pooklook on July 08, 2009, 09:58:44 AM
 เปิดพื้นที่เสี่ยง'จี้-ข่มขืน'รอบกทม.! ตำรวจชี้ศก.ทรุดปล้นชิงทรัพย์อื้อ - สั่งเสริมกำลัง

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์

 เปิดพื้นที่เสี่ยงอันตรายรอบ กทม. ระบุ 'สวนหลวง-คลองเตย'นำโด่งจุดเปลี่ยวอื้อขณะเดียวกันหากเกรงไม่ปลอดภัย เรียนใช้บริการ สายด่วน 155 ให้เทศกิจเดินเป็นเพื่อนเข้าซอยอันตรายต่างๆได้ ขณะที่ บชน.เผยเศรษฐกิจทรุด ปล้นชิงทรัพย์เพิ่มอื้อ สั่งจัดทัพหน่วยจู่โจมปฏิบัติการพิเศษเสริมกำลัง สน.ต่างๆ วอนประชาชนดูแลตัวเองให้มาก
     
     ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนี้ ส่งผลให้ เกิดวิกฤตการเลิกจ้างงานและยังนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมตามมา โดยเฉพาะพื้นที่ในกทม. มีข้อมูลระบุชัดเจนถึงพื้นที่เสี่ยงภัยที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาพึ่งต้องระวัง เพราะพื้นที่เหล่านี้มีตัวเลขการก่ออาชญากรรมสูงขึ้น ทั้งกรณีการดัก จี้ ฆ่า และข่มขืน !
     
     แหล่งข่าวในสำนักเทศกิจ เปิดเผยว่า จุดเสี่ยงต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครนั้น จากการประมวลข้อมูลรายงานของปี 2551 พบว่า จุดเสี่ยงในกรุงเทพมหานครนั้น มีทั้งหมด 852 จุดอันตรายรอบกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นสะพานลอยคนข้าม 272 แห่ง ซอยเปลี่ยว 186 แห่ง อาคารร้าง 65 แห่ง และอื่นๆ อีก 329 จุดเสี่ยง ซึ่งจุดเสี่ยงอันตรายทั้งหมดนี้ มีทั้งจุดที่ไม่มีแสงไฟที่สว่างเพียงพอ มีทั้งจุดที่เป็นสะพานลอย ซอยเปลี่ยว อาคารร้างต่างๆ และจุดอันตรายอื่นๆ
     
     อย่างไรก็ดี 'ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์' จะขอนำเสนอเพียง 10 เขตที่มีจุดเสี่ยงอันตรายมากทีสุดในกทม.
     
     10 เขตจุดเสี่ยงอันตราย
     มากสุดในกทม.
     
     สำหรับเขตพื้นที่ที่มีรายงานว่าพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย
     
     1.เขตสวนหลวง มีรายงานพื้นที่เสี่ยงภัย 75 แห่ง เป็นสะพานลอยคนข้าม 11 แห่งซอยเปลี่ยว 2 แห่ง อาคารร้าง 2 แห่งและจุดทั่วไปอื่นๆอีก 60 แห่ง
     
     โดยสะพานลอยคนเดินข้ามที่เป็นจุดเสี่ยงภัยได้แก่ สะพานลอยคนเดินข้ามบริเวณหน้าวัดใต้ ซอยอ่อนนุช 7,หน้าวัดปากบ่อ ซอยอ่อนนุช 35,คลองตาสาด ถนนศรีนครินทร์,ตลาดเอี่ยมสมบัติ ถนนศรีนครินทร์,ปากซอยพัฒนาการ 20,ปากซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์,ใกล้ธนาคารกรุงเทพ ถนนศรีนครินทร์,หน้าปั้มเอสโซ่ ซอยพัฒนาการ,หน้าโรงพยาบาลสมิติเวช,พระรามเก้า 60-62,หน้าโรงพยาบาลแพทย์ปัญญา ซอยรามคำแหง 4
     
     ซอยเปลี่ยวหรือที่รกร้างที่เปลี่ยวนั้น มี 2 จุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ที่รกร้างหน้าหมู่บ้านจัดสรรเพรสซิเด้นท์ปาร์ค ซอยพัฒนาการ 32 และที่รกร้างว่างเปล่ารอบๆ โรงพยาบาลสมิติเวช ถนนพระรามเก้า 59
     
     อาคารร้าง 2 จุดได้แก่ อาคารร้าง 5 ชั้น ถนนพระรามเก้าขาออกก่อนถึงแยกพรีเมียร์ (ติดคลองลาว) ถนนพระรามเก้า และอาคารสูบน้ำและแท้งน้ำก่อนถึงพระรามเก้าซอย 53 ถนนพระรามเก้าขาออก
     
     ส่วนจุดเสี่ยงอื่นๆ นั้น จะอยู่ที่สวนหย่อมยุนิลิเวอร์ ถนนศรีนครินทร์ โรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนวัดใต้,โรงเรียนวัดทองใน,โรงเรียนวัดปากบ่อ,โรงเรียนสุเหร่าใหม่,โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์,โรงเรียนคลองกลันตัน,โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ,โรงเรียนหัวหมาก,มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต,ป้ายรถเมล์หน้าตลาดเอี่ยมสมบัติ,ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยถนนรามคำแหง,ห้างจัสโก้ สาขาพัฒนาการ และสถานีรถไฟหัวหมาก
     
     นอกจากนี้เป็นชุมชนต่างๆอีก 45 ชุมชน เช่น ชุมชนวัดใต้,ชุมชนโรงหวาย,ชุมชนพร้อมใจ,ชุมชนข้างธนาคารกสิกรไทย ถนนอ่อนนุช 8,ชุมชนประสาทศิล,ชุมชนสวนหลวงก้าวหน้า,ชุมชนหมู่บ้านฮอลลีวู๊ด,ชุมชนหมู่บ้านเกษมสันต์1-2,ชุมชนคลองเจ็ดขนัด,ชุมชนวัดทองเจ้าพัฒนา,ชุมชนอัลกุ๊บรอ ฯลฯ
     
     2.เขตคลองเตย มีจุดเสี่ยงภัย 42 จุด เป็นสะพานลอย 29 สะพาน ซอยเปลี่ยว 11 แห่ง อาคารร้าง 2 แห่ง อาทิ สะพานลอยคนข้ามปากซอยสุขุมวิท 2, 6, 12, 18,หน้าอาคารเลขรัชดา,หน้าสวนเบญจกิตติ,หน้าสวนหย่อมคลองเตย,หน้าตลาดคลองเตย 1-2,หน้าโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์,หน้าโชว์รูม บี เอ็ม ดับบลิว ถนนพระราม 4,หน้าห้างเทสโก้โลตัสสาขาพระราม 4,หน้ากรมศุลกากร,สี่แยกถนนพระราม 4ตัดถนนรัชดา,หน้าการไฟฟ้านครหลวงสาขาคลองเตย,ห้าแยก ณ ระนอง
     
     ส่วนซอยเปลี่ยวและที่เปลี่ยวได้แก่ บริเวณใต้สะพานพระราม 3,ใต้ทางด่วนอาจณรงค์,ลานกีฬาหิมะทองคำ,ใต้สะพานพระโขนง,ปากซอยสุขุมวิท 6,ที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณถนนสุขุมวิทด้านติดกับถนนรัชดาภิเษก,ทางเข้าซอยเหลือสุข สุขุมวิท 50,กลางซอยสุขุมวิท 50,ซอยสุขุมวิท 48,ริมคลองพระโขนง ท้ายซอยภูมิจิตร,หน้าตึกเอส เอส พี ถ.ณ ระนอง
     
     ขณะที่ อาคารร้างมี 2 จุดคือในซอยสุขุมวิท 40 และอาคารร้างใกล้กับอาคารซีทราน ถ.พระราม 3
     
     3.เขตจอมทอง มีพื้นที่เสี่ยงภัย 41 จุด เป็นสะพานลอยคนข้าม12 แห่ง ซอยเปลี่ยว 2 แห่งอาคารร้าง 1 แห่ง และอื่นๆ 26 จุดเสี่ยง ได้แก่ สะพานลอยคนเดินข้ามที่เข้าข่ายจุดเสี่ยง ได้แก่ สะพานลอยหน้าศูนย์การค้าบางปะแก้ว ,บริเวณใต้ทางด่วน ,ปากทางเข้าถนนพุทธบูชา, ถนนพระรามที่ 2,หน้าวัดโพธิ์แก้ว ,ปากซอยเข้าวัดสีสุก,ปากซอยสุขสวัสดิ์ 2,ปากซอยวัดนาคนิมิต (สุขสวัสดิ์ 6-8)
     
     ส่วนชุมชนเสี่ยงภัยในเขตจอมทองได้แก่ ชุมชนวัดบางขุนเทียนนอก, ชุมชนศาลาครืนรวมใจ, สุขศิริ, บริเวณหน้าโรงเรียนวัดยายร่ม,ชุมชนพัฒนาหมู่ 4 วัดโพธิ์ทอง,ชุมชนยายวัน ถนนรัตนกวี, รวมใจ ซอยวัดกก-ชัยกูล ,กลางซอยเอกชัย 35 ถนนเอกชัย ,กลางซอยเอกชัย 9 ถนนเอกชัย,ชุมชนคุ้งข้ามหลาม ซอยเอกชัย 37 ถนนเอกชัย ,ศูนย์บริการศูนย์สาธารณสุข 29 สาขาศาลาครืน ,สวนหย่อมท่าน้ำดาวคะนอง ถนนตากสิน, ชุมชนทองเจือ
     
     4.เขตบางบอน มีพื้นที่เสี่ยงภัยที่รายงาน 31 จุด เป็นสะพานลอยคนข้าม 14 แห่ง ซอยเปลี่ยว 8 ซอย อาคารร้าง 9 อาคาร ได้แก่ บริเวณสะพานลอยคนเดินข้าม ได้แก่ หน้าร.ร.ศึกษานารีวิทยา , หน้าวัดบางบอน,แยกม.พระปิ่น 5 , หน้าบริษัทวงศ์ไพบูลย์ ,ปากซอยเอกชัย 76 ,เอกชัย 83,เอกชัย 67 เอกชัย 46 ,ปากทางถ.พระยามนธาตุ ,หน้าปั๊มเอสโซ่ ถ.กาญจนา ,ใกล้ห้างแมคโคร ,หน้าปั๊มเจ็ท ถ.กาญจนาฯ
     
     ส่วนซอยที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ได้แก่ ปากซอยเอกชัย 51,56,66,70,76,78 และถนนบางขุนเทียน ,ถนนกาญจนาภิเษก (ใกล้สะพานลอยข้ามคลองบางบอน)
     
     5.เขตลาดพร้าว มีพื้นที่เสี่ยงภัย 31 จุด สะพานลอยคนข้าม 1 แห่ง ซอยเปลี่ยว 4 แห่ง และจุดเสี่ยงอื่นๆ 26 แห่ง ได้แก่ สำหรับบริเวณซอยเปลี่ยว ประกอบด้วย ซอยหมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ1 และ2 ,ที่ว่างหลังร.ร.สตรีวิทยา 2 (ฝั่งถนนประเสริฐมนูกิจ) ,จุดกลับรถใต้สะพานข้ามคลอง (แยกวังหิน)
     
     หมู่บ้านที่เข้าข่ายจุดเสี่ยง ได้แก่ หมู่บ้านพูนศิริ, ธันยกานต์,เพชรหทัย,ชุมชนสุขทรัพย์ ,หมู่บ้านสมิติโชติ ,อมรพันธ์ 9 ,จิรัฐติกร,หน้าตลาดสดเสนา ฯ ,หมู่บ้านร่วมใจพัฒนา แยก 6
     
     6.เขตบางนา มีพื้นที่เสี่ยงภัย 30 จุด เป็นสะพานลอยคนข้าม 17 แห่ง ซอยเปลี่ยว 3 แห่ง อาคารร้าง 5 แห่ง และอื่นๆ 5 แห่ง ได้แก่ สำหรับสะพานลอยที่เป็นจุดเสี่ยง ได้แก่ หน้าไบเทคบางนา ถนนบางนา-ตราด กม.1 , หน้าหมู่บ้านถาวรนิเวศน์ ถนนบางนา-ตราด กม.2 ,หน้าห้างเซ็นทรัลบางนา ถนนบางนา-ตราด กม.3,หน้าห้างอินเด็กซ์ ถนนบางนา-ตราด กม.4 หน้าอาคารเดอะเนชั่น ถนนบางนา-ตราด กม.4, รอบสี่แยกบางนา , หน้ากรมอุตุนิยมวิทยา ถนนสุขุมวิท
     
     อาคารร้าง ได้แก่ อาคารไทฟาร์กรุ๊ป ถนนบางนา-ตราด กม.2,อาคาร 8 ชั้น หลังถนนลาซาลตัดใหม่ , ตึกแถว 3 ชั้น 2 คูหา ถนนบางนา-ตราด กม.4, ตึกแถว 4 ชั้น 5 คูหา ,ปากซอยสุขุมวิท 70 และอาคาร 2 ชั้น 1หลัง ปากซอยนาวี ถนนสรรพาวุธ
     
     บริเวณอื่นๆที่เข้าข่ายจุดเสี่ยงได้แก่ ศูนย์เยาวชนบางนา ถนนสรรพาวุธ ,สานกีฬารุ่งแสง ถนนลาซาล ,ลานกีฬาเคหะชุมชนบางนา ถนนบางนา-ตราด กม.4, ลานกีฬาหมู่บ้านไพโรจน์ ถนนบางนา-ตราด กม.4 ,ข้างศูนย์พัฒนาธุรกิจชุมชนบางนา หมู่บ้านศรีพงษ์ ซอย บางนา-ตราด 30
     
     7.เขตทุ่งครุ มีพื้นที่เสี่ยงภัย 29 จุดเสี่ยงภัย เป็นสะพานลอย 10 แห่ง ซอยเปลี่ยว 2 แห่ง อาคารร้าง 2 แห่ง และอื่นๆ 15 แห่ง ได้แก่คนเดินข้ามที่เสี่ยงภัยได้แก่ ปากซอยพุทธบูชา 42 , หน้าห้างสรรพสินค้าท้อปส์ ,หน้าร.ร.ราษฎร์บูรณะ ,หน้าสน.ทุ่งครุ, หน้าร.ร.นาหลวง,หน้าตลาดใหม่ 61 ,หน้าอิสลามวิทยาลัยฯ ,หน้าซอยประชาอุทิศ 70
     
     อาคารร้าง 2 แห่งได้แก่ ซอยประชาอุทิศ 72 และถนนเลียบทางด่วน ตัดซอยประชาอุทิศ 76 ส่วนบริเวณอื่นๆได้แก หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ซอยประชาอุทิศ 91/2 และซอย 74/2 ,หมู่บ้านทิพย์นครสวนธนฯ ซอยประชาอุทิศ 76,หมู่บ้านลัลลี่วิลล์ ซอยประชาอุทิศ 72 ,หมู่บ้านฟ้ากรีนพาร์ค ถนนประชาอุทิศตอนปลาย ,ร.ร.ชูสินทองประดิษฐ์ ,ร.ร.นาหลวง,ร.ร.วัดพุทธบูชา ,ร.ร.สามัคคีบำรุง ,ร.ร.บางมด ตันเปาว์ วิทยาคาร,
     
     8.เขตภาษีเจริญ มีพื้นที่เสี่ยงภัย 29 จุด ได้แก่สะพานลอย 2 แห่ง ซอยเปลี่ยว 5 แห่ง อาคารร้าง 2 แห่ง และอื่นๆ 20 แห่ง ได้แก่ สะพานลอยถนนเพชรเกษม 13 แห่ง ตั้งแต่คลองบางกอกใหญ่ถึงคลองพระยาราชมนตรี และสะพานลอยบริเวณราชพฤกษ์ 3 แห่ง ตั้งแต่ถนนเพชรเกษมถึงบริเวณคลองบางเชือกหนัง
     
     มีซอยเปลี่ยว 5 แห่งได้แก่ ใต้สะพานกลับรถสะพานบางไผ่ ถนนเพชรเกษม,ใต้สะพานข้ามคลองบางจาก ถนนพุทธมณฑลสาย 1,ใต้สะพานข้ามคลองภาษีเจริญซอยเพชรเกษม 23,ศาลาท่าน้ำวัดคูหาสวรรค์,สามแยกทรัพย์สิน ถนนเทิดไท
     
     ขณะที่อาคารร้างที่เป็นจุดเปลี่ยวมี 2 อาคารคือ อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 8 คูหา หมู่บ้านริมน้ำที่สร้างไม่เสร็จ ซอยเพชรเกษม 48,อาคาร 2 ชั้น ก่อสร้างไม่เสร็จเลขที่ 60/2-60/5 ทางเข้าหมู่บ้านการ์ดเนียวิลล่า ถนนบางแวก นอกจากนี้มีหมู่บ้านอีก 20 แห่งที่เป็นจุดเปลี่ยว
     
     9.เขตคลองสาน 27 แห่ง ได้แก่สะพานลอย 14 แห่ง ซอยเปลี่ยว 9 แห่ง อาคารร้าง 2 แห่ง และอื่นๆ 2 แห่ง ได้แก่ สะพานลอยคนเดินข้ามปากซอยเจริญนคร 46,ปากซอยเจริญนคร 40,ปากซอยเจริญนคร 39,หน้าวัดเศวตฉัตร,หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ถนนเจริญนคร,ปากซอยเจริญนคร 18,หน้าอาคารโทรปาส ถนนกรุงธนบุรี,สะพานลอยใกล้ปั้มแก๊สถนนกรุงธนบุรี,ใกล้อาคารไทยวิวัฒน์,หน้าวัดสุวรรณ,ท่าน้ำคลองสาน,ใกล้ปากซอยลาดหญ้า 18,กล้ปากซอยลาดหญ้า 8 และหน้าห้างโรบินสัน ถนนลาดหญ้า
     
     มีซอยหรือที่เปลี่ยวได้แก่ บริเวณท้ายซอยเจริญนคร 55,ในซอยเจริญนคร 23,ในซอยเจริญนคร 22,ซอยชุมชนศาล,กลางซอยกรุงธนบุรี5,อาคารร้างซอยเจริญนคร 5,ซอยลาดหญ้า 10 และซอยหลังโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และหลังอุทยานสมเด็กพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3
     
     ขณะที่อาคารร้างมี 2 จุดคือ บริเวณอาคารร้างใกล้ทางแยกขึ้นสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,บริเวณโค้งวงเวียนใหญ่
     
     ขณะที่จุดเสี่ยงภัยอื่นๆ ที่ต้องระวังได้แก่ บริเวณใต้สะพานพระปกเกล้า,และบริเวณหอนาฬิกาวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก
     
     10. เขตบางกอกใหญ่ 25 จุดเสี่ยงภัย ได้แก่สะพานลอย 14 แห่ง ซอยเปลี่ยว 6 แห่ง อื่นๆ 5 แห่ง ได้แก่ สะพานลอย บริเวณถนนรัชดาภิเษก,หน้าโรงเรียนวิบูลย์,ปากซอยจรัญฯ13,ปากซอยจรัญฯ 3,แยกโพธิ์สามต้น,ปากซอยอิสรภาพ 42,ปรกอรุณ 3 หน้าโรงเรียนเสสะเวช,ปากซอยเพชรเกษม 4,สะพานลอยเนาวจำเนียร,สะพานลอยเจริญพาศน์,สะพานลอยวัดเครือวัลย์,ใต้สะพานลอยเจริญพาศน์ และหน้าบ้านเลขที่ 606 ซ.จรัญ 12
     
     ส่วนซอยหรือที่เปลี่ยว 6 แห่ง ได้แก่ หมู่บ้านศิวาลัย ถ.อิสรภาพ,หมู่บ้านรวมพล ถ.รัชดาภิเษก,ใต้สะพานเนาวจำเนียร,ใต้สะพานบางไผ่,ใต้สะพานอนุทินสวัสดิ์และสุดซอยจรัญฯ 13
     
     นอกจากนี้มีจุดเปลี่ยวที่หน้าหอประชุมกองทัพเรือ,โรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน,โรงเรียนทวีธาภิเศก,โรงเรียนสายประสิทธิ์,และชุมชนต่างๆในพื้นที่อีก 34 ชุมชน
     
     แนะอย่าแต่งล่อแหลม
     
     อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จุดเสี่ยงทั้งหมดที่รายงานนั้น เป็นจุดเสี่ยงที่มีการรายงานมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งหลายจุดเป็นบริเวณที่ขาดแสงไฟฟ้า เป็นที่รกร้างว่างเปล่า และเป็นที่เปลี่ยว ซึ่งในส่วนของบริเวณที่ขาดแสงไฟ ได้มีการประสานงานเพื่อทำให้จุดเสี่ยงต่างๆ มีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และสำหรับที่ส่วนบุคคลได้แก่อาคารร้างต่างๆ ได้มีการประสานงานเจ้าของเพื่อให้ทำการล้อมสังกะสีให้มิดชิดแล้ว
     
     โดยหลายจุดก็ไม่ได้เกิดอาชญากรรมขึ้น เป็นเพียงจุดที่ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ และทางสำนักเทศกิจ ได้มีการตั้งตู้เขียวตามจุดเสี่ยงต่างๆ ในทุกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่สำนักเทศกิจจะคอยไปตรวจตราทุกวัน เหมือนกับตู้แดงของทางตำรวจ ซึ่งเมื่อรวมกับการติดตั้งกล้อง CCTV ตามถนนต่างๆ ก็พบว่าได้ผลดีมาก สามารถลดอาชญากรรมลงได้ แต่ขณะนี้ยังตั้งไม่ครบทุกจุด
     
     ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมาก และมีสิทธิเกิดอาญชากรรมได้ทุกเมื่อ ประชาชนทุกคนควรจะต้องระวังตัวมากเป็นพิเศษ อย่าเดินไปตามจุดเปลี่ยวต่างๆ อย่าแต่งตัวล่อแหลม และหากจำเป็นต้องกลับบ้านดึก ควรโทรเรียกคนในบ้านออกมารับ หากไม่มีสามารถโทรไปที่สายด่วนเทศกิจ 155 ซึ่งจะมีการประสานงานให้เจ้าหน้าที่เทศกิจเดินไปส่งในซอยบ้านเป็นเพื่อนหากรู้สึกไม่มั่นใจ โดยสามารถโทรได้ 24 ชั่วโมง
     
     บชน.จัดทัพเสริมสน.
     รับปล้นชิงทรัพย์อื้อ
     
     ด้านการดูแลประชาชนในส่วนของตำรวจ แหล่งข่าวจาก กองบัญชาการตำรวจนครบาล หรือ บชน. เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้เกิดคดีปล้น ลักทรัพย์ มากในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการก่ออาชญากรรม เช่น ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซอยทะลุได้หลายซอย (หนีง่าย) ฯลฯ
     
     ทั้งนี้ตามนโยบายแล้ว สถานีตำรวจต่างๆจะมีการวิเคราะห์เหตุการณ์เบื้องต้น เพื่อให้รู้ว่าซอยไหนเปลี่ยว และช่วงเวลาใดที่มักเกิดเหตุ หลังจากนั้นจะมีการจัดสายตรวจเพิ่ม มีการตั้งตู้แดง และมีการปิดป้ายรณรงค์ให้ประชาชนระวังเหตุร้ายต่างๆ รวมทั้งได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติจู่โจมพิเศษของทุกกองบัญชาการ เพื่อช่วยเสริมกำลังของตำรวจตามสถานีตำรวจต่างๆ ด้วย เพราะอาชญากรรมโดยเฉพาะการปล้นชิงทรัพย์มีมากขึ้นมาก
     
     ดังนั้นในเบื้องต้นก่อนขึ้น ขึ้นสะพานลอยควรดูให้ดีก่อนว่าเปลี่ยวหรือไม่ และควรหาคนเดินเป็นเพื่อน สำหรับสุภาพสตรีเวลาเดินตรงฟุตบาทควรถือกระเป๋าสะพายไว้ด้านใน อย่าถือออกมาด้านถนน และให้แบ่งทรัพย์สินบางส่วนใส่กระเป๋ากางเกงโดยเฉพาะเงินสด ส่วนทรัพย์สินมีค่าหากต้องเดินทางโดยรถประจำทางก็ไม่ควรใส่ออกมา
     
     ทั้งนี้สำหรับประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยรณรงค์ได้ อย่างที่ผ่านมา ชุมชนบางซื่อและชุมชนดินแดง ให้ทำป้ายรณรงค์ที่จุดเปลี่ยว ให้ระมัดระวังตัว และช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยแก่กันและกันด้วย