happy on February 28, 2014, 03:31:17 PM

‘ออโตเดสก์’ เบื้องหลังหนังเด็ด 8 เรื่องชิงออสการ์

ภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมนั้นมักจะถูกนิยามจากเนื้อเรื่องที่ดี ส่วนการดำเนินเรื่องที่ยอดเยี่ยมนั้นก็ได้รับการเสริมพลังจากเทคโนโลยีดิจิตอล เหล่าพนักงานฝ่ายมีเดียและเอนเตอร์เทนเม้นท์ของออโตเดสก์, อิงค์ (NASDAQ:ADSK) ต่างมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ปีนี้ในหลากหลายสาขา และยังได้รับการยกย่องจากสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ด้วยสองรางวัลอันทรงเกียรติด้านความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค (Sci-Tech Awards) อีกด้วย


“ปีนี้เป็นปีแห่งความภาคภูมิใจของเรา เพราะนอกจากจะเป็นปีที่ 19 ที่ซอฟท์แวร์ของออโตเดสก์ได้ช่วยให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ทำลายขอบเขตของคำว่าเป็นไปไม่ได้ในการเล่าเรื่องราวจากดินแดนอันห่างไกล อย่างเช่น ความมหัศจรรย์อันไม่มีที่สิ้นสุดของอวกาศหรือความสวยงามตระการของโลกน้ำแข็ง ส่งผลให้เหล่าผู้สร้างได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนี้” คริส แบรดชอว์ รองประธานอาวุสโสของบริษัทออโตเดสก์กล่าว “อีกทั้งพนักงาน 2 คนจากออโตเดสก์ยังได้รับรางวัลจากเทคโนโลยีที่ทั้งคู่ได้พัฒนา และท้ายที่สุด เรายังมีส่วนสำคัญในการช่วยมาร์ค กิลล์ ในการส่งเรื่อง ‘The Voorman Problem’ ขึ้นมาสู่จอภาพยนตร์อีกด้วย เรารู้สึกปลื้มใจเป็นอย่างมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมในวงการสร้างภาพยนตร์”

รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทุกปี สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์จะจัดพิธีมอบรางวัลพิเศษก่อนงานออสการ์ประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับนวัตกรรมโดดเด่นที่ส่งผลต่อวงการภาพยนตร์ ในข่าวประชาสัมพันธ์ที่ประกาศอออกมา ริชาร์ด เอ็ดลันด์ นักวิชวลเอฟเฟคที่ชนะรางวัลออสการ์และประธานกรรมการรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เขียนเอาไว้ว่า “ผู้ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ได้มีส่วนในการสร้างสรรค์ความก้าวหน้าของวงการภาพยนตร์มามากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งความอุตสาหะของเขาไม่เพียงจะส่งผลต่อวงการภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ในระดับโลกอีกด้วย”

พร้อมกันนี้สถาบันฯ ยังได้ยกย่อง Autodesk Mudbox ซอฟต์แวร์สำหรับแกะสลักสามมิติด้วยใบรับรองจากทางสถาบันฯ สำหรับความสามารถในการออกแบบที่มีประสิทธิภาพและเป็นโซลูชั่นสำหรับการแกะสลักแบบดิจิตอลได้อย่างยอดเยี่ยม นอกจากนี้ทางสถาบันยังได้ให้รางวัลกับ FiLMBOX ซึ่งเป็นรากฐานของ Autodesk MotionBuilder ด้วยโล่ห์ประประกาศเกียรติคุณสำหรับนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมอันเป็นฐานสำหรับการพัฒนาและวิวัฒนาการของการผลิตเสมือนจริง โดยนักวิทยาศาสตร์, นักออกแบบและเทคโนโลยีจากออโตเดสก์นั้นเคยได้รับรางวัลมาแล้วถึง 5 ครั้งในพิธีประกาศรางวัลนี้


ภาพยนตร์เหตุการณ์สั้นยอดเยี่ยม

ศิลปินจากออโตเดสก์ในลอนดอน 3 คนได้ทุ่มเทฝีมือในขั้นตอนโพสโปรดักชั่นของภาพยนตร์เรื่อง “The Voorman Problem” ของมาร์ค กิล ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์เหตุการณ์สั้นยอดเยี่ยม ซึ่งจะมีใน iTunes, Amazon และบริการ Pay-Per-View ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป โดยอนิเมชั่นตลกร้ายเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชายคนหนึ่งซึ่งเชื่อว่าเขาคือพระเจ้า นำแสดงโดย มาร์ติน ฟรีแมน (จากเรื่อง “The Hobbit” และซีรีส์ดัง “Sherlock”) และ ทอม ฮอลแลนเดอร์ (จากเรื่อง “Pirates of the Caribbean: Dead Man’s Chest”)

“การทำงานร่วมกับทีมงานของออโตเดสก์บนโปรแกรม Flame นั้นไม่เหมือนกับอะไรที่ผมเคยเจอมาก่อน ผมไม่รู้เลยว่าจะทำอะไรแบบนั้นได้ด้วย นั่นคือสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดของการทำภาพยนตร์ มันเป็นความร่วมมือที่มีความเสถียรภาพมาก” มาร์ค กิล กล่าว แดเรน บรูคเกอร์ หัวหน้าฝ่ายโพสโปรดักชั่นจากออโตเดสก์ได้เพิ่มเติมว่า “สิ่งที่เรามุ่งมั่นก็คือการช่วยมาร์คทำภาพยนตร์ให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้” ซึ่งเทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลกกว่า 45 เทศกาลได้นำภาพยนยตร์เรื่องนี้ไปฉาย อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA สาขาภาพยนตร์เหตุการณ์สั้นยอดเยี่ยมอีกด้วย


สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม

ในสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้ง 5 เรื่อง คือ “Gravity”, “The Hobbit: The Desolation of Smaug”, “Iron Man 3", “The Lone Ranger“ และ “Star Trek Into Darkness” ต่างก็ใช้ซอฟต์แวร์ของออโตเดสก์ในการชุบชีวิตผลงานขึ้นมา ภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องนี้ ได้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 7,000 เครื่องในการสร้างฉากวิชวลเอฟเฟค ใช้ศิลปินกว่าพันคนในการทำงานที่ 42 สตูดิโอใน 10 ประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้พิสูจน์ถึงพลังแห่งเทคโนโลยีในยุคนี้ว่าไม่ใช่แค่เพียงการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนให้เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการดึงเอาพรสวรรค์จากคนทั่วทุกมุมโลกมาร่วมกันทำเป้าหมายเดียวกัน

อีกทั้งออโตเดสก์ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลอีกหลากหลายเรื่องในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น ในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม เรื่อง “The Croods”, “Despicable Me 2”, “Frozen” และ “The Wind Rises” สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม เรื่อง “Get a Horse”, “Mr. Hublot” และ “Room on a Broom” รวมไปถึงภาพยนตร์ที่เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 8 เรื่อง คือเรื่อง “12 Years a Slave”, “American Hustle”, “Captain Phillips”, “Gravity”, ‘Her”, “Nebraska”, “Philomena” และ “The Wolf of Wall Street”

ออโตเดสก์ขอแสดงความยินดีกับสตูดิโอต่างๆ ที่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ของออโตเดสก์ในการร่ายเวทย์มนตร์ให้ภาพยนตร์ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนี้ ดังนี้ Atomic Fiction, Bot & Dolly,Cantina Creative, Cinesite,Crafty Apes, Crazy Horse Effects, Digital Domain, Double Negative, Dreamworks Animation, The Embassy, Framestore, Furious FX, Halon Entertainment, House of Cool, Illumination MacGuff, Industrial Light & Magic, Lola Visual Effects, Luma Pictures, Magic Light, Method Studios, Moving Picture Company, New Deal Studios, Nvizible, One Man Army, OOOii, Passion Pictures, Pixomodo, Prime Focus World, Prologue Films, Proof, Rising Sun Pictures, Scanline VFX, Studio AKA, Studio Ghibli, Technicolor, The Third Floor, Trixter, Union Visual Effects, Walt Disney Animation Studios, Weta Digital, Zeilt Productions และ Zero VFX.
« Last Edit: February 28, 2014, 03:43:07 PM by happy »