sianbun on October 11, 2009, 11:03:03 AM
เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่  7

ขอเชิญร่วมลอยละล่องสู่ความหฤหรรษ์บนแผ่นฟิล์มกับเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯครั้งที่ 7 สวรรค์ของคนรักหนัง “เจ้านกกระจอก” หนังไทยได้รับเลือกเปิดเทศกาล ปิดท้ายด้วยหนังเพลงจากสวิส ตามรอยเร้กเก้ถึงถิ่นกำเนิดจาไมก้า   นายเกรียงศักดิ์ ศิลากอง ผู้อำนวยการเทศกาลภาพยนตร์โลกฯ กล่าวถึงภาพรวมของเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯครั้งที่ 7 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 6-15 พฤศจิกายนนี้ว่า เปรียบดั่งสวรรค์ชั้นเจ็ดของคนรักหนังผู้มีความสุขที่สุดเพราะได้ดูหนังชั้นดีจากทั่วโลก โดยในปีนี้ได้เพิ่มสายหนังใหม่อีกสองสาย เพื่อเฉลิมฉลองก้าวย่างใหม่สู่ความสดใสมีชีวิตชีวาและความโดดเด่นเฉพาะตัวยิ่งขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นเทศกาลภาพยนตร์ของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง   ขบวนภาพยนตร์ที่จะพาเหรดมาฉายในเทศกาลในปีนี้มีกว่า 100 เรื่อง แบ่งเป็น 8 สายหลัก คือ Asian Contemporary ภาพยนตร์เอเชียร่วมสมัย Cinema Beat ขยับเท้าก้าวตามจังหวะภาพยนตร์โลก Cine Latino ภาพยนตร์หาชมยากจากลาตินอเมริกา Doc Feast ลิ้มรสภาพยนตร์สารคดีจากทั่วโลก Short Wave พื้นที่ภาพยนตร์สั้นจากทั่วโลก และเพิ่มความเร้าใจกับ 2 สายภาพยนตร์ใหม่แกะกล่องคือ Guts Nuveau สายภาพยนตร์ทดลอง-นิวมีเดีย กับ Music & Dance A LA CART สายภาพยนตร์ดนตรี และท้ายสุดคือสายภาพยนตร์ยกย่องผู้กำกับ นำเสนอผลงานของอแลง ตองแนร์ (Alain Tanner)จากสวิสเซอร์แลนด์    ภาพยนตร์โดดเด่นมากมายที่พลาดไม่ได้ อาทิ To Die Like A Man จากโปรตุเกสที่ได้รับเสียงชื่นชมอย่างล้นหลามในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ Zift ฟิล์มนัวร์เรื่องดัง ตัวแทนออสการ์จากประเทศบัลแกเรีย Gulabi Talkies ภาพยนตร์ดราม่า-คอมเมดี้จากอินเดีย ที่ผสมผสานเรื่องราวความขัดแย้งและความอบอุ่นเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว The Wind and The Water ภาพยนตร์จากประเทศปามานา ซึ่งผู้ชมชาวไทยน้อยคนมีโอกาสได้ชม และ Home จากสวิตเซอร์แลนด์ที่กวาดรางวัลจากหลากหลายเวทีทั่วโลก    สายภาพยนตร์ยกย่องผู้กำกับ ได้รับการสนับสนุนจากสวิสฟิล์มอาร์ไคฟ์ และสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และแม้ว่าตองแนร์ ผู้กำกับระดับตำนานในวัย  80 ปี จะไม่สามารถเดินทางมาร่วมเทศกาล ฌอง ลุค บิโด  (Jean-Luc Bideau) ดาราชื่อดังจากประเทศเดียวกัน ก็ได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นตัวแทนของตองแนร์ พร้อมแนะนำภาพยนตร์ 6 เรื่องเด่นของตองแนร์ซึ่งมีบางเรื่องที่เขาร่วมแสดงด้วย คือ  The Salamande , Jonah Who Will be 25 in The Year 2000, Charel, Dead or Alive, Messidor, In The White City และ Light Years Away    แขกรับเชิญคนสำคัญอื่นๆ ที่จะมาร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์โลกในปีนี้ อาทิ เจา เปโดร โรดริเกสต์ (Jao Pedro Rodrigues) ผู้กำกับชาวโปรตุกีสต์ ที่มีภาพยนตร์เข้าร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์สดๆ ร้อนๆ และ ไฉ้หมิงเลี่ยง (Tsai Ming Liang) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวไต้หวัน ซึ่งสร้างผลงานเอกอุประดับวงการภาพยนตร์โลกมากมาย โดยเทศกาลจะจัดฉายภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาด้วย นั่นคือ Face ซึ่งถ่ายทำในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ว์ ประเทศฝรั่งเศส ร่วมแสดงโดยดาราชื่อดัง อาทิ หลี่คังเชง (Lee Kang Sheng) แฟนนี่ อาร์คดอง (Fanny Ardent) และ ฌอง ปิแอร์ เลโอด์ (Jean Pierre Leaud)   ในส่วนภาพยนตร์ไทยซึ่งเทศกาลให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องนั้น  ปีนี้ "เจ้านกกระจอก " ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองปูซาน 2009 ประเทศเกาหลีใต้ จะเป็นภาพยนตร์เปิดเทศกาลพร้อมกับเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ในประเทศไทย   อโนชา เป็นผู้กำกับหญิงหนึ่งเดียวชาวไทย ที่เคยมีผลงานภาพยนตร์ได้รับคัดเลือกเข้าฉายอย่างเป็นทางการในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2006 ในสายนักศึกษา จากภาพยนตร์สั้นเรื่อง Graceland เธอเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ดาวรุ่งที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องและได้รับการคาดหวังว่าจะสร้างชื่อเสียงให้กับวงการภาพยนตร์ไทยในอนาคต   “เจ้านกกระจอก” เป็นผลผลิตจากโครงการสัมมนาภาพยนตร์ “โพรดุยร์ โอ ซุด กรุงเทพฯ” ซึ่งเทศกาลจัดร่วมกับเทศกาลภาพยนตร์เมืองน็องต์ และองค์การสัมมนาโพรดุยร์ โอซุดประเทศฝรั่งเศสทุกสองปี โดยโครงการ “เจ้านกกระจอก” ได้รับคัดเลือกเข้าสัมมนาเพื่อการต่อยอดในปี 2549   พิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์โลกกรุงเทพฯ จะจัดขึ้นที่บริเวณลานอินฟินิตี้ฮอลล์ ชั้น 5 โรงภาพยนตร์ พารากอน ซินีเพล็กซ์ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.00 น.

สำหรับภาพยนตร์ปิดเทศกาล เป็นสารคดีดนตรีสุดสนุก ที่จะทำให้ผู้ชมโยกย้ายร่างกายไปกับจังหวะเร่าร้อนของดนตรีเร้กเก้จากถิ่นกำเนิดประเทศจาไมก้า นั่นคือ Rocksteady: The Roots of Reggae จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพิธีปิด จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2552 ที่ลานดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัพเวอรี่  สำหรับกิจกรรมหลากหลายในเทศกาลปีนี้ อาทิ Celebrity Look Alike เชิญคนหน้าเหมือนมาประชันโฉม จะจัดขึ้นในวันปิดเทศกาล ส่วนกิจกรรมการประกวดโปสเตอร์เทศกาลภาพยนตร์โลกฯครั้งที่ 7 ที่มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดอย่างล้นหลามนั้น จะประกาศผลผู้ชนะในวันที่ 19 ตุลาคม 2552 ทางเวปไซต์ของเทศกาลและสื่อต่างๆในเครือเนชั่น

เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ 2552 ร่วมจัดโดย  สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม   หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น หนังสือพิมพ์ เดลี่ เอ็กซ์เพรส บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์  โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท ไพโอเนียร์ อิเล็กโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซีเคร็ท เรซิพี สยามดิสคัพเวอรี่ และ บริษัท ชาโต เดอ อาร์ต จำกัด ได้รับความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ ในประเทศไทย สวิสฟิล์มอาร์ไคฟ์ สถานทูตบัลแกเรีย สถานทูตอินโดนีซีย สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศส และสถาบันเกอเธ่ มีพันธมิตรสื่อคือ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ทรูฟิล์มเอเชีย นิตยสารแฮปเพนนิ่ง นิตยสารไบโอสโคป และนิตยสาร มิวสิค แอนด์ อาร์ต   เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 จะมีขึ้นที่โรงภาพยนตร์พารากอน ซินีเพล็กซ์ ระหว่างวันที่ 6 - 15 พฤศจิกายน 2552 บัตรเข้าชมราคา 100 บาท นักเรียนนักศึกษาราคา 50 บาท ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.worldfilmbkk.com

sianbun on October 11, 2009, 11:03:32 AM
The 7th World Film Festival of Bangkok “Film Lovers' heaven”, November 6 to 15, 2009 at Paragon Cineplex

   With around 100 movies screening over 10 days, the 7th World Film Festival of Bangkok is set for November 6 to 15, 2009 at Paragon Cineplex, opening with the new independent Thai drama “Jao Nok Krajok” (“Mundane History”) and closing with Jamaican rhythms in an outdoor screening of the documentary “Rocksteady: The Roots of Reggae”.  “The seventh year of the World Film Festival of Bangkok could be recognized as the seventh heaven of film lovers,” says festival director Kriengsak Victor Silakong. “The increasing number of quality and fun movies shown during the festival is evidence of the continuous development of the World Film Festival of Bangkok – the film festival for the creative and innovative generation.”    Each year, more and more filmmakers want to be part of the WFFBKK, and this year around 100 features and shorts will be showing in eight sections: Asian Contemporary, Cinema Beat, Cine Latino, Doc Feast, Short Wave, Guts Nouveau, Music & Dance a la Carte and Retrospective.  Alain Tanner, the veteran Swiss director, will be praised in the Retrospective section. Six movies by the 80-year-old filmmaker will be shown: “Charles, Dead or Alive” (1969), “The Salamande” (1971), “Jonah Who Will be 25 in The Year 2000” (1976), “Messidor” (1979), “Light Years Away” (1981)  and “In The White City” (1983).   Actor Jean-Luc Bideau will attend the festival as Tanner’s representative. One of Switzerland’s most talented and prolific actors, he starred in “Charles, Dead or Alive”, “The Salamande” and “Jonah Who Will be 25 in The Year 2000”.   The Retrospective section is supported by the Swiss Film Archive and the Embassy of Switzerland in Thailand.  “Must-see” movies in the festival include “To Die Like a Man” from Portugal, the Bulgarian film noir “Zift” by Javor Gardev and “Gulabi Talkies” a Kannada-language drama-comedy by Indian director Girish Kasaravalli. There’s also “The Wind and the Water”, a Sundance nominee from Panama and “Home” from Swiss director Ursula Meier.   Among the festival guests will be Tsai Ming-liang, one of the most celebrated directors of Taiwanese cinema. The festival will show Tsai’s latest work, “Face” (“Visage”), which was shot in Paris’ Louvre museum and features a cast of big names from France and Taiwan, including Fanny Ardant, Laetitia Casta, Jean-Pierre Léaud and Lee Kang-sheng.   “To Die Like Man” director João Pedro Rodrigues will also come for the festival. The opening film “Jao Nok Krajok” (“Mundane History)” is the first feature from Thai independent director Anocha Suwichakornpong. The production received support from the 2006 Produire au Sud Bangkok, the biennial workshop for new producers and directors in Southeast Asia and Sri Lanka held by the Produire au Sud Foundation of the Festival of 3 Continents, the French Embassy in Thailand and the WFFBKK since 2004.  Anocha, well respected in the world cinema scene for her short films, built her reputation on 2006’s “Graceland”, the first Thai short film to be included in the Official Selection at the Cannes Film Festival.
The opening celebration of the 7th World Film Festival of Bangkok will be held in the Infinity Hall of Paragon Cineplex on November 6, 2009 at 6pm.   
 The closing celebration will be held on November 15, 2009 in Discovery Plaza at Siam Discovery Centre with a “Celebrity Look Alike” competition for people who believe they closely resemble famous stars.  The closing film, “Rocksteady: The Roots of Reggae”, is a Swiss documentary that traces the origins of Jamaican pop music. It’ll be a free, open-air screening.  The 7th World Film Festival of Bangkok is co-organized by Office of Contemporary Art and Culture, the Ministry of Culture, The Nation, Daily Xpress, Major Cineplex Group Plc and Paragon Cineplex.   It is sponsored by Singha Corporation Co., Ltd., Thai Life Insurance Co., Ltd., the Tourism Authority of Thailand, Pioneer Electronics (Thailand) Co., Ltd., Secret Recipe, Discovery Plaza, Siam Discovery and Chateau De Art Co., Ltd. with cooperation by foreign embassies in Thailand and special cooperation by the Embassy of the Republic of Bulgaria, the Embassy of the Republic of Indonesia, the Swiss Film Archive, the Alliance Française and the Goethe-Institut Bangkok. Other media support comes from Mcot Public Company Limited, True Film Asia, Happening magazine, Bioscope magazine and Music & Art magazine.  The 7th World Film Festival of Bangkok will be held at Paragon Cineplex from November 6 to 15, 2009. Tickets are 100 baht (50 baht for students).   Awards for the 7th WFFBKK Poster Competition will be announced on October 19 via the festival website and all media in the Nation Group. For more information, please visit www.worldfilmbkk.com.

sianbun on October 11, 2009, 11:04:05 AM
ทำความรู้จักกับ อแลง ตองแนร์

อแลง ตองแนร์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์สวิส เขาเป็นกุญแจดอกสำคัญของยุค นิว สวิส ซีนีมา ที่ถือกำเนิดในช่วงปลาย 60 ต่อต้น 70  ซึ่งก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างอักโขต่อภาพยนตร์สวิตเซอร์แลนด์ ภาพยนตร์ของเขามักมุ่งวิพากษ์สังคมและความยุติธรรม ผ่านเรื่องราวของมนุษย์น้อยใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากมัน

ตองแนร์ เกิดในปี 1929 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาจบการศึกษาด้านเศรษกิจและสังคม ตองแนร์ในวัย 23 ปี ถูกเรียกตัวไปเป็นทหารประจำการยังเรือเดินสมุทรที่เดินทางไปยังอัฟริกาตะวันตก หลังจากการสั่งสมประสบการณ์ชีวิตกลางทะเลลึกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เขากลับสู่สวิตเซอร์แลนด์ดินแดนมาตุภูมิระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะออกเดินทางต่อไปยังลอนดอนประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นระหว่างปี 1955 ถึงปี 1958 ช่วงเวลา 3 ปี ในลอนดอน ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการบ่มเพาะเมล็ดพันธ์แห่งความรักในภาพยนตร์ให้กับตองแนร์ กิจวัตรของเขาคือการเดินเข้าออกซีนีมาเธคแห่งลอนดอนเพื่อชมภาพยนตร์ ซึ๋งที่นี่เองที่ทำให้เขาได้สร้างความสัมพันธ์กับนักวิจารณ์และกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มขับเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยภาพยนตร์อังกฤษ( The British “Free Cinema”move-ment) หรือที่รู้จักกันในนามบริติช นิวเวฟ ซึ่งสมาชิกบางคนในกลุ่ม ในเวลาต่อมาได้ก้าวไปเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมปฏิวัติวงการภาพยนตร์อังกฤษ เช่น ลินด์เซย์ แอนเดอร์สัน และ คาเรล เรอิส โดยสิ่งที่พวกเขาสนใจร่วมกันเป็นพิเศษคือ การวิเคราะห์วิจารณ์และประเด็นการเมืองที่แฝงเร้นในภาพยนตร์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากนักการละครชื่อก้องชาวเยอรมัน เบอร์ทอลท์เบรคชท

ในปี  1957 เขาร่วมกับเพื่อนสนิทชาวสวิส คล็อด กอเลตตา ร่วมกันสร้างหนังเรื่องแรกคือ Nice Time ซึ่งถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตและสรรพสิ่งในยามค่ำคืนของถนนพิคคาเดลลี่ จนกระทั่งในปี 1960 เขากลับสู่สวิตเซอร์แลนด์อย่าถาวร  และเข้าทำงานกับสวิส เทเลวิชั่นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้ลงมือทำสารคดีหลายต่อหลายเรื่อง ที่ถ่ายทอดออกมาในแบบสัจนิยมจริงแท้ หรือซีนีม่า เวรีเต้ แนวทางสารคดีที่ตีแผ่ความจริงโดยไม่ผ่านการปรุงแต่งใดๆ  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มสารคดีซีนีมา เวรีเต้ ที่มีบทบาทสำคัญต่อภาพยนตร์ฝรั่งเศสในปลายยุค 60 ภายใต้การนำของนักมานุษยวิทยาคนสำคัญ ฌอง รูซ

ระหว่างปี 1965 ถึง 1968 กับสวิส เทเลวิชั่น ตองแนร์ทำหนังออกมามากมายและหลากหลายเนื้อหา รวมถึง Docteur B, medecin de campagne ในปี 1968 ที่บอกเล่าชีวิตประจำวันของแพทย์ในชนบทของสวิตเซอร์แลนด์ และ A City of Chandigarh สารคดีเกี่ยวกับผลงานสถาปัตยกรรมในอินเดียของ Le Corbusier สถาปนิกชื่อก้องชาวสวิส-ฝรั่งเศส ตองแนร์ทำงานให้กับ สวิส เทเลวิชั่น จนกระทั่งปี 1968 ซึ่งนี่เองเป็นจุดสิ้นสุดชีวิตการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์อิสระของเขาด้วย

ในปี 1968 นี้เอง เขาร่วมกับเพื่อนผู้กำกับภาพยนตร์หัวก้าวหน้าชาวสวิสอีก  4 คน ประกอบด้วย คล็อด กอเลตตา มิเชล ซุตแตร์  ฌอง หลุยส์ รอย และฌอง ฌาคส์ ลากรังเก้ ก่อตั้งกลุ่มภาพยนตร์ที่ชื่อว่า กรุ๊ป 5 ซึ่งภาพยนตร์ที่สร้างโดยกลุ่มนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติวงการภาพยนตร์สวิตเซอร์แลนด์ ไม่ต่างจากกลุ่ม เฟรนช์ นิวเวฟ ของฝรั่งเศส และบริติช นิวเวฟ จากอังกฤษ

ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของตองแนร์์ Charles, dead or alive ที่สร้างในปี 1969ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองลอการ์โน่ รวมถึงภาพยนตร์ 2 เรื่องถัดมาคือ The Salamander (1971) และ Jonah Who Will Be 25 in the Year 2000 (1976) ร่วมเขียนบทโดยนักเขียนและนักวิจารณ์ศิลปะฝ่ายซ้ายชื่อดังชาวสวิส จอห์น เบอเกอร์(John Berger) ภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องอุดมไปด้วยแนวคิดเชิงอุดมคติและความใฝ่ฝันในสังคมยูโทเปีย ถ่ายทอดผ่านการผสมของสองแนวทางภาพยนตร์  2 ขั้ว ทั้งความบริสุทธิของภาพยนตร์แบบซีนีม่า เวริเต้และกลิ่นอายของความแฟนตาซี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการสร้างระยะห่างกับคนดูและทำให้ตระหนักอยู่ตลอดว่าสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้านั้นคือภาพยนตร์ ทำให้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับงานละครของเบอร์ทอลท์เบรคชท อยู่บ่อยครั้ง โั้ดยทั้งหมดนำแสดงโดย ฌอง ลุค บิโด (Jean-Luc Bideau)ที่ต่อมาเป็นนักแสดงเจ้าประจำของเขา และเป็นนักแสดงคนสำคัญตลอดกาลคนหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์

ปัจจุบัน อแลง ตองแนร์ ในวัยกว่า 80 ปี ได้รังสรรค์ผลงานภาพยนตร์ออกมามากกว่า 40 เรื่อง ภาพยนตร์เรื่องโดดเด่นเรื่องอื่นๆ อาทิ  Messido (1979), Light Years Away (1981), In the White City (1983) รวมถึง Jonah and Lila, til Tomorrow (1999) เรื่องราวที่เป็นภาคต่อของ Jonah Who Will Be 25 in the Year 2000


เรื่องย่อภาพยนตร์ของ อแลง ตองแนร์ ที่จะฉายในเทศกาล


Charles, Dead or Alive
Switzerland / 1969 / 93min / B&W

ชาร์ลส์ นักธุรกิจวัยกลางคน  ผู้กำลังวิตกอยู่กับเรื่องความยุติธรรมที่ให้กับคนงานในกิจการ   ในวันครบรอบการก่อตั้งบริษัท เขาตัดสินใจละทิ้งบ้านและธุรกิจไว้เบื้องหลัง และออกเดินทางไปกับรถคู่ชีพอย่างไร้จุดหมาย  ณ ที่แห่งหนึ่งเขาได้พบกับสองสามีภรรยาหัวปฏิวัติ  ที่ชักชวนเขาไปร่วมหัวจมท้ายในบ้านหลังเล็กห่างไกลผู้คน  ทั้งสามดำเนินชีวิตวันๆอย่างไร้แก่นสาร  ซึ่งทำให้ชาร์ลส์ได้เรียนรู้ความหมายหลากหลายสิ่งในชีวิตที่เขาไม่เคยแม้แต่เฉียดเข้าใกล้  ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งฝ่ายลูกชายหัวโบราณกำลังวางแผนการบางอย่างเพื่อเข้าครอบครองกิจการเสียเอง

The Salamander
Switzerland / 1971 / 128 min / B&W

ปิแอร์ นักเขียน ร่วมกับเพื่อน นักหนังสือพิมพ์ พอล สืบหาความจริงในคดีฆาตกรรมที่ โรสมอนเด้ เด็กสาวชนชั้นแรงเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ฆาตกรรมลุงของตัวเอง ผ่านการสัมภาษณ์เด็กสาวและเค้าลางจากหลักฐาน เธอยืนกรานปฏิเสธว่าเป็นอุบัติเหตุขณะที่ลุงของเธอทำความสะอาดปืนไรเฟิล แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไรนั้นไม่ใช่ประเด็นที่เขาทั้งสู่สนใจ  แต่เป็นการเจาะลึกสู่ตัวตนและความสัมพันธ์ของเธอและลุงของเธอนั่นคือสิ่งที่สองหนุ่มเฝ้าค้นหา

Jonah Who Will Be 25 in the Year 2000
Switzerland, France / 1976 / 116 min / Colour, B&W

การปฏิวัติในปี 1968 ได้ส่งแรงกระเพื่อมต่อชีวิตของชนยุโรปในชั่วขณะหนึ่ง กลุ่มหนุมสาวชาวสวิส  8 ชีวิตก็เป็นหนึ่งในนั้น  พวกเขาล้วนแล้วแต่เป็นปัญญาชนผู้มีความหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่สังคมอุดมคติ และเมื่อหนึ่งในนั้นได้ถือกำเนิดทารกขึ้น  พวกเขาคาดหวังว่าสิ่งนั้นจะเป็นจริงเมื่อเด็กน้อยอายุครบ   25  ในปี 2000


Messidor
Switzerland, France / 1979 / 130 min / Colour

ณานและมารี สองสาวต่างพื้นเพที่บังเอิญพบกัน ทั้งคู่พบว่าชีวิตวัยรุ่นของตนนั้นสุดแสนจะน่าเหนื่อยหน่าย ทั้งสองจึงตัดสินใจโบกรถเพื่อเดินทางอย่างไร้จุดหมายนานเท่านานจนกว่าจะพอใจ แต่เพียงแค่สองวันให้หลังเงินติดกระเป๋าของสองสาวหมดไปกับค่าอาหารและโรงแรม  โรงฆ่าสัตว์นั้นเป็นที่พึ่งสุดท้ายในการหลับนอนและเทียวขอเงินจากผู้คนบนท้องถนน  ในวันหนึ่งการค้นพบในสิ่งที่ไม่คาดฝันนำพาชีวิตทั้งสองไปสู่ความยุ่งยาก


Light Years Away
Switzerland, France / 1981 / 110 min / Colour

ดัดแปลงจากนิยายของ Daniel Odier เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มเร่ร่อนที่บังเอิญสานสัมพันธ์กับชายแก่วิกลจริต ผู้อ้างตัวว่าครั้งหนึ่งเคยถูกสอนให้บินโดยหมู่นกบนฝากฟ้า เขาชักชวนให้เด็กหนุ่มมาร่วมสร้างเครื่องร่อนที่สามารถพาร่างของมนุษย์ลอยล่องขึ้นสู่ขอบฟ้าเฉกเช่นนกได้


In The White City
Switzerland / 1983 / 108min / Colour

พอล หนุ่มช่างเครื่องผู้เหนื่อยหน่ายกับชีวิตเส็งเคร็งบนเรือที่ไม่ต่างจากโรงงานลอยน้ำที่เต็มไปด้วยเหล่าคนวิกลจริต เขาตัดสินใจละทิ้งเรือในค่ำคืนหนึ่งริมฝั่งลิสบอน  เช่าห้องซอมซ่อโดดเดี่ยวตัวเองอยู่กับความว่างเปล่า และเฝ้าเขียนจดหมาย พร่ำพรรณนาถึงความโดดเดี่ยวและเปลี่ยวเหงาในเมืองท่าอันพลุกพล่านแห่งนี้  พร้อมกับวีดีโอ ที่บันทึกจากกล้อง 8 มม.คู่ใจ  ถึงสาวคนรักที่อยู่ห่างไกลถึงสวิตเซอร์แลนด์ แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เริ่มคลอนแคลน เมื่อ พอล เกิดพบรักเข้ากับ โรซ่า หญิงทำความสะอาดที่เขาพบเจอในบาร์ใกล้ท่าเรือในคืนหนึ่ง

Alain Tanner's Biography

Born in Geneva in 1929, Alain Tanner studied socio-economics. At the age of 23 he enlisted in the merchant navy and was mustered by the West Africa Line in the port of Genoa.

After this very formative experience on the high seas, he returned briefly to Switzerland, then set off for London, where he lived from 1955 to 1958.It was here that he fell in love with the cinema, frequenting the Cinémathèque and making friends with critics and members of the British “Free Cinema”move-ment, such as Lindsay Anderson and Karel Reisz. With them he shared an interest in the critical and political dimension of the cinema, inspired largely by Bertolt Brecht.

In 1957, he made his first film in London with his friend Claude Goretta. This 16-mm short, entitled Nice Time, featured the night life of the Piccadilly district. In 1960, Alain Tanner returned permanently to Switzerland, where he was commissioned to make a number of documentaries in the cinéma vérité style of the time. This was the beginning of a long period of collaboration with Swiss television.

From 1965 to 1968, Tanner made films on a wide range of subjects, including Docteur B, médecin de campagne(1968), on the daily life of a doctor in the Swiss countryside, and Une ville à Chandigarh(1966),on the work of the architect Le Corbusier in India. Tanner’s work for Swiss television came to an end in 1968, when he embarked on his career as an independent director. In that year, he founded Groupe 5 in conjunction with four other Swiss filmmakers: Claude Goretta, Michel Soutter, Jean- Louis Roy and Jean-Jacques Lagrange. Since 1969,Alain Tanner has made 20 full-length films, the most recent being Paul s’en va(2004).

 


Retrospective: Alain Tanner, WFFBKK 2009

Charles, Dead or Alive
Switzerland / 1969 / 93min / B&W

Charles is a middle aged business man who runs an inherited company. On the anniversary of his company's founding, he finds himself suffering from depression and wishes more could be done for the workers. After he expresses his views to a television reporter, Charles leaves home and his business behind. His conservative son is horrified at his father's behavior when he takes up with an anarchistic couple who push his car over a cliff in a symbolic gesture of material rejection. The man encourages Charles to make love to his wife, but Charles is reluctant. Charles's daughter sees him with the couple and is delighted he shares in her liberal thinking. His son tries to have Charles comitted to an asylum if he will not sign over control of the company in this satirical social commentary.

The Salamander
Switzerland / 1971 / 128 min / B&W

TV journalist reads of a lawsuit, dropped for lack of evidence, in which a girl is accused of deliberately shooting (and wounding) her uncle. For some reason, this piques his interest, and the journalist even goes so far as to talk a novelist friend of his into joining him in researching the incident. As their research and interviews proceed, it becomes clear that they have no interest in the actual truth of the incident, but are more concerned to dig deeply (each in his own way) into the characters of the girl and her uncle. One memorable scene has the girl, while serving as a shoe store salesperson, fondling the legs of her customers.


Jonah Who Will Be 25 in the Year 2000
Switzerland, France / 1976 / 116 min / Colour, B&W

The revolutionary upheaval of 1968 rocked Europe, and led to many changes. For a while, it was possible to think that the radical idealism of the youth protests would finally take form in the world. In this film, eight people in their late tweties and early thirties try to keep the radical flames burning. From a man continuing his mystic quest to a Robin Hood-like grocery worker, each of them seeks an alternative to the mainstream vision. One of them is married, and his child Jonah, born that year, will be 25 in the year 2000.


Messidor
Switzerland, France / 1979 / 130 min / Colour

During the heyday of the French Revolution, the days of the week and the names of months and seasons were renamed in an attempt to deepen the effects of the rebellion through linguistic means. Messidor was the name given to the harvest season at that time. In this story, two contemporary Swiss girls are called the "Messidor sisters" by a policeman, indicating that they grew up in prosperity. Despite the comfortably banal outward appearance that the two have serene and secure lives, the girls experience many difficulties, including an attempted rape.


Light Years Away
Switzerland, France / 1981 / 110 min / Colour

In this quirky drama, a young man gets involved with an eccentric, elderly man attempting to build a one-man flying machine in his garage.



In The White City
Switzerland / 1983 / 108min / Colour

A Swiss sailor jumps ship in Lisbon, tired of the noisy engine room, the ship "a floating factory of crazy people." He rents a room and does little. He writes letters to his lover, describing the whiteness of the city, the solitude and the silence. He sends his love and emptiness; she replies with love and confusion. He sends movies from his 8mm camera. Then he becomes friendly with Rosa, a chambermaid, and soon it's a love affair. He continues to send letters and movies home. His Swiss lover is hurt and angry; she sends an ultimatum.
« Last Edit: October 11, 2009, 11:05:58 AM by sianbun »

sianbun on October 11, 2009, 11:04:42 AM
เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ มีเจตนารมณ์ในการนำเสนอภาพยนตร์คุณภาพที่อยู่นอกเหนือจากภาพยนตร์กระแสหลักจากทั่วโลกสู่สายตาผู้ชม มุ่งหมายที่จะเป็นพื้นที่ให้กับผลงานของผู้กำกับเลือดใหม่ไฟแรง และภาพยนตร์อิสระ โดยไม่ลืมคาราวะผลงานของปรมาจารย์ เพื่อแสดงถึงความต่อเนื่องระหว่างรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมทางภาพยนตร์จากรุ่นสู่รุ่น

ทุกปีเทศกาลได้เป็นศูนย์รวมภาพยนตร์จากนานาประเทศทั่วโลกกว่า 80 เรื่อง ทั้งภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์สหภาพยุโรป ภาพยนตร์จากละตินอเมริกา เอเชีย และภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงภาพยนตร์ขนาดสั้น ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์อะนิเมชั่น ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับทิศทางของภาพยนตร์ในอนาคต

นอกจากการจัดฉายภาพยนตร์ เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯยังได้จัดให้มีการสัมมนาในหัวข้องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ อาทิ มาสเตอร์คลาส และกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจสลับสับเปลี่ยนกันในทุกปี รวมถึงการร่วมมือกับเทศกาลภาพยนตร์ 3 Continents และ กองทุน Produire au Sud จากประเทศฝรั่งเศส จัดการสัมมนาแนะแนวการหาทุนสร้างภาพยนตร์ เพื่อคัดเลือกโครงการที่น่าสนใจจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมพิจารณารอบสุดท้ายที่ประเทศฝรั่งเศส

ปัจจุบันด้วยประสบการณ์กว่า 7 ปี เทศกาลได้ก้าวเข้าสู่การเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีความสำคัญเทศกาลหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยจำนวนผู้ชมที่มีเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี รวมถึงได้ต้อนรับผู้กำกับภาพยนตร์ นักแสดง บุคคลากรด้านภาพยนตร์ และผู้สื่อข่าว จากทั่วโลกที่เดินทางเข้าร่วมเทศกาล

คณะผู้จัดงานยังคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณและเจตนารมณ์ของเทศกาลภาพยนตร์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง คือให้เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพเป็นแหล่งรวมศิลปะภาพยนตร์นานาชาติของกรุงเทพมหานคร ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งหลวงวัฒนธรรมและความบันเทิงเมืองหนึ่งของโลก

The objective of the World Film Festival of Bangkok is to introduce quality, non-mainstream films from all over the world. It aims to become a showcase for independent films and new work from rising talents to cinema masters to show the continuity from generation to generation as a vital component in the development of the film industry.

More than 80 international films are screened at the festival each year, featuring works from the European Union Film Festival, Latin America, Asia and Southeast Asia and included short films, experimental films, documentaries and animation productions - which are considered a new focus of the industry.

Apart from film screenings, there are film-related talks such as Master Class Workshop and other special events. The festival, in co-operation with the Festival of Three Continents and Produire Au Sud from France, also runs a workshop to guide film producers seeking funds for their new projects. At the end of the workshop, the most interesting film projects in Southeast Asia will be selected to receive funds and the makers will be invited to the final selection in France.

With over seven years experience, the World Film Festival of Bangkok has now become a significant film festival in Southeast Asia attracting more film industry and media from all over the world and is also attended by directors, film stars.

The organizers will continue to carry forward the spirit and intent of the festival's establishment. - that is to make the World film Festival of Bangkok a centre of international films in Bangkok, already famous as one of the world’s capital city's of culture and entertainment

sianbun on October 11, 2009, 11:06:42 AM
The Sections     Asian Contemporary    A compilation of the shooting stars of Asian cinema, including new, unique Southeast Asian talents who are creating new languages in cinema with their cultural diversities.   

รวบรวมภาพยนตร์คุณภาพจากเอเชีย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองจากโลกภาพยนตร์เป็นอย่างมากในปัจจุบัน ถ่ายทอดความโดดเด่นด้านเนื้อหา และนำเสนอความแปลกใหม่ของภาษาภาพยนตร์ และวัฒนธรรมพื้นถิ่น    Cinema Beat  Step up to the beat of films from every corner of the world, from youngbloods who share their cinematic excitement to veteran directors who still shine bright in the celluloid world.   ก้าวตามจังหวะและสีสันของภาพยนตร์โลก กับโปรแกรมที่รวบรวมภาพยนตร์จากทั่วทุกหลืบหล้า คละเคล้าทั้งภาพยนตร์จากผู้กำกับสายเลือดใหม่ที่กำลังเปล่งแสงแห่งพรสวรรค์ ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมผู้กำกับภาพยนตร์คุณภาพที่มีผลงานยืนหยัดอยู่บนเวทีมายาวนาน    Doc Feast  A door to many compelling stories through documenting cultures, politics, sciences, people, the past, the contemporary and the future of our society.   ประตูสู่โลกกว้าง พาผู้ชมไปลิ้มรสเรื่องราวต่างๆผ่านการถ่ายทอดทางแผ่นฟิล์ม ประกอบด้วยเนื้อหาหลายหลากอรรถรสไม่ว่าจะเป็น ทางวัฒนธรรม, การเมือง, วิทยาการ, ประวัติบุคคล ทั้งที่เป็นเรื่องราวในอดีต ประเด็นร่วมสมัย ซึ่งต่อยอดไปสู่อนาคต   Retrospective  Each year we put on a series of films from one master -- a great chance to look through the classic works of world cinema. In the past six years, we've shown films from Werner Herzog, Jacques Tati, Ulrike Ottinger, Percy Adlon, Jean-Pierre Jeunet, Krzysztof Kieslowski and Derek Jarman  จุดประสงค์เพื่อเชิดชูผลงานและรำลึกถึงปรมาจารย์ และผู้กำกับภาพยนตร์ระดับคุณภาพ ผู้รังสรรค์ผลงานอันเอกอุให้แก่โลกภาพยนตร์ โดยทำการฉายผลงานอันทรงคุณค่าและหาชมได้ยากยิ่ง รวมถึงเชิญผู้กำกับมาปรากฏตัวในเทศกาลเพื่อพบปะผู้ชม ซึ่งในตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เทศกาลได้ทำการจัดฉายผลงานของผู้กำกับระดับโลกมากมายประกอบด้วย แวร์เนอร์ แฮร์ซอก, จ๊าค ตาติ, อุลริเก้ อ๊อตทิงเกอร์, ฌอง ปิแอร์ เฌอเน่ต์, คิชตอฟ คิชลอฟสกี และ เพอร์ซี แอ๊ดลอน และ ดีเร็ก จาร์มาน   Tribute   We salute lifelong dedication to cinema. Past tributes have been given to Roman Polanski, Shyam Benegal, Sylvia Chang and Hector Babenco.   เพื่อยกย่องผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์และนักแสดงผู้มีผลงานอันโดดเด่นในปัจจุบัน ซึ่งเทศกาลได้ต้อนรับและจัดฉายผลงานของผู้กำกับและนักแสดงระดับโลกมาแล้วถึงห้าคน คือ โรมัน โปลันสกี, เบอร์นาโด แบร์โตลุชชี, ซิลเวีย จาง (จางอ้ายเจีย), ชยาม เบเนกัล และ เฮคเตอร์ บาเบนโก้   Guts  Nouveau  This brand-new section puts the emphasis on experimental films, video and museum arts. These are avant-garde works by new and old artists that shatter the notions of traditional cinema.   โปรแกรมใหม่แกะ กล่อง สำหรับภาพยนตร์ทดลอง งานวีดีโออาร์ต และงานนิวมีเดีย ซึ่งจะเป็นพื้นที่นำเสนอความก้าวหน้าและสุนทรียะแห่งศิลปะภาพยนตร์  ที่ท้าทายผู้ชมให้ขบคิดและขณะเดียวกันก็ดื่มด่ำจมลึกสู่ห้วงสุนทรีย์  โดยมุ่งหมายรวบรวมทั้ง งานของศิลปินรุ่นเก๋าแต่ยังไว้ลายในฝีมือ และศิลปินรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าที่กำลังเป็นก้าวย่างสำคัญ  โดยทั้งหมดไม่หยุดยั้งที่จะรังสรรค์ภาษาใหม่ให้กับโลกศิลปะภาพยนตร์          Music & Dance A LA CARTE  A mÈlange of music and dance on film that will move you. Songs and rhythm tell the stories, as all kinds of sounds and movement are explored -- jazz, rock, Latin, African, classical and more.   โปรแกรมที่เป็นการคลุกเคล้าสองส่วนผสมของแขนงศิลปะคือภาพยนตร์และดนตรีเข้าด้วยกัน  ด้วยหลากหลายภาพยนตร์ดนตรีที่พาผู้ชมไปขยับจังหวะร่างกายกับท่วงทำนองเสียงเพลงอันเร่งเร้า  พร้อมจับจ้องเรื่องราวเข้มข้นบนแผ่นฟิล์ม  ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องและสารคดี และหลากหลายแนวดนตรี ทั้ง แจ๊ส  ร็อค ป๊อบ แดนซ์ ละตินมิวสิค อัฟริกันมิวสิค ทั้งหมดเสิร์พตรงถึงผู้ชมในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ   Cine Latino  What started as a special programme is now a regular section of the World Film Festival of Bangkok. One of the most vibrant film cultures on the planet is emerging from Central and South America. This is very rare opportunity to see films from such countries as Argentina, Brazil, Chile, Costa Rica, Panama, Peru and Venezuela.  ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง กับโปรแกรมพิเศษที่รวบรวมภาพยนตร์น้ำดีหาชมยากจากภูมิภาคละตินอเมริกา  ที่มีความโดดเด่นทั้งด้านเนื้อหาและสไตล์ภาพยนตร์  ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่บ่อยครั้งนัก ที่บ้านเราจะมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์จากประเทศอย่าง ปานามา ชิลี เปรู คิวบา เวเนซูเอล่า  บราซิล อาร์เจนติน่า  คอสตาริก้าฯ    Short Wave  A platform for Thai and international short films with many new talents and top names in the film circle who have different ways to tell stories.   พื้นที่สนับสนุนผลงานภาพยนตร์สั้นทั้งไทยและนานาชาติ ทั้งผลงานของผู้กำกับรุ่นใหม่ที่ฉายแววในการก้าวเดินในเส้นทางของภาพยนตร์ขนาดยาวในอนาคต และผู้กำกับผู้ยึดมั่นอยู่กับแนวทางการถ่ายทอดมุมมองผ่านภาพยนตร์สั้น

sianbun on November 05, 2009, 11:37:06 AM
ชวนดูหนังคุณภาพในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7
 


          เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ชวนดูหนังที่จัดฉายในงาน “เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 15 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ คับคั่งด้วยภาพยนตร์คุณภาพจากทั่วทุกมุมโลกให้เลือกชมกว่า 72 เรื่อง พร้อมกิจกรรมด้านภาพยนตร์อาทิ การประกวด Celebrity Look Alike, นิทรรศการโชว์โปสเตอร์ที่ผ่านการคัดเลือกผลงานที่โดดเด่น คอหนังที่สนใจชมภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 สามารถซื้อบัตรได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ (Box Office) ที่ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สำหรับบัตรชุดราคาพิเศษเพียง 500 บาท ชมภาพยนตร์ได้ 6 เรื่อง บัตรปกติราคา 100 บาท พิเศษ...นักเรียน นักศึกษาราคา 50 บาท นอกจากนี้ สามารถซื้อบัตรออนไลน์ผ่าน www.majorcineplex.com และ www.paragoncineplex.com ได้อีกด้วย

sianbun on November 10, 2009, 07:54:26 PM
เปิดตัวเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 ภายใต้คอนเซปต์ “สวรรค์ของคนรักหนัง”




         
          เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว สำหรับ เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 หรือ “The 7th World Film Festival of Bangkok” ซึ่ง บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และ หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น, หนังสือพิมพ์ เดลี่ เอ็กซ์เพรส จัดขึ้น ภายใต้ คอนเซปต์ “สวรรค์ของ คนรักหนัง” ระหว่างวันที่ 7-15 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, อนวัช องค์วาสิฏฐ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน), เกรียงศักดิ์ ศิลากอง ผู้อำนวยการเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ และ ธนะชัย สันติชัยกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกันทำพิธีเปิดงาน พร้อมมอบรางวัล Lotus Awards ให้แก่ ไฉ้หมิงเลี่ยง ชาวไต้หวัน ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Face ซึ่งถ่ายทำในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส และ มอบรางวัลผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบโปสเตอร์เทศกาล ให้กับ พีรวิชญ์ เจริญพันธ์ นิสิตปีที่ 4 ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ณ ลานอินฟีนี ซิตี้ ฮอลล์ ชั้น 5 พารากอน ซีนีเพล็กซ์

          ในปีนี้ทางเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ได้สนองนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม ในด้านการส่งเสริมผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยหน้าใหม่ เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทยได้เติบโตและก้าวสู่ระดับนานาประเทศ ทางเทศกาลฯ จึงได้เลือกภาพยนตร์ไทยเรื่อง“เจ้านกกระจอก” เป็นหนังเปิดเทศกาล โดยเป็นภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับหญิงหนึ่งเดียวของไทย ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองปูซาน 2009 ประเทศเกาหลีใต้
 
          อโนชา เคยมีผลงานภาพยนตร์และได้รับคัดเลือกให้เข้าฉายอย่างเป็นทางการในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2006 ในสายนักศึกษา จากภาพยนตร์สั้นเรื่อง Graceland เธอเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ดาวรุ่งที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องและได้รับการคาดหวังว่าจะสร้างชื่อเสียงให้กับวงการภาพยนตร์ไทยในอนาคต

          ส่วน ไฉ้หมิงเลี่ยง เจ้าของรางวัล Lotus Awards ในปีนี้ เกิดและเติบโตที่ประเทศมาเลเซีย จากนั้นย้ายตามครอบครัวเพื่อไปเรียนหนังสือที่ประเทศไต้หวัน เขาเรียนจบภาควิชาการละครและภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยวัฒนธรรมจีน ก่อนจะเริ่มต้นทำงานเต็มตัวด้วยการเป็นผู้กำกับละครเวทีและทีวี ไฉ้หมิงเลี่ยง ทำหนังในช่วงต้นยุค 90 ในช่วงแรกเขาสนใจเรื่องความเปลี่ยวเหงาของหนุ่มสาว ความสับสนในทางวัฒนธรรม จริยธรรม และศีลธรรม จนมาประสบความสำเร็จอย่างสูงจากหนังเรื่อง Viva L’Amour ในปี 1994 ซึ่งคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซมาครอง หลังจากนั้น ไฉ้หมิงเลี่ยง ก็ทำหนังออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการให้ หลี่คังเซิง เด็กหนุ่มที่เขาพบในร้านเกม รับบทเป็นตัวนำในชื่อ เสี่ยวกัง และงานที่อื้อฉาวที่สุดของเขาก็เกิดขึ้นในปี 1997 The River เป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความแปลกประหลาดพิลึกพิลั่น อันได้แก่ฉากพ่อสำเร็จความใคร่ให้กับลูกชายตัวเอง ไฉ้หมิงเลี่ยงได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 40 ผู้กำกับภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด จากหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดี้ยน ของประเทศอังกฤษ

          พร้อมกันนี้ ทางเทศกาลฯ ยังได้เพิ่มสายหนังใหม่อีกสองสาย เพื่อเฉลิมฉลองก้าวย่างใหม่สู่ความสดใสมีชีวิตชีวาและความโดดเด่นเฉพาะตัวยิ่งขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นเทศกาลภาพยนตร์ของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง ขบวนภาพยนตร์ที่จะพาเหรดมาฉายในเทศกาลในปีนี้มีกว่า 72 เรื่อง แบ่งเป็น 8 สายหลัก คือ Asian Contemporary ภาพยนตร์เอเชียร่วมสมัย Cinema Beat ขยับเท้าก้าวตามจังหวะภาพยนตร์โลก Cine Latino ภาพยนตร์หาชมยากจากลาตินอเมริกา Doc Feast ลิ้มรสภาพยนตร์สารคดีจากทั่วโลก Short Wave พื้นที่ภาพยนตร์สั้นจากทั่วโลก และเพิ่มความเร้าใจกับ 2 สายภาพยนตร์ใหม่แกะกล่อง คือ Guts Nuveau สายภาพยนตร์ทดลอง-นิวมีเดีย กับ Music & Dance A LA CART สายภาพยนตร์ดนตรี และท้ายสุด คือ สายภาพยนตร์ยกย่องผู้กำกับ นำเสนอผลงานของอแลง ตองแนร์ (Alain Tanner) จากสวิสเซอร์แลนด์ มีภาพยนตร์โดดเด่นมากมายที่พลาดไม่ได้ในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ในปีนี้ อาทิ เรื่อง To Die Like A Man จากโปรตุเกส ที่ได้รับเสียงชื่นชมอย่างล้นหลามในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ Zift ฟิล์มนัวร์เรื่องดัง ตัวแทนออสการ์จากประเทศบัลแกเรีย Gulabi Talkies ภาพยนตร์ ดราม่า-คอมเมดี้จากอินเดีย ที่ผสมผสานเรื่องราวความขัดแย้งและความอบอุ่นเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว The Wind and The Water ภาพยนตร์จากประเทศปามานา ซึ่งผู้ชมชาวไทยน้อยคนมีโอกาสได้ชม และ Home จากสวิตเซอร์แลนด์ที่กวาดรางวัลจากหลากหลายเวทีทั่วโลก

          แม้ว่างานเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ในปีนี้ ตองแนร์ ผู้กำกับระดับตำนานในวัย 80 ปี ชาวสวิสเซอร์แลนด์ จะไม่สามารถเดินทางมาร่วมเทศกาลฯ ได้ แต่ ฌอง ลุค บิโด (Jean-Luc Bideau) ดาราชื่อดังจากประเทศเดียวกัน ก็ได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นตัวแทนของตองแนร์ พร้อมแนะนำภาพยนตร์ 6 เรื่องเด่นของตองแนร์ ซึ่งมีบางเรื่องที่เขาร่วมแสดงด้วย คือ The Salamande, Jonah

          Who Will be 25 in The Year 2000, Charel, Dead or Alive, Messidor, In The White City และ Light Years Away ส่วนแขกรับเชิญคนสำคัญอื่น ๆ ที่จะมาร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์โลกในปีนี้ อาทิ เจา เปโดร โรดริเกสต์ (Jao Pedro Rodrigues) ผู้กำกับชาวโปรตุกีสต์ ที่มีภาพยนตร์เข้าร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์สดๆ ร้อนๆ
 
          สำหรับพิธีปิดเทศกาลฯ จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2552 ณ ลานสยามดิสคัฟเวอรี่ โดยในวันนั้นจะมีการตัดสินการประกวด Celebrity Look Alike พร้อมการแสดงบนเวทีมากมาย ส่วนภาพยนตร์ปิดเทศกาล คือ เรื่อง “Rocksteady : The Roots of Reggae” จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นภาพยนตร์สารคดีดนตรีสุดสนุก ที่จะทำให้ผู้ชมโยกย้ายร่างกายไปกับจังหวะเร่าร้อนของดนตรีเร้กเก้จากถิ่นกำเนิดประเทศจาไมก้า

          สำหรับผู้สนใจชมภาพยนตร์คุณภาพในงานเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 สามารถซื้อบัตรได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ (Box Office) ที่ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ บัตรชุดราคาพิเศษเพียง 500 บาท ชมภาพยนตร์ได้ 6 เรื่อง บัตรปกติราคา 100 บาท พิเศษ...นักเรียน นักศึกษาราคา 50 บาท นอกจากนี้ สามารถซื้อบัตรออนไลน์ผ่าน www.majorcineplex.com และ www.paragoncineplex.com ได้อีกด้วย

          เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, บริษัท ไพโอเนียร์ อิเล็กโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด, ซีเคร็ท เรซิพี, สยามดิสคัพเวอรี่ และ บริษัท ชาโต เดอ อาร์ต จำกัด ได้รับความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ในประเทศไทย อาทิ สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์, สถานทูตบัลแกเรีย, สถานทูตอินโดนีเซีย, สวิสฟิล์มอาร์ไคฟ์, สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศส และ สถาบันเกอเธ่ มีพันธมิตรสื่อ คือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), ทรูฟิล์มเอเชีย, นิตยสารแฮปเพนนิ่ง, นิตยสาร ไบโอสโคป และ นิตยสาร มิวสิค แอนด์ อาร์ต
« Last Edit: November 11, 2009, 05:48:58 PM by sianbun »