FB on July 05, 2013, 09:06:33 AM






Venus In Fur Official French Trailer (2013) - Roman Polanksi Movie HD
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=g5WRsxFjgnw" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=g5WRsxFjgnw</a>
« Last Edit: January 23, 2014, 02:55:11 PM by FB »

FB on January 23, 2014, 02:54:53 PM
โรมัน โปลันสกี้ ปลื้ม เอมมานูเอลล์ เซนเยร์ เซ็กซี่ ยั่วใจชาย แบบถึงใจ ใน VENUS IN FUR วีนัส อิน เฟอร์ ภาพยนตร์ขวัญใจนักวิจารณ์จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปีนี้







Venus in Fur [Official Trailer-HD] เข้าฉาย 13 กุมภา 57
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=pj0oIMm5-tQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=pj0oIMm5-tQ</a>

          มงคลเมเจอร์ เตรียมนำ VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) ภาพยนตร์คอเมดี้-อีโรติก สำหรับผู้พิสมัยการถูกทรมานหัวใจจากฝีมือผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ โรมัน โปลันสกี้ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของเขาในรอบ 10 ปี และเมื่อครั้งที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าฉายในสายประกวดหลักของทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้เสียงปรบมือดังกึกก้องยาวนานเกินกว่า 5 นาที โดยเฉพาะการแสดงของ เอมมานูเอลล์ เซนเยร์ ภรรยาคนสวยของ โรมัน โปลันสกี้ ที่รับบท แวนด้า สาวสวยลึกลับผู้ปรากฏตัวขึ้นในคืนฝนพรำเพื่อมาทดสอบบท นางเอกละคร เวที เรื่อง VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) และด้วยแรงดึงดูดที่เซ็กซี่ยั่วยวนของเธอ ได้ทำให้ โทมัส ผู้กำกับถลำไปไกลกับการออดิชั่นบทที่แสนยาวนานคืนนั้น “ตอนแรกผมคิดอยู่นานว่าเลือกใครมาเล่นบทนี้ดี แต่คิดไปคิดมาแล้วก็ไม่มีใครเหมาะไปมากกว่าเธอ เอมมานูเอลล์ เป็นผู้หญิงที่มี แรงดึงดูดประหลาดต่อเพศตรงข้าม ผู้ชายทุกคนที่เห็นเธอก็ต่างปรารถนาอยากเป็นเจ้าของ ดังนั้นเธอจึงเหมาะมาก ๆ กับบทแวนด้า ผู้หญิงที่ใช้เสน่ห์ล่อลวงผู้ชายให้เผยธาตุแท้ในใจเขาออกมา”

          VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) ถือเป็นภาพยนตร์ คอเมดี้ อีโรติก ที่ผู้กำกับ โรมัน โปลันสกี้ สร้างมาจากละครบรอดเวย์สุดอื้อฉาว นำ โดยใช้ชื่อเดียวกัน หนังทั้งเรื่องนำแสดงโดยนักแสดงเพียง 2 คน มานูเอลล์ เซนเยร์ ในบท แวนด้า สาวสวยที่เดินทางมาทดสอบบทนางเอกละครเวที ในยามวิกาลที่หมดเวลาการออดิชั่นไปแล้ว และ มาธิเออร์ อมาลลิค ในบท โทมัส ผู้กำกับละครที่กำลังหัวเสียกับละครเรื่องใหม่ที่ ยังหาตัวนางเอกมารับบทไม่ได้เสียที แรกเริ่ม โทมัส ปฏิเสธ แวนด้า เนื่องจากเธอมาถึงสายเกินเวลาที่กำหนด แต่เพราะแรงดึงดูดประหลาด เขาจึงยอมให้เธอทดสอบบท และสิ่งที่เขาเห็นและเกิดขึ้นในค่ำคืนนั้น มันทำให้เขาไม่มีวันลืม คืนๆ นั้นไปจนชั่วชีวิต ...

          13 กุมภาพันธ์ ...ระวังหัวใจคุณ เอาไว้ให้ดี
          VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์)
          เฉพาะโรงภาพยนตร์ พารากอนซีนีเพ็กซ์
          เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า และ เฮ้าส์ อาร์ซีเอ เท่านั้น
« Last Edit: February 03, 2014, 03:20:11 PM by FB »

FB on February 05, 2014, 03:07:39 PM
บทสัมภาษณ์ โรมัน โปลันสกี้ ผู้กำกับ นักเขียนบทภาพยนตร์ และ ผู้อำนวยการสร้าง








 
VENUS IN FUR
เขียนบทโดย เดวิด ไอฟส์ และ โรมัน โปลันสกี้
ดัดแปลงจากบทละครเวที โดย เดวิด ไอฟส์
Franco Polonaise RP Productions / Monolith Films Co-production

เรื่องย่อ
เรื่องราวเกิดขึ้น ณ โรงละครปาริเซียง เมื่อโธมัส ผู้กำกับละครเวที กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายเต็มทนกับการออดิชั่นหานักแสดงหญิงในละครเวทีเรื่องใหม่ของเขาที่ดูท่าว่าจะไม่มีใครแสดงได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ขณะที่กำลังจะถอดใจนั่นเอง โธมัสก็ได้พบกับวานด้า หญิงสาวใจกล้าที่มาพร้อมกับบุคลิกที่ไม่เหมือนใคร

แม้ว่าวานด้าจะเต็มไปด้วยนิสัยแบบที่เขาเกลียด ไม่ว่าจะเป็นความบ้า ความแสบ ความร้าย แต่ไม่นานนัก โธมัสก็ต้องยอมรับว่าเธอคือนักแสดงที่เขาตามหา ทั้งความความใจในตัวละครอย่างถ่องแท้ ทุกประโยคจากในบทที่เธอพูดราวกับว่ามันออกมาจากใจ .. จนทำให้ผู้กำกับหนุ่มเริ่มจะถูกดึงดูดและดำดิ่งลงไปในวังวนแห่งความลุ่มหลงที่มีต่อผู้หญิงคนนี้อย่างไม่รู้ตัว ...

บทสัมภาษณ์ โรมัน โปลันสกี้
ผู้กำกับ นักเขียนบทภาพยนตร์ และ ผู้อำนวยการสร้าง

ทำไมคุณถึงตัดสินใจที่จะสร้างภาพยนตร์จากละครเวทีที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิยายของ ซาเชอร์-โมซอช เรื่องนี้
ต้องขอบคุณทีมงานของผม เจฟฟ์ เบิร์ก ซึ่งผมได้พบกับเขาในงานเทศกาลภาพยนตร์คานส์ปีที่แล้วและได้รับบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ เจฟฟ์บอกผมว่า “คุณต้องชอบมัน!” หลังจากนั้นผมจึงกลับห้องพักของตัวเองและเริ่มอ่านบทภาพยนตร์เรื่องนี้ “ใช่เลย นี่แหละสิ่งที่ฉันชอบ!” ผมคิดกับตัวเอง แต่ละประโยคในบทช่างมีอารมณ์ขันจนทำให้ผมต้องหัวเราะออกมาดังๆครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งไม่ใช่อะไรที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยหรอกนะครับ มันมีส่วนผสมของความย้อนแยง เสียดสี นอกจากนี้ผมยังชอบประเด็นเกี่ยวกับเฟมินิสต์อีกด้วย มันทำให้ผมอยากที่จะสร้างผลงานชิ้นนี้ออกมาเป็นภาพยนตร์ และคิดว่ามันน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ร่วมงานกับเอมมานูเอลอีกครั้ง ผมนึกภาพออกในทันทีเลยล่ะครับว่าภาพที่ออกมา รวมทั้งบรรยากาศในเรื่องควรจะเป็นอย่างไร

หลังจากผลงานเรื่อง Carnage นี่ถือเป็นครั้งที่สองแล้วที่คุณสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากละครเวที นอกจากนี้ยังเป็นผลงานภาษาฝรั่งเศสครั้งแรกของคุณอีกด้วย
ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลยครับ สิ่งที่ทำให้ผมสนใจในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือเรื่องราวของมัน ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความพิเศษตรงที่มันมีตัวละครเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในความฝันของผมมาตลอดที่อยากสร้างผลงานที่มีตัวละครแค่ 2 ตัว มันคือความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผมและผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ดีนะครับ ไม่งั้นผมคงจะรู้สึกเบื่อแย่ สิ่งที่ยากที่สุดก็คือการต้องถ่ายทำในสถานที่เดียวกับตัวละครทั้ง 2 โดยที่ไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเซ็งและไม่ทำให้มันเป็นเหมือนละครเวทีที่ถูกอัดวีดีโอมาฉาย

เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับเดวิด ไอฟส์หน่อยได้ไหม
ขั้นแรกเราเริ่มต้นจากการตัดบทพูดและปรับฉากบางฉาก ความตั้งใจของเราคือการทำให้มันมีความเป็นภาพยนตร์ ตามปกติแล้วในการสร้างละครเวที เหตุการณ์สำคัญต่างๆมักจะเกิดขึ้นในห้องออดิชั่น ผมคิดว่ามันเป็นอะไรที่ธรรมดาเกินไปครับ อย่างไรก็ตาม ในประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงละครเอกชนซึ่งมักจะจัดการออดิชั่นขึ้นบนเวทีจริง ผลงานของพวกเรานั้นเต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆมากมายครับ บางครั้งมันทำให้ผมต้องตัดสินใจที่จะเพิ่มเติมบางฉากในการแสดงและด้นสดด้วย

ปกติแล้วคุณคุ้นเคยกับโลกของซาเชอร์-โมซอชไหม
ไม่เลย!

คุณคิดไหมว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้กำกับและนักแสดงนั้น คือความสัมพันธ์แบบซาดิสม์และมาโซคิสม์
แน่นอนครับ มันเป็นหนึ่งในประโยคที่เดวิด ไอฟส์เขียน ซึ่งทำให้ผมต้องหัวเราะออกมาแบะอยากที่จะสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากบทละครเวทีของเขาครับ

คุณรู้สึกว่าตัวเองคล้ายกับตัวละครตัวไหนมากที่สุด
ไม่มีเลยครับ! แม้ว่างานที่ผมทำจะทำให้ผมใกล้เคียงกับตัวละครที่เป็นผู้กำกับมากกว่า แต่ผมคิดว่าตัวเองไม่คล้ายกับตัวไหนเลยนะ! ผมไม่คิดว่าตัวเองจะตกหลุมรักผู้หญิงแบบนั้นได้ ผมชอบที่เขาพูดว่า “ผมจะใช้ Lyric Suite ของอัลบอง เบิร์จ สำหรับช่วงเปลี่ยนฉาก" และเธอตอบว่า “เป็นไอเดียที่อัจฉริยะมาก!” มันทำให้โธมัสรู้สึกประหลาดใจสุดๆ เขาถามวานด้าว่าเธอรู้จักมันเหรอ เธอตอบว่า “ไม่” .. ผมชอบโมเมนต์แบบนี้มากๆครับ

อะไรในตัว เอมมานูแอล ซีจเญร์ ที่ทำให้เธอเหมาะกับบทบาทนี้
รูปร่างหน้าตา ภาพลักษณ์ของเธอ และความสามารถในการเปลี่ยนอารมณ์ได้อย่างน่าทึ่ง ผมคิดว่าบทบาทธรรมดาทั่วๆไปคงจะถือเป็นเรื่องง่ายเกินไปสำหรับเธอในการรับบท แต่สำหรับในภาพยนตร์เรื่องนี้ บทของวานด้า กลับยิ่งง่ายสำหรับเธอเข้าไปอีก เพราะเธอแทบจะไม่ต้องแสดงเลย มันเป็นธรรมชาติมาก เอมมานูเอลสามารถปรับโทนเสียง สำเนียงและบุคลิกได้อย่างดีเยี่ยม มันเป็นอะไรที่สุดยอดครับ

แล้วมาติเออ อมาลริกล่ะ
เขาเป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยม และยังเป็นผู้กำกับด้วย ดังนั้นเขาจึงมีความเข้าใจเป็นอย่างดีในรายละเอียดการถ่ายทำ ผมคิดว่าเขามีพรสวรรค์ครับ นอกจากนี้ยังอัจฉริยะ ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ทำให้เขาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ! มีนักแสดงไม่กี่คนหรอกครับที่ทำได้แบบเขา

คุณใช้กล้องกี่ตัวในการถ่ายทำ
แค่ตัวเดียวครับ มันมีมุมที่ดีที่สุดแค่เพียงมุมเดียวเท่านั้น ผมถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้จากมุมมองของผม ถ่ายทำตามสิ่งที่ผมอยากจะเห็น แต่ผมจะให้นักแสดงเป็นคนกำหนดจุดยืนหรือตำแหน่งของพวกเขาเองนะครับ ผมไม่อยากสร้างผลงานที่ผมจับนักแสดงแปะเข้าไปในฉากตามใจชอบ มันเหมือนกับการตัดสูทสุดประณีต จากนั้นก็บังคับให้ใครซักคนยัดตัวลงไปในชุดๆนั้นให้ได้ ซึ่งคงจะไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่นัก ผมมักจะฝึกซ้อมร่วมกับนักแสดง จากนั้นก็จินตนาการภาพว่าผมควรจะถ่ายทำจากมุมมองแบบไหนออกมาดี ผมอยากจะให้มันเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดมุมมองสายตาของผม และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผมเลือกที่จะใช้กล้องเพียงตัวเดียวในการถ่ายทำครับ

คุณได้กลับมาทำงานร่วมกับพาเวล อีเดลแมนอีกครั้ง เพราะอะไรคุณถึงเลือกให้เขาเข้ามาร่วมงานในโปรเจคนี้
ผมมองหาคนที่รู้ความต้องการของผมครับ กับพาเวล ผมแทบจะไม่ต้องบอกเลยว่าอยากได้อะไร เขารู้ดีในสไตล์การทำงานของผม เช่นเดียวกันกับอเล็กซานเดอร์ ผู้ทำเพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งคู่กลายเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานของผม

ภาพยนตร์เรื่อง VENUS IN FUR มีดนตรีประกอบมากมายซึ่งบางครั้งแสดงความขัดแย้งกับเหตุการณ์ที่เกิดในเรื่อง นอกจากนี้ยังเสริมอารมณ์ขันและความแฟนตาซีเข้าไปอีก
สิ่งเดียวที่ผมบอกกับอเล็กซานเดอร์ก็คือ ผมอยากให้ภาพยนตร์มีเสียงดนตรีเยอะๆ เขาได้อ่านบทและเสนอแนะในสิ่งที่ผมมีความเห็นตรงกัน ซึ่งก็คือความเรียบง่าย เช่นเดียวกันกับพาเวล ตอนต้นของเรื่อง ผมอยากให้มันดูจริงและเมื่อเรื่องราวดำเนินไปเรื่องๆ มันก็เริ่มมีความเป็นแฟนตาซีและใส่จินตนาการลงไปเรื่อยๆ

หลังจากฉากโทรศัพท์ เราได้เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินไปถึงจุดเปลี่ยนบางอย่าง และแสงของภาพก็แตกต่างออกไป ตัวละครของเอมมานูแอล ซีจเญร์ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างไปจากเดิม
ผมชอบที่จะพัฒนาความคลุมเครือให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆ ในขั้นตอนของการพัฒนาบทกับเดวิด เราตัดสินใจที่จะสร้างความรู้สึกที่ห่างไกลจากความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ผู้ชมก็ไม่อาจที่จะจับได้ว่า เพราะเหตุใดมันจึงเป็นเช่นนี้

ฉากเต้นในตอนท้าย เหมือนจะเป็นจุดไคลแม็กซ์ของเรื่อง
ผมได้ไอเดียของฉากนี้ในวินาทีสุดท้ายเลยล่ะ ผมรู้ว่าตัวเองอยากที่จะสื่ออารมณ์แบบไหน แต่ก็ยังหาวิธีที่เหมาะสมในการถ่ายทอดมันออกไปไม่ได้ ในท้ายท้ายที่สุดผมก็เลือกใช้การเต้นซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเต้นแบบกรีกครับ

คุณได้อ่านบทของภาพยนตร์เรื่อง Venus in Fur ในงานเทศกาลภาพยนตร์คานส์ปีที่แล้ว และในปีถัดมาคุณก็ได้ส่งผลงานภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าแข่งขัน ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก
ใช่ครับ มันเป็นอะไรที่บ้ามาก ต้องขอบคุณทีมงานและนักแสดงทุกคนที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว ทุกคนทำงานกันอย่างหนักทุกขั้นตอน!

ถ้าคุณสามารถเลือกเก็บภาพหนึ่งภาพจากภาพยนตร์เรื่อง VENUS IN FUR ไว้ได้ มันจะเป็นภาพเป็นไหน
ฉากการออดิชั่น แน่นอนอยู่แล้ว!
« Last Edit: February 12, 2014, 03:28:06 PM by FB »

FB on February 05, 2014, 03:08:09 PM
ประวัติ เอมมานูแอล ซีจเญร์

เอมมานูแอล ซีจเญร์ เกิดในครอบครัวของนักแสดง เธอเริ่มต้นการทำงานในวงการบันเทิงในฐานะนางแบบตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี และได้เริ่มต้นงานแสดงครั้งแรกในภาพยนตร์ของผู้กำกับ คริสโตเฟอร์ แฟรงค์เรื่อง L’ANNEE DES MEDUSES จากนั้นจึงตามด้วยผลงานของสุดยอดผู้กำกับ ฌอง โกดาร์ดอย่าง DETECTIVE

ในปี 1988 เธอได้รับบทนำครั้งแรกในภาพยนตร์ของโรมัน โปลันสกี้ เรื่อง FRANTIC โดยแสดงร่วมกับแฮริสัน ฟอร์ด 4 ปีถัดมา
เธอได้แสดงภาพยนตร์ของผู้กำกับผู้นี้อีกครั้งใน BITTER MOON หลังจากนั้นเธอและโปลันสกี้ได้แต่งงานกันและมีลูกด้วยกันสองคน พวกเขาร่วมกันกันอีกครั้งในปี 1999 กับผลงานภาพยนตร์เรื่อง THE NINTH GATE

THE VENUS IN FUR ถือเป็นการร่วมงานกันครั้งที่ 5 ของสามีภรรยาคู่นี้

ผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา

2013 LA VENUS A LA FOURRURE by Roman Polanski
2012 DANS LA MAISON by François Ozon
L’HOMME QUI RIT by Jean-Pierre Améris
QUELQUES HEURES DE PRINTEMPS by Stéphane Brizé
2010 CHICAS by Yasmina Reza
2009 LE CODE A CHANGE by Danièle Thompson
2007 LE SCAPHANDRE ET LE PAPILLON by Julian Schnabel
LA MOME by Olivier Dahan
2005 BACKSTAGE by Emmanuelle Bercot
2004 ILS SE MARIERENT ET EURENT BEAUCOUP D’ENFANTS by Yvan Attal
1999 THE NINTH GATE by Roman Polanski
1998 PLACE VENDOME by Nicole Garcia
1994 LE SOURIRE by Claude Miller
1992 BITTER MOON by Roman Polanski
1988 FRANTIC by Roman Polanski
1986 COURSE PRIVE by Pierre Granier-Deferre
1985 DETECTIVE by Jean-Luc Godard
1984 L’ANNEE DES MEDUSES by Christopher Frank

บทสัมภาษณ์ มาติเออ อมาลริก รับบท โธมัส

คุณเป็นทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และคนที่หลงใหลในภาพยนตร์ การทำงานร่วมกับโรมัน โปลันสกี้ ถือเป็นหนึ่งในความฝาฝันของคุณไหม
ความฝันงั้นเหรอ? มันเป็นยิ่งกว่านั้นอีกครับ! เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผมและทำให้ผมเลือกที่จะทำงานในวงการนี้ตั้งแต่แรก

ทำไมล่ะ
เพราะผมรู้สึกว่าผลงานของเขาคืองานฝีมือ มันเป็นภาพยนตร์ที่สร้างด้วยสัญชาติญาน เขามีความรักในภาพยนตร์อย่างแท้จริง เขาคือสุดยอดฝีมือ คุณจะต้องเห็นการทำงานของเขาในกองถ่ายครับ เขาเป็นคนทำพร็อบที่อัจฉริยะมาก นอกจากนี้ยังเป็นเมคอัพอาร์ทติสฝีมือเยี่ยมอีกด้วย เขาเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมอยากที่จะลองทำสิ่งต่างๆแบบเขา

คุณรู้สึกประหลาดใจมั้ยที่ได้รับการติดต่อจากเขา
แน่นอนครับ มันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผมต้องจำบทให้ได้ในเวลาสั้นๆ เพราะเขาอยากที่จะเริ่มต้นการถ่ายทำให้เร็วที่สุด เราจึงไม่ได้มีเวลาในการฝึกซ้อมมากนัก เราเริ่มต้นการทำงานจากการอ่านและศึกษาบทภาพยนตร์ ไม่ใช่แค่จำได้เท่านั้น แต่คุณยังต้องรู้ว่าโรมันคิดอะไรอยู่ในใจ ถึงสิ่งที่ภาพยนตร์ของโปลันสกี้ควรจะเป็น

เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับความเหมือนระหว่างคุณกับโปลันสกี้หน่อยสิ
ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลยครับ! จนกระทั่งเขาให้แฮร์ สไตลิสต์ทำผมทรงนั้นให้แก่ผม ผมก็รู้ได้ทันทีว่าทำไมทุกคนถึงคิดแบบนี้! เขามักจะชอบพูดเล่นเกี่ยวกับความเหมือนระหว่างเราทั้งคู่ตอนที่ผมลองชุดเพื่อใส่ในภาพยนตร์ โรมันพูดว่า “ผมกำลังห่าแจ็คเก็ตให้ลูกชายผมอยู่ครับ!” เขาเป็นคนที่ใจดีแล้วก็อบอุ่นมากๆ มันเป็นอะไรที่น่าประทับใจสุดๆครับ

คุณรู้สึกดีไหมที่เหมือนเขา
ผมคิดว่ามันเป็นอะไรที่เหมือนกับโชคชะตาครับ ยายของผมก็เกิดในโปแลนด์เช่นเดียวกัน เธอเป็นคนยิว

ความเหมือนของคุณทั้งคู่ ไอเดียต่างๆในภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความพร่ามัวระหว่างความเป็นจริงและจินตนาการในภาพยนตร์
ใช้เลยครับ แต่เขาไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ออกมาตรงๆหรอกนะ โรมันรู้ดีว่าชีวิตมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่น่าขำสิ้นดี ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้มีเหตุผลไปหมดหรอก ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องไปกำหนดหรือสร้างความหมายให้มันหรอกนะ เมื่อผมได้พูดคุยกับเขาหลังจากที่อ่านบทภาพยนตร์เรื่องนี้จบ สิ่งเดียวที่เขาบอกกับผมก็คือ “มันตลกดีใช่มั้ยล่ะ เราจะได้สนุกกันแน่! ” โรมันเป็นคนที่เน้นเรื่องของการปฏิบัติครับ เขามีกฏเพียงข้อเดียวคือ ไม่ต้องไปสนใจข้อถกถียงต่างๆ ก็แค่เชื่อในภาพยนตร์เท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปยึดถือเอาการวิเคราะห์ หาความหมาย หรือพวกทฤษฎีจิตวิเคราะห์อะไรทั้งสิ้น ทั้งหมดคือสิ่งที่ขึ้นอยู่กับผู้ชม

คุณหมายความว่าอย่างไร
เขาไม่เหมือนที่ทุกคนคิดเลยครับ แม้ว่าเขาดูเหมือนจะเป็นคนที่ชอบสั่งการ แต่โรมันไม่ใช่จอมเผด็จการในกองถ่าย เขามีความคาดหวัง แต่ก็เข้าใจในทีมงานของเขาราวกับว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในจิตใจของเขา ไม่มีชนชั้น ไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งเป็นอะไรที่ทำให้ผมรู้สึกทึ่งมาก เขาแค่อยากจะให้ทุกอย่างออกมาอย่างที่มันควรจะเป็น จากนั้นเราก็ข้ามไปทำในขั้นต่อไปได้ งานของเขาถูกสร้างออกมาอย่างใส่ใจรายละเอียด ทุกๆสิ่งต่างมีความสำคัญมากทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นแสงเงาจากฉากหลัง หนังสือเล่มหนึ่งที่วางอยู่บนโต๊ะ หรืออาจจะเป็นมุมที่วางโซฟา เช่นเดียวกับกับนักแสดง เขารู้ว่าเราควรจะหัวหน้าไปทางไหน หรือเอามือวางไว้จุดไหน

อธิบายเกี่ยวกับตัวละครที่คุณรับบทในภาพยนตร์เรื่องนี้หน่อยได้ไหม
เป็นคนที่คิดว่าตัวเองเก่งและเป็นคนสำคัญครับ ซึ่งเป็นทุกสิ่งที๋โรมันเกลียดเลยล่ะ! โธมัสเป็นคนที่วางตัวเองเป็นผู้กำกับในละครเวทีเรื่องนี้ เพราะเขาคิดว่าคงจะไม่มีผู้กำกับคนไหนเข้าใจหรือทำมันได้ แต่จริงๆแล้วเขาไม่มีประสบการณ์ในการทำงานกับนักแสดงเลย

คุณไม่ได้แค่รับบทผู้กำกับ แต่ยังต้องรับบทเป็นนักแสดง เป็นผู้ชายที่ถูกบงการโดยผู้หญิง มันยากไหมกับการสื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคลิกทั้งหมด
ในการทำงานกับโรมันและเอมมานูแอล เราใข้เวลาในการศึกษาบทอย่างหนัก ซึ่งทำให้ในที่สุดเราสามารถหาความแตกต่างระหว่างบุคลิกเหล่านี้ได้ครับ วิธีการกำกับของโรมันนั้น ไม่ได้เน้นในสไตล์การแสดงที่เป็นธรรมชาติ มันเหมือนกับว่าเรามีหน้ากากเวลาแสดง ซึ่งโรมันจะชี้แนะแนวทางให้เราอย่างตั้งใจ

คุณรู้สึกคุ้นเคยกับโลกของซาเชอร์-โมซอชไหม
ผมไม่คุ้นมาก่อนเลยครับ แต่เมื่อผมได้รู้จักผลงานของเขา มันทำให้ผมประหลาดใจมาก! ใน VENUS IN FUR ซาเชอร์-โมซอชพูดถึงประเด็นของซาดิสม์และมาโซคิสม์ มันเป็นอะไรที่น่าอัศจรรย์ครับ เขาเล่าว่าผู้หญิงและผู้ชายไม่ได้เท่าเทียมกันอยู่แล้วในสังคม มันมักจะมีความสัมพันธ์ในรูปแบบผู้นำและผู้ตามอยู่เสมอ

คุณเชื่อในความสัมพันธ์แบบซาดิสม์และมาโซคิสม์ระหว่างผู้กำกับและนักแสดงหรือไม่
ไม่เลยครับ สำหรับการทำงานกับโรมัน มันไม่เป็นแบบนั้นเลย

พูดถึงรวมๆ ไม่ใช่แค่โปลันสกี้
ไม่เลยครับ มันขึ้นอยู่กับแต่ละคนมากกว่า ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน ผมคิดว่ามันเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงานกันมากกว่า

คุณคิดว่าอะไรในตัวเอมมานูแอล ซีจเญร์ทำให้เธอเหมาะสมกับบทของวานด้า
สิ่งที่เธอเป็น สิ่งที่เธอทำได้ มันมีความอิโรติค มีความรู้สึกบางอย่างในตัวของเธอครับ มันเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมากครับที่ได้แสดงร่วมกันกับเธอในภาพยนตร์เรื่องนี้ คุณจะไม่มีทางหาคำตอบได้ว่าวานด้าเป็นคนแบบไหน เมื่อคุณคิดว่าเธอเป็นแบบหนึ่ง แต่แล้วเธอก็กลายเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเราก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่ามันเป็นสิ่งที่เธอแสร่งทำหรือเปล่า ผมคิดว่าเอมมานูแอลเก่งมากครับในการแสดงสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้เธอยังเป็นภรรยาของผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมรู้สึกราวกับว่ากำลังเห็นศิลปินหรือนักแกะสลักฝีมือเยี่ยมกำลังสร้างงานศิลปะภาพเหมือนของภรรยาเขาอยู่ ทั้งคู่ทำงายร่วมกันได้อย่างน่าอัศจรรย์

ถ้าคุณสามารถเก็บภาพเพียงภาพเดียวจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ มันจะเป็นภาพแบบไหน
สิ่งแรกที่แว้บเข้ามาในหัวผมคือภาพของโรมัน เพราะเราถ่ายทำกันในกองถ่ายซึ่งให้ความรู้สึกที่จริงราวกับเรากำลังอยู่ในโรงละคร เขามักจะขึ้นมาบทเวทีเพื่อกำหนดทิศทางในการถ่ายทำ ซึ่งช่วยส่งพลังในการแสดงให้ผมได้อย่างดีเยี่ยม ความบ้าในแววตาของเขานี่แหละครับ คือสิ่งที่ผมจดจำได้ดีที่สุด

ประวัติ มาติเออ อมาลริก

มาติเออ อมาลริก เกิดวันที่ 25 ตุลาคม 1965 เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กของเขาที่วอชิงตัน และมอสโคว์ ก่อนที่จะย้ายกลับไปยังประเทศฝรั่งเศส ด้วยความหลงใหลในภาพยนตร์ของเขา อมาลริกเริ่มถ่ายทำหนังสั้นและได้รับการว่าจ้างให้เข้าทำงานในตำแหน่งในฝ่ายโปรดัคชั่น เขาเริ่มต้นอาชีพนักแสดงครั้งแรกในปี 1984 ในภาพยนตร์เรื่อง LES FAVORIS DE LA LUNE 3 ปีถัดจากนั้น จึงได้รับข้อเสนอให้เข้าร่วมงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับในภาพยนตร์เรื่อง AU REVOIR LES ENFANTS
ในปี 1996 เขาได้กลับมาแสดงอีกครั้งใน LE JOURNAL DU SEDUCTEUR ต่อด้วย COMMENT JE ME SUIS DISPUTE… (MA VIE SEXUELLE) ซึ่งทำให้เขาชนะรางวัลซีซาร์อวอร์ดในสาขานักแสดงหน้าใหม่ ปีถัดมาเขาได้แสดงใน MANGE TA SOUPE และมีผลงานตามออกมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงยิ่งขึ้นในฐานะนักแสดง ในปี 2005 เขาได้รับบทในภาพยนตร์ของผู้กำกับชื่อดังอย่างสตีเวน สปิลเบิร์กเรื่อง MUNICH จากนั้นจึงได้แสดงใน ROIS ET REINE ซึ่งส่งให้เข้าได้รับรางวัลซีซาร์อวอร์ดอีกครั้งในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
หลังจากนั้นเขาได้แสดงในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อีกหลายเรื่อง เช่น A QUANTUM OF SOLACE, LES AVENTURES D’ADELE BLANC-SEC,COSMOPOLIS อมาลริก ชนะรางวัลซีซาร์ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่2จากผลงานเรื่อง LE SCAPHANDRE ET LE PAPILLON และในปี 2010 ภาพยนตร์เรื่อง TOURNEE ซึ่งเขาเป็นคนกำกับเอง ชนะรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก Cannes Film Festival สำหรับปีล่าสุดนี้ เขาได้ร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์คานส์อีกครั้ง ในฐานะนักแสดงจากภาพยนตร์สองเรื่องคือ VENUS IN FUR และ JIMMY P

ผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา
2014 THE GRAND BUDAPEST HOTEL by Wes Anderson
2013 JIMMY P. (PSYCHOTHERAPIE D’UN INDIEN DES PLAINES) by Arnaud Despechin
VENUS IN FUR by Roman Polanski
AMOUR CRIME PARFAIT by Arnaud and Jean-Marie Larrieu
2012 LES LIGNES DE WELLINGTON by Raoul Ruiz and Valeria Sarmiento
CAMILLE REDOUBLE by Noémie Lvosky
COSMOPOLIS by David Cronenberg
VOUS N’AVEZ ENCORE RIEN VU by Alain Resnais
2011 POULET AUX PRUNES by Marjane Satrapi
2010 TOURNEE by Mathieu Amalric
LES AVENTURES D’ADELE BLANC-SEC by Luc Besson
2009 LES HERBES FOLLES by Alain Resnais
LES DERNIERS JOURS DU MONDE by Arnaud et Jean-Marie Larrieu
2008 A QUANTUM OF SOLACE by Marc Forster
MESRINE by Jean-François Richet
DE LA GUERRE by Bertrand Bonello
UN CONTE DE NOEL by Arnaud Desplechin
2007 UN SECRET by Claude Miller
L’HISTOIRE DE RICHARD O. by Damien Odoul
LE SCAPHANDRE ET LE PAPILLON by de Julian Schnabel
ACTRICES by Valeria Bruni-Tedeschi
LA QUESTION HUMAINE by Nicolas Klotz
2006 LE GRAND APPARTEMENT by Pascal Thomas
2005 QUAND J’ETAIS CHANTEUR by Xavier Giannoli
MARIE ANTOINETTE by Sofia Coppola
MUNICH by Steven Spielberg
2004 ROIS ET REINE by Arnaud Desplechin
2003 UN HOMME, UN VRAI by Arnaud and Jean-Marie Larrieu
2000 LA BRECHE DE ROLAND by Arnaud and Jean-Marie Larrieu
1999 TROIS PONTS SUR LA RIVIERE by Jean-Claude Biette
1998 ALICE AND MARTIN by André Téchiné
FIN AOUT, DEBUT SEPTEMBER by Olivier Assayas
1996 LE JOURNAL DU SEDUCTEUR by Danièle Dubroux
COMMENT JE ME SUIS DISPUTE… (MA VIE SEXUELLE) by Arnaud Desplechin
1985 LES FAVORIS DE LA LUNE by Otar Iosseliani

บทสัมภาษณ์ อเล็คซานเดอร์ เดสพลาท นักแต่งเพลง

VENUS IN FUR คือภาพยนตร์เรื่องที่ 3 ที่คุณได้ร่วมงานกับโรมัน โปลันสกี้ คุณมีวิธีการทำงานร่วมกับเขาอย่างไรบ้าง
ผมโชคดีมากครับที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนและสัมผัสบรรยากาศในกองถ่ายบ่อยๆ และที่นั่นให้ความรู้สึกที่สมจริงเอามากๆ มันตลกดีนะครับ ทั้งที่ผมเคยไปที่โรงละครThéâtre Récamier มาก่อนตอนที่เตรียมงานสำหรับ “Papa doit manger” แต่เมื่อผมได้กลับไปที่นั่นอีกครั้งในคราวนี้ สถานที่นี้กลับดูงดงาม ตั้งแต่ประตูทางเข้าไปจนถึงบนเวที สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ โรมันเชื่อว่าดนตรี ควรจะเป็นเหมือนกับหัวใจสำคัญของภาพยนตร์ ให้เหมือนกับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีผ้าคลุมหน้าคอยปกคลุมอยู่ และใช้ดนตรี ค่อยๆเปิดเผยมันออกมาทีละนิด

ดนตรีในภาพยนตร์เรื่องนี้ช่วยเน้นย้ำถึงอารมณ์ที่ถูกสื่ออกมา ซึ่งมีทั้งความจริงจังและความลักลั่น ย้อนแย้ง บางครั้งมันกลับแสดงออกถึงอารมณ์ที่ขัดแย้งกันกับเหตุการณ์ในเรื่อง
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ นักแสดงหญิงและผู้กำกับกำลังเล่นเกมส์อะไรบางอย่างกันอยู่ ดนตรีประกอบก็เช่นกันมันกำลังเล่นเกมส์กับคนดูครับ ดนตรีในตอนต้นของเรื่องถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่บทเพลงต่อไป และไปจนถึงเพลงในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ ผลงานในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีแบบกรีก ผมใช้เครื่องดนตรีของกรีก ซึ่งจะสื่อถึงความเป็นกรีกออกมาได้ดีที่สุด จริงๆแล้วผมมีเชื้อสายกรีกนะครับ
เพราะอะไรคุณถึงเลือกที่จะใส่ความเป็นกรีกลงไปในผลงานภาพยนตร์เรื่องนี้ล่ะ
เพราะในตอนท้ายทุกคนจะได้พบกับเทพีอะโฟรไดท์น่ะสิ! (หัวเราะ) คุณจะได้เห็นความซับซ้อนในภาพยนตร์ของโรมัน ซึ่งเขาสนับสนุนให้ผมได้ลองเล่นสนุกกับความซับซ้อนเหล่านี้ด้วย มันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นดีครับ ต้องขอบคุณผู้กำกับที่มีความบ้าและมีพรสวรรค์ในตัวอย่างโรมัน ที่ให้โอกาสผมได้ร่วมงานในโปรเจคนี้

มันยากไหม กับการประพันธ์เพลงในช่วงเปิดเรื่อง
โรมันเป็นคนที่มีพลังรวมทั้งยังมีความแน่วแน่มากอย่างน่าทึ่ง ดังนั้นการทำงานร่วมกับเขาจึงคืบหน้าไปได้อย่างรวดเร็วมากครับ ทั้งในภาพยนตร์เรื่อง THE GHOST WRITER รวมทั้ง CARNAGE ก็เช่นเดียวกัน ผมคิดว่าเราต่างมีความเข้าใจในวิธีการทำงานของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี โรมันเป็นคนที่รักในเสียงดนตรี เขารักดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ สำหรับผมเขาเป็นคนที่น่าอัศจรรย์ที่ได้ร่วมงานด้วย คุณจะรู้สึกเหมือนกันว่าอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับเมื่อทำงานกับเขา

เขาเป็นคนที่ตัดสินใจได้เร็วไหม
แน่นอนครับ อย่างในภาพยนตร์เรื่อง THE GHOST WRITER เป็นต้น ครั้งหนึ่งเขาได้ฟังเพลงที่ผมแต่งขึ้นและตัดสินใจได้ทันทีว่าจะใช้มันเป็นเพลงเปิดภาพยนตร์ เช่นเดียวกันกับในภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ ผมส่งเพลงให้เขาฟัง และเขาก็ตัดสินใจได้ทันทีว่าไอ้นี่แหละ!

เขาได้อธิบายถึงประเภทของดนตรีที่เขาต้องการ หรืออารมณ์แบบที่เขาอยากจะสื่อหรือเปล่า
ไม่เลยครับ เราไม่สามารถให้นิยาม หรือคำจำกัดความเพื่อบรรยายดนตรีได้ ผมคิดว่าฉากเต้นในตอนท้ายถือเป็นจุดสำคัญ มันถือเป็นเรื่องไม่คาดฝันมากๆครับกับการเลือกใช้ดนตรีสไตล์กรีก

โรมัน โปลันสกี้มีส่วนร่วมในการทำดนตรีในแต่ละขั้นตอนมากหรือเปล่า
แน่นอนครับ เขาสนุกมากกับการได้มีส่วนร่วมในการทำดนตรี เราทำการอัดเสียงที่ปารีส ซึ่งโรมันจะเดินทางมาที่สตูดิโอเพื่อแนะนำแนวทางในการทำงาน นอกจากนี้เขายังร่วมงานในขั้นตอนของการตัดต่อ รวมทั้งการมิกซ์เสียงอีกด้วย

อะไรคือสิ่งที่คุณประทับใจมากที่สุดในการถ่ายทำ
วิธีการที่โรมันกำกับนักแสดงครับ เขามีพลังที่น่าทึ่งและมันจะทำงานไปรอบๆ นอกจากนี้เขายังมีสมาธิอย่างสูง รวมทั้งมีมาตรฐานที่ดีในการทำงาน ในทุกๆรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นทิศทางของแสง การเคลื่อนไหวของมือนักแสดง ผมคิดว่าโรมันเป็นบุคคลที่น่าประทับใจมากๆครับ

ถ้าคุณสามารถเก็บโมเมนต์หนึ่งในการทำงานในภาพยนตร์เรื่อง VENUS IN FUR ไว้ได้ มันจะเป็นแบบไหน
ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นวินาทีที่โรมันได้ฟังเพลงสำหรับฉากกเต้นในช่วงสุดท้ายของภาพยนตร์นะ การได้เห็นเขารู้สึกเซอร์ไพรส์และมีความสุขซึ่งเกิดจากดนตรีของผมนั้น ถือเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้แก่ผมได้อย่างมาก เมื่อโรมัน โปลันสกี้บอกว่าคุณทำได้แล้ว มันถือเป็นช่วงเวลาที่วิเศษสุด

FB on February 05, 2014, 03:09:00 PM
ประวัติ อเล็คซานเดอร์ เดสพลาท

อเล็คซานเดอร์ เดสพลาท เกิดวันที่ 23 สิงหาคม ปี 1961 พ่อของเขาเป็นชาวฝรั่งเศส ในขณะที่แม่ของเขาเป็นชาวกรีกซึ่งได้พบและใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในประเทศสหรัฐอเมริกา อเล็กซานเดอร์เริ่มต้นอาชีพในวงการของเขาด้วยการทำงานให้กับรายการวาไรตี้มากมาย ปัจจุบันเขามีผลงานเพลงในภาพยนตร์มาแล้วมากกว่า 150 เรื่อง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ฝีมือผู้กำกับชื่อดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เบน เอฟเฟล็ค เทอร์เรนซ์ มาลิค เวส แอนเดอร์สัน อังลี่ จอร์จ คลูนีย์ และ เดวิด ฟินเชอร์ เป็นต้น
อเล็คซานเดอร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง รวมทั้งรางวัลจากสถาบันอื่นอีกนับไม่ถ้วน อาทิเช่น รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัล BAFTA รางวัลซีซาร์ อวอร์ด เป็นต้น

บทสัมภาษณ์ พาเวล อีเดลแมน ผู้กำกับภาพ

VENUS IN FUR คือผลงานภาพยนตร์เรื่องที่ 5 ที่คุณได้ทำงานร่วมกับโรมัน โปลันสกี้ ภายหลังจากผลงานอย่าง THE PIANIST, OLIVER TWIST, THE GHOST WRITER และ CARNAGE ซึ่งภาพยนตร์แต่ละเรื่องนั้น ต่างก็มีสไตล์ที่แตกต่างดับไป คุณคิดว่าภาพยนตร์เรื่องไหนท้าทายความสามารถของคุณมากที่สุด
VENUS IN FUR เป็นภาพยนตร์ที่ยากที่สุดในการทำงานอย่างไม่ต้องสงสัยครับ ความท้าทายของมันมากยิ่งกว่าตอนที่ผมทำงานในโปรเจคภาพยนตร์เรื่องป็นภาพยนตร์ที่ยากที่สุดในการทำงานอย่างไม่ต้องสงสัยครับ ว่าจะใช้มันเป็นเพลงเปิดภาพยนตร์ เช่นเดียวกันกับในภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ ผ CARNAGE เสียอีก ครั้งนี้เราต้องทำงานอยู่ในโลเกชั่นเพียงที่เดียว และมีตัวละครแค่เพียง 2 คนเท่านั้น ไม่มีอะไรยากไปกว่านี้อีกแล้วครับสำหรับผู้กำกับและผู้กำกับภาพ คุณจะทำอย่างไรให้ผู้ชมรู้สึกสนใจและจด่อกับภาพยนตร์ของคุณได้ตลอด โดยที่ไม่ทำให้มันดูเหมือนละครเวทีหรือซีรีส์ สิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องของแสงซึ่งจะส่งผลต่อพื้นที่ นอกจากนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือการทำให้นักแสดงเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก

อธิบายเรื่องการออกแบบแสงที่คุณใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้หน่อยได้ไหม
มันเป็นเรื่องยากมาเลยครับกับการต้องอธิบายถึงรายละเอียดเรื่องของแสง สิ่งที่ผมเน้นก็คือการทำให้นักแสดงมีความโดดเด่นออกมาจากฉาก จากพื้นที่ที่ใช้ถ่ายทำ ผมอยากจะให้มีพื้นที่มืดๆ ที่ผู้ชมจะสามารถแต่งเติมมันได้ด้วยจินตนาการของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นเรายังจะต้องทำให้ผู้ชมรู้สึกลืมไปเลยว่าเรากำลังอยู่ในโรงละคร เราจะต้องสร้างบรรยากาศ ทำให้มันสามารถสื่อถึงสัญลักษณ์บางอย่างและมีความรู้สึกของความเป็นนามธรรมมากขึ้น

โรมัน โปลันสกี้ได้อธิบายถึงมุมมองด้านศิลปะของเขาให้คุณเข้าใจก่อนการถ่ายทำหรือเปล่า
เราไม่ได้พูดคุยกันมากเท่าไหร่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ เพราะทุกๆอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก เราได้พูดคุยกันประมาณครั้งหรือสองครั้งเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ เราทำแม้กระทั่งหาแรงบันดาลใจด้วยการดูภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ อาทิเช่น CHICAGO ซึ่งมีสไตล์ที่แตกต่างจากภาพยนตร์ที่เราจะสร้างมาก แต่มันเป็นเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงและความเป็นแฟนตาซี

ฉากไหนคือฉากที่ยากที่สุดในการจัดแสง
ฉากเต้นรำในตอนท้ายแน่นอนครับ ในตอนแรก เรายังไม่มีไอเดียที่แน่ชัดว่าภาพที่ออกมาควรจะเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงทำการทดสอบปรับแสงในหลากหลายแบบเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจว่าเราควรจะนำแบบไหนมาใช้งาน ผมคิดว่ามันเป็นฉากที่งดงามมากครับ การเต้นที่ออกมาดูแปลก ดนตรีก็ไพเราะ นอกจากนี้เอมมานูแอลยังแสดงได้อย่างน่าทึ่ง

โรมัน โปลันสกี้ เป็นคนที่แม่นยำและรู้ดีว่าเขาต้องการอะไรในผลงาน ในการทำงานกับเขาคุณมีโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆเองมากแค่ไหน า
ผมรู้จักเขาและรู้หน้าที่ของตัวเองในการทำงานเป็นอย่างดีครับ ผมรู้สึกมีอิสระเต็มที่ในการทำงานซึ่งเปิดโอกาสให้ผมได้แสดงความสามารถได้อย่างยอดเยี่ยม โรมันจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของกล้อง ตำแหน่งของนักแสดง ซึ่งผมเคารพในการตัดสินใจของเขา

คุณคิดว่าอะไรคือจุดแข็งของเขาในฐานะผู้กำกับ
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในตัวโรมันก็คือการที่เขาไม่ใช่แค่ผู้กำกับเท่านั้น แต่เขายังเป็นนักแสดงอีกด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องง่ายมาก ในการสื่อสารความต้องการของเขาให้นักแสดงเข้าใจได้อย่างชัดเจน อีกหนึ่งสิ่งที่น่าทึ่งในตัวเขาก็คือการที่เขารู้จักองค์ประกอบทั้งในด้านภาพและด้านอารมณ์เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หายากในตัวของผู้กำกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในภาพยนตร์เรื่องไหนๆ โรมันสามารถรู้ถึงความต้องการของตัวเขาเองได้เป็นอย่างดี

คุณจำครั้งแรกที่พบเขาได้ไหม
ผมจะลืมได้ยังไงล่ะครับ เขาโทรมาหาผมในวันก่อนหน้าที่ผมจะเดินทางไปพักผ่อนพร้อมกับครอบครัว และเขาก็ขอให้ผมร่วมงานด้วยในภาพยนตร์เรื่อง THE PIANIST ซึ่งแน่นอนว่าผมยินดีเป็นอย่างยิ่ง! ผมไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเขาโทรมาหาเพื่อขอให้ผมทำงานให้กับเขา หลังจากนั้นเราก็ได้พบกันในเบอร์ลินเกี่ยวกับสไตล์ภาพของ THE PIANIST.

การที่คุณทั้งคู่ต่างก็เป็นชาวโปแลนด์ น่าจะช่วยได้อย่างมากในการทำงานร่วมกัน
แน่นอนครับ แต่ไม่ใช่ในแบบที่พวกคุณคิดหรอก.. โรมันพูดได้ถึง 7 ภาษา เขาเคยใช้ชีวิตมาแล้วแทบจะในทุกที่ ทุกๆประเทศเป็นเหมือนกับบ้านของเขา อาจจะยกเว้นอเมริกา มันเป็นเรื่องจริงครับที่เรามีรกรากเดียวกัน เราเติบโตมาด้วยหนังสือเล่มเดียวกัน เราเคยร้องเพลงๆเดียวกัน รวมทั้งหายใจด้วยอากาศในสถานที่เดียวกัน ..มันเป็นอะไรที่ลึกซึ้ง เป็นสิ่งที่มาจากข้างใน

หากคุณสามารถเก็บภาพภาพเดียวจากภาพยนตร์เรื่อง VENUS IN FUR ได้ มันจะเป็นภาพแบบไหน
ไม่รู้สิครับ สำหรับผมมันน่าจะเป็นภาพตอนที่โรมันกำลังกำกับการแสดงของเอมมานูแอลซึ่งเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากครับ

ประวัติ พาเวล อีเดลแมน

พาเวล อีเดลแมนเกิดในประเทศโปแลนด์ เขามีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะผู้กำกับภาพชื่อดัง เจ้าของผลงานในภาพยนตร์หลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น KROLL, KRONIKI DOMOWE, PAN TADEUSZ, WHEN NAPOLEON CROSSED THE NIEMEN, L’AUBE À L’ENVERS, LOVE STORIES, BIG ANIMAL และ EDGES OF THE LORD เป็นต้น
เขาเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ รวมทั้งรางวัล BAFTA และรางวัลจาก American Society of Cinematographers ด้วยผลงานของเขาใน THE PIANIST นอกจากนี้เขายังเคยชนะรางวัลซีซาร์อวอร์ดในสาขากำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัล European Film Award และ รางวัล Eagle Award ในสาขาเดียวกันอีกด้วย
ผลงานล่าสุดของเขาได้แก่ ZEMSTA, RAY, ALL THE KING’S MEN, THE LIFE BEFORE HER EYES,OLIVER TWIST, THE GHOST WRITER และ CARNAGE

ประวัติ เดวิด ไอฟส์ นักเขียนบทละครเวที

เดวิด ไอฟส์ เติบโตในครอบครัวโปลิช-อเมริกัน ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่นิวยอร์ค ไอฟส์เริ่มต้นการเป็นนักเขียนครั้งแรกให้กับนิตยสาร Spy และหลังจากนั้นจึงได้ทำงานให้กับ New York Times Magazine รวมทั้ง the New Yorker
ในปี 1993 ผลงานของเขาอย่าง All in the Timing ได้รับความนิยมอย่างสูง และถูกนำไปแสดงเป็นละครบรอดเวย์มากกว่า 600 รอบ หลังจากนั้นเขามีผลงานการเขียนบทละครออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Polish Joke and Other Plays, La Puce à l’oreille, Le Menteur, Le Misanthrope, Le Légataire universel, Une pièce espagnole ซึ่งต่างก็ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในแง่ของรายได้และคำชื่นชมจากผู้ชมรวมทั้งนักวิจารณ์
ในปี 2010 หลังจากที่ได้อ่านนิยายของซาเชอร์ โมซอช เขาเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนบทละครเรื่อง Venus in Fur ซึ่งกลายเป็นละครเวทีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งเตะตาผู้กำกับชื่อดังอย่างโรมัน โปลันสกี้ผู้ตัดสินใจที่จะดัดแปลงบทละครเรื่องนี้ให้กลายเป็นภาพยนตร์คุณภาพในสไตล์แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ประวัติโรเบิร์ต เบนมุสซา ผู้อำนวยการสร้าง

ด้วยประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 30 ปี โรเบิร์ต เบนมุสซาคือผู้อำนวยการสร้างฝีมือเยี่ยมผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์คุณภาพมากมายนับสิบเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น LA GRANDE MENACE, BITTER MOON, THE PIANIST,OLIVER TWIST, ONCE UPON A TIME IN AMERICA, LA VENGEANCE D’UNE BLONDE, FURIA, HAUTE TENSION และ THE GHOST WRITER เป็นต้น

FB on February 12, 2014, 03:29:30 PM
เปิด 2 ตัวละคร เซ็กซี่ ซาดิสต์ VS ติสต์ เซอร์ มาโซคิสม์ ใน VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์)






 
           ปฎิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่อง VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) ของผู้กำกับเจ้าของรางวัล ออสการ์ โรมัน โปลันสกี้ เป็นที่ฮือฮาก็เพราะพลอตเรื่อง และการแสดงของ 2 ตัวละคร ในหนัง ที่ผู้กำกับจัดเต็มสำหรับผู้ที่นิยมความรักแบบติดเรท ระหว่าง สาวเซ็กซี่ ซาดิสต์ แวนด้า และ หนุ่ม ติสต์ เซอร์ มาโซคิสม์ โทมัส ที่รับบทโดย เอมมานูเอลล์ เซนเยร์ และ มาธิเออร์ อมาลลิค ในการแสดงที่เรียกได้ว่า เป็นการแสดงที่ดีที่สุด ของ ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2013 คาแรกเตอร์ของสาว แวนด้า ถือว่าเป็นการโชว์ฝีมือการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของ เอมมานูเอลล์ เซนเยร์ ด้วยลีลาการถอดทีละชิ้น ปั่นหัว ชี้นำ และ ล่อลวง จนนำไปสู่เป้าหมายที่เธอตั้งไว้ ในขณะที่ มาธิเออร์ อมาลลิค ในบท โทมัส ผู้กำกับหนุ่มผู้คิดว่าตัวเองฉลาดล้ำกว่าคนอื่น เหยียดเพศหญิง เขาค่อยๆ สลัดคราบผู้ชายแสนยะโส กลายเป็น ผู้ชายไร้ความมั่นใจที่ยอมทำตามเกมส์ทุกอย่างที่ผุ้หญิงคนนี้วางหมากไว้ “บทของผม ต้องแสดงเป็นคนที่คิดว่าตัวเองเก่งและเป็นคนสำคัญครับ ซึ่งเป็นทุกสิ่งที๋ผมเกลียดเลยล่ะ! โทมัสเป็นคนที่วางตัวเองเป็นผู้กำกับในละครเวทีเรื่องนี้ เพราะเขาคิดว่าคงจะไม่มีผู้กำกับคนไหนเข้าใจหรือทำมันได้ แต่จริงๆ แล้วเขาไม่มีประสบการณ์ในการทำงานกับนักแสดงเลย สุดท้ายเขาเลยกลายเป็นคนที่ถูก บงการคนที่เขาดูถูกซะเอง” - มาธิเออร์ อมาลลิค กล่าว

          VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) เป็นภาพยนตร์ ที่ผู้กำกับ โรมัน โปลันสกี้ สร้างมาจากละครบรอดเวย์สุดอื้อฉาว นำ โดยใช้ชื่อเดียวกัน หนังทั้งเรื่องนำแสดงโดยนักแสดงเพียง 2 คน มานูเอลล์ เซนเยร์ ในบท แวนด้า สาวสวยที่เดินทางมาทดสอบบทนางเอกละครเวที ในยามวิกาลที่หมดเวลาการออดิชั่นไปแล้ว และ มาธิเออร์ อมาลลิค ในบท โทมัส ผู้กำกับละครที่กำลังหัวเสียกับละครเรื่องใหม่ที่ ยังหาตัวนางเอกมารับบทไม่ได้เสียที แรกเริ่ม โทมัส ปฏิเสธ แวนด้า เนื่องจากเธอมาถึงสายเกินเวลาที่กำหนด แต่เพราะแรงดึงดูดประหลาด เขาจึงยอมให้เธอทดสอบบท และสิ่งที่เขาเห็นและเกิดขึ้นในค่ำคืนนั้น มันทำให้เขาไม่มีวันลืม คืนๆ นั้นไปจนชั่วชีวิต ...

          “ตลก ฉลาด และทรงพลังมากที่สุด ของปีนี้” – the Guardian
          13 กุมภาพันธ์... ระวังหัวใจคุณ เอาไว้ให้ดี
          VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) เฉพาะโรงภาพยนตร์
          พารากอน ซีนีเพล็กซ์, เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์,
          เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า และ เฮ้าส์ อาร์ซีเอ เท่านั้น....

FB on February 14, 2014, 04:44:06 PM
VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) วุ่นนัก … รักผู้หญิงร้าย โดนใจนักวิจารณ์ การันตีว่านี่คือ “หนังที่สนุก จิกกัด ที่สุด ของ โรมัน โปลันสกี้”




 
           มงคลเมเจอร์ ร่วมกับ สถานเอกอัคราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) วุ่นนัก... รักผู้หญิงร้าย สำหรับนักวิจารณ์และสื่อมวลชนชาวไทยและฝรั่งเศส ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อค่ำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์ เฮ้าส์ อาร์ ซี เอ โดยสื่อมวลชนที่ร่วมชมภาพยนตร์ในวันนั้นต่างยกให้ VENUS IN FUR เป็นภาพยนตร์ที่ดูสนุกที่สุดของผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ โรมัน โปลันสกี้

          “ผมคิดว่า VENUS IN FUR เป็นภาพยนตร์ที่พิเศษทั้งในด้านความดีเด่น การแสดง การกำกับ และบทภาพยนตร์ ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้มีโอกาสได้เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ฝรั่งเศสมีโอกาสได้รับการยอมรับมากขึ้น” มิสเตอร์ เจเรมี่ ออปคลิเทสโก ผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรม สถานทูตฝรั่งเศส

          “โรมัน โปลันสกี้ เป็นผู้กำกับที่มีลายเซ็นเป็นของตัวเองชัดเจน VENUS IN FUR ถือเป็นหนังที่ทั้งดูสนุก ครบรส และดีที่สุดในรอบ 5 ปี ของเขาเลยทีเดียว” คุณกัลปพฤกษ์ นักวิจารณ์ นิตยสาร FILMAX

          “หนังสนุกกว่าที่คิดมากครับ ทั้งตลก และเข้าถึงง่าย นักแสดงทั้ง 2 คน เอมมานูแอล ซีจเญร์ และ มาติเออ อมาลริก เล่นเข้าขากันมากทำให้หนังไม่ดูน่าเบื่อเลยครับ” คุณศิโรฒน์ คล้ามไพบูลย์ ผู้ดำเนินรายการ Wake Up Thailand

          VENUS IN FUR (วีนัส อิน เฟอร์) เปิดฉากขึ้นที่ โรงละครปาริเซียง เมื่อโทมัส ผู้กำกับละครเวที กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายเต็มทนกับการออดิชั่นหานักแสดงหญิงในละครเวทีเรื่องใหม่ของเขาที่ดูท่าว่าจะไม่มีใครแสดงได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ขณะที่กำลังจะถอดใจนั่นเอง โธมัสก็ได้พบกับวานด้า หญิงสาวใจกล้าที่มาพร้อมกับบุคลิกที่ไม่เหมือนใคร แม้ว่าแวนด้าจะเต็มไปด้วยนิสัยแบบที่เขาเกลียด ไม่ว่าจะเป็นความบ้า ความแสบ ความร้าย แต่ไม่นานนัก โธมัสก็ต้องยอมรับว่าเธอคือนักแสดงที่เขาตามหา ทั้งความความใจในตัวละครอย่างถ่องแท้ ทุกประโยคจากในบทที่เธอพูดราวกับว่ามันออกมาจากใจ .. จนทำให้ผู้กำกับหนุ่มเริ่มจะถูกดึงดูดและดำดิ่งลงไปในวังวนแห่งความลุ่มหลงที่มีต่อผู้หญิงคนนี้อย่างไม่รู้ตัว ...

          13 กุมภาพันธ์ ... ระวังหัวใจคุณ เอาไว้ให้ดี
          VENUS IN FUR วุ่นนัก... รักผู้หญิงร้าย เฉพาะโรงภาพยนตร์ พารากอนซีนีเพล็กซ์
          เอสพลานาดซีนีเพล็กซ์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า
          เอส เอฟ เอ็กซ์ เอมโพเรียม
          และ เฮ้าส์ อาร์ซีเอ เท่านั้น....