happy on January 18, 2014, 06:12:59 PM

....."อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนของไทยยังขาดการใช้ระบบซอฟท์แวร์ขององค์กรแบบบูรณาการ"

จากผลการสำรวจล่าสุดซึ่งได้รับการสนับสนุนหลักจาก ไอเอฟเอส (IFS) บริษัทผู้พัฒนา Enterprise Application ระดับโลก พบว่า มีบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ระบบซอฟท์แวร์การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจโดยรวมขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP)

ในการศึกษาการใช้ระบบ EPR ของบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ ไอเอฟเอส ได้มอบหมายให้ CSN & Association บริษัทผู้นำในการทำวิจัยการตลาดของประเทศไทย ทำการศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจของบริษัทธุรกิจยานยนต์ และชิ้นส่วนที่มีมูลค่ารวม 1.5 พันล้านบาท เพื่อศึกษาการใช้ระบบ ERP ในการบริหารงานและเน้นถึงสถานการณ์ที่ท้าทายต่างๆที่ได้ประสบในการดำเนินธุรกิจซึ่งก็แตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม

ปัจจัยหลักของการใช้ระบบ ERP ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย คือ เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว (100 เปอร์เซ็นต์) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน (100 เปอร์เซ็นต์) และเพื่อลดต้นทุน (100 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตามองค์กรต่างๆยังขาดการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการปฏิบัติงานในแต่ละวันแบบทันท่วงที (80 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในงานดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้องค์กรยังมีข้อจำกัดด้านการตอบสนองและความต้องการของลูกค้า (90 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งเป็นช่องว่างที่สำคัญในระบบการปฏิบัติงาน  ปัญหาของการขาดการรับรู้สภาพการณ์แบบทันท่วงที ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ทำให้ระบบการสื่อสารร่วมกันเป็นไปได้ยาก และยังขาดความฉับไวในการประสานงานและการสื่อสาร

โดยรวมอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มีความพึงพอใจต่อระบบ EPR เนื่องจากเป็นระบบที่ช่วยให้ธุรกิจมีระบบการจัดการทำงานที่มีคุณภาพ (86 เปอร์เซ็นต์) และยังช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผน และทำนายความต้องการของลูกค้า (84 เปอร์เซ็นต์)  ซึ่งเป็นหน้าที่หลักในการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามช่องว่างในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเกิดจากการที่ธุรกิจมีแอพพลิเคชั่นในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจมากกว่า 1 แอพพลิเคชั่น (90 เปอร์เซ็นต์)

คุณศรีดาราน อรูมูแกม รองประธาน บริษัทไอเอฟเอส ภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของต้นทุน จึงถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจต้องกลับมาคิดทบทวนการปฏิบัติงานและการลงทุนในระบบ ERP เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถมองเห็นและควบคุมการดำเนินงานได้ โซลูชั่นของ ไอเอฟเอส สำหรับธุรกิจยานยนต์จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจได้ นอกจากนี้โซลูชั่นที่ดียังช่วยลดความเสี่ยงของการเรียกคืนสินค้า และช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าธุรกิจจะสามารถรักษาคุณภาพตลอดกระบวนการการผลิตได้”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ifsworld.com/th

###

เกี่ยวกับการวิจัย

การศึกษาวิจัยดำเนินอยู่บนพื้นฐานของระบบ ERP โดยทำการสำรวจพฤติกรรมจาก 100 บริษัท ในประเทศไทย จาก 9 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งพิมพ์ ในกระบวนการวิจัยนี้ ผู้เข้าร่วมทั้งหมดที่ถูกสัมภาษณ์ ได้แก่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้อาวุโสด้านไอทีและผู้จัดการอาวุโสฝ่ายดำเนินงานซึ่งทั้งหมด ล้วนเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการตัดสินใจของบริษัท การสำรวจได้ดำเนินการในประเทศไทยโดย CSN & Associates ในนามของบริษัท IFS Solutions จำกัด ประเทศไทย เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555

เกี่ยวกับ ซีเอสเอ็น แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด

บริษัท ซีเอสเอ็น แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด คือบริษัทในเครือของ ซีเอสเอ็น รีเสิร์ช กรุ๊ป ซึ่งได้มีการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2525 ในปัจจุบัน ซีเอสเอ็น ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการให้คำปรึกษาแก่องค์กรและการทำการวิจัยการตลาด

ซีเอสเอ็น เป็นสมาชิกของบริษัท ESOMAR และสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) และมีการรับรองในระดับสากลด้วย International Codes ในด้านการวิจัยเกี่ยวกับการตลาดและสังคม นอกจากนี้ ซีเอ็นเอ็สได้ผ่านการตรวจสอบและผ่านเกณท์มาตราฐาน ISO 9001 ในทุกๆปี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.csnthailand.com


เกี่ยวกับไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส เป็นบริษัทมหาชน (OMX STO: IFS) ก่อตั้งขึ้นในปี 1983 โดยเป็นผู้พัฒนา ผลิต และติดตั้ง IFS Applications™ ซึ่งเป็น ERP Suite แบบ Component-Based ที่พัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี SOA ไอเอฟเอสมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่กระบวนการหลักทั้ง 4 ด้านนี้มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์: การจัดการบริการและสินทรัพย์, การผลิต, Supply Chain และโครงการต่างๆ บริษัทฯ มีลูกค้า 2,000 ราย และมีขอบข่ายการดำเนินงานใน 60 ประเทศ รวมพนักงานทั้งสิ้น 2,800 คน รายได้สุทธิในปี 2012 อยู่ที่ 2.7 พันล้านโครนสวีเดน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอเอฟเอสได้ที่ www.IFSWORLD.com

หรือทาง Twitter: @ifsworld

หรือเยี่ยมชม IFS Blogs เกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ได้ที่ http://blogs.ifsworld.com/