FB on July 23, 2014, 02:55:20 PM
 เบื้องหลังงานสร้าง
          ได้รับการกล่าวขวัญถึงในทุกผลงานภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ออกมาในยุคปัจจุบันตั้งแต่ “ชั่วฟ้าดินสลาย” (2553), “อุโมงค์ผาเมือง” (2554), “จันดารา ปฐมบท” (2555) และ “จันดารา ปัจฉิมบท” (2556)
          ล่าสุด ผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” กำลังจะกลับมาสร้างความฮือฮาให้กับวงการภาพยนตร์ไทยในปี 2557 นี้อีกครั้ง กับการหยิบวรรณกรรมสุดอมตะของ “ไม้ เมืองเดิม” (ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา) เรื่อง “แผลเก่า” มาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ Romantic Drama อย่างร่วมสมัยขึ้น กับเรื่องราวความรักต้องห้ามอันลือลั่นแห่งท้องทุ่งบางกะปิของ “ขวัญ” และ “เรียม” อันเนื่องมาจากความเป็นศัตรูระหว่างทั้งสองครอบครัว โดยมีคลองแสนแสบเป็นเขตขวางกั้นความรักระหว่างสองหนุ่มสาวบ้านนา
          “คือโครงการนี้มันเกิดจากการที่คุณเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) กับเราคุยกัน คุณเจียงมีความปรารถนาอยากที่จะเห็น ‘แผลเก่า’ ในเวอร์ชั่นใหม่ คือลำพังตัวคุณเจียงเองก็ชื่นชมและประทับใจภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ของคุณเชิด ทรงศรีมาก แกอยากเห็นแบบหนังร่วมสมัยบ้าง เป็นหนังที่ทำให้คนรุ่นใหม่ดู แต่ว่ารักษาอรรถรส รักษาเนื้อหาสาระของเดิมไว้ทั้งหมด ก็เลยมาปรึกษากัน แล้วก็คิดว่ามันต้องมีการปรับปรุง อาจจะมีการปฏิรูปแผลเก่าจากวรรณกรรมเรื่องเดิมมาเป็นภาพยนตร์ในยุคใหม่ ซึ่งอันนี้ต้องมีการศึกษามาก มีการค้นคว้ามาก แน่นอนที่สุดวรรณกรรมเรื่องนี้เขียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2479 แล้วก็ถูกทำเป็นภาพยนตร์หลายครั้งมาก รู้สึกว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 5 ถูกทำเป็นละครเวทีและละครโทรทัศน์มากมาย ตัวเราเองก็ดูหลายครั้ง ทั้งอ่านวรรณกรรมหลายเที่ยวตั้งแต่เด็ก

          แล้วก็อันที่ประทับใจที่สุดคือแผลเก่าที่เป็นละครโทรทัศน์โดยช่อง 4 บางขุนพรหม จำได้ว่ากำธร สุวรรณปิยะศิริและนันทวัน เมฆใหญ่เล่นเป็นขวัญกับเรียมแล้วมันเป็นภาพที่ติดตามากๆ สมัยนั้นยังเป็นทีวีขาวดำอยู่เลย ก็ประทับใจจำได้ไม่ลืมเลือน ทีนี้พอยุคที่เราเรียนหนังสืออยู่ เรียนมหา’ลัยก็มีหนังคุณเชิดเมื่อปี 2520 ก็ได้ดูแล้วก็ประทับใจไปอีกแบบหนึ่ง แล้วก็ไม่เคยคิดเลยว่าวันหนึ่งจะได้ทำ อยากดูที่คนอื่นทำมากกว่า ถ้าถามความรู้สึกของตัวเองนะครับ จะพูดไปก็เป็นความปรารถนาของคุณเจียงที่บอกว่าอยากเห็นแผลเก่าฝีมือหม่อมน้อยทำ”

          วรรณกรรมอมตะของ “ไม้ เมืองเดิม” มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย สำนวนแปลก เค้าโครงเรื่องเร้าใจ ทำให้วรรณกรรมของท่านแทบทุกเรื่องได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวทีในหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมชิ้นเอกของท่านอย่าง “แผลเก่า” เรื่องนี้ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ถึง 5 ครั้ง (พ.ศ.2483, 2489, 2520, 2544 และ 2557) เพราะเนื้อหาที่ทั้งสนุกสนานเร้าใจ และมีสาระอันลึกซึ้งกินใจ ดูกันได้ทุกสมัยอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย
          “จริงๆ แล้วตามบทประพันธ์ของ ‘ไม้ เมืองเดิม’ ก็เป็นวัยรุ่นย้อนยุคอยู่แล้ว ถ้าคนอ่านหนังสือจะทราบว่าขวัญกับเรียมอายุ 18-19 เอง ทีนี้พอมองไปเวอร์ชั่นที่ดังที่สุด เวอร์ชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประทับใจที่สุดจะเป็นของคุณสรพงษ์ ชาตรี กับ คุณนันทนา เงากระจ่าง ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งสองท่านอายุมากแล้วในตอนนั้น ภาพนั้นจะติดตาคนดู แต่โดยแท้แล้วเมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง ตอนที่ยังไม่ได้รับปากคุณเจียงด้วยซ้ำ บอกว่าขอมาอ่านก่อนอีกครั้งหนึ่ง ขอดูแง่มุมที่จะสามารถดัดแปลงเป็นภาพยนตร์สำหรับยุคใหม่ร่วมสมัย มันจะได้มั้ย ก็มาอ่านอีกครั้งหนึ่ง ก็เก็บรายละเอียดมาก แล้วก็เห็นคุณค่าในวรรณกรรมชิ้นนี้มาก จริงๆ แล้วเป็นเรื่องง่ายๆ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย เป็นความรักของขวัญกับเรียมซึ่งสองครอบครัวพ่อแม่ไม่ถูกกัน เกลียดกัน แล้วก็เป็นรักต้องห้าม โดยมีคลองแสนแสบขวางกั้นอยู่ จะพูดไปก็มีความเป็นโรมิโอ-จูเลียตของเช็กสเปียร์อยู่มาก แต่ว่าในหนังสือความเด่นของท่านคือการใช้ภาษาของท่าน ซึ่งบรรยายทุ่งนาได้สวยงามเหลือเกิน แล้วก็บรรยายชนบทพื้นบ้านไทยในยุคนั้นได้อย่างงดงาม
          แล้วก็ตัวละครของท่านคือขวัญกับเรียมเป็นมนุษย์ มันน่าอัศจรรย์ใจมากที่นักเขียนในยุคนั้นมักจะเขียนพระเอกก็คือพระเอก นางเอกก็ดี ผู้ร้ายก็ร้าย แต่ว่าใน ‘แผลเก่า’ ท่านสร้างตัวละครขวัญกับเรียมได้เป็นมนุษย์มาก เป็นมนุษย์ธรรมดาที่มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี มีทุกอย่าง มีเลือดมีเนื้อ มีจิตใจ มีวิญญาณ มีความคิดลบ มีความคิดบวก ซึ่งน่าอัศจรรย์ใจมาก”

          ภาพยนตร์ชีวิตรักแนว Romantic Drama นั้นเป็นแนวภาพยนตร์ที่ไม่เคยเสื่อมความนิยมในทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเอเชีย เปรียบได้กับชาวโลกไม่เคยลืมเลือนความซาบซึ้งประทับใจในความรักของ “โรมิโอ และ จูเลียต” ของ “วิลเลียม เช็กสเปียร์” ความรักของ “ขวัญ” และ “เรียม” ใน “แผลเก่า” ก็เช่นเดียวกัน เพราะโศกนาฏกรรมในความรักของทั้งสองหนุ่มสาวมีมูลเหตุมาจากความแตกแยก ชิงชัง ขาดความรักใคร่สามัคคีปรองดองในสังคมท้องถิ่น อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งในผลประโยชน์และทัศนคติ ตลอดจนความเชื่อในการดำรงชีวิต โดยมี “คลองแสนแสบ” แห่ง “ทุ่งบางกะปิ” เป็นเส้นแบ่งกั้นความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย เปรียบได้กับ “ความขัดแย้ง” ในสังคมไทยปัจจุบันซึ่งก่อให้เกิดแต่ผลร้าย และความหายนะของทุกๆ ฝ่าย หากคนไทยไม่รู้จักที่จะหันหน้าเปิดใจให้แก่กัน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยสันติวิธีแทนที่จะใช้ความรุนแรง
          “ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแม้กระทั่งในทุ่งบางกะปิเองก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างสองบ้านคือบ้านขวัญคือผู้ใหญ่เขียนกับบ้านเรียมคือกำนันเรือง สองบ้านก็จะแตกต่างกัน และแต่ละฝ่ายก็ Extreme นะ แต่ละฝ่ายก็ยึดถือความถูกของเค้า ผู้ใหญ่เขียนถึงแม้เป็นคนสมถะ แต่ก็ไม่ใช่คนปล่อยวาง ก็เป็นคนยึดในความคิดของตัวว่าคิดแบบฉันถูก กำนันเรืองที่อิงวัตถุเงินทองก็บอกคิดแบบฉันก็ถูก เพราะฉะนั้นสองฝ่ายมันก็เป็นศัตรูกันแล้วก็ไม่มีวันจบวันสิ้น ท้ายสุดมันก็ต้องเสียเลือดเสียเนื้อถึงปรองดองกันได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพูดแบบนี้”

          ความน่าสนใจใน “ความรักต้องห้าม” (Taboo) ของ “ขวัญ” และ “เรียม” อันมีพื้นฐานมาจากสัญชาตญาณของความท้าทายที่จะเอาชนะในกฎเกณฑ์ของสังคมที่ถูกกำหนดโดยผู้ใหญ่หรือคนรุ่นเก่า และการยึดถือความเป็นปัจเจกชนเยี่ยงคนหนุ่มสาวในวัยคะนองจนก่อให้เกิดบทเรียนชีวิตอันน่าสะเทือนใจสอนใจผู้ชมกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างแยบยลและแนบเนียนเป็นที่สุด
          “เราจับได้ว่าความรักต้องห้ามของหนุ่มสาวสองคน อายุ 18-19 แล้วเพิ่งจะรักกัน มันน่าจะเป็นหนังวัยรุ่นย้อนยุคได้ ซึ่งการกระทำของทั้งสองคนมันก็เหมือนวัยรุ่นในยุคปัจจุบันมาก เหมือนวัยรุ่นทุกยุคมาก คืออะไรห้ามมักจะทำ พ่อแม่ห้ามเราจะสนุกเหลือเกินที่จะฝ่าฝืนกฎ มันเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็น Psychology ธรรมดาของมนุษย์วัยรุ่นที่อะดรีนาลีนกำลังพลุ่งพล่านมาก แล้วก็ยังแยกไม่ออกระหว่างความรักกับความหลง แล้วขวัญเองก็เป็นหนุ่มหล่ออยู่ฝั่งหนึ่ง เรียมเองก็เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าจะโดนห้ามคบกันตั้งแต่เด็ก มีคลองขวางกั้น แต่มันเห็นกันทุกวัน หมู่บ้านสมัยนั้นมันเล็กนิดเดียว มันก็รู้จักกันหมดนั่นแหละ แต่ว่าไม่พูดกัน โดนห้ามคบกัน เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนที่เริ่มจะสู่วัยหนุ่มวัยสาวมันจะสนใจกัน แล้วยิ่งห้ามยิ่งยุมันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นอันนี้เราเลยจับได้ว่าด้วยจิตวิทยาง่ายๆ ของวัยรุ่น เราเลยเชื่อว่าประเด็นนี้มันจะเป็นประเด็นที่คนดูวัยรุ่นยุคปัจจุบันตั้งแต่ 14-19 จะดูอย่างเข้าใจ เพราะมันเป็นเรื่องที่สามารถรู้สึกได้”
          “แน่นอนที่สุด สิ่งที่เราต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาในช่วงเตรียมงานว่าเราทำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้คนรุ่นใหม่ดู เป็นแผลเก่าสำหรับคนรุ่นใหม่ อันนี้มันต้องทำความเข้าใจกันก่อน แน่นอนที่สุดการรีเมกหรือทำภาพยนตร์ที่เคยทำมาแล้ว เราไม่ได้ก๊อปปี้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะก๊อปปี้ของเก่า เพราะของเก่าที่ดีของคุณเชิดก็ 30 กว่าปีมาแล้ว มันไม่ใช่ยุคสำหรับคนปัจจุบัน ดูแล้วก็จะเบื่อๆ เพราะฉะนั้นเราพยายามดึงส่วนที่ดีจากหนังสือ ส่วนที่ดีจากภาพยนตร์ของคุณเชิดซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เราอุทิศให้แก่ ‘คุณไม้ เมืองเดิม’ และ ‘คุณเชิด ทรงศรี’ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้มีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์แผลเก่าสำหรับคนรุ่นใหม่จริงๆ เพราะว่าเป็นการมองมุมใหม่ที่เป็นหนังรักโรแมนติก มันจะไม่จริงจังแบบของเดิม แต่จะสะท้อนความรักที่สวยสดงดงาม ทั้งความรักของหนุ่มสาว ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก เพื่อนที่มีต่อเพื่อน บ่าวที่มีต่อนาย และที่สำคัญที่สุดคือรักถิ่นกำเนิดของตัวเอง รักรากเหง้าของตัวเองซึ่งสะท้อนออกมาในตัวละครของขวัญและเรียม มันเป็นภาพยนตร์รักจริงๆ ภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความรักจริงๆ ความรักแท้เป็นเช่นไรก็จะเห็นในเรื่องนี้ คุณจะได้เข้าใจความรักหลายๆ แบบ”

          ความงามของธรรมชาติอันบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ของท้องทุ่งนาบางกะปิในทุกฤดูกาล กิจกรรมการทำนาในอดีตนับตั้งแต่ขุด, คราด, หว่าน, ไถ และเกี่ยว ตลอดจนทำขวัญ จะทำให้ผู้ชมได้ย้อนไปถึงวิธีการทำนาในอดีตซึ่งสูญสิ้นไปแล้วในปัจจุบัน อันเป็นวิถีชีวิตโดยแท้ของชาวไทย และกิจกรรมบันเทิงอันเกี่ยวข้องกับฤดูกาลทำนา อาทิเช่น เพลงเกี่ยวข้าว, เพลงเรือ ฯลฯ จะทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความงดงามและยิ่งใหญ่ของผืนแผ่นนาข้าว และภาคภูมิใจในขนบประเพณีและความเป็นไทย
          “สำหรับเราเอง เราเห็นว่าการทำนาไม่ใช่ใครทำก็ได้ มันเป็นงานศิลปะขั้นสูงมากนะ ให้เราไปเรียนวันสองวันก็ทำไม่ได้ มันเป็นงานศิลปะพื้นบ้านจริงๆ มันอาร์ตเวิร์กจริงๆ ไม่ใช่ใช้ Skill อย่างเดียว ไม่ใช่คนชั้นกรรมาชีพเลย และที่สำคัญคือต้องมีความรู้มาก ต้องรู้ธรรมชาติของดินฟ้าอากาศ ต้องรู้ธรรมชาติของเมล็ดพืช แล้วก็ Sensitive กับน้ำขึ้นน้ำลง ความชื้นอากาศ ซึ่งโอ้โหจริงๆ แล้วเค้าควรเป็นด็อกเตอร์ทางฟาร์มมิ่งกันนะ เพราะว่าเค้ารู้จริงๆ แล้วยิ่งไปกว่านั้นไม่นับหยาดเหงื่อแรงงานที่ต้องตรากตรำอยู่กลางแดดอีก เพราะฉะนั้นนักแสดงในเรื่องนี้จะได้รู้ซึ้งถึงบุญคุณของชาวนา เพราะว่าตัวเองต้องถ่ายกลางแดดจริงๆ ไม่ใช่มาถ่ายแค่แป๊บๆ ชั่วโมงสองชั่วโมง มันไม่ใช่อย่างนั้นเพราะโลเกชั่นถ่ายทำที่สุพรรณบุรี ซึ่งต้องเข้าไปลึกมากเพื่อหนีเสาไฟฟ้าหรืออะไรที่เป็นสมัยใหม่ แล้วรถยนต์ก็เข้าไปไม่ได้ ต้องเดินเข้าไป นั่งซาเล้งเข้าไป แล้วต้นไม้ก็ไม่มีสักต้นเดียว ห้องแอร์ไม่มี ก็คือได้รู้ว่าทุกอย่างชาวนาเค้าเหนื่อยยากขนาดไหน
          ยิ่งไปกว่านั้นถ้าจะพูดไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นพิพิธภัณฑ์การทำนาของประเทศนี้เลย คือการทำนาทุกขั้นตอนในอดีต โดยที่รักษาทุกอย่างไว้อย่างเหมือนจริงที่สุดซึ่งมันก็ไม่มีอีกแล้ว และที่สำคัญคือเรารักษาความเป็นไทยเอาไว้ที่สุด คือวิญญาณของคนไทยที่อยู่ในตัวละคร บรรยากาศของความเป็นไทยแท้ๆ ที่อยู่ในท้องน้ำหรือลำน้ำ ทัศนะที่มีต่อกันของพ่อแม่ลูก ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวนาพื้นบ้าน เค้าเป็นยังไง เค้าคิดอะไร เค้าทำอะไรกันบ้าง เค้ามีวิถีชีวิตอย่างไรในยุคนั้นนะครับไม่ใช่ยุคปัจจุบัน นี่คือคุณค่าของหนัง
ถ้าจะดูภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ดูได้หลายระดับนะ ถ้าคิดตามคุณก็จะได้อะไร ถ้าไม่คิดดูเอาความบันเทิงก็เตรียมผ้าเช็ดหน้าไปเช็ดน้ำตากันด้วยความประทับใจ เป็น ‘แผลเก่า’ สำหรับคนรุ่นใหม่จริงๆ”

FB on July 23, 2014, 02:56:01 PM
 หลากหลายตัวละคร
          “แผลเก่า” เวอร์ชั่นนี้ หม่อมน้อยได้ใช้เวลาแคสติ้งเลือกสรรสองนักแสดงนำอยู่เป็นเวลานานจนมาลงตัวที่นักแสดงหนุ่มเจ้าบทบาทอย่าง “นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต” ด้วยรูปร่างหน้าตาโดดเด่นบวกกับการแสดงที่น่าเชื่อถือและเป็นธรรมชาติที่ทำให้เขาเหมาะที่สุดกับบท “ขวัญ” หนุ่มเจ้าทุ่งแห่งคลองแสนแสบผู้มั่นคงในรักเดียวอย่างหาที่เปรียบมิได้
          ประกบคู่กับฝ่ายหญิงที่หลายคนจับตามองว่าคราวนี้หม่อมน้อยจะเลือกนักแสดงสาวคนใดมาพลิกบทบาทให้ฮือฮากันอีก ในที่สุดโผก็มาออกที่นักแสดงสาวหน้าคมสุดฮ็อต “ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่” ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกผ่านแววตาได้อย่างลึกซึ้ง และมีบุคลิกที่โดนเด่นทั้งความเป็นหญิงไทยโบราณ และความเป็นหญิงสมัยใหม่ที่เชื่อมั่นในตัวเองอยู่ในตัวคนเดียวกันตรงตามบทประพันธ์ ทำให้เธอได้รับการคัดเลือกให้รับบท “เรียม” สาวงามบ้านนาผู้ต้องเผชิญชะตากรรมแห่งรักต้องห้ามในเวอร์ชั่นใหม่นี้
          (หม่อมน้อย) “คือในแง่ของการเลือกนักแสดงของเราก็เหมือนกันทุกเรื่อง คือเราจะเขียนบทเรียบร้อยแล้ว แน่นอนที่สุดการแคสก็จะแคสจากคนที่เหมาะสมที่สุดจริงๆ ที่แน่ๆ คือทุกคนได้รับการออดิชั่นไม่ว่าจะเป็นตัว ‘เรียม’ ก็เลือกกันหลายคนมาก และคนที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ‘ใหม่ ดาวิกา’ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนอื่นๆ ที่มาออดิชั่นไม่มีความสามารถและไม่สวย ไม่จริง ไม่ได้เลือกจากความสวยหรือไม่สวย แต่ว่าโดยคาแร็คเตอร์เรียมเป็นผู้หญิงที่มีเหตุผลมากกว่าอารมณ์ ในขณะที่ขวัญใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เรียมจะดูเป็นผู้ใหญ่มากกว่าขวัญด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการที่เลือกดาวิกาเพราะว่าแลดูเป็นเด็กตรงๆ มีเหตุมีผล คิดมากกว่าพูด จะไม่แสดงออกอะไรที่ไม่จำเป็น เพราะฉะนั้นมันตรงกับเรียมในบทประพันธ์เดิมเลยนะ และโดยเฉพาะการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านแววตา ใหม่ก็แสดงได้อย่างลึกซึ้ง
ส่วน ‘ขวัญ’ จะหาช้อยส์ยากในปัจจุบันเพราะว่าหนังสือเขียนว่าโอ้โห...ด้วยรูปลักษณ์ราวกับกระทิงหนุ่ม แล้วเป็นคนซื่อมาก จริงใจในความรู้สึกทุกอย่าง เวลาโกรธก็โกรธจัด เวลาทุกข์ก็ทุกข์จัด เวลาอ่อนก็อ่อนมาก เวลาแข็งก็แข็งมาก แล้วก็เป็นนักเลงสมัยโบราณที่เค้าเป็นสุภาพบุรุษ เค้าต่อสู้เพื่อคนอ่อนแอ เค้าต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เราเห็นว่าคนที่เหมาะที่สุดด้วยรูปลักษณ์คือ ‘นิว ชัยพล’ ด้วยรูปร่าง ด้วยตาซื่อของเค้า รวมถึงฝีมือทางการแสดงด้วย”
          (นิว ชัยพล) “เรื่อง ‘แผลเก่า’ นี้เป็นเรื่องที่หนักที่สุดจริงๆ หนักทุกๆ ด้านเลยครับ ตั้งแต่ต้องขี่ควาย ทำนาด้วย แอ็คชั่น ดราม่า เต้นกำรำเคียว หลายๆ อย่างผสมกันมันก็หนักมาก พออ่านบทมา คนดูก็จะคาดหวังในความเป็นดราม่า แต่ว่าพอเราเล่นเราก็พยายามไม่สนใจมันให้ได้มากที่สุด ไม่ได้คิดถึงมันว่ามันจะเป็นยังไง ถามว่าเครียดมั้ย ก็เครียดมากพอสมควร แต่หม่อมก็จะบอกเสมอว่าปล่อยมันไปในเรื่องของผลลัพธ์ที่ออกมาว่าคนดูจะได้ความรู้สึกยังไง ไม่ใช่เรากำหนดว่าเราต้องเล่นให้เศร้าหรืออะไรก็แล้วแต่ เราก็พยายามปล่อยไป แล้วเล่นออกมาตามที่เราเข้าใจ แล้วก็ทำเต็มที่ที่สุดครับ”
          (ใหม่ ดาวิกา) “ใหม่ว่ามันเป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ทั้งแฟนใหม่เอง แฟนนักแสดงหลายๆ คน แฟนหม่อมเองก็แล้วแต่ ก็จะได้เห็นผลงานที่แตกต่างออกไปในอีกรูปแบบใหม่ หนังเรื่องนี้จะออกมาเป็นอะไรที่ทำให้คนดูขนลุกได้ แล้วก็จะทำให้คุณซึ้ง เป็นการตีความที่มันลึกลงไปอีก จะเป็นมีการตีความที่อาจจะแปลกใหม่ขึ้น มีความเป็นวัยรุ่นมากขึ้น แต่ว่าในเรื่องราวความรักยังเหมือนเดิมนะคะ เรื่องของโลเกชั่น เรื่องของความสวยงามของภาพ มุมกล้องต่างๆ ความสมูธ ความสนุก เสียงเพลงดนตรีมันจะเข้ายุคเข้าสมัยมากขึ้นค่ะ แล้วก็จะมีความสวยงามแน่นอนเรื่องนี้ รับประกันจริงๆ ค่ะเพราะว่าหม่อมเองก็ทุ่มเทแล้วก็ตั้งใจมากๆ นักแสดงทุกคนและทีมงานเองก็ถ่ายกันจนเช้าบ่อยๆ เหมือนกันค่ะ ก็ตั้งใจกันมากๆ ทุกคนเลย ใหม่ก็ขอฝาก ‘แผลเก่า’ เวอร์ชั่นนี้ไว้ด้วยนะคะ”

          หลังจากห่างหายจากการร่วมงานกันนานถึง 17 ปี ในปีนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่สุดยอดราชินีแห่งจอเงินตลอดกาล “สินจัย เปล่งพานิช” ได้หวนคืนมาร่วมงานกับ “หม่อมน้อย” อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการแสดงจนได้รับรางวัลสุดยอดนักแสดงตลอดมา (เพลิงพิศวาส, ช่างมันฉันไม่แคร์, มหัศจรรย์แห่งรัก, อันดากับฟ้าใส) อีกครั้งใน “แผลเก่า” เวอร์ชั่นล่าสุดนี้ โดยเธอจะรับบท “คุณหญิงทองคำเปลว” เศรษฐีนีม่ายผู้มั่งคั่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่นาแห่งทุ่งบางกะปิ ผู้จมอยู่ในความเจ็บปวดทรมาน เนื่องจากสูญเสียธิดาสาวคนเดียวมานานนับสิบปี อันเปรียบเสมือนแผลเก่าในใจเธอ ซึ่งตัวละครคุณหญิงฯ นี้จะเป็นผู้ที่มาเปลี่ยนวิถีชีวิตของ “เรียม” (ดาวิกา โฮร์เน่) สาวงามแห่งทุ่งบางกะปิอย่างสิ้นเชิง
          (หม่อมน้อย) “ตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมา ผมอยากจะหาบทดีๆ ให้ ‘นก สินจัย’ แสดง แต่ก็ยังหาไม่ได้สักที จนถึง ‘แผลเก่า’ นี้เองที่ลงตัวที่สุด เพราะบทคุณหญิงฯ นี้เป็นบทที่เล่นยาก ลึกซึ้ง และมีมิติมาก ต้องอาศัยนักแสดงฝีมือขั้นเทพมาถ่ายทอด ซึ่งนกก็เหมาะสมกับบทนี้เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสง่างาม, วัยวุฒิ และที่สำคัญคือฝีมือการแสดงระดับชั้นครูเลยทีเดียว”
          (นก สินจัย) “ที่ไปเกี่ยวข้องกันกับเรื่องราวความรักของขวัญกับเรียม คือจริงๆ แล้วคุณหญิงน่าจะเกี่ยวข้องกับเรียมมากกว่า คือเรียมถูกนำมาขายกับคุณหญิงทองคำเปลว เพราะว่ากำนันเรืองเป็นลูกหนี้อยู่ เหมือนเอามาขัดดอก ตอนนี้ด้วยความที่เรียมหน้าเหมือนลูกสาวตัวเองก็เลยหมายมั่นอยากจะให้ลูกสาวตัวเองกลับมามีชีวิต คาดหวังทุกอย่าง กำหนดกฎเกณฑ์ทุกอย่าง สร้างเค้าทุกอย่างโดยที่ไม่ได้ถามความสมัครใจของเค้า ในเวอร์ชั่นนี้หม่อมน้อยก็อยากปูให้เหมือนกับว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรื่องราวความรักของคนทั้งคู่ ทุกคนมีส่วนผิดที่ทำให้เกิดเรื่องราวโศกนาฏกรรมครั้งนี้ขึ้นมา ซึ่งก็สร้างรอยแผลให้กับตนเองและคนอื่นๆ ด้วย
เรื่องนี้ก็เหมือนกลับมาหาอาจารย์ แล้วมันเหมือนกับว่าเราก็โตขึ้น โตจากพี่น้อยนี่แหละค่ะ เติบโตมากับวงการนี้จนกระทั่งวันหนึ่งได้กลับมาทำงานกับพี่น้อยอีก ความรู้สึกจริงๆ โดยรวมแล้วก็เหมือนเดิมนะคะ คือเหมือนที่เวลาพี่น้อยสอน เวลาที่พี่น้อยบอก ไม่ว่าจะบอกกับดารานักแสดงคนอื่นเรื่องเดียวกัน หรือว่าบอกกับเรา ก็เหมือนเรายังเป็นนักเรียนวันเก่าๆ อยู่ พี่น้อยก็จะบอกอย่างนี้ จะบอกอารมณ์ จะบอกที่มาที่ไป แล้วก็ความตื้นลึกหนาบางของตัวละคร ซึ่งยังเหมือนเดิม ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าเหมือนได้กลับเข้าไปโรงเรียนใหม่ มาทบทวนกันใหม่ เราทำงานมานานๆ มันก็ชินเหมือนกับอัตโนมัติ แต่การที่กลับมากับพี่น้อยก็ต้องเริ่มต้นใหม่นะ ต้องตีความใหม่ ต้องรู้สึกกับตัวละครนี้จริงๆ ต้องรู้จักมันจริงๆ คนรอบข้างจริงๆ เหมือนได้กลับมาโรงเรียน ได้มาชาร์จแบตอีกครั้ง”

          รวมถึงทีมนักแสดงหน้าใหม่จาก The Star ที่ผ่านการออดิชั่นอย่างเข้มข้นจากหม่อมน้อยจนได้รับโอกาสให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่องนี้ ซึ่งถือเป็นการแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกของพวกเขาเหล่านี้ด้วย
          ตั้ม เดอะสตาร์ 9 - วราวุธ โพธิ์ยิ้ม รับบท “ไอ้เริญ” พี่ชายเจ้าสำราญของเรียม
          โดม เดอะสตาร์ 8 - จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม รับบท “เปีย” สหายอารมณ์ดีของขวัญ
          แคน เดอะสตาร์ 8 - อติรุจ กิตติพัฒนะ รับบท “สมิง” สหายทรยศของขวัญ
          อ้น เดอะสตาร์ 9 - กรกฎ ตุ่นแก้ว รับบท “เยื้อน” สหายอารมณ์เย็นของขวัญ
          จูเนียร์ เดอะสตาร์ 7 - กรวิชญ์ สูงกิจบูลย์ รับบท “แฉ่ง” สหายขี้เล่นของขวัญ
          กวาง เดอะสตาร์ 7 - ธัญญรัศม์ ไตรสุทธิวงษ์ รับบท “แก้ม” เพื่อนรักอารมณ์เย็นของเรียม
          สมาย เดอะสตาร์ 8 - โสรญา ฐิตะวชิระ รับบท “ชมพู่” เพื่อนรักอารมณ์ร้อนของเรียม
          ฮัท เดอะสตาร์ 8 - จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร รับบท “ร้อยตรีสง่า” นายทหารหนุ่มแห่งคณะรัฐบาล
          ดิว เดอะสตาร์ 9 - นัทธพงศ์ พรมสิงห์ รับบท “ชิด” นักเลงหนุ่มเมืองมีนบุรี

FB on July 23, 2014, 02:56:24 PM
 (หม่อมน้อย) “ทีนี้เนื่องจากว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มันเหมือนภาพยนตร์วัยรุ่นย้อนยุค ขวัญก็ต้องมีเพื่อน เรียมก็ต้องมีเพื่อน เพราะฉะนั้นตัวละครเพื่อนมันก็เป็นตัวละครที่สำคัญ ไม่ว่าเป็นแค่เพื่อน แล้วมันก็ต้องสะท้อนมิตรภาพความรักของตัวละคร เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแคสนักแสดงวัยรุ่นว่าวัยนี้แหละ 18-22 ประมาณนี้ แล้วผู้ที่ได้มาจริงๆ ก็บังเอิญเป็น ‘เดอะสตาร์ 9 คน’ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า ซึ่งเค้าได้จากแคสติ้ง เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ว่าเอาเดอะสตาร์มาเพื่อเหตุผลทางการค้า เรามองเค้าเป็นนักแสดง เค้ามาออดิชั่นเหมือนนักแสดงทั่วๆ ไป แต่บังเอิญที่เค้าเหมาะกับคาแร็คเตอร์ในเรื่อง แต่ในเรื่องมันก็มีฉากที่กลุ่มขวัญจะต้องไปร้องเพลงเต้นกันรำเคียว เป็นเพลงพื้นบ้านโบราณ ทีนี้พวกนั้นเค้าเป็นนักร้องอยู่แล้วก็เลยโชคดี มันก็เป็นอย่างนั้นมากกว่า”

          “ตั้ม วราวุธ” ตัวแทนของแก๊งเดอะสตาร์ พูดถึงการทำงานครั้งนี้ว่า
          “ทำงานสนุกครับ ทุกคนต่างใหม่เหมือนกันหมด ก็จะมีคำติบ้างเป็นธรรมดา ก็จะช่วยกัน มีอะไรที่มันไม่ดีก็จะเตือนๆ กัน การทำงานสนุกเพราะเราสนิทกันอยู่แล้ว มันก็เลยทำงานกันง่าย แล้วอีกอย่างเวลาเล่นเราสามารถซ้อมกันได้ก่อน ลองต่อบทลองคุยกันเล่น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดี ต่างคนต่างใหม่พอมันมาเจอกันก็แบบเฮ้ย อันนี้ถูกเปล่าวะ อันนี้ยังไง ลองไปถามหม่อมดิ ก็จะแหย่ๆ กัน ก็น่ารักดีครับ
          การทำงานกับหม่อมน้อย ผมว่ามันเป็นการแยกแยะที่ถูกต้อง ทำงานคือทำงาน พักคือพัก เล่นคือเล่น แล้วหม่อมเป็นคนที่ละเอียดกับการทำงานมากไม่ว่าจะเป็นการวางของ แสง ตัวละคร ภาพสวยงาม หนังที่ดีจริงๆ ไม่ใช่แค่แอ็คติ้งอย่างเดียว ภาพมันยังต้องบอกอารมณ์ได้ด้วย หม่อมเป็นคนที่มีความเป็นนักศิลปะ มีความเป็นผู้สร้างและเป็นผู้นำที่ดี เป็นคนทำงานเยอะกว่านอน นี่คือสิ่งที่หม่อมแสดงให้เห็นว่าการทำงานมันต้องทุ่มเท แสดงให้เห็นว่านักแสดงต้องฮึดกับเค้าจริงๆ พอเราเห็นเค้าทำงานแล้วเรารู้สึกว่าเฮ้ย...หม่อมสู้ตาย เราสู้ว่ะ ซึ่งผมรู้สึกว่ามันมีความสุขและมันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักแสดงใหม่อย่างพวกผมที่จะดูหม่อมเป็นตัวอย่าง
          ก็คาดหวังแค่ให้คนดูมีความสุขกับสิ่งที่พวกเราต้องการจะถ่ายทอดออกไป ได้สนุก ได้คล้อยตาม ได้คิดตามให้ได้เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการจะสื่ออะไรออกไป แค่นั้นจริงๆ ครับ ก็ขอฝากผลงานการแสดงเรื่อง ‘แผลเก่า’ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของพวกผมเหล่าเดอะสตาร์ ดูแล้วชอบไม่ชอบยังไง ก็ติชมกันได้ครับ”
          ร่วมสร้างความเข้มข้นขึ้นด้วยทีมนักแสดงมากฝีมืออย่าง “พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง” (ผู้ใหญ่เขียน - พ่อของขวัญ), “ศักราช ฤกษ์ธำรงค์” (กำนันเรือง - พ่อของเรียม), “ณัฎฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา” (สมชาย - นักการเมืองหนุ่ม ตัวแปรความรักของขวัญ-เรียม), “พงศ์สิรี บรรลือวงศ์” (จ้อย - เจ้าพ่อเมืองมีนผู้หมายปองตัวเรียม), “รัดเกล้า อามระดิษ” (แม่สาย – ต้นห้องของคุณหญิง) “ปานเลขา ว่านม่วง” (แม่รวย – แม่ของเรียม)รวมถึง “เอก-ศุภากร ประทีปถิ่นทอง” (นายแพทย์สงัด) และ “บดินทร์ บางเสน” (รอด – น้องชายจอมซนของเรียม) ที่ผ่านการออดิชั่นมาแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นครั้งแรกด้วย
          โดยทีมนักแสดงจะได้รับการบ่มเพาะการแสดงสุดเข้มข้น รวมทั้งการเรียนทำนา เรียนขี่ควาย ฝึกฝนศิลปะเพลงพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความรักสุดอมตะแห่งท้องทุ่งบางกะปินี้อย่างสุดฝีมือ ผ่านฉากหลังอันเป็นภาพความงดงามของธรรมชาติแสนบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่, วิถีชีวิตของชาวไทยในอดีต พร้อมบทเพลงอมตะในท่วงทำนองอันไพเราะ ซึ่งจะมาสร้างความประทับใจครั้งใหญ่ในปี 2557 นี้...แน่นอน
         
          (หม่อมน้อย) “มันน่าดูตรงนี้ มันเป็นการเอารุ่นลูกและรุ่นพ่อแม่ที่ใช้นักแสดงที่มีฝีมือมาทำงานด้วยกัน ในแง่ของคาแร็คเตอร์ทุกอย่างมันมีความหมายหมด ไม่ว่าจะเป็นนาหรือข้าวก็เป็นสัญลักษณ์หมด”
          (พงษ์พัฒน์) “มันสมัยใหม่จะตาย ภาพยนตร์ที่เล่าย้อนไปก่อนพ.ศ.2500 ผมว่าจริงๆ แล้วน่าจะดูง่ายกว่าปัจจุบันด้วยซ้ำ มันไม่มีอะไรเลยนะ มันไม่มีอะไรที่ต้องไปหาเหตุและผล แม้กระทั่งผู้หญิงผู้ชายสองคนมองปุ๊บแล้วรักกันปั๊บ มันไม่แปลกหรอกเพราะมันสวยที่สุดกูหล่อที่สุดเนี่ย เมื่อไหร่ก็รักกัน คนสองคนโกรธกันเพราะเรื่องอะไรก็ไม่แปลก เพราะงั้นถามว่ามันดูง่าย ผมว่าง่ายกว่า ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องไลน์หากัน ปีนบ้านเลย ว่ายน้ำเข้าหากัน ดูง่ายจะตาย ใครบอกว่าดูยาก ผมว่าเวอร์ชั่นนี้มันมีเทคโนโลยีของพ.ศ.นี้เข้าไปเป็นส่วนในการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ ในยุคที่มันเป็นพ.ศ. 2400กว่าๆ ทั้งวิธีการถ่ายทำ สโคปของภาพ และเทคนิคอะไรต่างๆ มันล้ำกว่าเวอร์ชั่นเก่าๆ แน่นอน เรื่องความน่ารักก็ได้ แง่คิดที่สอดแทรกอยู่ก็มี แต่ต้องไปตีโจทย์กันเองก็แล้วกัน คุณจะคิดเรื่องอะไรล่ะ ความรัก ความเป็นอยู่ หรือการเมืองมีหมดในเรื่องนี้ บอกเลย”
          (ณัฏฐ์ เทพฯ) “ผมว่า ‘แผลเก่า’ เวอร์ชั่นนี้มันไม่ได้เน้นเรื่องความรักเรื่องเดียว คือมันเป็นความรักหลายแบบมาก ความรักระหว่างแม่ลูก ความรักระหว่างผู้หญิงผู้ชาย ความรักระหว่างขวัญกับเรียม ความรักระหว่างผู้ชายที่ไม่ได้รักผู้หญิงคนนั้นจริงๆ หรือว่าผู้หญิงคนนั้นก็ไม่ได้รักผู้ชายคนนั้นจริงๆ แต่มองว่ามันเป็นอะไรที่เหมาะสม คือมันเป็นความรักเพื่อเป้าหมายของแต่ละคน บางคนมีจุดมุ่งหมายที่เหนือกว่าตัวเอง บางคนมีจุดมุ่งหมายแค่เรื่องความรักเรื่องเดียว บางคนมีจุดมุ่งหมายเรื่องการเมือง ผมว่ามันมีหลายรสชาติ ผมเชื่อว่าคนดูจะได้แง่คิดหลายๆ อย่าง ทั้งในแง่ของการเมือง ความรัก สถาบันต่างๆ ผมเชื่อว่าดูแล้วคงมีอะไรที่ย้อนไปสะกิดใจเราได้ และแน่นอนถ้าเป็นหนังของหม่อมภาพสวยแทบจะทุกเฟรมทุกช็อตเลย แล้วก็ความตั้งใจของนักแสดงที่จะเห็นได้ว่า นักแสดงทุกคนจะใส่เต็มที่ เล่นกันอย่างเป็นธรรมชาติ ทุกคนทำงานกันอย่างเต็มที่แล้วก็ตั้งใจทำงานมากครับ”

          ทางด้านเพลงภาพยนตร์ “แผลเก่า” เวอร์ชั่นนี้ ได้นักร้องหญิงและชายคุณภาพของไทยอย่าง “แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น” (ชนะเลิศ The Star ปี 4) และ “กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ” (ชนะเลิศ The Star ปี 6) มาถ่ายทอดบทเพลงอมตะอย่าง “เคียงเรียม”, “แสนแสบ” (ร้องโดย กัน), “ขวัญของเรียม” (ร้องโดย แก้ม) และ “สั่งเรียม” (ร้องคู่) ได้อย่างไพเราะไม่แพ้ต้นฉบับ ซึ่ง “ครูพรานบูรพ์” แต่งขึ้นประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ในยุคแรกๆ ที่ยังได้รับความนิยม และสร้างความประทับใจอย่างไม่เสื่อมคลายจนถึงปัจจุบัน

          (หม่อมน้อย) “เพลงอมตะแบบนี้จะร้องยากมาก ต้องอาศัยนักร้องที่เป็น Vocalist จริงๆ เป็นคนที่มีทักษะในการร้องเพลงจริงๆ แล้ว ‘แผลเก่า’ เวอร์ชั่นนี้เป็นแผลเก่าที่ตั้งใจทำให้คนรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเลือกคนรุ่นใหม่มาถ่ายทอดเพลงประกอบ แล้วจะมีใครที่ร้องเพลงเก่าได้ดีเท่ากับกันและแก้ม ทั้งคู่เหมาะมาก เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและเหมาะที่จะมาถ่ายทอดเพลงอมตะของเมืองไทยจริงๆ
คือเพลงในเรื่องเนี่ยอย่างกันเค้าจะถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกของขวัญ ส่วนแก้มก็จะถ่ายทอดความรู้สึกและความคิดของเรียม เพลงไม่ใช่เอาไว้ประกอบภาพยนตร์อย่างเดียวนะครับ เพลงจะมีบทบาทในการอธิบาย และเล่าความรู้สึกของตัวพระเอกและนางเอก เริ่มตั้งแต่ความรักที่รักกันสดชื่นใหม่ๆ แล้วก็กลายเป็นอกหัก แล้วก็เข้าใจกัน เพราะฉะนั้นบทเพลงในครั้งนี้จะเหมือนบทภาพยนตร์เลย มันจะไม่ใช่แค่เพลงประกอบฟังเพราะๆ หรือเป็นแค่เอ็มวี ทั้งกันและแก้มต้องถ่ายทอดวิญญาณของขวัญกับเรียม เพราะฉะนั้นเค้าต้องศึกษาตั้งแต่บท เราก็ให้เค้าไปเวิร์กช็อปร่วมกับนักแสดง แล้วพอถึงเวลาตัดต่อก็ต้องไปดูภาพยนตร์ เพื่อที่จะถ่ายทอดออกมาให้ดีที่สุด ซึ่งเวลาทั้งคู่ร้องเค้าก็เป็นขวัญกับเรียมจริงๆ เพราะจริงๆ ทั้งคู่ก็เป็นนักแสดงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเลือกกันกับแก้ม ไม่ได้เลือกเพราะเป็นแค่นักร้อง แต่เป็นนักร้อง-นักแสดงที่สามารถสวมวิญญาณขวัญกับเรียมในอารมณ์ของดนตรีได้ ซึ่งเค้าก็ทำออกมาได้สมบูรณ์”
          (แก้ม วิชญาณี) “แก้มได้โอกาสที่ดีมากๆ จากหม่อมน้อยให้มาร้องเพลงประกอบ ‘แผลเก่า’ ชื่อเพลง ‘ขวัญของเรียม’ ซึ่งก็จะเป็นอีกเพลงที่เป็นเพลงหลักของเรื่องนี้ เพราะว่ามันบอกความรู้สึกของนางเอกหลังจากที่ไปเจอเรื่องต่างๆ มาแล้วกลับมาหาขวัญ เรียมก็จะนึกถึงความหลังที่ผ่านมาทั้งหมดที่เคยมีความรัก เคยมีความสุขด้วยกัน แล้วก็เลยจะกลับมาหาพี่ขวัญเพื่อจะอยู่กับเค้าตลอดไป
ยากมากค่ะ มันยากตรงที่ว่าคีย์มันสูง แล้วอีกอย่างหนึ่งคือเราต้องถ่ายทอดความเป็นตัวละครออกมา รวมไปถึงลูกเอื้อน คือมันยากที่เราจะต้องทำออกมาให้กลมกล่อม แต่เราก็เต็มที่กับเพลงนี้มากๆ ร้องไปแล้วก็ขนลุกไปด้วย แน่นอนว่าศิลปินที่ได้ร้องเพลงอมตะแบบนี้ต้องภูมิใจมากๆ เพราะว่าอย่างแรกคือมีเพลงต้นฉบับแล้วเราได้มาร้องใหม่อีกครั้งหนึ่ง แสดงว่าคนที่เลือกเรา เค้าเห็นว่าเราเหมาะสมแล้ว ซึ่งเราก็ได้รับเกียรติมากๆ ค่ะ”
          (กัน นภัทร) “แต่ละเพลงก็จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันครับ อย่างเช่นเพลงเริ่มเรื่องคือ ‘เคียงเรียม’ ก็จะเป็นเพลงที่เล่าถึงบรรยากาศต่างๆ ของทุ่งบางกะปิ เล่าถึงความสุขต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างขวัญกับเรียม เล่าถึงทุ่งนาและคลองแสนแสบที่สวยงาม แล้วต้องเล่าให้เห็นภาพจริงๆ คือทุกอย่างต้องเล่าผ่านทำนองและคำร้องของเพลงนี้ ส่วนเพลงที่สองเพลง ‘สั่งเรียม’ ก็จะเป็นเพลงที่ยังมีอารมณ์ของความสุขอยู่ คือหลังจากที่เปิดเรื่องทั้งสองก็จะเริ่มรักกัน แล้วก็จะมีความผูกพันต่างๆ เกิดขึ้น ก็เกิดเป็นเพลงนี้ขึ้นมา ส่วนเพลงที่สามเพลง ‘แสนแสบ’ เป็นเพลงที่ต้องใช้อารมณ์มากครับ เพราะว่าเป็นเพลงที่ขวัญรู้สึกเสียใจมากที่เรียมผิดนัดกับเขาแล้วหนีไป ทำให้ขวัญร้องระบายออกมาเป็นเพลงนี้ เป็นการระบายความทุกข์กับคลองแสนแสบครับ
          กันรู้สึกดีใจมากๆ ครับที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดเพลงเก่าๆ ที่มีคุณค่ามากๆ กับเยาวชนรุ่นใหม่และคนที่เคยฟังมา เพราะว่าเพลงเก่าๆ แบบนี้มีเนื้อเพลงที่มีคุณค่า ฟังกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ ผมก็รู้สึกภูมิใจที่ได้มาถ่ายทอดเพลงดีๆ แบบนี้ ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของ ‘แผลเก่า’ ก็ต้องขอบคุณหม่อมน้อยที่ให้เกียรติผมได้มีโอกาสมาร้องเพลงเรื่องนี้ครับ”

          พี่รักเรียมด้วยใจซื่อ
          แผลเก่าของพี่เป็นแผลรัก แผลรอ
          แต่แผลใหม่นี้ มันเกิดขึ้นเพราะเจ้าชัง...

FB on July 23, 2014, 03:29:03 PM
บทสัมภาษณ์ผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” ในผลงานล่าสุดกับภาพยนตร์ชีวิตรักอมตะ “แผลเก่า”





แรงบันดาลใจและที่มาที่ไปของ “แผลเก่า” เวอร์ชั่นนี้
          คือโครงการนี้มันเกิดจากการที่คุณเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) กับเราคุยกัน คุณเจียงมีความปรารถนาอยากที่จะเห็น “แผลเก่า” ในเวอร์ชั่นใหม่ คือลำพังตัวคุณเจียงเองก็ชื่นชมและประทับใจภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ของคุณเชิด ทรงศรีมาก แกอยากเห็น แผลเก่า แบบหนังร่วมสมัย เป็นหนังที่ทำให้คนรุ่นใหม่ดู แต่ว่ารักษาอรรถรส รักษาเนื้อหาสาระของเดิมไว้ทั้งหมด ก็เลยมาปรึกษากัน แล้วก็คิดว่ามันต้องมีการปรับปรุง อาจจะมีการปฏิรูปแผลเก่าจากวรรณกรรมเรื่องเดิมมาเป็นภาพยนตร์ในยุคใหม่ ซึ่งอันนี้ต้องมีการศึกษามาก มีการค้นคว้ามาก แน่นอนที่สุดวรรณกรรมเรื่องนี้เขียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2479 แล้วก็ถูกทำเป็นภาพยนตร์หลายครั้งมาก รู้สึกว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 5 ถูกทำเป็นละครเวทีและละครโทรทัศน์มากมาย ตัวเราเองก็ดูหลายครั้ง ทั้งอ่านวรรณกรรมหลายเที่ยวตั้งแต่เด็ก
          แล้วก็อันที่ประทับใจที่สุดคือแผลเก่าที่เป็นละครโทรทัศน์โดยช่อง 4 บางขุนพรหม จำได้ว่ากำธร สุวรรณปิยะศิริและนันทวัน เมฆใหญ่เล่นเป็นขวัญกับเรียมแล้วมันเป็นภาพที่ติดตามากๆ สมัยนั้นยังเป็นทีวีขาวดำอยู่เลย ก็ประทับใจจำได้ไม่ลืมเลือน ทีนี้พอยุคที่เราเรียนหนังสืออยู่ เรียนมหา’ลัยก็มีหนังคุณเชิดเมื่อปี 2520 ก็ได้ดูแล้วก็ประทับใจไปอีกแบบหนึ่ง แล้วก็ไม่เคยคิดเลยว่าวันหนึ่งจะได้ทำ อยากดูที่คนอื่นทำมากกว่า ถ้าถามความรู้สึกของตัวเองนะครับ จะพูดไปก็เป็นความปรารถนาของคุณเจียงที่บอกว่าอยากเห็นแผลเก่าฝีมือหม่อมน้อยทำ

เวอร์ชั่นนี้จะออกมาเป็นอย่างไร
          ก็ทำให้เป็นหนังวัยรุ่นย้อนยุค จริงๆ แล้วตามบทประพันธ์ของ “ไม้ เมืองเดิม” (ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ก็เป็นวัยรุ่นย้อนยุคอยู่แล้ว ถ้าคนอ่านหนังสือจะทราบว่าขวัญกับเรียมอายุ 18-19 เอง ทีนี้พอมองไปเวอร์ชั่นที่ดังที่สุด เวอร์ชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประทับใจที่สุดจะเป็นของคุณสรพงษ์ ชาตรี กับ คุณนันทนา เงากระจ่าง ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งสองท่านอายุมากแล้วในตอนนั้น ภาพนั้นจะติดตาคนดู แต่โดยแท้แล้วเมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง ตอนที่ยังไม่ได้รับปากคุณเจียงด้วยซ้ำ บอกว่าขอมาอ่านก่อนอีกครั้งหนึ่ง ขอดูแง่มุมที่จะสามารถดัดแปลงเป็นภาพยนตร์สำหรับยุคใหม่ร่วมสมัย มันจะได้มั้ย ก็มาอ่านอีกครั้งหนึ่ง ก็เก็บรายละเอียดมาก แล้วก็เห็นคุณค่าในวรรณกรรมชิ้นนี้มาก จริงๆ แล้วเป็นเรื่องง่ายๆ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย เป็นความรักของขวัญกับเรียมซึ่งสองครอบครัวพ่อแม่ไม่ถูกกัน เกลียดกัน แล้วก็เป็นรักต้องห้าม โดยมีคลองแสนแสบขวางกั้นอยู่ จะพูดไปก็มีความเป็นโรมิโอ-จูเลียตของเช็กสเปียร์อยู่มาก แต่ว่าในหนังสือความเด่นของท่านคือการใช้ภาษาของท่าน ซึ่งบรรยายทุ่งนาได้สวยงามเหลือเกิน แล้วก็บรรยายชนบทพื้นบ้านไทยในยุคนั้นได้อย่างงดงาม แล้วก็ตัวละครของท่านคือขวัญกับเรียมเป็นมนุษย์ มันน่าอัศจรรย์ใจมากที่นักเขียนในยุคนั้นมักจะเขียนพระเอกก็คือพระเอก นางเอกก็ดี ผู้ร้ายก็ร้าย แต่ว่าใน แผลเก่า ท่านสร้างตัวละครขวัญกับเรียมได้เป็นมนุษย์มาก เป็นมนุษย์ธรรมดาที่มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี มีทุกอย่าง มีเลือดมีเนื้อ มีจิตใจ มีวิญญาณ มีความคิดลบ มีความคิดบวก ซึ่งน่าอัศจรรย์ใจมาก

เรื่องราวของ “แผลเก่า”
          ทีนี้เราก็ไปจับได้ว่าความรักต้องห้ามของหนุ่มสาวสองคน อายุ 18-19 เอง แล้วเพิ่งจะรักกัน มันน่าจะเป็นหนังวัยรุ่นยุคนั้นได้ วัยรุ่นที่ย้อนยุคไป ซึ่งการกระทำของทั้งสองคนมันก็เหมือนวัยรุ่นในยุคปัจจุบันมาก เหมือนวัยรุ่นทุกยุคมาก คืออะไรห้ามมักจะทำ พ่อแม่ห้ามเราจะสนุกเหลือเกินที่จะฝ่าฝืนกฎ ฝ่าฝืนพ่อแม่ มันเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็น Psychology ธรรมดาของมนุษย์วัยรุ่นที่อะดรีนาลีนกำลังพลุ่งพล่านมาก แล้วก็ยังแยกไม่ออกระหว่างความรักกับความหลง แล้วขวัญเองก็เป็นหนุ่มหล่ออยู่ฝั่งหนึ่ง เรียมเองก็เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าจะโดนห้ามคบกันตั้งแต่เด็ก มีคลองขวางกั้น แต่มันเห็นกันทุกวัน หมู่บ้านสมัยนั้น 2479 มันเล็กนิดเดียว มันก็รู้จักกันหมดนั่นแหละ แต่ว่าไม่พูดกัน โดนห้ามคบกัน เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนที่เริ่มจะสู่วัยหนุ่มวัยสาวมันจะสนใจกัน แล้วยิ่งห้ามยิ่งยุมันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นอันนี้เราเลยจับได้ว่าด้วยจิตวิทยาง่ายๆ ของวัยรุ่น เราเลยเชื่อว่าประเด็นนี้มันจะเป็นประเด็นที่คนดูวัยรุ่นยุคปัจจุบันตั้งแต่ 14-19 จะดูอย่างเข้าใจ เพราะมันเป็นเรื่องที่สามารถรู้สึกได้
          สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณไม้ เมืองเดิมท่านสร้างตัวละครเป็นธรรมชาติมาก เป็นวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย อ่านแล้วก็จะเข้าใจความรู้สึกของขวัญ (ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต) กับเรียม (ดาวิกา โฮร์เน่) เพราะฉะนั้นการที่ทั้งสองคนฝ่าฟันอุปสรรคขวางกั้น ไม่ว่าจะเป็นคลองแสนแสบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครอบครัว แล้วมาแอบรักกัน แล้วโดนจับได้ กลางๆ เรื่องเรียมก็จะถูกจับแยกกับขวัญไปขายที่กรุงเทพฯ แต่ว่าบังเอิญเรียมไปหน้าตาเหมือนลูกสาวที่ตายไปแล้วของคุณหญิงทองคำเปลว (สินจัย เปล่งพานิช) คุณหญิงก็เลยเลี้ยงตัวเองให้เป็นลูก แล้วก็ไปอยู่ในสังคมชั้นสูงมาก เพราะฉะนั้นเราก็ดัดแปลงมากมาย แต่เดิมอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ว่าในยุคปัจจุบันเราดัดแปลงให้คุณหญิงพาไปเมืองนอก 3 ปีแล้วก็กลับมากลายเป็นไฮโซในยุคนั้น เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของสภาพสังคมระหว่างชนบทกับพระนคร เพื่อจะสร้างอุปสรรคให้กับขวัญและเรียมมากขึ้น เพราะฉะนั้นคุณหญิงเองก็หมายมั่นปั้นมือที่จะให้เรียมแต่งงานกับคุณสมชาย (ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ซึ่งเป็นนักการเมืองหนุ่ม นักเรียนนอก ลูกพระยา ผู้ลากมากดี หน้าตาหล่อ มีการวางไว้ซึ่งคุณสมชายเองก็เป็นคู่หมั้นกับคุณโฉมยงซึ่งเป็นลูกสาวที่ตายไปตั้งแต่เด็ก เพราะฉะนั้นเค้าก็หมายมั่นปั้นมือที่จะให้แต่งงานกัน คุณหญิงเองจริงๆแล้วจะพูดไปก็เป็นเจ้าของที่นาแถวทุ่งบางกะปินั่นเอง โดยมีหลานชายชื่อจ้อย (พงศ์สิรี บรรลือวงศ์) ซึ่งดูแลผลประโยชน์ให้ จ้อยเค้าเป็นเศรษฐีเมืองมีน แล้วจ้อยก็มาเกาะแกะกับเรียมในตอนต้น แล้วก็สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นระหว่างขวัญกับเรียม ทีนี้ขวัญเองเมื่อรู้ว่าเรียมไปอยู่บ้านคุณหญิงก็เข้ามากรุงเทพฯ แต่ก็คลาดกัน ขวัญก็กลับมาแก้แค้นจ้อย เพราะฉะนั้นปมแบบนี้ก็จะเป็นปมต่อกันมาจนถึงตอนจบของเรื่อง

การตีความสู่ภาพยนตร์เวอร์ชั่นนี้
          แน่นอนที่สุดสิ่งที่เราต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาในช่วงเตรียมงานว่าเราทำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้คนรุ่นใหม่ดู เป็นแผลเก่าสำหรับคนรุ่นใหม่ อันนี้มันต้องทำความเข้าใจกันก่อน แน่นอนที่สุดการรีเมกหรือทำภาพยนตร์ที่เคยทำมาแล้ว เราไม่ได้ก๊อปปี้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะก๊อปปี้ของเก่า เพราะของเก่าที่ดีของคุณเชิดก็ 30 กว่าปีมาแล้ว มันไม่ใช่ยุคสำหรับคนปัจจุบัน ดูแล้วก็จะเบื่อๆ เพราะฉะนั้นเราพยายามดึงส่วนที่ดีจากหนังสือ ส่วนที่ดีจากภาพยนตร์ของคุณเชิดซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เราอุทิศให้แก่ “คุณไม้ เมืองเดิม” และ “คุณเชิด ทรงศรี” ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้มีการดัดแปลงวรรณกรรมและภาพยนตร์ออกมาเป็นภาพยนตร์แผลเก่าสำหรับคนรุ่นใหม่จริงๆ เพราะฉะนั้นคนที่ติดกับเรื่องเก่า อาจจะดูหนังเรื่องนี้ไม่สนุก เพราะว่าเป็นการมองมุมใหม่ในเรื่องแผลเก่า เป็นมุมที่แตกต่างจากที่คุณเชิดมอง อย่างตอนที่แผลเก่าเดิมคุณเชิดทำเหมือนจริงมากนะ แต่คราวนี้เรามองเป็นหนังโรแมนติก เป็นหนังรัก เพราะฉะนั้นมันจะไม่จริงจังขนาดนั้น แต่มันจะสะท้อนความรักที่สวยสดงดงาม

“แผลเก่า” แบบโรแมนติกเป็นอย่างไร
          คือภาพยนตร์แนวโรแมนติกเป็นภาพยนตร์ที่พูดถึงอุดมคติ อุดมคติของตัวละคร อุดมคติที่จะทำแต่ความดี ตัวละครในเรื่องนี้โดยเฉพาะขวัญเป็นคนรักเดียวใจเดียวเท่านั้น ยอมตายเพื่อผู้หญิงคนนี้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นขอรักกันทุกชาติไป ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่โลกปัจจุบันไม่มี หรือเรียมเองเมื่อขวัญถูกยิงตายในตอนจบ ตัวเองก็ฆ่าตัวตายตามขวัญซึ่งคนในโลกปัจจุบันอาจจะเห็นว่ามันเป็นการกระทำโง่ๆ แต่ว่าสิ่งนี้เองมันเป็นสิ่งที่สะท้อนในภาพยนตร์เรื่องนี้ให้คนรุ่นใหม่ดูว่าการตายของขวัญกับเรียมเป็นสิ่งที่สวยงามและสูงส่งมาก เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์มาก ความรักของขวัญกับเรียมมันไม่ใช่ความรักที่มีตัณหาเจือปนเลย เพราะฉะนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้จะต่างจาก “จันดารา” มาก จันดารามันเป็นมุมมืดของมนุษย์ที่พูดถึงตัณหาราคะ แต่เรื่องนี้มันพูดถึงความรักที่แสนบริสุทธิ์ และมนุษย์ที่แสนบริสุทธิ์ จิตใจที่แสนจะบริสุทธิ์ของคนซึ่งในยุคปัจจุบันหาได้ยาก มันไม่มีใครยอมตายแทนใครหรอก แต่ว่าอยากให้มาดูว่าเหตุผลที่ตัวละครสองตัวนี้เค้าตายแทนกันได้ว่ามันยิ่งใหญ่ขนาดไหน มันน่ารักขนาดไหน

FB on July 23, 2014, 03:29:24 PM
โลกพระนคร VS โลกชนบท ใน “แผลเก่า”
          ที่สำคัญคือเรามองว่าโลกของทุ่งบางกะปิ โลกของชนบท โลกของความเป็นไทย ในยุค 70-80 ปีที่แล้วมาเป็นโลกที่บริสุทธิ์และซื่อ วิญญาณของคนไทยเป็นคนซื่อ เป็นคนจริงใจ เป็นคนไม่คิดถึงผลประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันโลกของพวกพระนคร ตัวละครฝ่ายกรุงเทพฯ ในเรื่อง มีคุณหญิงทองคำเปลว มีคุณสมชายกับพรรคพวก พวกนี้ก็จะเป็นคนที่รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมชายซึ่งเป็นนักการเมืองในยุคที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่กี่ปี เพราะฉะนั้นอิทธิพลทางการเมืองก็จะมีผลกับตัวละครเหล่านี้มาก คือทำอะไรก็ตามมันจะเต็มไปด้วยผลประโยชน์ การที่สมชายยอมหมั้นกับเรียมซึ่งเป็นลูกเลี้ยงคุณหญิง ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เป็นลูกชาวนาอีกต่างหาก เหตุผลอะไร มันก็เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองนั่นเอง เค้าหมั้นกับเรียมแต่งงานกับเรียมก็เท่ากับเค้าหมั้นกับทุ่งบางกะปิ เพราะเรียมเป็นลูกสาวกำนันเรือง เค้าเอาชนะใจคนในพื้นที่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สมชายทำ สมชายพยายามจะสร้างฐานอำนาจทางการเมืองที่ทุ่งบางกะปิ การที่เค้ามีเมียเป็นลูกสาวชาวนาที่เป็นนักเรียนนอกแล้วสวยขนาดนี้ แน่นอนที่สุดเค้าก็จะเอาชนะใจคนทั้งประเทศได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นตัวละครฝ่ายกรุงเทพฯ กับฝ่ายทุ่งบางกะปิจึงต่างกันมาก
          แม้กระทั่งตัวละครคุณหญิงทองคำเปลวเอง การรับเรียมมาเลี้ยงเป็นลูกก็เพราะว่าแผลเก่าในใจของตัวเองก็คือลูกที่ตายไปแล้วหน้าตาเหมือนเรียม จริงๆ แล้วเธอก็รักตัวเอง มันก็เพื่อผลประโยชน์ความสุขของตัวเองนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราแสดงให้เห็นว่าโลกของกรุงเทพฯ ที่มันกำลังเจริญขึ้นมา มันเจริญทางวัตถุ ในขณะเดียวกันทางชนบท ทุ่งบางกะปิอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของชนบททั้งประเทศ คนไทยยังเป็นคนไทย คนไทยยังเป็นคนซื่อ คนไทยยังเป็นคนจริงใจ อันนี้พิสูจน์ได้จากตอนที่เราถ่ายทำภาพยนตร์ที่สุพรรณบุรี ที่บางปลาม้า ที่คลองแม่หม้าย มีลุงป้าตายายแก่ๆ มาช่วยมากมาย เพราะว่าการทำนาแบบใช้คนทำ ใช้ควายไถเดี๋ยวนี้ในประเทศเราไม่มีแล้ว แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้เราทำทุกขั้นตอนเหมือนอย่างที่โบราณทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากนะ ควายไม่ไถนาแล้ว กองฟางไม่มีแล้ว ไม่มีการดำนา ไม่มีการหว่านข้าว ไม่มีการเกี่ยวข้าวโดยใช้คนอีกต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้นพวกคนแก่ๆ เค้านึกถึงตอนหนุ่มสาวก็เลยมาช่วยกันใหญ่ด้วยความจริงใจ มาช่วยสอนนักแสดงให้ทำนาเหมือนจริงซึ่งเราประทับใจมาก เค้ามาช่วยเหลือด้วยน้ำใจจริงๆ โดยไม่ได้คิดว่ามีผลประโยชน์ทางการเงินมาตอบแทน ซึ่งอันนี้มันแสดงให้เห็นว่าแม้กระทั่งคนชนบทของเมืองไทย ณ ปัจจุบันนี้ยังเป็นคนที่มีจิตใจงาม
          และนั่นคือความเป็นคนไทยจริงๆ พวกเราซะอีกที่เป็นคนเมือง เรารับอิทธิพลตะวันตกมากมาย เราเอาระบบทุนนิยม ระบบมาร์เก็ตติ้งต่างๆ มาใช้กับชีวิตของพวกเรา ทำอะไรก็เพื่อเงิน เพื่อผลประโยชน์ ซึ่งนั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะโลกทั้งโลกก็เป็นแบบนี้ ทีนี้เราพยายามแสดงให้เห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้ว่ามันเป็นโลกสองโลกซึ่งมาเจอกัน โลกของจิตใจกับโลกของวัตถุ แต่โลกของวัตถุมีความต้องการมาก เพราะเป็นคนมีความรู้เป็นคนฉลาด เป็นนักเรียนนอก เพราะฉะนั้นก็จะมีวิธีการเอาเปรียบคนที่ซื่อได้ง่ายกว่า และท้ายที่สุดก็ใช้อำนาจ มีการเสียเลือดเสียเนื้อ
          การที่เรียมกลับมาที่ทุ่งบางกะปิอีกครั้งตอนที่แม่ป่วยแล้วตายไป เรียมได้ตระหนักว่าเธอต้องการอยู่ที่ทุ่งบางกะปิ เพราะวิญญาณของเธออยู่ที่ทุ่งบางกะปิ เป็นของคลองแสนแสบ และเธอรักขวัญจริงๆ เพราะฉะนั้นโลกในกรุงเทพฯ สำหรับเรียมเป็นโลกมายา เป็นโลกไม่จริง เป็นโลกแห่งผลประโยชน์ เพราะว่าเธอได้รู้ว่าการที่เธอได้เป็นไฮโซหรูหรา มันก็คือเป็นหุ่นของคุณโฉมยงนั่นเอง ไม่ใช่ตัวเค้าเลย

“แผลเก่า” เวอร์ชั่นนี้ยังสะท้อนความรักหลากหลายระดับ
          ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนอีกอย่างหนึ่ง นอกจากเป็นภาพยนตร์ที่พูดถึงความรักของหนุ่มสาวแล้ว เรายังพูดถึงความรักในหลายๆ ระดับ มีความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก เพื่อนที่มีต่อเพื่อน บ่าวที่มีต่อนาย และที่สำคัญที่สุดคือรักถิ่นกำเนิดของตัวเอง รักรากเหง้าของตัวเองซึ่งสะท้อนออกมาในตัวละครของขวัญและเรียม ขวัญรักเรียม รักเท่าข้าวในนา เท่าปลาในน้ำ รักเท่าทุ่งบางกะปิ รักเท่าคลองแสนแสบ นั่นคือชีวิตของเค้า เค้ารักเรียมเท่าชีวิตของเค้า เรียมเองในภาพยนตร์เรื่องนี้เดินทางไปต่างประเทศเห็นความสวยหรูมากมายไปหมด มีชีวิตราวกับเจ้าหญิงแต่นั่นคือเปลือกนอกทั้งนั้นเลย เป็นวัตถุทั้งนั้น แต่ลึกลงไปในตัวเรียมเธอมีความรู้สึกว่าเธอเป็นเจ้าหญิงแห่งทุ่งนา เป็นเจ้าหญิงแห่งทุ่งบางกะปิ และตอนจบของเรื่องไม่มีอะไรมีความหมายต่อชีวิตของเธอหรือมีคุณค่ากับชีวิตของเธอเท่ากับทุ่งบางกะปิ คลองแสนแสบและขวัญ
          ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนในหลายๆ อย่าง เป็นโรแมนติกที่สอนความรักหลายๆ แบบ คุณจะได้เข้าใจความรักหลายๆ แบบ แม้กระทั่งความรักตัวเองของพวกกรุงเทพฯ ความรักคืออะไรมันพูดได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ ความรักคือการให้ ความรักคือการที่อยากเห็นคนที่ตัวเองรักมีความสุข นั่นคือความรักไม่ใช่เอาแต่ได้ ทีนี้คนที่ต้องการให้คนรักอยู่กับตัวเอง มันคืออะไร รักตัวเองใช่มั้ย รักให้ตัวเองมีความสุข
          ภาพยนตร์เรื่องนี้พูดถึงความรักในหลายระดับมากๆ เป็นภาพยนตร์รักจริงๆ แม้แต่เรื่องทุกคนคงทราบอยู่แล้วว่าในตอนจบพระเอกนางเอกตาย แล้วก็อาจจะมีเกร็ดของความเป็นจริงอยู่สูง เพราะว่ามีศาลขวัญเรียมจริงๆ อยู่ถึงปัจจุบัน ทุกคนก็กราบไหว้ เราก็ไปกราบไหว้ ก็จะได้ยินว่าส่วนใหญ่ไปขอเรื่องความรักกันแล้วก็สมหวังด้วย เพราะฉะนั้นวิญญาณรักอมตะของขวัญเรียมมีจริง ถ้าคนจะเชื่อว่ามีจริงก็มีจริง เพราะฉะนั้นเค้าเป็นอมตะมาก วรรณกรรมเรื่องนี้ถึงได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้งมาก และดูจะเป็นวรรณกรรมที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดในประเทศไทยด้วยซ้ำ

ยังคงเป็นโศกนาฏกรรมความรักหรือไม่
          ถึงแม้ว่ามันจะดูจบแบบโรมิโอ-จูเลียต เป็นโศกนาฏกรรม แต่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่ภาพยนตร์โศกนาฏกรรมแน่ เราไม่ได้อะไรแบบนั้น โศกนาฏกรรมทำมาแล้วสองครั้งไม่ว่าจะเป็น “ชั่วฟ้าดินสลาย” หรือ “จันดารา” ไม่ใช่อย่างนั้นแน่ มันเป็นภาพยนตร์รักจริงๆ ภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความรักจริงๆ ความรักแท้เป็นเช่นไรก็จะเห็นในเรื่องนี้ แม้กระทั่งตอนจบก็ไม่ใช่ว่าดูแล้วเครียดเป็นโศกนาฏกรรมมากมาย แต่ว่าดูแล้วจะเข้าใจ เป็นอะไรที่ดูสบายๆ พระเอกหล่อ นางเอกสวย วิวสวย เพลงเพราะมาก บทเพลงก็ใช้เพลงเก่าหมดเลย จริงๆ แล้วเราก็รักษาโครงของภาพยนตร์ของคุณเชิด ทรงศรีเอาไว้ซึ่งมันสมบูรณ์มากอยู่แล้ว บทเพลงที่ใช้ดำเนินเรื่องก็บทเพลงของครูพรานบูรพ์ซึ่งไพเราะเหลือเกินเป็นอมตะเหลือเกิน ซึ่งร้องโดยนักร้องใหม่ก็คือ “กัน เดอะสตาร์” (นภัทร อินทร์ใจเอื้อ) กับ “แก้ม เดอะสตาร์” (วิชญาณี เปียกลิ่น) ซึ่งเค้าร้องถ่ายทอดได้ไพเราะมาก มันเป็นภาพของ “แผลเก่า” ในแบบใหม่

การคัดเลือกทีมนักแสดง
          คือในแง่ของการเลือกนักแสดงของเราก็เหมือนกันทุกเรื่อง คือเราจะเขียนบทเรียบร้อยแล้ว แน่นอนที่สุดการแคสนักแสดงก็จะแคสจากคนที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นจริงๆ ที่แน่ๆ คือทุกคนได้รับการออดิชั่นไม่ว่าจะเป็นตัว “เรียม” ก็เลือกกันหลายคนมาก และคนที่เหมาะสมที่สุดก็คือ “ใหม่ ดาวิกา” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนอื่นๆ ที่มาออดิชั่นไม่มีความสามารถและไม่สวย ไม่จริง ไม่ได้เลือกจากความสวยหรือไม่สวย แต่ว่าเรียมโดยคาแร็คเตอร์เค้าเป็นคนที่มีเหตุผล เค้าเป็นผู้หญิงที่มีเหตุผลมากกว่าอารมณ์ เค้าใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
          ในขณะที่ขวัญพระเอกใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เป็นตัวละครที่ต่างกัน เรียมจะดูเป็นผู้ใหญ่มากกว่าขวัญด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการที่เลือกดาวิกาเพราะว่าดาวิกาแลดูเป็นเด็กที่มีเหตุผลมาก เค้าเป็นเด็กตรงๆ มีเหตุมีผล และคิดมากกว่าพูด เค้าจะไม่แสดงออกอะไรที่ไม่จำเป็น เค้าเป็นเด็กช่างคิดเพราะฉะนั้นมันตรงกับเรียมในเรื่องนี้ แม้กระทั่งบทประพันธ์เดิมเลยนะ
          ส่วน “ขวัญ” จะหาช้อยส์ยากในปัจจุบันเพราะว่าหนังสือเขียนว่าโอ้โหราวกับกระทิงหนุ่ม ด้วยรูปลักษณ์ราวกับกระทิงหนุ่ม แล้วเป็นคนซื่อมาก จริงใจ ซื่อในที่นี้หมายถึงว่าจริงใจในความรู้สึกทุกอย่าง เวลาโกรธก็โกรธจัด เวลาทุกข์ก็ทุกข์จัด เวลาอ่อนก็อ่อนมาก เวลาแข็งก็แข็งมาก แล้วก็เป็นนักเลง พ่อคือ “ผู้ใหญ่เขียน” ซึ่งแสดงโดย “อ๊อฟ พงษ์พัฒน์” ก็เป็นนักเลงเก่า ก็สอนลูกให้เป็น็น็นนักเลง นักเลงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงนักเลงในยุคปัจจุบัน นักเลงสมัยโบราณเค้าเป็นสุภาพบุรุษ เค้าต่อสู่เพื่อคนอ่อนแอ เค้าต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เค้าต่อสู้กับโจรผู้ร้ายที่มาเอาเปรียบชาวบ้านหรืออะไรก็ตาม ในขณะเดียวกันก็ฆ่าคนได้ ขวัญเรื่องนี้เค้าเป็นฆาตกรได้นะ เค้าฆ่าคนได้นะ เพราะฉะนั้นมันจะเลือกยาก แต่คุณเจียงกับเราเห็นต้องกันเลยว่าคนที่เหมาะที่สุดด้วยรูปลักษณ์คือ “นิว ชัยพล” ด้วยรูปร่าง ด้วยตาซื่อของเค้า ซึ่งอันนี้เราก็เลือกจากความเหมาะสม
          ทีนี้เนื่องจากว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มันเหมือนภาพยนตร์วัยรุ่นย้อนยุค ขวัญก็ต้องมีเพื่อน เรียมก็ต้องมีเพื่อน เพราะฉะนั้นตัวละครเพื่อนมันก็เป็นตัวละครที่สำคัญ ไม่ว่าเป็นแค่เพื่อน แล้วมันก็ต้องสะท้อนมิตรภาพความรักของตัวละคร เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแคสนักแสดงวัยรุ่นว่าวัยนี้แหละ 18-22 ประมาณนี้ แล้วผู้ที่ได้มาจริงๆ ก็บังเอิญเป็น “เดอะสตาร์ 9 คน” ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า ซึ่งเค้าได้จากแคสติ้ง แล้วก็มีอีกคนหนึ่งก็คือ “เอก เด็กวัดร้อยล้าน” (ศุภากร ประทีปถิ่นทอง) ซึ่งเป็นนักแสดงจากโพลีพลัสคนเดียวที่ได้เลือกมาเล่น เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ว่าเอาเดอะสตาร์มาเพื่อเหตุผลทางการค้า มันไม่ใช่ เพราะเรามองเค้าเป็นนักแสดง เค้ามาออดิชั่นเหมือนนักแสดงทั่วๆ ไป แต่บังเอิญที่เค้าเหมาะกับคาแร็คเตอร์ในเรื่อง แต่ในเรื่องมันก็มีฉากที่กลุ่มขวัญจะต้องไปร้องเพลงเต้นกันรำเคียว เป็นเพลงพื้นบ้านโบราณ ทีนี้พวกนั้นเค้าเป็นนักร้องอยู่แล้วก็เลยโชคดี มันก็เป็นอย่างนั้นมากกว่า
          ส่วนรุ่นใหญ่เช่น “พงษ์พัฒน์, สินจัย, ศักราช, ปานเลขา” อันนี้ก็เลือกจากความเหมาะแล้วก็ฝีมือทางการแสดงที่เหนือชั้นมาก มันน่าดูตรงนี้ มันเป็นการเอารุ่นลูกและรุ่นพ่อแม่ที่ใช้นักแสดงที่มีฝีมือมาทำงานด้วยกัน ในแง่ของคาแร็คเตอร์ทุกอย่างมันมีความหมายหมด ไม่ว่าจะเป็นนาหรือข้าวก็เป็นสัญลักษณ์หมด

การฝึกซ้อมการแสดง-ฝึกฝนสิ่งต่างๆ ก่อนถ่ายทำจริง
          ทีนี้เมื่อเลือกแล้วมันก็จะมีการฝึกฝน มันมีการซ้อม ที่ยากคือว่าตัวละครฝ่ายทุ่งบางกะปิทุกคนต้องเล่นเป็นชาวนา ชาวนาซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ชาวนาใช้เครื่องจักรแล้วประเทศนี้ คือถ้าเราไม่ได้ทำหนังเรื่องนี้เราจะไม่รู้ ทีนี้พอเรารู้ว่ามันไม่มีแล้ว ควายก็ไม่ไถนาแล้ว จะทำยังไง ทุกคนก็เลยต้องไปเรียนที่มูลนิธิบ้านควายที่สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นที่เดียวที่มีการสอนฝึกทำนาจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรับบทขวัญคือ “นิว” ซึ่งจะต้องขี่ควายเก่ง ซึ่งจะต้องทำนาเป็นทุกขั้นตอน นิวเลยไปฝึกถึง 6 เดือนจนขี่ควายเป็น จนคุ้นเคยกับควายที่มาเข้าฉากที่เล่นเป็นควายของเค้าที่ชื่อ “เสาร์” ซึ่งเล่นเป็น “ไอ้เรียว” ซึ่งเค้าก็คุ้นเคยกันมากจนกระทั่งวันถ่าย แล้วก็พวก “เดอะสตาร์” ทุกคน รวมทั้ง “ใหม่” ก็ต้องไปเรียนเพื่อให้ทำงานเป็นจริงๆ แล้วทุกคนเป็นเด็กรุ่นใหม่ อันนี้เป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจมาก เพราะว่าเด็กทุกคน นักแสดงทุกคนที่ไปเรียนได้รู้ซึ้งว่า ข้าวที่ได้มาแต่ละเมล็ดไม่ได้ได้มาง่ายๆ เลย

การทำนาคืองานศิลปะ
          สำหรับเราเอง เราเห็นว่าการทำนาไม่ใช่ใครทำก็ได้ มันเป็นงานศิลปะขั้นสูงมากนะ ให้เราไปเรียนวันสองวันก็ทำไม่ได้ มันเป็นงานศิลปะพื้นบ้านจริงๆ มันอาร์ตเวิร์กจริงๆ ไม่ใช่ใช้ Skill อย่างเดียว ไม่ใช่คนชั้นกรรมาชีพเลย และที่สำคัญคือต้องมีความรู้มาก ต้องรู้ธรรมชาติของดินฟ้าอากาศ ต้องรู้ธรรมชาติของเมล็ดพืช แล้วก็ Sensitive กับน้ำขึ้นน้ำลง ความชื้นอากาศ ซึ่งโอ้โหจริงๆ แล้วเค้าควรเป็นด็อกเตอร์ทางฟาร์มมิ่งกันนะ เพราะว่าเค้ารู้จริงๆ แล้วยิ่งไปกว่านั้นไม่นับหยาดเหงื่อแรงงานที่ต้องตรากตรำอยู่กลางแดดอีก เพราะฉะนั้นนักแสดงในเรื่องนี้จะได้รู้ซึ้งถึงบุญคุณของชาวนา เพราะว่าตัวเองต้องถ่ายกลางแดดจริงๆ ไม่ใช่มาถ่ายแค่แป๊บๆ ชั่วโมงสองชั่วโมง มันไม่ใช่อย่างนั้นเพราะโลเกชั่นถ่ายทำที่สุพรรณบุรี ซึ่งต้องเข้าไปลึกมากเพื่อหนีเสาไฟฟ้าหรืออะไรที่เป็นสมัยใหม่ แล้วรถยนต์ก็เข้าไปไม่ได้ ต้องเดินเข้าไป นั่งซาเล้งเข้าไป แล้วต้นไม้ก็ไม่มีสักต้นเดียว ห้องแอร์ไม่มีอย่าไปฝัน เพราะว่าต่อให้มีเงินเช่ารถแอร์เข้าไป ก็เข้าไปไม่ได้ ก็คือได้รู้ว่าทุกอย่างชาวนาเค้าเหนื่อยยากขนาดไหน เพราะฉะนั้นทุกคนซึ้งถึงบุญคุณของชาวนา แล้วรู้ว่าข้าวแต่เมล็ดไม่ได้ได้มาง่ายๆ เพราะฉะนั้นหลายคนนะที่ตอนนี้รับประทานอาหารก็รับประทานให้หมดไม่ใช่รับประทานทิ้งๆ ขว้างๆ จริงๆ นะพวกที่มาเล่นเรื่องนี้คือจากนิสัยที่กินทิ้งๆ ขว้างๆ กลายเป็นทานให้หมด ตักแต่น้อยอะไรอย่างนี้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดีงามมากแล้ว เราว่าแค่ตรงนี้มันก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากแล้วสำหรับการทำภาพยนตร์เรื่องนี้

คุณค่าของภาพยนตร์สะท้อนผ่านแง่มุมวิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นบ้านและการเมือง
          ยิ่งไปกว่านั้นถ้าจะพูดไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นพิพิธภัณฑ์การทำนาของประเทศนี้เลย คือการทำนาทุกขั้นตอนในอดีต โดยที่รักษาทุกอย่างไว้อย่างเหมือนจริงที่สุดซึ่งมันก็ไม่มีอีกแล้ว คือไม่ใช่เพื่อคนรุ่นหน้านะ เพราะแค่คนรุ่นนี้ก็ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว เราเองก็ไม่เคยเห็น ถ้าไม่ได้ทำหนังเรื่องนี้ก็จะไม่รู้ เพราะเราเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ นี่คือคุณค่าของหนัง และที่สำคัญคือเรารักษาความเป็นไทยเอาไว้ที่สุด คือวิญญาณของคนไทยที่อยู่ในตัวละคร บรรยากาศของความเป็นไทยแท้ๆ ที่อยู่ในท้องน้ำหรือลำน้ำ ไม่นับบรรยากาศงานวัด ไม่นับวิถีชีวิตที่บ้าน ทัศนะที่มีต่อกันของพ่อแม่ลูก ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวนาพื้นบ้าน เค้าเป็นยังไง เค้าคิดอะไร เค้าทำอะไรกันบ้าง เค้ามีวิถีชีวิตอย่างไรในยุคนั้นนะครับไม่ใช่ยุคปัจจุบัน ยุคปัจจุบันก็ไม่เหมือนแล้ว ตกกลางคืนก็รวยหมด มีจานดาวเทียม ชาวนาเดี๋ยวนี้ไม่ได้จนแล้ว นอนห้องมุ้งลวดอะไรอย่างนี้ บางบ้านก็มีแอร์ด้วยซ้ำไป เราคิดว่าสิ่งที่มีคุณค่าในเรื่องนี้มีเยอะมาก
          แม้กระทั่งทางการเมืองก็ตาม มันมีการสะท้อนประชาธิปไตยในเรื่องนี้ด้วย ว่าประชาธิปไตยคืออะไร เพราะเรื่องมันเริ่มต้นในปี 2479 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่กี่ปีเท่านั้น เพราะฉะนั้นเรื่องดำเนินไปในการเปลี่ยนแปลงของประเทศ มีพัฒนาการของกระบวนการทางการเมือง แล้วก็ทัศนะที่นักการเมืองมาเอาเปรียบชาวไร่ชาวนา ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ได้เขียนเพื่อจะมาเหน็บแนมใครหรืออะไร หรือสะท้อนภาพในปัจจุบัน เพราะว่าบทเขียนตั้งแต่ปีที่แล้วก่อนที่จะมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้น
          แล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแม้กระทั่งในทุ่งบางกะปิเองก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างสองบ้านคือบ้านขวัญคือผู้ใหญ่เขียนกับบ้านเรียมคือกำนันเรือง สองบ้านก็จะแตกต่างกันตรงที่บ้านหนึ่งเป็นสมถะชีวิตพอเพียงก็คือบ้านขวัญ ส่วนบ้านเรียมกำนันเรืองเป็นลูกน้องของพวกทุนนิยม เป็นลูกน้องของคุณหญิงทองคำเปลวพวกนายทุนทั้งหลาย ทำอะไรก็จะเป็นวัตถุเป็นเงินเป็นทอง เพราะฉะนั้นความขัดแย้งมันจะชัดเจนมากระหว่างฝ่ายสมถะกับฝ่ายที่เป็นทุนนิยม เรียมก็เป็นลูกสาวของกำนันเรืองซึ่งเป็นพวกนายทุน แต่เธอมีวิญญาณที่เป็นกบฏและเป็นตัวของตัวเองมากเพราะเป็นลูกสาวกำนัน เป็นคนที่ไม่กลัวใคร เชื่อมั่นในตัวเอง ส่วนขวัญก็จะเป็นลูกของผู้ใหญ่เขียน เป็นฝ่ายธรรมะล่ะมั้ง มีชีวิตพอเพียง มีชีวิตอย่างสมถะมาก บังเอิญลูกสองบ้านมารักกัน แล้วแต่ละฝ่ายก็ Extreme นะ แต่ละฝ่ายก็ยึดถือความถูกของเค้า ผู้ใหญ่เขียนถึงแม้เป็นคนสมถะ แต่ก็ไม่ใช่คนปล่อยวาง ก็เป็นคนยึดในความคิดของตัวว่าคิดแบบฉันถูก กำนันเรืองก็บอกคิดแบบฉันก็ถูก เพราะฉะนั้นสองฝ่ายมันก็เป็นศัตรูกันแล้วก็ไม่มีวันจบวันสิ้น ท้ายสุดมันก็ต้องเสียเลือดเสียเนื้อถึงปรองดองกันได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพูดแบบนี้

ความบันเทิงในแบบ “แผลเก่า”
          สิ่งต่างๆ ที่พูดไปมันจะฉากหลังของตัวละคร แต่เรื่องมันจะดำเนินไปด้วยความรักของคนสองคน จะพูดไป ถ้าจะดูภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ดูได้หลายระดับนะ ถ้าคิดตามคุณก็จะได้อะไร ถ้าไม่คิดดูเอาความบันเทิงก็เตรียมผ้าเช็ดหน้าไปเช็ดน้ำตากัน มันก็เป็นอย่างนั้น แต่ว่าเช็ดน้ำตาคราวนี้มันไม่ใช่เช็ดน้ำตาแบบเครียด มันจะเช็ดน้ำตาด้วยความประทับใจมากกว่า ก็อย่างที่บอกว่าจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้เรากับเสี่ยเจียงมองเป็นจุดเดียวกัน คือทำภาพยนตร์ “แผลเก่า” ให้คนรุ่นใหม่ดู เป็นแผลเก่าสำหรับคนรุ่นใหม่จริงๆ

FB on July 28, 2014, 03:10:17 PM
สัมผัสตำนานรักที่โด่งดังที่สุดของไทยร่วมกุศลครั้งยิ่งใหญ่ “แผลเก่า Royal Charity Night” ชมหนังพร้อมมินิคอนเสิร์ต “แก้ม-กัน เดอะสตาร์”



           “สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล” ร่วมกับ “ศิริราชมูลนิธิ” และ “พารากอน ซีนีเพล็กซ์” ขอเชิญสัมผัสตำนานรักที่โด่งดังที่สุดของคนไทย พร้อมร่วมกุศลครั้งยิ่งใหญ่ในงาน “แผลเก่า Royal Charity Night” ชมภาพยนตร์ “แผลเก่า” รอบการกุศล ผลงานกำกับของผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” ในค่ำคืนสุดพิเศษร่วมกับนักแสดงนำจากภาพยนตร์ “ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต”, “ดาวิกา โฮร์เน่”, “สินจัย เปล่งพานิช”, “พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง”, ทีมนักแสดงจากเวทีเดอะสตาร์ และนักแสดงอีกมากมาย พร้อมชมมินิคอนเสิร์ตจาก “แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น” และ “กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ” ในวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคมนี้ เวลา 18.00 น. ณ ชั้น 5 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ บัตรราคา 1,500 บาท ทุกที่นั่ง

          รายได้จากการจำหน่ายบัตร (หลังหักค่าใช้จ่าย) สมทบทุนศิริราชมูลนิธิ โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 60 พรรษา การรักษาผู้ป่วยด้อยโอกาสที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เทคโนโลยีสูง

          เริ่มจำหน่ายบัตรวันอังคารที่ 29 กรกฎาคมนี้ บริเวณหน้า Box Office ชั้น 5 โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน, ศิริราชมูลนิธิ และสหมงคลฟิล์ม

          ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/sahamongkolfilmint และโทร. 0-2273-0930-9 ต่อ 140 จันทร์-ศุกร์ 10.00-18.00 น.

          เตรียมซาบซึ้งไปกับตำนานรักของขวัญกับเรียมได้ในภาพยนตร์รักสุดอมตะเรื่องเยี่ยมแห่งปี “แผลเก่า” 12 สิงหาคมนี้ ทุกโรงภาพยนตร์

FB on July 28, 2014, 09:01:10 PM
“นิว ชัยพล-ใหม่ ดาวิกา-เดอะ สตาร์” เชิดชูชาวนา ร่วมอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน ใน “แผลเก่า”







           หลังจากปักหลักถ่ายทำภาพยนตร์ชีวิตรักอมตะ “แผลเก่า" ของผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” นานกว่า 4 เดือนที่ทุ่งนา คลองบางแม่หม้าย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ซึ่งถูกเนรมิตให้เป็นทุ่งบางกะปิและคลองแสนแสบในอดีต เหล่านักแสดงนำทุกคน นำโดย “นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต”, “ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่” รวมถึงเหล่าศิลปินเดอะสตาร์ทั้ง 9 คน ต่างซาบซึ้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทำนาในอดีตซึ่งกำลังสูญหายจากไทยไปอย่างน่าเสียดาย จากการที่นักแสดงทุกคนจำเป็นต้องศึกษาการทำนาอย่างละเอียดทุกขั้นตอนจากหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี ก่อนการถ่ายทำ และได้รับคำแนะนำจากชาวนาอาวุโสในขั้นตอนการถ่ายทำจริงเพื่อสวมวิญญาณชาวนายุค พ.ศ. 2479 ได้อย่างสมจริง

หม่อมน้อยเผยว่า
          “ผมรู้สึกประทับใจมากที่ทั้ง นิว และ ใหม่ รวมทั้งศิลปินเดอะสตาร์ทั้ง 9 คนเป็นเด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีความมานะพยายามที่จะได้เรียนรู้ศิลปะการทำนาแบบเก่าอย่างเอาจริงเอาจังจนทุกคนรู้สึกได้ว่า กว่าจะได้เมล็ดข้าวแต่ละเม็ด ชาวนาต้องเสียหยาดเหงื่อแรงงานมากขนาดไหน และในทุกขั้นตอนการทำนาไม่ว่าจะเป็นการไถ, การหว่าน, การดำนา หรือการเกี่ยวข้าว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ประณีตไม่ต่างไปจากการทำงานศิลปะชั้นสูง ไม่ใช่ใครก็จะมาทำงานนี้ได้ นักแสดงทุกคนจึงต้องตระหนักถึงบุญคุณของชาวนาที่มีต่อคนไทยทั้งชาติ”

ด้านพระเอกหนุ่ม “นิว ชัยพล” พูดถึงเรื่องนี้ว่า
          “ก็เป็นกำไรอีกอย่างหนึ่งนะครับที่เราได้เรียนรู้ตรงนี้ ทั้งในเรื่องของการเกี่ยวข้าว ถามว่ารู้มั้ยว่าการทำนาคืออะไร ก็คือการไถนาเสร็จแล้วก็หว่านนา แล้วก็รอข้าวขึ้นแล้วก็เกี่ยวเนี่ยคือการทำนา แต่จริงๆ แล้ววิธีการทำมันเยอะกว่านั้นเยอะ บางทีพูดมาสี่ขั้นตอนจริงๆ อาจจะมีซักสิบ ไถนี่เสร็จปุ๊บต้องเกลี่ยหน้าดินอีก ต้องทำคูคลองอีก หว่านเสร็จปุ๊บมันมีดำนา รอเกี่ยว เกี่ยวเสร็จปุ๊บต้องฟาดข้าวให้เม็ดออกมา เก็บไปฝัดเพื่อให้พวกผงพวกเศษมันออกไป ได้ข้าวปุ๊บไปสีอีก คือขั้นตอนเนี่ยมหาศาล แค่นี้ก็เหมือนเราได้เรียนรู้ตรงนี้ได้เหมือนกัน ได้กำไร ได้ขี่ควายที่แบบคงไม่มีโอกาสได้ขี่ในชีวิตประจำวัน ก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่เคยได้เรียนรู้ครับ”

          ติดตามชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทำนาผ่านการถ่ายทอดของทีมนักแสดง “แผลเก่า” ได้
          12 สิงหาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

FB on July 29, 2014, 10:42:22 PM
บทสัมภาษณ์ “นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต” กับบทบาทที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ “ไอ้ขวัญ” หนุ่มเจ้าทุ่งแห่งคลองแสนแสบผู้มั่นในรักเดียว ในภาพยนตร์รักอมตะเรื่อง “แผลเก่า”






   
บทบาท-คาแร็คเตอร์
          คาแร็คเตอร์ของ “ไอ้ขวัญ” ในเวอร์ชั่นนี้ก็จะเหมือนเป็นผู้ชายนักเลงๆ แล้วก็เป็นลูกผู้ชายจริงๆ ลูกผู้ชายตัวจริงไม่ได้รังแกคนทั่วไปที่ไม่มีทางสู้ แต่ว่าจะคอยช่วยเหลือคนที่โดนรังแก อย่างที่คุยกับหม่อม หม่อมอยากจะได้คนที่อารมณ์ค่อนข้างเหวี่ยงไปมาตลอดเวลา เปลี่ยนค่อนข้างเยอะ ถ้าดีใจก็ดีใจสุด ถ้าเสียใจก็เสียใจสุด โกรธก็โกรธสุด แต่ละอย่างมันจะเปลี่ยนเร็วมาก อารมณ์จะเปลี่ยนเร็วมาก แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหมือนในซีนๆ หนึ่งก็ไม่ได้เหมือนว่ามีแค่อารมณ์เดียว บางทีหัวซีนอาจจะเป็นดีใจ ท้ายซีนอาจจะเป็นเสียใจ กลางซีนอาจจะโกรธ คือจะเปลี่ยนไปตลอดเวลา แล้วก็จะเป็นคนที่ไม่ยอมใครเลย แต่จะยอมอยู่สองคนคือพ่อ (ผู้ใหญ่เขียน) กับเรียม
จริงๆ แล้วก็เหมือนเป็นผู้ชายปกติทั่วไป ผู้ชายสมัยก่อนที่แมนๆ เป็นนักเลงหน่อย แต่พอเป็นเรื่องของความรักก็จะแพ้เรียม แต่ว่าเป็นผู้ชายที่ไม่เจ้าชู้ เหมือนรักเรียมมาตั้งแต่เด็กแล้ว เห็นมาตั้งแต่เด็ก คือรักมาตั้งแต่ตอนนั้น อาจจะเขิน ไม่กล้าบอก เปิดเรื่องมาก็เหมือนเราจีบเค้าไปเรื่อยๆ จนเหมือนได้คุยกันครับ

เรื่องราวของ “แผลเก่า”
          ก็จะเป็นเรื่องราวความรักของขวัญกับเรียม คือขวัญจะเห็นเรียมมาตั้งแต่เด็ก หลงรักผู้หญิงคนนี้มานาน แล้วก็รักผู้หญิงคนนี้อยู่คนเดียว ไม่เคยมีแฟนมาก่อน รักคนนี้คนเดียวก็พยายามตามจีบตามคุยแต่เค้าก็ไม่คุยด้วย ด้วยเหตุที่ว่าเหมือนบ้านเรากับบ้านเค้าไม่ถูกกันเรื่องที่นา ก็จะมีคลองมากั้นตรงกลางฝั่งนึงก็ของเรา ฝั่งนึงก็ของเค้า คนสองฝั่ง ไม่ค่อยได้เจอกัน แต่เราก็คอยแอบมอง คอยดูเค้าตลอดเวลา พอมาถึงวันหนึ่งอายุเข้า 18-19 เป็นวัยหนุ่มคึกคะนอง มันก็เกิดความท้าทายความกล้าขึ้นมาที่จะแบบเราอยากคุย อยากเจอ แล้วก็จีบกันไปจีบกันมาจนรักกัน แต่ก็โดนผู้ใหญ่ของทั้งสองครอบครัวห้ามให้รักกัน ห้ามยุ่งเกี่ยวกัน แต่ลูกชายกับลูกสาวดันมารักกันจนเกิดเรื่องบานปลายกลายเป็นโศกนาฏกรรมขึ้นมา

เวอร์ชั่นนี้แตกต่างจากเวอร์ชั่นก่อนๆ ยังไงบ้าง
          แตกต่างกันทุกอย่างนะครับ ผมว่ามันเป็นภาพยนตร์เรื่องใหม่มากกว่า คือมันมาจากนวนิยายเรื่องเดียวกันก็จริง แต่มันก็เป็นการตีความใหม่ของผู้กำกับทั้งเรื่องราวและมีการเสริมเติมแต่งหลายๆ ตัวละครเข้ามาเป็นสีสัน รวมถึงให้ร่วมสมัยมากขึ้น หนังของคุณเชิดจะเน้นเรื่องความดราม่าหนักมาก เวอร์ชั่นนี้ก็จะมีดราม่าหนักเหมือนกัน แต่ก็จะมีคอเมดี้เข้ามาเสริมมาแทรกให้ความแรงของเรื่องมันมีทั้งเศร้าทั้งตลกหลากหลายอารมณ์
          แต่ถ้าถามว่าจุดเด่นของหนังเรื่องนี้ ผมว่าก็น่าจะเป็นการเอานิยายอมตะเรื่องหนึ่งของไทยสมัยก่อนที่เขียนเมื่อ 70-80 ปีที่แล้วมาทำในยุคสมัยนี้ แล้วก็ตีความใหม่โดยใส่ความเป็นปัจจุบันเข้าไปได้อย่างผมว่าผสมผสานกันอย่างลงตัวพอสมควร เป็นหนังพีเรียดที่มีการนำลูกเล่นสมัยใหม่เข้าไปใส่เพื่อให้มันตรงกับยุคสมัยนี้ รวมถึงการถ่ายทำเทคนิคต่างๆ ก็เปลี่ยนไป มันก็ทำให้หนังยิ่งน่าสนใจ รวมถึงหนังหม่อมทุกคนก็ทราบอยู่แล้วว่าต้องภาพสวยงาม แล้วก็กินใจได้ในระดับหนึ่งแน่นอน อย่างเนื้อเรื่องที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมความรักของชายหญิงคู่หนึ่งที่รักกันมาก คุณก็จะได้เห็นในหนังเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ผมว่าได้ทุกๆ รสในเรื่องของความรัก ไม่ใช่แค่รักของขวัญเรียม แต่ยังมีรักของขวัญกับพ่อ รักของขวัญกับเรียว ขวัญกับเพื่อน หรือแม้กระทั่งเรียมกับครอบครัวเค้า แม้กระทั่งตัวละครอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกัน ก็จะได้เรื่องของความรัก และก็มีเรื่องของความเศร้าสูญเสียที่ตามมา เรื่องของคอเมดี้อย่างที่ผมบอก เรื่องของแอ็คชั่นนิดๆ หน่อยๆ ให้ชมเหมือนกัน คือมันเป็นหนังที่รวมทุกอย่างยู่ด้วยกัน ผมว่าผสมผสานได้ตามสไตล์หม่อมน้อย แต่แฝงด้วยความเป็นโมเดิร์นเข้าไป ผมว่าอาจจะมากที่สุดเรื่องหนึ่งของหม่อมเลยก็ว่าได้

ถือเป็นเป็นการแสดงที่หนักที่สุดในชีวิต
          ก็น่าจะหนักที่สุดในชีวิตที่เคยแสดงมาแล้วครับ จากที่เป็น “เคน” (ใน “จันดารา”) ที่หนักที่สุดในชีวิต พอมาเป็น “ขวัญ” นี่จะยากกว่าเยอะครับ คือโดยลุคภายนอกคล้ายๆ กันคือเป็นชายหนุ่มวัยรุ่นโบราณเหมือนกัน แต่เคนอาจจะทำงานสบายกว่านะ อยู่ในบ้านรวยหลังใหญ่ที่เลี้ยงดูค่อนข้างดี แต่ขวัญจะอยู่ในทุ่งบางกะปิที่ไม่มีใครเลย อยู่กับพ่อสองคน ดูเหมือนมันน่าจะเหงานะแต่ด้วยความที่สนิทสนมกันมาก พ่อเลี้ยงดูเราดีมากเหมือนไม่ได้ขาดอะไรไปเลย เช้าเย็นก็ทำนา แล้วก็มีอีกตัวหนึ่งคือเป็นเพื่อนสนิทของเราเลยคือ “ไอ้เรียว” คือควายคู่ใจเรา จะอยู่ด้วยกันตลอดเวลา เราจะเหมือนพี่น้องกัน แล้วเราก็จะมีเพื่อนสนิทมีสมุนอีก 4 คนก็คือ “แฉ่ง. เยื้อน, สมิง, เปีย” ที่คอยช่วยเหลือเรา ก็เป็นความรักของเพื่อนกับพ่อ มันก็ทำให้เติมเต็มตัวละครให้เหมือนไม่ขาดอะไรไปเลย ส่วนในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ นี่จะต่างกันเยอะด้วยอะไรหลายๆ อย่างและขวัญจะเป็นคนที่อารมณ์ค่อนข้างจะสุดโต่งอะไรอย่างนี้ครับ เพราะเรื่องนี้มันจะมีความซีเรียสเข้ามาด้วยในเรื่องของผู้หญิง เรื่องของความรัก มีโศกนาฏกรรมเกิดขึ้น มีการทำร้ายร่างกายกัน มีการฆ่าแกงกัน มันก็เป็นเรื่องราวของวัยรุ่นผู้ชายที่โตขึ้นมาอีกระดับหนึ่งมีเรื่องราววุ่นๆ เกิดขึ้นมากมาย เนื่องมาจากความบาดหมางระหว่างคนในหมู่บ้านเดียวกัน คนสองฝั่งคลอง โดยรวมก็เป็นการแสดงที่หนักที่สุดกว่าเรื่องอื่นๆ ที่เคยเล่นมาครับ

ต้องมีการปรับลุคภายนอกด้วย
          ใช่ครับ ก็อาจจะตัวใหญ่ขึ้นหน่อย เพราะหม่อมอยากให้ตัวใหญ่กว่าเดิม มีการฟิตเนสเพิ่มมากขึ้น ตอนเคน กระทิงทองน้ำหนักประมาณ 69 กิโล ตอนเล่นเป็นขวัญนี่แตะ 75 กิโล ตัวจะใหญ่กว่าเคน สีผิวก็จะดำขึ้น สีผิวของขวัญก็เป็นชายไทยสมัยก่อน ก็จะทำนาอยู่กับแดด ตากแดดเลี้ยงควาย สีผิวก็เป็นไปตามนั้น ก็คือจะดำขึ้นตามสภาพของแดด

ก่อนการถ่ายทำต้องไปซ้อมอะไรหลายอย่างที่สุพรรณบุรีด้วย
          เราต้องไปเรียนทำนา การหว่าน การดำ การไถ่นาด้วยควาย การปลูกต้นกล้า ย้ายต้นกล้า รวมไปถึงการขี่ควายที่เราจะต้องอยู่กับมันตลอด ไปซ้อมกับไอ้เรียวตัวจริงเลย การขี่มัน บังคับมัน พามันไปอาบน้ำ พาไปดื่มน้ำ พามันไปกินอาหารทานหญ้า รู้วิถีชีวิตของชาวนาเลย
ส่วนตัวผมชอบขี่ควายมาก สนุกมาก ชอบจริงๆ เราไปฝึกอยู่กับมันประมาณ 3-4 เดือนก่อนเปิดกล้อง ก่อนซ้อมอย่างอื่นก็ไปขี่ควายเลย ไปอยู่ที่บ้านควาย บางทีก็อาทิตย์ละสองวัน ก็ไปอยู่กับควายตัวนี้ที่ชื่อไอ้เสาร์ ทุกครั้งที่ไปก็ตัวนี้ตัวเดียว ฝึกให้คุ้นชินเลย ทุกครั้งที่ไปตอนแรกๆ ก็จะไปคุยกับมันก่อน ลูบหัวมัน พามันออกไปเดินเล่น ทำความคุ้นเคยเรากับมันก่อน ไปขี่ อาบน้ำ หลังๆ มาก็เริ่มพามันไปไถ่นา ไปดำนา ไปด้วยทุกอย่างเลย คือพามันไปด้วยหมดเลย เหมือนเราใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันให้มันคุ้นชิน แล้วเราก็ถามพี่เค้าว่ามันชอบกินอะไร ก็จะเอาไปฝากมัน มันชอบกินกล้วยน้ำว้า ก็จะพยายามเอากล้วยไปเป็นของที่ทำให้สนิทกัน ของกำนัลให้มันหน่อย

เข้าฉากครั้งแรกกับมันเป็นยังไงบ้าง
          สนุกครับ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเลย ไม่มีอะไรที่ผิดพลาด เพราะว่าอย่างที่บอกคือเราไปอยู่กับมันมานานหลายเดือนแล้ว ทำให้ความคุ้นชินของเรากับมันก็เยอะ รวมถึงมันเป็นควายที่ถูกฝึกมาอย่างดี แล้วก็เคยผ่านผลงานทางภาพยนตร์, โฆษณามาแล้วด้วยเหมือนกัน ไอ้เสาร์เคยผ่านมาหมดแล้ว เผลอๆ อาจจะประสบการณ์มากกว่าผมอีก เพราะมันเล่นมาหลายเรื่องแล้ว

มีซ้อมคิวแอ็คชั่นด้วย
          ก็สนุกครับ ก็มีเรียนคิวกระบองเพิ่มขึ้น ก็ฝึกซ้อมอยู่นานพอสมควร คิวกระบองนี่จะเป็นคิวอันหลังๆ ที่หม่อมเพิ่มเข้ามา หม่อมอยากได้แบบนี้ก็คิดกับพี่พันนาแล้วก็มีผู้ช่วยพี่พันนาคอยดูให้ ไปซ้อมที่บ้านพี่พันนาอาทิตย์ละหนึ่งวัน ประมาณซัก 4-5 เดือนก่อนถ่าย เพื่อให้มันคล่อง เพราะว่ากระบองค่อนข้างยาก มันเป็นไม้จริงๆ ไม่ใช่กระบองหรอก เพราะว่าเราเป็นแบบชาวบ้าน ถ้าดูในหนังจริงๆ ก็จะเป็นไม้ไผ่ เป็นต้นไผ่แล้วก็ก้านไผ่ยาวๆ แล้วก็เอามาใช้ต่อสู่เป็นแบบศิลปะแม่ไม้ของไทย

กดดันหรือหนักใจมากน้อยแค่ไหนกับการแสดงบทนำเต็มตัวครั้งแรก
          ครับ เยอะมาก เพราะจริงๆ แล้วพอพูดถึง “แผลเก่า” มันก็หนีไม่พ้นเรื่องของดราม่าโศกนาฏกรรม เรื่องของความรัก บางทีมันก็เป็นของคู่กันกับแผลเก่า ก็ต้องซ้อมต้องฝึกต้องเรียนรู้พอสมควร เคยพูดว่าตอนที่เล่น “จันดารา” เป็น “เคนกระทิงทอง” เป็นเรื่องที่หนักที่สุดในชีวิตตั้งแต่เคยเล่นมา แต่ตอนนี้ก็คงต้องพูดอีกครั้งหนึ่งว่า เรื่อง “แผลเก่า” นี้เป็นเรื่องที่หนักที่สุดจริงๆ หนักทุกๆ ด้านเลย ตั้งแต่อย่างที่บอกเลยก็มีทั้งขี่ควายทำนาด้วย เพราะว่าเราก็เกิดในเมืองกรุง แล้วต้องไปเรียนรู้ของชาวบ้านจริงๆ และยิ่งไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา เป็นชาวบ้านสมัยก่อนด้วยมันก็ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมมากขึ้น รวมถึงขี่ควายด้วย แล้วก็ร้องเพลงเต้นกำรำเคียว แล้วก็มีฉากบู๊ด้วย รวมถึงฉากดราม่าก็มี หลายๆ อย่างผสมกันมันก็หนักมาก พออ่านบทมา คนดูก็จะคาดหวังในความเป็นดราม่า แต่ว่าพอเราเล่นเราก็พยายามไม่สนใจมันให้ได้มากที่สุด ไม่ได้คิดถึงมันว่ามันจะเป็นยังไง ถามว่าเครียดมั้ย ก็เครียด เครียดมากพอสมควร แต่หม่อมก็จะบอกเสมอว่าปล่อยมันไปในเรื่องของผลลัพธ์ที่ออกมาว่าคนดูจะได้ความรู้สึกยังไง ไม่ใช่เรากำหนดว่าเราต้องเล่นให้เศร้าหรืออะไรก็แล้วแต่ เราก็พยายามปล่อยไป แล้วเล่นออกมาตามที่เราเข้าใจ แล้วก็ทำเต็มที่ที่สุดครับ

ร่วมงานกับ “ใหม่ ดาวิกา” เป็นครั้งแรก
          ก็ดีครับ ตั้งแต่ตอนซ้อม ตอนเวิร์คช็อปก็มีการเจอกันก่อน มีการพูดคุย มีการซ้อมกันที่บ้านหม่อมก่อน มันก็ทำให้เราเหมือนสนิทกันมากขึ้น มาเข้าฉากมันก็ง่ายกันมากขึ้น จากตอนแรกที่ไม่รู้จักกันเลย เรียกได้ว่าไม่เคยเจอเลยดีกว่า ผมไม่เคยเจอตัวจริง พอรู้ว่าจะได้เล่นด้วยกันก็รู้สึกเครียด กดดันเหมือนกัน เพราะเค้าก็นางเอกพันล้าน เราก็เล่นหนังมาไม่กี่เรื่องเอง เราก็เหมือนเครียดๆ กลัวๆ กล้าๆ แต่พอเจอที่บ้านหม่อม ได้ซ้อมได้อะไรกัน มันก็ดี สนุกขึ้น พอเข้าฉากมันก็ช่วยได้มากขึ้น ทำให้เราสนิทกันมากขึ้น เวลาเรามาเข้าฉากกุ๊กกิ๊ก เข้าฉากจีบกันก็ทำให้ดีขึ้น และเพิ่งมารู้ตอนซ้อมที่บ้าน หม่อมว่าเป็นลูกครึ่งไทย-เบลเยี่ยมเหมือนกัน แล้วชื่อก็คล้ายกัน ความหมายเดียวกันอีก “นิว กับ ใหม่” มันก็ตลกดี แปลกดี

เข้าฉากด้วยกันครั้งแรกสุดเลยเป็นยังไง
          ครั้งแรกสุดเลย ฉากอะไรจำไม่ได้แล้ว ก็มีเขินๆ บ้าง อาจไม่เชิงตะกุกตะกัก แต่ว่าเขินๆ อะไรอย่างนี้ครับ แต่ว่าเรื่องการซ้อมมันช่วยได้เยอะมาก ถ้าตอนแรกไม่เคยซ้อมเลย ไม่รู้จักกันเลย ไม่เคยเจอแล้วมาเข้าด้วยกัน มันคงแบบตะกุกตะกักจริงๆ แต่นี่มันเป็นการเขินอายกันในตอนแรกๆ มากกว่า แต่พอหลังๆ มันก็คุ้นขินกันมากขึ้น มันก็ปล่อยไหล สบายมากขึ้น การซ้อมมีส่วนช่วยมากๆ เลยครับ อย่างน้อยเนี่ยที่เห็นชัดๆ เลย จากคนไม่รู้จักกันก็มารู้จักกันก่อนที่จะได้เล่น นี่คืออย่างแรกที่เห็นชัดที่สุด ถ้าหลังจากที่ได้พูดคุยกันแล้ว ที่ได้รู้จักกันแล้ว ก็ได้มาซ้อมบทเข้าฉากกัน ทำให้เราแม่นกับตัวละครมากยิ่งขึ้น เค้าก็ได้แม่นกับตัวละครมากยิ่งขึ้น แล้วได้เข้าฉากด้วยกันก็เหมือนกับว่า รับรู้จังหวะแต่ละคนมากยิ่งขึ้นว่าจะเป็นยังไง แล้วเวลามาเข้าฉากจริงๆ ร่างกายมันก็จะไปของมันเองครับ

กับพี่ “อ๊อฟ พงษ์พัฒน์” มาเล่นเป็นพ่อเรา เป็นยังไงบ้าง
          ดีมากครับ รู้สึกดีใจมาก สนุกมาก วันแรกที่ได้เข้าฉากกับพี่อ๊อฟเลยก็มีความสุขมาก ทุกฉากที่ได้เล่นกับพี่อ๊อฟ เหมือนเราอยากเล่นกับพี่อ๊อฟมานานแล้ว อย่างในเรื่อง “จันดารา” ก็เหมือนจะได้เล่นด้วยกันเพราะว่าอยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เล่นด้วยกันเลย เหมือนแค่ร่วมซีนกันผ่านๆ แต่ว่าในเรื่องนี้เราได้มาเป็นลูกของเค้า ได้เข้าฉากกันมากขึ้นเยอะ แล้วยิ่งเป็นฉากพ่อลูกแบบไม่มีแม่ เป็นพ่อลูกที่สนิทกันมาก มันก็เล่นแล้วสนุก มีความสุขมาก ทุกๆ ฉาก ในทุกๆ ครั้งที่เล่นกับพี่อ๊อฟ รวมถึงตอนซ้อมที่บ้านหม่อมแล้ว ทุกครั้งพี่อ๊อฟจะมีอะไรใหม่ๆ มาเสนอ มาพูดคุย เหมือนมาสอนเราตลอดเวลา นอกจากหม่อมที่เป็นอาจารย์สอนเรื่องการแสดงแล้วด้วยเนี่ย พี่อ๊อฟก็เป็นลูกศิษย์ของหม่อมเหมือนกัน แล้วก็เป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากๆ ในตรงนี้ แล้วเค้าก็มีส่วนที่เอาความรู้ของเค้ามาสอนเราเหมือนกัน เช่นเดียวกัน เวลาว่างพักกินข้าว เราก็ได้พูดคุยกัน มันก็ทำให้เราสนิทกันมากขึ้น ยิ่งเล่นยิ่งสนุกเพราะเป็นไอดอลคนหนึ่งที่เราอยากจะเจริญรอยตามครับ

FB on July 29, 2014, 10:43:52 PM
กับพี่ “เจี๊ยบ ศักราช” เป็นยังไงบ้าง
          จริงๆ สนิทกันพอสมควรอยู่ เพราะว่ารู้จักกันเล่นกันมาก็หลายเรื่องแล้ว ส่วนใหญ่ก็เจอกันมาตลอดในหนังทุกๆ เรื่องของหม่อม ก็ทำให้เรารู้จักสนิทสนมกันอยู่แล้ว พอเวลาเข้าฉากมันก็สบาย พี่เจี๊ยบก็คอยมากระซิบตลอดเวลาเรื่องสอน เรื่องอะไรอย่างนี้ก็จะเป็นการช่วยเราได้ดีมากอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะกับฉากที่ต้องปะทะอารมณ์กันด้วย

ฉากในน้ำที่ต้องมีค่อนข้างเยอะ
          ก็สนุกครับ ผมเป็นคนที่ชอบว่ายน้ำ แล้วช่วงถ่ายทำนี่อากาศยิ่งร้อน คนอื่นอาจจะแต่งตัวใส่สูทใส่อะไรกัน คนมาจากพระนคร หรือว่าคนอื่นที่อยู่ในทุ่งบางกะปิ บางคนก็แบบเสื้อผ้าเยอะ แต่เราก็เหมือนแบบได้กระโดดน้ำอยู่ตลอดเวลามันก็เป็นข้อดีข้อหนึ่งที่เราได้คลายร้อนกว่าคนอื่นเค้า แต่ว่าบางทีทุกคนก็จะเป็นห่วงเรื่องปลิงกัน แต่ที่ถ่ายมาก็ยังไม่โดน แต่ก็มีการป้องกัน มีการเซฟเอาไว้เหมือนกันครับ

เมคอัพ-คอสตูมในเรื่องนี้
          ถ้าสำหรับผมอาจจะคล้ายๆ กันในส่วนของ “เคน” กับ “ขวัญ” ในแง่ของวัยรุ่นชายสมัยก่อนยุคใกล้เคียงกัน ก็จะแต่งตัวเสื้อผ้าคล้ายๆ กัน แต่เรื่องนี้อาจจะแตกต่างจากเรื่องที่แล้วตรงที่ใช้โจงกระเบนมากขึ้นในการแต่งตัวของผม แล้วเป็นชาวนาก็มีการทำให้ตัวดำมากขึ้น ก็มีทั้งเมคอัพช่วยด้วย พยายามตากจริงเพิ่มเติมก่อนเปิดกล้อง 2-3 เดือนก็มีการตากแดดจริง หลังจากเล่นฟิตเนสก็จะไปนอนตากแดดริมสระว่ายน้ำ อาจจะมีการฉีดสเปรย์ให้มันดำง่ายขึ้น แล้วก็ป้องกันแสงยูวีต่างๆ มีการทำอย่างนั้น ก็จะมีพี่ขวดช่างแต่งหน้าก็จะบอกว่ามันจะช่วยให้ผิวเนียนยิ่งขึ้น สวยยิ่งขึ้น ถ้าเกิดเราผิวขาวแล้วมาทาดำมันก็จะดูด่างๆ แต่ถ้าเราผิวกลมกลืนมันจะทำให้ผิวสวยยิ่งขึ้น ช่วยๆ กันทั้งเมคอัพเอง ทั้งคอสตูมเองก็คอยช่วยตลอดเวลา

ประทับใจฉากไหนมากที่สุด
          ถ้าในส่วนตัวผมอย่างที่บอกไป ผมชอบฉากกับพ่อ ผมชอบฉากกับพี่อ๊อฟ ถ้าไม่นับฉากกับเรียมที่เป็นฉากเข้าพระนาง มันก็เป็นเรื่องปกติของหนังอยู่แล้วที่เป็นหนังเรื่องของพระนาง ถ้าเกิดนอกเหนือจากนั้นก็ชอบซีนพี่อ๊อฟครับกับพ่อ เรียกได้ว่าทุกๆ ซีนเลย ทั้งในเรื่องของบทที่มันเป็นบทที่สนุก แล้วก็เหมือนเป็นพ่อลูกที่น่ารักด้วย รวมถึงเบื้องหลังข้างนอกที่ตัวพี่อ๊อฟเองคอยสอนคอยแนะนำตลอดเวลา มันเหมือนเราได้ความรู้ทั้งในด้านของการทำงานและนอกการทำงานด้วย เค้าก็จะคอยสอนตลอดวลา

สำหรับการทำงานร่วมกับหม่อมน้อยอีกหนึ่งเรื่องเป็นยังไงบ้าง ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นมั๊ย
          ก็ได้ครับ ได้อยู่แล้ว เราได้ความรู้เพิ่มเติมทุกๆ วันที่อยู่กับหม่อมอยู่แล้ว เพราะว่าเราอยู่กับท่านมาปีนี้ก็ปีที่ 6 แล้วครับ ก็จากเรื่องแรกสุดเลยที่เป็นนักแสดงที่เหมือนเดินผ่านกล้องเฉยๆ ใน “ชั่วฟ้าดินสลาย” ก็คือจะเดินผ่านกล้องเฉยๆ ไม่มีบท ใน “อุโมงค์ผาเมือง” ก็จะเริ่มมีบทขึ้นมาเป็นพี่ชายของมาริโอ้ ใน “จันดารา” ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่เพิ่มขึ้นมาอีกเยอะที่สุด มันก็เป็นความท้าทาย แล้วก็เป็นข้อสอบที่อาจารย์มอบให้ เหมือนเป็นข้อสอบยากขึ้นเรื่อยๆ ที่ถูกเสนอให้ทำ มันเป็นข้อสอบที่เค้าให้เราทำ ตอนแรกๆ ถามว่ากลัวมั้ย กลัวมาก ถึงตอนนี้ก็ยังกลัวอยู่ มันก็ไม่รู้สิ ในส่วนของผม ผมคิดว่าพอทุกคนพูดถึง “แผลเก่า” ทุกคนอาจจะคาดหวังไประดับหนึ่งแล้ว และพอพูดอีกว่าหม่อมน้อยกำกับ ความคาดหวังมันก็ยิ่งคูณเข้าไปอีก เหมือนเป็นสิ่งที่เราต้องแบกไว้พอสมควรกับเรื่องนี้ ไม่ใช่ว่าเรื่องอื่นทำไม่เต็มที่ แต่ว่าเรื่องนี้มันเหมือนอย่างที่บอกไปว่าสิ่งที่เราแบกอยู่ข้างหลังมันหนักขึ้น เราก็ต้องแข็งแรงมากขึ้น เพื่อผ่านมันไปให้ได้ หม่อมก็จะสอนอยุ่ตลอดเวลา คอยให้ความรู้ คอยกำกับ ก็ยังใช้เทคนิคเดิมครับ คือการซ้อมที่บ้าน การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ก่อนเปิดกล้องจริง เวลาถ่ายจริงก็แนะนำแนะแนวเล็กๆ น้อยๆ แล้วก็ปล่อยให้เป็นตัวละครมากที่สุด แต่ว่าทุกๆ วันทุกครั้งก็จะได้สิ่งใหม่ๆ จากหม่อมอยู่เสมอๆ ครับ

เรื่องนี้รวมนักแสดงคับคั่งมาก
          ใช่ครับ เยอะมาก ก็มีอย่าง “ใหม่ ดาวิกา” ทุกคนก็ได้เห็นอยู่แล้ว รวมถึง “ทีมเดอะสตาร์” หลายๆ คนที่มาร่วมสร้างสีสันในหนังเรื่องนี้ รวมถึง “พี่นก สินจัย”, “พี่อ๊อฟ พงษ์พัฒน์” ที่เป็นศิษย์เอกของหม่อม อย่างที่นกก็ไม่ได้ร่วมงานกับหม่อมมาสิบกว่าปีแล้วได้มาร่วมงานในครั้งนี้ เหมือนมันก็เป็นบุญของเราด้วยที่เราได้มาร่วมอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่มีบรรดาศิษย์ของหม่อมที่เป็นศิษย์เอกจริงๆ หลายๆ คนเข้ามาร่วมด้วย รวมถึง “พี่เจี๊ยบ ศักราช” ที่ก็เป็นสุดยอดอีกคนหนึ่งที่อยู่ในหนังของหม่อมหลายๆ เรื่อง รวมถึง “พี่ปอ ปานเลขา”, “พี่ต๊งเหน่ง รัดเกล้า” ก็อยู่ คือทุกคนล้วนมีฝีมือหมดเลยเก่งๆ ทั้งนั้น แล้วมารวมอยู่ในเรื่องๆ เดียว ทั้งในเรื่องขององค์ประกอบ ตัวนักแสดงอย่างที่ได้พูดไป รวมถึงก่อนๆ หน้านี้ที่ได้พูดไป เรื่องบท เรื่องทุกๆ อย่างมันเข้ากัน ผมว่าเป็นหนังที่สมบูรณ์แบบเรื่องหนึ่งเลย

โลเกชั่นเรื่องนี้
          โลเกชั่นเรื่องนี้ส่วนใหญ่แล้วร้อยละ80 ผมอยู่สุพรรณบุรีนะ ทั้งในส่วนของนาขวัญเอง หรือบ้านเรียมเอง บ้านขวัญหรืออะไรก็แล้วแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่สุพรรณบุรี ก็จะเป็นอยู่กับทุ่งนา อาจจะเข้าบางกอกบ้างแต่ว่าก็ไม่ได้เยอะเท่าที่สุพรรณ

ซึ่งทุ่งนาเปรียบเสมือนตัวละครในเรื่องด้วย
          จริงๆ แล้วทุ่งนามันเป็นตัวแปรหลักสำคัญตัวแปรหนึ่งของเรื่องนี้ ด้วยการที่เราถ่ายทำกันแล้วระยะเวลาถ้าเกิดเอาจริงๆ ก็ประมาณ 5 เดือนมกราถึงพฤษภา แต่ถามว่าใช้ทุกวันมั้ยก็ไม่ได้ใช้ทุกวัน แต่ทำไมถึงต้องใช้ขนาดนี้ก็เพราะว่าตัวแปรหลักเลยคือนา มกรามันเป็นเหมือนการเริ่มทำนาที่เป็นการดำนา การไถนา การหว่านนา ก็เหมือนเราเตรียมนาให้พร้อมเพื่อปลูกต้นข้าว พอกุมภาเราเริ่มปลูก พอมีนาเริ่มเป็นต้นกล้า เมษาเริ่มโตเป็นต้นใหญ่ พอพฤษภาปุ๊บสีทองค่อยเกี่ยวคือมันเหมือนเป็นวัฏจักรกระบวนการ เป็นชีวิตของข้าวที่ดำเนินตามเวลา และเหมือนดำเนินเรื่องไปพร้อมๆ กัน กาลเวลาของเรื่องนี้สามารถดูได้จากต้นข้าวเช่นเดียวกัน ที่จะค่อยๆ จากข้าวที่เปิดหัวมาโตเต็มที่แล้วก็ถูกเกี่ยวไป แล้วก็เริ่มการทำนาใหม่ ไถนา หว่านนาเริ่มใหม่เป็นกระบวนการ นี่ก็คือชีวิตของชาวนาแบบหนึ่งที่เป็นวิถีชีวิตของเค้าที่จะเป็นแบบนี้ทุกๆ ปี เป็นทุกๆ หน้าที่จบหน้านี้ปุ๊บ ก็จะเริ่มทำใหม่ ประมาณสามครั้งต่อปี ก็คือจะทำเป็นอย่างนี้ มันก็เหมือนเราสามารถดูเวลาได้จากการทำนา การเจริญเติบโตของข้าวได้เช่นเดียวกัน

ซึ่งด้านหนึ่งของเรื่องนี้จะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตประเพณีของคนไทย
          ผมว่าเป็นอาชีพเป็นวิถีชีวิตของคนไทยเลยก็ว่าได้ที่อยู่กับตรงนี้มาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันปีที่คนไทยทำตรงนี้มาเป็นเอกลักษณ์ของประเทศนี้ ที่สมัยนี้อาจจะเห็นได้น้อยลง แต่เราก็พร้อมที่จะรักษามันไว้และอยากจะให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้เห็น มันเป็นหนังพีเรียดก็จริงแต่อย่างที่บอกว่ามีการปรับใหม่ให้ทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงวัยรุ่นสมัยนี้เช่นเดียวกัน และอย่างที่ผมคิดว่าขวัญเรียมก็เหมือนเป็นวัยรุ่นคู่หนึ่ง ในเวอร์ชั่นนี้ในเรื่องของอายุหม่อมอยากให้เด็กลงมาจากภาคของคุณเชิด อยากให้เด็กลงมาอีกก็เพื่อให้เหมือนกับหนังวัยรุ่นเรื่องหนึ่ง อาจจะเป็นวัยรุ่นพีเรียดที่เป็นความรักกุ๊กกิ๊กของชายหญิงคู่หนึ่งแล้วก็มีเพื่อน กลุ่มเพื่อนเหมือนเป็นหนังวัยรุ่นเรื่องหนึ่ง แล้วก็ได้เห็นวิถีชีวิต ได้เห็นวัฒนธรรมของคนไทยว่าถึงแม้ว่าเค้าจะเป็นวัยรุ่นนะ อายุ 18-19 เนี่ยเค้าก็ทำนาเหมือนกัน คือคนสมัยก่อนทำนา บางทีไอ้รอด (น้องชายเรียม) เนี่ยเด็ก 8 ขวบก็ทำนาเหมือนกัน ก็เหมือนเป็นวิถีชีวิตของเค้าที่อยากจะให้คนรุ่นใหม่ได้เห็น รวมถึงการขี่ควาย การเลี้ยงควาย รวมถึงพายเรือ การแจวเรือก็ได้เห็นกัน ไม่ใช่แค่บางคนพูดถึงว่า อย่างผมเองก่อนถ่ายทำเดี๋ยวต้องพายเรือ อ้อ...พายเรือก็นั่งพายทุกคนคิดอย่างนี้หมด แต่จริงๆ แล้วสมัยก่อนเนี่ย ที่คนสมัยนี้ไม่ได้เห็นแล้วคือการยืนพาย ของเมืองไทยก็มีเหมือนกันการยืนพายก็คือการแจวเรือ จริงๆ การแจวเรือมันคือการยืนพายคือทุกคนคิดว่าแจวเรือคืนั่งพายออย่างนี้ จริงๆไม่ใช่ นี่คือพายเรือ การแจวเรือคือยืน มันจะมีวิธีการของเค้าซึ่งผมก็ได้เรียนอยู่สองวันก่อนถ่ายทำ ก็คือติวเข้มเลยเพื่อถ่ายฉากนั้น ซึ่งต้องพายให้ได้และพายให้ตรง ก็ยากพอสมควร แล้วก็ทำให้ได้ แล้วก็จะได้เห็นวิถีชีวิตของคนแบบนี้จริงๆ เพราะขวัญเหมือนเป็นลูกทุ่งบางกะปิ เป็นเจ้าน้ำ คนที่อยู่ริมน้ำต้องเป็นหมด ก็คือทำนา จับปลา พายเรือ ยกยอ เหวี่ยงแห นี่คือเรื่องปกติมาก มันก็ต้องทำให้ได้หมดเลย มันเหมือนเราไปส่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนคนหนึ่งถ่ายทอดออกมาให้คนปัจจุบันได้เห็น ก็คือต้องเรียนรู้ทุกอย่างให้เป็นให้หมด อย่างน้อยก็ต้องเป็นครับ แต่บางอย่างอาจจะดีหน่อย อย่างเช่นขี่ควายไม่ใช่ง่ายหรอก แต่เป็นการเข้ากับเราได้ง่ายกว่า แจวเรืออาจจะยากหน่อย แต่ถามว่าทำได้มั๊ย ต้องทำให้ได้ ถ่ายทำไปแล้วก็พอทำได้ครับ

รู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้เรียนรู้ทักษะทางด้านนี้
          ก็เป็นกำไรอีกอย่างหนึ่งนะครับที่เราได้เรียนรู้ตรงนี้ ทั้งในเรื่องของการเกี่ยวข้าว บางทีเราก็ไม่รู้หรอกนะเรื่องเกี่ยวข้าวเนี่ย ถามว่ารู้มั้ยว่าการทำนาคืออะไร ก็คือการไถนาเสร็จแล้วก็หว่านนา แล้วก็รอข้าวขึ้นแล้วก็เกี่ยวเนี่ยคือการทำนา แต่จริงๆ แล้ววิธีการทำมันเยอะกว่านั้นเยอะ บางทีพูดมาสี่ขั้นตอนจริงๆ อาจจะมีซักสิบ ไถนี่เสร็จปุ๊บต้องเกลี่ยหน้าดินอีก ต้องทำคูคลองอีก หว่านเสร็จปุ๊บมันมีดำนา ก็ต้องแกะต้นกล้าไปทำเป็นแถว บางทีหว่านเสร็จปุ๊บก็รอโตเลย รอเพาะ รอเกี่ยว เกี่ยวเสร็จปุ๊บต้องฟาดข้าวให้เม็ดออกมา เม็ดออกมาต้องเก็บไปฝัดเพื่อให้พวกผงพวกเศษมันออกไป ได้ข้าวปุ๊บไปสีอีก คือขั้นตอนเนี่ยมหาศาล แค่นี้ก็เหมือนเราได้เรียนรู้ตรงนี้ได้เหมือนกัน ได้กำไร ได้ขี่ควายที่แบบคงไม่มีโอกาสได้ขี่ในชีวิตประจำวัน แล้วก็การพายเรือแล้วก็เหมือนได้เรียนพายเรือไปด้วย บางทีอาจจะเอาไปใช้ในอนาคต พายเรือแคนูเล่นกับเพื่อน ก็สามารถพายได้ หลักการพายเรือก็คงคล้ายๆ กัน ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่เคยได้เรียนรู้ และยากที่จะมีโอกาสได้เรียนรู้ ก็ได้เรียนรู้ครับ

ผู้ชมจะได้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง
          แน่นอนอย่างแรกเลยในแง่ของคำว่าภาพยนตร์ต้องได้ความสนุกสนานได้ความบันเทิงกลับไป แต่ว่าในส่วนที่มีความหมายแฝงอยู่ในนั้นก็แล้วแต่นะว่าคนจะมองยังไง แต่ในสำหรับตัวผม ผมได้เรื่องของความรัก อย่างแรกเลยคือความรักเมื่อคนพูดถึงขวัญเรียมอย่างน้อยแน่นอนคนต้องพูดถึงความรัก ความรักของขวัญเรียมเองก็แล้วแต่ที่มนุษย์คู่หนึ่งจะรักกันได้ถึงขนาดนี้ ผมว่านี่แหละมันคือคำว่ารักแท้จริงๆ ซึ่งสมัยนี้อาจจะเห็นได้น้อยลงหรืออะไรก็แล้วแต่ มันก็อาจเป็นตัวจุดประกายให้คำว่ารักแท้กลับมามากขึ้นก็เป็นได้จากการที่คนได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ รวมถึงความรักของลูกกับพ่อที่ขาดแม่ แต่ถามว่าขาดแม่แล้วมีปัญหาอะไรเข้ามาในชีวิตมั้ย ก็ไม่นะ บางคนบอกว่าที่เกเรทุกวันนี้ก็เพราะไม่มีแม่ มีพ่ออยู่คนเดียว บางคนบอกไม่มีพ่อก็มีแม่อยู่คนเดียว บางคนบอกแบบนี้เพราะว่าเป็นแบบนี้ ถามว่ามันมีส่วนมั้ย มันก็มีส่วนเหมือนกัน แต่ถามว่าเราเลือกที่จะเรียนรู้หรือเลือกที่จะหาอย่างอื่นมาทดแทนได้มั้ย หรือบางทีอาจจะเป็นอยู่ที่ตัวของผู้ปกครองเองด้วย ตัวผู้ใหญ่เขียนเนี่ยสามารถมอบความรักทุกๆ อย่างให้แก่ขวัญได้ในทุกๆ ทาง ทำให้ขวัญออกมาเป็นมนุษย์ได้สมบูรณ์ในระดัหนึ่ง มันก็สอนทั้งในแง่ของตัวเด็กเองที่เป็นตัวขวัญและตัวผู้ปกครองเองด้วยได้เช่นกัน รวมถึงความรักของคนกับสัตว์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน ถ้าเปรียบเทียบสมัยนี้ก็อาจจะเป็นคนกับหมาที่เป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน ที่รักกันมาก ไอ้นี่ก็เช่นเดียวกันอาจเป็นคนสมัยก่อนอาจจะไม่ได้เลี้ยงหมา เลี้ยงควาย ซึ่งถามว่าควายเป็นสัตว์เลี้ยงมั๊ย เป็น แต่ไม่ใช่แค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา เป็นทั้งสัตว์เลี้ยง ใช้เดินทาง ใช้ในการทำงาน ใช้เป็นเพื่อนเล่นทุกอย่างอยู่ในตัวๆ เดียว ซึ่งมันก็เป็นอีกความรักหนึ่งที่น่ารักแล้วก็สวยงามมาก
          รวมถึงที่เห็นอีกอันหนึ่งก็คือความรักของเพื่อน กลุ่มเพื่อนที่แต่ละคนก็มีนิสัยแตกต่างกันออกไป บางคนก็อาจจะมีเลวบ้างดีบ้าง อยู่ที่แต่ละคน และก็อยู่ที่คนจะมองแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ถามว่ามันมีเกิดเรื่องทะเลาะกันในกลุ่มเพื่อนมั้ย ในเรื่องนี้ก็มีเหมือนกัน มันก็เป็นการทะเลาะกันปกติของเพื่อนผู้ชายที่ต้องมีการทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นเรื่องปกติ แต่ถามว่าเมื่อทะเลาะกันแล้วเราสามารถกลับมาคืนดีกัน กลับมาคุยกัน กลับมาแชร์ความคิดกัน ผมเชื่อว่าทุกคนมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนกัน บางทีคนในครอบครัวเดียวกัน หรือว่าใครก็แล้วแต่ทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเองอยู่แล้วแหละ แต่จะเอาความคิดของตัวเองเป็นบรรทัดฐานอย่างเดียวมันก็ไม่ใช่ เราก็ต้องรับความคิดของคนอื่นเข้ามา เพื่อรับความคิดของเค้าแล้วก็มาปรับใช้ แล้วเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองและสังคมได้ยังไงบ้าง มันก็อยู่ที่ความคิดและมุมมองของคนหลายๆ คน เราจะได้เห็นสิ่งตรงนี้จากหนังเรื่องนี้

นิยามของ “แผลเก่า”
          ถ้าในแง่ของผมเอง พอพูดถึง “แผลเก่า” ปุ๊บ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าแผลเก่า มันก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่ออดีตและยังส่งผลถึงปัจจุบันอยู่ ซึ่งสิ่งนั้นสำหรับตัวขวัญเอง ถ้าเกิดเปิดเรื่องมาปุ๊บ ถ้าถามว่ามันมีเรื่อง ผมว่ายังไม่มีนะ แต่พอมันมีเนี่ย มันก็เริ่มมีขึ้นหลายๆ อัน อาจจะบางแผลบ้าง แผลเล็กบ้างแผลใหญ่บ้าง แต่แผลใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นแผลที่เรียมทิ้งมันไป เรียมหายตัวไปแล้วกลับมาเปลี่ยนเป็นอีกคนหนึ่ง น่าจะเป็นแผลที่ลึกที่สุดที่ทำให้ผู้ชายคนหนึ่งที่อดทนรอมาเปลี่ยนไปในทางที่อาจจะแย่ลง แล้วก็พยายามสู้กลับมาเพื่อผู้หญิงคนนี้ แต่สุดท้ายจะเป็นยังไงก็ไม่มีใครรู้

FB on August 03, 2014, 11:59:39 PM
“สหมงคลฟิล์ม” ขอร่วมกุศลครั้งยิ่งใหญ่ พร้อมจัด “แผลเก่า Royal Charity Night” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษา









          บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดีๆ “60 ปี แห่งรอยยิ้มและความสุข”เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษา โดยในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 มูลนิธิศิริราช และผลิตภัณฑ์ Ze-Oil ได้มีงานแถลงข่าวพร้อมพูดคุยถึงกิจกรรมดังกล่าวขึ้น ณ ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช ทั้งนี้ภายในงานคุณอวิกา เตชะรัตนประเสริฐ รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บ. สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จก. พร้อมด้วยผู้กำกับ และนักแสดงของภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ทั้ง หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล และนักแสดงนำ นิว ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต, ตั้ม เดอะสตาร์ 9-วราวุธ โพธิ์ยิ้ม และ โดม เดอะสตาร์ 8 -จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม มาร่วมพูดคุย พร้อมประชาสัมพันธ์การจัดงาน “แผลเก่า Royal Charity Night” ซึ่งเป็นอีก 1 กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำถวายเป็นพระราชกุศลด้วย

          “แผลเก่า Royal Charity Night” เป็นการจัดฉายภาพยนตร์ “แผลเก่า” รอบการกุศล จากผลงานกำกับของผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล”กับค่ำคืนสุดพิเศษ ร่วมกับนักแสดงนำจากภาพยนตร์ อาทิเช่น “ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต”, “ดาวิกา โฮร์เน่”, “สินจัย เปล่งพานิช”, “พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง”, ทีมนักแสดงจากเวทีเดอะสตาร์ และนักแสดงอีกมากมาย พร้อมชมมินิคอนเสิร์ตจาก “แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น” และ “กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ” โดยงานจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคมนี้ เวลา 18.00 น. ณ ชั้น 5 พารากอน ซีนีเพล็กซ์

          เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม บัตรราคา 1,500 บาท ทุกที่นั่ง ผู้ที่สนใจร่วมทำบุญสามารถหาซื้อบัตรได้ที่ บริเวณหน้า Box Office ชั้น 5 โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน, ศิริราชมูลนิธิ และ บ.สหมงคลฟิล์มฯรายได้จากการจำหน่ายบัตร (หลังหักค่าใช้จ่าย) สมทบทุนศิริราชมูลนิธิ โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 60 พรรษา เพื่อการรักษาผู้ป่วยด้อยโอกาสที่มีค่าใช้จ่าย และใช้เทคโนโลยีสูง ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/sahamongkolfilmintและโทร. 0-2273-0930-9 ต่อ 140 จันทร์-ศุกร์ 10.00-18.00 น.

          เตรียมซาบซึ้งไปกับตำนานรักของขวัญกับเรียมได้ในภาพยนตร์รักสุดอมตะเรื่องเยี่ยมแห่งปี “แผลเก่า”12 สิงหาคมนี้ ทุกโรงภาพยนตร์

FB on August 04, 2014, 12:01:25 AM
บทสัมภาษณ์ “นก-สินจัย เปล่งพานิช” หวนร่วมงานหม่อมน้อยอีกครั้งในรอบ 17 ปี กับบท “คุณหญิงทองคำเปลว” เศรษฐีนีม่ายผู้มั่งคั่งผู้ที่มาเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรียมใน “แผลเก่า”









           บทบาท-คาแร็คเตอร์
          บทของ “คุณหญิงทองคำเปลว” ในเรื่อง “แผลเก่า” ก็จะมีคาแร็คเตอร์ที่ค่อนข้างเป็นอีกหนึ่งคนที่พี่น้อย (หม่อมน้อย) มองว่าเป็นคนที่มีแผลเหมือนกัน มีความเป็นมาในชีวิต มีลูกสาวคนหนึ่งแล้วก็เสียชีวิตไป ไม่พูดถึงสาเหตุ แล้ววันหนึ่งก็ได้มาพบกับ “เรียม” แล้วก็มีหน้าตาคล้ายลูกสาวตัวเอง ก็เลยเกิดความคาดหวังแล้วก็หลงรัก ต้องการที่จะดูแลเค้า ทำทุกอย่างให้เค้าเป็นเหมือนลูกสาวคนหนึ่ง สร้างเค้าขึ้นมาใหม่
          ตัวคุณหญิงเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรักของขวัญ-เรียมได้อย่างไร
          ที่ไปเกี่ยวข้องกันกับเรื่องราวความรักของขวัญกับเรียม คือจริงๆ แล้วคุณหญิงน่าจะเกี่ยวข้องกับเรียมมากกว่า คือเรียมถูกนำมาขายกับคุณหญิงทองคำเปลว เพราะว่ากำนันเรืองเป็นลูกหนี้อยู่ เหมือนเอามาขัดดอก ตอนนี้ด้วยความที่เรียมหน้าเหมือนลูกสาวตัวเองก็เลยหมายมั่นอยากจะให้ลูกสาวตัวเองกลับมามีชีวิต คาดหวังทุกอย่าง กำหนดกฎเกณฑ์ทุกอย่าง สร้างเค้าทุกอย่างโดยที่ไม่ได้ถามความสมัครใจของเค้า จนวันหนึ่งพาเค้ากลับไปบ้านที่บางกะปิ แล้วก็ทำให้เรียมรู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองเหมาะกับที่นี่มากกว่า ตัวเองมีคนรักอยู่ เค้าต้องการที่จะกลับไปใข้ชีวิตแบบนั้น คุณหญิงเองก็คงรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมันมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเรียม ในเวอร์ชั่นนี้หม่อมน้อยก็อยากปูให้เหมือนกับว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรื่องราวความรักของคนทั้งคู่ ทุกคนมีส่วนผิด ดังนั้นคุณหญิงเองก็รู้สึกว่าตัวเองมีส่วนผิดที่ทำให้เกิดเรื่องราวโศกนาฏกรรมครั้งนี้ขึ้นมา ก็เลยสร้างรอยแผลให้กับตนเองและคนอื่นๆ ด้วย

          ความรู้สึกส่วนตัวต่อตัวละครตัวนี้
          ถ้าถามโดยส่วนตัวแล้ว เราก็รู้สึกว่าคุณหญิงเองก็เป็นเจ้าข้าวเจ้าของคนอื่นมากเกินไป ด้วยเหตุนี้หรือเปล่าที่ทำให้เค้าเสียลูกสาวไป เพราะฉะนั้นการที่มีใครซักคนเข้ามาในชีวิตแล้วก็หมายมั่นปั้นมือ พยายามที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้เค้ากลับมาเป็นสิ่งที่ตัวเองรัก สิ่งที่ตัวเองหวัง จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่ถูกเลย ไม่เคยถามความสมัครใจเค้าว่าเค้าอยากได้ อยากมี อยากเป็นแบบที่ตัวเองต้องการหรือเปล่า นั่นมันก็คือเหมือนเป็นการทำลายชีวิตคนๆ หนึ่งเหมือนกัน แล้วก็ทำลายตัวเองนั่นแหละ ทำลายศรัทธา ทำลายความรู้สึกดีๆ ที่ตัวเองให้ สิ่งที่ให้คือการให้ที่ไม่ได้สมัครใจ คือการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ คือถ้าเป็นความรักก็คงเป็นความรักที่เห็นแก่ตัวเกินไป

          พี่นกกลับมาร่วมงานกับหม่อมน้อยอีกครั้งในรอบ 17 ปี ครั้งนี้เป็นยังไงบ้าง
          ก็เหมือนกลับมาหาอาจารย์ แล้วมันเหมือนกับว่าเราก็โตขึ้น โตจากพี่น้อยนี่แหละค่ะ เติบโตมากับวงการนี้จนกระทั่งวันหนึ่งได้กลับมาทำงานกับพี่น้อยอีก ความรู้สึกจริงๆ โดยรวมแล้วก็เหมือนเดิมนะคะ คือเหมือนที่เวลาพี่น้อยสอน เวลาที่พี่น้อยบอก ไม่ว่าจะบอกกับดารานักแสดงคนอื่นเรื่องเดียวกัน หรือว่าบอกกับเรา ก็เหมือนเรายังเป็นนักเรียนวันเก่าๆ อยู่ พี่น้อยก็จะบอกอย่างนี้ จะบอกอารมณ์ จะบอกที่มาที่ไป แล้วก็ความตื้นลึกหนาบางของตัวละคร ซึ่งยังเหมือนเดิม ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าเหมือนได้กลับเข้าไปโรงเรียนใหม่ มาทบทวนกันใหม่ เราทำงานมานานๆ มันก็ชินเหมือนกับอัตโนมัติ แต่การที่กลับมากับพี่น้อยก็ต้องเริ่มต้นใหม่นะ ต้องตีความใหม่ ต้องรู้สึกกับตัวละครนี้จริงๆ ต้องรู้จักมันจริงๆ คนรอบข้างจริงๆ เหมือนได้กลับมาโรงเรียน ได้มาชาร์จแบตอีกครั้ง

          การทำงานของหม่อมน้อยยังละเอียดละอออยู่เหมือนเดิม
          เหมือนเดิมเลยทุกอย่าง ทั้งระเบียบวินัยในกองถ่าย การตรงต่อเวลา การทำงานเป็นขั้นเป็นตอนทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม จนบางทีเรารู้สึกว่าพี่น้อยอย่าระเบียบมากเลย เราแบบแก่ๆ กันแล้ว ไม่ต้องเยอะมาก สงสารเด็ก (หัวเราะ) แต่มานั่งคิดอีกทีว่า ตอนนั้นพี่น้อยก็ทำแบบนี้ มันก็เหมือนกับว่าเราโตมากับระเบียบแบบนี้ ทำให้เรามีวินัย จริงๆ แล้วมันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่พอเราโตมาแล้วไม่ต้องเครียดมากพี่น้อย ไม่ต้องซีเรียสขนาดนั้น ไม่ต้องเป๊ะขนาดนี้ก็ได้ โอเค แต่มานึกในมุมของเด็กๆ อีกหลายคนที่เหมือนเพิ่งเริ่มต้น บางคนก็เพิ่งมาเล่นหนังเรื่องแรก ก็ดีแล้วที่พี่น้อยมีระเบียบวินัยแบบนี้ ทำให้สร้างบุคลากรที่ดีต่อไปด้วย

          ในส่วนของพี่นกได้ร่วมงานกับ “ใหม่ ดาวิกา” เรื่องแรกเป็นยังไงบ้าง
          ตอนนี้หลงรักน้องใหม่ไปแล้ว อาจจะด้วยคาแร็คเตอร์ของตัวละครด้วย แต่ว่าก็รู้สึกชื่นชมเค้า จริงๆ แล้วชื่นชมเค้าจากผลงานอื่นๆ แบบดูเค้าเล่นละครมาก่อนหน้านี้แล้ว ชื่นชมที่เค้าเล่นนางนากพี่มากนะคะ ก็เลยมีความรู้สึกว่าเด็กคนนี้เล่นอะไรลึกๆ ได้ดี แล้วรู้สึกดีมากที่พี่น้อยเลือกใหม่มาเล่นเรื่องนี้ พอได้เห็นการแสดงเค้าแล้วเลยรู้สึกว่าเป็นนักแสดงรุ่นใหม่ที่มาถูกทางมาก รู้สึกว่าโชคดีที่พี่น้อยได้นำเค้ามา เค้ามีอะไรอยู่ในตัวค่อนข้างเยอะ แล้วเล่นอะไรที่แสดงความรู้สึกลึกๆ ได้ค่อนข้างดี แสดงออกมาได้ธรรมชาติแต่ได้ความรู้สึกหมดเลย ร่วมงานกับเค้าแล้วรู้สึกแฮปปี้ เหมือนได้ทำงานกับนักแสดงเก่งๆ อีกคนหนึ่ง แม้จะเป็นเด็กรุ่นใหม่ก็ตาม เรารู้สึกดีใจจังเลย อยากเห็นนักแสดงเก่งๆ แบบนี้เยอะๆ

          งานสร้างโดยรวมของเรื่องนี้
          ก็ตระการตาตามสไตล์หม่อม คือรู้เลยว่ามุมกล้องพี่น้อยต้องสวยมาก แล้วมันก็สวยอย่างงั้นจริงๆ เปิดตัวละครทุกคนทุกอย่าง พี่น้อยจะให้ความสำคัญกับตัวละครทุกตัว หลายคนมารับเชิญมาแค่ฉากนั้น ทั้งที่ไม่ได้พูดแค่ยืน แต่พี่น้อยก็จะบอกเล่าที่มาที่ไปของตัวละครว่าคุณมีความสำคัญอย่างไร คุณกำลังทำอะไรอยู่ ฉันต้องการอะไร คุณจะต้องแสดงอะไรออกมา นี่คือสิ่งที่เรารู้สึกว่าน้อยคน น้อยผู้กำกับที่จะให้ความสำคัญกับทุกๆ อย่าง ทุกๆ คน ทุกๆ ตัวละคร วันแรกที่เข้ามา รู้สึกดีใจจังเลยยังมีงานแบบนี้ งานดีๆ แบบนี้ให้เราทำอยู่
          อย่างฉากงานฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นฉากที่พาเรียมออกไปเปิดตัวสู่สังคม เราก็มีความรู้สึกว่ามันมีความยิ่งใหญ่ของตัวมันเอง ฉากนี้ก็จะบอกเล่าประวัติศาสตร์ของประเทศด้วย เรื่องของวัฒนธรรมอะไรต่างๆ อย่างนี้ มันเห็นสังคมในยุคหนึ่ง แล้วพี่น้อยก็ให้รายละเอียดอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งเรารู้สึกว่าดีจัง รู้สึกว่าเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่อีกฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้

          รวมทั้งโลเกชั่นของหนังด้วย
          ดูขยันหาที่มากค่ะ เข้ามาลึกๆ ดูไม่น่าจะมีอะไร การถ่ายทำต่างๆ มันได้อารมณ์ มันได้ความรู้สึกที่เหมือนไม่มีใครมายุ่งกับเรา เราอยู่ในโลกนี้จริงๆ แล้วก็เป็นบรรยากาศของเรื่องนี้จริงๆ ทั้งการแต่งตัว ทั้งอารมณ์ทุกอย่างในตัวละคร ซึ่งรู้สึกได้ว่าการใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ มันช่วยทำให้การแสดงมันเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น เราสามารถที่จะได้เห็นคาแร็คเตอร์ของตัวเอง คาแร็คเตอร์ของคนอื่น บรรยากาศทุกอย่างที่ช่วยให้ตัวละครมันเกิดได้อย่างชัดเจน อย่างที่เราไปถ่ายทำกันที่สุพรรณบุรี เป็นฉากที่พาเรียมไปทุ่งบางกะปิ กลับไปแล้วก็กลับมา หลากหลายอารมณ์ แต่ทุกการเดินทางมันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

          มีฉากหนึ่งที่พี่นกก็ช่วยกำกับด้วย
          คือมันเป็นฉากในเรือ พี่น้อยก็บอกแล้วว่า กล้องจะตั้งอยู่ไกลมากจากต้นน้ำ แล้วเรือก็จะล่องไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นไม่สามารถที่จะมีทีมงานอยู่บนเรือได้ เพราะจะมีแต่ตัวละครเท่านั้น พี่ไม่สามารถจะให้ใครรับผิดชอบได้นอกจากเธอ คือเราก็ดูแลทุกอย่างในเรือให้เรียบร้อย ฟังวอ สั่ง อะไรยังไงมีอะไรพูดผ่านวอ ก็สนุกมาก รู้สึกตื่นเต้นมีความรับผิดชอบสูง คอยสั่งว่าเรือยังไง คอยบอกคนขับเรือ วอบอกว่าตอนนี้อยู่ตรงไหนแล้ว ถึงตรงไหนแล้ว มันจะเป็นอย่างงี้นะคะ เรากำลังจะกลับลำแล้วนะคะ เรากลับลำไม่ได้ค่ะ เรือติด ด้วยความที่ตรงต้นทางมันแคบ เรือใหญ่พอกลับลำปุ๊บหางเสือมันก็จะไปติด ใบพัดมันก็ติด มันก็นิ่งเลยฟรี ทุกอย่างฟรีหมด แล้วสตาร์ตไม่ได้ เราก็วอ เราก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ไกลแค่ไหน เราก็นึกว่าโค้งน้ำ เอ๊ะวอไปเค้าก็ไม่ตอบ เราก็พยายามทำ ก็เดินได้ วอก็อยู่ไหน เรืออยู่ตรงไหน เราก็อยู่ตรงนี้ก็ไม่เห็นกล้อง อยู่ไหน มันก็สนุกดี มันก็ทำให้เราลุ้นว่ากล้องอยู่ไหน เอายังไงกันดี เราก็คอยบอกเค้าด้วย บางทีก็เป็นคอนทินิว ซึ่งก่อนหน้านี้เราถ่ายไปแล้ว แล้วมันก็มีการแบบว่าจำมาร์คไม่ได้ว่าของมันอยู่ตรงไหนกันแน่ แล้วบังเอิญเป็นความโชคดีของนักแสดง เราถ่ายรูปเก็บไว้ เราก็เลยเช็คคอนทินิวว่าเห็นมั้ยดอกไม้ผิด เราต้องวางอย่างงี้ๆ นะ เราก็เลยแฮปปี้มากว่าเราเป็นคนคอนทินิวด้วยว่าของอยู่ตรงไหน สนุกดีค่ะ ในเรือก็สนุกสนานกันใหญ่เลย

          ฉากดราม่าระหว่างเรียมกับคุณหญิง
          ซีนนี้จริงๆ แล้วมันก็เหมือนเป็นฉากสำคัญมาก ทำให้เราเห็นตัวเองจากมุมของคนอื่นมากขึ้น การที่คุณบังคับจิตใจใคร การเป็นเจ้าข้าวเจ้าของคุณมันได้ทำร้ายใครบ้าง ไม่มีใครพูดความจริงจนกระทั่งเรียมเป็นผู้หญิงคนแรกที่พูดสิ่งนั้นออกมา พูดอย่างเคารพนะคะ แต่มันทำให้คุณหญิงรู้สึกว่าถูกตอกกลับ แต่ถามว่าคุณหญิงเกลียดเรียมมั้ย นกว่าไม่ใช่ เพียงแต่รู้สึกเหมือนรับความจริงไม่ได้ แล้วก็รู้สึกคาดหวังว่าจะเหนี่ยวรั้งเรียมเอาไว้กับตัวเองได้ เพราะคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เค้าควรจะภูมิใจ เค้าควรจะมีความสุขกับสิ่งที่เราทำแต่ว่าเปล่า เค้าเลือกที่กลับมาอยู่ตรงนี้ เค้าเลือกที่จะทุ่งบางกะปิมากกว่า เรารู้สึกว่ามันเป็นอีกซีนหนึ่งที่มันบอกเรื่องราวได้หมดเลย เรารู้สึกว่าซีนนั้นตอนแรกคิดว่ามันน่าจะยากเพราะมันเป็นดราม่า ร้องไห้เยอะมาก แล้วมันอยู่กลางทุ่ง ร้อนก็ร้อน แต่พี่น้อยก็อธิบายกระจ่างและเค้าจะมีเวิร์คช็อปนักแสดงก่อนอยู่แล้ว นักแสดงจะรู้ที่มาที่ไปของเรื่อง รู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วสิ่งที่กำลังจะพูดคืออะไร มันก็ง่ายกับการแสดงค่ะ กี่เทคก็ทำได้ แต่ถามว่าเหนื่อยมั้ยก็เหนื่อย ก็พยายามให้ความสำคัญกับซีนนี้ ไม่ให้มากเกินไปไม่ให้มันน้อยเกินไป

          การซ้อมมีส่วนช่วยตอนถ่ายทำได้มาก
          ใช่ เร็วกว่า คือบางคนจะบอกทำไมต้องมาซ้อมเยอะ ทำไมต้องมาอ่านบท หลายคนจะไม่เข้าใจ จะไม่ค่อยแฮปปี้ เด็กใหม่ๆ จะไม่ค่อยชอบ เพราะว่าที่อื่นเค้าไม่ทำกัน แจกบทไปแล้วก็ท่องบทมา พี่น้อยต้องการที่จะเมื่อถึงเวลาทำงานคุณจะทำงานได้เลย แล้วทุกอย่างก็จะเซฟมาก เซฟเวลา เซฟพลังงาน คุณทำได้เลย การแสดงมันจะดีกว่า เพราะว่าเรารู้อยู่แล้ว เราไม่ได้ท่องบทมาอย่างเดียว เราเป็นตัวละครมาเลย ซึ่งตรงนี้คือข้อดีมากๆ ค่ะ

          ฉากร้องเพลงกับฉากงานหมั้น
          นกว่ามันเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของพี่น้อย พี่น้อยทุกเรื่องก็จะมีเพลงเพราะๆ อยู่ในฉาก ซึ่งตรงนี้ก็เหมือนเป็นลายเส้นของพี่น้อยว่าทุกเรื่องจะต้องมีฉากอะไรแบบนี้ นี่ก็เป็นอีกฉากหนึ่งที่น่าจะสวยงาม เป็นฉากที่บอกความแตกต่างของคนทุ่งบางกะปิกับคนเมืองได้ชัดเจน สังคมที่ทำให้เรียมตัดสินใจว่าฉันกลับมาเป็นฉันดีกว่า ซึ่งตรงนี้จะเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการตัดขาดจากโลกตรงนี้ของเรียมได้อย่างชัดเจนดีเหมือนกัน

          เสน่ห์และความน่าสนใจโดยรวม
          คิดว่าเป็นโปรดักชั่นของพี่น้อย ด้วยความเป็นพี่น้อยก็จะมีรายละเอียดหลายๆ อย่างที่เราได้เห็น คือนานๆ เราจะได้เห็นท้องทุ่ง นาข้าว ควาย บรรยากาศที่สวยงาม คือเราไม่ค่อยเห็นในหนังไทยมานานแล้ว เราเห็นความสมัยใหม่ เราเห็นอะไรนู่นนี่มากมาย เราไม่ได้เห็นความเป็นธรรมชาติของบ้านเรา ประเทศเรา ตรง “แผลเก่า” เรื่องนี้จะได้เห็น แค่เห็นทุ่งนา นกว่ามันมีความสุขแล้ว มันโล่ง มันสวย เห็นแล้วรู้สึกดี เราได้เห็นชีวิตชาวบ้าน นกมีความรู้สึกว่าอันนี้มันเป็นบรรยากาศที่หายไปนานแล้วสำหรับหนังไทย หนังไทยที่เป็นหนังไทย ก็เลยรู้สึกว่าโปรดักชั่นเรื่องนี้สวยงาม น่าติดตาม รายละเอียดต่างๆ ก็มีอยู่ในนั้นอยู่แล้ว ทั้งเสื้อผ้า ทั้งฉาก ทั้งแสง แล้วก็มุมกล้องต่างๆ และการแสดงที่โดดเด่นสำหรับแผลเก่าเวอร์ชั่นนี้ รวมถึงเรื่องราวของความรัก นกว่ามันยังเป็นอมตะอยู่เสมอ ความคิดของคนหนุ่มสาวไม่ว่าจะยุคสมัยใด ถ้าเรามีศรัทธา มีการบูชาในความรักที่มั่นคงต่อกัน มันก็ยังคงอยู่ตลอดไป เพียงแต่ว่าพอวันเวลาผ่านไป เราก็อาจจะเอาบทเรียนเหล่านั้นมาบอกตัวเองว่า ความรักแบบไหนที่มันดีที่สุด มันเหมาะสมที่สุด และจะทำให้ทุกคนมีความสุขที่สุด นกว่าตรงนี้น่าจะตอบโจทย์สำหรับ “แผลเก่า” พ.ศ.นี้ได้ค่ะ

FB on August 05, 2014, 11:12:23 PM
“โดม-ตั้ม” นำทีมเดอะสตาร์ โชว์คิวบู๊ พิสูจน์ฝีมือใน “แผลเก่า” อาลัย “พันนา ฤทธิไกร” ผู้ประสิทธิ์วิชา





           นอกเหนือจากต้องฝึกฝนการทำนาและร้องเพลงพื้นบ้านในภาพยนตร์ชีวิตรักอมตะเรื่อง “แผลเก่า” ของผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” แล้ว เหล่าศิลปินเดอะสตาร์นำโดย “โดม-จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม” และ “ตั้ม-วราวุธ โพธิ์ยิ้ม” ยังต้องวางไมค์ร้องเพลง เข้าฝึกฝนศิลปะการต่อสู้แบบพื้นบ้านกับปรมาจารย์คิวบู๊แห่งเมืองไทย “พันนา ฤทธิไกร” นานนับ 3 เดือนเพื่อเข้าฉากการต่อสู้ระหว่างสองกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นอริกันข้ามสองฝั่งคลอง “แสนแสบ” ซึ่งมีคิวบู๊หลายฉากสำคัญในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นฉากปะทะกันในป่าข้างทุ่งบางกะปิ หรือฉากปะทะกันในงานวัดฉลองฤดูเกี่ยว โดยมีพันนาผู้กำกับคิวบู๊ดูแลอย่างใกล้ชิดระหว่างการถ่ายทำทุกฉาก ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าพอใจของผู้กำกับคิวบู๊ผู้จากวงการบันเทิงไปอย่างสุดอาลัย

           โดม จารุวัฒน์ เผยว่า

          “ผมกับเพื่อนๆ เดอะสตาร์รู้สึกใจหายมากที่ทราบข่าวการจากไปของพี่พันนา เพราะเราทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้ฝึกฝนคิวบู๊กับปรมาจารย์ท่านนี้ตั้งแต่เริ่มฝึกซ้อมก็ดูแลพวกเราอย่างใกล้ชิดและแนะนำเทคนิคการแสดงคิวบู๊ให้เราแสดงออกมาอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ทั้งเวลาซ้อมที่บ้านพี่พันนาและในกองถ่าย พี่พันนาก็มาดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งๆ ที่ไม่สบาย พวกเราทุกคนโชคดีมากที่มีโอกาสเป็นศิษย์ของพี่พันนา และขอแสดงความอาลัยและคารวะด้วยผลงานในการแสดงคิวบู๊ของพวกเราในภาพยนตร์เรื่อง ‘แผลเก่า’ นี้ครับ”

          ติดตามชมบทบาทการแสดงของเหล่าเดอะสตาร์ในภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เรื่อง “แผลเก่า” ได้ 12 สิงหาคมนี้

FB on August 07, 2014, 10:35:48 PM
อลังการงานสร้าง “หม่อมน้อย” บรรจงเลือกสรรโลเกชั่นสมจริง ถ่ายทอดตำนานรักเลื่องชื่อ ใน “แผลเก่า”







           กำลังจะมีภาพยนตร์ชีวิตรักอมตะเรื่อง “แผลเก่า” ออกฉายรับวันแม่ 12 ส.ค.นี้ และเหมือนทุกๆ เรื่องที่ผ่านมา ผู้กำกับชั้นครูที่ขึ้นชื่อเรื่องความพิถีพิถันในทุกองค์ประกอบของการสร้างภาพยนตร์อย่าง “หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” ก็ได้เดินทางไปดูโลเกชั่นตามจังหวัดต่างๆ ด้วยตนเองเพื่อบรรจงเลือกเฟ้นสถานที่ถ่ายทำในการถ่ายทอดตำนานรักที่โด่งดังที่สุดของคนไทยเรื่องนี้ให้สวยงามและสมจริงที่สุด

          งานนี้ หม่อมน้อยได้เลือกและเนรมิตคลองบางแม่หม้าย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ให้เป็นทุ่งบางกะปิและคลองแสนแสบในอดีต รวมถึงอีกหลากหลายโลเกชั่นทั้งในจ.อยุธยา, เพชรบุรี, นครนายก และกรุงเทพฯ ที่ถูกสร้างสรรค์อย่างงดงามอลังการในทุกๆ ฉากของเรื่องนี้เลยทีเดียว

          “โลเกชั่นหลักของเรื่องนี้ที่เราใช้ถ่ายทำเกินครึ่งเรื่อง เราเลือกคลองบางแม่หม้าย จ.สุพรรณบุรีด้วยความเหมาะสมต่างๆ ในการถ่ายทอดให้เป็นทุ่งบางกะปิและคลองแสนแสบที่งดงามในอดีตได้อย่างลงตัว ซึ่งต้องเดินทางเข้าไปลึกมากเพื่อหนีเสาไฟฟ้าหรืออะไรที่เป็นสมัยใหม่ ต้องเดินเข้าไป นั่งซาเล้งเข้าไป ตากแดดร้อน แต่ภาพที่ออกมาก็สวยสมใจ รวมถึงสถานที่อื่นๆ ทั้งที่วัดธรรมาราม อยุธยา, คฤหาสน์ปรารถนาวนาลัย นครนายก, พระราชวังบ้านปืน เพชรบุรี และที่กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งทุกโลเกชั่นเราก็ได้ฝ่ายออกแบบงานสร้างระดับมืออาชีพสร้างสรรค์ออกมาอย่างงดงามและสมจริงในทุกๆ ฉาก”

          ติดตามชมงานสร้างที่สวยงามอลังการในภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เรื่อง “แผลเก่า” ได้ 12 สิงหาคมนี้

FB on August 08, 2014, 03:19:35 PM
พิสูจน์ตำนานรัก “ขวัญ-เรียม” รอบปฐมทัศน์ “แผลเก่า The Exclusive Premiere” ทุกเสียงตอบรับความซาบซึ้งตรึงใจ







           เปิดรอบปฐมทัศน์ให้บรรดาสื่อมวลชนและคนดังพิสูจน์ตำนานรัก “ขวัญ-เรียม” ที่โด่งดังที่สุดของไทยในภาพยนตร์ชีวิตรักอมตะวัยรุ่นเรื่อง “แผลเก่า” เวอร์ชั่นผู้กำกับชั้นครู “หม่อมน้อย-หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” ไปแล้วเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์

          ภายใต้คอนเซ็ปต์เรียบง่ายเก๋ไก๋กับธีมปาร์ตี้สวมหมวกร่วมชม “แผลเก่า The Exclusive Premiere” นี้ เปิดงานด้วยการเชิญทีมนักแสดงทั้งหมดและนักร้องเข้าสู่งานเลี้ยง เพื่อพบปะพูดคุยกับบรรดาสื่อมวลชน แขกผู้มีเกียรติ และบรรดาแฟนหนังอย่างเป็นกันเอง ไม่ว่าจะเป็น...

          นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต, ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่, สินจัย เปล่งพานิช, ณัฎฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ปานเลขา ว่านม่วง, รัดเกล้า อามระดิษ, กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ, แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น, แคน-อติรุจ กิตติพัฒนะ, อ้น-กรกฎ ตุ่นแก้ว, จูเนียร์-กรวิชญ์ สูงกิจบูลย์, กวาง-ธัญญรัศม์ ไตรสุทธิวงษ์, สมาย-ภาลฎา ฐิตะวชิระ, ดิว-นัทธพงศ์ พรมสิงห์, ฮัท-จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร, เอก-ศุภากร ประทีปถิ่นทอง, คิมมี่-บดินทร์ บางเสน, กรุง ศรีวิไล, อาร์-อาณัตพล ศิริชุมแสง, วุ้นเส้น-ภัทรนันท์ รวมชัย ฯลฯ
จากนั้น มอบความสุขกันต่อด้วยเสียงเพลงสุดไพเราะของสองนักร้องคุณภาพ “กัน นภัทร” และ “แก้ม วิชญาณี” ในเพลง “สั่งเรียม” ที่สะกดผู้ร่วมงานให้เคลิ้มกับบทเพลงอมตะนี้ไปตามๆ กัน

          ปิดท้ายงานด้วยการถ่ายภาพรวมของทีมงานผู้กำกับ, นักแสดง, ทีมผู้บริหาร อาทิ คุณเตือนใจ เตชะรัตนประเสริฐ รองประธานกรรมการ บริษัท สหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, คุณอัครพล เตชะรัตนประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฮปปี้โฮม เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด และคุณนิธิ พัฒนภักดี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสื่อโฆษณา บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด มหาชน ก่อนที่จะไปร่วมซึมซับเรื่องราวความรักอันบริสุทธิ์และบรรยากาศความเป็นไทยอย่างซาบซึ้งและประทับใจกัน

          และด้วยเจตนารมณ์ที่จะรักษาวรรณกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันล้ำค่าของชาติ ภาพยนตร์เรื่อง “แผลเก่า” จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นสมบัติอีกชิ้นหนึ่งที่ชาวไทยทั้งชาติได้ภาคภูมิในความเป็นไทย 12 สิงหาคมนี้ทุกโรงภาพยนตร์

FB on August 16, 2014, 09:57:41 PM
Movie Guide: “แผลเก่า” มุมมองใหม่ มิติใหม่ ปรากฏการณ์ใหม่ ชุมนุมนักแสดงชั้นนำคับคั่งเป็นประวัติการณ์



          จากวรรณกรรมอมตะที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ชีวิตรักอันยิ่งใหญ่หลายครั้งที่สุดของไทย “แผลเก่า” ยุค 2014 นี้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งที่ 5 โดยสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล และได้ “หม่อมน้อย-หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ภายใต้แนวคิด “มุมมองใหม่ มิติใหม่ ปรากฏการณ์ใหม่” โดยชุมนุมนักแสดงชั้นนำทั้งรุ่นใหญ่รุ่นเล็กมาประชันบทบาทมากที่สุดเป็นประวัติการณ์แห่งวงการภาพยนตร์กว่า 30 ชีวิต เพื่อให้สมเกียรติยศวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติ ไม่ว่าจะเป็น นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต (รับบท ขวัญ), ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่ (เรียม), สินจัย เปล่งพานิช (คุณหญิงทองคำเปลว), พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (ผู้ใหญ่เขียน), ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ (กำนันเรือง), ณัฎฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (คุณสมชาย), ปานเลขา ว่านม่วง (นางรวย), พงศ์สิรี บรรลือวงศ์ (จ้อย), รัดเกล้า อามระดิษ (แม่สาย), ตั้ม-วราวุธ โพธิ์ยิ้ม (เริญ), โดม-จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (เปีย), แคน-อติรุจ กิตติพัฒนะ (สมิง), อ้น-กรกฎ ตุ่นแก้ว (เยื้อน), จูเนียร์-กรวิชญ์ สูงกิจบูลย์ (แฉ่ง) กวาง-ธัญญรัศม์ ไตรสุทธิวงษ์ (แก้ม) สมาย-ภาลฎา ฐิตะวชิระ (ชมพู่) ดิว-นัทธพงศ์ พรมสิงห์ (ชิด), ฮัท-จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร (ร้อยตรีสง่า), เอก-ศุภากร ประทีปถิ่นทอง (นายแพทย์สงัด), คิมมี่-บดินทร์ บางเสน (รอด), กรุง ศรีวิไล (หลวงตา), อาร์- อาณัตพล ศิริชุมแสง (ท่านผู้นำ), มัดหมี่-พิมพ์ดาว พานิชสมัย (ท่านผู้หญิง), สถาพร นาควิไลโรจน์ (ท่านชาย), ดารณีนุช โพธิปิติ (แม่ค้า), ปิยะ เศวตพิกุล (อากง) ฯลฯ

          “แผลเก่า” ในเวอร์ชั่นนี้เป็นภาพยนตร์ชีวิตรักโรแมนติกที่ย้อนยุคไปในปีพ.ศ. 2479-2483 ที่จะสะท้อนภาพวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีชาวสยามในอดีตที่สูญหายไปจากโลกปัจจุบัน ท่ามกลางความงดงามวิจิตรของท้องทุ่งนาบางกะปิและความร่มรื่นของคลองแสนแสบ โดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำนาและงานเฉลิมฉลองฤดูเก็บเกี่ยว ท่ามกลางความรักอันซื่อบริสุทธิ์ของ “ขวัญ” และ “เรียม” ที่จะมาสร้างทั้งรอยยิ้มและน้ำตา รวมทั้งภาพประวัติศาสตร์ในยุค “รัฐนิยม” พ.ศ. 2483 ไม่ว่าจะเป็นภาพงานฉลองรัฐธรรมนูญ ภาพเดินขบวนครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อเรียกร้องมณฑลบูรพาคืนจากฝรั่งเศส หรือภาพงานเต้นรำสวมหมวกในยุค “มาลานำไทย” ที่ถูกถ่ายทำกันอย่างประณีตบรรจงโดยผ่านการค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อจำลองภาพประวัติศาสตร์ในอดีตอย่างถูกต้องและยิ่งใหญ่ตามยุคสมัย

          และที่ขาดไม่ได้เลยคือบทเพลงอมตะของ “พรานบูรพ์” บรมครูวงการดนตรีของเมืองไทยที่เป็นเพลงดำเนินเรื่องในภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเพลง “ขวัญของเรียม”, “เคียงเรียม”, “สั่งเรียม” หรือ “แสนแสบ” ฯลฯ ซึ่งได้ถูกเรียบเรียงเสียงประสานและขับร้องใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยนักร้องคุณภาพรุ่นใหม่ “กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ” และ “แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น” ซึ่งขับร้องได้อย่างไพเราะจับใจไม่แพ้ “ไพรวัลย์ ลูกเพชร” และ “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ

          และด้วยเจตนารมณ์ที่จะรักษาวรรณกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันล้ำค่าของชาติ ภาพยนตร์เรื่อง “แผลเก่า” จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นสมบัติอีกชิ้นหนึ่งที่ชาวไทยทั้งชาติได้ภาคภูมิในความเป็นไทย 12 สิงหาคมนี้ทุกโรงภาพยนตร์