องค์การอนามัยโลกระบุว่าทุกๆ 8 วินาที มีคนต้องเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ผลการวิจัยได้นำเสนอข้อมูลว่า คนที่เริ่มสูบบุหรี่ในช่วงวัยรุ่น ( ซึ่งมีมากกว่า 70 % ) และสูบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ทศวรรษ หรือนานกว่า จะมีอายุสั้นกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 20 – 25 ปี ผลจากการสูบบุหรี่ไม่ใช่เพียงแค่มะเร็งปอดหรือโรคหัวใจที่นำไปสู่ปัญหา สุขภาพที่ร้ายแรงและเสียชีวิต
ผลข้างเคียงจากการสูบบุหรี่ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า
ผมร่วง
การสูบบุหรี่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายไวต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น Lupus erythematosus ซึ่งทำให้ผมร่วง ผื่นขึ้นใบหน้า หนังศีรษะและมือ
ต้อกระจก
เชื่อกันว่าการสูบบุหรี่ทำให้สุขภาพดวงตาเสื่อมลงคนที่สูบบุหรี่มีอัตราการเกิด ต้อกระจกสูงกว่าคนปกติถึง 40 % โดยต้อกระจกจะทำให้เลนส์ดวงตามัว ขวางลำแสงและอาจทำให้ตาบอดได้
ฟันผุ
สูบบุหรี่มีผลรบกวนต่อสภาพทั่วไปในช่องปาก ทำให้เกิดคราบฟันเหลืองและฟันผุได้ คนที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสสูญเสียฟันได้มากกว่าคนปกติ 1 เท่าครึ่ง
กระดูกพรุน
คาร์บอนมอนนอกไซด์เป็นก๊าซพิษหลักที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์และควันบุหรี่จะไป จับกับเม็ดเลือดได้ดีกว่าออกซิเจน ภายในร่างกายของคนที่สูบบุหรี่ ทำให้ออกซิเจนในเม็ดเลือดลดลงถึง 15 % ผลที่ตามมาคือ กระดูกของคนที่สูบบุหรี่จะสูญเสียความหนาแน่น หักง่าย ใช้เวลาในการรักษายาวนานกว่าเดิม 80 % นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่จะมีปัญหาปวดหลังมากกว่าคนปกติ 5 เท่า
ถุงลมโป่งพอง
นอกจากมะเร็งปอดแล้ว การสูบบุหรี่ ยังทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ( Emplysema ) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดถุงลมบวมและแตก ส่งผลให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ตามปกติ ในผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงมากจะต้องทำการเจาะคอช่วยในการหายใจ เป็นการเปิดช่องอากาศผ่านเข้าไปในปอด
นิ้วเหลือง
ส่วนประกอบของสารทาร์ ( Tar ) ในบุหรี่ จะคั่งค้างตามนิ้วมือและเล็บ ทำให้นิ้วมือเป็นสีเหลืองน้ำตาล
เชื้ออสุจิผิดปกติ
การสูบบุหรี่ทำให้เชื้ออสุจิผิดปกติ และทำลายพันธุกรรม ( DNA) ของเชื้ออสุจิ จึงทำให้เกิดการแท้งได้หรือเด็กเกิดมาผิดปกติ การสูบบุหรี่ยังลดปริมาณอสุจิและทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่องคชาตได้ น้อยลง จึงทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และยังพบว่าผู้ชายที่เป็นหมันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สูบบุหรี่
โรคสะเก็ดเงิน
คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินได้มากกว่าคนปกติ 2 - 3 เท่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อที่มีการอักเสบของผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง พุพอง ทั่วร่างกาย
โรคการอักเสบของผิวหนังชนิด Buerger
โรคการอักเสบของผิวหนังชนิด Buerger หรือโรค thromboangitis obliterans เป็นการอักเสบของเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และเส้นประสาทที่ขา และจำกัดเลือดที่ไปเลี้ยงขา ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เนื้อตาย (Gangrene) จนต้องตัดขาบริเวณที่เนื้อตาย
ผิวหนังเหี่ยวย่น
การสูบบุหรี่ทำให้ผิวหนังดูแก่ก่อนวัย เนื่องจากไปมีผลกับโปรตีนที่ให้ความยืดหยุ่นต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังขาดวิตามินเอ และไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนัง สภาพผิวของคนที่สูบบุหรี่จึงแห้งหยาบและมีริ้วรอย เส้นเล็กๆ โดยเฉพาะรอบริมฝีปากและดวงตา
มะเร็งผิวหนัง
การสูบบุหรี่ไม่ทำให้เกิด melanoma (มะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ) แต่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะตายจาก melanoma คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังชนิด cutaneus squamous cell cancer มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้ผิวหนังเป็นขุยลอก เป็นผื่นแดง
การสูญเสียการได้ยิน
คนทีสูบบุหรี่จะสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนปกติเนื่องจากบุหรี่ไปทำให้เกิดคราบ ( plaque ) บนผนังเส้นเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปสู่หูชั้นในได้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบปัญหาการติดเชื้อของหูชั้นกลางในคนที่สูบบุหรี่มากกว่าคนปกติ ถึง 3 เท่า
โรคหัวใจ
สถิติโรคพบว่า 1 ใน 3 ของการตายมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีคนตายด้วย โรคหัวใจมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ที่ตายด้วยโรคหัวใจจากการสูบบุหรี่มากกว่า 6 แสนคน การสูบบุหรี่มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดอุดตันจนเกิดเป็นโรค หัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและอัมพาต
แผลในกระเพาะอาหาร
การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายมีความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่สามารถปรับสภาพน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดให้กลายสภาพ เป็นกลางได้ภายหลังการรับประทานอาหาร ทำให้มีการกัดกร่อนของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำการรักษาได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่า
มะเร็งมดลูกและการแท้งลูก
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งมดลูก อีกทั้งยังให้เกิดการมีบุตรยากและเกิดภาวะแทรกซ้อนเวลาตั้งครรภ์และคลอดบุตร แม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เด็กที่เกิดใหม่มีน้ำหนักตัวน้อย กว่าปกติและยังมีการพบว่าคนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะแท้งลูกและทำให้เด็ก เสียชีวิตระหว่างคลอดมากกว่าคนที่ไม่สูบ 2 – 3 เท่า เนื่องจากทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน การสูบบุหรี่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของทารกเฉียบพลัน ( Sudden Infant Death Syndrome : SIDS ) ที่ทำให้ทารกเสียชีวิตทันที นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังไปมีผลลดระดับเอสโตรเจนทำให้การหมดประจำเดือนเกิด ขึ้นกว่าปกติ
มะเร็ง
พบว่าส่วนประกอบมากกว่า 40 ชนิดในควันบุหรี่ ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนไม่สูบ 22 เท่า และจากผลการวิจัยพบว่ายิ่งสูบบุหรี่มานานเท่าใด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งระบบอื่นๆ รวมทั้ง มะเร็งจมูก (มากกว่า 2 เท่า) ลิ้น ปาก ต่อมน้ำลาย คอหอย (6 – 7 เท่า) คอ (12 เท่า) หลอดอาหาร (8 – 10 เท่า) กล่องเสียง (10 – 18 เท่า) กระเพาะอาหาร (2 – 3 เท่า) ไต (5 เท่า) กระเพาะปัสสาวะ 3 เท่า ทวารหนัก (5 -6 เท่า) และมีบางการศึกษาที่รายงานพบว่าการสูบบุหรี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด มะเร็งเต้านม