MOVIE: สะบายดี วันวิวาห์
TITLE สะบายดี วันวิวาห์
ENGLISH TITLE LAO WEDDING
GENRE โรแมนติก/ดราม่า
CAST บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์, คำลี่ พิลาวง, ธนิยา อำมฤตโชติ
DIRECTOR ศักดิ์ชาย ดีนาน
FILM PRODUCTION สปาร์ต้า ฟิล์ม
RELEASE DATE 2 มิถุนายน 2554
Title; Lao Wedding
Genre ; Romantic Drama
“เชน” (บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์) ทำงานเป็นนักเขียนสกู๊ปให้กับนิตยสารชั้นนำฉบับหนึ่ง เชนเคยเดินทางมาทำข่าวที่ประเทศลาวเมื่อ 6 เดือนก่อน ในครั้งนั้นเขาได้รู้จักกับ “คำ” (คำลี่ พิลาวง) หญิงสาวชาวลาวที่เขารู้สึกผูกพันและชอบพอกับเธอ เขาให้สัญญาว่าจะกลับมาเยือนที่นี่อีกครั้ง “เชน” ทำตามคำมั่นโดยไม่คาดคิดมาก่อนว่าการกลับมาเยือนครั้งนี้จะทำให้เกิดเรื่องราวโกลาหลจนถึงขั้นต้องแต่งงานกับเธอ โดยที่ทั้งเขาและเธอก็ยังไม่มั่นใจและไม่แน่ใจในงานแต่งงานครั้งนี้นัก ด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในหลายๆ ด้าน ทั้งความทันสมัยของคนเมืองซึ่งดูจะขัดแย้งกับความงดงามและเรียบง่ายแบบดั้งเดิมของวิถีชีวิตชาวลาว
เวลา 3 - 4 วันก่อนงานแต่งงาน ชายหนุ่มจากเมืองใหญ่ และหญิงสาวในเมืองเล็กที่มีวัฒนธรรมแวดล้อมแตกต่างกัน ทั้งคู่ต้องเรียนรู้และปรับตัวร่วมกันเพื่อที่จะเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่ให้ได้ ขณะเดียวกัน “ฝน” (ธนิยา อำมฤตโชติ) เพื่อนสาวสมัยเรียนของเชน เริ่มเข้ามาพัวพันกับความรักของพวกเขา
เรื่องราวจะดำเนินไปอย่างไร และ ความรักของทั้งคู่จะจบลงเช่นใด โปรดติดตามได้ใน “สะบายดี วันวิวาห์ ” บทส่งท้ายของภาพยนตร์ไตรภาค “สะบายดี” สุดซึ้งที่คุณจะประทับใจมิรู้ลืม 2 มิถุนายนนี้ ณ โรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ
บอย-ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ (ภาพยนตร์เรื่อง หลุดสี่หลุด , The Dog ชิงหมาเถิด , ปาย อินเลิฟ และ ฝัน-หวาน-อาย-จูบ ละครเรื่อง วายุภัคมนตรา , ไฟรักอสูร ,หัวใจสองภาค,สามหัวใจ และ หนุ่มคลีโอ 2008 ) มารับบท เชน ชายหนุ่มจากเมืองไทย ที่เข้าไปท่องเที่ยวลาว แล้วต้องมีเหตุให้แต่งงานอย่างกะทันหัน จนเขาต้องเตรียมตัวใหม่ในการเปลี่ยนแปลงชีวิต
อาลี่-คำลี่ พิลาวง (ภาพยนตร์เรื่อง สะบายดี 2 ไม่มีคำตอบจากปากเซ และ สะบายดี หลวงพะบาง )รับบท คำ สาวลาวในเมืองเล็กๆ ที่ต้องรับการแต่งงานที่มาอย่างรวดเร็ว และเริ่มไม่แน่ใจว่าเจ้าบ่าวแต่งงานเพื่อรักษาหน้าตาทางสังคมให้เธอ....หรือเขารักเธอจริง
จุก-ธนิยา อำมฤตโชติ (ภาพยนตร์เรื่อง ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น , หนีตามกาลิเลโอ และ รถไฟฟ้ามาหานะเธอ) รับบท ฝน เพื่อนเรียนสมัยมัธยม ที่มีความหลังกับเชน
และความรักอีกสามคู่ในช่วงงานแต่งงาน โดยนักแสดงที่เป็นวีเจ และนางงามของเมืองลาว
ข้อมูลที่น่าสนใจของประเทศลาว จากวิกิพีเดีย
ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ลาวเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
ลักษณะภูมิอากาศที่ลาว
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส
เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ ( 17°58′N 102°36′E? / ?17.967°N 102.6°E )
เมืองใหญ่สุด นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาทางการ ภาษาลาว
การปกครอง คอมมิวนิสต์ - เลขาธิการใหญ่พรรค จูมมะลี ไซยะสอน
- ประธานประเทศ จูมมะลี ไซยะสอน
- นายกรัฐมนตรี ทองสิง ทำมะวง
ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส - ประกาศ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 -
สถาปนา สปป. ลาว - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
พื้นที่ - รวม 236,800 ตร.กม.
ประชากร - 2552[1] (ประมาณ) 6,834,345 (100)
วัฒนธรรม
มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า “ มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ” ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น
พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน ขับทุ้มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้นการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) และอาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
เกร็ดประเพณีกินดอง หรือ การแต่งงานของลาว -ชาวไทยอีสาน
พิธีกินดอง ( แต่งงาน ) หนุ่มสาวในภาคอีสานโดยเฉพาะกลุ่มไทย-ลาว ค่อนข้างจะอิสระในการเลือกคู่ครอง นั่นคือ ประเพณีพื้นบ้านไม่ค่อยจะเคร่งครัดในความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว แต่กระนั้นก็ตามหนุ่มสาวภาคอีสานจะเกรงกลัวผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า “ ผิดผี ” คือไม่กล้าที่จะประพฤติล่วงเกินประเพณีที่เรียกว่า “ ฮีตบ้านคองเมือง ” ประเพณีอีสานโดยทั่วไปจะเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้คุ้นเคย หรือร่วมกิจกรรมสาธารณะด้วยกันเสมอ พ่อแม่ญาติพี่น้องฝ่ายสาวก็มิได้ปกป้องแต่อย่างใด เช่น การลงข่วง ( หนุ่มๆจะมาช่วยสาวๆปั่นฝ้ายและเกี้ยวพาราสีกันได้ ) หรืองานบุญประเพณีทั่วไป หนุ่มสาวต่างหมู่บ้านจะมีโอกาสพบปะและสังสรรค์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นโอกาสเลือกคู่ครองที่พึงใจไปด้วยในงานบุญประเพณีนั้นๆ ครั้นเมื่อหนุ่มสาวแน่ใจว่าพบบุคคลที่พึงพอใจแล้ว หนุ่มสาวจะมาเยี่ยมเยือนกันที่บ้านสืบต่อไป
พิธีกินดอง การกินดองเป็นการเลี้ยงในพิธีแต่งงานที่จัดเป็นพิธีใหญ่ นั่นคือฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ที่อยู่ในครอบครัวอยู่ในครอบครัวมีฐานะ มีหน้าตาของหมู่บ้าน ฝ่ายสาวจะรู้ตนเองว่าพ่อแม่เป็นคนที่ชาวบ้านนับถือ ครั้นเมื่อสมัครรักใคร่กับหนุ่มใดๆมักจะไม่ยินยอมให้ฝ่ายชายมาซู ( สัมผัส/ แตะต้อง ) เพราะถือว่าเป็นการไม่รักษาหน้าพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ฉะนั้นฝ่ายสาวจะยินยอมให้ฝ่ายชายมาสู่ขอตามประเพณีหรือบางกรณีชายหนุ่มอาจจะส่งเฒ่าแก่มาขอเลยทีเดียวก็ได้ การสู่ขอสาวเพื่อแต่งงานนี้เรียกว่า “ โอม ” ( หรือโอมสาว )
พิธีโอม ( การสู่ขอ ) การสู่ขอนั้นฝ่ายชายจะส่งแม่สื่อไปทาบทามถามความสมัครใจจากฝ่ายสาวก่อน โดยแม่สื่อจะไต่ถามและบอกข่าวว่า บุตรชายบ้านนั้นต้องการจะมาโอมบุตรสาว ฝ่ายพ่อแม่จะเรียกบุตรสาวมาถามความสมัครใจ หากฝ่ายหญิงสมัครใจก็จะทำพิธีโอม ซึ่งในการนี้แม่สื่อจะปรึกษากับฝ่ายสาวเรื่องการกำหนดวันทำพิธีโอมด้วย ถึงวันกำหนดทำพิธีโอมกันนั้น เจ้าโคตรฝ่ายชาย ( เจ้าโคตรคือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่หรืออาวุโสของตระกูล ) จะเป็นเฒ่าแก่จัดพานหมาก 4 คำ หรือเรียกว่า “ ขันหมาก ” กับเงิน 3 บาท ไปบ้านเจ้าสาว เมื่อถึงเรือนฝ่ายสาว บิดามาดารญาติพี่น้องจะจัดการต้อนรับเจ้าโคตรฝ่ายชายที่เป็นเฒ่าแก่มาสู่ขอ ( หรือมาโอม ) ตามสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายได้นั่งตามสมควรแล้วเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะยกพานหมาก 4 คำ ( มีผ้าขาวปิดไว้ ) ให้บิดามาดารฝ่ายหญิงกิน และรับเงิน 3 บาท ที่อยู่ในพานนั้นด้วย เงินนี้เรียกว่า “ เงินไขปากคอ ” การรับเงินแสดงว่าฝ่ายสาวตกลงใจแล้ว หากไม่ตกลงฝ่ายสาวจะส่งเงินคืน 3 บาทคืน ครั้นเมื่อพิธีโอมเสร็จแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะปรึกษาค่าสินสอดกันเรียกว่า “ คาดค่าดอง”
ที่มา : กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดสกลนคร โดย อาจารย์ ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง
http://www.pongrang.com/web/data/a4/04/revival.snru.ac.th/race/30.htm ประวัติและผลงานของผู้กำกับ
ศักดิ์ชาย ดีนาน
2539-2542 ทำงานตำแหน่ง เขียนบท RS Film
2543-2546 ทำงานตำแหน่ง ครีเอทีฟและที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Film Bangkok
เขียนบทภาพยนตร์
-ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน RS Film,2540
-ปาฎิหาริย์ โอม-สมหวัง RS Film,2541
-โคลนนิ่ง คนก็อปปี้คน RS Film,2542
-ศพ(อาจารย์ใหญ่) สหมงคลฟิล์ม,2549
-หลวงพี่กับผีขนุน สหมงคลฟิล์ม,2552
ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์
-แตก 4 รัก-โลภ-โกรธ-เลว RS Film,2542
-บางระจัน Film Bangkok,2544
-พรางชมพู Film Bangkok,2546
เขียนบทและกำกับภาพยนตร์
-ก็เคยสัญญา(ชาติที่1) แม็ทชิ่ง,2548
เขียนบท-โปรดิวเซอร์-กำกับภาพยนตร์
-สะบายดี หลวงพะบาง สปาร์ต้าครีเอทีฟ, 2551
-สะบายดี 2 ไม่มีคำตอบจากปากเซ สปาร์ต้าฟิล์ม, 2553
-สะบายดี วันวิวาห์ สปาร์ต้าฟิล์ม, 2554