KTAMขาย2กองทุนตราสารหนี้ชู1ปียิลด์ 3.20%
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2557 ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยธนทรัพย์ บี 118 ( KTSUPB118 ) และกองทุนเปิดกรุงไทยธนทรัพบ์ บี 119 ( KTSUPB119 ) มูลค่าโครงการกองทุนละ 5,000 ล้านบาท
กองทุน KTSUPB118 อายุโครงการ 12 เดือน เน้นลงทุนในเงินฝาก Bank of China ,เงินฝาก China Construction Bank , MTN Banco BTG Pactual S.A. และ ECP ค้ำประกันโดย SBER Bank ในสัดส่วน 75% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ประเภทหุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน สถาบันการเงิน / บริษัทเอกชน ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 3.20% ต่อปี
ส่วนกองทุน KTSUPB 119 อายุโครงการ 3 เดือน เน้นลงทุนในเงินฝาก Bank of China , เงินฝาก China Construction Bank และ MTN Banco BTG Pactual S.A. ในสัดส่วน 60 %ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนตราสารในประเทศ ประเภท หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน สถาบันการเงิน/ บริษัทเอกชน ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 2.75% ต่อปี
นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่าย กองทุนเปิดเคแทม ยูโรเปี้ยน อิควิตี้ ฟันด์ (KTAM European Equity Fund: KT-EURO) ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 โดยกองทุน KT-EURO จะลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในกองทุนรวมหลักที่ชื่อว่า INVESCO Continental European Small Cap Equity Fund ซึ่งบริหารโดย INVESCO โดยกองทุนรวมหลักจะเน้นลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียน และตราสารทุนที่เกี่ยวข้องของบริษัทขนาดเล็กในประเทศทวีปยุโรป รวมถึงประเทศในสหภาพยุโรป สวิสเซอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย บัลแกเรีย โรมาเนีย โครเอเชีย ตุรกี และประเทศเครือรัฐเอกราช แม้จะมีการเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็ก แต่ขนาด market cap เฉลี่ยของหุ้นส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุน จะอยู่ที่ประมาณ 2.73 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณกว่า 8หมื่นล้านบาท ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับบริษัทในเมืองไทย การลงทุนในกองทุนดังกล่าวมีความน่าสนใจต่อการลงทุน เนื่องจาก กองทุน KT-EURO ที่เน้นลงทุนในบริษัทขนาดเล็กในประเทศทวีปยุโรป นั้น ผลประกอบการและการขยายตัวของบริษัทขนาดเล็ก มักมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับการขยายตัวภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งตรงต่อแนวโน้มการขยายตัวของกลุ่มยูโรโซนในขณะนี้