wmt on December 25, 2010, 11:29:57 AM
2.37 เมกะวัตต์ : คอนเนอร์ยีใช้เทคโนโลยี่ใหม่เป็นครั้งแรกใน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเอเซีย
   
          2.37 เมกะวัตต์ : คอนเนอร์ยีใช้เทคโนโลยี่ใหม่เป็นครั้งแรกใน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเอเซีย โดยอินโดรามา เวนเจอร์ เป็นผู้ลงทุนในโครงการใหญ่เป็นอันดับสองของคอนเนอร์ยีในประเทศไทย

          นับเป็นโครงการขนาดมากกว่าหนึ่งเมกะวัตต์โครงการที่สองของคอนเนอร์ยีในประเทศไทยในรอบ 8 เดือน
          - มร. จี. แอล. โมดิ จาก อินโดรามา เวนเจอร์: "คอนเนอร์ยีแก้ไขปัญหาด้วยการเสนอสินค้าแบบครบวงจร"
          - มร. มาร์ค โลฮอฟฟ์ จาก คอนเนอร์ยี: “เอเชียเริ่มให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าเรื่องของราคา"

          คอนเนอร์ยี (Conergy AG) กำลังดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 2.37 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดลพบุรี ห่างจากกรุงเทพไปทางทางทิศเหนือ 155 กิโลเมตร โรงไฟฟ้าแห่งนี้นับเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกในเอเชียที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีจากโรงงานของคอนเนอร์ยีเอง 100% โครงการระดับมากกว่าหนึ่งเมกะวัตต์โครงการใหม่ของคอนเนอร์ยีนี้ นอกจากจะเป็นการบรรลุเป้าหมายที่สำคัญสำหรับการเสนอคุณภาพสินค้าของคอนเนอร์ยีในเอเชียแล้ว ยังเป็นตำนานความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของคอนเนอร์ยีในประเทศไทย ด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าระบบพลังงานแสงอาทิตย์ระดับมากกว่าหนึ่งเมกะวัตต์โรงที่สองภายในระยะเวลาเพียงแค่ 8 เดือน โดยร่วมงานกับ แอนเน็กซ์ พาวเวอร์ หุ้นส่วนในประเทศไทย

เทคโนโลยีของคอนเนอร์ยีใช้พื้นที่มากเท่ากับขนาด 7 สนามฟุตบอล
          โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ของอินโดรามา เวนเจอร์ที่ลพบุรีนี้ คาดว่าจะสามารถผลิตกระแส ไฟฟ้าได้ 3,500 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่ากับสามารถจ่ายไฟฟ้าให้ใช้ได้ถึง 1,200 ครัวเรือน ซึ่งทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราว 1,860 ตันต่อปี—เทียบเท่ากับเครื่องบินโดยสารที่ปล่อยมลภาวะในการบินไปกลับระหว่าง ฮัมบรูกส์-สิงค์โปร์-กรุงเทพฯ ถึง 700 เที่ยว โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีพื้นที่ 44,500 ตารางเมตร หรือเกือบเท่ากับขนาดสนามฟุตบอล 7 สนาม ประกอบด้วยแผงโมดูลแบบพรีเมียม รุ่นคอนเนอร์ยี เพาเวอร์พลัส 220P จำนวน 10,800 แผง อินเวิร์ตเตอร์ รุ่นคอนเนอร์ยี IPG 15T จำนวน 135 ชุด และระบบเสายึดแผงโมดูลของคอนเนอร์ยีจำนวนกว่า 1,080 ชิ้น โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดให้แก่ระบบสายส่งไฟฟ้าของประเทศไทยได้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
          มร. จี. แอล. โมดิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการของอินโดรามา เวนเจอร์: “เราเชื่อมั่นในชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีของคอนเนอร์ยี”
          “ การที่ได้ใช้เทคโนโลยีระดับสูงของคอนเนอร์ยีและกำลังจะได้ระบบอุปกรณ์ทั้งหมดของโครงการจากแหล่งผลิตเดียวแบบครบวงจร เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเรา” มร. จี. แอล. โมดิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ ธุรกิจเม็ดพลาสติกสำหรับทำบรรจุภัณฑ์ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว “ บริษัทผู้รับเหมางานก่อสร้างท้องถิ่นและผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการจะดำเนินการโดยพันธมิตรของคอนเนอร์ยี ที่อยู่ในภูมิภาคอินโดจีนคือบริษัท แอนเน็กซ์ พาวเวอร์ ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย."

เป้าหมายสำหรับระบบเทคโนโลยีใหม่ของคอนเนอร์ยีในเอเชีย
          "เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการแข่งขันด้านราคามาก แต่โครงการล่าสุดของเราในประเทศไทยแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการรับรู้ในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยในการลงทุน เริ่มเป็นสองประเด็นสำคัญสำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใดๆ ก็ตามในภูมิภาคนี้ นักลงทุนมีความเข้าใจมากขึ้นว่าค่าใช้จ่ายที่แท้จริงในการผลิตพลังงานนั้นควรประเมินจากต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (Cost/kWh) ไม่ใช่ประเมินจากต้นทุนต่อกำลังติดตั้ง (วัตต์) สูงสุด (Cost/Wp)” มร. มาร์ค โลฮอฟฟ์ประธานบริษัท คอนเนอร์ยี เอเชียแปซิฟิก กล่าว “โคเนอร์ยีมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการสนับสนุนพัฒนาให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์สู่สังคมให้ต่ำลงในประเทศไทย โดยนำเสนอระบบพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำแบบครบวงจรสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สินค้าของเรามีคุณภาพและความปลอดภัยที่เยี่ยมยอดซึ่งจะทำให้ลูกค้าของเราได้รับผลตอบแทนที่ดีกลับคืนต่อการลงทุน”
          อุปกรณ์คุณภาพสูงทั้งหมดสำหรับโรงไฟฟ้าระบบพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ที่ลพบุรีนี้ เป็นผลิตภัณฑ์จากโรงงานของคอนเนอร์ยีเอง จะทำให้โครงการใหม่มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับแนวโน้มในปัจจุบัน : คอนเนอร์ยีจะเป็นผู้จัดหาและติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบอุปกรณ์และเทคโนโลยีของตัวเอง ซึ่งเป็นสองในสามโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากทั่วโลก – โดยเฉพาะกรณีการใช้โมดูลรุ่น คอนเนอร์ยี พาวเวอร์พลัส (Conergy Power Plus) จากโรงงานที่ทันสมัยที่สุดในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต (โอเดอร์) สำนักงานในเมืองฮัมบูร์กได้เพิ่มสัดส่วนกำลังของการผลิตโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 56% ตั้งแต่ปี 2008 ไม่ใช่การบังเอิญแต่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น : โมดูลคุณภาพสูงรุ่นคอนเนอร์ยี เพาเวอร์พลัส ได้คะแนนสูงสุดในการทดสอบด้วยแอมโมเนียและเกลือ โดยสถาบัน DLG ในประเทศเยอรมันนี และได้รับการรับรองความยอดเยี่ยมด้วยประสิทธิภาพสูงแม้มีแสงอาทิตย์น้อย ทั้งนี้สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าค่าผลผลิตปกติถึง +3% ด้านอินเวอร์เตอร์แบบ 3 เฟส รุ่นคอนเนอร์ยี IPG 15T นั้นเคยได้รับรางวัลด้านการออกแบบจาก เดอะ เรด ดอท อะวาร์ด (The Red Dot Design Award) และจัดอยู่ในลำดับ A+ จากนิตยสารโฟตอน

ประกันเป็นสองเท่า : คอนเนอร์ยีช่วยเพิ่มศักยภาพรายได้ให้ผู้ลงทุน
          ยืนยันด้วยคุณภาพอย่างชัดเจนพร้อมจ่ายค่าประกันให้ : โมดูลจำนวนหนึ่งล้านโมดูลที่ขายออกไปของรุ่นเพาเวอร์พลัสมีเพียง 30 โมดูลที่ส่งคืนกลับมาโรงงาน -- เป็นจำนวนที่สามารถยืนยันได้ถึงมาตรฐานของโมดูล ด้วยเหตุนี้ คอนเนอร์ยีจึงมีข้อเสนอสำหรับระบบงานโครงการนี้ โดยการประกันกำลังผลิตถึง 90% ของประสิทธิภาพการทำงานที่ได้ประมาณการเอาไว้ โดยที่ผ่านๆ มาลูกค้าจากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทำได้เพียงเรียกร้องได้จากกรณีผลผลิตลดลงสืบเนื่องมาจากการออกแบบของโรงไฟฟ้าโดยตรงเท่านั้น การรับประกันผลผลิตของคอนเนอร์ยีนี้จะครอบคลุมเกินกว่าการปฏิบัติทั่วไปของมาตรฐานของการเสี่ยงภัยทั้งหลาย และรวมทั้งการประกันภัยการหยุดชะงักของธุรกิจ ดังนั้นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่แห่งนี้จึงมีการประกันเป็นสองเท่า ซึ่งเท่ากับว่าคอนเนอร์ยีช่วยเพิ่มศักยภาพรายได้ให้ผู้ลงทุนอีกด้วย
          ด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่คาดไว้ 23% ภายในสามปีข้างหน้าของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายเป็นเกือบสองเท่าของขนาดตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นจำนวน 120 เมกะวัตต์จากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของโครงการใหม่ในปี 2011. โดยที่คอนเนอร์ยีได้ตระหนักถึงโครงการขนาดใหญ่อันดับที่สองของบริษัทฯ ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่สำคัญในตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับว่าเป็นการขยายงานของคอนเนอร์ยีไปสู่ตลาดระดับนานาชาติ โดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ของคอนเนอร์ยีในตลาดเยอรมันนี จนในปัจจุบันคอนเนอร์ยีได้ขยายการดำเนินการไปใน 16 ประเทศทั่วโลก โดยรายได้กว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทมาจากตลาดต่าง ประเทศ ส่งผลให้คอนเนอร์ยีกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตระบบพลังงานแสงอาทิตย์ระดับนานาชาติของประเทศเยอรมัน

เกี่ยวกับคอนเนอร์ยี
          คอนเนอร์ยี เอจี (Conergy AG) สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮัมบรูกส์ ประเทศเยอรมันนี บริษัทเป็นผู้นำด้านระบบพลังงานแสงอาทิตย์ มีพนักงานจำนวน 1,500 คนใน 16 ประเทศ กลุ่มคอนเนอร์ยีพัฒนาและผลิตโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์แบบผลึกคริสตัล ส่วนอินเวอร์เตอร์ และระบบเสายึดแผงโมดูลที่โรงงานทั้ง 3 แห่งในประเทศเยอรมันนี ด้วยเหตุนี้คอนเนอร์ยีจึงไม่เพียงสามารถให้บริการลูกค้าด้วยมาตรฐานคุณภาพ "ผลิตในประเทศเยอรมัน" แต่ยังมีส่วนประกอบทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับอำนวยความสะดวกให้ผู้ต้องการแผงโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร ซึ่งเป็นการผลิตมาจากโรงงานเดียวกันด้วยองค์ประกอบของตัวเองและระบบการพัฒนาบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ การเงิน และสิ่งอำนวยความสะดวกของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ มีโรงงานและผลิตโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดในระดับกำลังการผลิตมากกว่าหนึ่งเมกะวัตต์ นอกจากนี้คอนเนอร์ยีได้จัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายขนาดใหญ่ของคู่ค้าและผู้ค้าส่งทั่วไปด้วย
นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1998 คอนเนอร์ยีมียอดขายระบบพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนรวมปริมาณกว่า 1.25 กิกะวัตต์ และระบบพลังงานแสงอาทิตย์โดยรวมมีขนาดกำลังการผลิตกว่า 1 กิกะวัตต คอนเนอร์ยี เอจี ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แฟรงค์เฟิร์ต (ISIN: DE 00060 40025) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 และปัจจุบันยังมองหากลยุทธ์ของการเติบโตในตลาดพลังงานทดแทนในอนาคตต่อไป

เกี่ยวกับอินโดรามา เวนเจอร์
          บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในประเทศไทย (Bloomberg ใช้สัญลักษณ์ IVL.TB) เป็นผู้ผลิตชั้นนำในกิจกรรมที่สัมพันธ์กับโพลีเอสเตอร์ในประเทศไทย มีเครือข่ายที่แข็งแกร่งไปทั่วโลกและตลอดจนการผลิตในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ให้บริการกลุ่มใหญ่ในตลาดนั้นมีความหลากหลายได้แก่ อาหาร, เครื่องดื่ม, การดูแลที่อยู่อาศัยและส่วนบุคคล, สุขภาพ, ยานยนต์, สิ่งทอและอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทได้แก่ พีทีเอ (PTA, การผลิคกรดเทเรพาธิคบริสุทธ์ ซึ่งป็นวัตถุดิบสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตสินค้าเส้นใยโพลีเอสเตอร์), พีอีที (PET, เป็นเม็ดพลาสติกที่สำคัญชนิดหนึ่งใช้ในการผลิตเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขวดใส่เครื่องดื่ม) และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ซึ่งมีการจำหน่ายไปทั่วโลก ที่อินโดรามา เวนเจอร์ มีพนักงานประมาณ 3,500 คนทั่วโลก และมีรายได้ต่อปีถึง 2.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี ค.ศ.2009