happy on March 17, 2015, 05:15:30 PM
อวาย่าเผยผลสรุปการวิจัยความคล่องตัวของเครือข่ายในประเทศไทยปี 2014


บทสรุปที่สำคัญ

-     โดยเฉลี่ยแล้ว บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทยได้ทำการเปลี่ยนแปลง 6 รายการสำหรับระบบเครือข่ายของบริษัทในระยะเวลา 12 เดือนที่จำเป็นต้องมีกรอบการบำรุงรักษา

-     เจ้าหน้าที่ระบบเครือข่ายต้องรอคอย 24 วันโดยเฉลี่ยสำหรับกรอบการบำรุงรักษาดังกล่าว

-     บริษัททั้งหมดดูเหมือนว่าจะมีความล่าช้าในการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีของธุรกิจเนื่องจากการรอคอยกรอบการบำรุงรักษา

-     96% ของบริษัทได้รับผลกระทบเชิงลบโดยความซับซ้อนของเครือข่ายของพวกเขา ซึ่งจำกัดสิ่งที่สามารถจัดวางระบบและระยะเวลา - การเงินและการจัดทำรายงาน (49%) และประสิทธิภาพการขาย (46%) อยู่ในระดับต้นๆ ของบัญชีรายการ

-     94% ของบริษัทอย่างน้อยที่สุดมีช่วงเวลาหยุดให้บริการของเครือข่ายอันเป็นเหตุจากความผิดพลาดในการเปลี่ยนแปลงที่แกนหลักของเครือข่าย - โดยเฉลี่ยแล้ว ประมาณ 1 ใน 4 ของช่วงเวลาหยุดให้บริการของเครือข่ายทั้งหมด (24%) มีสาเหตุมาจากความผิดพลาดในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

-     บริษัททั้งหมดประสบกับผลสืบเนื่องอันเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ - การหยุดชะงักและความล่าช้าของโครงการ/งานด้านไอที อื่นๆ (62%), ประสิทธิภาพของพนักงาน (49%) และการหยุดชะงักของระบบโซ่อุปทาน (43%) เป็นอันดับต้นๆ ในบัญชีรายการ - แต่มี 1 ใน 5 บริษัทที่ปลดพนักงานด้านไอทีออกอันเป็นผลโดยตรง (21%)

-     90% ของบริษัทที่สูญเสียรายได้ประจำปีเป็นผลจากช่วงเวลาการหยุดให้บริการจากความผิดพลาดการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายหลัก


ภาระของกรอบเวลาการบำรุงรักษา (แผนภูมิที่ 1)

บริษัทขนาดใหญ่ของประเทศไทยที่มีพนักงาน 250 คนหรือมากกว่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ย 6 รายการสำหรับระบบเครือข่ายของบริษัทของพวกเขาในระยะเวลา 12 เดือนที่ดำเนินการแล้วเสร็จระหว่างกรอบเวลาการบำรุงรักษา  โดยบางบริษัทต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงขึ้นมามากถึง 100 รายการ

ตัวเลขของประเทศไทยมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (11) และค่าเฉลี่ยสำหรับภูมิภาค APAC (10) [ตารางที่ 1] แต่ประเทศอื่นๆ มีตัวเลขเฉลี่ยที่ต่ำคล้ายกัน (เช่น มาเลเซียที่ 7 และเกาหลีใต้ที่ 8)

เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงกับระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมีการทำกรอบเวลาการบำรุงรักษาขึ้นมา  เจ้าหน้าที่ไอทีในประเทศไทยต้องรอคอย 24 วันโดยเฉลี่ยก่อนที่พวกเขาจะทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อระบบเครือข่ายของบริษัทได้  ตัวเลขนี้เทียบได้เกือบ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือนสำหรับความล่าช้าที่เกิดขึ้น  บริษัทหนึ่งต้องรอคอย 6.2 เดือนเพื่อให้โอกาสการบำรุงรักษาดังกล่าวมาถึง  โดยแท้จริงแล้ว 33% ของบริษัทต้องรอคอยมากกว่า 30 วัน

แต่อย่างไรก็ตามในประเทศไทยนั้น บริษัทส่วนใหญ่อ้างว่าพวกเขารอคอยเพียงวันเดียวเท่านั้น (40%) เมื่อเทียบกับภูมิภาค APAC โดยรวม (20%) และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก (21%) [แผนภูมิที่ 1]  ขณะที่ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อยในประเทศไทยเมื่อเทียบกับที่อื่นในโลก  ความล่าช้าโดยเฉลี่ย 24 วันก็ยังคงมีนัยสำคัญในมุมมองของผลกระทบของความล่าช้าดังกล่าวที่มีผลต่อธุรกิจ



นอกจากนี้ เมื่อตัวเลขเฉลี่ยสำหรับกลุ่มตัวอย่างประเทศไทยถูกประมาณค่านอกช่วง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าธุรกิจใช้เวลาทั้งหมด 144 วันสำหรับการรอคอยด้านไอทีเพื่อสร้างบริการใหม่หรือที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับบริษัท (นั่นคือ การรอคอย 6 รายการ x 24 วัน = 144 วัน หรือ 20.6 สัปดาห์ หรือ 4.8 เดือน)

การสกัดกั้นการเติบโตทางธุรกิจ: (แผนภูมิที่ 2)

บริษัททั้งหมดในประเทศไทย (100%) ประสบกับความล่าช้าในการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงสำหรับระบบเทคโนโลยีของธุรกิจเนื่องจากการต้องมีการรอคอยกรอบเวลาการบำรุงรักษาที่เหมาะสม  61% ของบริษัทกล่าวว่าอย่างน้อยที่สุดจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งรวมถึง 18% กล่าวว่าเกิดขึ้นตลอดเวลา 15% กล่าวว่าเกือบตลอดเวลา และ 28% กล่าวว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง  ขณะที่ส่วนที่เหลือ 39% กล่าวว่าไม่ค่อยเกิดขึ้น โดยมีเพียง 1% เท่านั้นที่กล่าวว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย

เปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกและภูมิภาค APAC ทั้งหมด  ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะประสบปัญหานี้มากกว่าที่อื่น โดยมีสัดส่วนที่สูงของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงของพวกเขานั้นมีความล่าช้าอยู่ตลอดเวลา (18%) [แผนภูมิที่ 2]



เครือข่ายที่ซับซ้อนขัดขวางความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ขององค์กร (แผนภูมิที่ 3)

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 96% ของบริษัทในประเทศไทยอย่างน้อยที่สุดจะมีบางด้านของธุรกิจของพวกเขาที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากความซับซ้อนของเครือข่ายของพวกเขา ซึ่งจำกัดสิ่งที่จะสามารถวางระบบและเวลาในการวางระบบได้  ด้านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยส่วนใหญ่คือ การเงินและการจัดทำรายงาน (49%) แต่อีกด้านหนึ่งที่ตามมาติดกันคือ ประสิทธิภาพการขาย (46%) การจัดการเอกสาร (45%) และการวิเคราะห์ธุรกิจ (44%)


ผลสืบเนื่องของความผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลง: (แผนภูมิที่ 4)

ไม่มีบริษัทใดในประเทศไทยที่รอดพ้นจากผลสืบเนื่องของช่วงเวลาหยุดให้บริการนี้เนื่องจากความผิดพลาดในการเปลี่ยนแปลง  การหยุดชะงักและความล่าช้าที่เกิดขึ้นกับโครงการและงานด้านไอทีอื่นๆ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุด (62%) ตามด้วยประสิทธิภาพพนักงานที่ลดลง (49%) นอกจากนี้ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงอีกประการคือ การหยุดชะงักของระบบโซ่อุปทาน (43%)

เราพบว่ามีบริษัทมากกว่า 1 ใน 5 (21%) มองเห็นว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีจะตกงานอันเป็นผลมาจากปัญหาเรื่องช่วงเวลาหยุดให้บริการที่เกิดขึ้นเมื่อพวกเขาพยายามที่จะทำการปรับปรุงระบบเครือข่ายของบริษัท  สิ่งที่เกี่ยวข้องกันคือมากกว่า 1 ใน 3 ของบริษัท (37%) พบว่าระดับความไว้วางใจแผนกไอทีที่จะลดลงท่ามกลางพนักงานแผนกอื่นๆ เนื่องจากช่วงเวลาหยุดให้บริการที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการเปลี่ยนแปลง  และอีก 20% พบว่าเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่เพิ่มขึ้นจากพนักงานและหัวหน้าสายงานธุรกิจ



เกี่ยวกับการวิจัย
การวิจัยนี้ได้รับการจัดทำขึ้นมาเพื่อตรวจสอบผลกระทบและนัยสำคัญของปัญหาบริษัทที่ดำเนินงานมานานแล้วเกี่ยวกับวิธีการปรับแต่งเครือข่ายรวมถึงการปรับปรุงและการแก้ไขโดยไม่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก  โดยเป็นการสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีความจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงระบบเครือข่ายของบริษัทและสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งผิดพลาด  โดยพิจารณาที่ผลสืบเนื่องของงานดังกล่าวรวมถึงความหมายโดยนัยทางการเงินด้วย

ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการระบบเครือข่ายไอทีในประเทศไทยประสบกับความล่าช้ามามายาวนานซึ่งขัดขวางการปรับปรุงที่ควรจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดความผิดพลาดของเครือข่ายที่เป็นเหตุทำให้เกิดการหยุดชะงักขั้นรุนแรง


เกี่ยวกับอวาย่า
อวาย่าคือผู้ให้บริการโซลูชั่นทางด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันทางธุรกิจชั้นนำระดับโลก โดยให้บริการจัดหาระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ ระบบคอนแทคเซ็นเตอร์ ระเบบเครือข่ายและบริการที่เกี่ยวข้องให้กับบริษัททุกขนาดทั่วโลก  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดเยี่ยมชม www.avaya.com