ไทยยูเนี่ยนลงนามสัญญาสาธารณะร่วมปกป้องสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์
พร้อมเดินหน้าเชิญชวนภาคธุรกิจเข้าร่วม
แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP และ อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน บาร์เซโลน่า – 27 เมษายน 2566 - ไทยยูเนี่ยน ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก ลงนามร่วมกับองค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) เป็นบริษัทแรก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องสัตว์น้ำที่เสี่ยงสูญพันธุ์ (Endangered, Threatened and protected; ETP) อันมาจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย(bycatch) และลดความเสี่ยงโดยเพิ่มการตรวจสอบโดยผู้สังเกตการณ์ 100% สนับสนุนนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทาน พร้อมรายงานผลต่อสาธารณะ
"การที่ไทยยูเนี่ยนได้ลงนามในสัญญานี้กับทาง SFP เป็นบริษัทแรกนับเป็นความภาคภูมิใจของเรา พร้อมทั้งขอเชิญชวนให้บริษัทอาหารทะเลอื่น ๆ เข้าร่วมในการทำสัญญานี้ด้วยกันกับไทยยูเนี่ยน เพื่อให้เป้าหมายในการป้องกันสัตว์น้ำที่เสี่ยงสูญพันธ์ประสบความสำเร็จสูงสุดและช่วยกันฟื้นฟูชีวิตสัตว์ทะเลที่อยู่ในอันตราย" อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กล่าว เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศจุดยืนในการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย (bycatch) ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้อ้างอิงผลงานวิจัยขององค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ในเรื่องของความเสี่ยงต่อฉลาม นกและเต่าทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลชนิดๆ อื่น จากการประมงที่ส่งวัตถุดิบให้กับบริษัท และผลการวิเคราะห์ของบริษัท Key Traceability ที่ตรวจสอบโครงการพัฒนาประมงทูน่าของไทยยูเนี่ยนและแหล่งประมงอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
"เป็นเรื่องยอดเยี่ยมที่ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญและเคลื่อนไหวเรื่องนี้ แต่การลดปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ในเชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อธุรกิจทั้งหมดร่วมมือและมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน โดย SFP ตั้งเป้าว่าภายในวันทะเลโลก หรือ World Oceans Day ที่จะถึงในเดือนมิถุนายนนี้จะต้องมีบริษัทฯ เข้าร่วมลงนามอีก 10 บริษัท เราจึงขอเชิญชวนบริษัทอาหารทะเลอื่น ๆ มาร่วมลงนามในข้อตกลงนี้ "แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP กล่าวไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่องค์กร SFP จัดขึ้น นับเป็นโครงการระดับสากล ที่เป็นความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาสัตว์ทะเลหายากที่ถูกจับในการทำประมง ทางองค์กร SFP ได้พิจารณาและประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ไทยยูเนี่ยนใช้วัดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบนั้น ๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะช่วยลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ได้ผลมากที่สุด
องค์กร SFP ขอเชิญชวนบริษัทอาหารทะเลที่สนใจสามารถสอบถาม พร้อมเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายร่วมกันได้ Kathryn Novak and Adam Brennan with the Protecting Ocean Wildlife pledge.# # #
เกี่ยวกับ SFPSustainable Fisheries Partnership หรือ SFP ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 มีการดำเนินงานอยู่ทั่วโลก เพื่อให้มหาสมุทรมีความอุดมสมบูรณ์ มีการผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืน และทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่ผลิตอย่างยั่งยืนได้ เราผนึกกำลังจากผู้รับซื้ออาหารทะเลและผู้ค้าปลีกในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างทรัพยากรปลาให้กลับมาใหม่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการจับปลาและการเลี้ยงปลา ชี้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่มีในการจับปลา และโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับชาวประมงและชุมชนที่เกี่ยวข้อง การประชุมโต๊ะกลมเรื่องห่วงโซ่อุปทานเปิดโอกาสให้บริษัทคู่ค้าในธุรกิจอาหารทะเลได้ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาและสนับสนุนข้อปฏิบัติในการทำประมงและเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ รวมถึงด้านการบริหารจัดการและนโยบาย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.sustainablefish.org และติดตามเราได้ทาง Facebook Twitter และ LinkedIn เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลกที่นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย และสร้างสรรค์ มาสู่ลูกค้าทั่วโลกมาเป็นกว่า 46 ปี
ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีเกินกว่า 155,586 ล้านบาท (4,438 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน
ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar, Hawesta และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ®BONE และ UniQ®DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita
ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "การมีสุขภาพที่ดี และท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์, Healthy Living, Healthy Oceans" โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพผู้คน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ท้องทะเล เราภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) พร้อมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) และได้รับเกียรติเป็นเป็นประธาน SeaBOS หรือ Seafood Business for Ocean Stewardship ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานด้านความยั่งยืนโดยยึดหลักกลยุทธ์ SeaChange® ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จากผลการประเมินงานด้านความยั่งยืนปี 2565 บริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 9 ปีติดต่อกันและได้อันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งไทยยูเนี่ยนเคยได้ในปี 2561 และปี 2562 นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ที่seachangesustainability.org