MSN on December 21, 2012, 06:03:54 PM
ซิป้า เผยโฉม 5 ทีมเจ้าสัวธุรกิจซอฟต์แวร์พันธุ์ใหม่ โครงการ “นวัตกรรมวาณิชย์ 55 ภาคค้นหา Thai IT Tycoon”

 

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ประกาศผล 5 ทีม ชนะเลิศการประกวดแผนธุรกิจในโครงการ “นวัตกรรมวาณิชย์ 2555 ภาคค้นหา Thai IT Tycoon” กิจกรรมการส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ทั่วไป ในเชิงบ่มเพาะธุรกิจเพื่อการสร้างนักการตลาดธุรกิจซอฟต์แวร์ สู่การเป็นเจ้าสัวใหม่ทางธุรกิจไอที พร้อมจัดเต็มทุน และโอกาสทางธุรกิจพิเศษสุดมูลค่าทีมละ 1 ล้านบาท หลังผ่านหลักสูตร และกิจกรรมอบรมเชิงวิชาการมาอย่างเข้มข้น

ดร. ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ได้จัดทำโครงการต่อเนื่อง ที่ชื่อว่า “นวัตกรรมวาณิชย์ 2555 ภาคค้นหา Thai IT  Tycoon” เพื่อร่วมส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจซอฟแวร์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยปีนี้มีการขยายแนวคิดการจัดกิจกรรมให้มีความเข้มข้น และสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ร่วมกิจกรรมมากยิ่งขึ้น โดยได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ในฐานะองค์กรที่มีสมาชิกในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ของประเทศไทยมากที่สุด เพื่อร่วมผลักดันให้บุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนหลักสูตรการอบรมจากคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงในด้านบริหารธุรกิจและการตลาดระดับประเทศ เข้าร่วมให้ความรู้เชิงอบรมและบ่มเพาะกับภาคธุรกิจและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเข้มข้น
โดยระยะเวลาในการจัดโครงการที่ผ่านมา ประกอบไปด้วยกิจกรรมอันหลากหลาย ซึ่งทำให้บุคลากรด้านซอฟต์แวร์ได้รับความรู้ทางด้านการตลาด การบริหารการเงิน การบริหารบุคลากร การวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมสร้างนักการตลาดซอฟต์แวร์ กิจกรรมบ่มเพาะสู่ผู้ประกอบการ และกิจกรรมคัดเลือกและส่งเสริมทุน นับเป็นหลักสูตรที่เข้มข้นของโครงการนวัตกรรมวาณิชย์ ซึ่งจะให้ทั้งความรู้ทางด้านการตลาดการให้คำแนะนำและเปิดวิสัยทัศน์แนวโน้มของผู้บริโภค เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ตอบสนองผู้บริโภครวมทั้งยังมีการนำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุนเพื่อเป็นการสร้างโอกาสธุรกิจ

ทั้งนี้การดำเนินโครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี มีผู้เข้าสนใจเข้าร่วมโครงการ 693 ราย เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรกว่า 500 ราย สามารถนำไปสร้างให้เกิดการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นมูลค่ากว่า 350 ล้านบาท สำหรับทีมผู้เข้าอบรมที่ส่งแผนธุรกิจเข้าร่วมประกวดรวม 209 ราย และผ่านเข้ารอบสุดท้ายรวม 25 แผนธุรกิจ ซึ่งได้นำแผนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการมาแสดงผลงานในวันนี้ด้วย ซึ่งนับได้ว่ามีความเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และมีศักยภาพทางธุรกิจ   ซึ่งผู้ชนะการประกวดมีทั้งหมด 5 แผนธุรกิจ และ ได้รับรางวัลในรูปแบบต่างๆ รวมมูลค่าแผนธุรกิจละ 1,000,000 บาท รวม 5 รางวัล มูลค่ารวม 5,000,000 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยเงินสด การสนับสนุนด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ การให้คำปรึกษาด้านไอที ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาเพิ่มเติมในด้านการสร้างแบรนด์ ซึ่งซิป้ามั่นใจว่าโปรแกรมการสนับสนุนเช่นนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมสามารถเริ่มต้นธุรกิจและมีศักยภาพในการแข่งขัน ส่งผลให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโตต่อไป
นอกเหนือจากแผนธุรกิจที่ชนะเลิศทั้ง 5 รายแล้ว แผนธุรกิจอื่นๆของผู้ที่ผ่านการอบรม ก็ถือว่าเป็นแผนธุรกิจที่มีศักยภาพมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่พร้อมจะนำออกสู่ตลาด ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนและนำไปใช้จริง ก็จะเชื่อได้ว่าจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ในธุรกิจซอฟต์แวร์ ที่จะสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอย่างมหาศาล

ผู้ได้รับรางวัลการประกวดแผนธุรกิจซอฟต์แวร์
1.   SenzE  อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารผ่านทางสายตา สำหรับผู้ป่วยอัมพาต
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต และ ALS รวมเกือบ 8 แสนคน ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเหมือนกันคือ ไม่สามารถที่จะสื่อสารได้ด้วยทั้งการพูดและเขียน ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ทางทีม Keen Innovation จึงได้เกิดแนวความคิดที่ต้องการพัฒนาอุปกรณ์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยในหารสื่อสาร สำหรับผู้ป่วยโรคอัมพาต และโรคเอแอลเอสในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนมาก ทั้งที่พักฟื้นในโรงพยาบาลในลักษณะของผู้ป่วยใน และกลับมาพักฟื้นเองที่บ้าน ซึ่งโดยมากผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ทั้งด้วยการพูดหรือการเขียน ให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความหวัง และมีคุณค่าที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้อีกครั้งหนึ่ง
ทางทีม Keen Innovation จึงได้ออกแบบ และพัฒนาอุปกรณ์ด้วยเทคโนโลยี Eye Tracking System ใช้การเขียนโปรแกรมด้วย Open CV และ C++ ในการสั่งให้อุปกรณ์คือ กล้องจับการเคลื่อนไหวของตาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย ให้สามารถควบคุมการทำงานของ Virtual Keyboard บนหน้าจอ แล้วใช้การกระพริบตาแทนการคลิกเมาส์ หรือกด Enter ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้สายตาพิมพ์ข้อความได้เหมือนการใช้นิ้วมือพิมพ์, สามารถสื่อสารกับแพทย์, ญาติ และผู้ดูแลได้เหมือนคนปกติ ด้วยการใช้เพียงสายตา สามารถท่อง Internet, ดูหนัง ฟังเพลงบน  Youtube หรือเล่นเกมส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย เพราะอุปกรณ์ถูกออกแบบมาไม่ให้มีการสวมใส่ หรือยึดติดกับตัวผู้ป่วยเลย โดยอุปกรณ์ต้นแบบจะสามารถติดตั้งเข้ากับเตียงผู้ป่วย และเคลื่อนย้ายได้ โดยเป็นโปรแกรมภาษาไทยที่ใช้งานร่วมกับระบบ Eye tracking ได้เป็นเครื่องแรกของโลก
คุณเกียรติพงศ์ ทองมินทร์
เบอร์โทรศัพท์ (มือถือ) 086-326-7595
Email kong_jobin@hotmail.com

2.   ทอฝัน : ความสุขของการแบ่งปัน
“ทอฝัน : ความสุขของการแบ่งปัน” คือ เว็บแอพพลิเคชั่นแห่งอนาคต ด้วยระบบ “User Affiliate” ที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของ Social Network ประกอบไปด้วยระบบสำคัญสองระบบต่อไปนี้  1. User Affiliate System* [INNOVATION] ระบบการแบ่งรายได้ของเว็บไซต์ให้กับ Users อย่างเป็นธรรม 2. Social Content การแชร์ Content ในรูปแบบของ Blog, Scrapbook และ Video โดยนำเทคโนโลยีล่าสุดของมาตรฐานสากลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด [No-SQL DBMS, Cloud Structure]



อุดมการณ์ : การแบ่งรายได้อย่างยุติธรรมให้กับ Users ซึ่งถือเป็น “หัวใจ” สำคัญในการสร้าง Social Web โดย Thorfun จะเป็นเว็บไซต์แห่งแรกที่แบ่งรายได้อย่างยุติธรรมให้กับทุกคน
1. User Affiliate ระบบการแบ่งรายได้ให้ Users อย่างเป็นธรรม โดย Users จะเปรียบเสมือนหุ้นส่วนในธุรกิจร่วมกับเรา กล่าวคือ Users จะมาร่วมสร้างสังคมออนไลน์พร้อมกับได้รับรายได้ไปพร้อมๆกัน
2. Social Features การแชร์ Content ที่อยู่ในรูปของ Blog, Scrapbook และ Video โดยมีเทคโนโลยีรับสากล [no-SQL DBMS, Cloud Infrastructure] ในการออกแบบและรองรับในทุกฟังก์ชันการใช้งานของ Social Features ด้วยกุญแจสำคัญของ Feature เหล่านี้ที่จะตอบสนองความต้องการของ Users ได้ครบทุกด้าน

คุณมาวิน จิรไพศาลกุล
บริษัท ทอฝัน จำกัด
080-9992292

3.   MAYAR (มายา) เชื่อมโลกดิจิทัล
MAYAR (มายา) เป็นเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต ใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ประเภท Tablet เชื่อมโยงโลกแห่งความเป็นจริงและโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ภาพนิ่งธรรมดาให้ออกมาโลดแล่นเป็นภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ และโมเดล 3 มิติ นอกจากนั้นยังทำให้ภาพเหล่นั้นเป็นสิ่งพิมพ์ประเภท Interactive Printing คือ สามารถซ้อนทับปุ่มกดเพื่อให้ link ไปยังบริการต่างๆในโลกดิจิทัลได้ทันที
การทำงานของ MAYAR แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วน Mobile Application และส่วน Server ซึ่ง Mobile Application จะทำหน้าที่วิเคราะห์ภาพต้นฉบับที่เป็นรูปธรรมดาที่ใช้งานจริงไม่มีการใส่ Code หรือรหัสใดๆ ทั้งสิ้น (Natural Feature Tracking) และทำการซ้อนทับข้อมูลลงบนภาพในกล้องของโทรศัพท์มือถือ (AR : Augmented Reality) ตามที่กำหนดใน Server เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถเห็นภาพเคลื่อนไหวหรือข้อมูลที่ต้องการซ้อนทับดังกล่าวผ่าน Application MAYAR หรือ Application อื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับ MAYAR
ทีม อินโนเวชั่นพลัส
คุณณครินทร์ เลิศนามวงศ์
081-9046904 , 02-9623351
Email guy@innovationplus.mobi , nakrin.lerd@gmail.com




4.   I lert u
   I lert u เป็นระบบ SOLOMO (Social Mobile Location) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่ถือเครื่องโทรศัพท์มือถือสามารถส่ง Location ไปให้กับคนใน Social Network คอยเป็นผู้คุ้มกัน และป้องกันคอยดูแล และเมื่อเกิดเหตุภัยอันตราย จะสามารถแจ้งเหตุไปยังทุกคนในทันที ระบบการช่วยเหลือจะได้รับการแจ้ง และจะสามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้ทันการ I lert u ถูกสร้างขึ้นเพื่อ
-   เชื่อมโยงกับ @2claim @2er โดยแผนการตลาดของเราคือ ยึดลูกค้าเป็นตัวประกัน จากนั้นบริษัทประกันภัย และโรงพยาบาลที่ยังไม่มีระบบ @2claim @2er ก็จะต้องมาใช้ระบบของเรา
-   เป็น Social Enterprise ที่นำความรู้ความสามารถกำลังที่มีพัฒนาระบบงานเพื่อตอบแทนสังคม และถวาย
ในหลวงในปี 2554
-   เพื่อนำไปต่อยอดในธุรกิจอื่น เช่น Tourism Entertainment , Education , Logistic และอื่นๆ ได้หลากหลาย
-   เพื่อเราจะได้เข้ามาเล่นในตลาดใหม่ SOLOMO (Social Mobile Location)
-   เพื่อเข้าตลาด M wallet และ M Commerce
บริษัท อรุณสวัสดิ์ ดอท คอม จำกัด
คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์
507 Rajvitee Rd., Thanon Phayathai, Rajvitee, Bangkok 10400
Phone 02-6447985-6 Fax 02-6449444
Kittinan@anywheretogo.com

5.   IM-AIM : Image and Artificial Intelligence in Medicine

   ซอฟท์แวร์อิ่มเอม (IM-AIM : Image and Artificial Intelligence in Medicine) เป็นนวัตกรรมซอฟท์แวร์มะเร็งอัจฉริยะแรกของโลก ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยนำเทคนิคจำเพาะด้าน Machine Learning และ Probabilistic Reasoning ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองและช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ในการทำงานหนึ่งๆได้ด้วยตนเอง ทำให้ความถูกต้องของการวินิจฉัยของซอฟท์แวร์เทียบเคียงกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการระบุเนื้อเยื่อมะเร็งบนภาพทางการแพทย์ได้แบบอัตโนมัติ และสามารถแสดงภาพสามมิติของก้อนเนื้อมะเร็ง รวมถึงสามารถพยากรณ์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายภายหลังการรักษา โดยให้ความแม่นยำมากกว่า 70% ซอฟท์แวร์ IM-AIM ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสุนนแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ให้สามารถกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้องของก้อนเนื้อมะเร็ง และแสดงรูปร่าง ขนาดจากภาพสามมิติของก้อนเนื้อเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยการให้บริการผ่านเทคโนดลยีคลาวด์ (Cloud Technology) จึงสามารถเรียกใช้ซอฟท์แวร์ IM-AIM ผ่านคอมพิวเตอร์พกพาหรือมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังสามารถวางแผนการติดตามผลการรักษาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังเอื้อให้เกิดความคล่องตัวในการขอคำปรึกษาจกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ต่าง รพ. นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว ซอฟท์แวร์ IM-AIM ยังรองรับการประชุมทางไกลระหว่างทีมผู้วินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่อยู่ต่างที่ต่างเวลากันได้
IM-AIM เป็นนวัตกรรมซอฟท์แวร์มะเร็งอัจฉริยะที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุน เพราะเล็งเห็นความต้องการซอฟท์แวร์ที่ช่วยเสริมการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งช่องคอหลังโพรงจมูกให้สะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากมะเร็งจะฝังแทรกไปกับเนื้อเยื่อปกติทำให้ยากต่อการกำหนดขอบเขตที่ถูกต้อง จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์สำหรับมะเร็งช่องคอหลังโพรงจมูกเท่านั้น แต่จำวนแพทย์เฉพาะทางด้านนี้มีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี   
ซอฟท์แวร์ IM-AIM ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ร่วมกับทีมแพทย์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล โดยได้นำข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่รพ.รามาธิบดีมาเป็นฐานข้อมูลในการสร้างแบบจำลองเพื่อพัฒนาเป็นซอฟท์แวร์ที่มีความสามารถในการระบุเนื้อเยื่อมะเร็งช่องคอหลังโพรงจมูกบนภาพทางการแพทย์ได้อัตโนมัติรวมถึงพยากรณ์การกลับมาเป็นซ้ำอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ปัจจุบันได้มีการติดตั้งซอฟท์แวร์ IM-AIM ให้กับอาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา รพ.รามาธิบดี เพื่อให้ใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษารังสีแพทย์ และใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ด้วย

MU Cancer Care
นางปัณรสี ฤทธิประวัติ
เบอร์โทรศัพท์ 089-1386283
E-mail : panrasee.rit@mahidol.ac.th
นางวรพรรณ เรืองผกา
เบอร์โทรศัพท์ 085-4915465
E-mail : voraphan.rau@mahidol.ac.th