หอการค้าอิสตันบูล จัดงานใหญ่ปลายปี หนุนนโยบายภาครัฐ ช่วย SME ไทย แข่งขันตลาดอาเซียนตามแผนส่งเสริม SME ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้ากระตุ้นให้ธุรกิจ SME ในไทยเติบโตขึ้น ทั้งในด้านเพิ่มจำนวนมากและที่มีอยู่แข็งแกร่งขึ้น หอการค้าอิสตันบูลร่วมสนับสนุนนโยบายของไทยตามแผนความร่วมมือไทย-ตุรกี เปิดแผนการจัดงานแสดงสินค้าและบริการจากประเทศตุรกีครั้งแรกในประเทศไทย หรือ 1st Turkish Products Exhibition in Thailand พร้อมเสนอแนวคิดสร้างตราสินค้าและพัฒนาตลาดสินค้าในไทยสู่อาเซียนรองรับ AECนายปณิธาน บำราศอรินทร์พ่าย นายปณิธาน บำราศอรินทร์พ่าย ผู้ได้รับมอบหมายจากหอการค้าอิสตันบูล ประจำประเทศไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานจัดการประชุม บริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น นโยบายเพิ่มรายได้แรงงาน และจากปัจจัยภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่มีอยู่ จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ประเทศไทยจำเป็นต้องเน้นสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง”ข้อมูลสถิติ เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 8,184 ราย เพิ่มขึ้น 3,644 ราย คิดเป็น 80% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 แสดงว่าภาคธุรกิจตื่นตัวตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และข้อมูลที่ปรากฏในร่างแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เน้นสร้าง SME รายใหม่ที่มีศักยภาพให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่า 2.5 แสนราย หรือปีละ 5 หมื่นคน สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการผู้ประกอบการใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลตุรกี LOOK EAST ที่มองศักยภาพของตลาดประเทศในแถบเอเชีย และเล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนร่วมกัน เพื่อเตรียมพร้อมการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558ทั้งนี้ ประเทศตุรกี มีความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการแข่งขัน ทำให้เกิดการศึกษา วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ปัจจุบัน ตุรกีมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 17 ของโลก มีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์และการต่อรถยนต์ อุตสาหกรรมเหล็ก สิ่งทอ และการเกษตรขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันในภาคบริการ ตุรกีเป็นผู้นำอันดับ 2 ด้านการก่อสร้างของโลก มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ มีนักท่องเที่ยว 36.7 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเดินทางมาชมประวัติศาสตร์อันยาวนานและธรรมชาติของตุรกี ทำให้ตุรกีดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ อาทิ ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และแอฟริกาเหนือ ทำให้ตุรกีเป็นที่น่าดึงดูดของอุตสาหกรรมต่างๆ การตั้งโรงงานในตุรกีและการส่งออกสินค้าจากตุรกีไปยังสหภาพยุโรป จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร เนื่องจากตุรกีได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรของยุโรปแล้ว โดยผลิตภัณฑ์ของตุรกีได้รับการพัฒนาทั้งในด้านคุณภาพ คุณลักษณ์ คุณสมบัติได้มาตรฐานในหลากหลายทวีป ทั้งมาตรฐานยุโรป และตะวันออกกลาง มีอารยธรรมและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ได้รับขนานนามว่า เป็นดินแดนสองทวีปคือ ยุโรป และเอเชีย ส่งผลให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตุรกีนั้น มีความเข้าใจในธรรมชาติของประชาชนของทั้งสองทวีป สามารถสะท้อนคุณลักษณะ คุณสมบัติ อันเป็นที่ต้องการของแต่ละพื้นที่ ตลอดจน นักออกแบบในแต่ละสาขาต่างมีความพร้อมในการพัฒนาแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งานและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างน่าสนใจ ผู้แทนหอการค้ากล่าวเพิ่มเติมว่า “นักธุรกิจ นักลงทุน หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาผลิตภัณฑ์ตุรกีได้ในงานแสดงสินค้าและบริการจากประเทศตุรกี ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย หรือ 1st Turkish Products Exhibition in Thailand จัดขึ้นระหว่าง 28 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ กรุงเทพฯ ด้วยแนวคิดของงาน “จับจ้องมองตุรกี หรือ Eyes on Turkey” เป็นการรวบรวมผลิตภัณฑ์และบริการเด่นจากองค์กรและหน่วยงานชั้นนำของประเทศตุรกี ภายในงานจะมีการจัดแสดงเทคโนโลยี เครื่องมือ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการ จากกลุ่มธุรกิจต่างๆ อาทิ อาหาร เครื่องจักร เทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ เครื่องครัว ของตกแต่ง การท่องเที่ยว เวชภัณฑ์ สุขภาพ ความงาม เสื้อผ้าและแฟชั่น เป็นต้น รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการค้าและการลงทุนในประเทศตุรกี กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ศาลาตุรกี (Turkish Pavilion) ตระการตากับสินค้า บริการ แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ทั่วทั้งประเทศตุรกีได้ภายในระยะเวลา 1 วัน เทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง (Turkish Cultural Festival) ตื่นเต้นกับการแสดงชุดพิเศษจากศิลปินชาวตุรกีกว่า 100 ชีวิต ที่คุณจะหลงเสน่ห์และไม่มีวันลืม สุดยอดผลงานศิลปะประจำชาติตุรกี (Turkish Arts Festival) อลังการกับผลงานชิ้นเอก “โมเสคกระเบื้องยักษ์ลายเอกลักษณ์ตุรกี”ข้อมูลปี พ.ศ. 2555 ประเทศตุรกี ส่งออกสินค้ามาประเทศไทย 176.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 40.9 สินค้าที่ส่งออกมาไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ (23.2 ล้านเหรียญ) อุตสาหกรรมอาหาร (19.8 ล้านเหรียญ) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (11.9 ล้านเหรียญ) อุตสาหกรรมยาง (11.5 ล้านเหรียญ) และอุปกรณ์ชิ้นส่วนภาคอุตสาหกรรม (11 ล้านเหรียญ)ข้อมูลปี พ.ศ. 2555 ประเทศตุรกี นำเข้าสินค้าจากประเทศไทย 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 17.6 สินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ พลาสติก (188.7 ล้านเหรียญ) อุตสาหกรรมยานยนต์ (159.4 ล้านเหรียญ) อุปกรณ์ชิ้นส่วนภาคอุตสาหกรรม (136 ล้านเหรียญ) ยางดิบ (127.7 ล้านเหรียญ) และอุสาหกรรมสิ่งทอ (99.4 ล้านเหรียญ)
นายปริญญา ชุมรุม นอกจากนี้ นายปริญญา ชุมรุม ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เสนอแนะแนวทางในการแข่งขันของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทยในตลาดอาเซียนว่า “เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่ปี ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค AEC ผู้ประกอบการไทย ควรเปิดโลกทัศน์และปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากเดิมที่อาจจะเป็นเพียงผู้ผลิตแบบ OEM (Origianl Equipment Manufacturer) รับจ้างผลิตสินค้า เป็น ODM (Original Design Manufactuere) สามารถออกแบบและนำเสนอขายส่ง แต่เป้าหมายสำคัญคือ ผู้ประกอบการไทยควรเติบโตสู่ OBM (Original Brand Manufacturer) ออกแบบและผลิตสร้างเป็นแบรนด์ของตนเอง รวมทั้ง การพิจารณาหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากผู้จัดจำหน่ายต่างๆ (Suppliers) ก็มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการแต่ของที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว แต่เลือกหาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพด้วย ดังนั้นการพิจารณาเลือกสินค้าและวัตถุดิบจากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง ควรมองตลาดในระยะยาว อย่างมองแต่เพียงการขายในระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือ บางสิ่ง อาจจะต้องพิจารณามองเป็นต้นทุนในการผลิต ซึ่งผลที่ได้รับอาจจะใช้ระยะเวลานาน หรือใช้กำลังความคิดและงบประมาณ อาทิ การสร้างแบรนด์ หรือ การศึกษาและวิจัยหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเป้าหมาย ท้ายที่สุด ผู้ประกอบการ จะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและปรับตัว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เหลือเวลาอีกเพียง 2 ปี ประเทศไทยจะเข้าสู่ AEC ภาษาเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่จะต้องพัฒนา พฤติกรรมและความต้องการผลิตภัณฑ์ของตลาดจะมีความหลากหลายและเฉพาะเจาะจงไปในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาดให้ได้มากที่สุด”
สำหรับผู้สนใจที่จะดำเนินธุรกิจ การค้าและการลงทุนกับประเทศตุรกี สามารถติดตามข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศ ผลิตภัณฑ์ บริการ และการค้า การลงทุนต่างๆ ได้ที่แฟนเพจ TurkishExpoInThailand หรือพิมพ์
www.facebook.com/TurkishExpoInThailand หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ฝ่ายบริหารการจัดงาน โทรศัพท์ 02-203-4260 และ 02-203-4263 หรือ
www.turkishexpointhailand.com[/size]