happy on April 01, 2012, 08:12:10 PM
วธ. จับมือ มูลนิธิศิลปินแห่งชาติ และ ไทยพีบีเอส
สร้างสรรค์สารคดี “สยามศิลปิน” เชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูจากอดีตถึงปัจจุบัน


               ศูนย์วัฒนธรรมฯ ๒๑ มี.ค. /นางสุกุมล  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดทำสารคดี“สยามศิลปิน”โดยความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มูลนิธิศิลปินแห่งชาติ และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินคนสำคัญของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  โดยเผยแพร่เรื่องราวอัตชีวประวัติและผลงานอันโดดเด่น ที่สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยด้วยผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ที่มีคุณค่าจากภูมิปัญญาและอัจฉริยภาพของศิลปินผู้มีชื่อเสียง  ซึ่งจะเป็นสื่อที่สำคัญในการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานหรือการทำงานด้วยความมุ่งมั่น และประณีตพิถีพิถัน จากแนวทางการทำงาน การดำเนินชีวิต และการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ของศิลปินแต่ละท่านที่นับเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมทั้งเป็นสื่อในการกระตุ้นให้ตระหนักถึงคุณค่าของงานศิลปะแขนงต่างๆ ของไทยและร่วมช่วยกันอนุรักษ์สืบสานต่อไป


               “สยามศิลปิน” จะถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับศิลปินไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแขนงต่างๆ ทั้งด้านวรรณกรรมและกวีนิพนธ์ อาทิ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ , พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ , พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช, “เสนีย์  เสาวพงศ์” (นายศักดิชัย  บำรุงพงศ์)  ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ประกิต (จิตร) บัวบุศย์, นายกมล ทัศนาญชลี  ด้านประติมากรรม ได้แก่ ศาตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ  ด้านสถาปัตยกรรม อาทิ  นายประดิษฐ์  ยุวพุกกะ, พลอากาศตรี อาวุธ  เงินชูกลิ่น  ด้านคีตศิลป์ เช่น นางสุดจิตต์ ดุริยประณีต, นายเอื้อ สุนทรสนาน, นายสุรพล โทณะวณิก, นางผ่องศรี วรนุช  ด้านนาฏศิลป์ ได้แก่ นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ), อาจารย์ ส่องชาติ  ชื่นศิริ  ด้านศิลปะการแสดง เช่น นางประยูร ยมเยี่ยม “ลำตัดแม่ประยูร”, นายทองมาก จันทะลือ (หมอลำ) ฯลฯ จัดทำเป็นรายการสารคดีทางโทรทัศน์ โดยจะผลิตเพื่อเผยแพร่ในปีนี้รวม ๒๔ ตอน ความยาวตอนละ ๕๐ นาที  ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๒๒.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. เริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

               “เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการส่งเสริมคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย งานศิลปะแต่ละแขนงที่มีความงดงามแตกต่างกันไป และศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าแต่ละชิ้นก็สร้างความภาคภูมิใจมาตราบจนทุกวันนี้ อีกทั้งกระทรวงวัฒนธรรมมีนโยบายเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล คือ การเร่งนำศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ร่วมเทิดทูนสถาบันหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สร้างประเทศเป็นอยู่สบาย รวมถึงการสืบสาน สร้างสรรค์ งานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรม ให้เกิดความเข้มแข็ง ต่อสถาบันครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น โครงการสารคดีชีวประวัติศิลปินไทย “สยามศิลปิน” จึงเป็นหนึ่งในโครงการต่อเนื่องเพื่อเชิดชูเกียรติคุณพระมหากษัตริย์ไทยและศิลปินไทยที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อส่งเสริมความรู้และค่านิยมไทยสำหรับเด็กและเยาวชนไทย” นางสุกุมล กล่าว













« Last Edit: April 02, 2012, 04:21:14 PM by happy »

happy on April 01, 2012, 08:14:06 PM












         
               ด้านนางปริศนา  พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า “กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ริเริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ด้วยแนวคิดในการผลิตสื่อคุณภาพที่จะจุดประกายให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และเข้าถึงศิลปะหลากหลายสาขา รวมถึงการร่วมช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานงานศิลปะที่มีคุณค่าของไทยด้วยความภาคภูมิใจ   ซึ่งสารคดีชุด “สยามศิลปิน” เป็นสื่อที่ตอบสนองแนวคิดดังกล่าว โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้สนับสนุนงบประมาณซึ่งเป็นเงิน ดอกผลกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ให้กับ มูลนิธิศิลปิน แห่งชาติสำหรับดำเนินงานโครงการ  สารคดีชีวประวัติศิลปินไทย “สยามศิลปิน ปีที่ ๓” เพื่อเชิดชูเกียรติคุณพระมหากษัตริย์ไทยและศิลปินไทยที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และชีวประวัติศิลปินไทยผ่านช่องทางสื่อสาธารณะเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สื่อ เป็นทางเลือกให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจใฝ่รู้ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งก่อให้เกิดค่านิยมและสร้างความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ และความเป็นไทย”

               อาจารย์ วนิดา พึ่งสุนทร รองประธานมูลนิธิศิลปินแห่งชาติกล่าวถึงการดำเนินโครงการผลิตสารคดีโทรทัศน์ “สยามศิลปิน” ว่า “ในปีนี้เป็นการนำเสนอสารคดีในแบบ Emotional ผสาน Drama คือมีการสร้างสรรค์การเล่าเรื่องราวให้ขับเน้นในด้านอารมณ์ร่วมของผู้ชม ทั้งยามสุข ยามเศร้า และยามที่ก้าวสู่ความสำเร็จของศิลปินท่านนั้น
             การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินเรื่อง เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อน  บุคคลแวดล้อม หรือบุคคลในแวดวงเดียวกัน  เพื่อนำมาใช้ในการเล่าเรื่องราวให้มากที่สุด ผู้ชมจะร้อยเรียงความเข้าใจได้โดยชมจากการสัมภาษณ์ แตกต่างจากสารคดีทั่วไปที่เล่าเรื่องด้วยเสียงบรรยายเป็นหลักเพิ่มความน่าสนใจในการรับชม
             มีการถ่ายทำเหตุการณ์จำลอง เสริมให้การเล่าเรื่องมีชีวิตชีวามากขึ้น และชัดเจนขึ้น โดยยึดถือตามความจริง ปราศจากการบิดเบือนให้ขาดความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้พิจารณาตามความเหมาะสมกับเรื่องราวของศิลปินแต่ละท่าน โดยในปีนี้จะจัดทำรวมทั้งสิ้น ๒๔ ตอน แบ่งเป็น ๒ ชุด  ชุดที่ ๑ มีจำนวน ๑๓ ตอน และชุดที่ ๒ อีก ๑๑ ตอน”


              
« Last Edit: April 02, 2012, 04:24:03 PM by happy »