านได้ที่: www.visa.co.th  www.visaapnewsroom.com และ @VisaNews บนทวิตเตอร์