happy on July 15, 2021, 03:02:40 PM
วช. เสริม ม.บูรพา เลี้ยงหอยแครงระบบปิดด้วยแพลงก์ตอนพืช เกษตรกรปลื้ม หอยแครงโตเต็มที่


การเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลของไทย ประสบปัญหาด้านคุณภาพน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลมาอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรได้ปรับมาใช้วิธีการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน แต่ยังคงต้องใช้เวลาเลี้ยงหอยแครงนาน และการเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่


ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะนักวิจัย นำโดย ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาวิจัยและดำเนินการถ่ายทอด โครงการพัฒนาบ่อดินให้เป็นบ่อเลี้ยงหอยแครงในระบบปิดแบบพัฒนาด้วยการผลิตแพลงก์ตอนพืช (สาหร่ายเซลล์เดียว) ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มเพาะเลี้ยงหอยแครง ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยการสนับสนุนทุนวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อช่วยเกษตรกร ลดผลกระทบจากปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม หรือน้ำเสียได้สำเร็จ






ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ เปิดเผยว่า การเลี้ยงหอยแครงโดยวิธีนี้ สามารถทำตามได้ไม่ยาก ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน แต่ตอบโจทย์และสร้างประโยชน์ได้มาก แก่เกษตรกร ชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการนำความรู้จากงานวิจัยลงสู่ฐานรากการเกษตรอย่างแท้จริง โดยได้เตรียมขยายผลองค์ความรู้ต่อไปยังเครือข่ายผู้เลี้ยงหอยแครงในจังหวัดตราด  และกลุ่มเครือข่ายอื่นที่สนใจ






ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ เปิดเผยว่า การเลี้ยงหอยแครงโดยวิธีนี้ สามารถทำตามได้ไม่ยาก ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน แต่ตอบโจทย์และสร้างประโยชน์ได้มาก แก่เกษตรกร ชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการนำความรู้จากงานวิจัยลงสู่ฐานรากการเกษตรอย่างแท้จริง โดยได้เตรียมขยายผลองค์ความรู้ต่อไปยังเครือข่ายผู้เลี้ยงหอยแครงในจังหวัดตราด  และกลุ่มเครือข่ายอื่นที่สนใจ






“เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครงด้วยบ่อดินระบบปิด แบบใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร ต่างได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการเลี้ยงแบบเดิม โดยหอยแครงมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ รสชาติอร่อย ขนาดตัวใหญ่ตามความต้องการของตลาด จึงขายได้ในราคาที่ดี ช่วยส่งเสริมให้อาชีพการเลี้ยงหอยแครงมีความมั่นคง และสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพให้แก่ผู้บริโภค” ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ กล่าว


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน โดยความร่วมมือของภาคส่วนวิจัยที่มีความพร้อมในการสนับสนุนองค์ความรู้ไปพัฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ปราชญ์ชุมชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและประชาชน ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน สร้างฐานรากของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
« Last Edit: July 15, 2021, 03:20:46 PM by happy »