wmt on February 22, 2011, 02:14:58 PM
สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ โชว์  “วัคซีนไข้เลือดออก”งานวิจัยไทยทำ ครั้งแรกของอาเซียน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  



ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะนักวิจัยซึ่งประกอบด้วย ดร.พูนสุข กีฬาแปง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   รศ.นพ.นพพร สิทธิสมบัติ  จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ/สวทช.  รศ.นพ.สุธี ยกส้าน จากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จการพัฒนาวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ป้องกันไข้เลือดออกครั้งแรกของโลก ตลอดจนการลงนามอนุญาตให้ บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย รับสิทธิ์ในการรับไปพัฒนาต่อเป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกใช้ในอนาคตอันใกล้ โดย ดร.วีระชัยเปิดเผยในรายละเอียดว่า

          “ปัจจุบัน การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นงานสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ตลอดจนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประเมินความก้าวหน้าของประเทศในสายตานานาชาติ  ยิ่งถ้าเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดด ยิ่งจำเป็นต้องใช้งานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถไปเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มากขึ้น ประเด็นที่สำคัญที่สุด ที่ผมได้ให้นโยบายไว้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ คือ ผมเน้นการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเต็มที่ อนาคต  ถัดจากนี้ประเทศไทยจะต้องหันมาให้ความสำคัญด้านนี้มากขึ้นเพราะจะสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและมนุษยชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการเกษตรและการแพทย์ ดังตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญในวันนี้คือการพัฒนาวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

          สำหรับโรคไข้เลือดออกนี้ เริ่มอุบัติขึ้นมาในโลก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วแถบภูมิภาคเขตร้อน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และเมื่อปี 2501 ได้ระบาดเข้ามายังประเทศไทย จนปี พ.ศ. 2515 ได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย ในปี 2553 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยจำนวนกว่าหนึ่งแสนราย และเฉพาะเดือนมกราคมของปี 2554 มีผู้ป่วยแล้วประมาณ 1,200 ราย  ซึ่งผมเชื่อว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงนี้ ต้องมีมากกว่าตัวเลขที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการอย่างแน่นอน รวมทั้งแนวโน้มการระบาดหรืออุบัติการณ์ของโรคน่าจะสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากโรคนี้มีแหล่งระบาดอยู่ในเมือง ซึ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ การคมนาคมขนส่งที่ดีขึ้นทำให้เชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งสถานการณ์ภาวะโลกร้อนซึ่งอาจทำให้ยุงมีจำนวนมากขึ้นในหลายๆแห่ง

โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุสำคัญจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งมีถึง 4 ชนิด เมื่อคนติดเชื้อไวรัสชนิดใดจะสามารถปกป้องไวรัสเฉพาะชนิดนั้นได้ตลอดชีวิต แต่ไม่สามารถปกป้องการติดเชื้อซ้ำโดยไวรัสเด็งกี่ชนิดอื่น และภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสต่างชนิดนี้ อาจทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้การพัฒนาวัคซีนป้องกันเด็งกี่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งนอกจากต้องสร้างวัคซีนให้ครบทุกชนิดแล้ว ยังต้องทำให้ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนมีระดับที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมขณะนี้เราถึงยังไม่มีวัคซีนไข้เลือดออกใช้กัน แม้ว่าทั่วโลกจะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนมาแล้วกว่า 30 ปี

          สำหรับประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การนำของ ศ.นพ. ณัฐ ภมรประวัติ เป็นผู้พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์เป็นรายแรก และต่อมามี รศ.นพ.สุธี ยกส้าน เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์  ด้วยประสบการณ์ด้านการพัฒนาวัคซีนที่มีมานาน  และความเชี่ยวชาญของ  นพ.สุธี ที่ได้การยอมรับจากนานาชาติด้านไข้เลือดออก ร่วมกับความสามารถทางพันธุวิศวกรรมของ รศ.นพ. นพพร สิทธิสมบัติ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบกับการสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมทั้งการบริหารจัดการและผลักดันงานวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก่อให้เกิดวัคซีนลูกผสมทางพันธุวิศวกรรมชนิดเชื้อเป็นแต่อ่อนฤทธิ์อีกหนึ่งชุด  ที่ในวันนี้บริษัทไบโอเนท-เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยได้ขอรับไปพัฒนาต่อเพื่อให้ประชาชนไทยจะได้มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกใช้ในอนาคตอันใกล้ต่อไป” ดร.วีระชัยกล่าว

          ด้านดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า

“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นมากเมื่อเทียบกับอดีต แม้จะยังไปได้ไม่เร็วเท่าอัตราของประเทศผู้นำด้านนี้ แต่งานวิจัยของไทยหลายอย่างก็ช่วยให้เราสามารถติดตามความก้าวหน้าต่างๆได้อย่างเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของ สวทช.เองยังมองว่างานวิจัยพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในส่วนตัวอยากเห็นการลงทุนด้านนี้แม้ว่าจะต้องใช้เวลา ความอดทนสูงและรอจังหวะที่จะนำศักยภาพผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งบทบาททิศทางการดำเนินงานของ สวทช. ในปัจจุบันและอนาคตจะเน้นทั้งบทบาทวิจัยผลิตองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาความรู้ที่ได้ ไปสร้างเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยจะรักษาสมดุลระหว่างการวิจัยและพัฒนานี้ไปด้วยกัน

          สำหรับความสำเร็จของการวิจัยและอนุญาตใช้สิทธิในการพัฒนาวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกดังกล่าว จะสำเร็จขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากทั้ง 3 ภาคส่วน คือ สวทช. มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว เป็นการนำความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกันสร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการแพทย์และสาธารณสุข ลดอัตราการชีวิตของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับเชื้อ   อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงการควบคุม รักษาโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตด้วย”  ดร.ทวีศักดิ์กล่าว
« Last Edit: February 22, 2011, 02:20:31 PM by wmt »

wmt on February 22, 2011, 02:16:03 PM
NSTDA/Ministry of Science and Technology unveils Thai Dengue Vaccine,
The very first in ASEAN

Feb 21, 2011
Ministry of Science and Technology led by H.E. Dr. Virachai Virameteekul, Minister of Science and Technology  together with Dr. Thaweesak Koanantakool, President of NSTDA and researchers that consist of Dr.Boonsook Keelapang from Chiang Mai University, Assoc Prof.Dr.Nopporn Sittisombat from Chiang Mai University and National Genetic Engineering and Biotechnology Center/NSTDA,
Assoc. Prof. Dr.Suthee Yoksan from Mahidol University hold the press conference to announce the success of world’s first development of Chimeric Live-attenuated Vaccine by Genetic Engineering and the appointment of Bionet-Asia Co.,Ltd as the authorized entity to further develop the Dengue Vaccine.

“Development of scientific and technological knowledge is very crucial for the economy and quality of life and is the indicator of how developed we are at international level. It is also very crucial for a country like Thailand that is in need of leapfrog development as such knowledge enhances productivity and adds value to the end products” said Dr. Virachai Virameteekul,The policy direction he gave since assuming the office is the emphasis on biotechnological research and development in order for Thailand to efficiently create value for the country and mankind both in agricultural and medical sectors. Chimeric Live-attenuated Vaccine by Genetic Engineering is already a testament of that. Dengue fever erupted during World War II


and then spread to the tropical region having common house mosquito as the carrier. It came to Thailand in 1958 and became permanent domestic disease in 1972.
Over one hundred thousand patients were recorded in 2010 and 1200 more patients were added in January 2011. Dr. Virachai Virameteekul believes the actual figure is higher than the official number plus there are more tendencies of viral spread of the disease and the increase in number of patients  as it is the city disease where population are generally dense and always on the rise. Improved transportation and climate change add on to the widespread of the disease. 
Dengue fever is caused by the dengue virus infection. There are 4 dengue viruses. A person is only immune to the infected virus for life but not the rest three. Immunity from other infected viruses sometimes causes even more severe symptom which makes it more challenging to develop the vaccine. Not only do we need vaccines for all the viruses, we need to make sure the immunity they develop are at the same level. This explains why we still don’t have the dengue vaccine over the past 30 years of research and development.

Prof. Dr. Nut Pamornprawat from Mahidol University led the Thai research team as the first to develop Chimeric Live-attenuated Vaccine by Genetic Engineering for Thailand which is later pursued by Assoc. Prof. Assoc. Prof. Dr.Suthee Yoksan
“With Assoc. Prof. Dr.Suthee Yoksan’s years of experience and worldly recognized expertise in dengue vaccine development, Assoc. Prof. Dr.Nopporn Sittisombat’s competency in genetic engineering and budget and managerial support from NSTDA came Chimeric Live-attenuated Vaccine by Genetic Engineering which Bionet-Asia,
a Thai company, is granted rights to further develop it mass usage in Thailand” said Dr. Virachai Virameteekul 


Professor Thaweesak Koanantakool  NSTDA’s director added that Science and Technology in Thailand has developed a great deal from the past. “Although we are still behind leading countries in terms of speed but the research works help us follow the progress more effectively. NSTDA realizes the importance of continuous fundamental research for the country’s sustainable development. I personally want to see more investment in this field albeit the time and endurance needed before reaping the commercial benefits” said Dr. Thaweesak Koanantakool
NSTDA’s role and direction at present and in the future would be to push for new knowledge base that can be further developed to benefit the nation while maintaining a good balance between the research and development.

The success of Chimeric Live-attenuated Vaccine by Genetic Engineering’s development and rights to distribute wouldn’t have been possible without the support from three bodies namely NSTDA, Chiang Mai University and Mahidol University. “This collaboration brings together the expertise from each organization to create the research work that is beneficial to Thai medical and public health, lower the fatality rate of infected children, reduce the medical and public health expenditure and efficiently control and cure the dengue fever in the future” concluded Dr.Thaweesak Koanantakool.