happy on September 25, 2023, 10:59:09 PM
ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตของคนรุ่นใหม่ เสี่ยง ! รุนแรง แต่รักษาได้


กรุงเทพ – เดี๋ยวนี้เราจะเห็นคนในวัยทำงานเป็นจำนวนมาก ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง เป็นอาการที่พบได้ในคนทั่วไปที่นั่งทำงานอยู่กับที่ อยู่กับคอมพิวเตอร์ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ในทุกอิริยาบถ ทั้ง นั่ง นอน ยืน และ การก้มคอ งอหลัง ทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบกับ คอ บ่า ไหล่ หลัง ซึ่งบางครั้งกว่าจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีอาการปวดเรื้อรังมากขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง

รวมไปถึงบริเวณหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดที่คนไทยกำลังประสบปัญหาค่อนข้างมาก ซึ่งเกิดจากการใช้งานร่างกายมากเกินไป หรือมีพฤติกรรมอยู่ในท่าที่ผิดรูปทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจส่งผลรุนแรงไปจนถึงขั้นพิการได้

หนุ่มสาววัยทำงานจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับปัญหาอาการ “ออฟฟิศซินโดรม” แบบไม่รู้ตัว ซึ่งหากปล่อยให้อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เรื้อรังต่อเนื่องนานๆ มากกว่าสัปดาห์ จนเกิดอาการชาลงไปที่มือและแขนอ่อนแรง เจ็บแปลบที่ไหล่ หรือปวดหลังมากๆ ก็อาจเพิ่มความรุนแรงไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

เครือโรงพยาบาลพญาไท เป็น “ผู้นำ” ด้านการนำนวัตกรรมการผ่าตัดรักษา “โรคระบบประสาทและไขสันหลัง” ซึ่งมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน โดยมี นายแพทย์ธีรศักดิ์ พื้นงาม ศัลยแพทย์สมองและระบบประสาท และศัลยแพทย์ระบบประสาทไขสันหลัง และแพทย์หัวหน้าศูนย์ Mini Spine Center หรือ ศูนย์ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้อง รพ.พญาไท 2 เป็นผู้บุกเบิกและนำแนวทาง “Minimally Invasive Neurosurgery” หรือ “การผ่าตัดแผลเล็ก” มาใช้ในประเทศไทยกว่า 15 ปี ด้วยการเริ่มใช้เทคโนโลยีด้วยการนำกล้องผ่าตัดแบบแผลเล็กในโรคสมอง ขยายไปสู่ผ่าตัดแผลเล็กในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง…จนประสบผลสำเร็จเป็นที่แรกของไทย!!

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสังเกตได้ ดังต่อไปนี้

เป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยสามารถสังเกตุได้จากอาการเหล่านี้ ปวดที่ต้นคอร้าวลงมาที่แขน ปวดหลังร้าวลงมาที่ขา ปวดที่ต้นคอหรือหลังเรื้อรัง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นระยะเวลานานๆ มากกว่า 14 วันขึ้นไปและไม่หายปวด และยังมีสาเหตุต่างๆที่นำมาสู่โรคนี้ได้ อาทิ

        ·       อายุ หมอนรองกระดูกจะทำหน้าที่เหมือนกับโช๊คอัพของกระดูกสันหลัง และเมื่อเวลาผ่านไปหมอนรองกระดูกของคนเราก็จะมีการสึกหรอและเสื่อม เกาะภายนอกของหมอนรองกระดูกแตกและส่งผลให้เนื้อของหมอนรองกระดูกภายในนั้นปลิ้นออกมา ทำให้เนื้อภายในที่มีลักษณะเหมือนเจลลี่เลื่อนออกไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ในโพรงประสาทไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอและหลังต่างๆ ตามมา

        ·       กิจกรรมประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา ออกกำลังกายอย่างหนัก ยกของหนัก นั่งผิดท่า ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ

        ·       โรคอ้วน  คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินพอดี กระดูกสันหลังจะต้องรับภาระอย่างหนักและอาจส่งผลต่อหมอนรองกระดูกอาการปวดตามข้อต่อจุดต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ไขมันบริเวณหน้าท้องอาจทำให้สมดุลร่างกายเสียและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุอีกด้วย

        ·       อุบัติเหตุ ในกรณีที่ได้รับแรงกดทับหรือการกระแทกที่รุนแรง อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกเกิดแตกและปลิ้นออกมากดทับที่เส้นประสาทได้เช่นกัน

นพ. ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าแผนกศัลยกรรมประสาท ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง รพ.พญาไท 2 แนะนำว่า การรักษาโรคชนิดนี้ มีหลายวิธี ทั้งการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และอื่นๆ อีกมากมาย แต่มีหนึ่งวิธีที่ดีที่หลังจากการรักษาแล้วถือว่าเห็นผลได้ชัดเจนว่าคนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้มากที่สุด นั่นคือ การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งปัจจุบันวิธีนี้ได้พัฒนาให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่การผ่าตัดยังมีให้เลือกรักษาอีกหลายวิธี ทั้งการผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยกล้องขยายกำลังสูง หรือ Microscopic Discectomy แพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคนไข้ร่วมกับการใช้กล้องขยาย Microscopic ซึ่งเป็นกล้องที่มีกำลังการขยายสูง แพทย์จึงสามารถมองเห็นระบบประสาทภายในร่างกายของคนไข้ได้อย่างชัดเจน ส่งผลทำให้รักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิผลสูงสุด แผลจากการผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียงแค่ 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี ผ่าตัดผ่านกล้อง หรือ Endoscopic Discectomy ซึ่งแพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเพื่อเปิดแผลที่ข้างลำตัวของคนไข้ใกล้ๆกับบริเวณจุดที่เป็นสาเหตุของอาการปวด โดยแผลที่เปิดนั้นจะมีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร จากนั้นแพทย์จะนำกล้อง Endoscopic สอดผ่านปากแผลเข้าไปยังจุดที่เป็นสาเหตุของอาการปวดและทำการผ่าตัดรักษาโดยมองผ่านจอภาพที่แสดงผลมาจากกล้อง ซึ่งวิธีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกที่กล่าวถึง จะรักษาได้ผลดีมากเมื่อใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการทำผ่าตัด การใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น แพทย์จะทำการใช้เลเซอร์ยิงไปยังหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและปลิ้นออกมากดทับที่เส้นประสาทไขสันหลัง ความร้อนจากเลเซอร์จะค่อยๆ สลายหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาให้หดกลับเข้าไปยังข้อกระดูกสันหลัง วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทถูกพัฒนาด้วยวิธีการรักษาและอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้คนไข้ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน ที่สำคัญยังเจ็บตัวน้อยมาก เพราะขนาดแผลมีขนาดที่เล็กกว่าการรักษาในสมัยอดีต ทำให้หลังการผ่าตัดคนไข้สามารถลุกขึ้นเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง และสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญเมื่อทำการรักษาด้วยวิธีนี้เสร็จสิ้น คนไข้ยังมีโอกาสหายขาด และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นเคย อย่างไรก็ตาม แนวทางการรักษาทั้งหมดนี้ หากได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเข้ามาเป็นแพทย์ผ่าตัดแล้ว ถือว่าการรักษาจะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เพราะการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้น จะมีความเชื่อมโยงในระบบของเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับสมอง ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญ เพราะหากผิดพลาดอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย จนอาจนำไปถึงการพิการทางร่างกายก็เป็นได้

จากประสบการณ์อันยาวนานของคุณหมอธีรศักดิ์ พื้นงาม ที่ทำการรักษามาตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน (2566) ได้ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง และเส้นประสาทไขสันหลังให้ได้รับผลสำเร็จมาเป็นจำนวนมาก และด้วยแนวทางการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery ที่คุณหมอริเริ่มนำมาใช้ ทำให้ลดปัญหาสิ่งที่ผู้ป่วยมีความกังวล จนเกิดเป็นความเชื่อมั่น ทั้งในแง่ความปลอดภัย และความสำเร็จในการรักษาทั้งนี้ การทางผ่าตัดด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะมีแค่แผลผ่าตัดเล็กๆ ที่เล็กลงกว่าการผ่าตัดแบบเดิมมากๆ ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลง ฟื้นตัวเร็ว ระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลก็สั้นลง ทั้งยังลดอัตราการติดเชื้อจากการผ่าตัดได้มาก จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน

หากมีอาการ หรือต้องการรับคำแนะนำปรึกษาแพทย์  สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 4 อาคาร A โทร 02-617-2444 ต่อ 7451,4484 หรือ Call Center 1772 ตลอด 24 ชั่วโมง
« Last Edit: September 25, 2023, 11:03:27 PM by happy »