happy on July 07, 2013, 05:27:24 PM

ADMISSION

จัดจำหน่ายโดย    เอ็ม พิคเจอร์ส                                                           

ชื่อภาษาไทย   แอดมิชชั่น สูตรรักถอดสแควร์รูท

ภาพยนตร์แนว   โรแมนติก-คอเมดี้

จากประเทศ      สหรัฐอเมริกา

กำหนดฉาย      25 กรกฎาคม 56
 
ณ โรงภาพยนตร์   ทุกโรงภาพยนตร์
 
ผู้กำกับ       Paul Weitz  (พอล ไวซ์)

อำนวยการสร้าง   

Kerry Kohansky (เคอร์รี่ โคแฮนสกี้-โรเบิร์ตส์)
         
Andrew Miano (แอนดรูว์ มิอาโน่)
         
Paul Weitz  (พอล ไวซ์)

นักแสดง
         
Tina Fey (ทีน่า เฟย์)   รับบท Portia Nathan (ปอร์เชีย นาธาน)   
ผลงานที่ผ่านมา ซีรี่ส์ 30 Rock , Saturday Night Live , Mean Girls , The Colin Quinn Show
   
Paul Rudd  (พอล รัดด์ )  รับบท John Pressman (จอห์น เพรสแมน)
ผลงานที่ผ่านมา The 40 Year Old Virgin , This Is 40 , The Perks of Being a Wallflower

Michael Sheen (ไมเคิล ชีน) รับบท Mark  (มาร์ค)   
ผลงานที่ผ่านมา Midnight in Paris , The Twilight Saga , TRON: Legacy , Unthinkable

Wallace Shawn (วอลเลซ ชอว์น)   รับบท Clarence  (คลาเรนซ์)
ผลงานที่ผ่านมา Gossip Girl , The Good Wife , Kung Fu Panda: Legends of Awesomeness

Nat Wolff (แนท วูลฟ์)  รับบท Jeremiah (เจเรไมอาห์)
ผลงานที่ผ่านมา New Year's Eve , The Naked Brothers Band: The Movie , Mr. Troop Mom


จุดเด่นภาพยนตร์

                การโคจรมาพบกันครั้งแรกของ นักแสดงมากฝีมืออย่าง ทีน่า เฟย์ จากภาพยนตร์เรื่อง 30 Rock และพอล รัดด์ จากภาพยนตร์เรื่อง This is 40   ในภาพยนตร์โรแมนติก-คอเมดี้ ผลงานภาพยนตร์ชิ้นมาสเตอร์พีซชิ้นใหม่แกะกล่องของผู้กำกับ พอล ไวซ์    ผู้กำกับมากฝีมือที่ได้รับการเสนอชื่อ ชิงรางวัลอคาเดมี่ อวอร์ด ที่เคยฝากผลงานไว้ในภาพยนตร์เรื่อง About a Boy, In Good Company

                “ADMISSION แอดมิชชั่น สูตรรักถอดสแควร์รูท”  เป็นภาพยนตร์โรแมนติก-คอเมดี้ที่บอกเล่าเรื่องราวของสาวมั่นกับหนุ่มเซอร์ ที่ต้องเผชิญหน้ากับอดีตที่ทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง แต่มันกลับเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความสุขที่ตัวเองคาดไม่ถึง






เรื่องย่อ

                ในฤดูใบไม้ผลิของทุกปี เด็กไฮสคูลชั้นซีเนี่ยร์ต่างก็เฝ้ารอจดหมายตอบรับเข้าศึกษามหาวิทยาลัย ที่จะเป็นการตอกย้ำและสนับสนุนศักยภาพของพวกเขาอย่างกระวนกระวาย ที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันเจ้าหน้าที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียน ปอร์เชีย นาธาน  (รับบทโดยทีน่า เฟย์)  ผู้ที่ประเมินผู้สมัครเรียนหลายพันราย ปีแล้วปีเล่า ปอร์เชียใช้ชีวิตตามกฎระเบียบ ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน เธออาศัยอยู่ร่วมกับมาร์ค (รับบทโดยไมเคิล ชี)  ศาสตราจารย์จากปรินซ์ตัน เมื่อคลาเรนซ์ (รับบทโดยวอลเลซ ชอว์น) คณะบดีฝ่ายรับนักศึกษาประกาศถึงการเกษียณที่ใกล้เข้ามาของมาร์ค ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะแทนที่มาร์คมากที่สุดคือปอร์เชีย และยังมีคู่แข่งคนสำคัญของปอร์เชียคือ คอรินน์   (รับบทโดยกลอเรีย รูเบน)

                ระหว่างการเดินทาง เธอได้รื้อฟื้นความสัมพันธ์กับซูซานนาห์  (รับบทลิลลี่ ทอมลิน) แม่ผู้มีความคิดแหวกแนวของเธอ ระหว่างการไปเยือนนิวเคลสต์ โรงเรียนไฮสคูลทางเลือก เธอได้พบกับจอห์น เพรสแมน (รับบทโดยพอล รัดด์) อดีตเพื่อนร่วมชั้นในมหาวิทยาลัยของเธอ

                ปอร์เชียเพิ่งเผยว่าเจเรไมอาห์  (รับบทโดย แนท วูลฟ์)  เด็กนักเรียนนิว เควสต์ ผู้มีพรสวรรค์แต่ทำตัวแหกคอก อาจจะเป็นลูกชายคนเดียวที่ปอร์เชียแอบยกให้คนอื่นอุปการะเมื่อหลายปีก่อนระหว่างยังเรียนอยู่ก็ได้ และเจเรไมอาห์ก็กำลังจะสมัครเข้าเรียนที่ปรินซ์ตันเช่นกัน ปอร์เชียต้องประเมินค่าของตัวเองใหม่ เมื่อเธอแอบละเมิดกฎหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือเจเรไมอาห์ จนทำให้ตำแหน่งว่าที่คณะบดีของมหาวิทยาลัยที่เธอกำลังจะได้รับต้องมาสั่นคลอน  แต่ขณะเดียวกันเธอกลับพบชีวิตและความรักที่น่าประหลาดใจและตื่นเต้น อย่างที่เธอไม่คิดฝันมาก่อน....

เปิดใจผู้กำกับ...พอล ไวซ์

                พอล ไวซ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เปิดใจว่า...

                “… ผมเคยเขียนบทละครที่มีตัวละครเอกเป็นผู้หญิงมาก่อน แต่ผมก็รู้สึกอายที่ผมไม่เคยกำกับหนังที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงเลยผมอยากจะใช้เวลาอยู่กับตัวละครตัวนี้ที่ชื่อปอร์เชีย นาธาน  ผมโชคดีมากที่ได้ร่วมงานกับทีนา เฟย์ในเรื่องนี้ ความเฉลียวฉลาดและการไร้ความเสแสร้งของเธอเป็นคุณสมบัติที่ผมชื่นชม การอ่านหนังสือเรื่อง Bossypants ของเธอเป็นเหมือนเคล็ดลับชั้นเยี่ยมในการกำกับเธอครับ

                ในเรื่องธีม ผมชื่นชอบเรื่องราวของคนที่ทำผิดพลาด ที่คิดว่าพวกเขาไม่มีอะไรจะนำเสนอ แต่เป็นคนที่มารวมตัวกันสร้างครอบครัวที่ไม่ธรรมดาขึ้นมา มันเป็นเรื่องเล่าครับ แต่เราก็ควรจะบอกเล่าเรื่องเล่าแบบนั้นออกมาบ้างในตอนที่ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเร่งฝีเท้าขึ้น เราสามารถขจัดความกลัวเชื้อโรคของตัวเองแล้วจับมือกัน หรือจะลอยพ้นจากเครื่องเหวี่ยงหมุนเลยก็ได้...”












เกี่ยวกับงานสร้าง

                สิ่งที่ดึงดูดนักเล่าเรื่องให้สำรวจโลกความเสี่ยงสูงที่ไม่ธรรมดาน่ะหรือ สำหรับแรงดึงดูดของมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ผู้อำนวยการสร้างเคอร์รี โคแฮนสกี้-โรเบิร์ตส์ได้พูดถึงมันว่า “เป็นฉากที่เพอร์เฟ็กต์ในการผสมผสานคอเมดี้ที่ชาญฉลาดเข้ากับดราม่า”

                นักเขียนนิยาย ฌอน คานฟ์ โคเรลิทซ์เองก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน เธอจึงได้เขียนนิยายขึ้นมาในปี 2009 ในชื่อว่า Admission นิยายเรื่องนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสำรวจหลากมิติของโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของกระบวนการเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังสำรวจอารมณ์ของผู้สมัคร ณ อารมณ์ขนาดนั้นด้วย

                โคเรลิทซ์เผยว่า “ฉันได้แต่งงานกับอาจารย์มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน และตัวฉันเองก็ทำหน้าที่เป็นคนภายนอกผู้ให้ความเห็นสำหรับฝ่ายรับนักศึกษาเข้าใหม่ของทางมหาวิทยาลัย ในแต่ละปีจะมีพวกเรา 10 คนและแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ แต่เราก็จะให้ความเห็นเกี่ยวกับใบสมัครหลังจากที่ได้อ่านมัน ฉันทึ่งกับอารมณ์จริงจังในใบสมัครแต่ละใบ และสงสัยใคร่รู้ว่าการต้องตัดสินใจเรื่องพวกนั้นจะให้ความรู้สึกอย่างไร ฉันเฝ้าดูนักศึกษาปรินซ์ตันรุ่นแล้วรุ่นเล่ามาที่บ้านฉันและชั้นเรียนของสามีฉัน พวกเขาเป็นนักศึกษาหนุ่มสาวที่วิเศษสุด แต่พวกเขาไม่ใช่นักศึกษาหนุ่มสาวที่วิเศษสุดเพียงกลุ่มเดียว ฉันจำได้ว่าฉันเคยผ่านกระบวนการเข้ามหาวิทยาลัยที่เข้มข้นและมีการศึกษาสูงมาแล้ว แล้วจากที่ฉันสังเกต มันมีแต่จะดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ”

                ตัวนักเขียนเองรู้สึกว่าตัวเอกไม่ควรจะเป็นนักศึกษาหรืออาจารย์ เธอตั้งข้อสังเกตว่า “ฉันอยากจะพิจารณาคนแบบที่กลายเป็นเจ้าหน้าที่คัดเลือกนักศึกษา คนที่ทำหน้าที่ปัดเป่าความกังวลและความเกลียดชังของพวกเราทุกคนที่เป็นคนนอก ใครกันที่ทำหน้าที่นี้ และการเป็นแบบพวกเขาจะเป็นอย่างไรบ้างน่ะค่ะ”

                ด้วยความที่คำถามข้อหลังเกี่ยวกับการพิจารณาตัวเองคือหัวใจสำคัญของภาพยนตร์หลายเรื่องของพอล ไวซ์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงอคาเดมี่ อวอร์ด โคแฮนสกี้-โรเบิร์ตส์ เพื่อนผู้ร่วมงานกับเขามานานก็ตระหนักว่า Admission เป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับผู้นี้น่าจะสนใจ เธอเล่าว่า “นอกจากนิยายของฌอนจะแหวกม่านที่เผยให้เห็นกระบวนการตอบรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย มันยังเจาะลึกเข้าไปในธีมของการค้นพบตัวเอง ครอบครัวและการเป็นพ่อแม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่พอลมักพูดถึงเสมอในหนังของเขาด้วยค่ะ”

                “ฉันชื่นชอบคอนเซ็ปต์ของที่ปรึกษาด้านการรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ผู้มีความคิดเห็นที่หนักแน่นเกี่ยวกับเรื่องพ่อแม่และการที่พวกเขายินยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกๆ ได้เข้ามหาวิทยาลัยที่เหมาะสม แต่น่าขันที่ว่า ท้ายที่สุดแล้ว เธอกลับเป็นคนที่ทำตัวสุดโต่งกว่าพวกเขาทุกคนเสียอีก”

                มือเขียนบทคาเรน โครเนอร์ก็เคยอ่านหนังสือเรื่องนี้และชื่นชมมันเช่นกัน เธอและโคแฮนสกี้-โรเบิร์ตส์เคยพบกันเมื่อหลายปีก่อน และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกันซักครั้ง พวกเขาได้พบกันอีกครั้งเพื่อคุยกันถึงหนังสือเรื่องนี้ “และร่วมมือกันเพื่อนำเสนอมันให้กับพอลค่ะ” โครเนอร์กล่าว

                โคเรลิทซ์เล่าว่า “ตอนที่ฉันรู้ว่า พอล ที่เคยสร้าง About a Boy สนใจใน Admission ฉันก็ยิ่งกว่าดีใจอีกค่ะ ฉันคิดไม่ออกเลยว่าจะมีใครที่ดีไปกว่านี้ในการกำกับหนังที่สร้างจากหนังสือของฉันอีก”

                สำหรับโครเนอร์ ธีมของนิยายเรื่องนี้เป็นอะไรที่เข้าถึงได้ เธอเล่าว่า “ฉันรู้สึกผูกพันกับเรื่องราวนี้เป็นการส่วนตัวมากๆ หนึ่งในสิ่งที่โดนใจฉันตอนอ่านหนังสือเรื่องนี้คือนี่คือผู้หญิงที่กำลังเดินทางผิดในชีวิต ตัวฉันเองก็เขียนดราม่ามาตลอด และเช้าวันหนึ่ง ฉันก็ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความคิดที่ว่า ฉันอยากจะเขียนคอเมดี้ต่างหากล่ะ นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่เนี่ย”

                โครเนอร์ตั้งใจพบกับโคเรลิทซ์เพื่อคุยถึงกระบวนการดัดแปลงเรื่องราวนี้ มือเขียนบทจำได้ว่าเธอได้บอกกับนักเขียนผู้นี้ “ว่าฉันจะคงธีมหนังสือของเธอไว้ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่างในเรื่องราวไปก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ส่วนใหญ่ในหนังสือถูกบอกเล่าแบบย้อนอดีต แต่หนังเรื่องนี้จะดำเนินไปในปัจจุบันค่ะ”

                โคแฮนสกี้-โรเบิร์ตส์กล่าวเสริมว่า “ตัวละครบางตัวถูกตัดทิ้งไป ในขณะที่ตัวอื่นๆ ถูกเสริมบทเข้าไป มีการเพิ่มเติมพล็อตเข้าไปอีกพอสมควร สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปคือความรู้สึกเชื่อมโยงกันระหว่างตัวละครเหล่านี้ค่ะ เนื้อแท้ของเรื่องราวนี้ยังเป็นเหมือนเดิมค่ะ บทเรื่องนี้สะท้อนถึงการตีความปอร์เชียของคาเรน และตัวหนังก็สะท้อนถึงการตีความของพอล ไวซ์ ถึงตอนนี้ ฉันเป็นเหมือนย่าของตัวละครตัวนี้เลยค่ะ!”

                โครเนอร์กล่าวว่า การผสมผสานองค์ประกอบดราม่าและคอเมดี้ของเรื่องราวเข้าด้วยกัน “ปอร์เชียในฉบับภาพยนตร์ได้กลายเป็น ผู้หญิงที่มีความปรารถนาที่แท้จริงที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้เริ่มต้นชีวิตของพวกเขา แต่ตัวเธอเองกลับเหมือนถูกคุมขังในชีวิตที่เต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ของตัวเอง ฉันรู้สึกว่าเรื่องราวของปอร์เชียน่าจะเป็นเรื่องสากลและสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครก็ตามที่สร้างข้อจำกัดให้กับตัวเองและสงสัยว่าพวกเขามีความกล้าพอรึเปล่าที่จะเอ่ยปากออกไปว่า ‘ฉันจะทำอะไรนอกกรอบ’ น่ะค่ะ”

                โคแฮนสกี้-โรเบิร์ตส์ให้ความเห็นว่า “หลังจากที่ได้รับแรงกระตุ้นจากอดีตเท่านั้นที่ปอร์เชียเริ่มรีเซ็ทตัวเองใหม่ และออกเดินไปตามเส้นทางใหม่ ด้วยมุมมองใหม่และความปรารถนาแบบผู้เป็นแม่ที่เพิ่งผุดขึ้นมา ซึ่งมันเข้าครอบงำวิธีการคิดแบบเดิมๆ ของเธอ และมันก็ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามมา ซึ่งเธอทำตัวเหมือนคนเป็นแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอเคยรังเกียจอย่างออกหน้าออกตาน่ะค่ะ”
โครเนอร์กล่าวเห็นพ้องด้วยว่า “ตอนที่เธอเริ่มทำตัวเหมือนแม่กับเจเรไมอาห์ เธอก็ยอมให้ตัวเองมีความรู้สึกในแบบที่เธอกลัวมาตลอดค่ะ