สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Up-skill & Re-skill PR and Marketing Communications” ปรับกลยุทธ์สื่อสาร ดัน Content คุณภาพ เพิ่มความแข็งแกร่งให้องค์กรและธุรกิจ
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์ รูปแบบ ช่องทางของการสื่อสาร ตลอดจนพฤติกรรมในการรับข้อมูลข่าวสาร ได้มีการปรับตัวไปจากเดิม ทั้งด้าน PR สื่อสารองค์กร แบรนด์ การตลาดได้ปรับกลยุทธ์เป็นการผลิตและสื่อสาร Content ที่นำมาใช้ ทดแทนรูปแบบเดิมๆ ที่เคยทำอยู่ ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างภาพลักษณ์องค์กรแล้ว ยังเป็นช่องทางเพื่อสนับสนุนทางการตลาดอีกด้วย ทำให้ผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าของกิจการ และผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “PR and Marketing Communications Up-skill & Re-skill: พัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมกระบวนทัศน์ใหม่ทางการสื่อสาร เพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง” ในหลักสูตรการบริหารงานสื่อสาร [Executive Communications Program: EXCOMM – PR Thailand 11] โดยระดมมืออาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิการสื่อสารในแต่ละด้าน มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อตอบโจทย์การสื่อสารให้สอดคล้องในยุค Digital Transformation ผู้ที่เข้าสัมมนาสามารถนำทักษะแบบใหม่ไปปรับกลยุทธ์ เพื่อพลิกโฉมธุรกิจให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในส่วนของเนื้อหาหลักของสัมมนา “PR and Marketing Communications Up-skill & Re-skill” ของสมาคมประชาสัมพันธ์ไทยนั้น ประกอบด้วยเนื้อหาที่สำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ (1) Content & Soft Power ได้แก่ Soft Power ‘Thailand & Your Brand Communications’: การสร้างพลังจากต้นทุนและคุณค่ากับการสื่อสารเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ / Creativity Interesting Content Issues in Social Media: การสร้างสรรค์ เนื้อหาให้น่าสนใจผ่านสื่อมวลชน และสื่อสังคมออนไลน์ / How to Create Your Content and Campaign on Digital: การสร้างประเด็นและแคมเปญให้โดดเด่น ตอบโจทย์ / CSR - CSV Direction for Successful Change Management in Business: ทิศทางและการดำเนินงาน เพื่อสังคมให้ประสบความสำเร็จ (2) Consumer Change & MARCOM ได้แก่ Re-skilling and Up-skilling for Marketing Communications after the Era of COVID: ปรับกระบวนทัศน์ด้านสื่อสารการตลาดหลังวิกฤตโควิด / Consumer Trend, Strategic Marketing and Brand Communications: แนวโน้มพฤติกรรม และกลยุทธ์การสื่อสารไปยังผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ / ASEAN PR, Event, Brand Building and Marketing Communications: การประชาสัมพันธ์ สื่อสารแบรนด์ และส่งเสริมการตลาดในกลุ่มประชาคมอาเซียน (3) Communication Strategies in Digital Era ได้แก่ Communications Strategy, Building Strong Relationships with Your Target Audience: การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มเป้าหมายสำหรับการขับเคลื่อนองค์กร / Pursuing the Challenges of PR in the Metaverse: การปรับตัว ท่ามกลางความท้าทายกับการประชาสัมพันธ์ยุคโลกเสมือนจริง / PR Matching and Strategic Communications Plan: การสร้างเครือข่ายและการวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสาร (4) Crisis Communications & Channel ได้แก่ Effective Brand, PR & Marketing Communication Tools During Times of Crisis and social change: การใช้เครื่องมือสำหรับการสื่อสารในช่วงเวลาวิกฤต และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม/ Update Trends in Journalism, Working Together to Brand Communications and Resolve Corporate Crises: เทรนด์ของสื่อสารมวลชน กับรูปแบบการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมแบรนด์ และแก้ไขภาวะวิกฤตองค์กรทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนา จะได้รับแนวคิด ประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ทางการสื่อสาร เพื่อนำไปวางแผน ปรับปรุง แก้ไข ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินงานด้านสื่อสารผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังสามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากวิทยากรเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารตลอดการสัมมนาพร้อมรับ PRTHAILAND Certificate จากสมาคมประชาสัมพันธ์ไทยการสัมมนาดังกล่าว เป็นการสัมมนาต่อเนื่อง 4 ครั้ง ทุกวันเสาร์ ระหว่าง 28 ตุลาคม และ 4,11 และ 18 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ (ราชดำริ) มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 29,000 บาท/คน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย โทรศัพท์ 081-939-9964/ www.prthailand.com/ e-mail: tpra.prthailand@gmail.com