pooklook on July 18, 2010, 08:23:42 PM
กลายเป็นข่าวใหญ่เมื่อบริษัทผู้ให้บริการชำระเงิน อิเล็กทรอนิกส์ราย ใหญ่แห่งเอเชียนาม "มอล (MOL Global)" ลงมือทำสัญญากับเฟซบุ๊กในฐานะตัวแทนจำหน่าย "Facebook credits" เงินเสมือนสำหรับซื้อสินค้าและบริการเสมือนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดฮิตอ ย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ผ่านหน้าร้านค้าปลีก 500,000 จุดทั่วเอเชียภายในปีนี้
     
      สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นใน เมืองไทยคือ ร้านค้าปลีกกว่า 30,000 จุดจะเริ่มวางจำหน่าย Facebook credits เช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยอย่างน้อย 120,000 ราย ยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินบาทเพื่อเติมเงินสำหรับเล่นเฟซบุ๊ก
     
      ตัวเลข 120,000 รายไม่ใช่ตัวเลขโคมลอย เพราะปรีชา ไพรภัทรกุล ซีอีโอบริษัท มอล แอ็คเซส พอร์ทัล จำกัด (บริษัทลูกของมอลในประเทศไทย) คำนวณจากสัดส่วน 3% ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยรวม 4.2 ล้านราย โดย 3% นั้นเป็นสัดส่วนพื้นฐานในตลาดเกมออนไลน์ที่คอเกมประเทศไทยควักกระเป๋าซื้อ บัตรเติมเงินเกม ซึ่งมีมูลค่ารวม 2,000 ล้านบาทต่อปีในขณะนี้
     
      "นี่คือครั้งแรกของการเติมเงินในธุรกิจเครือข่ายสังคม ที่ผ่านมา รูปแบบการเติมเงินหรือ Top Up นั้นประสบความสำเร็จมากในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์มือถือ และเกมออนไลน์ และเริ่มมีให้เห็นในอุตสาหกรรมอื่น เช่น โรงภาพยนตร์ ทั้งหมดเราเห็นการตอบรับที่ดีมากในตลาดเอเชีย เราเชื่อว่าเรามาถูกทาง จุดบริการมอลในไทยขณะนี้มีอยู่ 1,400 จุด ส่วนใหญ่เป็นร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ สิ้นปีนี้เราจะขยายเป็น 30,000 จุด เน้นโมเดิร์นเทรดเป็นหลัก"
     
      ถามว่าอะไรทำให้ปรีชา"มั่นใจ ว่าคนไทยเกินแสนยอมเติมเงินเพื่อเล่นเฟสบุ๊ก" คำตอบไม่ใช่พฤติกรรมการเสพติดเกมออนไลน์ของเด็กไทย แต่เป็นความต้องการสิ่งที่แตกต่างของผู้ใช้เฟสบุ๊ก ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดที่กว้างหรือแมสกว่าตลาดเกม
     
      "กลุ่มผู้ใช้เฟสบุ๊กที่เติมเงินในยุโรปและอเมริกาขณะนี้ ไม่ได้เติมเพราะติดเกมทั้งหมด แต่เป็นการเติมเงินเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากการใช้งานเฟซบุ๊กเดิมๆ เช่น การซื้อเพลงมาฟัง การซื้อแอปพลิเคชันทั้งด้านธุรกิจ บันเทิง หรือแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกด้านการเงินต่างๆ ซึ่งขณะนี้ Facebook credits ก็มีวางจำหน่ายในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่เป็นการซื้อต่อจากต่างประเทศมาจำหน่ายเองในราคาแพง มอลจะเข้ามาทำให้ตรงนี้ง่ายขึ้น ให้คนที่ไม่ต้องการซื้อ Facebook credits ด้วยบัตรเครดิตหรือ Paypal มีทางเลือกที่สะดวก"
     
      อย่างไรก็ตาม ปรีชายอมรับว่ากลุ่มตลาดหลักของความร่วมมือนี้ในระยะแรกคือกลุ่มผู้เล่นเกม เฟซบุ๊ก แต่ในอนาคตจะเน้นไปที่กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป โดยจะจูงใจกลุ่มตลาดด้วยการมุ่งผลักดันนักพัฒนาชาวไทยให้สามารถสร้างแอปพลิ เคชันและเกมสไตล์ไทยสำหรับคนไทยเพื่อเล่นบนเครือข่ายสังคม เช่น แอปพลิเคชันภาษาไทยวันละคำ เป็นต้น และมีแผนตั้งเป็นโครงการเพื่อ ให้งบประมาณสนับสนุนด้านการตลาดเพื่อให้นักพัฒนาไทยสามารถแจ้งเกิดได้ในตลาด โลก งบการตลาดรวมในปีนี้ราว 100 ล้านบาท
     
      "มอลบริษัทลูกในประเทศไทยนั้นเริ่มก่อตั้งเมื่อ 1 กันยายนปีที่แล้ว เชื่อว่าสิ้นปีนี้จะเห็นสัดส่วนการให้บริการมากขึ้น ขณะนี้ยังไม่สามารถประมาณสัดส่วนการเติมเงินของผู้ใช้เฟซบุ๊กไทยเทียบกับ ประเทศอื่นๆได้จนกว่าจะเริ่มทำจริงๆ เรา จะให้ความรู้ผู้ใช้เฟซบุ๊กว่ามีช่องทางใหม่ในการซื้อ Facebook credits ซึ่งเป็นการกระตุ้นที่ดีที่สุด ผ่านแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้จะรู้สึกว่าจ่ายเงินน้อยแต่ได้กลับมามาก"
     
      ปรีชาระบุว่า ปัจจัยหลักที่จะส่งเสริมให้การเติมเงินในเฟซบุ๊กเติบโตคือพันธมิตร โดยเฉพาะพันธมิตรกลุ่มนักพัฒนา และความน่าเชื่อถือ จุดนี้ปรีชายืนยันว่ามอลมีคะแนนเต็มในเรื่องนี้ เพราะ"มอลแอ็คเซสพอร์ทัล"บริษัทลูกในประเทศไทยนั้นเป็นบริษัทที่จดทะเบียน อย่างถูกต้องในประเทศไทย
     
      "เราทำรายได้ในประเทศไทย และเสียภาษีให้ประเทศไทย"
     
      ปรีชามั่นใจว่าหากมอลโหมทำตลาดเพื่อให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กสนใจเติมเงิน จริง จะไม่เกิดปัญหาดาบ 2 คมซึ่งอาจเป็นบ่อนทำลายเยาวชนไทยในอนาคต
     
      "เกมใน FB เป็นเกมที่เล่นกันสบายๆ เป็นส่วนหนึ่งของประชีวิตประจำวันปกติ ถ้าผู้ใช้มาเล่นเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นกลุ่มที่ Paid ไปเอง ส่วนเรื่องปัญหาดาบ 2 คม ต้องบอกว่าการเล่นเกมเป็นกิจกรรมสันทนาการชนิดหนึ่ง ไม่ต่างจากการดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งถ้าเราเลือก เราก็จะไม่มีปัญหา แต่ที่เกิดปัญหาเด็กติดเกมในทั่วโลกนั้น เป็นเพราะเทคโนโลยีโต แต่สังคมโตตามไม่ทัน เด็กรับได้แต่ผู้ใหญ่ตามไม่ทัน ฉะนั้นในฐานะมอ ล เราต่อสู้เรื่องนี้ไม่ได้ แต่เราเลือกโปรโมทได้ เราจะเลือกโปรโมทแต่สิ่งที่ดีๆให้แก่สังคม"
     
      สำหรับ Facebook credits นั้นเป็นเงินเสมือนที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถใช้ซื้อของขวัญและสินค้าเสมือน สำหรับ 150 เกมและแอปพลิเคชันในเฟซบุ๊ก ข้อตกลงที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถซื้อ Facebook Credits ด้วย MOLPoints ซึ่งเป็นระบบชำระเงินมูลค่าไม่สูง (ไมโครเพย์เมนท์) ซึ่งพัฒนาและจัดการโดยมอลล์ซึ่งมีสาขาใหญ่ในมาเลเซีย และมีจุดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, ร้านไซเบอร์คาเฟ่ ร้านหนังสือ ทั้งในมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์



manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9530000098300