ขอเชิญร่วมส่งผลงานประกวดชิงรางวัลนวัตกรรม ในการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมผลงานดีเด่นด้านการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนของที่อยู่อาศัยที่มีต้นทุนที่เหมาะสม
กำหนดส่งผลงานได้ขยายเวลาถึงวันที่ 12 กันยายน นี้ นวัตกรจากประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมถึงประเทศไทยสามารถเข้าร่วมประกวดส่งผลงานได้ พร้อมทั้งจะได้มีโอกาสในการพบปะพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายภาคอุตสาหกรรม ผู้ชนะรางวัลแต่ละสาขาจะได้รับรางวัลเงินสดและถ้วยรางวัล
พอลแล็ต ลิว (Paulette Liu) ประธานของ สกิลส์ (SKILLS - School of Knowledge for Industrial Labor, Leadership, and Service) กรุงเทพฯ 1 กันยายน 2564 – รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม ในการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Housing Forum’s Innovation Awards) เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศของเหล่าบรรดานวัตกร (innovators) และดิสรัปเตอร์ (disruptors) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทที่กำลังขยายตัว ผู้กำหนดและผู้สนับสนุนนโยบาย ตลอดจนสถาปนิก และวิศวกร ต่างได้รับเชิญชวนให้ร่วมส่งผลงาน นำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน และสามารถใช้งานได้จริงสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
"ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านที่อยู่อาศัยที่มีความซับซ้อน ประกอบกับการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภัยพิบัติทั้งทางธรรมชาติและที่เกิดจากมนุษย์ ผลกระทบด้านลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่เรื้อรัง” ลูอิส โนดะ (Luis Noda) รองประธาน องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว “เราทุกคนต้องทำงานร่วมกัน และใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาของการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของแต่ละท้องถิ่น”
“รางวัลที่เราได้รับทำให้เราได้สร้างพันธมิตรมากขึ้น และเป็นการสร้างการรับรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้นให้กับสิ่งที่เราทำเพื่อชุมชน และยังเป็นการเปิดโอกาสในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น” พอลแล็ต ลิว (Paulette Liu) ประธานของ สกิลส์ (SKILLS - School of Knowledge for Industrial Labor, Leadership, and Service) ผู้ชนะรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมประจำปี 2562 กล่าวรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ aphousingforum.org/innovation-awards)ตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพันธมิตรหลากหลายภาคส่วนที่ให้การส่งเสริมในเรื่องของนวัตกรรม การมอบรางวัลนี้จัดโดย องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล (Habitat for Humanity) โดยร่วมมือกับ มูลนิธิฮิลติ (Hilti Foundation) เวิร์ลพูล (Whirlpool) และโครงการ SWITCH-Asia SCP Facility ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) เพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP)
ทั้งนี้ รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมแบ่งออกเป็นสามสาขา ได้แก่ สาขา ShelterTech สาขานโยบายสาธารณะ และสาขาแนวทางที่สร้างแรงบันดาลใจ สำหรับสาขา ShelterTech นั้นจะคัดเลือก ผู้ที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยี (ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ) ที่นำโดยภาคเอกชน ในขณะที่สาขานโยบายสาธารณะนั้น เป็นการส่งเสริมนโยบายสาธารณะที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในทุกระดับของภาครัฐ เพื่อช่วยลดทอนการขาดแคลนที่อยู่อาศัย โดยคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของชนกลุ่มน้อย กลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือเปราะบาง และประชากรชายขอบหรือผู้ที่ถูกสังคมปฏิเสธ ส่วนรางวัลสาขาที่สาม หรือสาขาแนวทางที่สร้างแรงบันดาลใจ เป็นรางวัลที่มอบให้กับแนววิธีปฏิบัติอันยอดเยี่ยมจากภาครัฐหรือความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนและการตั้งรกรากถิ่นฐาน และยังช่วยเพิ่มการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สุดของสังคม
นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษด้านความยั่งยืน (Sustainability Award) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการ SWITCH-Asia SCP Facility จะมอบให้กับนวัตกรที่สามารถทำคะแนนได้สูงสุดในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่สามารถปรับขยายได้เพื่อให้เกิดที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ไม่ว่าจะมาจากรางวัลสาขาใดก็ตาม สหภาพยุโรปและโครงการ SWITCH-Asia ตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของภาคอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย ไปจนถึงการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน และส่งเสริมในเรื่องของอาคารและที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศเป้าหมาย 24 ประเทศในทวีปเอเชีย
“เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นานาประเทศในเอเชียได้บรรลุถึงการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมอาคารและที่อยู่อาศัย สิ่งสำคัญคือเราจะต้องเอาใจใส่กับประสบการณ์ที่หลากหลายและนำประสบการณ์เหล่านี้มาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพตามจริงของแต่ละประเทศ รางวัล SCP จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นแรงบันดาลใจโดยเฉพาะ และเราหวังว่าเราจะได้ให้การสนับสนุนผู้ชนะได้เข้าถึงบุคลากรหรือฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการ SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรป” ไซดา ฟาดีวา (Zaida Fadeeva) หัวหน้าทีมโครงการ SCP Facility กล่าว
ผู้ผ่านเข้ารอบ 12 ทีมสุดท้าย จะมีโอกาสนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการตัดสินและสาธารณชนในระหว่างงาน Innovation Awards Grand Premiere ที่จะจัดขึ้นทางออนไลน์ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 โดยจะประกาศรายชื่อผู้ชนะในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ในช่วงระหว่างการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ผู้ชนะแต่ละคนจะได้รับถ้วยรางวัลและรางวัลเงินสดมูลค่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ กำหนดส่งผลงาน ณ วันที่ 12 กันยายน 2564
การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 ภายใต้หัวข้อ “Building forward better for inclusive housing” นั้นครอบคลุมถึงความคืบหน้าต่าง ๆ ของโครงการเกี่ยวกับเมืองและชุมชนพลวัต (Resilient Cities and Communities) นวัตกรรมโซลูชันและเทคโนโลยีด้านที่อยู่อาศัย ความยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย และการจัดหาเงินทุนสำหรับที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม อีกทั้งยังรวมไปถึงหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการถือครองที่ดินและตลาดต่าง ๆ และการประชุมของเยาวชนที่จะมุ่งเน้นถึงความจำเป็นของที่พักอาศัยที่เหมาะสม ตลอดจนวิธีการที่เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการกับความท้าทายด้านที่อยู่อาศัย
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์เข้าร่วมการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 ทางออนไลน์ได้ฟรีที่ aphousingforum.org###
ข้อมูลเกี่ยวกับ องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล(Habitat for Humanity) เริ่มต้นในปี 2519 ด้วยความมุ่งมั่นเริ่มต้นตั้งแต่จากระดับรากหญ้า เติบโตมาสู่การกลายเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชั้นนำระดับโลกที่มีสาขามากกว่า 70 ประเทศ ขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่าทุกคนต้องการที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลได้สนับสนุนผู้คนนับหลายล้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2526 เพื่อสร้างหรือพัฒนาสถานที่ที่พวกเขาสามารถเรียกได้ว่าบ้าน จากการช่วยเหลือทางด้านการเงิน การเป็นอาสาสมัคร หรือการเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องหาการสนับสนุน ทำให้ทุกคนสามารถให้ความช่วยเหลือกับหลายๆครอบครัว โดยให้ครอบครัวเหล่านั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีความมั่นคง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยที่พวกเขาจะสร้างและพัฒนาชีวิตของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม บริจาค หรือต้องการร่วมเป็นอาสาสมัคร ได้ที่ habitat.org/asiapacificเกี่ยวกับ โครงการ SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรปSWITCH-Asia เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ที่ใหญ่ที่สุด เพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP) โดยให้การสนับสนุนประเทศต่าง ๆ จำนวน 24 ประเทศในเอเชียและเอเชียกลาง โครงการ SWITCH-Asia ให้ทุนสนับสนุนโครงการต่าง ๆ กว่า 130 โครงการ ช่วยเหลือสนับสนุนพันธมิตรที่ไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในเอเชียและยุโรปกว่า 500 ราย สมาคมภาคเอกชนต่าง ๆ ประมาณ 100 แห่ง รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSEMs) ในเอเชียจำนวน 80,000 ราย โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในทวีปเอเชีย (SCP Facility) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SWITCH-Asia มีจุดมุ่งหมายคือเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินการตามนโยบาย SCP ในระดับชาติ อำนวยความสะดวกในการประสานงานของทุกภาคส่วนของโครงการผ่านการแบ่งปันข้อมูล นอกจากนี้ยังดำเนินการวิเคราะห์ผลของโครงการนำร่องต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนการเจรจากับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สหภาพยุโรปและโครงการ SWITCH-Asia ตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของภาคอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย ไปจนถึงการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนหรือ SCP และกลุ่มการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย และอาคารอันเป็นเสาหลักของนโยบายของสหภาพยุโรปรวมถึงกิจกรรมโครงการ SWITCH-Asia โดยได้รับการเน้นย้ำว่าเป็นส่วนหนึ่งของการไปสู่ความเป็นสีเขียว (Green Transition) ตามนโยบายข้อตกลงสีเขียวของสหภาพยุโรปปี 2562 (EU Green Deal 2019) และแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปปี 2563 (Circular Economy Action Plan: CEAP 2020) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมสีเขียวต่อไปในอนาคต สหภาพยุโรปยังได้เสนอบทนิติบัญญัติ รวมถึงชุดกฎหมายที่มีชื่อว่า Construction Products Regulation และเนื่องจากคลังสินค้าด้านที่อยู่อาศัยและอาคารสิ่งก่อสร้างในยุโรปไม่ได้มีการคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วเหมือนในเอเชีย หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับสหภาพยุโรปคือการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยอาศัยกลยุทธ์ “Renovation Wave (2020)” ปี 2563 ซึ่งให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยทางสังคม ในโครงการ SWITCH-Asia นั้นมีงานระดับชาติหลายงานที่ได้รับมอบหมายโดยมุ่งเน้นไปที่การนำหลักการของ SCP ไปดำเนินการใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาคาร ซึ่งรวมถึงในประเทศปากีสถาน บังกลาเทศ และคีร์กีซสถาน