FB on January 28, 2013, 05:41:27 PM
“บิณฑ์” นำทีมเด็กโกอินเตอร์ ตะลุยอินเดีย เคลียร์ความเครียด สร้างความสนุกหรรษา ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมฉายรับปิดเทอมใหญ่ 7 มีนาคมนี้




 
          หลังจากประสบความสำเร็จจาก “ปัญญาเรณู 1 และ 2” ผู้กำกับใจบุญมากความสามารถ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ก็ขอโกอินเตอร์โดยยกกองถ่ายเกือบร้อยชีวิตไปตะลุยอินเดียในภาพยนตร์เรื่องใหม่ “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” กับเรื่องราวการผจญภัยของแก๊งเด็กบ้านนาที่เกิดพลัดหลงกันขึ้นระหว่างการเดินทางจากแดนอีสานสู่เมืองพุทธคยาเพื่อไปสืบทอดศิลปะประจำชาติ ความชุลมุนสุดหรรษาจึงบังเกิดโดยไม่คาดคิด

          พระเอกและผู้กำกับฯชื่อดัง เชื่อมั่นหนังดี เจตนาดี เผยชีวิตเด็กๆ ต่างชนชั้นในอินเดียกับเด็กบ้านนอกไทยแท้ที่ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความน่ารักสดใส สร้างรอยยิ้ม น้ำตา และความประทับใจที่ไม่เคยมีหนังไทยเรื่องไหนสร้างมาก่อน

โดยบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เปิดเผยถึงผลงานใหม่นี้ว่า
          “เรื่องนี้ก็เกิดจากความประทับใจในการเดินทางไปอินเดีย ระหว่างเดินทางก็เห็นความเป็นอยู่ของแต่ละเมืองที่มีความแตกต่างกัน ก็มีความคิดว่าถ้าเอาเด็กอีสานไปเจอกับเด็กอินเดียให้ลองใช้ชีวิตด้วยกันซิว่ามันจะเป็นยังไง มันน่าจะมีมีข้อคิดอะไรที่ดีๆ ให้กับเราได้ ก็เลยกลายเป็นโปรเจ็คต์หนังตลกใสๆ มีดราม่าชีวิตเข้ามาด้วย ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องตลกมากหรือว่าดราม่ามากๆ มันเป็นเรื่องของเด็กๆ ซึ่งทำยังไงก็ได้ให้ได้กลับบ้าน เป็นแนวสนุกๆ ของเด็กๆ ที่พลัดหลงกันระหว่างเดินทางในอินเดีย ก็ได้ผจญภัยกันไปกับเรื่องราวที่สนุกสนานน่าติดตามระหว่างเด็กไทยและเด็กอินเดีย หนังเรื่องนี้จะสนุกตรงที่เด็กๆ ไม่รู้เรื่องด้านภาษาและวัฒนธรรมแต่ต้องมาอยู่ด้วยกัน ก็จะเป็นเรื่องของความมีน้ำใจ เรื่องจิตใจของเพื่อนที่ไม่เคยทิ้งกัน

          หนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นหนังไทยงที่เดินทางไปถ่ายทำไกลถึงพุทธคยา ประเทศอินเดียซึ่งเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานของโลก จุดหมายที่ชาวพุทธทั่วโลกต้องไปเยือนสักครั้ง ภาพที่หนังถ่ายทอดออกมาสื่อสารเรื่องราวความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จะได้เห็นวิถีชนบท ได้เห็นถึงวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเห็น และสถานที่สวยแปลกตาอีกมากมาย โดยไม่ต้องคิดซับซ้อนมากมาย และยังคงสไตล์ปัญญาเรณูแบบโกอินเตอร์ ก็จะมีทั้งเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความสนุกสนานเฮฮาที่จะให้ข้อคิดกับเด็กๆ และอีกหลายๆ คนที่อาจไปตกระกำลำบากอยู่ต่างประเทศ เรื่องนี้ก็จะให้ข้อคิดดีๆ ที่จะให้คนได้จดจำได้เลยครับ ผมเชื่อว่าเด็กๆ ในเรื่องนี้จะทำให้ท่านยิ้ม หัวเราะ และประทับใจได้ไม่ยาก”

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ผลงานโกอินเตอร์สู่แดนภารตะของ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” พร้อมออกผจญภัยในโรงภาพยนตร์ต้อนรับปิดเทอมใหญ่ 7 มีนาคมนี้
« Last Edit: January 28, 2013, 06:15:04 PM by FB »

FB on February 02, 2013, 03:49:34 PM
“บิณฑ์” ปั้น “กุ๊ดดู กุมาร” เด็กอินเดียหน้าใหม่ แสดงนำ “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”



          ข้ามฟ้าไปตะลุยถ่ายทำถึงอินเดียทั้งที ผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” เลยขอปั้น “กุ๊ดดู กุมาร” เด็กอินเดียเป็นดาราหน้าใหม่แสดงนำใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ซะเลย

          โดยทีมงานได้ลงพื้นที่ค้นหานักแสดงตามโรงเรียนต่างๆ กว่าสิบที่ในเมืองคยา และแคสติ้งเด็กอินเดียนับร้อยคน ซึ่งเด็กชายกุ๊ดดูโดดเด่นมาในมาดหวีผมเรียบแปล้ พร้อมส่งยิ้มกับสายตาหวานๆ อยู่ตลอดเวลา และเป็นเด็กคนเดียวที่กล้าแสดงออกมามากที่สุด ทีมงานให้ทำอะไรก็ทำ ไม่ว่าจะร้อง เล่น หรือเต้นรำ

          “กุ๊ดดู กุมาร” เด็กชายชาวอินเดียวัย 11 ปี เรียนอยู่ที่โรงเรียน Panchashile Rublie ตั้งอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองคยา รัฐพิหาร ซึ่งเมืองนี้มีประชากรกว่า 100 ล้านคน โรงเรียนของกุ๊ดดู เป็นอาคารชั้นเดียวบริเวณโดยรอบร่มรื่นและเย็นสบาย มีห้องเรียนห้องเดียวไม่ใหญ่มากมายอะไร โรงเรียนมีนักเรียนอยู่ประมาณ 30-40 คน เด็กๆ เรียนรวมกันทั้งชายหญิง ส่วนบ้านของกุ๊ดดูอาศัยอยู่ร่วมกัน 5 คนคือ พ่อ แม่ พี่สาว และพี่ชายเป็นบ้านหลังเล็ก แต่ก็ดูดีกว่าอีกหลายหลังในหมูบ้านนั้น ลักษณะโดยทั่วไปของหมู่บ้านก็คล้ายหมู่บ้านตามชนบทของประเทศไทย บ้านของกุ๊ดดูอยู่ในฐานะปานกลาง ข้างในบ้านอยู่อย่างสบายๆ ไม่มีการตกแต่งอะไรมากนัก ทางเดินในบ้านเป็นซอกซอย แบ่งเป็นห้องๆ ห้องแรกที่เจอก็คือห้องครัว ห้องน้ำอยู่ด้านหน้าของตัวบ้าน ด้านหน้าไม่มีหลังคา ด้านในสุดของตัวบ้านเป็นห้องนอนมีหลังคาข้างในเย็นสบาย บ้านกุ๊ดดูแตกต่างจากบ้านหลังอื่นๆ คือมีห้องน้ำในบ้านและไม่เลี้ยงวัวในบ้าน ซึ่งคนอินเดียส่วนใหญ่จะเลี้ยงวัวไว้ในบ้าน และถ่ายหนักถ่ายเบากันกลางทุ่ง การตกแต่งทั้งหมดคุณพ่อกับคุณแม่ช่วยกัน ไม่มีห้องเป็นส่วนตัวทุกคนนอนรวมกัน ดูเป็นครอบครัวอบอุ่นและน่ารักครอบครัวหนึ่ง

          ผู้กำกับฯ บิณฑ์ เผยว่า

          “หลังจากที่ได้ร่วมงานกับ ‘กุ๊ดดู กุมาร’ เค้าเป็นเด็กที่แตกต่างจากเด็กอินเดียทั่วๆ ไปที่เคยเห็น เพราะเด็กอินเดียส่วนใหญ่ถ้าเจอคนต่างชาติ ก็มักจะแบมือขอเงินเรียกว่าคลานได้ก็ขอตังค์เป็นแล้ว (เมืองคยา เป็นเมืองหนึ่งที่กันดาร และจนมากในประเทศอินเดีย) คนอินเดียไม่ได้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกันทุกคน คนส่วนใหญ่มักสื่อสารด้วยภาษาอินเดีย แต่กุ๊ดดูเค้าสื่อสารกับทางทีมงานด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งก็บ่งบอกให้รู้ว่าเค้าได้รับการศึกษา และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ และครู กับเพื่อนๆ นักแสดงเด็กไทย กุ๊ดดูก็จะใช้ภาษากาย ถึงจะรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างแต่พวกเค้าก็สนิทกันเล่นกันได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด ด้วยความที่กุ๊ดดูเป็นเด็กฉลาดและมีน้ำใจ เค้าจะรู้ว่าต้องคอยช่วยเหลือดูแลเพื่อนๆ เด็กไทยจากพวกแขกมุง การมาถ่ายทำครั้งนี้ทำให้เด็กๆ รู้ว่าถึงจะแตกต่างกันคนละภาษาแต่ก็เป็นเพื่อนกันได้ มันคือเรื่องจริงและชีวิตจริงที่เด็กๆ ได้สัมผัสและผมต้องการถ่ายทอดให้ผู้ชมได้เห็นกันครับ”

          ติดตามชมมิตรภาพของเด็กๆ ที่แตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม และภาษา ได้ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ผลงานโกอินเตอร์สู่แดนภารตะของ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” พร้อมออกผจญภัย ต้อนรับปิดเทอมใหญ่ 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์

FB on February 13, 2013, 03:49:13 PM
แถลงข่าวสุดเฮฮา “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ได้เวลา “อิน” ภารตะฮัดช่า



          เปิด แถลงข่าวภาพยนตร์สุดเฮฮาตะลุยแดนโรตีกันไปแล้วกับภาพยนตร์เรื่อง “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ผลงานล่าสุดของผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา ณ ชั้น 7 SF Cinema City, MBK Center ท่ามกลางบรรยากาศสุดม่วนซื่นระรื่นคึกคักตลอดงาน

          เปิดงานด้วย การเชิญผู้กำกับคนเก่งและใจบุญ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ขึ้นมาพูดคุยถึงแรงบันดาลใจและรายละเอียดของการข้ามฟ้าไปตะลุยแดนภารตะเพื่อ ถ่ายทำภาพยนตร์ครบรสความสนุกเรื่องนี้

          จากนั้นจึงเป็นคิวของ ทีมนักแสดงเด็กอินเนอร์อีสานแรงเกินร้อยนำทีมโดย ด.ญ.สุธิดา หงษา (น้ำขิง), ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว (เปเล่), ด.ช.วิชิต สมดี (ชิต), ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี (โบ๊ต), ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ (เซฟ), ด.ญ.พิมพ์พ์รพี ดีเมืองปัก (พลอย), ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก (ภีม), และ ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง (แซกกี้) รวมถึงไกด์หนุ่มคนพิเศษอย่าง “โดโด้-ยุทธพิชัย ชาญเลขา” ขึ้นมาเสริมทัพความฮาเล่าเบื้องหลังการโกอินตะระเดียอย่างสนุกสุขแสนตะลุย แดนโรตีด้วยสปิริตและความอึดแรงกล้า แม้จะต้องปรับตัวให้ชินกับสภาพแวดล้อมของเมืองพุทธคยาเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผลงานโกอินเตอร์เรื่องนี้ออกมาทั้งฮาและมันส์ทะลุส่าหรีกันเลยที เดียว

          นอกจากนั้นยังมีการโชว์และประชันลีลาแดนซ์กระจายจากแดน ข้าวเหนียวสู่แคว้นภารตะของเหล่านักแสดงตัวน้อยซึ่งเพิ่มความหรรษาให้กับงาน มากมาย

          ต่อด้วยตัวอย่างภาพยนตร์เต็มรูปแบบเพื่อให้เห็นภาพความ สนุกกันอย่างชัดเจน ซึ่งก็เรียกเสียงหัวเราะจากเหล่าสื่อมวลชนและผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี

          ปิด ท้ายงานแถลงข่าวครั้งนี้ด้วยการถ่ายภาพร่วมกันของทีมงานผู้กำกับ-นักแสดง (พร้อมด้วยนักแสดงรับเชิญอย่าง หน่อย-อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ และ พลอย ทิพจุฑา ไอยเรศกร), ผู้บริหาร, สปอนเซอร์ และพันธมิตรต่างๆ เป็นที่ระลึก

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมโกอินตะระเดียเคลียร์ความเครียดเพียบพร้อมความสนุก 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์...นะจ๊ะ นายจ๋า

FB on February 13, 2013, 03:50:22 PM
Movie: ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปู รูปี

ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี [Official TR]
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=YsKhUMZH-1E" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=YsKhUMZH-1E</a>









   
    
กลับมาสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอีกครั้งกับแก๊ง “ปัญญาเรณู”
พร้อมเพิ่มสีสันด้วยสมาชิกใหม่สุดแสบใส แถมยังไปถ่ายทำไกลถึงประเทศอินเดีย
ผลงานโกอินเตอร์สู่แดนภารตะจากทีมผู้สร้าง “ปัญญาเรณู”

กับเรื่องราวความม่วนซื่นในการเดินทางของ “น้ำขิง” และเพื่อนๆ
จากแดนอีสานสู่เมืองพุทธคยาเพื่อสืบทอดศิลปะประจำชาติที่น่าประทับใจ
ไปจนถึงความชุลมุนสุดหรรษาเมื่อต่างเกิดพลัดหลงกันขึ้นโดยไม่คาดคิด

การเดินทางในเมืองที่แตกต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม
กลุ่มเด็กๆ ได้เห็นวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมของอินเดียมากมาย
ความรัก ความสามัคคี รวมถึงมิตรภาพในวัยเด็กที่ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ
ความประทับใจที่คุณจะสัมผัสได้ใน...

สนุกทะลุส่าหรี ถึงคราวเมืองโรตีโดนตะลุย
7 มีนาคมนี้ ในโรงหนังนะจ๊ะ นายจ๋า

กำหนดฉาย 7 มีนาคม 2556
แนวภาพยนตร์ คอเมดี้-ดราม่า
บริษัทผู้สร้าง สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บิณฑ์ บูม บิสซิเนส
บริษัทจัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
บริษัทดำเนินงานสร้าง บิณฑ์ บูม บิสซิเนส
อำนวยการสร้าง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ, บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
ควบคุมงานสร้าง วราภรณ์ พิบำรุง
กำกับภาพยนตร์ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
บทภาพยนตร์ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
กำกับภาพ พีระพันธ์ เหล่ายนตร์
ลำดับภาพ พีระพันธ์ เหล่ายนตร์
ออกแบบงานสร้าง สุวัฒน์ชัย สุทธิรักษ์
ออกแบบเครื่องแต่งกาย ธนสรร ไอยเรศกร
ดนตรีประกอบ ธิปไตย ภิรมย์ภักดิ์
คัดเลือก-สอนการแสดง สุรชัย เที่ยงธรรม
ออกแบบท่าเต้น พิลานันทร์ มาตรเลิง
ที่ปรึกษาด้านภาษา ลักษมี ญาณเกียรติพงศ์
ฟิล์มแล็บ สยามพัฒนาฟิล์ม
บันทึกเสียง ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา
ทีมนักแสดง ด.ญ.สุธิดา หงษา, ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง, ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว, ด.ช.วิชิต สมดี,
ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี, ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ, ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก, ด.ญ.พิมพ์รพี ดีเมืองปัก, ด.ญ.วาทินี พงษ์ภาพ, กุ๊ดดู กุมาร, นพดล ดวงพร, ยุทธพิชัย ชาญเลขา, อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ, เหลือเฟือ มกจ๊ก, จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม, ซ่าส์ หมาว้อ, ยาว ลูกหยี, ศิกษก บรรลือฤทธิ์
« Last Edit: February 24, 2013, 05:33:14 PM by FB »

FB on February 13, 2013, 03:51:48 PM
เรื่องย่อ

          ภาพยนตร์ สะท้อนกลิ่นอายวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอีสานส่งผ่านให้ชาวต่างชาติได้รับ รู้ จากเรื่องราวความม่วนซื่นในการเดินทางของ “น้ำขิง” (สุธิดา หงษา) และเพื่อนๆ จากหมู่บ้านชนบทของไทยสู่เมืองพุทธคยา เพื่อไปทอดผ้าป่าและแสดงโปงลาง-วัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคอีสานที่วัดไทยใน อินเดีย

          เรื่องราวสนุกสนานและประทับใจเริ่มต้นตั้งแต่การ เตรียมตัวขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเดินทางไปถึงอินเดีย แต่ในระหว่างที่กลุ่มเด็กๆ พักอยู่ที่อินเดีย ทางวัดได้พาเด็กๆ ไปเที่ยว ขณะนั้นเองที่กลุ่มเด็กๆ เกิดพลัดหลงจากคณะของพระโดยไม่คาดคิด

เรื่อง ชุลมุนสุดหรรษาจึงเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มเด็กไทย 7 คน (น้ำขิง, เปเล่, ชิต, เซฟ, พลอย, ภีม, โบ๊ต) ต้องหลงทางในดินแดนที่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และไม่สามารถสื่อสารได้

          แต่แล้วโชคชะตาก็นำพาให้พวกเด็กๆ ได้พบกับ “รูปี” (กุ๊ดดู กุมาร) เด็กชายชาวอินเดียที่พยายามจะช่วยเหลือ แม้จะไม่สามารถสื่อสารกันได้ แต่เด็กก็ย่อมเข้าใจในเด็กด้วยกัน ขณะเดียวกันทางกลุ่มพระและคณะทัวร์ก็ออกตามหาเด็กๆ แต่ก็มีเหตุให้ต้องคลาดกันทุกครั้งไป

ความรัก, ความสามัคคี และไหวพริบของเด็กๆ จะช่วยให้พวกเขากลับวัดไทยได้อย่างไร

          จาก การขุด “รูปู” เล่นสนุกสู่ทริป “รูปี” ตะลุยอินเดีย การผจญภัยในเมืองที่แตกต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม แต่มิตรภาพในวัยเด็กที่ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ จะสร้างความประทับใจให้คุณสัมผัสได้ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”

เบื้องหลังการผจญภัย จากแดนข้าวเหนียวสู่แคว้นโรตี
          หลัง จากประสบความสำเร็จจาก “ปัญญาเรณู 1 และ 2” ผู้กำกับใจบุญมากความสามารถ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ก็ได้แรงบันดาลใจจากการเดินทางไปท่องเที่ยวและทำบุญที่ประเทศอินเดีย งานนี้จึงขอโกอินเตอร์โดยยกกองถ่ายเกือบร้อยชีวิตไปตะลุยแดนภารตะในภาพยนตร์ เรื่องใหม่ “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” กับเรื่องราวการผจญภัยของแก๊งเด็กบ้านนาที่เกิดพลัดหลงกันขึ้นระหว่างการ เดินทางจากแดนอีสานสู่เมืองพุทธคยาเพื่อไปงานบุญครั้งใหญ่ ความชุลมุนสุดหรรษาจึงบังเกิดโดยไม่คาดคิด
          “เรื่องนี้ก็เกิด จากความประทับใจของผมในการเดินทางไปอินเดีย โดยเฉพาะที่พุทธคยา-เมืองที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ระหว่างเดินทางก็เห็นความเป็นอยู่ของแต่ละเมืองที่มีความแตกต่างกัน ก็มีความคิดว่าถ้าเอาเด็กอีสานไปเจอกับเด็กอินเดียให้ลองใช้ชีวิตด้วยกันซิ ว่ามันจะเป็นยังไง มันน่าจะมีมีข้อคิดอะไรที่ดีๆ ให้กับเราได้ ก็เลยกลายเป็นโปรเจ็คต์หนังตลกใสๆ มีดราม่าชีวิตเข้ามาด้วย ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องตลกมากหรือว่าดราม่ามากๆ มันเป็นเรื่องราวสนุกๆ ของเด็กๆ ที่พลัดหลงกันระหว่างเดินทางในอินเดีย ก็ได้ผจญภัยกันไปกับเรื่องราวที่สนุกสนานน่าติดตามระหว่างเด็กไทยและเด็ก อินเดีย หนังเรื่องนี้จะสนุกตรงที่เด็กๆ ไม่รู้เรื่องด้านภาษาและวัฒนธรรมแต่ต้องมาอยู่ด้วยกัน ก็จะเป็นเรื่องของความมีน้ำใจ เรื่องจิตใจของเพื่อนที่ไม่เคยทิ้งกัน”
          เมื่อ ปิ๊งไอเดียเด็ดแล้ว ผู้กำกับบิณฑ์ก็เริ่มเตรียมงานสร้างทันที ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปดูโลเกชั่น, การเขียนบท, การแคสติ้งนักแสดง รวมถึงการประสานงานด้านต่างๆ ซึ่งใช้เวลาเกือบครึ่งปีกว่าจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้
          “น่า จะประมาณหลังจากปิดกล้อง ปัญญาเรณู 2 ซัก 2-3 เดือนในการเขียนบทและวางตัวละคร และก็การประสานงานทางด้านโน้น สถานที่ก็โอเค ที่ลำบากหน่อยก็คือเรื่องของอากาศ มันสารพัดร้อนมากๆ 50 องศา เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมงานตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปเลย พอถึงที่นั่นปุ๊บเราถ่ายเลย เราไปดูโลเกชั่นมาตั้งแต่ครั้งแรกแล้วว่าเราจะมีหมู่บ้านอย่างนี้ วัดอยู่ที่นี่ แล้วเด็กต้องไประหกระเหินเร่ร่อนจากเมืองพุทธคยา ห่างจากที่เราพักซัก 50 กิโล เพราะฉะนั้นการเตรียมงานของเรา เรารู้ว่าเราต้องเซฟอะไร รถบัสต้องกี่คัน รถตู้วันๆ หนึ่งใช้ประมาณสิบคัน ไฟเราไม่ได้ขนไป เราไปทำที่นั่น เราถ่ายกันแบบอย่างนั้นเลย ถ้าเกิดเอาไฟเอาอะไรไปผมว่ามันเป็นเรื่อง แล้วถ้าเช่ามันก็ต้องไปเช่าอีกเมืองหนึ่ง แล้วการเดินทางมาประมาณเกือบ 20 ชั่วโมง มันไม่คุ้ม แล้วเรื่องนักแสดงเด็กอินเดีย เราก็ต้องเอาเด็กอินเดียหลายคนมาแคสดูว่าคนไหนเล่นได้-ไม่ได้ ให้แคสเด็กที่อินเดียไว้รอเราเลย แล้วเราก็จะไปเลือกเองว่าเอาคนไหนๆ ก็เซ็ตเรียบร้อย ก็ประมาณ 3 เดือนกว่าเกือบ 4 เดือนในการเตรียมงานก่อนที่จะต้องไปถ่ายที่นั่น”
          โดยในเรื่อง นี้ ผู้กำกับมากฝีมือยังคงสร้างสรรค์เรื่องและเขียนบทเองเหมือนเรื่องที่ผ่านมา โดยอิงจากประสบการณ์จริงของตนเองและคนรอบข้างที่เคยไปสัมผัสดินแดนแห่งนี้มา แล้ว บวกกับจินตนาการของผู้กำกับให้ออกมาสนุกสนานอย่างมีสีสัน
          “ทั้ง หมดผมจะคิดเรื่องเอง เขียนบทเอง กำกับเอง แต่เรื่องราวจะไม่ต่อเนื่องจากภาคที่แล้ว จะเปลี่ยนเป็นเรื่องใหม่เลย แต่ตัวแสดงก็มีทั้งทีมเก่าจากปัญญาเรณูทั้งสองภาคและก็จะมีน้องๆ นักแสดงหน้าใหม่เข้ามาเสริมความสนุก น้องๆ สุดยอดเล่นดีมากๆ คาแร็คเตอร์หลักก็จะเป็นทีมนักแสดงเด็กๆ ทั้งเก่าและใหม่ซึ่งจะรับบทเป็นตัวของเค้าเองทุกคนผมคิดว่าคำว่า ปัญญาเรณู คงเป็นอะไรที่ประทับใจมาตั้งแต่ภาค 1-2 ก็เลยคิดว่าคงไม่ทิ้งเรื่องปัญญาเรณูไป ก็จะเป็น ปัญญาเรณู 3 ตอนรูปูรูปี ที่ไปบุกอินเดียกัน
          เรื่องราวก็มาจากตอนที่เราไปประเทศอินเดีย แล้วมีพระเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าคนไทยจะเดินทางไปประเทศอินเดียปีหนึ่งหลาย สิบล้านคน ไปไหว้พระไปตามสถานที่ต่างๆ ของพระพุทธเจ้า แล้วเมืองพุทธคยา ที่เราอยู่เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าไปตรัสรู้ที่นั่น เรารู้สึกว่ามันเป็นเมืองที่สำคัญจริงๆ เขาบอกว่าเวลาคนไทยเอารถทัวร์มาทอดผ้าป่าก็จะมีรถบางคันโดนโจรที่ประเทศ อินเดียปล้นแล้วเรื่องจริงมีพระองค์หนึ่งที่โดนแทงแล้วปล้นเอาทรัพย์สินไป ได้ประมาณ 2-3 ล้านบาท หลายครั้งมาก
          เราก็เลยคิดเรื่องราวของ เด็กภาคอีสานกับเด็กที่อินเดียมาเจอกัน มีการหลงทางผจญภัยสนุกๆ เกิดขึ้น มีการทอดผ้าป่าทอดกฐินกัน คือพระจากประเทศอินเดียขอผ้าป่ามาที่พระไทย แล้วพระไทยก็เอาไปทอดที่ประเทศอินเดีย แล้วก็มีวัฒนธรรมจากภาคอีสานไปโชว์ที่อินเดียด้วย เราก็เอาเด็กทั้งหมดเดินทางไปประเทศอินเดียเพื่อจะไปโชว์โปงลางศิลปวัฒนธรรม ของภาคอีสาน แล้วทางอินเดียจะมีโชว์ระบำแขกโชว์อะไรของเขา เราก็จัดเซ็ตฉากขึ้นมาแบบอลังการที่ประเทศอินเดีย เรื่องตัวประกอบ extra ไม่ต้องห่วงเขามาทีเป็นพันๆ คนเข้ามาดูกัน คือเราทำงานยากมาก แต่ก็ถือว่าโอเคเป็นงานอะไรที่มันแปลกใหม่ของเด็กๆ ภาคอีสาน แล้วเมืองพุทธคยาก็ไม่เคยมีใครไปถ่ายหนังที่นั่นเลย เพราะว่ามันสุดสาหัสสากรรจ์มากจริงๆ”
          แม้จะมีการวางแผนการ ถ่ายทำกันเป็นอย่างดีแล้ว แต่แน่นอนว่าการถ่ายทำในต่างถิ่นต่างแดน ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมย่อมเกิดอุปสรรคปัญหาทั้งภายในภายนอก ทั้งคาดคิดและไม่คาดฝันขึ้นได้ ซึ่งทางทีมงานจำเป็นต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้การถ่ายทำดำเนินไปได้ สำเร็จลุล่วง
          “อุปสรรคในการถ่ายทำอย่างมากก็คือแขกมุง เรารู้กันเลยว่าอินเดียเนี่ยเป็นอะไรที่มุงกันตลอด มีอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็มุงกันตลอด เพราะฉะนั้นเรื่องการทำงานของเราก็ยากมาก นี่คืออุปสรรคจริงๆ ไม่ว่าเราตั้งกล้องตรงไหน พี่น้องชาวอินเดียก็จะมามุงดูการถ่ายทำหนังโบกไม้โบกมือจนบางทีเราต้องทน และพยายามเอาพวกล่ามมาพูดให้ชาวบ้านได้เข้าใจ บางทีเราก็ต้องเอากล้องไปตั้งหลอกเหมือนกับว่าเราจะไปถ่ายตรงด้านนั้น แล้วเราก็รีบถ่ายกันด้านนี้ ต้องทำงานกันแบบนี้เลย ต้องตั้งเป็นสองกอง กองนั้นหลอก กองนี้ถ่ายจริงอะไรแบบนี้
ส่วนเรื่องอาหารการกิน เนื่องจากการทำงานของเราทุกวันมันเร่งรีบ แล้วอากาศมันก็ร้อนมาก บางครั้งการกินน้ำอย่างผลไม้ปั่นหรืออะไรพวกนี้ก็ทำให้บางคนท้องเสียกัน 3-4 วัน ผมเองก็โดนไปด้วยแทบตายทั้งถ่ายทั้งอาเจียน แต่เป็นแค่วันเดียวเพราะเรารู้สึกว่าไม่อยากจะนอนพักเพราะมันทำให้เสียงาน เรื่องป่วยไข้อย่างอื่นไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่ที่เป็นก็เรื่องท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เรื่องเกี่ยวกับน้ำ บางครั้งเผลอเอาน้ำวางไว้แมลงวันมาตอม เราก็ไม่รู้ คนเสิร์ฟน้ำก็ไม่รู้ ก็เอามากินกันอะไรอย่างงี้ ก็ต้องคอยระวังกันให้มากขึ้น
          ซึ่งระยะเวลาในการถ่ายทำ ผมตั้งไว้จริงๆ จะไม่เกินประมาณสัก 20 คิวที่ประเทศอินเดีย แต่พอไปถ่ายจริงๆ ก็ประมาณ 27-28 คิว เพราะบางวันเด็กตัวหลักบางคนเล่นไม่ได้ เพราะว่าอากาศร้อนแล้วไม่สบายท้องเสียประจำอะไรประมาณนี้ เราต้องถ่ายฉากอื่นถ่ายเก็บภาพโน้นภาพนี้อะไรกันไป แล้วก็ถ่ายภาคอีสานอีกประมาณสัก 3-4 คิว ก็ตกแล้วเรื่องนี้ก็ประมาณ 30 คิว ซึ่งจริงๆ หนังปกติก็ประมาณ 18-20 ไม่เกินนี้ เราล่อไปสัก 30 คิว มันล่าช้ามาจากอินเดียแล้วทำให้งานเราต้องเพิ่มเพื่อความเหมาะสม รวมๆ แล้วอยู่ที่อินเดียประมาณเดือนครึ่ง แล้วมาถ่ายที่อีสานอีกก็ตกประมาณสองเดือนได้ในการถ่ายทำ
          ผม ประทับใจทีมงานและนักแสดงของผมทุกคนซึ่งมีความอดทนอดกลั้นมากๆ อดทนทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้หนังเรื่องนี้ออกมาเสร็จสมบูรณ์ บางคนถ้าเกิดท้อใจหรืออะไรเขาก็คงขอกลับบ้าน แต่นี่เขาอยู่เพื่อหนังเรื่องนี้นี่ประทับใจมาก เราทุกคนพร้อมที่จะสู้ทุกๆ วัน แม้บางวันจะถ่ายมาดึกดื่น เช้ามีถ่ายต่อเค้าก็พร้อมที่จะถ่ายต่อ พร้อมที่จะทำงานกับเรา เป็นความประทับใจของเรา แล้วก็ประทับใจหลายๆ คนที่เป็นคนไทยในอินเดียซึ่งช่วยเหลือเรามาตลอดโดยที่เขาไม่ได้หวังอะไรมาก มาย มาช่วยเพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน ผมรู้สึกว่าการไปถ่ายทำครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้เหมือนปาฏิหาริย์ บางสิ่งที่ไม่น่าทำได้ก็ทำได้ เพราะหลายคนบอกว่าการไปถ่ายที่อินเดียไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันยากมาก เป็นเมืองที่กันดารที่สุด เป็นเมืองที่คนมากที่สุด เมืองพุทธคยาแค่นั้นมีคนตั้ง 100 ล้านคนมากกว่าประเทศไทยอีก แต่เราก็สามารถทำงานได้ ผมก็รู้สึกขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นั่น และอีกหลายอย่าง ประทับใจมาก พอได้เห็นภาพหนังออกมาก็หายเหนื่อยได้เลย”
          ทั้ง หมดทั้งมวลในการทำภาพยนตร์เรื่องนี้ของผู้กำกับฯ เพื่อเผยภาพชีวิตเด็กๆ ต่างชนชั้นในอินเดียกับเด็กบ้านนอกไทยแท้ที่ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความ น่ารักสดใส สนุกสนาน สร้างรอยยิ้ม และความประทับใจที่ไม่เคยมีภาพยนตร์ไทยเรื่องไหนสร้างมาก่อน
          “หนัง เรื่องนี้ถือว่าเป็นหนังไทยที่เดินทางไปถ่ายทำไกลถึงพุทธคยา ประเทศอินเดียซึ่งเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานของโลก จุดหมายที่ชาวพุทธทั่วโลกต้องไปเยือนสักครั้ง ภาพที่หนังถ่ายทอดออกมาสื่อสารเรื่องราวความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จะได้เห็นวิถีชนบท ได้เห็นถึงวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเห็น และสถานที่สวยแปลกตาอีกมากมาย โดยไม่ต้องคิดซับซ้อนมากมาย และยังคงสไตล์ปัญญาเรณูแบบโกอินเตอร์ มันจะมีภาษาอีสานแล้วก็ภาษาอังกฤษ ภาษาอินเดียปะปนกันไปด้วยความเหมาะสมของท้องเรื่อง ก็จะมีทั้งเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความสนุกสนานเฮฮาที่จะให้ข้อคิดกับเด็กๆ และอีกหลายๆ คนที่อาจไปตกระกำลำบากอยู่ต่างประเทศ เรื่องนี้ก็จะให้ข้อคิดดีๆ ที่จะให้คนได้จดจำได้เลยครับ ผมเชื่อว่าเด็กๆ ในเรื่องนี้จะทำให้ท่านยิ้ม หัวเราะ และประทับใจได้ไม่ยากเลยครับ”

FB on February 13, 2013, 03:52:38 PM
แก๊งภารตะฮัดช่า
          “น้ำ ขิง” (ด.ญ.สุธิดา หงษา) - เด็กหญิงบ้านนา ใจกล้า แก่นแก้ว มีความเป็นผู้นำอยู่สูง เป็นหัวโจกของกลุ่มเพื่อนในการผจญภัยในอินเดีย จนทำให้เจอกับเหตุการณ์ต่างๆ อันไม่คาดคิด เรื่องรักไม่ยุ่ง มุ่งแต่ตะลุยอินเดียหาทางกลับบ้านให้ได้
          “เรื่องนี้หนูรับบท คล้ายๆ กับตัวเองอยู่เหมือนกันค่ะ จะเป็นหัวหน้ากลุ่มคอยพาเพื่อนไปเฮไหนเฮนั่น จะแสบๆ ซ่าๆ เป็นคู่ปรับกับพี่เปเล่ในเรื่อง ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่หนูไปอินเดียค่ะ ตื่นเต้นมากค่ะ กลัวร้อนมากก็เลยเตรียมกันแดดไปเยอะมาก แต่พอไปถึงจริงๆ ก็ไม่ค่อยร้อนเท่าไหร่นะคะ เล่นหนังเรื่องสนุกมากค่ะ ได้ไปเที่ยวอินเดียด้วยแล้วก็ได้เพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย หลายคนอาจสงสัยว่าชื่อหนังหมายถึงอะไร รูปูก็คือรูปูที่เด็กอีสานชอบขุดเล่น ส่วนรูปีก็คือเงินตราของประเทศอินเดีย ผู้กำกับก็คิดอยู่นานว่าจะตั้งชื่อว่าอะไร รูอะไรดีนั่งคิดอยู่ 3-4 วันคิดได้ว่าไปอินเดียเงินตราก็เป็นของอินเดีย คิดไปคิดมาลุงท็อปเขาก็คิดได้ว่าต้องเป็นรูปุรูปี คือจะเป็นเหมือนเด็กอีสานกับเด็กอินเดียมาเจอกัน มันจะเกิดอะไรขึ้น ต้องดูค่ะ”
          “เปเล่” (ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว) - เป็นพี่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม คาแร็คเตอร์เปิ่นๆ เชยๆ แต่ค่อนข้างหงุดหงิดง่าย และฉลาดแกมโกงนิดหน่อย ไม่ค่อยจะสนใจเพื่อนในกลุ่มนี้สักเท่าไหร่ แต่ก็ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนรุ่นน้องถ้ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นคู่ซี้ปึ้กกับชิต ไปไหนไปกันตลอด
          “ภาพที่คิดไว้ในหัวกับ ตอนที่ไปเจอจริงๆ ผิดกันมากเลยครับ แตกต่างฟ้ากับเหวเลย นึกว่าเมืองที่ไปจะสวยงามน่าอยู่ แต่ไปถึงแล้วมันกันดารมากเลยครับ แต่มันก็มีหลายสถานที่ที่ทำให้สงบได้แม้จะมีผู้คนเยอะแยะวุ่นวายก็ตาม หนังเรื่องนี้จะทำให้เห็นถึงมิตรภาพของกลุ่มเด็กๆ ที่แม้จะต่างภาษาและวัฒนธรรม แต่ก๋สามารถเชื่อมถึงกันได้ครับ”
          “ชิต” (ด.ช.วิชิต สมดี) - เด็กชายผู้เงียบขรึม ไม่ค่อยพูดอะไรมากมาย เพราะกลัวคนจะฟังไม่รู้เรื่อง เป็นคนรักเพื่อนพ้อง และเสียสละ เป็นคู่หูกับเปเล่ เพราะอาศัยอยู่วัดเดียวกัน
          “ตื่นเต้นและ สนุกดีครับได้ไปถ่ายหนังกับเพื่อนๆ ที่อินเดีย ได้เห็นลูกเห็บเป็นครั้งแรก มันเหมือนน้ำแข็งตกลงมาจากฟ้าเลยครับ เล่นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 3 แล้ว ผมก็กล้าขึ้นและสนุกขึ้นด้วยครับ”
          “โบ๊ต” (ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี) - จิ๋วแจ๋วภารตะฮัดช่า เล็กพริกขี้หนูที่สุดในกลุ่ม เป็นเด็กที่ตีโปงลางได้เก่งที่สุด เป็นเด็กที่มีความคิดอ่านดี มองโลกในแง่ดี และคอยออกความคิดนำพาแก๊งไปตะลุยอินเดียอย่างไม่สิ้นหวัง
          “เล่น หนังเรื่องแรกสนุกมากครับ ได้เพื่อนใหม่ๆ ได้ไปเที่ยวอินเดียครั้งแรกด้วยครับ มีฉากผจญภัยสนุกๆ หลายฉากเลยครับ อย่างฉากอาบน้ำนี่ เราไม่รู้ว่าเป็นน้ำ 4 วรรณะที่เค้าใช้อาบกันมาจากชั้นบนๆ ครับ พวกผมก็กระโดดลงไปเล่นอย่างเย็นสบาย พอมารู้ว่าเป็นน้ำที่เค้าใช้แล้วสกปรกก็รีบกระโดดขึ้นมาจากสระเลยครับ”
          “เซฟ” (ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ) - เด็กหญิงหน้าตาสวยงาม น่ารักสดใส เป็นคนมองโลกในแง่ดี เป็นตัวกลางประสานระหว่างเพื่อนคนไทยกับอินเดีย เพราะสื่อสารภาษาอังกฤษได้รู้เรื่องที่สุดในกลุ่ม เลยต้องเป็นไกด์นำเพื่อนๆ ไปผจญภัยตามที่ต่างๆ เพื่อหาทางกลับบ้านให้ได้
“ดีใจ ค่ะที่ได้ไปต่างประเทศครั้งแรก แล้วเราก็รู้สึกเสียใจนิดหนึ่งด้วยว่าทำไมประเทศเขายากจน ประทับใจที่ได้แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม หนูอยากให้ไปดูการผจญภัยของเด็กๆ ได้ประสบการณ์ ความคิด เพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้องที่ดีๆ ทุกคนเลย สนุกดีค่ะที่ได้เข้ามาทำงานในกองถ่ายเป็นครั้งแรก”
          “ภีม” (ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก) - เป็นคนเงียบๆ ชอบสนุกสนานกับเพื่อนๆ แต่แล้วก็หลงทางไปกับเพื่อน เป็นคนพูดน้อย ชอบอยู่ในกลุ่มเพื่อน ไม่ตีตัวออกห่างจากกลุ่ม
          “เรื่องแรกเลยครับ ทั้งตื่นเต้นทั้งสนุก แต่คาแร็คเตอร์จะไม่ค่อยเหมือนตัวจริงนะครับ เพราะตัวจริงจะเป็นคนพูดมาก ซนนิดหน่อย ไปอินเดียครั้งแรกก็รู้สึกรักประเทศไทยขึ้นมาเลย เพราะประเทศเขามันยากจนมาก กันดาร แต่มีความสนุกที่ได้ไปถ่ายหนังกับเพื่อนๆ ครับ”
          “พลอย” (ด.ญ.พิมพ์รพี ดีเมืองปัก) - เด็กหญิงอ้วนท้วนสมบูรณ์ เป็นคนกล้าแสดงออก แต่เป็นคนอ่อนไหว ขี้แง ร้องไห้ง่าย
          “รู้สึก ตื่นเต้นที่ได้เล่นหนังเป็นเรื่องแรก ไม่รู้ว่าเราจะทำได้ไหม แต่สุดท้ายแล้วก็ผ่านไปด้วยดี หนังเรื่องนี้เป็นความสนุกสนานที่ครบรส จะเป็นความสนุกที่เป็นกันเอง แล้วหนังเรื่องนี้ก็จะเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของเรากับวัฒนธรรมอินเดียจะจะ เห็นมิตรภาพความรักความสามัคคีของเด็กๆ ที่ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะด้วยค่ะ”
          “รูปี” (กุ๊ดดู กุมาร) - เด็กชายอินเดียหน้าตาท่าทางซื่อๆ มีเสน่ห์ที่รอยยิ้มหวานๆ ฟันขาว ตาโต สดใส เป็นเด็กยากจนแต่มีน้ำใจมากๆ คอยช่วยเหลือเด็กไทยให้หาทางกลับบ้านให้ได้ แม้จะสื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่องก็ตาม แต่ก็ไม่อาจขวางกั้นมิตรภาพอันงดงามครั้งนี้ได้
“ดีใจมากครับที่ได้เล่น หนังครั้งแรก ตอนที่แคสติ้งก็ไม่คิดว่าจะได้เล่น พี่ๆ ทีมงานบอกให้ทำอะไรผมก็ทำตามครับ ก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ คนไทย และคอยแนะนำเพื่อนๆ ว่าที่พุทธคยานั้นมีอะไรน่าสนใจบ้างครับ เพื่อนๆ น่ารักทุกคน วันไหนที่ผมไม่มีคิวถ่าย ผมก็จะไปเที่ยวเล่นในกอง พอหนังถ่ายเสร็จ ทุกคนบินกลับ ทำให้ผมคิดถึงเพื่อนๆ มากครับ ผมอยากดูหนังเรื่องนี้เร็วๆ ครับ”

ฉากเด็ดสะระตี่ สนุกดีดี๊ดี ส่าหรีกระจาย
          ฉาก ในตลาด - เป็นอะไรที่ยากมากๆ เพราะคนมามุงดูกันเป็นหมื่น เราต้องใช้กล้องแอบถ่ายไม่ให้ใครเห็นกล้อง ก็โอเคได้ภาพที่ดี นี่คือฉากที่ใช้คนเยอะมากในตลาดเมืองพุทธคยา ใช้คนเยอะมากแต่ไม่ได้จ้างเพราะเราแค่บอกว่าถ่ายหนัง เค้าก็มากันแล้ว เราเอากล้องแอบไว้บนหลังคาตึก ก็ได้ภาพแบบธรรมชาติ ถ้าเค้ารู้ว่ากล้องอยู่ไหนเค้าก็อยากออกกล้อง
          ฉากไฟไหม้ - เป็นฉากที่พวกโจรมาปล้นเผาบ้านเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ไม่ได้ทำร้ายผู้คน ฉากนี้ต้องใช้ม้าใช้คน ทำงานค่อนข้างลำบาก เราเซ็ตบ้านทั้งหมด 12 หลัง แต่มีปัญหากับชาวบ้านเพราะเค้าไม่ให้เผา เค้ากลัวว่าไฟจะติดบ้านเค้า ต้องเอาผู้ใหญ่มาเคลียร์ ก็ยังไม่ให้เผา แต่เราก็เผา พอเผาตรงไหนเค้าก็เอาน้ำมาดับ หงุดหงิดมาก แต่ก็โอเคถ่ายได้จนจบ
          ฉาก อาบน้ำ 4 วรรณะ - เป็นอีกฉากที่ถ่ายทำค่อนข้างลำบาก ต้องเซฟพวกเด็กๆ เพราะว่าต้องลงไปเล่นน้ำจริงๆ ที่ผ่านการอาบมาแล้ว 3 ชั้น ลงมาชั้นที่ 4 น้ำเก่าๆ ที่ใช้แล้ว เราก็ต้องเซฟเด็กเดี๋ยวเป็นอะไรขึ้นมา แต่ก็ไม่เป็นอะไร มันเป็นความเชื่อเรื่องวรรณะ ทุกวันนี้พวกคนจนขอทานก็ยังอาบน้ำวรรณะที่ 4 อยู่ เราก็อยากจะให้ดูว่ายังมีสิ่งเหล่านี้อยู่บนโลกใบนี้นะ
          ฉาก เทศกาลโฮลี่ - เหมือนสงกรานต์บ้านเรา แต่เป็นสงกรานต์สี เป็นฉากที่สร้างสีสันสวยงาม เค้าก็เล่นกันทุกที่ของอินเดีย เหมือนบ้านเราที่เล่นสาดน้ำกันทุกที่ วันโฮลี่ของอินเดียจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเยอะ เราก็ต้องเซ็ตฉากนี้ขึ้นมา ต้องจ้างคนเข้าฉาก 500-600 คน มาเล่นปาสีกัน ฉากนี้ลงทุนมากฉากหนึ่ง และการหาสถานที่ในการถ่ายทำก็ยาก แต่ก็ได้ฉากสวยงามตามต้องการ
          ฉากเต้นระบำอินเดียกับโปงลาง - เราไปขอเช่าสถานที่กลางแจ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้นำใหญ่ๆ จะมาปราศรัย มาเล่นการแสดง ก่อนถ่ายฉากนี้เราก็จะมีการประกาศว่าเดี๋ยวเราจะมีการเอาโปงลางของไทย และระบำอินเดียมาโชว์ ตอนเช้าๆ คนมาเป็นพันๆ แต่เรายังรอเซ็ตโน่นนี่กว่าจะได้ถ่ายก็ 4 โมงกว่าแดดเปรี้ยงคนหายเกลี้ยง เราต้องออกไปประกาศใหม่ขอความร่วมมือ เขาก็ออกมากันอีกที แล้วเราก็ต้องรีบถ่ายจนได้ฉากใหญ่นี้

เกร็ดหนัง
          1) "ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปู รูปี" (7 มี.ค. 56) เป็นผลงานกำกับเรื่องที่ 7 ของผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์" โดยผลงานก่อนหน้านี้ได้แก่ ปัญญาเรณู 2 (2555), ปัญญาเรณู (2554), เดอะโกร๋น ก๊วน กวน ผี (2547), ช้างเพื่อนแก้ว (2546), ตำนานกระสือ (2545), มนต์รักเพลงลูกทุ่ง (2538)
          2) ผู้กำกับฯ ได้คิดเรื่องใหม่หมด, เขียนบท และกำกับการแสดงเองทั้งหมด โดยได้ไอเดียและแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จริงและเรื่องเล่าต่างๆ เมื่อครั้งเดินทางไปเที่ยวที่อินเดีย บวกกับเรื่องราวการผจญภัยและมิตรภาพที่ไม่มีชนชั้นวรรณะของกลุ่มเด็กๆ จนสร้างสรรค์ออกมาเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้
          3) "ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปู รูปี" เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีซับไตเติ้ลภาษาไทยด้วย เพราะหนังพูดทั้งภาษาอีสาน, ภาษาไทยกลาง และภาษาปะกิต (อังกฤษกะปริดกะปรอย)
          4) “รูปู” หมายถึงเด็กอีสาน และ “รูปี” สกุลเงินอินเดียก็หมายถึงเด็กอินเดีย
          5) นำทีมชุลมุนสุดหรรษาด้วยแก๊งปัญญาเรณู “น้องน้ำขิง” (ด.ญ.สุธิดา หงษา), “เปเล่” (ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว), “ชิต” (ด.ช.วิชิต สมดี) พร้อมเพิ่มสีสันความแสบใสกับ “น้องเซฟ” (ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ), “น้องพลอย” (ด.ญ.พิมพ์รพี ดีเมืองปัก), “น้องภีม” (ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก), “น้องโบ๊ต” (ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี) และขอแนะนำ “กุ๊ดดู กุมาร” (ในบท “รูปี” เด็กชายอินเดียที่คอยช่วยเหลือแก๊งเด็กไทย), เสริมทัพความสนุกด้วย “แซกกี้” (ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง) และทีมนักแสดงรุ่นใหญ่ นพดล ดวงพร, ยุทธพิชัย ชาญเลขา, อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ, เหลือเฟือ มกจ๊ก, จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม ฯลฯ
          6) โลเกชั่นหลัก 90% ของเรื่องถ่ายทำกันที่เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย ให้ได้เห็นวิถีชีวิตชนบทของอินเดีย ประเพณีวัฒนธรรม และสถานที่แปลกๆ อีกมากมายทั้งวัดวาอาราม และสถาปัตยกรรมเก่าๆ นับพันปี
          7) ยกทีมงานนักแสดงเกือบร้อยคนไปใช้ชีวิตและถ่ายทำกันที่อินเดียนานถึงหนึ่งเดือนเต็ม
          8) ผู้กำกับฯ ยังคงสอดแทรกวัฒนธรรมอีสานที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายอย่างฉากขุดรูปู เล่นสนุกของเด็กๆ และฉากใหญ่ๆ ที่ถ่ายกันที่อินเดียไม่ว่าจะเป็นฉากโจรปล้นเผาบ้าน, ฉากอาบน้ำ 4 วรรณะ, ฉากตามหาเด็กในตลาด (ท่ามกลางอินเดียมุงเป็นหมื่น), ฉากโปงลางปะทะระบำอินเดีย, ฉากในสถานีรถไฟ, ฉากเทศกาลโฮลี่ (สงกรานต์สี)
          9) “โรตีแกงกะหรี่” เป็นอาหารอินเดียที่ผู้กำกับฯ ติดใจและคอนเฟิร์มว่า “มันอร่อยมาก” นะจ๊ะ นายจ๋า

ประวัติพุทธคยา
          “พุทธ คยา” คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญในอำเภอคยา จังหวัดมคธ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก
          ปัจจุบัน บริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วัดมหาโพธิ” อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู
          พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุและโบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา
          สำหรับชาวพุทธ พุทธคยานับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธ ทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา
          โดย ในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

FB on February 13, 2013, 03:53:35 PM
“บิณฑ์” นำทีมตะลุยอินเดียถ่ายหนัง “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”ทึ่ง “หลวงพ่อองค์ดำ” อายุพันกว่าปี








   
           ฉากนี้ก็เป็นอีกฉากที่ ผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ไม่พลาดที่จะนำไปใส่ในภาพยนตร์เรื่อง “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” โดยให้ โดโด้-ยุทธพิชัย ชาญเลขา (ไกด์),หน่อย-อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ (ผู้ช่วยไกด์) พาเด็กๆ คณะโปงลางนำทีมโดย ด.ญ.สุธิดา หงษา (น้ำขิง), ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง (แซก), ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว (เปเล่), ด.ช.วิชิต สมดี (ชิต), ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี (โบ๊ต), ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก (ภีม), ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ (เซฟ) และ ด.ญ.พิมพ์พ์รพี ดีเมืองปัก (พลอย) ที่มาโชว์การแสดงโปงลางในงานทอดผ้าป่าของวัดไทยในอินเดีย ไปเที่ยวชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่ๆ ชาวพุทธที่ไปอินเดียต้องไปสักการะกัน ชาวไทยมักเรียกกันว่า “หลวงพ่อองค์ดำ” แห่ง เมืองนาลันทา หลังจากที่เด็กๆ เดินทางมาถึงอินเดียเป็นครั้งแรกในชีวิต

          นอกจากเด็กๆ ที่ไปจะได้ความรู้และเพิ่มความศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นแล้ว ฉากนี้ก็ทำให้เด็กๆได้ตื่นเต้นดีใจกันใหญ่กับการได้ขึ้นรถม้าอินเดีย เป็นขบวนกว่า 10 คัน เพราะการจะเห็นรถม้าสักคันในประเทศไทยเราก็หาดูยากแล้ว อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยที่ตื่นเต้น ทีมงานก็ด้วย แถมผู้กำกับคนเก่งนึกสนุกขอขับรถม้าพานักแสดงเดินทางไปถ่ายฉากนี้อีกด้วย พอไปถึงทุกคนก็ต้องตื่นตาที่ได้เห็นซากปรักหักพังของมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เมื่อได้เห็นครั้งแรกมีความรู้สึกคล้ายกับได้อยู่ที่กรุงศรีอยุธยาบ้านเรา

เริ่ม ถ่ายทำฉากนี้ คนรับบทหนักก็น่าจะเป็นไกด์โดโด้ที่ต้องอธิบายถึงประวัติของหลวงพ่อองค์ดำ ให้ลูกทัวร์ฟัง แต่เขาก็ทำได้อย่างดี เพราะชำนาญกับการเป็นไกด์อยู่แล้ว

          พระ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธอีกองค์ที่ประดิษฐ์สถานอยู่ ณ ประเทศอินเดีย ชาวไทยมักเรียกกันว่า “หลวงพ่อองค์ดำ” เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินสีดำ พระเกตุทรงบัวตูม ปางนั่งขัดสมาธิ พระนาสิกวิ่นและนิ้วพระหัตถ์บิ่นเล็กน้อย ซึ่งมีอายุพันกว่าปี ตั้งอยู่ทางตะวันตกของมหาวิทยาลัยนาลันทา เหตุที่มีนาสิกวิ่น นิ้วพระหัตถ์บิ่นเพราะถูกพวกมุสลิมพาพวกมาทำลายสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งทุบทำลายพระพุทธรูป และเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาเอาเชื้อเพลิงมาสุมแล้วจุดไฟเผา จนทำให้คัมภีร์ตำราทางพระพุทธศาสนาทั้งเก่าและใหม่ ถูกไฟไหม้เกือบหมดสิ้น และสถานที่นี้ก็ได้ถูกเศษอิฐและหินทับถมจมลงใต้ดินเป็นเวลานานเกือบ 7 ศตวรรษ (700 ปี) คงเหลือไว้แต่ซากปรักหักพักอย่างที่เห็นกัน แต่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ขององค์ท่าน พวกมุสลิมไม่สามารถเผา หรือทุบองค์ท่านให้พังทลายลงได้จึงเป็นพระพุทธรูปที่เหลืออยู่องค์เดียวใน บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทาแห่งนี้

          นี่ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งใน ประเทศอินเดียที่บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์จะพาท่านผู้ชมไปสัมผัสพร้อมความน่ารักใสซื่อของเด็กๆ รวมถึงความสวยงามแปลกตาและศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ต่างๆ ของประเทศอินเดียในภาพยนตร์เรื่อง “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ฉาย 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์

FB on February 17, 2013, 04:20:36 PM
“ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” หนังไทยเรื่องแรก เยือนพุทธคยา ถ่ายทำเกือบทั้งเรื่อง









           สร้างสีสันใหม่ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์ไทยอีกครั้งกับภาพยนตร์เรื่อง “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ผลงานสนุกสุดเฮฮาของผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ที่ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ยกทีมงานและนักแสดงเกือบร้อยคนไปใช้ชีวิต และถ่ายทำกัน 90 % ของเรื่องไกลถึงพุทธคยา ประเทศอินเดียนานถึงหนึ่งเดือนครึ่ง เพื่อให้ได้เห็นวิถีชีวิตชนบทของอินเดีย ประเพณีวัฒนธรรม และสถานที่แปลกๆ มากมายทั้งวัดวาอาราม และสถาปัตยกรรมเก่าๆ นับพันปี ระหว่างที่แก๊งตัวละครน้อยต้องไปผจญภัยอย่างสนุกสนานและได้สานมิตรภาพที่ไม่ มีการแบ่งชนชั้นวรรณะระหว่างเด็กไทยกับเด็กอินเดีย

          “เรื่องนี้ เรายกกองไปถ่ายทำกันถึงพุทธคยา ประเทศอินเดียเลยครับ เฉพาะพุทธคยาที่เดียวเชื่อไหมว่ามันกว้างใหญ่มาก เมืองๆ เดียวมีประชาชนประมาณ 100 ล้านคน เราเข้าไปถ่ายในที่ที่เรียกว่าเป็นประวัติของอินเดีย แล้วในหนังมันจะมีอธิบายบอกเลยว่าตรงนี้มันคืออะไร ไปลุมพินีสถาน ไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ไปถ่ายทำในตลาดที่คนพลุกพล่านมาก ไปถ่ายตามที่ต่างๆ ให้ได้เห็นประเพณีวัฒนธรรมของที่นั่น

          การ ถ่ายทำที่อินเดียก็ยากนะครับในช่วงที่ไปถ่ายที่นั่น เพราะว่าทีมงานเราเกือบร้อยคนที่ต้องเดินทางไปประเทศอินเดีย แล้วมีเด็กอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง ผู้ใหญ่ครึ่งหนึ่ง แล้วตอนที่เราไปถ่ายทำที่นั่นคือเดือนเมษายน-พฤษภาคม อากาศมันร้อนมากตั้ง 45-50 องศา ตั้งแต่สนามบินเด็กท้องเสีย เลือดกำเดาไหล สนามบินวุ่นวายไปหมด อุปกรณ์ทั้งหมดขนมาจากประเทศไทยเพราะว่าเราไม่สามารถใช้จากที่นั่นได้เลย ที่นั่นไม่มีอะไรเลย และอุปสรรคในการถ่ายทำอย่างมากก็คือแขกมุง ไม่ว่าเราตั้งกล้องตรงไหน พี่น้องชาวอินเดียก็จะมามุงดูการถ่ายทำหนังโบกไม้โบกมือจนบางทีเราก็ต้องเอา กล้องไปตั้งหลอกเหมือนกับว่าเราจะไปถ่ายตรงด้านนั้น แล้วเราก็รีบถ่ายกันด้านนี้ ต้องทำงานกันแบบนี้เลย ต้องตั้งเป็นสองกอง กองนั้นหลอก กองนี้ถ่ายจริงอะไรแบบนี้

          รู้สึกว่าการไปถ่ายทำ ครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้เหมือนปาฏิหาริย์ บางสิ่งที่ไม่น่าทำได้ก็ทำได้ เพราะหลายคนบอกว่าการไปถ่ายอินเดียไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันยากมาก เมืองแค่นั้นมีคนมากกว่าประเทศไทยอีก แต่เราก็สามารถทำงานได้ ผมก็รู้สึกขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นั่น ความอดทนและตั้งใจของทีมงานนักแสดงทุกคน และอีกหลายอย่างที่ประทับใจมาก พอได้เห็นภาพหนังออกมาก็หายเหนื่อยครับ ก็อยากให้ผู้ชมได้ไปชมหนังเรื่องนี้กันนะครับ คุณจะได้ทั้งสาระบันเทิงและความสนุกครบรสครับ”

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมโกอินเดียเคลียร์ความเครียดเพียบพร้อมความสนุก 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์...นะจ๊ะ นายจ๋า

FB on February 18, 2013, 05:19:00 PM
บทสัมภาษณ์ผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ยกทีมตะลุยแดนภารตะ ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”
 






          ที่มาที่ไป-แรงบันดาลใจในการทำโปรเจ็คต์โกอินเตอร์เรื่องนี้
          เรื่องนี้ก็เกิดจากความประทับใจในการเดินทางไปอินเดีย ระหว่างเดินทางก็เห็นความเป็นอยู่ของแต่ละเมืองที่มีความแตกต่างกัน ก็มีความคิดว่าถ้าเอาเด็กอีสานไปเจอกับเด็กอินเดียให้ลองใช้ชีวิตด้วยกันซิว่ามันจะเป็นยังไง มันน่าจะมีมีข้อคิดอะไรที่ดีๆ ให้กับเราได้ ก็เลยกลายเป็นโปรเจ็คต์หนังตลก-ดราม่ามีบทชีวิตเข้ามาด้วย ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องตลกมากหรือว่าดราม่ามากๆ มันเป็นเรื่องของเด็กๆ ซึ่งทำยังไงก็ได้ให้ได้กลับบ้าน เป็นแนวสนุกๆ ของเด็กๆ ที่พลัดหลงกันระหว่างเดินทางในอินเดีย ก็ได้ผจญภัยกันไปกับเรื่องราวที่สนุกสนานน่าติดตามระหว่างเด็กไทยและเด็กอินเดีย หนังเรื่องนี้จะสนุกตรงที่เด็กๆ ไม่รู้เรื่องด้านภาษาและวัฒนธรรมแต่ต้องมาอยู่ด้วยกัน ก็จะเป็นเรื่องของความมีน้ำใจ เรื่องจิตใจของเพื่อนที่ไม่เคยทิ้งกัน เรื่องมิตรภาพของเด็กๆ

ยังคงคิดเรื่องเอง-เขียนบทเองเหมือนเรื่องที่ผ่านๆ มา
          ใช่ครับ ทั้งหมดผมจะคิดเรื่องเอง เขียนบทเอง กำกับเอง แต่เรื่องราวจะไม่ต่อเนื่องจากภาคที่แล้ว จะเปลี่ยนเป็นเรื่องใหม่เลย แต่ตัวแสดงก็มีทั้งทีมเก่าจากปัญญาเรณูทั้งสองภาคและก็จะมีน้องๆ นักแสดงหน้าใหม่เข้ามาเสริมความสนุก น้องๆ สุดยอดเล่นดีมากๆ ผมคิดว่าคำว่า “ปัญญาเรณู” คงเป็นอะไรที่ประทับใจมาตั้งแต่ภาค 1-2 ก็เลยคิดว่าคงไม่ทิ้งเรื่องปัญญาเรณูไป ก็จะเป็น “ปัญญาเรณู 3 ตอนรูปูรูปี” ที่ไปบุกอินเดียกัน
          เรื่องราวก็มาจากตอนที่เราไปประเทศอินเดียแล้วมีพระเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าคนไทยจะเดินทางไปประเทศอินเดียปีหนึ่งหลายสิบล้านคน ไปไหว้พระไปตามสถานที่ต่างๆ ของพระพุทธเจ้า แล้วเมืองพุทธคยา ที่เราอยู่เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าไปตรัสรู้ที่นั่น เรารู้สึกว่ามันเป็นเมืองที่สำคัญจริงๆ เขาบอกว่าเวลาคนไทยเอารถทัวร์มาทอดผ้าป่าก็จะมีรถบางคันโดนโจรที่ประเทศอินเดียปล้นแล้วเรื่องจริงมีพระองค์หนึ่งที่โดนแทงแล้วปล้นเอาทรัพย์สินไปได้ประมาณ 2-3 ล้านบาท หลายครั้งมาก
          เราก็เลยคิดเรื่องราวของเด็กภาคอีสานกับเด็กที่อินเดียมาเจอกัน มีการหลงทางผจญภัยสนุกๆ เกิดขึ้น มีการทอดผ้าป่าทอดกฐินกัน คือพระจากประเทศอินเดียขอผ้าป่ามาที่พระไทย แล้วพระไทยก็เอาไปทอดที่ประเทศอินเดีย แล้วก็มีวัฒนธรรมจากภาคอีสานไปโชว์ที่อินเดียด้วย เราก็เอาเด็กทั้งหมดเดินทางไปประเทศอินเดียเพื่อจะไปโชว์โปงลางศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน แล้วทางอินเดียจะมีโชว์ระบำแขกโชว์อะไรของเขา เราก็จัดเซ็ตฉากขึ้นมาแบบอลังการที่ประเทศอินเดีย เรื่องตัวประกอบ extra ไม่ต้องห่วงเขามาทีเป็นพันๆ คนเข้ามาดูกัน คือเราทำงานยากมาก แต่ก็ถือว่าโอเคเป็นงานอะไรที่มันแปลกใหม่ของเด็กๆ ภาคอีสาน แล้วเมืองพุทธคยาก็ไม่เคยมีใครไปถ่ายหนังที่นั่นเลย เพราะว่ามันสุดสาหัสสากรรจ์มากจริงๆ
          เรื่องราวก็จะสะท้อนวัฒนธรรมไทยและอินเดียบวกกับประสบการณ์จริงที่ได้ฟังและพบเห็นมา ก็จะยังเป็นเรื่องราวของเด็กอีสานอยู่ มันจะมีภาษาอีสานแล้วก็ภาษาอังกฤษ ภาษาอินเดียปะปนกันไปด้วยความเหมาะสมของท้องเรื่องน่าจะเป็นอย่างงั้น แต่เนื้อเรื่องผมคิดว่าหลายๆ คนคงจะเดาลำบาก เดายาก จะเกิดเหตุการณ์ซึ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้วมันเกิดกับเด็กกลุ่มหนึ่ง 7-8 คน ดูซิว่าอินเดียที่พวกเขาเพิ่งไปครั้งแรกแล้วเขาไม่รู้อะไรเลย ภาษาก็ไม่รู้ แล้วเขาต้องพลัดพรากจากกลุ่มที่เขาไป แล้วต้องหาทางกลับวัดหาทางกลับประเทศไทยโดยไปเจอกลุ่มเด็กอินเดีย มันมีเรื่องอะไรมากมายหลายอย่าง เรื่องนี้ผมมั่นใจว่าจะออกมาสนุกแล้วมันจะมีดราม่าของเด็กที่แบบ...ผมพูดไม่ถูก ก็ลองไปดูละกันว่ามันจะขนาดไหนครับ

เรื่องนี้ไม่ได้เน้นความรักฉอเลาะ แต่จะเน้นเกี่ยวกับมิตรภาพมากกว่า
          ใช่ฮะ มันไม่ได้เกี่ยวกับความรักของเด็กเลย แต่จะเป็นความรักระหว่างเพื่อนที่ช่วยกัน พยายามทำยังไงก็ได้ให้ได้กลับบ้าน มีคนเขาบอกว่าเวลาไปอยู่ต่างประเทศแล้วนิสัยที่แท้จริงจะออกมาคือความเห็นแก่ตัว ใครเห็นแก่ตัวจะออกมาหมด แต่กลุ่มนี้พอมีอะไรไม่ดีกับกลุ่ม มันก็มาคุยกันแล้วก็ตกลงว่านิสัยอย่างนี้อย่านะ เรามาอยู่ด้วยกันเราต้องช่วยเหลือกันให้รอดจากประเทศนี้เมืองนี้ ต้องกลับบ้านเราให้ได้ มันเป็นความคิดของเด็กๆ แล้วมันก็สามารถชนะทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยความรักสามัคคีกันเอง

หนังแนวนี้ถือเป็นความถนัดหรือเป็นความชอบส่วนตัวได้เลยมั้ย
          ผมว่ามันเป็นแนวความชอบส่วนตัวของผมมากกว่า เพราะว่าความถนัดจริงๆ มันก็คงได้หลายรูปแบบ แต่ความชอบจริงๆ ผมชอบอะไรที่เป็นเด็กๆ ที่เล่นเป็นธรรมชาติ มันมีความบริสุทธิ์ของเด็กอยู่แล้ว เราไม่ต้องไปเสี้ยมสอนอะไรมากมาย ไม่ต้องให้เขารับสิ่งที่เกินเด็กที่จะรับไป ผมชอบแนวอย่างนี้ อยากจะถ่ายทอดให้หลายคนได้ชมกัน

ทำไมต้องเป็นชื่อ “รูปูรูปี”
          บางคนถามว่าทำไมต้อง “รูปูรูปี” รูปูก็เป็นเด็กอีสานที่ชอบขุดรูปู ชอบหากบหาเขียดประมาณอย่างนี้ ส่วนรูปีก็เป็นเงินตราของอินเดีย แล้วเด็กในอินเดียพวกเด็กไทยก็ไม่รู้จะเรียกอะไรดีก็เรียกรูปีไปเลยละกัน มันก็เป็นรูปูรูปีสองชาติมาเจอกันแค่นั้นเอง ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองอะไรทั้งนั้นครับ

การถ่ายทำเรื่องนี้ในต่างแดนมีความยากมากน้อยแค่ไหน
          ก็ยากนะครับในช่วงที่ไปถ่ายที่นั่น เพราะว่าทีมงานเราเกือบร้อยคนที่ต้องเดินทางไปประเทศอินเดีย แล้วมีเด็กอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง ผู้ใหญ่ครึ่งหนึ่ง เด็กอยู่ประมาณ 40 กว่าคน ด้วยความยากลำบากคือมันต้องแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่กลุ่มของผมจะไปก่อนประมาณ 2 อาทิตย์เพื่อไปดูโลเกชั่น สถานที่พัก ดูอะไรกับกองถ่ายที่จะต้องตามมา แล้วระหว่างที่ไปแล้วก็ได้ข่าวว่ามีคนมีปัญหากับตั๋วเครื่องบิน คนนั้นมาไม่ได้ คนนี้มาไม่ได้ มันก็เลยหยุด เราก็ต้องรออยู่ที่นั่นอีกอาทิตย์หนึ่ง จริงๆ แล้วกะว่าจะอยู่สัก 2-3 อาทิตย์ ก็เลยเพิ่มเป็นประมาณ 4-5 อาทิตย์ที่ต้องถ่ายทำและต้องอยู่ที่นั่นตลอด
          แล้วตอนที่เราไปถ่ายทำที่นั่นคือเดือนเมษายน-พฤษภาคม อากาศมัน 45-50 องศา ตั้งแต่สนามบินเด็กท้องเสีย เลือดกำเดาไหล สนามบินวุ่นวายไปหมด อุปกรณ์ทั้งหมดขนมาจากประเทศไทยเพราะว่าเราไม่สามารถใช้จากที่นั่นได้เลย ที่นั่นไม่มีอะไรเลย
          เราคิดดูแล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราจากหนักขอให้มันเป็นเบา เพราะถือว่าเป็นเมืองพุทธเป็นเมืองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เราก็ไปกราบไหว้พุทธเมตตาเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่นั่น แล้วขอพรให้หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จจากที่เรามาถ่ายที่พุทธคยา ขอให้อย่ามีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้น ขออยากทำอะไรก็ขอให้ได้ คือเด็กๆ นั่งเครื่องกันมา 4-5 ชั่วโมง แล้วต้องนั่งรถจากสนามบินมาที่พุทธคยาอีก 11 ชั่วโมงมาถึงที่พักประมาณเกือบตี 3 ตี 4 ก็ค่อนข้างวุ่นวาย เด็กก็จะงอแง เด็กบางคนป่วยก็ต้องพักอีก 2 วัน จากนั้นก็เริ่มทำพิธีที่สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ทำพิธีกันก็เกิดปิติดีมาก เชื่อไหมว่าตั้งแต่เปิดกล้องอุปสรรคที่เรากลัวว่าจะถ่ายไม่ได้ คนนั้นจะไม่ให้ความร่วมมือ ทุกอย่างเรียบร้อยหมด แต่ด้วยที่ว่าเราเป็นกองที่ใหญ่คนทำงานก็เยอะ เราต้องจ้างล่ามหลายสิบคนคอยกันคอยนั่นนี่ จ้างตำรวจวันหนึ่งหลายสิบคนเพื่อกันพวกที่จะมาขโมยของในกองถ่าย เพราะเป็นเมืองที่ขอทานเยอะสุด ไม่กลัวเกรงกฎหมาย แต่จะกลัวตำรวจ กองถ่ายไม่มีตำรวจไม่ได้ จากที่คิดว่าถ่ายไม่ได้ก็ถ่ายไปได้ด้วยดี ตอนนั้นก็ช้านิดนึงแต่อุปสรรคมันก็มีบ้าง ไม่ใช่ว่าไม่มี ที่ประเทศไทยก็มีอุปสรรค แต่ที่นั่นสาหัสสากรรจ์กว่าจริงๆ แต่มันก็ค่อยๆ หายไปจนถ่ายเสร็จด้วยดี

การเลือกโลเกชั่น
          ผมไปอินเดียครั้งแรกก็คือไม่ได้ไปถ่ายหนังหรืออะไร คือไปไหว้พระที่ประเทศอินเดียตั้งใจตั้งนานแล้วไม่มีโอกาสไปสักที ชีวิตหนึ่งเราก็อยากไปสักครั้ง ปรากฏว่าไปแล้วมีความสุข ได้ไหว้พระ ได้อยู่ตรงนั้น แล้วเราก็รู้สึกว่าเมืองนี้น่าถ่ายหนังมาก มันมีอะไรที่อยากจะค้นหาอยากจะอะไรมากมาย แล้วคนไทยอีกหลายล้านคนที่ไม่เคยมาพุทธคยา เรามีความคิดบรรเจิดขึ้นมาเลยว่าเราต้องมาถ่ายหนังที่อินเดีย แค่คิดปุ๊บก็มีแต่คนบอกว่ายาก ไปถามคนนั้นคนนี้คนไทยที่อินเดียเขาบอกยากไม่มีทางหรอก เราก็ยังไม่หมดความตั้งใจ ก็กลับมาเมืองไทยแล้วก็ไปที่วัดมหาธาตุ เพราะว่าหลวงพ่อที่วัดมหาธาตุจะไปอยู่ที่ประเทศอินเดียที่วัดที่เราไปพักกัน มันเป็นไปได้ไหม ท่านบอกคุณโยมบิณฑ์เชื่ออาตมาถ้าเราตั้งใจทำอะไรแล้วด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้วตั้งใจทำต่อไป แล้วสิ่งที่ทุกคนบอกว่ามันจะยาก มันจะง่ายสำหรับเรา เราก็เอาละวะ เป็นไปได้ หลวงพ่อก็ไปที่อินเดียก็ทิ้งเบอร์ไว้เราก็โทรถามหลวงพ่อตอนนี้เป็นไง ทุกอย่างที่อาตมาพูดไว้คุณบิณฑ์ตั้งใจทำอะไรมาได้เลย เราก็ทันทีเริ่มงานต่างๆ กันเลย แต่หลายๆ คนก็บอกว่าอย่ายกไปเลยกองถ่ายที่อินเดีย แต่เราก็ยกไปจนได้ สุดท้ายก็ออกมาโอเคเรียบร้อย
ก่อนถ่ายก็จะไปดูว่าในบทสมควรจะเอาตรงไหนอย่างไร บ้าง ที่เราผ่านๆ พอเห็นว่าสวย ก็จะมาดูว่าเหมาะกับฉากที่เราเขียนมั้ย ทุกที่ของอินเดียมันก็ถ่ายได้เลย ก็คือบางส่วนมีคล้ายประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรมอย่าง สวนข้าวโพด มีต้นตาลเยอะๆ มองกว้างๆ ก็เหมือนประเทศไทยเรา บางที่เหมือนเพชรบุรีบ้านเราก็จะเลี่ยง ไม่อย่างนั้นเราไปถ่ายที่เพชรบุรีถ่ายที่ไหนก็ได้ เราจะถ่ายที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดียจริงๆ อย่างที่บ้านเราไม่มีจริงๆ อย่างโลเกชั่นที่ถ่ายมาจะเห็นเลยว่านี่คือประเทศอินเดีย แต่ก็อาจจะมีบ้างนิดหน่อยที่เห็นว่าเหมือนบ้านเราก็คือเค้าปลูกข้าวโพด ปลูกมะเขือเทศ ที่ไม่เหมือนก็คือคนอินเดียที่แต่งตัวแบบอินเดียจริงๆ อยู่ในฉากนั้นๆ แต่ถ้าไม่มีนั่นก็เหมือนโลเกชั่นบ้านเราเลย

ถ่ายทำกันที่พุทธคยาที่เดียวเลย
          ครับ พุทธคยาที่เดียว เฉพาะพุทธคยาที่เดียวเชื่อไหมว่ามันกว้างใหญ่แล้วมีประชาชนอยู่ประมาณ100 ล้านคน เมืองๆ เดียว ประเทศไทยบ้านเราแค่ประมาณ 65-70 ล้านคน อันนั้นเมืองๆ เดียวที่เราอยู่มีประชาชนประมาณ 100 ล้านคน ลองคิดดูความแออัด ความอะไรมันมากมายขนาดไหน เราเข้าไปถ่ายในตลาด ถ่ายในที่ที่เรียกว่าเป็นประวัติของอินเดีย แล้วในหนังมันจะมีอธิบายบอกเลยว่าตรงนี้มันคืออะไร ไปลุมพินีสถาน ที่พระพุทธเจ้าไปเทศนาสั่งสอนพวกประชาชนอะไรที่นั่นครั้งแรก มันมีสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย มันมีสถานที่ที่เขาสร้างไว้เมื่อ 2-3 พันปีก่อนมันเป็นหินทั้งแท่งใช้เจาะใช้ขุด ซึ่งเราก็ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันคืออะไร แล้วประเพณีจริงๆ ที่ประเทศอินเดียก็จะไม่มีส้วม ตอนเราถ่ายทำเราก็จะเห็นคนนั่งขี้นั่งอึกันมากมายมันเป็นอะไรที่สบายที่เขาเรียกมาจาก แขกขี้คุย มันก็มาจากนี่แหละ มันนั่งขี้แล้วก็คุยกัน คือทุกคนไม่สนใจ มันปกติของเขา มันมาจากตรงนั้นเลยเขาอธิบายให้ฟัง
          แล้วเมืองที่เราไปมันเหมือนโดนสาป มันโดนสาปว่าหนึ่งถ้าเมืองนี้มีภูเขาก็จะไม่มีต้นไม้อยู่เลย มันก็แปลกเรื่องจริงมีภูเขาเยอะแยะมากมายแต่ไม่มีต้นไม้แม้แต่ต้นเดียว ถ้ามีผู้หญิงมีผู้ชายก็จะไม่สวยไม่งาม ผู้ชายก็ขี้เหร่ ผู้หญิงก็ขี้เหร่ ผอมแห้งแรงน้อย คือไม่มีใครสวยว่าอย่างนั้นเหอะ แล้วถ้ามีแม่น้ำก็จะไม่มีน้ำก็จะมีแต่เป็นทราย แม่น้ำเนรัญชรากว้างยาวตั้งกี่ร้อยกิโลไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวเป็นแต่ทะเลทราย จะมีสัก 5 ปี 6 ปี 7 ปี จะมีน้ำมาสักครั้งหนึ่ง แต่จะมาแค่เดือนเดียวแล้วก็จะแห้งเหมือนเดิม มันเป็นอะไรที่มันแปลกมาก มันถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งหนังเรื่องบี้ได้ไปถ่ายที่นั่นเพื่อเอามาให้เราดูว่าปัญญาเรณูภาคนี้มันมีความแปลกใหม่แตกต่างกว่าทุกๆ ภาค

ทีมนักแสดงหลักมีใครบ้าง
          คาแร็คเตอร์หลักก็จะเป็นทีมนักแสดงเด็กๆ ทั้งเก่าและใหม่ซึ่งจะรับบทเป็นตัวของเค้าเองทุกคนเลย เริ่มจาก “น้ำขิง” (ด.ญ.สุธิดา หงษา) ก็ยังเป็นเด็กที่ใสๆ ห้าวหาญ ใจกล้า อดทนเหมือนเดิม แต่เรื่องนี้ไม่ได้มีความรักอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง จะเป็นเกี่ยวกับเพื่อนๆ ทั่วๆ ไป เป็นอะไรที่เห็นความสำคัญของความเป็นเพื่อนที่ยังต้องการความรักความสามัคคีอยู่เหมือนเดิม เป็นห่วงเป็นใยเพื่อนๆ ก็มีบ้างที่งอนเพื่อนๆ บ้างนิดหน่อย การพัฒนาด้านการแสดง ในสายตาผมก็ยังโอเคอยู่ พอมาแสดงเรื่องนี้ ก็ไม่ได้ให้เป็นเรณู ก็มีบางอย่างที่อาจดูเบาลงไป
“เปเล่” (ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว) ก็คือคนเก่าที่เล่นเป็น จอบ จากปัญญาเรณู1 และ 2 ก็ยังคาแร็คเตอร์เหมือนเดิม ก็ยังเป็นอะไรที่แบบว่าเชยๆ เปิ่นๆ ขี้อายประมาณนี้อยู่ในกลุ่มเหมือนกัน แต่ในภาคนี้คาแร็คเตอร์เขาจะเพิ่มมาอีก คือจะเป็นคนที่หงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยจะสนใจเพื่อนในกลุ่มนี้สักเท่าไหร่เหมือนกับว่าเขาโตขึ้นแล้ว ไอ้เด็กพวกนี้มันเด็กๆ เหมือนกับเขาเริ่มเป็นหนุ่ม ตัวสูงใหญ่มาก เค้าก็เลยดูออกจะฉีกจากเด็กๆ ออกไป แต่สุดท้ายในเมื่อเขาทำไม่ได้แต่เด็กพวกรุ่นน้องทำได้ เขาก็ต้องยอมรับในความคิดในสิ่งที่พวกกลุ่มหลังๆ เขาทำได้ เปเล่ก็จะดูเป็นพี่ใหญ่ของขบวนการเลย การพัฒนาด้านการแสดง ก็ดีขึ้นกว่าเดิม และการที่เค้าโตขึ้นมากก็อาจทำให้มีการอาย และอะไรอีกหลายอย่างเข้ามา แต่เราก็ต้องบอกเค้า เค้าก็ทำออกมาได้ดี ก็โอเค จะสบายๆ ของเขาไป
          “ชิต” (ด.ช.วิชิต สมดี) เป็นเพื่อนอยู่วัดเดียวกับเปเล่ เป็นคู่ซี้กันเลย คาแร็คเตอร์ก็ยังพูดไม่ชัดเหมือนเดิม ขี้อาย เงียบๆ ขรึมๆ ไม่ค่อยพูดอะไรมากมาย เพราะรู้ว่าตัวเองปากแหว่ง พูดแล้วคนฟังเค้าฟังไม่รู้เรื่อง แต่ภาคนี้เขาก็เสียสละ เหมือนกับว่าใครไปทำในทางที่ผิดเขาก็บอกแบบนี้มันไม่ดีหรอกนะ ทำอะไรไปเหมือนกับบาปติดตัวแล้วนะ บาปมันเป็นบาปจริงๆ นะอะไรประมาณนี้คอยบอกเพื่อน สมมติว่าเพื่อนรังแกคนนั้นคนนี้ก็บอกว่าอย่าเลยเดี๋ยวจะเข้าตัวเรา ชิดก็เป็นคนแบบนี้ เป็นคนดี แต่พอถึงเวลาจริงๆ แล้วขี้กลัวหน่อยนึง คาแร็คเตอร์เขาจะเป็นคนขี้กลัวนิดๆ เมื่ออยู่ตรงนั้นแล้ว อยู่ตรงที่ที่ไม่เคยอยู่ มันก็สับสนวุ่นวายว่าอะไรเป็นอะไร
          ต่อไปก็จะเป็นแก๊งเด็กใหม่ที่มาสร้างสีสันและความสนุกให้กับหนังมากขึ้น ก็เริ่มจาก “น้องเซฟ” (ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ) ถือเป็นนางเอกอีกคนหนึ่งที่เข้ามาในเรื่องนี้ เซฟจะเป็นคนที่มีความคิดเห็นที่ดี มองโลกในแง่ดีเสมอ สงสารเพื่อน ชอบช่วยเหลือเพื่อน และเป็นคนที่พูดภาษอังกฤษได้พอประมาณ จะเป็นคนที่ค่อยเป็นไกด์ให้เพื่อนๆ น้องเซฟจะเป็นน้องใหม่ที่เข้ามา ผมไปแคสมาเองที่บ้านลุงนพดล ดวงพร ซึ่งน้องเซฟเป็นเด็กหัวเร็ว เป็นอะไรที่เก่ง น้องเซฟเรียนนานาชาติที่อุบลแล้วสามารถพูดภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย แล้วก็เป็นคนที่รำได้สวย ใจกล้า เข้ามาในกลุ่มของเรา เขาเล่นเหมือนผ่านงานมาแล้วประมาณ 5-6 เรื่อง แล้วทำให้เพื่อนๆ และคนในกองถ่ายรักแล้วก็ชื่นชอบเขา เป็นเด็กที่มีอนาคตอีกคนหนึ่งเลย
          “น้องโบ๊ท” (ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี) ก็เป็นคนที่มีความสามารถมากในกลุ่มโปงลางของโรงเรียน เขาเป็นคนที่ตีโปงลางได้เก่งที่สุด ตัวเขาเล็กนิดเดียวแต่สามารถตีได้เหมือนผู้ใหญ่ ก็ประทับใจเขามากๆ แล้วก็เล่นหนังได้ดีมากๆ ด้วย คาแร็คเตอร์เขาก็จะซื่อๆ ใสๆ เหมือนกัน เป็นเด็กที่เล็กที่สุดอายุเท่าน้ำขิง แต่ตัวเล็กกว่ามาก เป็คนคอยออกความคิด มองโลกในแง่ดี อย่างตอนที่พวกเขาลงไปฉี่กัน แล้วรถที่พวกเขาไปทอดผ้าป่าก็ออกไปโดยที่ไม่รู้ออกไปไหนกัน แต่โบ๊ตก็มีความคิดว่าเขาไปเติมน้ำมันเดี๋ยวเขาก็มารับพวกเรา หรือไม่ก็แกล้งพวกเราก็ได้แต่เดี๋ยวเขาก็มา เพื่อนๆ กำลังร้องไห้กันอยู่ มืดค่ำรถก็ไม่มา เขาเป็นคนเดียวที่บอกว่าไม่เป็นไร สู้ เดี๋ยวกูจะพาไปลุยเมืองภารตะฮัดช่าเอง โบ๊ทเขาจะเป็นคนลักษณะให้กำลังใจเพื่อนๆ ในกลุ่มว่าไม่เป็นไร เอาใหม่อะไรอย่างนี้
          “น้องพลอย” (ด.ญ.พิมพ์รพี ดีเมืองปัก) กับ “น้องภีม” (ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก) เป็นพี่น้องกัน ทำไมผมเลือกสองคนนี้ ผมเลือกน้องพลอยก่อน เป็นเด็กผู้หญิงที่กล้ามาก ตอนไปแคสผมก็บอกว่าไหนคนไหนกล้าออกมาแสดง เขากล้าออกมาเลยเขาเปิดโทรศัพท์ของเขาแล้วก็เต้นแบบธรรมชาติเด็กอ้วนๆ ไป คุยอะไรจะเป็นธรรมชาติพอไปเล่นหนังก็ธรรมชาติ ถ้าไปดูหนังจะรู้เลยการพูดจาเขาคือธรรมชาติ นั่นคือตัวเขาเลย เราชอบเค้าอย่างนี้ ส่วนภีมน้องชายก็น่ารัก เล่นเป็นธรรมชาติทั้งพี่ทั้งน้อง สองคนนี้เล่นดีมาก ให้ภีมมันแก้ผ้าฉี่มันก็ยืนแก้ผ้าฉี่ ทำไมอ่ะก็ผู้กำกับสั่ง ก็ต้องทำได้ เราต้องการคนประเภทอย่างนี้ที่กล้าแสดงออก
          เด็กใหม่ที่มาเล่นเรื่องนี้สามารถเอาไปเล่นต่อได้ทุกคนเลย ถือว่าฝีมือดีกันทุกคน เด็กเก่ายังต้องกลัวเลย

FB on February 18, 2013, 05:19:55 PM
นอกจากเด็กไทยแล้วยังมีเด็กอินเดียเป็นตัวละครหลักด้วย
          ใช่ฮะ ไปถ่ายอินเดียก็ต้องปั้นเด็กอินเดียให้มาแสดงเรื่องนี้ด้วย ก็ได้ตัวหลักอย่าง “กุ๊ดดู กุมาร” ครั้งแรกที่มาให้ผมดู ก็หน้าตาดูซื่อๆ เฉยๆ แต่เวลายิ้มจะมีเสน่ห์ ฟันขาว ตาโตๆ ตอนนั้นคิดว่าเด็กคนนี้จะเล่นได้หรือเปล่า ผมก็เลยบอกให้ลองเล่นฉากหนึ่งเขาก็ยังมีแข็งๆ บ้าง แต่ไม่เป็นไร เขามาเข้ากลุ่มกับเด็กของเราก็จะกลมกลืน พยายามปรับตัวเขาเองได้ กุ๊ดดูจะเป็นคนที่นำทาง พาเด็กไทยไปตามที่ต่างๆ อย่างน้อยกุ๊ดดูก็เป็นคนที่ขออาหารขอข้าวขอน้ำได้ ถ้าดูหนังเขาจะเป็นคนที่สนุกสนาน จะพูดอะไรก็พูด เขาเป็นคนที่มีเสน่ห์ ตาโตๆ แล้วจะยิ้มหวาน คือคนในกองถ่ายจะรักเขามาก เรื่องการแสดงก็จะมีปัญหานิดหน่อยเรื่องภาษา คนอินเดียเวลาพูดภาษาอังกฤษก็จะเร็ว ไม่ค่อยจะรู้เรื่องมากเท่าไหร่ พอพูดภาษาอินเดียเด็กของเราก็ไม่รู้เรื่อง แล้วทางกองถ่ายก็ไม่รู้เรื่องต้องใช้ล่าม ต้องให้เขาฝึกพูดภาษาอังกฤษ เพราะคุยน้องเซฟได้คนหนึ่งก็จะสามารถสื่อสารได้สั้นๆ ง่ายๆ ให้คนเข้าใจว่ามันคืออะไร ครั้งแรกก็ลำบากหน่อย แต่พอตอนหลังก็จะปรับตัวได้ เขาก็จะเอาบทกลับไปทำการบ้านมา เราจะเขียนภาษาอังกฤษไปให้เขาว่าต้องพูดอะไรบ้าง พอมาถึงกองถ่ายเขาก็โอเคเลย

กำกับเด็กใหม่ๆ เป็นอย่างไรบ้าง
          ก็ดีครับ ก็เหมือนกับ “ปัญญาเรณู ภาคแรก” ผมทำหนังมาตั้งแต่เรื่องแรกๆ อย่าง “ช้างเพื่อนแก้ว” ก็มีแต่เด็กๆ เข้าเกี่ยวข้อง ทำเรื่อง “ตำนานกระสือ” ก็เอาแต่เด็กๆ มา เพราะเรารู้ว่าถ้าเอาหนังเรื่องไหนที่มีเด็กๆ เข้ามาก็ทำให้รู้สึกว่าหนังมันใส หนังมันมีอะไรที่ให้ติดตามให้น่าสนใจ ทำให้รู้สึกว่าถ้ามากำกับเด็กแล้วมันสบายใจ อาจจะกำกับยากบ้าง แต่ด้วยความที่เรามั่นใจในทีมงาน มั่นใจในตัวเรา การกำกับเด็กจึงไม่ใช่อุปสรรคอะไรอย่างที่เค้าพูดว่า สัตว์ เด็ก เอฟเฟ็คต์ สลิง เอามาเล่นแล้วจะมีปัญญาหา แต่ผมไม่เลย โชคดีที่ว่าได้เด็กกลุ่มนี้เข้ามา เพราะเป็นเด็กที่พูดจากันรู้เรื่องมาก และแสดงได้ดีมากๆ เช่นกัน

นอกจากเด็กๆ แล้วยังมีทีมนักแสดงผู้ใหญ่ด้วย
          นักแสดงผู้ใหญ่ก็จะมีคนใหม่เข้ามาเกือบทั้งหมด จริงๆ เราไม่ได้ทำปัญญาเรณู แต่เราตั้งใจว่าจะทำ “รูปูรูปี” ก็เลยต้องเปลี่ยนไปหมด แต่พอย้อนไปมันก็มีนักแสดงของปัญญาเรณูอยู่ก็เลยต้องเป็น “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” บทนักแสดงผู้ใหญ่ทั้งใหม่เก่าก็มีคุณภาพทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณนพดล ดวงพร, จั๊กกะบุ๋ม, เหลือเฟือ, แล้วก็มีคุณโดโด้ ยุทธพิชัย, หน่อย อุษณียาภรณ์ ที่เคยเล่นละครช่อง 7 และทำงานในมูลนิธิร่วมกตัญญูมาก่อนด้วย ส่วนคุณโดโด้ก็ถือว่าเป็นคนที่ช่ำชองอยู่ในอินเดีย เขาเป็นไกด์อยู่อินเดียก็ดึงเขามาเพื่อจะพาไปสถานที่ต่างๆ ได้ แล้วเค้าก็อยากเล่นหนังกับเราด้วย แล้วก็จะมีคุณยาว ลูกหยี, พี่ซ่าส์ หมาว้อ ถือว่าเราทำงานกันมาตั้งแต่ภาค 2 เขาเป็นคนรักงานจริงๆ แล้วตั้งใจเล่นจริงๆ ก็เอาเขามาเล่นเรื่องนี้ด้วย ซึ่งจะมีนักแสดงทั้งใหม่ทั้งเก่าปะปนกันไปด้วยความเหมาะสมกับเรื่อง ก็ต้องเอาคนที่พูดอีสานได้ พระที่พูดอีสานได้ เด็กๆไม่ต้องห่วงพูดได้ทุกคน เพราะฉะนั้นจะเป็นการลำบากนิดนึงกับเด็กในกรุงเทพฯ ที่ต้องฟังภาษาอีสาน แต่ถ้าใครดูปัญญาเรณูภาค1 ภาค2 ก็คงจะชินแล้วพอจับใจความได้ เขาจะมีซับอะไรให้อ่านอยู่แล้ว

ฉากไฮไลต์สำคัญของเรื่อง
          ในเรื่องจริงๆ ก็สำคัญทุกฉากและยากทุกฉากนะ ถ้าฉากเด่นๆ ก็จะเป็น “ฉากไฟไหม้” เป็นฉากที่มีพวกโจรมาปล้นมาเผาบ้านเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา แต่การเผาไม่ได้ทำร้ายผู้คนนะ เพียงแต่ทำลายบ้านเรือนเท่านั้นเองเพื่อให้ย้ายไป ฉากนี้ต้องใช้ม้าใช้คนก็เป็นฉากที่ค่อนข้างทำงานลำบากนิดนึง เพราะเราสั่งไป 20 ตัว ได้มา 7 ตัว เราก็ต้องถ่าย และเราก็เซ็ตบ้านเรือนที่จะเผาขึ้นมาเองทั้งหมด 12 หลัง ก็มีปัญหากับชาวบ้านเพราะเค้าไม่เข้าใจว่าเราทำบ้านขึ้นมาแล้วจะเผาทำไม เค้าไม่เข้าใจ เค้าคงว่าพวกเราโง่มั้งทำบ้านเสร็จแล้วจะเผา เราก็บอกว่าไม่เป็นไรบ้านหลังไหนถ้าเราไม่เผาก็ยกให้เค้าเลย ใครจะมาอยู่ก็ได้ เพราะเราทำบ้านแบบอยู่ได้จริงๆ แต่ชาวบ้านเค้าถือว่าการเผาบ้านมันเหมือนกับเป็นสิ่งไม่ดีกับเค้า เค้าก็เลยไม่ให้เราเผา เค้าบอกว่าเรามาสร้างอยู่ในบริเวณที่ของเค้า เราเผาไม่ได้ และเค้าก็กลัวว่าไฟจากบ้านเราจะไปติดหลังคาบ้านเค้า เราก็บอกว่าเรารับผิดชอบให้หมดถ้าไปติดบ้านไหน เค้าก็ไม่เอาไม่ยอม จนกระทั้งเอาผู้ใหญ่มาเคลียร์กัน ก็ยังไม่ให้เผา แต่เราก็เผา พอเผาตรงไหนเค้าก็เอาน้ำมาดับ เผาก็เอาน้ำมาดับ ก็เกิดความหงุดหงิดกับทีมงานมาก แต่ก็โอเคถ่ายได้จนจบ แล้วก็มีปัญหาตรงที่ว่าในหมู่บ้านนั้นโจรขโมยมันเยอะมาก ก็น้องตากล้องก็โดนลักขโมยกล้องวีดีโอไป พาสปอร์ตไป ก็ต้องเสียตังค์ให้เค้าไปแล้วเราก็ตามคืนมาจนได้
“ฉากอาบน้ำ 4 วรรณะ” ก็เป็นอีกฉากที่ถือว่าถ่ายทำค่อนข้างลำบาก ต้องเซฟพวกเด็กๆ เพราะว่าต้องลงไปเล่นน้ำจริงๆ ที่ผ่านการอาบมาแล้ว 3 ชั้น ชั้นที่ 1 อาบ 2 อาบ ลงมาชั้นที่ 4 น้ำเก่าๆ ที่เค้าใช้แล้ว ก็ให้เด็กๆ ลงไปเล่นกันตรงนั้นตามบท เราก็ต้องเซฟนักแสดงเดี๋ยวเกิดเป็นอะไรขึ้นมา แต่เด็กก็ไม่เป็นอะไรกัน มันเป็นความเชื่อเป็นเรื่องของวรรณะกัน ทุกวันนี้เค้าก็ยังมีอาบน้ำกันอยู่ พวกคนจนขอทานทั้งหลายเค้าก็ยังอาบน้ำวรรณะที่ 4 อยู่ เราก็อยากจะให้ดูว่ายังมีสิ่งเหล่านี้อยู่บนโลกใบนี้นะ
          “ฉากในตลาด” เป็นอะไรที่ยากมากๆ เพราะคนมามุงดูกันเป็นหมื่น เราต้องใช้กล้องแอบถ่ายไม่ให้ใครเห็นกล้อง เค้าก็มามุง ก็โอเคก็ได้ภาพที่ดี นี่คือฉากที่ใช้คนเยอะมากในตลาดเมืองพุทธคยา ใช้คนเยอะมากแต่ไม่ได้จ้างเพราะเราแค่บอกว่าจะมาถ่ายหนัง เค้าก็มากันแล้ว (หัวเราะ) เราเอากล้องแอบไว้บนหลังคาตึก ก็ได้ภาพแบบธรรมชาติ ถ้าเค้ารู้ว่ากล้องอยู่ไหนเค้าก็อยากออกกล้อง อยากถ่ายหนัง อยากโน่นอยากนี้
          “ฉากเทศกาลโฮลี่” เหมือนกับสงกรานต์บ้านเรา แต่เป็นสงกรานต์สีบ้านเค้า เป็นฉากท้ายๆ ของเรื่อง เป็นฉากที่สร้างสีสันสวยงาม จริงๆ แล้วเค้าก็เล่นกันทุกที่ทุกตรอกซอกซอยของอินเดีย เหมือนบ้านเราที่เล่นสาดน้ำกันทุกที่ในบ้านเมือง ที่นี่ก็เหมือนกันวันโฮลี่ของอินเดียจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเยอะ เราก็ต้องเซ็ตฉากนี้ขึ้นมาเพราะเราไปถ่ายหลังจากที่มีโฮลี่จริงๆ ไปแล้วสัก 2-3 เดือน เลยต้องจ้างคนเข้าฉากนี้ก็ประมาณ 500-600 คน มาเล่นปาสีกัน เพราะมันจะได้เหมือนจริง ฉากนี้ก็ถือว่าลงทุนมากฉากหนึ่ง และการหาสถานที่ในการถ่ายทำก็ยาก สถานที่ที่เค้าเล่นกันส่วนใหญ่จะเป็นตามถนนใหญ่ๆ ก็หาอยู่นานมากกว่าจะได้ที่ชอบ
          “ฉากที่สถานีรถไฟ” ก็เป็นฉากใหญ่อีกฉากหนึ่ง เพราะเราเซ็ตฉากนี้ก็เกือบทั้งคืน และต้องไปแอบถ่ายคนที่อยู่ตามสถานีรถไฟที่เค้านอนกันจริงๆ นอนกันเป็นพันๆ คน ดูอนาถา และเราก็ให้นักแสดงไปนอนปะปนอยู่กับพวกเค้า แล้วเอากล้องแอบถ่ายโดยที่พวกเค้าไม่รู้ เป็นฉากที่ตำรวจตามหาเด็กที่หายไป ก็ทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนอินเดียจริงๆ ที่อยู่ที่สถานีรถไฟ
          “ฉากเต้นระบำอินเดียกับโปงลาง” เราไปขอเช่าสถานที่กลางแจ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้นำใหญ่ๆ จะมาปราศรัยมาพูด มาเล่นการแสดง คนจะดูเป็นหมื่นๆ พอวันนั้นอากาศมันร้อนมาก ก่อนจะมีการถ่ายฉากนี้ เราก็จะมีการประกาศขึ้นรถแห่ว่าเดี๋ยวเราจะมีการเอาโปงลางของประเทศไทย แล้วก็จะมีการละเล่นของอินเดียมาโชว์ ตอนเช้าๆ คนมาเป็นพันๆ แต่เรายังถ่ายไม่ได้ เพราะรอเซ็ตโน่นเซ็ตนี่กว่าจะเสร็จได้ถ่ายตอน 4 โมงกว่าแดดเปรี้ยงคนหายเกลี้ยง เพราะมันร้อนมากเพราะตอนเช้าๆ แดดไม่ค่อยมีก็มารอดูเรา แต่พอถ่ายจริงคนเหลืออยู่ประมาณสัก 3-4 ร้อยคน เราต้องหยุดถ่าย แล้วออกไปประกาศใหม่ขอความร่วมมือ เขาก็ออกมากันอีกที แล้วเราก็ต้องรีบถ่ายจนได้ฉากใหญ่นี้

อุปสรรคในการถ่ายทำ
          อุปสรรคในการถ่ายทำอย่างมากก็คือคนมุงหรือแขกมุง เรารู้กันเลยว่าอินเดียเนี่ยเป็นอะไรที่มุงกันตลอด มีอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็มุงกันตลอด เพราะฉะนั้นเรื่องการทำงานของเราก็ยากมาก นี่คืออุปสรรคจริงๆ ไม่ว่าเราตั้งกล้องตรงไหน พี่น้องชาวอินเดียก็จะมามุงดูการถ่ายทำหนังโบกไม้โบกมือจนบางทีเราต้องทน และพยายามเอาพวกล่ามมาพูดให้ชาวบ้านได้เข้าใจ บางทีเราก็ต้องเอากล้องไปตั้งหลอกเหมือนกับว่าเราจะไปถ่ายตรงด้านนั้น แล้วเราก็รีบถ่ายกันด้านนี้ ต้องทำงานกันแบบนี้เลย ต้องตั้งเป็นสองกอง กองนั้นหลอก กองนี้ถ่ายจริงอะไรแบบนี้

เรื่องอาหารการกิน หรืออาหารอินเดียที่ชอบคืออะไร
          โรตีแกงกะหรี่ เป็นอะไรที่อร่อยมากๆ แม้แต่อยู่ข้างทางก็อร่อย เพราะว่าเราไป 10 ช.ม. เราต้องพักข้างทางกินข้าวกันแต่ด้วยความที่เรากลัว อินเดียเป็นอะไรที่สกปรกมาก ไม่สะอาดสะอ้าน แต่ดูพอเวลาเค้าทำมันเดือดมันร้อนแล้วก็สะอาด พอทำออกมาแล้วเราก็คิดว่าไม่อร่อย แต่พอเอาโรตีที่เค้าทำสดๆ ใหม่ๆ ออกมาแล้วเอาโรตีจิ้มไปในแกงกะหรี่มันสุดยอดเลย รสชาติดีมาก กลับมาเมืองไทยยังคิดว่าจะไปหากินที่ไหนดี
          ส่วนเรื่องอาหารการกินของกองถ่าย เราโชคดีตรงที่ว่าเราพักอยู่ที่วัดไทย เพราะฉะนั้นวัดไทยก็จะมีไข่ๆ ทั้งไข่เจียว ไข่ต้ม ไข่พะโล้ ก็ทำให้เรารู้สึกว่าก็ไม่ได้ห่างเมืองไทยมากมาย พวกแกงไก่ แกงปลาก็มี แต่หมูไม่มี เรื่องอาหารการกินก็ไม่เท่าไหร่ เราก็อาศัยคนไทยจ้างแม่ชีทำให้เราก็หนักไปทางอาหารไทย อาหารอินเดียก็มีบ้างอย่างมักกะโรนี แต่เราก็รู้สึกว่ากินนิดเดียวก็ไม่อยากกินแล้วมันไม่คุ้นปาก ส้มตำนี่ก็ทำกินกันเป็นประจำ

ความประทับใจในการทำเรื่องนี้
          ผมประทับใจทีมงานผมทุกคนซึ่งมีความอดทนมากๆ มีความอดกลั้น อดทนทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้หนังเรื่องนี้ออกมาเสร็จสมบูรณ์ บางคนถ้าเกิดท้อใจหรืออะไรเขาก็คงขอกลับบ้าน แต่นี่เขาอยู่เพื่อหนังเรื่องนี้นี่ประทับใจมาก เราทุกคนพร้อมที่จะสู้ทุกๆ วัน แม้บางวันจะถ่ายมาดึกดื่น เช้ามีถ่ายต่อเค้าก็พร้อมที่จะถ่ายต่อ พร้อมที่จะทำงานกับเรา เป็นความประทับใจกับเรา ซึ่งครั้งต่อไปทุกครั้งเราก็อยากจะทำงานกับคนกลุ่มนี้ อยากจะได้คนกลุ่มนี้มาทำงานกับเรา เพราะว่าการทำงานของเรารู้สึกว่ามันลงตัวกัน แล้วก็ประทับใจหลายๆ คนที่เป็นคนไทยในอินเดียซึ่งช่วยเหลือเรามาตลอดโดยที่เขาไม่ได้หวังอะไรมากมาย มาช่วยเพราะเราเป็นคนไทยด้วยกัน แล้วช่วยเพราะหนึ่งเห็นผมก็คือบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ แล้วผมเคยช่วยเหลือสังคมในไทยมันเป็นอะไรที่เขาชื่นชมผมเป็นการส่วนตัว เขาก็พยายามเข้ามาช่วยตรงนี้อีกแรงหนึ่ง แล้วก็สถานที่ที่เราพักผ่อนกันคือที่วัด ถ้าหลวงพ่อไม่ให้ที่เราพักผ่อนเราก็ต้องไปเช่าโรงแรมคิดดูวันหนึ่งกี่แสน หลวงพ่อให้กับเราทุกอย่าง แม้กระทั่งแม่ชีให้เราทุกอย่าง มันเกิดขึ้นในอินเดียหลายๆ อย่าง แล้วความประทับใจนักแสดงที่ทำให้ผมประทับใจในหลายๆ คน เรื่องต่อไปทุกคนก็ต้องอยู่ในใจผมอยู่แล้ว
          รู้สึกว่าการไปถ่ายทำครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้เหมือนปาฏิหาริย์ บางสิ่งที่ไม่น่าทำได้ก็ทำได้ เพราะหลายคนบอกว่าการไปถ่ายอินเดียไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันยากมากและไปเมืองที่ยากจนเป็นเมืองที่กันดารที่สุด เป็นเมืองที่คนมากที่สุด เมืองแค่นั้นมีคนตั้ง 100 ล้านคนมากกว่าประเทศไทยอีก แต่เราก็สามารถทำงานได้ ผมก็รู้สึกขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นั่น และอีกหลายอย่างประทับใจมาก พอได้เห็นภาพหนังออกมาก็หายเหนื่อย

คาดหวังกับหนังเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
          ผมคิดว่าถ้าคนดูภาค 1 กับ 2 แล้วชื่นชอบ ภาคนี้ก็ไม่ควรพลาด จะดูสักรอบสองรอบสามรอบก็แล้วแต่ จากภาคแรกมันจะเป็นความลึกซึ้งของคนสองคนอย่างปัญญาเรณู ภาคสองจะเป็นความสนุกสนานความตลกเฮฮาที่ได้คุณหม่ำกับคุณตุ๊กกี้มาสร้างสีสัน พอมาภาคนี้สิ่งที่ตลกสนุกสนานเฮฮามันไม่ใช่ แต่มันเป็นความตลกของพวกเด็กที่ไม่สามารถสื่อภาษากันได้รู้เรื่องแต่ก็ขำกันเอง มันเป็นอะไรที่น่าสงสาร สมมติถ้าเราอยู่ต่างประเทศแล้วเราหลงทาง เราไม่มีใครสื่อภาษาอะไรได้เลย มันจะเป็นยังไง
          เพราะฉะนั้นการตอบรับมันก็น่าจะมีอะไรที่แปลกใหม่ การที่มีคนชอบปัญญาเรณู 1, 2 ที่ผ่านมา ก็คิดว่าการตอบรับก็อยู่ในระดับหนึ่งนะ ก็ไม่ได้หวังอะไรมากมาย หวังแต่ว่าไม่ให้ขาดทุนเท่านั้นเอง จะได้กำไรมากน้อยช่างมัน แต่อย่าให้ขาดทุน ซึ่งมันก็คิดไม่ได้หรอกว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหน คนเราทำหนังขึ้นมากหนึ่งเรื่องก็อยากประสบความสำเร็จ ก็อยากจะมีอะไรที่รู้สึกว่าภาคภูมิใจ แต่ลึกๆ แล้วเมื่อถึงวันนั้นขึ้นมาจริงๆ เราก็ไม่อยากหวังอะไรมากมายอย่างที่บอก คิดว่าทำผลงานออกมาแล้วแค่ให้คนดูพอใจ ยิ่งหนังสมัยนี้ก็อิงเรื่องการเมืองอะไรมากมายเกินไป แต่มีคนกลุ่มหนึ่งน่าจะดูหนังเรา ก็น่าจะประสบความสำเร็จสักประมาณ 50% นะ ถ้าคิดมากแล้วไม่ประสบความสำเร็จ อย่างภาคแรกเราก็คิดว่าน่าจะดี ภาคที่สองก็เหมือนกัน แต่เราก็โอเคนะบางคนอาจคิดท้อแท้และก็คิดไม่อยากทำ เราก็ขอแค่นี้พอไม่เป็นไรหรอก ถ้าเกิดมันได้มากว่าที่เราตั้งใจก็เป็นอะไรที่เหนือการคาดหมายของเราไป ถ้าไปหวังมากๆ แล้วไม่ได้ก็จะรู้สึกไม่ดี ก็แค่นี้พอ

เสน่ห์และความน่าสนใจโดยรวมของเรื่องนี้
          ผมไม่อยากพูดว่าเสน่ห์ของรูปีรูปีเป็นยังไง เอาเป็นว่าตัวอย่างออกมาตามโรงแล้วดูละกันว่าอยากดูแค่ไหน ผมว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่กว่าหนังทุกเรื่องที่ผมทำมา แล้วจะแปลกใหม่กว่าหนังทุกๆ เรื่องของประเทศไทย ที่หนังไทยไปถ่ายทำกันที่ต่างประเทศต่างๆ ด้วยวิวสวยงาม แต่อันนี้ไม่ใช่วิวสวยงาม แต่เป็นวิวที่น่าชม มันมหัศจรรย์ ผมเรียกว่ามหัศจรรย์ ผมไม่เคยไปเมืองไหนแล้วเกิดขึ้นมาอย่างนี้
          ความน่าสนใจมันอยู่ที่ความแปลกใหม่ของหนัง ซึ่งถ้าเราดูปัญญาเรณูแล้วจะเป็นแบบพื้นบ้านอีสานธรรมดา แต่มาดูหนังเรื่องนี้แล้วจะได้วิถีชนบทของอินเดีย ได้เห็นถึงวัฒนธรรมที่เราไม่เคยเห็นใหม่ๆ อีกมากมาย เพราะหนังไทยที่ไปถ่ายทำที่ต่างประเทศ เดี๋ยวนี้ก็ค่อนข้างจะน้อย ไม่ค่อยได้เห็นกันเท่าไหร่แล้ว แต่หนังเรื่องนี้เดินทางไปถ่ายทำไกลถึงพุทธคยา ประเทศอินเดียกันเลย ซึ่งเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานของโลก จุดหมายที่ชาวพุทธทั่วโลกต้องไปเยือนสักครั้ง ภาพที่หนังถ่ายทอดออกมาสื่อสารเรื่องราวความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จะได้เห็นวิถีชนบท ได้เห็นถึงวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเห็น และสถานที่สวยแปลกตาอีกมากมาย วัดวาอาราม สถาปัตยกรรมเก่าๆ นับพันปีซึ่งยังคงอยู่ให้เราได้นำเสนอ โดยไม่ต้องคิดซับซ้อนมากมาย และยังคงสไตล์ปัญญาเรณูแบบโกอินเตอร์ ก็จะมีทั้งเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความสนุกสนานเฮฮาที่จะให้ข้อคิดกับเด็กๆ และอีกหลายๆ คนที่อาจไปตกระกำลำบากอยู่ต่างประเทศ เรื่องนี้ก็จะให้ข้อคิดดีๆ ที่จะให้คนได้จดจำได้เลยครับ ผมเชื่อว่าเด็กๆ ในเรื่องนี้จะทำให้ท่านยิ้ม หัวเราะ และประทับใจได้ไม่ยากเลยครับ

FB on February 25, 2013, 06:18:43 PM
เบื้องหลังถ่ายโปสเตอร์ “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” แหวกส่าหรี สาดสีสัน ภารตะฮัดช่า









           นอกจากจะยกทีมไปตะลุยถ่ายทำภาพยนตร์กันที่อินเดียเกือบทั้งเรื่องแล้ว โปสเตอร์ “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ผลงานล่าสุดของผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ก็ยังจัดเต็มทั้งชุดอินเดียรูปีและชุดบ้านนารูปูตรงตามคอนเซ็ปต์ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความสนุกสนานของการผจญภัยและมิตรภาพระหว่างเด็กไทยและเด็กอินเดียที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น

          งานนี้ยกแก๊งเด็กแสบซ่าทั้ง 7 คน ด.ญ.สุธิดา หงษา (น้ำขิง), ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว (เปเล่), ด.ช.วิชิต สมดี (ชิต), ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี (โบ๊ต), ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ (เซฟ), ด.ญ.พิมพ์พ์รพี ดีเมืองปัก (พลอย) และ ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก (ภีม) ไปถ่ายกันที่สตูดิโอ BoxShot ย่านรามคำแหงตั้งแต่เช้ายันเย็น โดยเริ่มจากการแต่งชุดสไตล์อินเดียหลากหลายสีสันสดใสถ่ายทำกันแบบสบายๆ ด้วยการโพสท่าทางสนุก มันส์ แสบ สดใส ดีใจได้เดินทางไกลกันเป็นครั้งแรกไปจนถึงออกอาการอึ้ง เหวอ ตะลึงทะลุส่าหรีเป็นงงที่ต้องหลงทางผจญภัยไกลถึงแดนภารตะฮัดช่ากันเลยนะนายจ๋า

          หลังจากเสร็จสิ้นชุดสวยงามกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงชุดบ้านนาที่ทั้งแก๊งรูปูของเราโดนจัดหนักกันไปเต็มๆ เพราะต้องเลอะจริง เละจริงไปทั้งตัวด้วยผงสีเทศกาลโฮลี่อันเป็นเทศกาลประจำชาติของอินเดีย ที่คล้ายสงกรานต์บ้านเราแต่เป็นการสาดผงสีแทน ซึ่งงานนี้ผู้กำกับบิณฑ์ลงมากำกับท่าทางและจัดการละเลงและสาดสีใส่แก๊งเด็กซ่าส์ทั้ง 7 คนด้วยตัวเองอย่างสนุกสนาน

          “วันนี้เรามาถ่ายโปสเตอร์ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปีกันครับ ก็ยกขบวนเด็กทั้ง 7 แสบมาใส่ทั้งชุดอินเดียสวยงาม ทั้งสาดสีเล่นกันอย่างสนุกสนานเพื่อให้ได้ภาพออกมาสวยงามและตรงกับคอนเซ็ปต์รูปูรูปีที่เด็กไทยต้องหลงทางไปผจญภัยกันถึงประเทศอินเดีย เด็กๆ ทั้ง 7 คนก็ทำงานกันอย่างเต็มที่ไม่มีใครบ่นเลยแม้จะเลอะสีไปทั้งตัว ซึ่งก็เหมือนกับตอนที่ไปถ่ายหนังเรื่องนี้ที่พุทธคยา พวกเค้าก็อดทนถ่ายหนังกันด้วยสปิริตจริงๆ แม้อากาศจะร้อนมากแค่ไหน การทำงานจะเหนื่อยหนักเท่าไหร่ ก็สู้จนงานสำเร็จออกมาได้ ผมก็รู้สึกประทับใจทุกคนมากครับ ตอนนี้โปสเตอร์ก็ถูกออกแบบได้อย่างสวยงามสีสันสดใส ก็อยากฝากให้ทุกคนช่วยแชร์กันเยอะๆ ทั้งตัวอย่าง ทั้งภาพโปสเตอร์ รวมถึงตัวหนังที่พวกเราทำตั้งใจกันมาก รับรองได้เห็นภาพแปลกตาของอินเดีย ได้ความสนุก และสาระบันเทิงจากหนังเรื่องนี้แน่นอนครับ 7 มีนาไปภารตะฮัดช่ากันในโรงหนังครับ”

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมโกอินเดียเคลียร์ความเครียดเพียบพร้อมความสนุก 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์...นะจ๊ะ นายจ๋า

FB on February 28, 2013, 05:46:45 PM
ลงทุนยิ่งใหญ่ “ฉากเผาบ้านกลางพุทธคยา” สร้างจริง เผาจริง สะท้อนเหตุการณ์จริง ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”











          เป็น อีกหนึ่งฉากใหญ่ใน “ปัญญา เรณู 3 ตอน รูปูรูปี” กับ “ฉากเผาบ้าน” ที่ผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ตั้งใจทุ่มทุนสร้างเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จริงเมื่อครั้งไปทำบุญที่ประเทศ อินเดีย แล้วได้พบกับเหตุการณ์เผาบ้านเรือนของชาวอินเดียต่างวรรณะ ซึ่งถือเป็นเรื่องราวที่จำฝังใจและอยากจะสะท้อนให้เห็นความเป็นไปของอีกซีก โลกในอีกแง่มุมหนึ่งด้วย

          ผู้กำกับฯ เล่าถึงฉากนี้ให้ฟังว่า

          “ใน การเดินทางครั้งนั้นผมก็ได้ผ่านหมู่บ้านสวยๆ แห่งหนึ่งแต่พอขากลับบ้านที่เคยเห็นสวยงามมันโดนเผาวอดวายไปหมดประมาณ 50-60 หลัง พอถามเจ้าหน้าที่ตำรวจได้คำตอบว่าโดนพวกคนละวรรณะบุกมาเผาตอนกลางคืน ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับลัทธิศาสนาทำให้เกิดการต่อสู้กันและเผาทำลายบ้านเรือน จนหมด แต่ไม่ได้ทำร้ายผู้คนนะ เพียงแต่ทำลายบ้านเรือนเพื่อให้ย้ายไปเท่านั้น ผมจดไว้ในสมองทันที เหตุการณ์นี้มันฝังตรึงในใจของผมมาก แต่ฉากนี้ต้องใช้เงินพอสมควร แต่เพื่อความสมจริงก็ต้องยอม

          ผมให้ทีมงานเซ็ตฉากไฟไหม้ที่ หมู่บ้านหนึ่งในเมืองคยา เป็นฉากที่พวกโจรมาปล้นเผาบ้าน ฉากนี้ต้องใช้ม้าใช้คนเยอะก็เป็นฉากที่ค่อนข้างทำงานลำบาก เพราะเราสั่งม้าไป 20 ตัว ได้มา 5 ตัว แต่ก็ได้รถแทร็คเตอร์เพิ่มเข้ามาแทนม้า ทีมงานเซ็ตบ้านเรือนที่จะเผาขึ้นมาทั้งหมด 12 หลัง ก็มีปัญหากับชาวบ้านเพราะเค้าไม่เข้าใจว่าเราทำบ้านขึ้นมาแล้วจะเผาทำไม เค้าคงคิดว่าพวกเราโง่ทำบ้านเสร็จแล้วจะเผา เราก็บอกว่าไม่เป็นไรบ้านหลังไหนถ้าเราไม่เผาก็ยกให้เค้าเลย เพราะเราสร้างแบบอยู่ได้เลยจริงๆ แต่ชาวบ้านเค้าถือว่าการเผาบ้านมันเหมือนกับเป็นสิ่งไม่ดีกับพวกเค้า ก็เลยไม่ให้เราเผา เค้าบอกว่าเรามาสร้างอยู่ในบริเวณที่ของเค้า เค้าก็กลัวว่าไฟจากบ้านเราจะไปติดหลังคาบ้านเค้า เราก็บอกว่าเรารับผิดชอบให้ทั้งหมด ถ้าไปติดบ้านไหน เค้าก็ไม่เอาไม่ยอม พอเผาตรงไหนเค้าก็เอาน้ำมาดับ จุดไฟตรงไหนไม่ได้เลยเกิดความหงุดหงิดกับทีมงานมาก แต่สุดท้ายเราก็เผาเพราะเราลงทุนทั้งหมดก็เพื่อฉากนี้ พอเผาจริงก็เกิดเหตุวุ่นวายอีกเมื่อรถแทร็คเตอร์ที่เข้าฉากไปติดในกองไฟใน บ้านที่เราเซ็ต ไฟลุกท่วมรถไปหมด ทุกคนตะลึงกันไปหมด แต่คนขับก็สามารถนำรถออกมาจากกองไฟได้ราวปาฏิหาริย์ ทุกคนทั้งทีมงานและผู้คนแถวนั้นต่างก็โกลาหลวุ่นวายช่วยกันดับไฟ ในที่สุดฉากนี้ก็ผ่านไปได้ รู้สึกว่าการไปถ่ายทำครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้เหมือนปาฏิหาริย์บางสิ่งที่ ไม่น่าทำได้ก็ทำได้ เพราะหลายคนบอกว่าการไปถ่ายอินเดียไม่ใช่เรื่องง่าย มันยากมากๆ แต่เราก็สามารถทำงานได้ ผมก็รู้สึกขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นั้น พอได้เห็นหนังออกมาภาพออกมาทั้งทีมงานและผมก็หายเหนื่อย"

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมโกอินเดียเคลียร์ความเครียดเพียบพร้อมความสนุก 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์...นะจ๊ะ นายจ๋า

FB on February 28, 2013, 05:48:19 PM
บิณฑ์ชวนน้ำขิงและแก๊งค์รูปูรูปี แท็กทีมกันฮัดช่า ชวนน้องๆ ลั้ลลาปาร์ตี้โรตี









 
 
          ขึ้นชื่อว่าแก๊งค์ปัญญาเรณูรับรองว่าต้องมาสร้างความสนุก สนาน และเสียงหัวเราะอย่างแน่นอน และในวันนี้ “น้ำขิง” (ด.ญ.สุธิดา หงษา) และแก๊งค์เพื่อน “เปเล่” (ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว), “พลอย” (พิมพ์รพี ดีเมืองปัก), “กีม”(ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก), “แซ็ก” (ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง) “เซฟ” (ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ) “น้องโบ๊ต” (ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี) “ชิต” (ด.ช.วิชิต สมดี) พร้อมผู้กำกับ พี่บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ก็มาสร้างความเฮฮาให้กับเด็กๆ ในมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (ศูนย์ Mercy) ด้วยการชวนน้องๆ แต่งหน้าโรตี พร้อมกับเล่นเกมแจกของรางวัล

          ไฮไลท์ ของวันนี้คือการแต่งหน้าโรตี สุดยอดเมนูสไตล์ภารตะฮัดช่าเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของอินเดีย ตามคอนเซ็ปท์ของ ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปู รูปี แต่ก่อนที่เด็กจะได้สนุกกับโรตีนั้น เหล่าน้องๆปัญญาเรณูก็อุ่นเครื่องด้วยการชวนเด็กๆร้องเพลงเต้นรำกันไป ร้องกันอยู่หลายสิบเพลงเด็กๆ ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะเหนื่อย ออกสเตปกันอย่างไม่มีใครยอมแพ้ใครเพื่อชิงของรางวัลจากทีมนักแสดง และรางวัลเงินสดจากผู้กำกับใจดี จากนั้นทีมน้องๆปัญญาเรณูจึงเริ่มแจกโรตีให้กับเด็กๆและช่วยกันแต่งหน้าแป้ง โรตี ใส่กล้วย ราดนม ราดช็อคโกแลต โรยเม็ดสีไอซ์ซิ่ง เพื่อตกแต่งให้สวยงาม ถึงจะดูเลอะเทอะเปรอะเปื้อนกันไปบ้าง แต่ทุกคนก็สนุกสนานและมีความสุขกันสุดๆ เท่านั้นยังไม่พอทีมปัญญาเรณู ยังใจดีร่วมกันเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ ทั้งช่วยกันตักผลัดกันเสิร์ฟ และปิดท้ายด้วยการบริจาคขนม และอุปกรณ์การเรียนกองโตให้กับเด็กๆ ในมูลนิธิอีกด้วย

          (น้ำขิง) “ตอนแรกคิดว่าพวกเราจะมาสร้างความสนุกสร้างสีสันให้กับน้องๆ แต่พอเอาเข้าจริงกลายเป็นพวกเราสนุกมากกว่าน้องๆ ซะอีก เพราะวันนี้น้องๆ ที่นี่น่ารักมากเวลาเค้าเต้นเค้าร้องเพลงเลยทำให้พวกเรารู้สึกสนุกมากจริงๆ และวันนี้พวกเราก็ยังถือโอกาสมาชวนน้องๆ แต่งหน้าโรตีอีกด้วย ได้อารมณ์แบบอินเดียนิดๆเข้ากับรูปู รูปี ที่กำลังจะเข้าฉายเร็วๆนี้ ซึ่งภาคนี้น้ำขิงกับเพื่อนไปถ่ายไกลกันถึงอินเดีย มีเรื่องราวของการผจญภัยในต่างแดน แต่ก็ไม่ทิ้งความสนุกสนานแบบม่วนซื่นตามสไตล์ปัญญาเรณู ยังไงฝากทุกคนช่วยติดตามด้วยนะคะ”

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมโกอินเดียเคลียร์ความเครียดเพียบพร้อมความสนุก 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์...นะจ๊ะ นายจ๋า

FB on March 01, 2013, 05:28:32 PM
น้ำขิงนำทีมแก๊งค์ “รูปูรูปี” บุกครัวโชว์ฝีมือ เมนูเด็ดสไตล์ภารตะฮัดช่า









          ใกล้ วันฉายเข้ามาทุกทีสำหรับ ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี ภาพยนตร์ม่วนซื่นอารมณ์ดีที่งานนี้ไปตะลุยผจญภัยกันไกลถึงแดนภารตะ ที่งานนี้น้องๆ เหล่านักแสดง “น้ำขิง” (ด.ญ.สุธิดา หงษา) และแก๊งค์เพื่อน “เปเล่” (ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว), “พลอย” (พิมพ์รพี ดีเมืองปัก), “กีม”(ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก), “แซ็ก” (ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง) ชักชวนกันหวนระลึกความหลังตอนอยู่อินเดีย โดยพากันมาบุกร้าน หิมาลัย ชาช่า ลงมือช่วยกันทำแป้งโรตี และ โยเกิร์ตเกิร์ตปั่น อาหารอินเดียสูตรเด็ดของทางร้าน

          เมื่อทุกคนพร้อมกันบุกเข้า ครัว เมนูแรกที่เลือกทำ คือ การทำแป้งโรตีอินเดีย หรือที่เรียกว่า นาน (Nan) ทุกคนต่างลงมือนวดแป้งและปั้นเป็นลูกกลมๆ จากนั้นจึงผลัดกันนวดแป้งเป็นแผ่บางๆพร้อมลงเข้าเตาถ่านสไตล์อินเดีย ฟังดูช่างยากเย็นแต่สำหรับ “น้ำขิง” และเพื่อนๆ กลับผลัดกันทำผลัดกันนวดอย่างเมามันส์ เมื่อเสร็จแล้วก็รอเสิร์ฟทานคู่กับแกงรสจัดจ้านสไตล์อินเดีย เท่านั้นยังไม่พอขอตบท้ายด้วยเครื่องดื่มสูตรพิเศษอย่าง โยเกิร์ตปั่น ที่ใช้โยเกิร์ตแบบธรรมชาติปั่นเกร็ดน้ำแข็งพร้อมใส่ผลไม้เพื่อเพิ่มความสด ชื่นและรสหวาน จากนั้นจึงเสิร์ฟขึ้นโต๊ะพร้อมทานคู่กับอาหารจานหลัก และสุดท้ายก็มาถึงขั้นตอนที่สนุกที่สุดก็คือ ลงมือเคลียร์อาหารทุกจานกันแบบเอาให้เรียบ ซึ่งขั้นตอนนี้เด็กๆ ขอบอกว่าสนุกกว่าขั้นตอนอื่นๆ อย่างแน่นนอน (ฮ่าๆๆๆๆ)

          เมื่อทำ อาหารเสร็จ น้องๆ ก็ได้นำผลงานมาโชว์ให้เห็นและชวนกันถ่ายรูปเก็บเอาไว้อย่างภาคภูมิใจ และสุดท้าย “น้ำขิง” ก็ยังขอฝากผลงานทิ้งท้ายให้ทุกคน “ อยากให้ไปภาพยนตร์เรื่องนี้กันเยอะๆนะคะ เพราะหนังเรื่องนี้ได้ไปถ่ายทำไกลถึงต่างประเทศ และประเทศที่ไปก็คือ เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นหนังที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม และวิธีชีวิตของชาวอีสานให้ต่างชาติได้รับรู้ นอกจากนี้ ยังจะได้เห็น ความน่ารัก สดใส ของพวกหนูอีกด้วย เรื่องราวจะเป็นอย่างไร สนุกสนานขนาดไหน ก็อยากให้ลองติดตามกันดูนะคะ ซึ่งหนังจะเข้าฉาย วันที่ 7 มีนาคมนี้ ทุกโรงภาพยนตร์ คะ ”

FB on March 04, 2013, 03:37:12 PM
“น้ำขิง” สุดลั้ลลา นำ “แก๊งบ้านนา” ฮาไกลถึงอินเดีย ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”



          กลับมาแล้วจ้ากับเจ้าแม่บ้านนา “น้ำขิง-สุธิดา หงษา” ที่คราวนี้ยกแก๊งปัญญาเรณูมาพบท่านผู้ชมด้วยคาแร็คเตอร์ใหม่ แถมยังไปฮาไกลถึงพุทธคยา ประเทศอินเดียใน “ปัญญา เรณู 3 ตอน รูปูรูปี” ผลงานม่วนซื่นทะลุส่าหรีของผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการผจญภัยสุดสนุกสนานของแก็งเด็กบ้านนาที่บังเอิญหลงทางกับคณะพระที่ไปทอดผ้าป่าที่อินเดียจนเกิดความหรรษาอลเวงอันนำมาซึ่งมิตรภาพสุดประทับใจและเป็นประสบการณ์ล้ำค่าของเด็กๆ ที่หาได้ไม่ง่ายเลย

          “น้ำขิง” หัวโจกแก๊งบ้านนาพูดถึงเรื่องนี้ว่า

          “ในเรื่องนี้หนูรับบทเป็น น้ำขิง คาแร็คเตอร์จะคล้ายกับตัวเองเลย แต่จะไม่ใช่เรณูแล้ว ก็จะเป็นหัวหน้ากลุ่มคอยนำเพื่อนๆ ไปโน่นมานี่ แก๊งเพื่อนก็จะรับบทในชื่อของตัวเองทุกคนค่ะ แล้วก็มีคาแร็คเตอร์ใกล้เคียงตัวจริงที่สุดค่ะ แล้วก็ต้องไปผจญภัยในประเทศอินเดียแบบบังเอิญเลยค่ะ พอหลงทางปุ๊บก็งงกันยกแก๊งเลยค่ะ ก็ต้องผจญภัยตะลอนกันไปด้วยความทรหด แต่สุดท้ายความสามัคคีและมิตรภาพของเพื่อนไทยและอินเดียก็ทำให้พวกเราได้เรียนรู้อะไรเยอะแยะเลยค่ะ

          นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ได้ไปถ่ายหนังที่ต่างประเทศเลยค่ะ ยิ่งเป็นประเทศอินเดียด้วยยิ่งตื่นเต้นค่ะ เค้าบอกว่าร้อนกัน หนูก็เลยเตรียมครีมกันแดดไปเพียบเลยค่ะ มีอยู่วันนึงตั้ง 52 องศาซึ่งร้อนมากจนทีมงานนักแสดงบางคนเลือดกำเดาไหลเลยค่ะ ส่วนหนูสบาย ไม่เป็นอะไรเลย ก็สนุกดีค่ะ ได้ไปในแหล่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ หนูชอบมากเลยไปไหว้ทุกวันเลย แล้วมันก็จะมีแหล่งเที่ยวแหล่งช้อปปิ้ง ของถูกมากเลย ได้ผ้ากลับบ้านกันทุกคน ชอบมากเลยค่ะ ได้แต่งชุดอินเดีย ได้ไปเที่ยว และทำงานไปด้วย สนุกมากเลยค่ะ เป็นประสบการณ์ที่หนูจะไม่ลืมเลยค่ะ

          ถ่ายหนังในอินเดียมันยากมากจริงๆ แต่พวกเราก็ทุ่มเทกันเต็มที่จริงๆ ค่ะ ก็อยากให้มาดูกันเยอะๆ ค่ะ จะได้ทั้งความสนุกสนาน สถานที่แปลกตาที่ไม่เคยมีในหนังไทย วัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ มีทั้งความรัก ความสามัคคี ไม่ใช่แค่ในหนังนะคะ ในกองเราก็มีความสามัคคีกันอย่างนี้หนังก็เลยสำเร็จออกมาได้ค่ะ 7 มีนานี้ อย่าลืมไปให้กำลังใจพวกเรานะคะ ขอบคุณค่ะ”

          “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี” พร้อมโกอินเดียเคลียร์ความเครียดเพียบพร้อมความสนุก 7 มีนาคมนี้ในโรงภาพยนตร์...นะจ๊ะ นายจ๋า