happy on June 28, 2021, 11:02:23 PM
จดหมายข่าว ไตรมาสที่สอง ปี พ.ศ. 2564


1. โนเกียทำลายสถิติ 5G ครั้งใหม่

ที่ออสเตรเลีย โนเกีย ร่วมกับ Optus ได้ทำลายสถิติการส่งข้อมูลบนเครือข่าย 5G ความเร็ว 10 Gbps ในช่วงคลื่นมิลลิเมตร (mmWave) บนความจุ 800 MHz ซึ่งนี่คือการแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเทคโนโลยีคลื่นความถี่ 5G ของโนเกีย และยังช่วยให้ทั้งลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และลูกค้ากลุ่มบริการเชื่อมต่อไร้สายแบบประจำที่ (fixed wireless) ได้เพลิดเพลินไปกับความเร็วที่เพิ่มขึ้นบนเครือข่ายของ Optus

นอกจากนี้ โนเกีย ยังได้ทำงานร่วมกับ Qualcomm และ UScellular ในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำสถิติโลกในการขยายช่วงสัญญาณให้กว้างมากกว่า 10 กิโลเมตร​ โดยการใช้งานโซลูชั่นคลื่น mmWave 5G แบบขยายระยะสัญญาณบนเครือข่ายเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยในการปิดช่องว่างด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ (digital divide) และนำเสนอบริการ 5G ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงพื้นที่ในชนบทของสหรัฐอเมริกา

โนเกีย จับมือกับ Proximus ผู้ให้บริการเครือข่ายบรอดแบนด์แบบประจำที่ (fixed broadband network) ชั้นนำของเบลเยี่ยม เพื่อใช้งานเทคโนโลยี 25G PON และเครือข่ายไฟเบอร์ที่เร็วที่สุดครั้งแรกของโลก ซึ่งดำเนินงานบนเครือข่ายที่มีอยู่กับอุปกรณ์ของโนเกียที่อยู่บนเครือข่ายของ Proximus ซึ่งเป็นเครือข่ายไฟเบอร์ที่เชื่อมต่ออาคาร Havenhuis ที่ท่าเรือแอนต์เวิร์ป กับสำนักงานกลางของ Proximus ที่ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมือง โดยเครือข่ายนี้มีความเร็วสูงสุดถึง 20 กิกะไบต์ต่อวินาที ส่งผลให้กลายเป็นเครือข่ายไฟเบอร์ที่เร็วที่สุดในโลก

และในระดับโลก โนเกียได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าบริษัทได้รับการจัดอันดับให้เป็น ที่หนึ่งในด้านการจดสิทธิบัตร 5G จากการศึกษาของ Stadard Essential Patents โดยบริษัทนักวิเคราะห์อิสระ PA Consulting ผลการศึกษาได้สรุปไว้ว่าโนเกียได้กลายเป็นผู้นำในการถือกรรมสิทธิ์ในสิทธิบัตรที่มีการออกให้ ซึ่งนักวิจัยพบว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับมาตรฐาน 5G ซึ่งนี่เป็นครั้งที่สองที่โนเกียแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการจดสิทธิบัตร Standard Essential Patents ของ 5G ที่ยืนยันได้จากผลงานวิจัยของ PA Consulting ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นองค์กรอันดับหนึ่งด้านการวิเคราะห์จากการศึกษาเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ โนเกีย ยังได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์เพื่อการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ต่าง ๆ ในระบบคลาวด์สาธารณะเป็นครั้งแรกของโลก โดยการผนวกกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยของโนเกียผ่านห้องสมุดที่มีการใช้งานในระบบ AVA AI เข้ากับสถาปัตยกรรมรูปแบบดิจิทัลของ Microsoft Azure โดยผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) สามารถป้อนระบบ AI เข้าสู่เครือข่ายได้ไวกว่าการใช้คลาวด์ส่วนตัวถึง 5 เท่า และยังช่วยเพิ่มปริมาณความจุในเครือข่ายได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

2. โนเกียประสบความสำเร็จในการทำสัญญาวางโครงข่าย 5G ในไต้หวันและฟิลิปปินส์

ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา โนเกียคว้าชัยชนะในโครงการด้านพัฒนาโครงข่าย 5G สองโครงการในไต้หวันและฟิลิปปินส์ ที่ไต้หวัน โนเกียได้รับเลือกโดย ชุงฮวาเทเลคอม (Chunghwa Telecom: CHT ) ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ให้เป็นผู้ขยายสัญญาณเครือข่าย 5G ของบริษัท โดยข้อตกลงทางธุรกิจนี้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของ CHT ในการขยายสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด 80 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับเพิ่มจำนวนการบอกรับเป็นสมาชิกสัญญาณ 5G ให้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของฐานสมาชิกปัจจุบัน โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากพอร์ตโฟลิโอ AirScale ของโนเกียเพื่อการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นให้กับประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจในภาคใต้และตอนกลางของไต้หวัน

ส่วนที่ฟิลิปปินส์​ โนเกียได้ทําข้อตกลงกับ DITO Telecommunity Corporation (DITO) เพื่อขยายบริการสัญญาณ 5G ไปยังเกาะมินดาเนา โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ DITO สามารถวางกลยุทธ์รูปแบบใหม่ในการสร้างเครือข่าย 5G คุณภาพสูงและกระจายสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งโครงการพัฒนาเครือข่ายนี้ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ที่เพิ่งผ่านมา นอกจากนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายดังที่ DITO ตั้งใจไว้ โนเกียจึงได้นำเสนออุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่กลุ่มผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การรับ-ส่งคลื่น MIMO เทคโนโลยี Multibrand และกลุ่ม Single RAN AirScale เพื่อสร้างโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ Radio Access Network (RAN) ให้กับโครงสร้างพื้นฐาน 5G บนเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของฟิลิปปินส์อีกด้วย

3. โนเกีย ร่วมกับ Allo ในการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์กิกะบิตต์ในมาเลเซีย

โนเกียได้รับเลือกจาก Allo ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของมาเลเซีย ในการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์กิกะบิตต์ ในรัฐมะละกา รัฐยะโฮร์ รัฐเนกรีเซมบีลัน และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย

การปรับใช้โครงข่ายในครั้งนี้ได้รวมเอาโซลูชันเครือข่ายใยแก้วนำแสงแบบพาสซีฟกิกะบิตต์ (Gigabit Passive Optical Network: GPON) และระบบการจัดการการเข้าถึงของโนเกียเข้าไว้ด้วย โดยโครงการจะแล้วเสร็จภายในช่วงปลายไตรมาสที่สองของปี 2564 ซึ่งจะครอบคลุมการให้บริการถึง 150,000 ครัวเรือน โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงและใช้งานต่าง ๆ ที่ต้องการความจุของข้อมูลปริมาณสูงได้อย่างเต็มที่ สำหรับเครือข่ายไฟเบอร์เพื่ออนาคตดังกล่าวจะทำให้ Allo สามารถสร้างผลกำไรได้มากขึ้นจากการที่บริษัทสามารถสนับสนุนการนำไปใช้งานใหม่ ๆ อาทิ เมืองอัจฉริยะ เสาอัจฉริยะ ระบบ edge automation โครงข่ายแบคฮอล 5G และบริการสำหรับองค์กรต่าง ๆ

4. บริการ Quillion บรอดแบนด์แบบประจำที่ ของโนเกีย มีลูกค้าแล้วถึง 100 ราย

โนเกีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเมื่อมีฐานลูกค้าได้ถึง 100 ราย กับโซลูชันบรอดแบนด์ที่พัฒนามากับชิปเซ็ต Quillion ที่ใช้ในเครือข่ายไฟเบอร์รุ่นล่าสุดและเครือข่ายโทรคมนาคมแบบสายทองแดง

ทั้งนี้ บริการด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสงของโนเกียส่วนใหญ่จะอยู่บนโซลูชันพื้นฐานแบบ Quillion ‘Multi-PON’ ซึ่งสามารถรองรับเครือข่ายใยแก้วนำแสงแบบพาสซีฟขนาด 10Gb/s ที่ใช้ในปัจจุบัน และยังถือเป็นโซลูชันเดียวในตลาดที่เปิดใช้งานรองรับความจุปริมาณสูงขนาด 25Gb/s เช่น โครงข่ายการขนส่ง 5G ได้นอกจากนี้ โซลูชันบนพื้นฐานของ Quillion ยังประหยัดพลังงานมากกว่าการติดตั้งแบบไฟเบอร์รุ่นก่อน ๆ อย่างน้อย 50% และสามารถบรรลุเป้าหมายในการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมสำหรับอุปกรณ์การสื่อสารแบบบรอดแบรนด์ได้เร็วกกว่ากำหนดถึงสองปี นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย ปัจจุบัน ชิปเซ็ต Quillion ได้ถูกนำไปใช้ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลกแล้ว

5. โนเกีย เปิดตัว blockchain-powered Data มาเก็ตเพลส เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการซื้อขายข้อมูลและโมเดลปัญญาประดิษฐ์

โนเกีย เปิดตัว Nokia Data Marketplace บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลและโมเดล ปัญญาประดิษฐ์ ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างรายได้จากการซื้อขายข้อมูลได้ โดยบริการใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนให้องค์กร และผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) ต่าง ๆ สามารถเป็นผู้ให้บริการในตลาดข้อมูลได้ด้วยตนเอง ด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจภายในระบบนิเวศนี้ได้

6. รายงานด้านความยั่งยืนของโนเกีย เผยให้เห็นถึงพันธกิจในการช่วยลดอุณหภูมิโลกลง 1.5 องศา และมียอดผู้สมัครสมาชิกกว่า 6.6 พันล้าน

โนเกียได้ออกรายงานประจำปีด้านความยั่งยืนในหัวข้อ People and Planet 2020 ที่เผยข้อมูลให้เห็นว่าโนเกียได้บรรลุเป้าหมายในการมีผู้ตอบรับเป็นสมาชิกถึง 6.5 พันล้านรายชื่อ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงสองปี และในรายงานยังแสดงถึงจุดยืน ความสำเร็จ และความจำเป็นของโนเกีย ในด้านการพัฒนาและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน รวมถึงการเตรียมตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GRI และกรอบมาตรฐานด้านความยั่งยืนต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) และกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)

โดยส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการกำหนดการลดก๊าซเรือนกระจก (Science-based Targets (SBT) ของโนเกีย ยังสะท้อนให้เห็นว่าโนเกียได้ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยมลพิษลง 50% ในช่วงปี 2019 - 2030 ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจำกัดอุณหภูมิความร้อนของโลกไว้ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ โนเกียยังให้ความสำคัญต่อพันธกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการประสานความร่วมมือ โดยบริษัทได้ออกมาเน้นย้ำว่าสังคมแห่งอนาคตที่มี 5G เป็นศูนย์กลางจะถูกสร้างขึ้นมาบนหลักของความเท่าเทียม ความเชื่อใจ ความยั่งยืน และคำนึงถึงผู้คนในสังคมก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Life in 2030 ของโนเกีย


7. เจาะลึก

Aron Heller หัวหน้านักเขียนและบรรณาธิการ Cloud and Network Services ของโนเกีย ได้กล่าวถึงวิธีการที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาช่วยสร้างโซลูชั่นที่ยั่งยืนให้กับโลกของเรา โดยเน้นในเรื่องการเกษตรอัจริยะ (smart agriculture) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว (private wireless network) ที่ไปช่วยลดการใช้พลังงานและช่วยเพิ่มผลผลิต

Stephan Miller, Head of Global Automotive Segment ของโนเกีย ได้อธิบายว่าทำไม 5G จึงให้มากกว่าความเป็นเทคโนโลยีสำหรับโรงงานอัจฉริยะ (smart factory) ในธุรกิจผลิตยานยนต์ ด้วยการให้ผู้รับจ้างผลิตรถยนต์สามารถดัดแปลงโครงสร้างภายในตัวรถให้ทันสมัยขึ้นผ่านเครือข่าย 5G แบบส่วนตัว ที่จะช่วยลดเวลาในการผลิต และยังเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าเจ้าของแบรนด์อีกด้วย

ส่วนRay Sabourin, Senior Enterprise Global Business Development Executive ของโนเกียเขียนเล่าในบทความที่เขาโพสต์บนบล็อกของเขาเองเกี่ยวกับระบบการสื่อสารไร้สายแบบส่วนตัวภายในรั้วมหาวิทยาลัยว่าได้สร้างคุณูปการอย่างมากต่อสถาบันการศึกษา ที่รวมถึงงานระบบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีสมรรถนะด้านความน่าไว้วางใจสูง และยังครอบคลุมทั้งในและนอกอาคาร อีกทั้งความจุและความคล่องตัวของระบบผู้ใช้หลายคนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเครือข่ายหนึ่งเดียวที่รองรับการใช้งานทั้งหมดได้

สุดท้ายคือ David Nowoswiat, David Nowoswiat,
« Last Edit: June 28, 2021, 11:35:09 PM by happy »