เชฟโรเลตจับมือโรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดตัว
“โครงการคุณหนูปลอดภัยในยานยนต์”
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในเด็กแนะนำพ่อแม่ควรติดตั้ง
และใช้ที่นั่งนิรภัยภายในรถอย่างเหมาะสม
เชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทย ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดตัวโครงการ “คุณหนูปลอดภัยในยานยนต์” (Child Occupant Safety Campaign) รณรงค์การใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถ
จากสถิติขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก โดยในแต่ละปี มีเด็กไทยมากกว่า 140 คนเสียชีวิต และอีกกว่า 2,000 คนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดกฎหมายบังคับใช้การใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กอย่างไม่ถูกต้อง และพ่อแม่ 70 เปอร์เซ็นต์มีความเข้าใจผิดว่าเข็มขัดนิรภัยสามารถปกป้องผู้โดยสารเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ
รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “ผมรู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเชฟโรเลต ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถชั้นนำในประเทศไทยและให้การสนับสนุนและส่งเสริมความปลอดภัยในเด็กด้วยการดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เนื่องจากเด็กเป็นผู้โดยสารที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพวกเขาไม่สามารถปกป้องตนเองได้ โครงการนี้จะช่วยรณรงค์ให้ความรู้พ่อแม่และผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและวิธีการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กทุกช่วงอายุอย่างถูกต้อง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับเด็กในการโดยสารรถ”
รศ.นพ. อดิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การติดตั้งที่นั่งนิรภัยในรถจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารเด็กให้สูงขึ้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองควรให้เด็กนั่งเบาะที่นั่งด้านหลัง เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่าการนั่งเบาะที่นั่งด้านหน้าถึงห้าเท่า
“เชฟโรเลตและศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี มีเป้าหมายเดียวกันในการกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงความปลอดภัยสำหรับเด็กในรถ เราจึงริเริ่มโครงการคุณหนูปลอดภัยในยานยนต์ขึ้นมา ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เราหวังว่าจะโครงการนี้ช่วยกระตุ้นให้คนไทยมีความตระหนักถึงการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมากขึ้น ไม่เพียงในรถเชฟโรเลตเท่านั้น แต่รวมถึงรถทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่มีเด็กนั่งโดยสารไปด้วย เราให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบและการตัดสินใจของผู้ใหญ่ทุกคนที่เดินทางพร้อมกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู หรือผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของเด็ก” คุณจีรณัฐ แสงดี ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ เชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทยกล่าว เชฟโรเลตสนับสนุนโครงการคุณหนูปลอดภัยในยานยนต์ภายใต้แนวคิด “ติดตั้ง-นั่ง-ปลอดภัย” ด้วยการจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามโรงเรียน และในงานจัดแสดงรถต่างๆ ทั่วประเทศในปีนี้ โดยการใช้มาสค็อต “เชฟวี่และจีจี้” ตัวการ์ตูนที่มีทั้งความน่ารักและเป็นมิตรกับเด็กๆ เพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความปลอดภัย
“กิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมของจีเอ็มเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายและค่านิยมของบริษัทฯ นั่นคือการดูแลลูกค้าของเราตลอดไป เป้าหมายและค่านิยมดังกล่าวกระตุ้นให้เราดูแลและพัฒนาชุมชนที่เราอาศัยและทำธุรกิจอยู่ทั่วโลก เพราะเราให้ความสำคัญแก่ลูกค้าสูงสุด ด้วยการให้ลูกค้าเป็นหัวใจในทุกสิ่งที่เราทำ” คุณจีรณัฐกล่าวเพิ่ม
สำหรับในปี 2559 ความมุ่งมั่นดำเนินโครงการรับผิดชอบต่อสังคมของจีเอ็มในประเทศไทยคือ “การขับเคลื่อนเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้น” หรือ “Driving A Better Tomorrow” โดยกิจกรรมจะแบ่งออกเป็นสามเสาหลัก ประกอบด้วย ความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้น การศึกษาที่ดีขึ้น และการมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
สำหรับโครงการคุณหนูปลอดภัยในยานยนต์จะอยู่ภายใต้เสาหลักด้านความปลอดภัย ขณะที่การสนับสนุนด้านการศึกษาและกีฬา จะอยู่ภายใต้เสาหลักด้านศึกษาและสุขภาพ ตามลำดับ วิธีการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กอย่างถูกต้อง การติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดคือการใช้จุดยึด ISO Fix และ Top Tether ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล จุดยึด ISO Fix และ Top Tether มีในรถเชฟโรเลตทุกรุ่น ทั้งรถอเนกประสงค์เอสยูวีขนาดกลาง แคปติวา รถอเนกประสงค์พีพีวีขนาดใหญ่ เทรลเบลเซอร์ รถกระบะ โคโลราโด และรถยนต์ ครูซ เจ้าของรถสามารถตรวจสอบว่ารถที่ใช้อยู่มีจุดยึด ISO Fix และ Top Tether ด้วยการดูป้ายระหว่างฐานเบาะและด้านหลังเบาะที่นั่งในรถ (รถบางรุ่นอาจเห็นจุดยึดด้วย) ผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือรถหรือติดต่อผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ผลิต
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด เด็กแรกเกิดควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กแรกเกิด ไม่ควรนั่งบนตักของผู้ใหญ่หรือวางบนเบาะของตัวรถ ควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กชนิดนั่งหันไปทางหลังรถ (Rear-facing infant seat) ที่นั่งประเภทนี้เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด ถึง 2 ปี หรือน้ำหนักไม่เกิน 12 กิโลกรัม โดยต้องวางไว้ที่เบาะหลังค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และให้เด็กนั่งหันไปทางหลังรถเสมอ
ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กชนิดนั่งหันหน้าไปทางหน้ารถ (Forward-facing child seat) ที่นั่ง ประเภทนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-6 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 9-18 กิโลกรัม โดยให้นั่งเบาะหลัง และหันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติได้
ที่นั่งเสริม (Booster seat) ที่นั่งประเภทนี้เหมาะกับเด็กอายุ 4-11 ปี น้ำหนักระหว่าง 15-25 กิโลกรัม ที่นั่งประเภทนี้จะช่วยให้คาดเข็มขัดนิรภัยของรถให้พอดีตัวยิ่งขึ้น ผู้โดยสารทุกคนควรคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาเชฟโรเลตแนะนำเคล็ดลับความปลอดภัยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ - เมื่อเด็กนั่งอยู่บนเบาะอย่างถูกต้อง เชฟโรเลตแนะนำให้ใช้ระบบล็อกประตูนิรภัยสำหรับเด็กซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถเชฟโรเลตทุกรุ่นที่จัดจำหน่ายในประเทศไทย การล็อกประตูนิรภัยสำหรับเด็กเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กเปิดประตูรถเองจากด้านใน
- วัตถุขนาดเล็กที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ของเล่นพลาสติก หรือวัตถุขนาดใหญ่อย่างของใช้ในบ้าน ควรเก็บให้ห่างจากมือเด็ก เนื่องจากพวกเขาอาจนำเข้าปากและอาจเป็นอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรเก็บวัตถุเหล่านั้นไว้ในที่เก็บของท้ายรถ หรือถ้าวัตถุมีขนาดเล็ก อาจเก็บไว้ใต้คอนโซลกลางหรือลิ้นชักเก็บของด้านหน้า
- ไม่ควรทิ้งเด็กไว้ในรถเพียงลำพังแม้แต่นาทีเดียว
- เด็กที่นั่งอยู่บนเบาะหลังอาจเล่นจนทำให้รบกวนสมาธิผู้ขับขี่ ควรเตรียมของเล่นที่มีความอ่อนนุ่มให้เด็ก เช่น ตุ๊กตาหรือหนังสือปกอ่อน เปิดเพลงหรือวีดีโอ ถ้ามีเด็กโดยสารในรถมากกว่าหนึ่งคน ควรแน่ใจว่าพวกเขามีสิ่งที่ต้องการก่อนที่จะออกเดินทาง
- การใช้โทรศัพท์หรือส่งข้อความขณะขับขี่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ ควรมองถนนข้างหน้าและใช้สองมือจับพวงมาลัยตลอดเวลา ถ้าคุณต้องใช้โทรศัพท์ ส่งข้อความหรือดูแลเด็กที่โดยสารไปด้วย ควรจอดรถในที่ปลอดภัยหรือรอให้ถึงจุดหมายก่อน แต่ถ้าจำเป็น ระบบอินโฟเทนเมนท์มายลิงค์ของเชฟโรเลตซึ่งติดตั้งในแคปติวา ช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถใช้โทรศัพท์แบบแฮนด์ฟรีได้
- ระมัดระวังคนเดินถนนอยู่เสมอ ควรถอยรถออกจากที่จอดรถอย่างช้าๆ โดยใช้กระจกมองหลังและกล้องมองหลังซึ่งติดตั้งในรถเชฟโรเลต แคปติวา รุ่นใหม่ มาพร้อมระบบแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางด้านหลัง และระบบช่วยในการถอยจอด ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุขณะถอยรถ
- การป้องกันควรเริ่มตั้งแต่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ซึ่งควรได้รับการปกป้องสูงสุดในรถ แพทย์แนะนำว่าสตรีมีครรภ์ควรใช้เข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งอยู่บนเบาะหน้าหรือเบาะหลัง ควรคาดสายเข็มขัดนิรภัยไว้ต่ำโดยพาดบนสะโพกและกระดูกเชิงกรานและอยู่ด้านล่างหน้าท้อง ไม่พาดสายเข็มขัดนิรภัยเหนือหน้าท้อง ขณะที่สายเข็มขัดช่วงไหล่ควรพาดบนหน้าอกและไม่ควรอยู่ด้านหลังโดยเด็ดขาด# # #
เกี่ยวกับเชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทย บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2543 โดยเป็นหนึ่งในเครือของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้บริษัทได้ดำเนินงานในฐานะผู้ทำตลาดยานยนต์ที่ผลิตขึ้นภายใต้ชื่อและสัญลักษณ์ทางการค้าเริ่มต้น จากเชฟโรเลต ซาฟิร่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบุกเบิกตลาดรถยนต์เอนกประสงค์รายแรกของประเทศไทย โดยยานยนต์ที่จัดจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ เชฟโรเลต ครูซ แคปติวา โคโลราโด และเทรลเบลเซอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นยานยนต์คุณภาพทั้งในด้านความปลอดภัย สมรรถนะการขับขี่อันยอดเยี่ยม การออกแบบที่โดดเด่น ความคุ้มค่า และความเป็นผู้นำในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งมั่นมอบการบริการหลังการขายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าด้วยเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายที่มีการพัฒนาทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมได้ที่ http://chevrolet.co.th/ http://media.gm.com/content/media/th/th/chevrolet/news.html หรือ https://th-th.facebook.com/chevyclubเกี่ยวกับศูนย์สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Center, CSIP) ศูนย์สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กมีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นศูนย์วิชาการระดับประเทศในการสร้างและรวบรวมองค์ความรู้ ฝึกอบรม บูรณาการเครือข่าย และชี้นำสังคมในด้านความปลอดภัยในเด็ก 5 เรื่องได้แก่ อุบัติเหตุ (unintentional injury) ความรุนแรงต่อเด็ก (intentional injury) ผลิตภัณฑ์อันตราย (การคุ้มครองผู้บริโภคเด็ก) (child product safety) มลพิษจากสิ่งแวดล้อม (Environmental pediatrics) และภัยพิบัติ (ภัยธรรมชาติ) (pediatric disaster preparedness) มีพันธกิจหลัก ได้แก่ การเฝ้าระวังความปลอดภัยในเด็ก (child safety watch) โดยพัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังความปลอดภัยในเด็ก จัดการความรู้ด้านความปลอดภัยในเด็กสู่สาธารณะและจัดการฝึกอบรมทุกระดับ (knowledge management for public use and training) จัดตั้งฐานข้อมูลความรู้ โดยรวบรวมจากชุดโครงการวิจัย งานวิจัยอื่น ๆ ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ความรู้จากต่างประเทศ แนวโน้มของโลก (global trend) และนโยบายรัฐบาล (governmental policy) เชื่อมโยงเครือข่ายความปลอดภัยสำหรับเด็ก (child safety network) คือการเชื่อมโยงเครือข่ายอัน ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ผลิต องค์กรอิสระ และองค์กรพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและความปลอดภัยในเด็ก เพื่อรวบรวมสรรพกาลังของทุกหน่วยให้เกิดการปฏิบัติโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการสร้างความปลอดภัยแก่เด็ก วิจัย (child safety research) สร้างความรู้และทักษะในการดาเนินการสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บแก่เด็กในระดับชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (community empowerment) ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยสำหรับเด็ก (safe community for children) และการขับเคลื่อนสังคมเพื่อสร้างความรับรู้ความเสี่ยง (social motivation for risk perception) และสร้างนโยบายสาธารณะ (social motivation for public policy)