MSN on September 16, 2012, 08:18:19 AM
KTAM ขาย3กองทุนตราสารหนี้ชู2ปี4%
                                       
        นายสมชัย  บุญนำศิริ  กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  ในสัปดาห์นี้บริษัทเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าได้ลงทุนในกองทุนประเภทตราสารหนี้  ทั้งสิ้น 3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนที่มีอายุ 3 เดือน  , 6 เดือน  และ 2 ปี   มูลค่าโครงการรวม 13,000  ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้  กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 26 (KTFF26 ) เสนอขาย 10 -18  กันยายน 2555   มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท   เน้นลงทุนในเงินฝากประจำ  Bank  of   China   ในสัดส่วน 24%   บัตรเงินฝาก CorpBanca   20 % , MTN ของ  Banco  Bradesco  BBA  22%  ,  LPN  ของ VTB   Capital   SA   24% ,  LPN ของ Gaz  Capital   SA 5%  และ LPN  ของ RSHB Capital SA 5 %  ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน   โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 4.00% ต่อปี   โดยรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติทุก 6 เดือน

          โดยตราสารที่บริษัทเลือกลงทุน  เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศต่างๆ และมีเครดิต เรตติ้งตั้งแต่ BBB ถึง  A+  เช่น   Bank  of  China    เป็นธนาคารภาครัฐถือหุ้นใหญ่โดยหน่วยงานเพื่อการลงทุนของรัฐบาลจีน   มีบทบาทในการสนองนโยบายของภาครัฐ   ,  CorpBanca   ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นอันดับ5 ในประเทศชิลี  ดำเนินธุรกิจการเงินครบวงจร มีขนาดสินทรัพย์รวมประมาณ USD1.84 หมื่นล้าน ,  Banco    Bradesco  BBA    เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับ3 ในบราซิล ดำเนินธุรกิจครบวงจร มีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 4.06 แสนล้านเหรียญสหรัฐ   , VTB Capital  S.A.  เป็นผู้ออกตราสาร  Loan  Participation   Note (LPN )  ซึ่ง VTB  Capital  SA  จดทะเบียนที่ประเทศ  Luxembourg เป็นผู้ออกตราสารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ในการระดมเงินทุนจากการออกหุ้นกู้เพื่อให้กู้ยืมต่อ VTB   Bank   ภายใต้สัญญากู้ยืม   โดย VTB  Bank  เป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับ2 ของรัสเซีย ,    Gaz  Capital   SA  เป็น LPN    ซึ่ง Gaz   Capital SA   เป็นผู้ออกตราสารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการระดมเงินทุนจากการออกหุ้นกู้เพื่อให้กู้ยืมต่อ  Gazprom OAO  ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืม  ทั้งนี้   Gazprom   เป็นหนึ่งในธุรกิจพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของโลกและ RSHB Capital  SA เป็น LPN  ซึ่ง  RSHB เป็นผู้ออกตราสารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการระดมเงินทุนจากการออกหุ้นกู้เพื่อให้กู้ยืมต่อ  Russian   Agricultural  Bank    ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืม   ทั้งนี้ Russian   Agricultural  Bank     เป็นธนาคารรัฐที่มีสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศรัสเซีย

              นอกจากนี้  บริษัทยังจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ท  อินเวส 3 เดือน 3  ( KTSIV3M3 )  ในวันที่ 10 -14  กันยายน 2555   อายุ 3 เดือน  เป็นกองทุนประเภท Roll  Over   มูลค่าโครงการ 3,000  ล้านบาท เน้นลงทุนในเงินฝากธนาคารออมสิน   ธนาคารธนชาต  และตั๋วแลกเงินของภาคเอกชน    โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 2.85% ต่อปี    และกองทุนเปิดกรุงไทยธนทรัพย์ บี 51 ( KTSUPB51 )    เสนอขายในวันที่  12-18 กันยายน 2555  อายุ 6 เดือน  มูลค่าโครงการ  5,000 ล้านบาท    เน้นลงทุนในเงินฝากประจำ  Bank  of   China   ,  เงินฝากประจำ  Abu  Dhabi Commercial Bank  , MTN ออกโดย Itau  Unibanco SA และตราสารในประเทศ ประเภทเงินฝาก ตราสารการเงินระยะสั้นธนาคารพาณิชย์   ผลตอบแทนประมาณ 3.10% ต่อปี

               สำหรับภาวะการลงทุนตลาดตราสารหนี้ในประเทศ    อัตราผลตอบแทนพันธบัตรภาครัฐ อายุไม่เกิน 5 ปี ค่อนข้างทรงตัว  ขณะที่ตราสารรุ่นอายุมากกว่า 5 ปี  ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-8 bp   เนื่องจากการประกาศแผนการออกพันธบัตรของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2556 ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.00% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของบริษัท ที่ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงระดับนี้ไปถึงสิ้นปี   และก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม ปรับเพิ่มขึ้น 2.69% YoY ทำให้ค่าเฉลี่ยใน 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้น 2.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  มีส่วนทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2555 น่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 3.00%  ทิศทางดังกล่าวจึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะแกว่งตัวในกรอบจำกัด แม้จะมีแรงขายทำกำไรบ้างในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ  อัตราผลตอบแทนระยะสั้นถึงกลางมีการปรับลดลงบ้างจากผลการประชุมของ ECB ที่มีแผนจะซื้อพันธบัตรของประเทศในกลุ่มยูโรที่มีปัญหา เช่น สเปน และอิตาลี ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยังแสดงสัญญาณการฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าที่ฝ่ายนโยบายคาดหวัง จึงทำให้ตลาดมีความเชื่อว่าจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดการเงินค่อนข้างตอบรับต่อแนวทางดำเนินการของ ECB และสหรัฐฯ  จึงทำให้มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และสินทรัพย์ในสกุลเงินยูโร และตลาดเกิดใหม่ต่างๆ ทั่วโลก