1. ผักผลไม้ที่ลงท้ายด้วยคำว่า "-เบอร์รี" เช่น สตรอว์เบอร์รี ลูกหม่อน (มัลเบอร์รี) ที่ใช้ใบเลี้ยงไหม ผักผลไม้ทั้งผลที่ไม่หวานจัด เช่น ส้ม ส้มโอ ชมพู่ ฝรั่ง มะเขือเทศ ฯลฯ
2. ขนมปังข้าวไรย์หรือธัญพืชไม่ขัดสีข้าวกล้อง ถั่วเหลือง
3. อะโวคาโด หรือไขมันพืชชนิดดี น้ำมันมะกอก เมล็ดพืชเปลือกแข็งกะเทาะเปลือกถั่วลิสงหรือเนย-ครีมที่ทำจากพืชเหล่านี้ เช่น เนยถั่วลิสง น้ำมันพืชชนิดดีจะให้ผลดีเมื่อกินแต่น้อย หรือใช้แทนน้ำมันชนิดอื่น (ลดน้ำมันชนิดอื่นให้น้อยลง ไม่ใช่กินอย่างอื่นเท่าเดิม แล้วเสริมเพิ่มเข้าไป)
4. แซลมอน หรือปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอดมีน้ำมันชนิดดีพิเศษหรือโอเมกา-3ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ลดการอักเสบซึ่งทำให้คราบไขที่ผนังหลอดเลือดหนาตัวเร็วขึ้น-หลอดเลือดตีบตันเร็วขึ้น การทอดซึ่งมีระดับความร้อนสูงกว่านึ่ง ต้ม แกง ผัด ทำให้โอเมกา-3ซึมออกจากเนื้อปลา และน้ำมันที่ใช้ทอดซึมเข้าเนื้อปลาแทน ทำให้ปลาทะเลซึ่งน่าจะเป็นอาหารที่มีแคลอรีไม่สูง กลายเป็นอาหารที่มีแคลอรีสูง คล้ายกับการกินปลาผสมน้ำมันที่ใช้ทอด ส่วนปลาน้ำจืดมีโอเมกา-3น้อยกว่าปลาทะเล อาจต้องกินบ่อยครั้งขึ้น เพื่อให้ได้คุณค่าใกล้เคียงกัน
5. เมล็ดเปลือกแข็งกะเทาะเปลือก หรือ นัท (nuts) เช่น อัลมอนด์ วอลนัท ฯลฯ กินเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ 20-60%แถมยังเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชชนิดดีด้วย เหมาะเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติหรือกินเจ (ถ้าจะกินนัทให้ได้ผลดีจริงๆ แนะนำให้กิน 1กำมือประมาณ 8เมล็ดอัลมอนด์ หรือแช่เมล็ดอัลมอนด์ดิบ 4ชั่วโมงแล้วหุงพร้อมข้าว จะทำให้คุณค่าทางอาหารของข้าวสูงขึ้น ถ้าบดหรือทุบก่อนผสมข้าวจะทำให้ข้าวหอมขึ้น
เมล็ดพืชบ้านเราที่ไม่ใช่นัท ทว่า...มีโปรตีนสูงและมีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูงคล้ายนัท คือ ถั่วลิสง โดยทิ้งเมล็ดที่ลอยน้ำทันทีที่แช่ 4-10ชั่วโมง เช่น แช่ค้างคืน แล้วหุงรวมไปกับข้าวได้ (ข้าวกล้องก็แช่ค้างคืนได้ ข้าวบางส่วนจะงอก ทำให้มีวิตามิน สารอาหารเพิ่มขึ้นและนุ่มขึ้น)
6. ช็อกโกแลตสีเข้ม (dark chocolate) หรือ โกโก้ ช็อกโกแลตขนาดต่ำๆ ประมาณ 1ชิ้นเท่าเล็บหัวแม่มือ ดีกับสุขภาพหัวใจ