เปิดใจ ราวินเดอร์ เรดดี้ ศิลปินระดับโลกชาวอินเดียเจ้าของผลงาน “เดอะ เฮด” ประติมากรรมฉลองครบรอบ 62 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย
ในโอกาสครบรอบ 62 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย-อินเดีย ทางประเทศอินเดียจึงได้มอบผลงานประติมากรรมระดับโลกในชื่อ “เดอะ เฮด” (THE HEAD) ซึ่งเป็นรูปปั้นศรีษะหญิงชาวอินเดีย ประดับดอกไม้บนมวยผม ขนาดใหญ่สูงถึง 4 เมตร ผลงานประติมากรรมชิ้นเอกของ มร. ราวินเดอร์ เรดดี้ ศิลปินระดับโลกชื่อดังชาวอินเดีย โดยงานประติมากรรมนี้จะจัดแสดง ณ ลานหน้าศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้โครงการ “เดอะ สคัลป์เจอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์” (THE SCULPTURE AT CENTRALWORLD) โดยงานนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และการสนับสนุนจาก หอการค้าอินเดีย-ไทย สถานเอกอัครราช- ทูตอินเดีย ร่วมกันจัดงาน โดยจะชูให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นแลนด์มาร์คของศิลปะและประติมากรรมกลางใจกรุงเทพฯ
มร. ราวินเดอร์ เรดดี้ กล่าวถึง “เดอะ เฮด” ว่า ตนได้สร้างสรรค์ “เดอะ เฮด” ผลงานขึ้นให้แก่ประเทศไทยโดยเฉพาะ ในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 62 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย-อินเดีย และยังไม่เคยนำไปจัดแสดงที่ไหนมาก่อน “เดอะ เฮด” เป็นประติมากรรมรูปศีรษะของหญิงชาวอินเดียที่มีสีสันสดใส และมีการประดับดอกไม้ลงบนมวยผม ถูกสร้างขึ้นจากโมเดลต้นแบบจากประเทศอินเดีย แล้วนำมาหล่อแบบให้เป็นผลงานประติมากรรมสูง 4 เมตร (รวมฐาน 1 เมตร) และ “เดอะ เฮด” ใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือน โดยช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญในงานประติมากรรมจำนวน 30 คน
มร. ราวินเดอร์ กล่าวถึง วัสดุที่ใช้ในการสร้างว่า “เดอะ เฮด” สร้างด้วยวัสดุบรอนซ์ทั้งหมด ตกแต่งด้วยสีอะคริลิก และใช้ไฟเบอร์กลาสในการหล่อแบบ เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความคล้ายพลาสติกมากที่สุด สามารถตั้งอยู่ในหรือนอกสถานที่ก็ได้ ที่สำคัญไฟเบอร์กลาสทนความร้อนได้ดี ส่วนที่เลือกใช้บรอนซ์ เพราะมีความคงทน อยู่ได้นานนับสิบปี และที่สำคัญวัสดุบรอนซ์มีสีทองสว่าง ให้ความรู้สึกเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาที่ให้ความรู้สึกสูงส่งสีทองสามารถสะท้อนถึงมิติของโครงสร้างและรูปลักษณ์ใบหน้าได้อย่างชัดเจน
“ผลงานส่วนใหญ่ของผมจะเป็นประติมากรรมแบบฮินดู ผสานความรู้สึกแบบ Contemporary Pop โดยเรดดี้ได้ผสมผสานความเป็นอินเดีย และความเป็น Pop Art ของ Andy Warhol (ศิลปิน Pop Art ระดับโลก) ลงไปในงานประติมากรรม สิ่งที่ทำให้งานของเขาแตกต่างจากศิลปินท่านอื่นจนได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่มี ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ก็คือ ปัจจุบันสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ค้นหาจะเป็นศิลปะแบบคอนเทมโพรารี่ แต่งานของเรดดี้จะเป็นศิลปะแบบโมเดิร์น คอนเทโพรารี่ มีกลิ่นอายของความเป็นพื้นเมืองอยู่, มีความชัดเจนในรูปลักษณ์ของผลงาน,มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แตกต่างจากผลงานของศิลปินท่านอื่นๆ” มร.ราวินเดอร์ กล่าว
สำหรับ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ว่า “เดอะ เฮด” จะเป็นตัวแทนของผู้หญิงชาวอินเดียที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป ผู้หญิงที่เลือกมาเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เป็นผู้หญิงมีอายุ ธรรมชาติของผู้หญิงอินเดียมักจะเกล้ามวยผม และประดับด้วยดอกไม้พื้นเมืองซึ่งหาได้ทั่วไปในท้องถิ่น ที่สำคัญมีลักษณะคล้ายดอกไม้ไทยด้วย และถึงแม้ว่าหน้าตาของ “เดอะ เฮด” จะเป็นอินเดีย แต่ก็สามารถทำให้ทุกชาติทุกภาษาเข้าใจตรงกันได้ สำหรับต้นแบบที่ใช้ในการสร้าง “เดอะ เฮด” เป็นผู้หญิงที่สร้างขึ้นจากจินตนาการของเขาเอง ไม่มีตัวตน และเขากำลังตามหาผู้หญิงคนนี้อยู่เช่นกัน
มร.ราวินเดอร์ กล่าวว่า อยากให้คนที่มาชมผลงานเกิดความรู้สึกอยากเข้าไปสัมผัส ดูแล้วเกิดความเข้าใจทันที ไม่ต้องมีป้ายอธิบายความหมายใดๆ อยากให้คนที่มาชมเกิดความรู้สึกเชิงบวกกับศิลปะ เพราะงานของตนเป็นงานที่เข้าถึงง่าย ไม่ต้องปีนบันไดดู และจากผลตอบรับของคนทั่วไปเมื่อได้ชม “เดอะ เฮด” แล้ว มีความรู้สึกว่าเขาตั้งใจดู ไม่กลัวผลงาน และกล้าที่จะสัมผัสชิ้นงาน อีกทั้ง สถานที่ตั้งในบริเวณใกล้เคียงเซ็นทรัลเวิลด์ มีอารมณ์และบรรยากาศของความเป็นอินเดีย เกี่ยวกับเทพเจ้าที่ชาวอินเดียบูชาตั้งไว้อยู่หลายแห่ง เช่น พระตรีมูรติ และพระพรหม จึงทำให้เหมาะสมกับความเป็นแลนมาร์คของงานศิลปะชิ้นนี้ ได้อย่างลงตัว” ศิลปินผู้สร้างสรรค์ “เดอะ เฮด” กล่าว
ราวินเดอร์ เรดดี้
ศิลปินระดับโลกชาวอินเดีย
1990-2007 Atandhra University, Visakhapatnam
อาจารย์สาขาวิชาออกแบบประติมากรรม
1984 Royal College of Art, London
ประกาศนียบัตรสาขาวิชาเซรามิค
1983 Goldsmith College of Art, University of London
อนุปริญญาสาขาวิชาออกแบบประติมากรรม
1982 M.S. University, Vadodara
จบการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิชาออกแบบประติมากรรม
ผลงานของราวินเดอร์ เรดดี้ ส่วนใหญ่จะเป็นประติมากรรมแบบฮินดู ผสานความรู้สึกแบบ Contemporary Pop โดยเรดดี้ได้ผสมผสานความเป็นอินเดีย และความเป็น Pop Art ของ Andy Warhol (ศิลปิน Pop Art ระดับโลก) ลงไปในงานประติมากรรม โดยรูปแบบงานศิลปะที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับเร้ดดี้จะเป็นประติมากรรมรูปศรีษะของหญิงชาวอินเดีย ที่มีสีสันสดใส และมีการประดับดอกไม้ลงบนมวยผม ซึ่งเรดดี้ได้นำแนวคิดนี้มาออกแบบประติมากรรมให้กับโครงการ The Sculpture at CentralWorld ที่จะนำมาจัดแสดงที่บริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ด้วย
อัจฉริยะภาพทางศิลปะของราวินเดอร์ เรดดี้ ได้รับการยอมรับอย่างสูง เห็นได้จากรางวัลระดับชาติมากมายที่เขาได้รับ รวมทั้งรางวัล Senior Fellowship จากกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศอินเดีย ในปี 1995, LKA Awards ใน ปี 1980, Sanskriti Award in New Delhi ในปี 1990 นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการของเขาที่จัดแสดงที่หอศิลปะระดับโลกมากมาย อาทิ Victoria and Albert Museum London, Queensland Art Gallery Australia, National Gallery of Modern Art India, Fukuoka Asian Art Museum Japan
RAVINDER REDDY
Ravinder Reddy was born in Suryapet village, Andhra Pradesh in 1956. He did his B.A. and M.A. in sculpture at M.S. University, Baroda (1975-82), the later period of which saw his body and clothe is impressions influenced by Pop Art and simplified, smoothly bulging shapes of a fluid vegetal, animal and human character playfully suging a surge of life forces. These were followed by high relieves and all round sculptures depicting contemporary city girls interpreted in warm humor through al sions to Mathura yakshis. Overly sexual, even challenging and threatening, these modern statues of lust and fertility are loud, perhaps vulgar, yet naively defiant and expectant also of tenderness and reveal raw feelings under a crude, filmy glamour. There is a deep, physical immediacy in them which conveys emotions and associations of meaning. Reddy's earlier platters and fiberglass works subdued inner properties of the materials covering them in flat car paint in order to retain only those traits which would emphasize the subjects' own palpability.
Between 1982 and 84 Reddy studied in London sculpture at Goldsmith College of Art and Ceramics at the Royal College of Art adding terracotta to fiberglass as his steady medium. From 1984 to 90 he was a faculty member, then assistant director of the Kanoria Centre for Arts, Ahmedabad, eventually moving to teach sculpture atandhra University, Visakhapatnam. By the later' 80's he was doing free-standing, oversize heads and relief figures of nude women and lover couples in a gradually varied, steady development from the style which yet more inherently blended an archaic and classic rooted ness with present day sensuous ways on the popular plane. His contemporary nymphs - from coy adolescent girls to sated middle-aged house wives, often gilded or painted in iconic colours like blues, are massive and monumental, but intimately exposed. They look at the viewer directly with their large, open eyes, almost hypnotically. Utterly tactile, fluid and powerfully synthesized, yet with a capacity for delicate, nuances detail or splashed under kitschy, oily pigments and garish ornament, they are also soft, enchanted, pleased and serene. Although presented with a dose of irony and witticism, the aggressive ribald, apparitions exude endurance, love, dreaming and sustenance, perhaps and indistinct sense of being set within social moulds.
Reddy's solo exhibitions were held at Art Heritage, New Delhi and Bombay 198 1, Contemporary Art Gallery, Ahmedabad 1982, Max Muller Bhavan Hydrabad 1989, CCA, New Delhi 1990, Sakshi Madras, Bangalore 1095-96, Sculpture, New Delhi 1995, Traditions/ Tensions, Asia Society, New York 1996. He has received junior and senior fellowship from the Department of Culture, Government of India 1991-93, 1995- 97, LKA awards in Gujrat 1980 and national one 1980, a Sanskriti Award in arts New Delhi 1990.