activity on September 10, 2010, 08:46:25 AM
ตำรวจทุบสถิติปราบปรามละเมิดลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ สิงหาคมที่ผ่านมาจับเกือบ 60 ล้านบาท

 

·       ตำรวจเข้าตรวจค้นทั้งบริษัทผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย นักออกแบบ สถาปนิก บริษัทการค้า และบริษัทก่อสร้าง ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

·       บริษัทในจังหวัดสมุทรปราการถูกตั้งข้อหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มูลค่า 20.2 ล้านบาท

 

            กรุงเทพฯ (วันที่ 10 กันยายน 2553) – เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นเดือนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเข้าปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์หนักที่สุด โดยพบการใช้งานซอฟต์แวร์แบบไม่มีใบอนุญาต หรือไลเซ็นต์ตามบริษัทต่างๆ นับเป็นมูลค่าสูงถึงเกือบ 60 ล้านบาท ถือเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย

 

                โดยก่อนหน้านี้ จากการบันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เดือนมิถุนายนเป็นเดือนอีกเดือนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยปฎิบัติหน้าที่อย่างหนัก โดยจับและยึดซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานอย่างละเมิดลิขสิทธิ์ได้เป็นมูลค่าสูงถึง 49 ล้านบาท จาก 12 บริษัทใน 6 จังหวัด ในเชิงมูลค่าของซอฟต์แวร์แล้ว เดือนมิถุนายนับเป็นอันดับสองรองจากเดือนสิงหาคมที่เพิ่งผ่านมา

 

 

               จากการปราบปรามผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ในเดือนสิงหาคม ทำให้กลุ่มของผู้บริหารของ 17 บริษัทในกรุงเทพฯ และอีก 6 บริษัทในต่างจังหวัด ต้องเผชิญหน้ากับความรับผิดทางกฎหมายจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีใบอนุญาต (ไลเซ็นต์) ซอฟต์แวร์ของคนไทย อย่างเช่น บริษัท ไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุด จากข้อมูลที่ได้รับจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ นอกจากซอฟต์แวร์ของบริษัท Adobe, Autodesk และ Microsoft

 

               การเข้าตรวจค้นครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในจังหวัดสมุทรปราการ โดยตำรวจได้เข้าตรวจค้นบริษัทด้านเทคนิคแห่งหนึ่ง และพบการใช้ซอฟต์แวร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจำนวน 43 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 20.2 ล้านบาท

 

               เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการและกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.)  คาดหวังไว้ว่า การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง จนถึงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะปฎิบัติหน้าที่ โดยเริ่มจากการขอออกหมายค้นที่ศาลจะออกให้ โดยขึ้นอยู่กับหลักฐานที่รวบรวมได้ในระหว่างการสืบสวน หลังจากได้รับแจ้งเบาะแสจาก   ผู้หวังดี หรือได้รับคำร้องเรียนจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 

 

               “เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่เราประสบความสำเร็จมาก แต่เรายังต้องทำงานหนักต่อไปสำหรับปี 2553 เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความพยายามของเราในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ บก.    ปอศ.กล่าว “เรามุ่งมั่นที่จะรักษาระดับการทำงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสืบสวนสอบสวน และการปราบปราม บริษัทและองค์กรต่างๆ ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์โดยการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีใบอนุญาต       (ไลเซ็นต์)”                       

 

               อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในประเทศไทยอยู่ในอัตราร้อยละ 75 แต่กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสืบสวนสอบสวนที่กำลังดำเนินการอยู่ และการเข้า  ตรวจค้นบริษัทที่มีเบาะแสว่าใช้ซอฟต์แวร์ โดยไม่มีใบอนุญาต (ไลเซ็นต์) ทุกๆ สัปดาห์ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะทำให้กรรมการของบริษัทเหล่านั้นมีความรับผิดตามกฎหมาย ทั้งไม่ว่าจะเป็นถูกปรับ และ/หรือ ถูกจำคุก

 

               รวมทั้งหมดในปีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปราบปรามบริษัทที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยพบซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 216 ล้านบาท

 

 

               เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวว่า ไม่ได้ตั้งหน่วยเฉพาะกิจ หรือใช้มาตรการพิเศษอะไรเลย ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ ระบุว่าจำนวนข้อมูลต่างๆ ที่สามารถหาได้ ซึ่งกลายเป็นหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีใบอนุญาต (ไลเซ็นต์) เพิ่มสูงขึ้น ตำรวจยังกล่าวต่อไปด้วยว่าการเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้ดำเนินการโดยเคร่งครัดอย่างต่อเนื่องในช่วงสามปีที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ มูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์แตกต่างกันไป ตามขนาดและประเภทของธุรกิจ

 

               เจ้าหน้าที่ตำรวจยังย้ำว่า การเข้าตรวจค้นบริษัทธุรกิจของเอกชนเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด และได้กล่าวต่อไปว่า การอ้างว่ามีการเข้าตรวจค้นเพื่อจับยึดซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตามโรงเรียน สถาบัน และองค์กรสาธารณะต่างๆ นั้นไม่เป็นความจริง

 

               บุคคลใดที่ต้องการจะแจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-714-1010 หรือแจ้งทางออนไลน์ บุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ์ได้รับรางวัลสูงถึง 250,000 บาท โดยชื่อของผู้แจ้งจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.stop.in.th.
« Last Edit: September 11, 2010, 11:28:34 AM by activity »